VI หาดใหญ่
- romee
- Verified User
- โพสต์: 1850
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3241
เอาสถิติหุ้นของปี2018มาให้ดู
(1.ใช้ฐานข้อมูลจากไฟล์excelพี่ครรชิต, siamquant
2.ไม่นับหุ้น IPO ในปีนี้ IPOระหว่างปี20ตัว)
หุ้นที่เอามาให้ดู มีทั้งหมด 660ตัว
หุ้นที่ให้ผลตอบแทน เกิน100%
OCEAN EMC UREKA SMM PIMO TITLE XO LRH
มีแค่ 0.012% ของตลาด -*-
ผลตอบแทน 30-100% คิดเป็น 0.016%
TRITN TTTM AEONTS GLAND KTC NPPG LTX FOCUS CSR TIW ROH
มีแค่ 0.016% ของตลาด
ผลตอบแทน 10-30%
RCI SEAOIL NINE SABINA NEW BEM SIS MTC MOONG AYUD
MSC VGI WG GULF SWC BDMS EVER MATCH CKP SVI
HMPRO TMW BTS RMLBKD GLOBAL ROCK KWC EGCO PTTEP META THG
ผลตอบแทน 0-10%
GLOW MJD S & J WIN OCC TIC ICC SMART SHANG MFC NKI SUC NUSA SEAFCO SELIC
COLOR TNH SKR MK BCH TMD CPR WHA NTV VARO UTP SOLAR SVH TSC PTT NOBLE EKH
TCOAT RPH UT AFC SMIT CPH A TVI HUMAN MBK MPIC NEWS PTL T TBSP TH TOA TTW WACOAL
สรุปมีหุ้นที่ไม่ติดลบประมาณ103ตัว คิดเป็น 15.6% ของทั้งตลาด
หุ้นที่ติดลบ 0-10% มีทั้งหมด72ตัว คิดเป็น11%ของทั้งตลาด
หุ้นที่ติดลบ 10-30% มีทั้งหมด208ตัว คิดเป็น31.5%ของทั้งตลาด (ใช่ซี๊...ชั้นเป็นคนหมู่มาก )
หุ้นที่ติดลบ 30-50% มีทั้งหมด181ตัว คิดเป็น27.4%ของทั้งตลาด
หุ้นที่ติดลบ 50%ขึ้นไป มีทั้งหมด 91ตัว คิดเป็น 13.7ของทั้งตลาด
หลายตัวเป็นตัวที่ผลประกอบการเคยดี ทำกำไรให้หลายคนในเวบมาก่อน, หรือมีcelebเคยถืออยู่....ขอยกตัวอย่าง
KCE, MALEE, JMART, WORK, BEAUTY, ORI, FSMART, PPS, TKN, BIG, PTG, MONO, BFIT, KAMART, LPN, AU, SYNTEC, CBG
สำหรับดัชนี set ติดลบ -11%
MAI -34%
sSET -32%
SET50 -8%
SET100 -10%
อีกข้อมูลไว้ปลอบใจ
จากสถิติSETขาลงช่วงซัพไพร์มปี 2008-2009 หุ้นดิ่งลงจากจุดพีก ถึงจุดต่ำสุดใช้เวลา 7เดือน...side way อีก4เดือน ถึงเริ่มวิ่งเป็นขาขึ้น
ช่วงปี2013-2014 หุ้นลงถึงจุดต่ำสุดใช้เวลา 8เดือน แล้วค่อยวิ่งเป็นขาขึ้น
ช่วงปี2015-2016 หุ้นลงถึงจุดต่ำสุดใช้เวลา1ปี
แต่ถ้าย้อนไปถึงช่วงต้มยำกุ้งก็เป็นขาลงเต็มตัวประมาณ 2ปีครึ่งเอง
ท้ายสุดก็ขอสวัสดีปีใหม่กับเพื่อนพ้องน้องพี่ ทุกคน
