น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

เชิญมาพักผ่อน คลายร้อนนั่งเล่น คุยกันเย็นๆ พร้อมเรื่องกีฬา สัพเพเหระ ทัศนะนานา ชีวิตชีวา สุขภาพทั่วไป บันเทิงขำขัน รอบเรื่องเมืองไทย ชวนเที่ยวที่ไหน อยากไปก็นัดมา ...โย่วๆ
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14783
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 31

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

Jeng wrote: 

เช่น ในบางช่วงหลังทานอาหาร 

น้ำตาล cholesterol trigreceride และค่าอื่นๆ ก็พุ่งปรี๊ด 

โอยยังไม่นับตอนกินเหล้า + คอหมูย่าง เหอๆ 

ตำราแพทย์ม่ายมีนะ ว่าเวลาสูงผิดปกติ หลังอาหารคือเสียง 

พวกเราได้แต่เรียนตามที่สอน ก็แค่นั้น 


ปัจจุบันก็มีแล้วครับพี่ 

อย่างเช่นน้ำตาล ในคนตั้งครรภ์ 

เค้าเรียกว่า post prandial blood glucose 

พบแล้วว่าค่านี้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ morbidity mortality ต่อการตั้งครรภ์ และทารกครับ 

เป็นต้น ....
อันนี้คุ้นๆว่าเคยได้ยิน

อย่างไรก็ตาม ขอเสริมว่า ยังไม่มีการศึกษาอย่างละเอียดยิบ แค่ศึกษาตามต่างประเทศก็ไม่ไหวแล้ว

เช่น เมื่อร่างกายต้องการใช้พลังงานจะเลือกใช้ ไตรกรีเซอร์ไรด์ก่อน แล้วค่อยใช้ คลอเรสเตอรอล อันนี้ก็อ่านมา ทำให้คนที่กินแป้งมากๆ ก็ทำให้ระดับคลอเรสเตอรอลสูงได้

เรายังไม่มีการศึกษา จริงๆว่า แต่ละอายุ เพศ วัย สภาพแวดล้อมในการใช้ชีวิต โรคประจำตัวบางชนิด เรามีควรมี คลอเรสเตอรอลอยู่ในระดับไหน

ที่ผ่านมา เหมือน กำหนด ค่ามาตราฐาน ค่าหนึ่ง แต่ไม่ได้ซีเรียส เพราะเอาแค่ เป็นตัวช่วย ดูในเรื่องอื่นๆ

สำหรับแพทย์

แต่คนธรรมดา เห็นค่าตัวเลขพวกนี้ แล้วก็ ซี่เรียสมากกับตัวเลข พวกนี้ ประมาณว่า ถ้าสูง เกิน 200 อันตราย อาจจะเป็นนั่นเป็นนี่ได้

ซึ่งผมก็บอกว่า ไม่ต้องซีเรียส แต่ไม่ใช่ไม่ไปหาหมอ

เพราะสมัยก่อน ตรวจกัน 250 ก็ไม่มีใครซีเรียส เนื่องจาก กำหนดว่า ไม่ควรเกิน 250
ภาพประจำตัวสมาชิก
por_jai
Verified User
โพสต์: 14338
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 32

โพสต์

ที่บ้านไม่เคยกินแกงป่า
ถ้าแกงก็ต้องเขียวหวานเป็นประจำ
ผมก็ซัดมาตั้งแต่กินแกงเป็นเพราะคุณแม่ทำให้กิน
โดยมีผมเป็นคนโขกเครื่องแกงด้วยมือและครก
ใครบอกผมไม่ใช่พวกตำนาน ก็มาเถียงกันหน่อยเถิด
มาโพสเรื่องไขมันในกระทิ ทำให้หวาดเสียวยิ่งนัก
อ่านมาตั้งนานสรุปว่า ไงครับ
เอาแบบอ่านง่ายๆหน่อย
แบบหมอคุยกับหมอนี่ขอร้องครับ
เฉพาะวันเสาร์ที่ไปวิ่งนี่ก็เจอสภาพนี้จนเบื่อแล้ว
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11443
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 33

โพสต์

http://topicstock.pantip.com/food/topic ... 81553.html

เป็นกระทู้เกี่ยวกับ  ไขมัน  

http://www.westonaprice.org/knowyourfat ... t_oil.html

เป็นบทความเกี่ยวกับ  น้ำมันมะพร้าว

จะกินดีไหมเนี่ย  น้ำมันมะพร้าว  นะ

สองวันก่อน  ฟัง จส.100  หมอที่รพ.กรุงเทพยังออกมาบอกว่าไม่ดี  มีคนไข้กินน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำ  แล้วมีปัญหาเรื่องไขมัน
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
ภาพประจำตัวสมาชิก
Pn3um0n1a
Verified User
โพสต์: 1935
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 34

โพสต์

Jeng เขียน: ส่วนเรื่องตัวเลขว่า เท่าไร ก็เป็นศิลปะ ของแต่ละหมอกันไป เพราะไม่มีการเก็บตัวเลข ที่มากมายมหาศาล เพียงพอที่จะสรุป ระดับคลอเรสเตอรอล ที่ควรจะเป็นของคนไทย
เด๋วนี้ มันกึ่งๆ ศิลปะ+evidence based แล้วครับบบบ

http://www.nhlbi.nih.gov/guidelines/cho ... p3_rpt.htm

NCEP ATP III เป็นงานวิจัยที่น่าจะเป็นที่ยอมรับมากที่สุดปัจจุบัน
มีข้อแนะนำต่างๆ
และ วิธีการวิจัยอย่างละเอียด มีการคำนวณทางสถิติ
มี N ที่มากที่สุด และน่าจะ กระจายทั่วโลกมากที่สุด

สังเกตว่าเก็บตัวเลขกันมานานแล้วครับพี่
และข้อสรุปล่าสุดคืออันนี้

แต่มีอาจารย์บางท่าน เคยทำนายว่า อนาคต น่าจะต่ำลงไปกว่านี้อีก ก็เป็นไปได้

แต่เรื่องพี่เจ๋งว่าก็จริง
1. ไม่มีการศึกษาที่ทำในคนไทยล้วนๆ (เท่าที่ทราบนะครับ) - แต่ ATP III  เฉลี่ยคนจากทุกเชื้อชาติ
2. ไม่มี การศึกษาใดๆที่บอกว่า total chol ควรไม่ต่ำกว่าเท่าไหร่ - ตอนนี้เค้าแค่รู้ว่า ยิ่งต่ำยิ่งดี อัตราตายและความพิการ น้อยลง แค่นั้น

อนาคต ไม่แน่ครับ
ไม่มีอะไรแน่นอน ใน medicine ...

