หัดทำสมาธิครับ

เชิญมาพักผ่อน คลายร้อนนั่งเล่น คุยกันเย็นๆ พร้อมเรื่องกีฬา สัพเพเหระ ทัศนะนานา ชีวิตชีวา สุขภาพทั่วไป บันเทิงขำขัน รอบเรื่องเมืองไทย ชวนเที่ยวที่ไหน อยากไปก็นัดมา ...โย่วๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
san
Verified User
โพสต์: 1675
ผู้ติดตาม: 0

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 61

โพสต์

ช่วงนี้ผมเห็นแต่คนกลับบ้านเก่าครับ

รู้จักคำนี้  ตอนเรียน มัธยมต้น  
เพราะว่าพ่อบอกว่าแกจะกลับบ้านเก่าแล้ว  
ไอเราก็เซ่อซ่า  ไม่รู้ความ  
จนแม่ต้องมาขยายความ....

ทุกๆคนต้องกลับบ้านเก่าครับ
สะสมก็พอประมาณ.....ขยันก็พอประมาณ......

....หาความสุขให้กับชีวิตบ้างนะครับ  เพื่อนๆ..พี่ๆ..น้องๆ
....ความสุขที่ไม่หวือหวาเกินไป
....น่าจะดีนะครับ
ขอบคุณ รุ่นพี่ๆ รุ่นน้องๆ ครูบา อาจารย์ ในนี้ ที่แนะนำเรื่อง วิธีการลงทุนที่ดี นะครับ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ryuga
Verified User
โพสต์: 1771
ผู้ติดตาม: 0

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 62

โพสต์

ด้วยวาระดิถีอันเป็นมงคล ก่อนปฏิบัติธรรม สมาธิภาวนา ก็กล่อมเกลาจิตใจด้วยพระธรรมเทศนาก่อนครับ

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

            ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตตํ

     ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ

     การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑
     การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน?
     ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แหละ คือปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ เจรจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งจิตชอบ ๑
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน.
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ คือ ปัญญาเห็นชอบ ๑ ... ตั้งจิตชอบ ๑.

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ.
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้.
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล เราก็ได้กำหนดรู้แล้ว.

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละเสีย.
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล เราได้ละแล้ว

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ.
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง.
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล เราทำให้แจ้งแล้ว.

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรให้เจริญ.
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล เราให้เจริญแล้ว.

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีแล้ว เพียงใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น.
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา ในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์.
     อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความพ้นวิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาติ นี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีต่อไป.

     ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา.

     ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าภุมมเทวดาได้บันลือเสียงว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ  ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้.
     เทวดาชั้นจาตุมหาราช ได้ยินเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.
     เทวดาชั้นดาวดึงส์ ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.
     เทวดาชั้นยามา ...
     เทวดาชั้นดุสิต ...
     เทวดาชั้นนิมมานรดี ...
     เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดี ...
     เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดีแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไปว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ  ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้.
     ชั่วขณะการครู่หนึ่งนั้น เสียงกระฉ่อนขึ้นไปจนถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้แล.
     ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย.
     ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่า ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านพระโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้.

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พระปฐมเทศนานี้ เจริญได้ทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานครับ  :bow:  :bow:  :bow:  :pray:
ภาพประจำตัวสมาชิก
nano
Verified User
โพสต์: 447
ผู้ติดตาม: 0

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 63

โพสต์

นัตถิ  สันติ  ปรมัง  สุขขัง     สุขอื่นใดยิ่งกว่าความสงบไม่มีครับ

........................................

ประเทศเวียตนามตอนเหนือ  จะเป็นมหายาน

ส่วนตอนล่างจะเป็นหินยาน
ภาพประจำตัวสมาชิก
nano
Verified User
โพสต์: 447
ผู้ติดตาม: 0

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 64

โพสต์

หลวงปู่แหวนเคยพูดไว้ว่าการกระทำของคนเรานั้น  หนีไม่พ้นสองมือสองเท้า
กับหนึ่งหัว       ส่วนหลวงปู่บุดดาก็กล่าวเน้นเรื่องกายกับใจ

   ในเรื่องการทำสมาธินั้น   โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็นสองคือสมถะและวิปัสสนา

   แต่คุณแม่บุญเรือน  โตงบุญเติมก็ทำให้ผมรู้จักกับคำว่าสมาธิลืมตาและสมาธิหลับตา

    และผมก็เห็นด้วยว่าการฝึกสมาธิควรเริ่มฝึกเน้นที่กายก่อน   แต่ในความเป็นจริงแล้ว    จะมีองค์ประกอบทั้งกายและใจ(บางท่านใช้คำว่าจิต)อยู่ตลอดเวลา
   
   วันนี้เป็นวันเข้าพรรษา    ได้เข้ามาอ่านในกระทู้นี้    ก็เลยอยากจะพูดเรื่องสมาธิลืมตาบ้าง    ภาษาทางพระเรียกว่าการเดินจงกรมนะครับ    ซึ่งหลวงพ่อจรัญให้ความสำคัญมาก   ว่า ถ้านั่งสมาธินานเท่าไร   ก็สมควรเดินจงกรมให้ได้นานเท่านั้นด้วย    

    วิธีที่ผมเรียนรู้นำมาปฏิบัติคือ    เมื่อยามจะเดิน   ให้ยืนตรง  มือหนึ่งกุมข้อแขนอีกข้าง    จะไว้ด้านหน้า หรือ ข้างหลังก็ได้    เมื่อจะก้าวย่าง   ใช้แค่สามจังหวะเท่านั้น  คือ  ยก(เท้า)    ย่าง(เสือกเท้าออก)  เหยียบ(ลงสู่พื้น)

      การยืน  ยืนให้ตรง    เท้าห่างกันแต่พอดี    เท้าให้เสมอกันไปข้างหน้า   ไม่แบะเท้าออกหรือหันปลายเท้าเข้าหากัน    และเมื่อยามก้าวย่างก็ไม่แบะเท้าเดิน(เป็นคนโมหะจริต)    ไม่ใช้ส้นเท้าลงพื้น(คนโทสะจริต)    ไม่ใช้ปลายเท้าลงก่อน(คนราคะจริต)    แต่ให้ยกฝ่าเท้าขึ้นและลงฝ่าเท้าด้วยใจสงบเย็น   นี่คือการเดินแห่งสันติ    

      ยามก้าวย่างให้มีสติสัมปชัญะรู้ตัวทั่วพร้อม    แต่ให้ระลึกรู้ที่เท้าที่ก้าวย่าง   ไม่ต้องท่องภาวนาอะไร   เมื่อยกเท้าให้รู้ว่ายก     เวลาเสือกเท้าออกทำความรู้สึกปลายนิ้วเท้าที่กำลังแหวกอากาศออกไป    เมื่อเหยียบลงพื้น  เกิดผัสสะ(สัมผัส)   ให้ระลึกรู้ว่า   เย็น หรือ ร้อน หรือ อ่อน หรือ แข็ง ( เย็น-ร้อน-อ่อน-แข็ง)     จังหวะในการก้าวย่างช้าหรือเร็ว    หาความพอดีได้ด้วยตนเองในกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติเป็นหมู่คณะ  