ขอให้มีขนาดความสุขยิ่งใหญ่กว่าขนาดพอร์ต 10เท่า 100เท่านะคร๊าบ
(1.ใช้ฐานข้อมูลจากไฟล์excelพี่ครรชิต, siamquant
2.ไม่นับหุ้น IPO ในปีนี้ IPOระหว่างปี20ตัว)
หุ้นที่เอามาให้ดู มีทั้งหมด 660ตัว
หุ้นที่ให้ผลตอบแทน เกิน100%
OCEAN EMC UREKA SMM PIMO TITLE XO LRH
มีแค่ 0.012% ของตลาด -*-
ผลตอบแทน 30-100% คิดเป็น 0.016%
TRITN TTTM AEONTS GLAND KTC NPPG LTX FOCUS CSR TIW ROH
มีแค่ 0.016% ของตลาด
ผลตอบแทน 10-30%
RCI SEAOIL NINE SABINA NEW BEM SIS MTC MOONG AYUD
MSC VGI WG GULF SWC BDMS EVER MATCH CKP SVI
HMPRO TMW BTS RMLBKD GLOBAL ROCK KWC EGCO PTTEP META THG
ผลตอบแทน 0-10%
GLOW MJD S & J WIN OCC TIC ICC SMART SHANG MFC NKI SUC NUSA SEAFCO SELIC
COLOR TNH SKR MK BCH TMD CPR WHA NTV VARO UTP SOLAR SVH TSC PTT NOBLE EKH
TCOAT RPH UT AFC SMIT CPH A TVI HUMAN MBK MPIC NEWS PTL T TBSP TH TOA TTW WACOAL
สรุปมีหุ้นที่ไม่ติดลบประมาณ103ตัว คิดเป็น 15.6% ของทั้งตลาด
หุ้นที่ติดลบ 0-10% มีทั้งหมด72ตัว คิดเป็น11%ของทั้งตลาด
หุ้นที่ติดลบ 10-30% มีทั้งหมด208ตัว คิดเป็น31.5%ของทั้งตลาด (ใช่ซี๊...ชั้นเป็นคนหมู่มาก )
หุ้นที่ติดลบ 30-50% มีทั้งหมด181ตัว คิดเป็น27.4%ของทั้งตลาด
หุ้นที่ติดลบ 50%ขึ้นไป มีทั้งหมด 91ตัว คิดเป็น 13.7ของทั้งตลาด
หลายตัวเป็นตัวที่ผลประกอบการเคยดี ทำกำไรให้หลายคนในเวบมาก่อน, หรือมีcelebเคยถืออยู่....ขอยกตัวอย่าง
KCE, MALEE, JMART, WORK, BEAUTY, ORI, FSMART, PPS, TKN, BIG, PTG, MONO, BFIT, KAMART, LPN, AU, SYNTEC, CBG
สำหรับดัชนี set ติดลบ -11%
MAI -34%
sSET -32%
SET50 -8%
SET100 -10%
อีกข้อมูลไว้ปลอบใจ
จากสถิติSETขาลงช่วงซัพไพร์มปี 2008-2009 หุ้นดิ่งลงจากจุดพีก ถึงจุดต่ำสุดใช้เวลา 7เดือน...side way อีก4เดือน ถึงเริ่มวิ่งเป็นขาขึ้น
ช่วงปี2013-2014 หุ้นลงถึงจุดต่ำสุดใช้เวลา 8เดือน แล้วค่อยวิ่งเป็นขาขึ้น
ช่วงปี2015-2016 หุ้นลงถึงจุดต่ำสุดใช้เวลา1ปี
แต่ถ้าย้อนไปถึงช่วงต้มยำกุ้งก็เป็นขาลงเต็มตัวประมาณ 2ปีครึ่งเอง
ท้ายสุดก็ขอสวัสดีปีใหม่กับเพื่อนพ้องน้องพี่ ทุกคน
ขอให้มีขนาดความสุขยิ่งใหญ่กว่าขนาดพอร์ต 10เท่า 100เท่านะคร๊าบ
You only live once, but if you do it right, once is enough.