ฮุ ....  8)
Nagoda
Verified User
โพสต์: 14
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 35

โพสต์

เมื่อตอนพักเที่ยงนี้เองไปร้านหนังสือมา  ก็ไป(แอบ)ยืนอ่านนิตรสารมติชนสุดสัปดาห์เล่มล่าสุด คอลัมน์ของคุณหมอบรรจบแห่งบัลวี พูดถึงเรื่องนี้พอดีเลย หัวข้อ น้ำมันมะพร้าว - น้ำมันมัฌชิมา รู้สึกว่าเป็นข่าวดีของน้ำมันมะพร้าวน่ะครับ จากการวิจัยล่าสุด ขออภัยที่ไม่อยากสรุปเพราะแอบยืนอ่านมา กลัวว่าจะทำให้ได้ใจความไม่ครับ ลองไปหาอ่านดูได้ครับ อันนี้เป็นเวปไซด์ เผื่อคุณหมอไปโพสต์เอาไว้ที่นั่นด้วย
Nagoda
Verified User
โพสต์: 14
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 36

โพสต์

ขอโทษครับลืมเวป http://www.balavi.com
ภาพประจำตัวสมาชิก
Pn3um0n1a
Verified User
โพสต์: 1935
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 37

โพสต์

[quote="chatchai"]http://topicstock.pantip.com/food/topic ... 81553.html

เป็นกระทู้เกี่ยวกับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Pn3um0n1a
Verified User
โพสต์: 1935
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 38

โพสต์

อ่านแล้วผมตอบได้แค่ว่า ผมรู้ว่า น้ำมันมะพร้าวเป็น ไขมันอิ่มตัว
ดีหรือไม่ดี ไม่รู้ ไม่มีข้อมูลชัดเจน ตอนนี้

ผมขอ .. เลี่ยงครับ
เพราะข้อดีที่เค้าว่ามาพิสูจน์ ไม่ได้

แต่ข้อเสีย มันเห็นๆ กันไปแล้วครับ
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14783
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 39

โพสต์

เราวิวัฒนาการมาพร้อมๆ กับ ธรรมชาติอื่นๆ เช่น ต้นมะพร้าว

ก็มี ผลไม้บางอย่างที่เป็นพิษ แต่ มะพร้าว ผ่านกาลเวลาก่อนมี การแพทย์แผนปัจจุบัน ว่า คนกิน ลิงกิน

ส่วน น้ำมันพืชสังเคราะห์ คือเอาน้ำมันพืช มาเติมไฮโดรเจน ที่เรียกว่า hydrogenate oil นั้น

ถึงจะไม่มีการวิจัยว่าอันตราย และมีการโฆษณาทางสื่ออย่างต่อเนื่องว่าดี

มันจะดีจริงได้อย่างไร ในเมื่อ น้ำมันพืชสังเคราะห์ มียอดขายเติบโตขึ้น พร้อมๆ กับโรคหัวใจที่มากขึ้น

ตัวเลข นี้ ไม่มี แต่เดาเอา

สังเกตุว่า ปัจจุบัน คนเป็นโรคหัวใจกันมากขึ้น

สมัยก่อนกินน้ำมันหมู กินน้ำมันมะพร้าว คนเป็นโรคหัวใจ น้อยมาก

แต่ปัจจุบันเป็นกันมาก

แต่ก็อาจจะอ้างได้ว่า สมัยก่อนนั้น เป็นกันมาก แต่ตายกันก่อน ก่อนจะมารักษา ก็เลยไม่มีตัวเลข

อืม ก็ว่ากันไป

ในเมื่อไม่มีตัวเลข มายืนยัน ผมคิดว่า ผมเชื่อธรรมชาติมากกว่าครับ

แต่อย่างไรก็ตาม อะไรที่มากเกินไปไม่ดีทั้งนั้น ไม่ว่าจะธรรมชาติ หรือไม่ธรรมชาติ
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 40

โพสต์

.... โดนเรียกมาทาง PM ให้มาดูกระทู้นี้หน่อย

โทษทีครับทุกท่าน เพราะสองสามวันนี้มีงานเยอะ ทั้งประชุม workshop สอน ฯลฯ เลยไม่ค่อยได้มานั่งเล่นเท่าไหร่

จะพยายามตอบปัญหาคาใจทุกท่านเท่าที่จะทำได้นะครับ ตกหล่นตรงไหน ช่วยเตือนอีกทีแล้วกัน

1. น้ำมันมะพร้าวกินมาก ๆ ทำให้ไขมันสูงจริงหรือเปล่า รูปภาพ

คำตอบคือ จริงครับ แต่ต้องเข้าใจก่อนว่าเรากำลังมองคำว่า "ไขมัน" กันคนละแง่มุม ยังมีคนจำนวนไม่น้อยครับที่เข้าใจว่า ไขมัน = cholesterol (Chol) แต่ไม่ทราบว่าจริง ๆ แล้วยังมีไขมันที่สำคัญอีกอย่างคือ triglycerides (TG) ด้วย

ทำไมถึงเน้นแต่ Chol - คำตอบก็คือ Chol ที่สูงกว่าปกติ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเส้นเลือดตีบ (atherosclerosis) ครับ ส่วน TG ที่สูงอย่างเดียวไม่มีความสัมพันธ์โดยตรง ยกเว้นว่าถ้ามี Chol สูงด้วย ความเสี่ยงกลับสูงกว่าคนที่ Chol สูงอย่างเดียว

งงหรือเปล่าครับ... อธิบายง่าย ๆ คือ ถ้ามีแต่ Chol สูง อาจจะเสี่ยงหนึ่งเด้ง แต่พอ TG สูงร่วมด้วย กลายเป็นสามเด้งครับ รูปภาพ

น้ำมันมะพร้าวมันเกี่ยวอะไรด้วย คำตอบอยู่ตรงที่ กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) ที่หลาย ๆ คนบอกซึ่งพบมากในไขมันสัตว์ กลับมีมากในน้ำมันมะพร้าวด้วย (ยิ่งมาก ไขมันนั้นจะมีคุณสมบัติเป็นของแข็งในอุณหภูมิห้อง ที่เราเรียกว่า "เป็นไข" ดังนั้นอะไรที่เป็นไข แสดงว่ากรดไขมันอิ่มตัวมันเยอะครับ ไม่เกี่ยวอะไรกับ Chol แม้แต่น้อย) กรดไขมันอิ่มตัวนั้นผ่านการย่อยในเซลล์ด้วยเอ็นซัยม์ต่างกันกับ กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) เป็นผลให้ระดับไขมันในเลือด (ทั้ง Chol และ TG) สูงขึ้น หรือมีชนิดของไขมันที่เรียกว่าไลโปโปรตีน (ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป) เปลี่ยนแปลงไป

ผลของน้ำมันมะพร้าว (หรือกระทิ) ถ้ากินมาก ๆ ก็ทำให้ Chol และ TG ขึ้นได้ทั้งคู่ครับ

แล้วทำไมยังใช้น้ำมันมะพร้าวกันอยู่ - เหตุผลก็คือ น้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวมาก จะมีจุดเดือดสูง (สังเกตดูสิว่าน้ำมันพวกนี้ไม่ค่อยมีควันขึ้นในกระทะร้อน ๆ) และไม่ถูก oxidized (จึงไม่เหม็นหืน) น้ำมันเหล่านี้จึงใช้ทำอาหารพวกทอด ๆ ได้ดี ถ้าพบเห็นอาหารทอด ๆ ทั้งหลายที่ขายในตลาดหรือข้างถนน เกือบทุกรายใช้น้ำมันเหล่านี้ทั้งนั้น (น้ำมันสัตว์, น้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันปาล์ม อย่างใดอย่างหนึ่ง)
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 41