      ทุกครั้งที่ปฏิบัติ   ขอให้ได้อย่างน้อยสักครึ่งชั่วโมงจะเป็นการดี  แล้วค่อยนั่งต่ออีกครึ่งชั่วโมง    

       ทำไปสักระยะหนึ่งก็จะค่อยๆเห็นการเปลี่ยนแปลงทั้งกายและใจเองครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
nano
Verified User
โพสต์: 447
ผู้ติดตาม: 0

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 65

โพสต์

*เวลาเสือกเท้าออกทำความรู้สึกปลายนิ้วเท้าที่กำลังแหวกกระทบอากาศ   ว่าอากาศ ร้อน  อุ่น หรือ เย็น
007-s
Verified User
โพสต์: 2496
ผู้ติดตาม: 0

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 66

โพสต์

อิอิ มีพี่ๆเข้ามาแจมเต็มเยย ชอบๆ ชอบทุกอันเยยค่ะ

:D

พี่หลินจือว่า...
ผมเคยเป็นนะครับว่า อยากหาหุ้นที่แข็งแกร่งนาน ๆ มาก ๆ เติบโต
ผมเคยยึดติดหุ้นบางตัว ชอบมาก กำไรได้มาก (แต่ราคาก็เริ่มนิ่งนาน) กอดมันไว้

แต่พอเรียนรู้พระธรรม ก็รู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้เลยกฎไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ตอนนี้เลยไ่ม่มีัอัตตา ปรับพอร์ท เปิดใจเรียนรู้ และไม่ประมาทตั้งอยู่บนสติ
อันนี้จริงค่ะ ลองดูจิ ทุกอย่างนะ ถ้าใช้หลักธรรมเข้ามาร่วมในการตัดสินใจ อะไรๆมันดูไม่ยากเท่าเก่า ไม่ใช่แค่เรื่องหุ้นนะ ทุกเรื่องเลย


อ่า...ทีนี้มาต่อกันต่อ ที่ดิฉันค้างไว้ (เอาให้จบหมวดสองก่อนล่ะกัน)

ความเดิมตอนที่แล้ว....
7  กำหนดรู้ ทำความเข้าใจ ให้ทราบว่า "เวทนา"(ซึ่งในที่นี้คือ ปีติ สุข)นั้น มันเป็นผู้ทำหน้าที่ปรุงแต่งจิต มันทำให้จิตนั้นไม่สงบ ให้คิดไปต่างๆนาๆ เมื่อต้องการความสุข-ทุกข์-หรือไม่สุขทุกข์ นั้นๆ...ในขั้นนี้เรียก "รู้จิตสังขาร" (รู้จิตทั้งปวง รู้ว่าเวทนาปรุงแต่งจิต)

ดังนั้น...จึงต้องจัดการมัน ....ทราบแจ้งแล้วไง ว่าไอ้หมอนี่เองเป็นตัวการ  

8  ทำจิตสังขารให้สงบระงับอยู่  คือ ระงับเสียซึ่งอิทธิพลซึ่งอำนาจของเวทนา(ซึ่งมันได้ปรุงแต่งจิตให้วุ่นวาย)

.
.
.
ในรายละเอียดอาณาปานสติขั้นที่ 8 นี้ ยังฟังไปไม่ถึง ว่าท่านจะแนะว่าอย่างไร
แกะมาต่ออีกหน่อยแย้วค่ะ  :mrgreen:
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 67

โพสต์

ชอบแนวคิดเรื่องตลาดหุ้นเป็นที่สอนเราเรื่องความไม่แน่นอนที่ดีครับ
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
007-s
Verified User
โพสต์: 2496
ผู้ติดตาม: 0

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 68

โพสต์

อานาปานสติ ขั้นที่ 8 ...รู้จิตสังขารระงับอยู่

ดิฉันขอตั้งชื่อตามแบบฉบับวัยโจ๋ให้ว่า "เอามันให้อยู่ในกำมือ" :lol:
ในขั้นนี้ ยังไม่ถึงกะจะฆ่าให้สิ้นไปนะคะ(เราจะไปฆ่ามันในขั้นที่ 13 เป็นต้นไปค่ะ)
คือขั้นนี้จะทำให้มัน ลดลง ระงับลงก่อน

ขั้นที่ 7 นั่น รู้แล้วนิ ว่าเวทนา(ความรู้สึก)นั่นเองเป็น ตัวปรุงแต่งจิต ดังนั้นรู้จักตัวแสบแล้ว รู้ล่ะว่าต้องจัดการที่หัวโจกท์

หลักการมันอันเดียวกันกะตอนจัดการกะ กาย คือการทำให้เครื่องปรุงแต่งนั้นมันระงับอยู่......แต่อาวุธที่ใช้จะคนละอันกัน (อันแรกเข้าข่ายล่อลวงค่ะ ล่อให้มันเข้ามาหลงอยู่ในปีติ_สุข จึงสามารถผลิตสมาธิได้ แต่อันนี้เริ่มติดอาวุธล่ะ :twisted: )

เทคนิคในการระงับเวทนานี้ ใช้วิธีการพิจารณาถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ...หรือไตรลักษณ์นั่นเอง ...ไตรลักษณ์นี้ จะทำหน้าที่ต่อสู้ ทำลายกิเลส ค่ะ

เวทนาในที่นี้ เราจะยกเอาปีติ และสุข ที่เกิดมาได้เพราะเราเป็นผู้ผลิตมันขึ้นมาเอง ในขั้นตอนหมวดแรก (ที่จบถึงเอกคตา)
(ในชีวิตจริงๆนั้น ความรู้สึกทุกแบบ เป็นเวทนาทั้งนั้น ร้อน หนาว เป็นสุขเป็นทุกข์ สงสัย กังวล คัน .....,อะไรก็ตาม ที่มันกระทบผ่าน ช่องทางทั้งห้า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะผลิตเวทนาขึ้นมา และเวทนา จะมากระทบต่อจิตอีกทอดนึง มันทำให้จิตนั้นนึกคิดไปต่างๆได้ เช่น คันก็รำคาญ เลยคิดโมโหยุงอย่างมาก นี่เรียกว่า เวทนาปรุงแต่งจิตเสียแล้ว)

ปีติ มาจากความสำเร็จในสิ่งที่ตัวเรากระทำ ความอิ่มอกอิ่มใจนี้ มันทำให้ใจเต้น จะทำให้มันสงบลงได้ก็ต้องทำให้มันอ่อนกำลังลง ด้วยการพิจารณา
อาวุธที่ชื่อ ปัญญาที่เห็นใน อนิจจังทุกขัง อนัตตา เป็นปัญญาที่มีความสามารถมากที่สุดในการฆ่าเวทนาลงได้

พิจารณาว่า ปีติเป็นของไม่จริงจัง หลอกลวง และมายา ...มันเพิ่งเกิดตะกี๊นี้เอง มันเกิดมาจากสิ่งกระตุ้น ปรุงแต่ง ดังนั้นทราบแจ้งแล้ว ว่านี่มันไม่เที่ยง = อนิจจัง
มันเป็นไปตามสิ่งแวดล้อมอยู่เรื่อยไป มันเปลี่ยนแปรไป