โพสต์

2. ระดับ Chol ที่ดีมันเท่าไหร่แน่ และ LDL, HDL คืออะไร รูปภาพ

คำตอบอยู่ที่ความรู้ที่ก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ ในวงการแพทย์ครับ การกำหนดค่าต่าง ๆ ว่าเท่านี้ผิดปกติ เท่านั้นสูงไป อาศัยการศึกษาทางคลินิกโดยการติดตามดูคนไข้ในอดีตครับว่า ถ้ามีระดับสารเหล่านั้นที่เท่าใด จะมีความเสี่ยง (หรือโอกาสเกิด) โรคต่าง ๆ ได้สูงขึ้นกว่าคนอื่นอย่างชัดเจน

ข้อมูลการศึกษาในอดีตพบว่าถ้าใครมีระดับ Chol สูงกว่า 250 เสี่ยงต่อภาวะเส้นเลือดตีบ (เช่นเส้นเลือดหัวใจตีบ, เส้นเลือดสมองตีบ) สูงกว่าคนทั่วไป ต่อมาเมื่อข้อมูลมันมากขึ้น หรือติดตามคนไข้ไปนานขึ้นกลับพบว่า คนที่สูงกว่า 200 ก็เสี่ยงแล้ว เลยเป็นที่มาว่าทำไมถึงมีการลดจุดตัด (cut-off point) ลงมา 50

ตัวอย่างที่ชัดเจนอีกกรณีคือ ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเท่าไหร่ถึงเรียกว่าคน ๆ นั้นเป็น "เบาหวาน" สมัยก่อนเราถือที่มากกว่า 140 ปัจจุบันกลายเป็น 126 ก็ด้วยเหตุผลเดียวกัน

ดังนั้นค่าปกติว่าไม่เกินเท่านั้นเท่านี้ อนาคตอาจจะเปลี่ยนได้นะครับ รูปภาพ

ความรู้ที่เพิ่มขึ้นก็ยังทำให้เราได้รู้ว่า ไอ้เจ้า Chol และ TG นั่นมันไม่ได้ล่องลอยในเลือดแบบตัวเปล่าเล่าเปลือยแต่อย่างใด มันอยู่ในเลือดในฐานะของอนุภาคเชิงซ้อนร่วมกับโปรตีนบางชนิดที่เรียกว่า ไลโปโปรตีน (lipoprotein, lipo = ไขมัน ส่วน protein ก็...โปรตีน) ไลโปโปรตีนในเลือดแบ่งชนิดใหญ่ ๆ ได้ 5 ชนิด ชนิดที่เรา ๆ ท่าน ๆ รู้จักกันดีก็คือ LDL (ผู้ร้าย) กับ HDL (ตำรวจ) ส่วนชนิดอื่นที่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้จักได้แก่ VLDL, Chylomicron และ IDL

Chol และ TG ในผลเลือดที่เราตรวจมา ก็กระจายอยู่ในไลโปโปรตีนทั้ง 5 นี่แหละครับ แต่เนื่องจากคนทั่วไปมี IDL และ Chylomicron ในเลือดน้อยมาก ถ้าก่อนเจาะเลือดได้งดอาหารมาถึง 12 ชม. เราก็จะ assume เอาว่ามันอยู่ใน VLDL, LDL และ HDL เท่านั้น

การเจาะเลือดปกติเราเจาะ Chol, TG และ HDL เราก็สามารถคำนวณได้ว่า LDL มันเท่าไหร่ โดยใช้สูตรที่หมอนิวบอกมา (TG/5 คือปริมาณเฉลี่ยของ Chol ใน VLDL) สูตรนี้จะจริงก็ต่อเมื่อค่า TG ต้องไม่เกิน 350 ด้วย (เป็น trick ที่เวลาหมอจะแปลผลต้องระวังเสมอ รูปภาพ)

พอเราตรวจมากขึ้น รู้มากขึ้นว่า ถ้าเจ้า Chol ไปอยู่ในรูปของ HDL มาก ๆ กลับเป็นผลดีเพราะทำให้ความเสี่ยงต่อเส้นเลือดตีบมันลดลง (คือมีตำรวจเยอะ ๆ ไว้แหละดี) แต่ถ้า LDL มาก ๆ อันนี้ไม่ดี

ดังนั้นถ้าเราตรวจ Chol อย่างเดียวอาจจะไม่พอเสียแล้ว บางคน Chol ปกติ แต่มีตำรวจ (HDL) น้อย หรือมีผู้ร้าย (LDL) มาก ก็ไม่ดีเหมือนกัน
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 42

โพสต์

3. ไอ้เจ้าไขมันพวกนี้ มันน่ากลัวขนาดนั้นเลยหรือ รูปภาพ

คำตอบก็คือ อย่าเพิ่งตีโพยตีพาย เป็นกระต่ายตื่นตูมครับ เราชาว VI เป็นผู้มีจิตใจหนักแน่น ต้องดูเหตุดูผลกันก่อน

ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดตีบทั้งหลายที่วงการแพทย์ทราบกันดี มีหลักฐานมีเนิ่นนาน พิสูจน์แล้วพิสูจน์อีกจนหมดข้อสงสัยแล้ว ได้แก่ ปัจจัยทางพันธุกรรม, อายุมาก, เพศ (ชาย), ภาวะเบาหวาน (น้ำตาลในเลือดสูง), ไขมันชนิด LDL สูง, ความดันโลหิตสูง และการสูบบุหรี่

ใครมีปัจจัยเสี่ยงหลายข้อ ก็มีความเสี่ยงสูงกว่าคนที่มีปัจจัยเสี่ยงน้อยกว่า

จะเห็นว่า 3 อย่างแรก เปลี่ยนไม่ได้ (หรือเปล่า ?? รูปภาพ) ที่เหลือเราสามารถจะปรับหรือควบคุมมันได้ ดังนั้นวงการแพทย์จึงรณรงค์ให้ควบคุมปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวให้ดีที่สุด

จะเห็นอยู่อย่างหนึ่งว่า ผมใช้คำว่า "ปัจจัยเสี่ยง" หมายความว่า คนที่มีจะเสี่ยงมากกว่าคนที่ไม่มี ดังนั้นจึงไม่แปลกที่จะพบว่า คนที่มีปัจจัยเสี่ยง ก็อาจจะไม่มีโรคหลอดเลือดตีบก็ได้ (หรืออาจเป็นเพราะว่าเขายังไม่เป็นตอนนี้ ซึ่งไม่ได้รับประกันว่าอีก 3 ปี 5 ปีจะไม่เป็น) ... และคนที่แม้จะควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ จนดีที่สุดเท่าที่จะดีได้ ก็ยังอาจจะเป็นโรคได้อยู่ดี (เพราะว่ามีปัจจัยอีกสามอย่างข้างต้น โดยเฉพาะอายุ ที่เราเปลี่ยนหรือหยุดมันไม่ได้)

อย่างว่าครับ มนุษย์เผชิญกับความเสี่ยงตั้งแต่ปฏิสนธิแล้ว (จะพิการแต่กำเนิดหรือเปล่า, คลอดก่อนกำหนด, คลอดยากไหม, จะต้องอยู่ตู้, เจ็บป่วยไม่สบายตอนเป็นทารก, โดนเพื่อนแกล้งที่โรงเรียน, อุบัติเหตุ, ใจแตก-ยาเสพติด, เสียเด็ก, เดินทางแล้วเครื่องบินตก, ทำงานแล้วบริษัทปิดกิจการ, เล่นหุ้นเจ๊ง, ฯลฯ) มันอยู่ที่ว่าเราจะทำอย่างไรที่จะ minimize risk ให้ได้มากที่สุดต่างหาก รูปภาพ