เมื่อพิจารณาจนเข้าใจแล้ว จึงเกิดสงบระงับลดลงได้ เพราะจะเกิดความสังเวชขึ้น มันจะคลายความรัก ความพึงพอใจ ที่ได้เกิดในปีตินั้นๆ
เห็นว่า เวทนานั้น ถ้าใครไปรักไปหลงมันเข้าจะเกิดทุกขืขึ้นในที่สุดตามมา = ทุกขัง
แม้พระพุทธเจ้าเอง ก็ยังเกิดหลงในปีติ และสุขที่เกิดในฌานนั้นเลยในตอนที่นั่งปฏิบัติอยู่ได้ถึง 7 วัน 7 คืน แล้วก็ทราบแจ้งขึ้นมาได้ว่า อ้าวเจ้านี่เองตัวแสบ มันทำให้หลงไหลไปได้ ไม่สามารถจะได้หลับได้นอนอย่างปกติ

จนสุดท้าย พอเราสลัดหลุดออกจากความหลงได้แล้ว เราก็ทราบได้อย่างแทบจะอัตโนมัติตามมาว่า แม้แต่ตัวเวทนานั้นเอง ก็ไม่ได้มีตัวตนอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง =อนัตตา

(เทคนิคคือ ให้เราพิจารณาถึงอนิจจัง เน้นๆไปที่อนิจจัง แล้วพอแจ้งในอนิจจังแล้ว ทุกขัง อนัตตา มันแทบจะโอโต้มาเลย)

:D
007-s
Verified User
โพสต์: 2496
ผู้ติดตาม: 0

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 69

โพสต์

เกล็ดเล็กเกล้ดน้อย แต่ไม่ด้อยประโยชน์ มีดังนี้

ชนะ อิ่มใจ(ปีติ)ได้ ย่อมหมายถึง เอาชนะ สุขได้ เพราะสุขมันเกิดมาจากปีติก่อน

ความรู้สึกปีติ คือ มันจะลิงโลดกระโดดโลดเต้น และดิ้นรนกว่า(ช่วงแรกของสุข)
ความรู้สึกเป็นสุข คือ เมื่อปีติมันสงบระงับลงแล้ว จึงเกิดสุข มันเหนียวแน่นกว่า ละเอียดกว่า (เข้าข่ายยึดติดแล้ว)

ปีตินั้น มันมีฤทธิอำนาจ สามารถทำให้นอนหลับไม่ได้(ไม่ว่าปีติทางโลกหรือทางธรรม) มันทำให้จิตคิดไปได้สองทาง คือ กุศล หรือ อกุศล
ตรงนี้ท่านให้พึงระวังนะคะ บางท่านคิดไปถึงเรื่องอยากจะทำกุศล แต่ลึกๆก็อาจจะหวังอยากได้ผลตอบแทนจากการทำกุศลนั้นๆ ...นี่ไงเจ้ากิเลส ความอยากแอบแฝงกายเข้ามาเงียบๆแล้ว ต้องระวังว่ามันพลิกกลับมาเป็นความโลภได้

ต้องทำปีติซึ่งเป็นเวทนาตัวร้ายให้ระงับอยู่ เราต้องคุมฤทธิเดชของปีติสุขให้ลดลง
การคิดนี่มันทรมาน ยิ่งคิดไม่มีจุดจบยิ่งไปกันใหญ่

การเอา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา "อบ" ลงไปในเวทนานั้น ให้ในแห้งลงไปเอง
เปรียบเหมือนการที่ผ้ามันเปียก ก็จึงเอามาตากแดด มันก็จะแห้งไปเองโดยไม่ต้องนั่งภาวนาให้มันแห้ง
พิจารณาถึงไตรลักษณ์ให้เห็นอยู่อย่างนั้น ให้ไตรลักษณ์มันคงอยู่ดั่งแสงแดดที่มันมีอยู่เพื่อทำให้ผ้ามันแห้งไปเอง

ให้ถามตัวเราเอง ว่า เราจะเอาชนะมันมั้ย หรือจะยอมให้มันชนะเรา
เหมือนตอนพระพุทธเจ้าหลงเข้าไปติดในความรู้สึกปีติสุขครั้งนั้น ท่านไม่ยอมให้มันชนะเรา ท่านไม่ยอมให้เรานั้นถูกเชิดอีกต่อไป
เป็นเรื่องปกติ ของสันชาติญานมนุษย์ เรา"ชอบ"ให้เกิดเวทนา ชอบให้มีอะไรมากระตุ้น ....เราถุกเชิดโดยไม่รู้ตัวเสียแล้ว :!:  :!:  :!:


สุดท้ายของบทนี้ หากเกิดคุณประโยชน์แก่ผู้ใดแม้เพียงอีกหนึ่งคน จากนับล้านๆคน ในโลกนี้ ขอยกคุณงามความดีอันนี้ ถวายคืนแด่พระพุทธเจ้า และท่านพุทธทาส(เจ้าของธรรมบรรยายในชุดนี้)
หากเกิดคลาดเคลื่อนอันใดในการถอดความ ขอให้ทราบไว้เพียงว่า เป็น 007-s นั่นเองที่สะเพร่าเกินไป อิอิ ขออภัยไว้ก่องล่วงหน้าค่ะ และขอให้พี่ๆท่านอื่นช่วยขยายความและแก้ไขให้ถูกต้องด้วย :mrgreen:


:bow:
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1464
ผู้ติดตาม: 1

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 70

โพสต์

ชอบให้มีการแลกเปลี่ยนแบบนี้เยอะ ๆ จัง

ท่านที่มีปัญญามาก มีเยอะแยะมากมายในที่นี้ และผมก็ได้เรียนรู้มาก

ผมอ่านกระทู้นี้แรก ๆ อยากแจมมาก แต่มีจิตกังวล กลัวผิด พลาด และโดนต่อว่า (ว่าใคร ถาม)

สติทำให้ระลึกรู้ว่า คิดหนอ อัตตาหนอ

โอกาสวันสำคัญทางพระพุทธ ขอเผยแผ่บุญบารมีให้พี่ทุกท่านในเวปนี้
พ้นจากความทุกข์ เต็มไปด้วยความสุข อายุ วรรณะ สุขะ พละ
อุดมไปด้วยปฏิภาณ ธรรมสาร ธนสาร สมบัติ
และได้มีโอกาสเดินตามแนวทางพระุพุทธองค์ด้วยเทอญ
August
Verified User
โพสต์: 510
ผู้ติดตาม: 0

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 71

โพสต์

:pray:  :pray:  :pray:
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ryuga
Verified User
โพสต์: 1771
ผู้ติดตาม: 0

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 72

โพสต์

อยากถามว่าพี่ๆ ทั้งหลายมีใครฝึกสมาธิแบบเต๋ามั้ยครับ ผมจะได้ขอคำชี้แนะเรื่องโคจรลมปราณ สร้างเสริมพลังวัตร :lol:
ภาพประจำตัวสมาชิก
por_jai
Verified User
โพสต์: 14338
ผู้ติดตาม: 0