การควบคุมให้ค่า LDL มันไม่สูงเกินไป ทำได้หลายวิธี บางคนอาจจะโชคดี ทำบุญมาเยอะ ค่านี้ไม่สูง อาจจะไม่ต้องทำอะไรมาก ใครที่ปริ่ม ๆ ก็ต้องระแวดระวังเรื่องอาหารการกิน, ออกกำลังกาย, ลดความอ้วน, งดบุหรี่สุรา ใครที่สูงแล้ว คุมด้วยวิธีข้างต้นไม่ไหว อาจจะต้องพึ่งยา

นอกจากปัจจัยที่ว่ามาหกเจ็ดอย่าง ความรู้ที่มากขึ้นในปัจจุบันก็อาจจะทำให้เราเพิ่มปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เข้าไปอีกในอนาคตเมื่อมีข้อมูลยืนยันมากพอ (เช่น ระดับ lipoprotein a หรือ homocysteine เป็นต้น) หรือแม้กระทั่งข้อมูลปัจจัยทางพันธุกรรมที่อาจบอกถึงความเสี่ยงได้ด้วย (เช่น ยีนที่ควบคุมการอุดตันของหลอดเลือด, ยีนที่สัมพันธ์กับภาวะความดันเลือดสูง หรือการจับตัวกันของเกล็ดเลือด เป็นต้น)
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 43

โพสต์

4. Trans fat คืออันหยัง รูปภาพ

คำตอบ trans fat หรือ hydrogenated fat ก็คือกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มาเติมหมู่ hydrogen เข้าไปในตำแหน่งจำเพาะในโครงสร้าง เพื่อทำให้มันกลาย "เป็นไข" ได้, มีจุดเดือดสูงขึ้น, ไม่เหม็นหืน แล้วนำมาใช้แทนกรดไขมันอิ่มตัว

ทำนองเกลียดตัวกินไข่ คือเกลียดกรดไขมันอิ่มตัว (เพราะกินแล้วไม่ดีกับสุขภาพ) แต่ก็ยังอดความกรอบ, ความมัน ความอร่อย ของอาหารที่ทอดด้วยกรดไขมันอิ่มตัวทั้งหลายไม่ได้

เลยสร้าง trans fat ออกมาเพราะคิดว่ามันน่าจะ perfect ได้คุณสมบัตดี ๆ ของกรดไขมันไม่อิ่มตัว และยังทำอะไรต่อมิอะไรในการปรุงอาหารได้ดีเหมือนไขมันสัตว์

ผลเลยใช้กันตรึม ตัวอย่างที่เห็นชัด ๆ คือ เนยเทียม (หรืออีกชื่อคือ มาร์การีน), เลยไขมันที่เรียกว่า shortening (วงการอาหารทอด ๆ และพวก junk food รู้ดี)

ตอนนี้ผลการศึกษาออกมายืนยันแน่ชัดแล้วว่า trans fat นี่เป็นผู้ร้ายแบบสุดขั้วเลย เพราะผลต่อไขมันและการเกิดหลอดเลือดตีบ มันยิ่งกว่ากรดไขมันอิ่มตัวเสียอีก รูปภาพ

เลยรณรงค์กันใหญ่ McDonald, KFC, etc. ออกข่าวจะเลิกใช้ trans fat กันเป็นแถว

... ย้ำนะครับว่า ออกข่าวเฉย ๆ เพราะแม้ในวินาทีนี้ บรรดา fastfood chain ก็ยังใช้อยู่ทุกวี่วัน รูปภาพ กินอะไรก็ระวัง ๆ กันหน่อยครับ
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11443
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 44

โพสต์

ผมได้เอกสารเผยแพร่  จากเครือข่ายพืชปลูกพื้นเมืองไทย  

เอกสารชื่อ  บทบาทของน้ำมันมะพร้าวต่อสุขภาพและความงาม  

โดย  ดร.ณรงค์  โฉมเฉลา




สรปเนื้อหาคร่าวๆ


น้ำมันมะพร้าวมีสรีรวิทยาที่ดีดังนี้

1. ความอิ่มตัว  เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวประกอบด้วยกรดไขมันที่อิ่มตัว  จึงไม่ถูกอะตอมไฮโดรเจนและออกซิเจนเข้าไปแทรกได้ง่ายๆเหมือนน้ำมันไม่อิ่มตัว

1.1  ไม่ถูกเติมไฮโดรเจน  ผิดกับน้ำมันพืขที่ไม่อิ่มตัว  ดังเช่น  น้ำมันถั่วเหลือง  ทานตะวัน  คำฝอย  ข้าวโพด  ซึ่งมีพันธะคู่อันเป็นจุดอ่อนของโมเลกุล  จึงถูกเติมไฮโดรเจนในขบวนการทำให้บริสุทธิ์  ป้องกันการหืนและเมื่อถูกความร้อนสูง  ทำให้โมเลกุลของกรดไขมันไม่อิ่มตัวเปลี่ยนรูปจากโค้ง (Cis Configuration) เป็นรูปตรง (Trans Configuration) เกิดเป็น Trans Fatty Acids ซึ่งทำให้เกิดผลร้ายต่อร่างกายมากมาย

1.2 ไม่ถูกเติมออกซิเจน

1.3 ไม่หืน


2. การเป็นกรดไขมันขนาดกลาง

2.1 เปลี่ยนเป็นพลังงานได้อย่างรวดเร็ว  เนื่องจากส่วนใหญ่ของกรดไขมันของน้ำมันมะพร้าว  มีโมเลกุลขนาดกลาง (C8 - C14) เมื่อเราบริโภคเข้าไปมันจะผ่านกระเพาะไปยังลำไส้  แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานที่ตับอย่างรวดเร็ว (ภายในหนึ่งชั่วโมง) ทำให้ไม่มีไขมันเหลือสะสมในร่างกาย

2.2 เพิ่มอัตราเมตาบอลิสซึม  เร่งอัตราการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงาน หรือ เมตาบอลิสซึม  เพราะมันมีผลทำให้เกิดความร้อนสูง  โดยไปกระตุ้นต่อมธัยรอยด์ให้ทำงานเร็วขึ้นคล้ายกับบุคคลประเภทไฮเปอร์ธัยรอยด์ที่ต่อมธัยรอยด์ทำงานในอัตราที่สูงกว่าคนธรรมดา


3. กรดลอริก และโมโนลอริน

3.1 สร้างภูมิคุ้มกัน  กรดลอริกในน้ำมันมะพร้าว  จะเปลี่ยนเป็นโมโนกลีเซอไรด์ ที่มีชื่อว่า  โมโนลอริน  ซึ่งเป็นสารตัวเดียวกัยที่อยู่ในน้ำนมมารดาที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน

3.2 ฆ่าเชื้อโรค  โมโนลอรินเป็นสารปฎิชีวนะที่ทำลายเชื้อโรคทุกชนิดที่ดีกว่ายาปฎิชีวนะ  ไม่เพิ่มการดื้อยาของเชื้อโรค