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 73

โพสต์

Ryuga เขียน:อยากถามว่าพี่ๆ ทั้งหลายมีใครฝึกสมาธิแบบเต๋ามั้ยครับ ผมจะได้ขอคำชี้แนะเรื่องโคจรลมปราณ สร้างเสริมพลังวัตร :lol:
8) สี่หกเอี่ยว ไม่เคยฝึก
    ฝึกชี่กง
    ฝึกแล้วรู้ว่ามีลมปราณเคลื่อนไหวอยู่ในร่างกาย
    รู้สึกได้ว่า ดีกว่า ได้มากกว่าไปวิ่งออกกำลังซะอีก
    ผมว่าชี่กงนี่เป็นนักปราชญ์ชั้นกูรูคิดขึ้นมาเพื่อ
    เป็นกลอุบายให้เราสนุกกับการมีสมาธิ
    เพราะช่วงที่เราฝึกชึ่กงนี่เราต้องอยู่กับลมปราณตลอด
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ryuga
Verified User
โพสต์: 1771
ผู้ติดตาม: 0

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 74

โพสต์

พี่พอใจโพสกระทู้ถ่ายทอดวรยุทธ์ให้น้องๆ หน่อยสิครับ เอาแบบลมปราณภูตอุดรเลยก็ดีครับ แบบลมปราณนวภพอย่างปรมาจารย์จางซานฟงเลยก็ยิ่งดีใหญ่ เอ๊ะ กลายเป็นกระทู้อะไรไปแล้วเนี่ย :lol:
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดาวหางสีแดง
Verified User
โพสต์: 635
ผู้ติดตาม: 0

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 75

โพสต์

Ryuga เขียน:พี่พอใจโพสกระทู้ถ่ายทอดวรยุทธ์ให้น้องๆ หน่อยสิครับ เอาแบบลมปราณภูตอุดรเลยก็ดีครับ แบบลมปราณนวภพอย่างปรมาจารย์จางซานฟงเลยก็ยิ่งดีใหญ่ เอ๊ะ กลายเป็นกระทู้อะไรไปแล้วเนี่ย :lol:
คุณริวงะ เป็นคอนิยายจีนด้วยเหรอครับ?
ภาพประจำตัวสมาชิก
nano
Verified User
โพสต์: 447
ผู้ติดตาม: 0

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 76

โพสต์

ก่อนจะคุยเรื่องการนั่งทำสมาธิฝึกลมปราณ   ขอถามคุณRyugaว่า
เคยนั่งสมาธิมาก่อนบ้างหรือเปล่าครับ   ถ้าเคยเป็นการฝึกแนวไหน

การจะฝึกแบบปรมาจารณ์จางซานฟงก็ต้องฝึกรำมวยไท้เก็กด้วยละครับ

การรำมวยเป็นการฝึกสมาธิแบบเคลื่อนไหว
การนั่งเป็นการทำสมาธิแบบนิ่ง
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1464
ผู้ติดตาม: 1

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 77

โพสต์

[quote="nano"]ก่อนจะคุยเรื่องการนั่งทำสมาธิฝึกลมปราณ
ภาพประจำตัวสมาชิก
nano
Verified User
โพสต์: 447
ผู้ติดตาม: 0

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 78

โพสต์

เขียนซะยาวตอนส่งข้อมูล error    หายหมดเลย    ไว้กลับจากวัดแล้วค่อยมาคุยใหม่ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ryuga
Verified User
โพสต์: 1771
ผู้ติดตาม: 0

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 79

โพสต์

ผมลากกระทู้ออกนอกเรื่อง แหะ แหะ  :lol:  :lol:  จะช่วยลากกลับคืนละกันครับ

วิสัชนาพี่พอใจจริงๆ จังๆ เลย
por_jai เขียน:8) สมาธิแปลว่าไรทราบไหมครับ น้องpebble
- สมาธิเป็นคำกลางๆ หมายถึงความตั้งมั่นแห่งจิต โดยทั่วไปเวลากล่าวถึงสมาธิเรามักจะหมายความถึง สัมมาสมาธิ อันเป็นหนึ่งในอัฏฐังคิกมรรค เกิดร่วมด้วยกุศลจิต ส่วนมิจฉาสมาธิก็จะเว้นไว้ไม่กล่าวถึง ดังนี้แล้วสมาธิจึงมิได้ผูกให้เกี่ยวเนื่องกับอิริยาบถทางกายรูปแบบใดเป็นพิเศษ จะนั่ง นอน ยืน เดิน หรือวิ่ง ก็ล้วนเป็นสมาธิได้ (แต่นั่งจะง่ายสุด 8) วิ่งน่าจะยากสุดนะครับ :cool: )

สิ่งใดได้ชื่อว่าสมาธิ ?
- เอกัคตาเจตสิกอันมีกำลังกล้าบังเกิดร่วมด้วยกุศลจิต

ทำไมจึงเรียกว่าสมาธิ ?
- เนื่องจากจิตและเจตสิกตั้งมั่นแน่วแน่อยู่ในอารมณ์เดียว

สมาธิมีลักษณะอย่างไร ?
- สมาธิมีลักษณะสงบ ระงับ มิได้กำเริบ

เมื่อเกิดสมาธิแล้ว ?
- สมาธิย่อมขจัดความฟุ้งซ่านออกไป

ผลของสมาธิ ?
- ผลของสมาธิย่อมเป็นความไม่หวั่นไหวตั้งจิตมั่น

สมาธิสามารถจำแนกออกมาได้อย่างไรบ้าง ?
- ก็แล้วแต่ว่าจะใช้เกณฑ์อะไรจำแนก หากว่าโดยลักษณะย่อมจำแนกไม่ได้เพราะลักษณะของสมาธิคือความไม่กำเริบ สมาธิทั้งหลายล้วนเป็นความไม่กำเริบ

หากใช้เกณฑ์อื่นๆ ก็จะจำแนกออกได้ดังนี้
- ขณิกสมาธิ / อุปจารสมาธิ / อัปปนาสมาธิ
- โลกิยสมาธิ / โลกุตตรสมาธิ
- กามาพจรสมาธิ / รูปาพจรสมาธิ / อรูปาพจรสมาธิ / โลกุตตรสมาธิ
- สมาธิประกอบด้วยปิติ / สมาธิไม่ประกอบด้วยปิติ
- ปิติสหคตาสมาธิ / สุขสหคตาสมาธิ / อุเบกขาสหคตาสมาธิ
- หีนสมาธิ / มัชฌิมสมาธิ / ปณีตสมาธิ
- วิตกวิจารสมาธิ / อวิตกวิจารสมาธิ / อวิตกาวิจารสมาธิ
- ปริตตสมาธิ / มหัคคตสมาธิ / อัปปมาณสมาธิ
- ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาสมาธิ / ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาสมาธิ / สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาสมาธิ / สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาสมาธิ
- ปริตตปริตตารมณสมาธิ / ปริตตอัปปมาณารมณสมาธิ / อัปปมาณปริตตารมณสมาธิ / อัปปมาณอัปปมาณารมณสมาธิ
- ปฐมฌานสมาธิ / ทุติยฌานสมาธิ / ตติยฌานสมาธิ / จตุตถฌานสมาธิ *
- หานภาคิยสมาธิ / ฐิติภาคิยสมาธิ / วิเสสภาคิยสมาธิ / นิพเพทภาคิยสมาธิ
- ฉันทาธิปติสมาธิ / วิริยาธิปติสมาธิ / จิตตาธิปติสมาธิ / วิมังสาธิปติสมาธิ

*หากเห็นที่ใดกล่าวถึงปัญจมฌาน นั่นเพราะเกณฑ์ในการแบ่งต่างกันเล็กน้อย เรามักคุ้นเคยกับการแบ่งเป็นฌาน 1-4 หากแบ่งเป็น 5 แล้วไซร้ พึงทราบว่า จตุตถฌานตามเกณฑ์ที่แบ่ง 4 กับปัญจมฌานตามเกณฑ์ที่แบ่ง 5 นั้นเหมือนกัน
ภาพประจำตัวสมาชิก
por_jai
Verified User
โพสต์: 14338
ผู้ติดตาม: 0

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 80

โพสต์

8) ส่วนตัวที่วิ่งแล้วทำสมาธิเรียก จ๊อกกิงาสมาธิ หรือเปล่าครับ
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ryuga
Verified User
โพสต์: 1771
ผู้ติดตาม: 0

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 81

โพสต์

คงจะยังงั้นครับ :lol:  ดูเก๋ไก๋ดีไม่หยอก จ๊อกกิ้งสมาธิ  :cool:  อาจมีตีลังกาสมาธิ หกหน้าหกหลังสมาธิ ว่ายน้ำสมาธิ ฯลฯ ตามมานะครับ :P

กล่าวอย่างบาลีอาจมี รุกขมูลสมาธิ อารัญญิกังคสมาธิ อัพโภกาสิกังคสมาธิ ฯลฯ เดี๋ยวจะยุ่งกันไปใหญ่ :lol:

อันเนื่องมาจากสมาธิเป็นเรื่องของใจ การจำแนกประเภทสมาธิอย่างเป็นทางการก็จะใช้เกณฑ์ที่เกี่ยวกับใจหรือกล่าวอีกทางว่าคือเนื้อหาของสมาธินั้นๆ เป็นหลัก อิริยาบถตลอดจนวัตถุธาตุใดๆ โดยปกติแล้วจะไม่ถือเป็นเกณฑ์ในการจัดแบ่งครับ

ว่าแต่พี่สายลับไม่มาต่อเรื่อง อานาปานสติกรรมฐาน แล้วเหรอครับ รออ่านต่ออยู่อ่ะ :lol:
007-s
Verified User
โพสต์: 2496
ผู้ติดตาม: 0

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 82

โพสต์

ง่า ขอพักแป๊ปก่อนนะคะ มีหลายเรื่องให้ทำค่ะ เลยยังไม่ค่อยมีเวลาแกะความจากแผ่นท่านพุทธทาสมากนัก(ไหนจะต้องจัดเวลาชมคอนเสิรท เอเอฟ อีกด้วยค่ะ :oops: เอาใจช่วยลิงสามตัวอยู่ โดนดุคาดโทษทุกวี๊คเลย :lol: )

อีกทั้ง ช่วงนี้เป็นช่วงปลากรอบทะยอยออกขาย ต้องมีสมาธิกับมันหน่อยค่า
ไม่งั้น เดี๋ยวอาจจะมีแต่ยุบหนอ ยุบหนอ ยุบหนอ (พองหาย :lol: )
มันจะกลายเป็น....ปอดฉันยุบหนออยู่ทุกลมหายใจเข้าออก....งี้มันจะยุ่ง


:rofl:  :rofl:  :rofl:
007-s
Verified User
โพสต์: 2496
ผู้ติดตาม: 0

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 83

โพสต์

อ่ะ ต่ออีกหน่อยนะคะ......ไปทีละ2 ขั้นก่อน ขั้นนี้น่าจะไม่ง่ายนัก เพราะเข้าขั้นที่เกี่ยวกะจิตโดยตรงแล้ว

..................................................................

(หมวด จิตตานุปัสนาสติปัฏฐาน)(ประกอบด้วย อาณาปานสติขั้นที่ 9-12)

..................................................................

พระพุทธเจ้ามีตรัสไว้ว่า "ไม่มีโทษใดจะร้ายกาจไปกว่า โทษที่เกิดจากจิตที่ตั้งไว้ผิด"

จิตที่ตั้งไว้ผิด= จิตที่ไม่ได้อบรม มันย่อมเป็นไปในทางผิด ,กับคนธรรมดา ก็นับว่าผิดทางได้มากอยู่แล้ว ,ถ้าเป็นคนที่มิจฉาทิฐิ ก็ย่อมอันตรายกว่ามากนัก

ฝึกจิตให้ถูกทาง ให้อย่ามีตัวตนชนิดที่เป็น ตัวกู ของกู ให้เหลือไว้แต่ ตัวตนชนิดที่เป็น ธรรม....นี่คือหลักการของพระพุทธเจ้า

นี่คือข้อทบทวนเบื้องต้น ว่าเราจะปฏิบัติ อาณาปานสตินี้ ไปเพื่ออะไร

......................................................................

(ทวนภาพรวมกันอีกซักหน่อยก่อน)
มอง 16 ขั้นนี้ ให้เห็นชัด ปรุโปร่ง เห็นให้เป็นเช่น ของแต่ละชิ้น แบ่งเป็น 4 กอง และมันล้วนเกี่ยวเนื่องกัน
กองที่ 1 ...เกี่ยวกะร่างกาย (กายลม กายเนื้อ)
กองที่ 2 ...ความรู้สึก ทั้งหลายที่ร่างกาย,ใจ จะรู้สึกได้
กองที่ 3 ...จิต(ใจ)= ผู้รู้สึก/ ผู้รู้สึกนี้นั้น อาศัยร่างกายเป็นสถานที่ทำงาน,เป็นสนง.,เป็นเครื่องอุปกรณ์ในการทำงาน...
กองที่ 4 ...ธรรม คือ กฏเกณฑ์ของธรรมชาติ ผู้ครอบงำร่างกายนี้อยู่ เกี่ยวเนื่องกะทุกสิ่งเหล่านี้อยู่

..........................................................