4. วิตามินอี

4.1 ต่อต้านอนุมูลอิสระ

4.2 มีสารโทโคทรินอล  ซึ่งเป็นรูปของวิตามินอีที่มีอานุภาพสูงกว่าสารโทโคเฟอรอล ซึ่งอยู่ในวิตามินอีทั่วไป
คุณหมอทั้งหลายอ่านแล้วคิดยังไงบ้างครับ  ผมได้รับน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์จากคุณหมอที่สภากาชาดไทยมา 1 ขวด  ยังไม่กล้ากินเลยครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 45

โพสต์

งั้นเรามาเริ่มจับโกหกกันดีกว่า... รูปภาพ

[quote]ผมได้เอกสารเผยแพร่
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11443
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 46

โพสต์

ขอบคุณมากๆเลยครับ

ขอถามอีกนิดครับว่า  การทาน Fish Oil  จะช่วยเพิ่ม HDL หรือไม่

และมีอะไรที่ช่วยเพิ่ม HDL บ้างครับ  (เท่าที่รู้จะเป็นการออกกำลังกายใช่ไหมครับ)
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
ภาพประจำตัวสมาชิก
naris
Verified User
โพสต์: 6726
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 47

โพสต์

ได้ความรู้จากอาจารย์เพียบเลยครับ :cool:

ขออนุญาตพิมพ์ไปให้ป๊ากับม๊าอ่านนะครับ :bow:
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
ภาพประจำตัวสมาชิก
Pn3um0n1a
Verified User
โพสต์: 1935
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 48

โพสต์

กลับมาจากวิ่งกะป๋า แล้วก็มีคนมาตอบให้เสร็จสรรพ

อธิบายดี เข้าใจง่าย เป็นระบบระเบียบ

สมเป็นระดับอาจารย์  :bow:

ขอบคุณอาจารย์มากๆ ครับ

ขออนุญาติ จำไปอธิบาย คนอื่นๆ ต่อครับ
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 49

โพสต์

[quote="chatchai"]ขอบคุณมากๆเลยครับ

ขอถามอีกนิดครับว่า
MindTrick
Verified User
โพสต์: 1289
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 50

โพสต์

ถ้าคนที่มี HDL 72 , LDL131, TG 33, CHO 201 มีความเห็นยังไงครับ
^
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
ภาพประจำตัวสมาชิก
Pn3um0n1a
Verified User
โพสต์: 1935
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 51

โพสต์

MindTrick เขียน:ถ้าคนที่มี HDL 72 , LDL131, TG 33, CHO 201 มีความเห็นยังไงครับ
อย่างนี้ต้องถามต่อ ว่าคนนี้

 เพศ อะไร
 อายุ เท่าไหร่
 สูบบุหรี่หรือไม่
 มีคนในครอบครัวที่เป็น 1st degree (ญาติลำดับแรก) เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่
 เป็นเบาหวานรึเปล่า
 เป็นความดันโลหิตสูงรึเปล่า

ครับ
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14783
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 52

โพสต์

โห มิน่าคุณหมอส่วนใหญ่ เลยขี้เกียจอธิบายให้คนไข้ฟัง เพราะอธิบายมาหลายปี ส่วนใหญ่ก็ยังฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง

และคนไข้ก็เข้าใจว่าพวกหมอ ไม่ใส่ใจคนไข้ เพราะไม่ยอมอธิบายให้รู้เรื่องๆ

555

โลกก็เป็นแบบนี้

ผมพยายามอ่านอยู่ แต่ก็ยังเข้าใจประมาณ 10 %

และเพิ่งรู้ว่า trigreceride เป็นไขมัน ตอนแรกจำได้ว่า มาจากแป้ง

แต่หลายอย่างอ่านแล้วก็ไม่รู้จะเข้าใจ ได้อย่างไร เพราะไม่รู้ว่า หลักฐานที่พูดมาจาก reserch ต่างประเทศหรือในประเทศ

แต่ไม่ใช่สาระสำคัญที่จะต้องมาพยายาม เอาเป็นเอาตายให้รู้เรื่องให้ได้

เพราะผมเป็นคนธรรมดา สุดท้าย ป่วยก็หาหมอ หมออธิบาย ไม่เข้าใจ ก็ต้องกินยาที่หมอให้ ถึงเข้าใจก็ต้องกินอยู่ดี

สรุปว่า ขอบคุณครับ

อืม ติดอีกหลายเรื่องครับ ที่บอกว่า

1. fish oil ไม่ช่วยเพิ่ม hdl ผมว่าไม่มีการศึกษานะครับ คือเดาว่าไม่มี ไม่ได้ตาม และไม่คิดว่าคนจะไปศึกษาถึงขนาดนั้น อย่าหาว่าผมลบหลู่

ถ้าไม่การศึกษาจริง แสดงว่า สิ่งที่หมอพูด คือ สมมุติฐานจากประสบการณ์ใช่หรือไม่ ถ้ามี ก็ไม่ต้องเอามายืนยันนา ถือว่า ผมเชื่อแล้ว แค่บอกว่ามี

2.

โค้ด: เลือกทั้งหมด

น้ำมันมะพร้าวมีสรีรวิทยาที่ดีดังนี้ 

1. ความอิ่มตัว  เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวประกอบด้วยกรดไขมันที่อิ่มตัว  จึงไม่ถูกอะตอมไฮโดรเจนและออกซิเจนเข้าไปแทรกได้ง่ายๆเหมือนน้ำมันไม่อิ่มตัว 


มันก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะทำให้ saturated fat ดีกว่านี่นา unsaturated fat ดีกว่าเยอะครับ 
ขอนี้หมอตอบว่าไม่ใช่และมีเหตุผลประกอบ แต่ผมว่าใช่ครับ ความอิ่มตัว ทำให้ ออกซิเจน ไม่มา ทำปฎิกิริยา ผลคือ ไม่เกิด อนุมูลอิสระ ซึ่งอนุมูลอิสระ ทีเกิดจากปฎิกิริยา กับออกซิเจน จะทำให้เกิด อะไรอื่นๆตามมาครับ สรุปว่า ไขมันอิ่มตัวดี กว่าไขมันไม่อิ่มตัวในแง่นี้ ตามความเห็นของผมนา ไม่ได้หาเรื่องมาเถียง

3. ดังนั้นน้ำมันพืชที่ใช้กันปกติ ถือว่าไม่มี trans fat ครับ

ข้อนี้ผม ก็อยากให้คุณหมอยืนยัน อีกที เท่าที่เคยอ่านมา น้ำมันพืช กว่าจะผ่านกระบวนการ เติม ไฮโดรเจน ต้องผ่านอุณภูมิ เป็น 1000 องศา และผมเข้าใจ ว่ามี การเติม H เข้าไปเกือบ 100 % ครับ ผลคือไม่เหม็นหืน หากเติม แค่ ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ สุดท้ายก็เหม็นหืนอยู่ดี กลิ่นไม่เกียวครับ แต่ การเติมไฮโดรเจน ทำให้ผิดธรรมชาติของน้ำมัน ซึ่ง ผมไม่มีความรู้ว่ามันอันตรายแค่ไหน เพราะไม่การศึกษา ครับ

4.