ทำความเข้าใจให้ดี จะพบว่า ทั้งสองหมวดแรกนั้น มันเกี่ยวข้องอยู่กะการบังคับจิตนั่นเอง
การบังคับลมหายใจได้ ก็คือ บังคับจิต
การเสวยเวทนา(ความรู้สึก)ได้ และบังคับก็ได้นั้น ก็คือบังคับจิต
จิตนั้นเกี่ยวข้องมาตั้งแต่ต้นอยู่แล้วโดยปริยาย แต่โดยเรายังไม่รู้ตัว หรือว่ารู้ แต่เรายังไม่ได้สนใจเรื่องจิตในตอนสองหมวดแรก
เพราะเรามุ่งเน้น บังคับกายได้ก่อน และบังคับความรู้สึกให้ได้ ตามมา ...จึงได้ปล่อยเรื่องจิตไปก่อนตอนแรกนั่นเอง

อย่างที่พูดไปแล้วก่อนนี้ว่า ให้ทำลมหายใจให้นิ่งให้ได้ และทำสมาธิให้เกิดขั้น เอกคตา ให้ได้เสียก่อน
....อย่าเพิ่งสนใจไปกำจัด เสียงเจ้ากี้เจ้าการของจิตคิดในหัว....ไม่ต้องกลัวกังวลว่า หูย ในหัวเรา นัวไปหมดเลย ตายแล้ว งี้เมื่อไหร่จะได้สมาธิ
....ไม่ต้องกลัว....ได้แน่ๆค่ะ  :!: ขอย้ำ :!: ...มันจะทำได้ ทั้งๆที่จิตนัวยั้วเยี้ยไปหมดในหัวนั่นแหละ ....อย่าห่วงมัน :wink:


:D
007-s
Verified User
โพสต์: 2496
ผู้ติดตาม: 0

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 84

โพสต์

(เข้าหมวดสาม)(จิต)

อาณาปานสติขั้นที่ 9 ...รู้จิต (รู้จักจิตทั้งหลายทั้งปวง)

ดูจิตให้เห็นก่อนว่า มันมีกี่แบบ กี่ชนิด ตามที่เห็น อยู่ตลอดทุกลมหายใจเข้าออก
มีแบบไหนบ้าง พยายามรู้จัก เห็น ทำความเข้าใจมัน ให้ทุกชนิดเท่าที่จะเป็นได้

(ชนิดตามธรรมชาติทั่วไปนั้น มีมากมายนับไม่ถ้วน แต่ในพระบาลี ยกตัวอย่างข้อใหญ่ๆที่เห็นเด่นชัดมา 8 คู่ตรงข้าม)

จิตที่กำลังประกอบเป็นความรู้สึกที่เป็น..ราคะ ... ไม่ประกอบเป็น ราคะ
.......................................................โทสะ ... ไม่................. โทสะ
.......................................................โมหะ ...  ไม่................  โมหะ
....................................................แฟบ/ฟู ...  ไม่................แฟบ/ฟู
............................................ตั้งอยู่ในฌาน ...  ไม่...............ตั้งในฌาน
............................................มีจิตอื่นเหนือ ...   ไม่...............มีจิตอื่นเหนือ
..................................................จิตมั่นคง ...   ไม่...............มั่นคง
...............................................มีการปล่อย ...  ไม่................มีการปล่อย

(อธิบายไว้เผื่อแล้วกัน)
ราคะ = กำหนัดรักในสิ่งใด ,ความรู้สึกที่จะรวบรัด กอดรัดเอาไว้อย่างรุนแรงทั้งหลาย...เช่น โลภ กามะ ตันหา...
โทสะ= ตรงข้ามกะราคะ =ผลักออก ทำลายเสีย ไม่ให้มีเหลืออยู่...เช่นโกธะ
โมหะ = ความหลง =ไม่รู้จะเอาไงกันแน่ดี จะกอดมารวบรัดไว้ หรือจะผลักออกทำลายเสียยังไม่แน่ใจ สงสัย กังวลใจ
แฟบ/ฟู = หดหู่ ฟุ้งซ่าน เหี่ยว ฟู เฟ้อ(จากร่างกายเป็นเหตุ จิตเป็นเหตุ กิเลสเป็นเหตุ)
ตั้งอยู่ในฌาน= ความเพ่งทั้งหลาย เพ่งในสมาธิ หรือเพ่งในกิเลสก็ได้
จิตมีจิตอื่นเหนือ= คือขึ้นกะความชอบเรา ความไม่พอใจในจิตที่เป็น จะคิดว่ามีจิตแบบอื่นที่เหนือกว่านี้ ดีกว่านี้ ที่น่าจะไขว่คว้ามา ให้ได้ความพึงพอใจขึ้นอีก
จิตมั่นคง= (ก็ตรงตัวอักษรแหละ :mrgreen: )หวั่นไหวยาก อะไรก็เข้ามาเปลี่ยนได้ยาก
มีการปล่อย = จิตที่ไม่ยึดถือตัวกูของกู ไม่มีอะไรมากลุ้มรุมตอมจิตได้

...................................................

ทั้งนี้ ชนิดจิต มีมากมายกว่านี้ ก็ไปดู ไปหา ไปเห็นกันเอาเอง จะดีที่สุด เห็นเจออย่างไร ก็อย่างนั้นแหละ ไม่ฟิกซ์ ไม่มีกฏว่านี่ใช่ นั่นไม่ใช่
จะไม่เห็นไปตามอย่างในพระบาลี ก็ไม่มีว่าอะไร เอาอย่างที่เราพบเห็นด้วยตัวเราจริงแท้....นั่นคือถูกต้องที่สุดเท่าที่เราจะทำได้แล้ว ....ความจริงของเรา มิใช่ความจริงตามตัวหนังสือ

ศาสนาแห่งวิทยาศาสตร์...จำให้มั่นไว้ :wink:
007-s
Verified User
โพสต์: 2496
ผู้ติดตาม: 0

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 85

โพสต์

อาณาปานสติ ขั้นที่ 10 ......รู้ จิตปราโมทย์อยู่

เป็นขั้นที่เราจะทดสอบดูซิ ว่าเราบังคับได้ โดยการทำให้จิตมันปราโมทย์อยู่อย่างยิ่ง
ทำให้จิตเกิดบันเทิงยิ่ง มีความน่าปรารถนาอยู่ทุกๆลมหายใจเข้าออกนั้น

.......................

ความรู้สึกปราโมทย์นั้น เกือบจะเหมือนปีติ (จะระหว่างปีติ กะ สุข)

ปีตินั้น จะฟุ้งซ่านกว่า ใจเต้น เนื้อเต้น เป็นการพอใจในขั้นแรกเกิดขึ้น
สุขนั้น จะมีได้ต่อเมื่อ ปีติระงับหายไป มันจะเป็นการที่ได้พอใจไปแล้ว เริ่มนิ่งมากกว่า เย็นสงบกว่าปีติ

ปราโมทย์ มันอยู่ระหว่างนั้น คือไม่ถึงกับ กระหืดกระหอบเท่าปีติ แต่ก็ไม่สงบเย็นเท่าสุข
(คือประมาณว่า ไม่เหนื่อยหอบ ไม่เสียวแว๊บ ขนลุก สยิวกิ้วอะไร แต่มันยังมีตุ๊บๆนิดๆ คือไม่หายไป มันยังพองอยู่ ยังพอใจยินดีบันเทิงเริงร่าอยู่ ทำนองนั้น)

........................

ทีนี้ ความปราโมทย์นั้น(หรือแม้นความรู้สึกทุกชนิด)....เกิดจาก 2 แบบ
.....อาศัย"บ้านเรือน"= ปุถุชน ,กามารมณ์ ,เกียรติยศ...อะไรต่างๆทางโลก
.....ไม่อาศัยบ้านเรือน= คืออาศัยการหลีกไปเสียจากสิ่งทางโลกบ้าบอนี้(=แบบธรรมมะ)

ซึ่งในที่นี้ เราจะผลิตปราโมทย์ โดยแบบธรรมมะ....ซึ่งแยกออกเป็น 2 วิธีหลักคือ
.....วิธีของสมถะ = ทำจิตให้สงบระงับ หยุดนิ่ง เย็น (ก็เหมือนขั้นตอน ลมหายใจสงบระงับ จนเกิดปีติได้นั่นเอง)
.....วิธีของวิปัสสนา= มีปัญญารอบรู้ เป็นรากฐาน รู้แจ้ง(ก็คือ การทำความเข้าใจ พิจารณาถึงไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นเอง)

(ถ้าจะให้เทียบ ก็คล้ายโศลกสองบท ของสายเชื่องช้า กะ สายฉับพลัน....คนนึงบอกว่า ขัดเช็ดเข้าทุกๆวัน เดี๋ยวใสเอง อีกคนบอก จะให้ขัดอะไร เราแจ้งแล้วว่า มันว่างอยู่แล้ว ไม่มีไรต้องขัด)

คือว่า ก็เอาเถิด ถ้าคิดจะผลิต ปราโมทย์ ก็ผลิตได้ทั้งสองวิธีนั่นแหละ

................................................

แต่ข้อสำคัญจริงๆ มันไปอยู่ที่ปลายๆเส้นทางของทั้ง 16 ขั้นนี้มากกว่า(อาณา ในขั้นต่อไป)
คือ ผลิตขึ้นได้แล้ว ทำให้ตั้งอยู่ตามคำสั่งเราได้มั้ย แล้วลึกกว่านั้นอีก ..คือ...จะวางมันลงได้ไหมเล่า
....อ่ะ เท่ห์มะละ ...ฉันสร้างแก แล้วฉันจะบี้แกลงให้ดับดิ้นลงไปด้วยตัวฉันเองกะมือ....คือ สิ่งที่ดีที่สุดที่ฉันทำให้เกิดขึ้นได้ แต่ฉันวางมันลงเสีย ไม่ยึดมันไว้....แล้วอะไรในโลกนี้กันเล่า จะมาทำอะไรฉันได้อีก

ซึ่ง



ขอ

พัก

ก่อน

ค่ะ


:lol:



ยัง

ไม่

ได้

แกะ

เลย


:oops:



:bow:
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ryuga
Verified User
โพสต์: 1771
ผู้ติดตาม: 0

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 86

โพสต์

ขอบคุณมากครับ :D
นึกว่าจะมาทวงอยู่เชียว เห็นพี่สายลับโพส AF เป็นล่ำเป็นสัน นึกว่าลืมซะแล้ว :lol:

:bow:  :bow:  :bow:
007-s
Verified User
โพสต์: 2496
ผู้ติดตาม: 0

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 87

โพสต์

AF มันเข้าเขต 5 คนสุดท้ายแล้ว ย่อมไม่มีไรให้ต้องลุ้นมากนักค่ะ :lol:

.............................................ต่อนะ อิอิ

อาณาปานสติ ขั้นที่ 11 รู้ จิตตั้งมั่นอยู่

บังคับดูว่าเราจะกำหนดให้จิตมันตั้งมั่นอยู่ได้มั้ย ว่าเมื่อไรก็ได้ เท่าใดก็ได้(ยากอ่ะ :oops: )

ตั้งมั่นในระดับต่ำเตี้ยที่สุด = สามารถควบคุม ,มันยังไม่แท้จริง ไม่สนิทนัก ,เหมือนการบังคับเด้กให้นิ่งอยู่ได้ (เป็นการบังคับกายได้) เทียบให้เห็นภาพนะ เราบังคับขืนใจเด้กน้อย ให้นั่งนิ่งนะ อย่าซน เด็กมันเกรงใจเรา มันก็ไม่ซนให้เห็น แต่อย่าเผลอนะ เด็กน้อยวิ่งปรู๊ดด ไปเล่นร่าเริงต่ออีก พอเราเอ็ดตะโรเด็กเข้า เด็กก็คอตกหงอย เดินหน้างอ กลับมานั่งเข้าที่อย่างไม่เต็มใจนักหรอก :mrgreen:

ตั้งมั่นได้มากขึ้น ด้วยสมาธิ ทำให้เกิดฌาน ...ก็ยังคงเป็นการบังคับ (แต่ด้วยสมาธิ ,เหมือนมัดเด็กไว้ หรือล่อหลอกเด็กน้อยไว้ด้วย ฌาน เหมือนขนมหวานที่เด็กชอบ)
ก็ยังไม่ถึงที่สุด เช่นว่า ตอนถึงจิตปราโมทย์ได้ มันก็ยังมีอาการของ โยกโคลง อยู่ดี

ตั้งมั่นได้เพราะอำนาจของความรู้ ใช้ปัญญา ใช้การเห็นแจ้งด้วยหลักไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่ได้กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้)
= เป็นที่สุดของความนิ่ง,ของความว่างนั้น = ที่สุดของความตั้งมั่น 8)

"ความว่าง เป็นความนิ่งอย่างถึงที่สุด"

..................................................................(ยังค่ะ ยังไม่จบหมวดที่ 3 อย่าท้อค่ะ สู้ๆ  :lovl: บอกตัวเองน่ะ)

อาณาปานสติ ขั้นที่ 12 รู้ จิตปล่อยวางอยู่

ทำให้มันปล่อย สิ่งที่มากลุ้มรุมนั้นเสีย สลัดเสีย....ไปชิ้วๆ  :lol:
การที่จิตเข้าไปยึดถือ หรือการที่อารมณ์เข้ามาห่อหุ้มจิต ก็สุดแท้แต่จะเรียกจะมองมุมใด แต่นั่นล่ะ มันเท่ากะว่า...จิตมันไม่เกลี้ยง

เราต้องทำให้มันปล่อยเสีย ไม่ให้อารมณ์และจิตนั้นต้องกัน
(เปรียบว่า ยุงมาตอมที่หู จะทำไงไม่ให้ยุงมาตอม หรือจะทำไงไม่ให้เกิดรู้สึกรำคาญยุง)



ถึงตรงนี้ สมถะ หมดหน้าที่ลงในขั้นนี้ หลังจากนี้ไป จะเข้าสู่ขั้นใช้ปัญญาล้วนๆ

8)  8)  8)
007-s
Verified User
โพสต์: 2496
ผู้ติดตาม: 0

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 88

โพสต์

(แถมอีกเฮือกนึงนะคะ ...เอาขั้นแรกของหมวดสุดท้ายมากั๊กไว้ให้ก่อน ,อีกสามขั้นสุดท้าย ขอติดไว้ก่อน เพราะดูความยาวจากแผ่นแล้ว สามขั้นนั่นปาเข้าไป 4.5 ชม. :shock: )

ระหว่างนั้น ก็ขอเชิญพี่ๆท่านอื่น แจมมั่งนะคะ  :bow:

............................................................................................