โค้ด: เลือกทั้งหมด

Quote: 
2. การเป็นกรดไขมันขนาดกลาง 

2.1 เปลี่ยนเป็นพลังงานได้อย่างรวดเร็ว  เนื่องจากส่วนใหญ่ของกรดไขมันของน้ำมันมะพร้าว  มีโมเลกุลขนาดกลาง (C8 - C14) เมื่อเราบริโภคเข้าไปมันจะผ่านกระเพาะไปยังลำไส้  แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานที่ตับอย่างรวดเร็ว (ภายในหนึ่งชั่วโมง) ทำให้ไม่มีไขมันเหลือสะสมในร่างกาย 
ข้อนี้ผมว่าไม่เกียวกับการดูดซึมเร็วหรือช้า เข้าทางไหนบ้าง แต่เกียวกับโครงสร้างธรรมชาติ ครับ

น้ำย่อยของเราผลิตมาย่อยสารธรรมชาติ ครับ แต่ น้ำย่อย จะไปย่อย น้ำมันพืชเติมไฮโดรเจนผมเดาว่า น่าจะยากกว่า คือผมไม่ได้ติดตามการแพทย์ มานาน และไม่ได้มีหลักฐานอะไร แค่เสนอหน้า เสนอความคิดว่า น่าจะอย่างนี้ แต่หมอมีอาวุธ อยู่ในมือ คือข้อมูล ขออีกครั้งครับ หาอะไรมาหักล้างหน่อย

ขอส่งก่อน แล้วจะถามข้ออื่นๆ ถือซะว่าให้ความรู้กะผมและเพื่อนๆก็แล้วกัน เหนื่อยหน่อยนะ ที่ต้องแปลภาษาแพทย์ เป็นภาษามนุษย์
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14783
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 53

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ทำไมไม่หาไวตามิน อี กินเลยล่ะ... ง่ายดี แต่ถ้ายังไงก็จะเอาจากน้ำมันนี่แหละ งั้นมาลองดูปริมาณไวตามิน อี ในน้ำมันกัน 

น้ำมันมะพร้าว มีไวตามินอี แค่ 1mg ในน้ำมัน 100 กรัม 

เทียบกับ น้ำมันเมล็ดทานตะวัน (55.8mg/100g), น้ำมันถั่วเหลือง (14.6mg/100g), น้ำมันมะกอก (12mg/100g) หรือแม้กระทั่งน้ำมันข้าวโพด (2mg/100g)... 

อย่างนี้ไม่ต้องบอกอะไรอีก...  

เอกสารอ้างอิง... J. Bauernfeind in: L. J. Machlin (ed.): Vitamin E  A Comprehensive Treatise, Marcel Dekker, New York 1980 
การกินวิตามินอีโดยตรง สำหรับคนที่พิสูจน์แล้วว่าขาดวิตามินอีจริงๆ ก็คงจะดี แต่มีใครที่สามารถตรวจได้ขนาดว่า มนุษย์ท่านนี้ขาดวิตามินอี เท่าที่ทราบเมืองนอกตรวจได้ แต่เมื่องไทยยังไม่มี


และการที่บอกว่าทำไม่ไม่กินโดยตรง ผมขอแย้งว่า การกินวิตามินรวม คือการกินอาหารโดยตรง มี การเลือกกินมานับล้านปี แบบลองผิดลองถูกมาแล้ว การกินวิตามินรวม ทางการแพทย์ก็ได้พิสูจน์มาแล้ว ว่าทำงานได้ดีกว่าการกินวิตามินเดี่ยว เช่น กิน A กิน C กิน E ต่อมาบอกว่า กิน A C E รวม น่าจะดีกว่าเป็นต้น
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14783
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 54

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

Quote: 
คุณหมอทั้งหลายอ่านแล้วคิดยังไงบ้างครับ  ผมได้รับน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์จากคุณหมอที่สภากาชาดไทยมา 1 ขวด  ยังไม่กล้ากินเลยครับ 


ไม่กินหน่ะ ดีแล้วครับ แจกคนข้างบ้าน (ดูว่าใครที่เราไม่ชอบหน้าเขาที่สุด... อันนี้ล้อเล่นนะ) หรือไม่ก็เอาไปขายต่อดีกว่าอีก... 


ป.ล..... ทำไมเราล้วงความลับ จับโกหก วิเคราะห์พวกหุ้น พวกกิจการทั้งหลาย ไม่เห็นได้ละเอียดขนาดนี้เลยหว่า... ใครก็ได้ ช่วยสอนที... 
เราจะรู้เหตุผลได้อย่างไรว่าคุณหมอท่านนั้นทำไมถึงให้

คุณ mprandy

เคยตรวจร่างกายคุณฉัตรชัยอย่างละเอียด เคยมีประวัติอย่างยาวนาน เคยซักประวัติคุณฉัตรชัยบ้างหรือไม่

ผมคิดว่าการจ่ายยา หรือ อาหารเสริม หรืออะไรก็ไม่รู้ ให้คนไข้รายหนึ่ง เราต้องไปถาม ก่อนว่า เขาจ่ายทำไม จ่ายเพื่อลดความกังวลหรือไม่ ( placebo ) เป้าหมายของการจ่ายสิ่งนั้น ต้องการอะไร

เราจะสรุปได้อย่างไร ว่า ไม่กินหนะดีแล้ว
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14783
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 55

โพสต์

ขอบคุณหมอ mprandy อีกครั้งนะครับ เวลาของหมอทุกคนมีค่า เรื่องที่ถกกันในกลุ่มหมอ ไม่มีวันจบ

คนนอกเข้าใจว่า เถียงกัน แต่พวกเรียนหมอ ที่ไม่มี ego แรงๆ เข้าใจว่า ถกกัน เพื่อ พัฒนาด้วยกัน ทุกฝ่ายครับ
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14783
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 56

โพสต์

ถ้าผมเป็นหมอนะ ผมมีวิธีคุยกับคนไข้ง่ายๆ คนก็คือคน และคนก็มีแนวโน้มไว้ใจหมอ และคนธรรมดา ก็มีแนวโน้มไว้ใจ ความจริงใจ

ถ้าผมจะตอบคำถามอะไร ผมจะตอบว่า อันนี้ผมคิดเอง อันนี้ไม่มี reserch ในไทย แต่มีในต่างประเทศ เขาบอกว่า

อันนี้ เป็นสมมุติฐานของผมนะ

ว่า

อะไร ก็ว่าไป

แล้วให้คนไข้เลือกเอง

เช่นเรื่อง น้ำมันมะพร้าว ก่อนจะให้ ผมจะอธิบาย สั้นๆ ว่า ผมคิดว่าดีกับคุณ เพราะ 1 2 3 แต่ เป็นความคิดผมเองนะ เป็นสมมุติฐานผมนะ หรือ เป็นผลวิจัยอะไรที่ผมอ่านมานะ

แน่นอน สำหรับคนส่วนใหญ่ใช้วิธีนี้ไม่ได้ เพราะคนไข้จะเข้าใจว่าหมอเอาเรามาทดลอง แต่กับ คนไข้ ช่างถาม คนไข้หัวแข็งอย่างคุณฉัตรชัย อธิบาย แล้วใส่หมายเหตุหน่อยก็ดี
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ryuga
Verified User
โพสต์: 1771
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 57

โพสต์

เห็น lipitor เป็นตัวชูโรงของ pfizer เขาเลยนี่ครับ แพงเลือดซิบๆ :la:

ควบคุมอาหาร ออกกำลังกายดีกว่า ไม่เสียตังค์ ไขมันจะได้ลด :lol:
ฟังหมดแต่เชื่อตัวเอง
Verified User
โพสต์: 117
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 58

โพสต์

แต่ไม่ใช่สาระสำคัญที่จะต้องมาพยายาม เอาเป็นเอาตายให้รู้เรื่องให้ได้
เพราะผมเป็นคนธรรมดา สุดท้าย ป่วยก็หาหมอ หมออธิบาย ไม่เข้าใจ ก็ต้องกินยาที่หมอให้ ถึงเข้าใจก็ต้องกินอยู่ดี
ผมอ่านๆดูแล้ว พี่เจ๋งไม่น่าต้องไปหาหมอที่ไหนแล้ว
พี่ระดับเอี้ยนเฟย กระบี่ผีเสื้อล้อบุบผา (เพื่อนผมเอง)
พวกนี้เขารักษาตัวเองได้
สุดท้ายเอี้ยนเฟยเป็นถึงเซียนทีเดียว
ไม่รู้พี่อยากได้รีเซิร์จเรื่องนี้ด้วยหรือเปล่า
ขำ..ขำ..นะครับ
ไม่ฟังก็โง่ เชื่อมากก็โง่
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 59

โพสต์

คือ... ผมไม่แน่ใจเหมือนกันนะครับว่าบางท่านอาจจะมีอคติกับการแพทย์สมัยใหม่ (หรือผมมีอคติก็ไม่แน่ใจ) แต่ไม่เป็นไรครับ รูปภาพ

บอกก่อนนะครับว่า สิ่งที่ผมว่ามามีข้อมูลยืนยัน แพทย์เราถ้าไม่มีอะไรยืนยัน พูดไปก็มัดตัวเองเปล่า ๆ การใช้ยาหรือการรักษาด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม ก่อนจะนำมาใช้หรือแนะนำกับผู้ป่วย ต้องผ่านการศึกษามาอย่างดี มีข้อมูลเพียงพอว่ามันใช้ได้จริง ๆ

ทางการแพทย์เขาเรียก Evidence-based medicine หมายความว่า ที่ใช้ (หรือไม่ใช้) อย่างนี้ ก็เพราะว่ามีหลักฐานการศึกษายืนยัน

ไม่ใช่การทำเวชปฏิบัติสมัยก่อนที่ทำกันมานาน ที่เป็น Authoritarian medicine คือหมอว่าอย่างงี้ ก็ต้องเป็นไปตามนี้ ฉันเป็นอาจารย์, ผมเป็น expert นะ แกอย่ามาสงสัย ฯลฯ

เอาเป็นว่า ผมตอบคุณ Jeng ในข้อที่ถามแล้วกันครับ ตกหล่นตรงไหน บอกได้อีกที

1. Fish Oil กับการเปลี่ยนแปลงของระดับไขมันในเลือด (lipid profile) มีการศึกษาเยอะครับ ผลออกมาคล้ายคลึงกันคือ ลด TG, ไม่ช่วยลด HDL (อย่างมีนัยสำคัญ ไอ้ประเภทลดแค่จิ๊บ ๆ 1% มันไม่พอที่จะบอกว่าลดเพราะ Fish Oil)

ผมเอาตัวอย่าง Abstract มาให้ดู
Diabetologia

Effect of omega 3 fatty acid on plasma lipids, cholesterol and lipoprotein fatty acid content in NIDDM patients.

Goh YK, Jumpsen JA, Ryan EA, Clandinin MT.
Nutrition and Metabolism Research Group, University of Alberta, Edmonton, Canada.

This study was conducted to examine the effect of omega 3 fatty acid supplementation on plasma lipid, cholesterol and lipoprotein fatty acid content of non-insulin-dependent diabetic individuals consuming a higher (0.65, n = 10) or lower (0.44, n = 18 ) ratio of dietary polyunsaturated to saturated fatty acid (P/S). The participants were initially given an olive oil supplement (placebo) equivalent to 35 mg of 18:1. kg body weight-1.day-1 for 3 months. This was followed by two omega 3 supplement periods in a randomized crossover. In these 3-month periods, participants were given a linseed oil supplement equivalent to 35 mg of 18:3 omega 3.kg body weight-1.day-1 or a fish oil supplement equivalent to 35 mg of 20:5 omega 3 + 22:6 omega 3.kg body weight-1. day-1. At the end of each supplement period, a blood sample was drawn from each participant for lipid, lipoprotein, insulin, glucagon and C-peptide analyses. At the end of each 3-month period a 7-day dietary record was completed to calculate dietary fat intake and P/S ratio. Results indicate that fish oil significantly reduced plasma triacylglycerol level (p < 0.05) and increased 20:5 omega 3 and 22:6 omega 3 content of all lipoprotein lipid classes. Linolenic acid supplementation had no effect on plasma triacylglycerol level, but it increased 18:3 omega 3 content of lipoprotein cholesterol ester fractions (p < 0.05). A slight increase in 20:5 omega 3, but not 22:6 omega 3, content was noted in lipoprotein lipid classes as a result of 18:3 omega 3 supplementation. LDL and HDL cholesterol, insulin, glucagon and C-peptide levels were not affected by either omega 3 supplement. It is concluded that a modest intake of omega 3 fatty acids, such as could be obtained from consuming fish regularly, will reduce plasma triglyceride level without affecting LDL or HDL cholesterol levels.

PMID: 9028717 [PubMed - indexed for MEDLINE]
J Nutr
Normal subjects consuming physiological levels of 18:3(n-3) and 20:5(n-3) from flaxseed or fish oils have characteristic differences in plasma lipid and lipoprotein fatty acid levels.

Layne KS, Goh YK, Jumpsen JA, Ryan EA, Chow P, Clandinin MT.
Nutrition and Metabolism Research Group, University of Alberta, Edmonton, Canada.

The study assessed the effect of low doses of fatty acids from fish or flaxseed oil on plasma lipid concentrations in normal humans consuming diets with either high (0.87, n = 11) or low (0.48, n = 15) dietary polyunsaturated/saturated fatty acid (P/S) ratios. The dose of (n-3) fatty acids reflected an (n-3) intake that could easily be attained by selection of foods in a normal diet. The individuals were initially supplemented with olive oil [35 mg 18:1/(kg body weight.d)], and then were randomly assigned to either flaxseed or fish oil [35 mg 18:3(n-3) or 35 mg 20:5(n-3) + 22:6(n-3)/(kg body weight.d), respectively] treatments. Participants consumed each oil supplement for 3 mo. Blood samples were drawn for analysis at the end of each 3-mo period. Plasma triacylglycerol, total, LDL and HDL cholesterol concentrations, and lipoprotein fatty acid concentrations are shown. Fish oil reduced plasma triacylglycerol and increased lipoprotein levels of 20:5(n-3) and 22:6(n-3). The flaxseed oil did not alter plasma triacylglycerol level and produced small changes in 20:5(n-3) and 22:6(n-3) concentrations. Total, LDL and HDL cholesterol levels were not affected by either (n-3) fatty acid. Significant differences in plasma triacylglycerol concentrations and total and LDL cholesterol levels were found between the two dietary P/S groups after all oil treatment periods. Levels of 18:3(n-3), 20:4(n-6), 20:5(n-3), and 22:6(n-3) in LDL were also different in high vs. low dietary P/S groups for all oil treatments and in the VLDL for the olive oil and fish oil supplementation. This study indicates that low intake of purified fish oil induces changes in plasma triacylglycerol, 20:5(n-3) levels in VLDL, LDL, and HDL, and 22:6(n-3) levels in LDL and HDL that are apparent after 3 mo and which might influence atherogenicity of lipoprotein particles in normal free-living individuals.

PMID: 8814201 [PubMed - indexed for MEDLINE]
ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถค้นหาได้ผ่าน PubMed ครับ
สำหรับ Link ของ Abstract ทั้งสองอยู่ที่
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/sites/entre ... stractPlus
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/sites/entre ... stractPlus

ซึ่งสามารถดาวน์โหลด Full paper มาอ่านได้ด้วยครับ

2. เรื่องน้ำมันพืช
3. ดังนั้นน้ำมันพืชที่ใช้กันปกติ ถือว่าไม่มี trans fat ครับ

ข้อนี้ผม ก็อยากให้คุณหมอยืนยัน อีกที เท่าที่เคยอ่านมา น้ำมันพืช กว่าจะผ่านกระบวนการ เติม ไฮโดรเจน ต้องผ่านอุณภูมิ เป็น 1000 องศา และผมเข้าใจ ว่ามี การเติม H เข้าไปเกือบ 100 % ครับ ผลคือไม่เหม็นหืน หากเติม แค่ ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ สุดท้ายก็เหม็นหืนอยู่ดี กลิ่นไม่เกียวครับ แต่ การเติมไฮโดรเจน ทำให้ผิดธรรมชาติของน้ำมัน ซึ่ง ผมไม่มีความรู้ว่ามันอันตรายแค่ไหน เพราะไม่การศึกษา ครับ
น้ำมันพืชที่ผ่านกระบวนการอย่างที่คุณ Jeng ว่า คือการทำ trans fat ครับ ไม่ใช่การผลิตน้ำมันพืชอย่างน้ำมันกุ๊ก น้ำมันองุ่น หรือน้ำมันทิพ การผลิตน้ำมันขวดอย่างนี้อาศัยการสกัดด้วยไอน้ำธรรมดานี่เอง

ส่วนกระบวนการข้างต้น คือการทำมาร์การีน และ shortening และ trans fat เหล่านี้จะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง

ลองอ่านเพิ่มเติมใน Wiki ก็ได้ http://en.wikipedia.org/wiki/Hydrogenation หรือ http://en.wikipedia.org/wiki/Trans_fat

3. น้ำย่อยในลำไส้ ย่อย saturated หรือ unsaturated fat ไม่ต่างกันครับ เพราะกระบวนการย่อยไขมัน (neutral lipid - triglycerides) ในลำไส้ อาศัยการตัด TG ให้เป็นกรดไขมัน (fatty acid) กับ glycerol ก่อนจะดูดซึม ส่วนที่มันอิ่มหรือไม่อิ่มตัว จะอยู่ที่ fatty acid ครับ ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงโดยน้ำย่อยแต่อย่างใด และก็ดูดซึมเข้าไปเหมือนเดิม พอเข้าไปในเซลล์แล้ว จึงเอา fatty acid กับ glycerol มาประกอบกันกลายเป็น TG เหมือนเดิม แล้วขนส่งออกจากลำไส้

saturated fatty acid หรือ unsaturated fatty acid จะถูกเซลล์ในร่างกายจับเข้าไปแล้วไปย่อยในเซลล์โดยอาศัยเอ็นซัยม์อีกที

ส่วนเรื่องว่าทำไมหมอถึงให้น้ำมันมะพร้าวคุณ chatchai จริง ๆ ผมก็อยากถามเหมือนกัน

เพราะผมไม่เคยเห็นมีหมอคนไหนให้ ถ้าเจอกันจริง ๆ ก็คงถามหมอเขาโดยตรง

แต่เรื่องคำแนะนำว่าไม่ควรกิน ผมคิดว่าถึงไม่รู้ประวัติ ไม่เคยตรวจร่างกาย ผมก็ยังไม่แนะนำให้กินอยู่ดี เพราะผมไม่เห็นประโยชน์ว่าการกินให้ผลดีในโรคหรือความเจ็บป่วยอะไรเป็นพิเศษ และยังมีไขมันที่มีคุณภาพดีกว่าอีกเยอะที่สามารถใช้ทดแทนได้

คล้าย ๆ กับการแนะนำว่า งดเหล้า เมาไม่ขับ งดบุหรี่ โดยที่เราก็ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าเขามีประวัติอะไรมาก่อน ตรวจร่างกายเจออะไร เพราะยังไง เหล้า บุหรี่ มันเป็นโทษ และไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอะไร ในฐานะแพทย์ก็ต้องแนะนำตามหน้าที่

แต่ใครจะยังคงสูบ ดื่ม อยู่อันนี้เป็นวิจารณญาณของแต่ละบุคคลครับ หมอก็ดื่ม ก็สูบ อยู่เยอะแยะ ไม่แปลกอะไร

ป.ล. คำแนะนำที่ว่ามา ผมถือเป็น Directive counseling (Giving Advice) คือถ้าเรารู้อยู่เต็มอกว่าตัวเลือกอะไรดีกว่าอย่างชัดเจน ถือเป็น committment ของเราที่ต้องบอกไปตามนั้นเพื่อประโยชน์ของคนไข้ โดยหวังให้คนไข้เชื่อและปฏิบัติตาม (คือหลักง่าย ๆ ว่า ถ้าผมแนะนำคุณพ่อ คุณแม่ผมอย่างไร ก็คงต้องแนะนำคนไข้เหมือน ๆ กันสิ)

การที่คุณ Jeng ต้องการ Advocacy counseling มากกว่า ประเภทให้ตัวเลือก บอกข้อมูล ข้อดีข้อเสีย ผมจะใช้ก็ต่อเมื่อรู้ว่าทางเลือกมันมีมากกว่าหนึ่ง แต่ละตัวเลือกมีข้อดี ข้อเสียของมันอยู่ อย่างนี้จึงจะเปิดโอกาสให้คนไข้เลือก เช่น การรักษาโรคนี้ มันมีหลายวิธี วิธีนี้ข้อดีคือ... ข้อเสียคือ... อีกวิธีนึง ข้อดีคือ... ข้อเสียคือ... คนไข้ตัดสินใจเองว่าตัวเลือกใดเหมาะสมที่สุดกับตัวเอง ไม่มีตัวเลือกที่ผิดหรือถูก

การใช้เทคนิคการให้คำปรึกษาผิด ก็ปวดหัว ถ้าเรารู้ว่าตัวเลือกมันดีที่สุดเหนือตัวเลือกอื่น แล้วดันไปใช้ Advocacy เกิดคนไข้เลือกผิด ก็แย่  ถ้าสถานการณ์ไหนควรเป็น Advocacy แต่เราไปใช้ Directive คนไข้อาจจะมองว่าเราบังคับอีก รูปภาพ
...
Verified User
โพสต์: 1817
ผู้ติดตาม: 0

น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด

โพสต์ที่ 60

โพสต์

กระทู้นี้มีประโยชน์จริงๆ เพิ่งไปตรวจเลือดมาด้วย เด๋วรู้ผลคงได้เอามาเทียบ  :D
แมงเม่าบินเข้ากลางใจ