หมวดที่ 4 ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

อาณาปานสติ ขั้นที่ 13 (ฆ่ามัน :twisted: )....รู้ ความไม่เที่ยง

อนิจจานุปัสสีนี้ มันรวมความอยู่ในข้อนี้หมดอยู่แล้ว ทั้ง อนิจจัง,ทุกขัง,อนัตตา...เพราะเมื่อเข้าใจลึกซึ้งใน อนิจจัง(ไม่เที่ยง)นี้แล้ว ก็ย่อมเห็นถึง ทุกขัง และ เห็นเลยไปถึง อนัตตา(ไม่มีตัวตน) ด้วยอย่างอัตโนมัติ

มองให้เห็นเพียง อนิจจัง (ไม่เที่ยง) ที่มันมีอยู่ในทุกสิ่ง ทุกเรื่อง
ให้เห็น ให้รู้สึกได้ ให้เข้าใจ และรับรู้จริงๆ อย่านึกสมมติ หรือฟังเอาจากที่ไหน ให้เห็นอย่างไม่ต้องนั่งเรียงเหตุ-ผล ที่ดีแต่นึกเอา
เห็นถึงอดีต มันก็พอใช้ได้ แต่เห็นจริงๆในปัจจุบัน มันชัดเจนกว่า

เริ่มตั้งแต่ขั้นที่ 1 เรื่อยมา ....ลมหายใจทำอะไรต่อร่างกาย แล้วมันสงบระงับลง ก็เห็นกันจะๆ ....คือ มันไม่เที่ยงนั่นเอง :wink:
(แรกมันคุมไม่ได้ แล้วมันก็กลายเป็นคุมได้ ด้วยการใช้เครื่องปรุงแต่ง ซึ่งคือลมหายใจ ไปกระทำต่อกายได้...ไม่เที่ยงเห็นๆ แปรเปลี่ยนได้ชัดๆ)
แม้ในปีติ-สุข ที่เราไปหลงชอบมัน(ตอนเอกคตา) เราก็พบความไม่เที่ยงของมัน มันมีเหตุ มีปัจจัย ทำให้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป...

ยิ่งในขั้นจิตนี้นั้น จะเห็นได้ชัดว่า มันเที่ยงยากกกกกกกกก :vm:
มันเปลี่ยนไปมาอยู่ร่ำไป (แม้นมันคิดเศร้าอยู่ มันก็ยังสามารถถูกทำให้แปรเปลี่ยนเป็นหายเศร้าได้=ไม่เที่ยงเลยยยยย)
(ไม่เชื่อลอง ร้องไห้เศร้าแฟนทิ้งอยู่ดีๆ พบว่า กระเป๋าตังค์หายดิ่ ...ความเศร้า อยู่ๆจะแปรเป็นตกใจ มาอีกสเต็ปท์นึงแล้ว อาจจะหัวตั้งขนลุกซู่เล็กน้อย :lovl: )


"ดูความไม่เที่ยงให้เห็นอยู่ในทุกลมหายใจออก-เข้า"


มองให้เห็น รู้สึกถึง ความไม่เที่ยงอยู่อย่างนี้ จนถ่องแท้ จนสังเวชในมัน
ใดใดมันก็ไม่เที่ยง ไม่มีอะไรที่น่ายึดมั่นถือมั่นได้เลยยยยย
มันช่างน่าสังเวชในความไม่จริง,ในความเป็นมายา
เอือมระอาในความไม่เที่ยงอย่างแท้จริง

:wink:  :wink:  :wink:

(พักค่ะ :mrgreen: )
ภาพประจำตัวสมาชิก
por_jai
Verified User
โพสต์: 14338
ผู้ติดตาม: 0

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 89

โพสต์

"พุธโธ" ดีหนักหนา

พุทโธ นี่ดีหนักหนา สารพัดปราบได้ทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งสติแน่วในพุทโธอันเดียว สามารถที่จะระงับทุกข์โศกโรคภัยทั้งหมด ถ้าไม่เชื่อก็ลองดูสิ ความโกรธความฉุนเฉียวเกิดขึ้นมา ก็ตั้งสตินึกถึง พุทโธ เดี๋ยวก็หายหมด อายพระพุทธเจ้าอายพุทโธนี่แหละพุทโธดีอย่างนี้
ที่มันไม่หายเพราะไม่ได้ตั้งสติให้แน่วแน่ กำหนดพุทโธเฉยๆ หลอกๆ พุทโธเลยไม่อยู่กับเรา พุทโธพระพุทธเจ้าหายหมด มันก็มีแต่กิเลสเข้ามาครอบงำมีแต่ความโกรธวุ่นวายหมด ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นภัยอันตรายอย่างยิ่ง

ถ้าหากเราไม่มีสติตั้งอยู่ในพุทโธแล้ว สารพัดจะทำตัวของเราให้เป็นไปต่างๆ นาๆ จนกระทั่งคิดประทุษร้ายประหัตประหารฆ่าฟันผู้อื่นได้ทุกประการ

ถ้าตั้งสติกำหนดพุทโธไว้ พุทโธมาอยู่แทนที่ ความโกรธก็เลยหายจากใจหมด ฉะนั้นอย่าลืมให้ระลึกถึงพุทโธอยู่เสมอ จึงจะเป็นผลให้สำเร็จประโยชน์แก่ตน เอาพุทโธตัวเดียวเท่านั้นแหละไว้ให้มั่น ตั้งสติกำหนดลงให้จริงๆ จังๆ ในที่เดียวนี่แหละ

กายตั้งมั่นอยู่แล้วใจมันต้องให้อยู่เหมือนกัน มันพาเราวิ่งว่อนมามากต่อมาก เกิดมาอายุเท่าไรแล้วก็ไม่ทราบ ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยเห็นตัวพุทโธเลยสักที จิตก็ไม่เห็น สติควบคุมจิตไม่อยู่ไม่เห็นจิตเลย ไม่เห็นพุทโธเลย พุทโธนั่นคือจิตเอาอันั้นเสียก่อน เอาพุทโธๆๆ ไว้ในจิตใจตัวนั่นแหละ
เมื่อสติควบคุมมัน มันก็อยู่กับพุทโธ เอาพุทโธเป็นจิตเสียก่อน ครั้นเมื่อคุมจิตอยู่แล้วพุทโธจะหายไป จะยังเหลือแต่จิตก็เอา ไม่ต้องไปนึกถึงพุทโธอีกเท่านี้ล่ะเป็นพอ ที่นี้ก็เอาแต่จิตนั่นแหละ

: หลวงปู่เทศก์ เทศรังสี
: การฝึกหัดกัมมัฏฐาน วัดหินหมากเป้ง ๒๐ กรกฏาคม ๒๕๒๕
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ryuga
Verified User
โพสต์: 1771
ผู้ติดตาม: 0

หัดทำสมาธิครับ

โพสต์ที่ 90

โพสต์

พุทธานุสสติกรรมฐาน มีอานุภาพมากครับ 8)
ครูบาอาจารย์ท่านว่า ทำให้กายของผู้ทรงกรรมฐานศักดิ์สิทธิ์ ควรค่าแก่การสักการบูชาแห่งหมู่เทพยดาและมนุษย์เลย