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3242
Property Fundถือเป็นassetเดียวที่บวกใรปี2018
ลงมาศึกษากันเผื่อเป็นช่องทางเพิ่มผบตอบแทนได้
ตอนนี้เป็นตอนที่13แล้วครับ
Property Fund & REITs & Infrafund Series EP13
ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เอส ไพรม์ โกรท หรือ SPRIME เป็นกองทรัสต์ของกลุ่มสิงห์ เอสเตท
โดยทรัพย์สินที่จะเข้าลงทุนครั้งแรกคือ ที่ดินบางส่วนและพื้นที่สำนักงาน พื้นที่ห้องประชุม สถานออกกำลังกาย พื้นที่ส่วนกลาง ที่จอดรถและงานระบบของอาคารซันทาวเวอร์ส เป็นระยะเวลา 30 ปี
ในพื้นที่รวม 118,828 ตร.ม. มูลค่าสูงสุดไม่เกิน 5,717.5 ลบ.
โดยจะเป็นเงินที่มาจากการระดมทุนไม่เกิน 4,467.5 ลบ. และเงินกู้ยืมระยะยาวไม่เกิน 1,350 ลบ.
ข้อดี
1. ผลตอบแทน เงินปันผล 7% สูงกว่าค่าเฉลี่ย5.99%
ของกองประเภทนี้
2. อัตราการเช่าสูงถึง 95%
3. ผลการดำเนินงานดีต่อเนื่อง
4. พื้นที่อาคารพึ่งปรับปรุงใหม่ รวมถึงสถานที่ตั้งใกล้รถไฟฟ้าBTS
5. ถือเป็นassetหนึ่งในportfolioได้
ข้อควรระวัง
1.เงินปันผลเฉลี่ยที่show รวมกองที่เป็นfree holdเข้าไปด้วย
ดังนั้นถ้าตัดfree holdออก อาจไม่ได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยLeasehold รวมถึง ต้องหักค่าคืนเงินต้นออกก่อนตัดสินใจสุดท้ายว่าจะลงทุนหรือไม่ ผมใช้วิธีหักแบบเส้นตรงคือคืนเงินปีละ3.33%(100/30ปี)จะเหลือปันผลจริง 3.67%
2.อาคารค่อนข้างเก่า อาจมีการต้องเสียค่าใช้จ่ายปรับปรุงอีก
3.มีการกู้ยืม ถ้าดอกเบี้ยขาขึ้น ต้องระวังส่วนนี้ด้วย
ลงมาศึกษากันเผื่อเป็นช่องทางเพิ่มผบตอบแทนได้
ตอนนี้เป็นตอนที่13แล้วครับ
Property Fund & REITs & Infrafund Series EP13
ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เอส ไพรม์ โกรท หรือ SPRIME เป็นกองทรัสต์ของกลุ่มสิงห์ เอสเตท
โดยทรัพย์สินที่จะเข้าลงทุนครั้งแรกคือ ที่ดินบางส่วนและพื้นที่สำนักงาน พื้นที่ห้องประชุม สถานออกกำลังกาย พื้นที่ส่วนกลาง ที่จอดรถและงานระบบของอาคารซันทาวเวอร์ส เป็นระยะเวลา 30 ปี
ในพื้นที่รวม 118,828 ตร.ม. มูลค่าสูงสุดไม่เกิน 5,717.5 ลบ.
โดยจะเป็นเงินที่มาจากการระดมทุนไม่เกิน 4,467.5 ลบ. และเงินกู้ยืมระยะยาวไม่เกิน 1,350 ลบ.
ข้อดี
1. ผลตอบแทน เงินปันผล 7% สูงกว่าค่าเฉลี่ย5.99%
ของกองประเภทนี้
2. อัตราการเช่าสูงถึง 95%
3. ผลการดำเนินงานดีต่อเนื่อง
4. พื้นที่อาคารพึ่งปรับปรุงใหม่ รวมถึงสถานที่ตั้งใกล้รถไฟฟ้าBTS
5. ถือเป็นassetหนึ่งในportfolioได้
ข้อควรระวัง
1.เงินปันผลเฉลี่ยที่show รวมกองที่เป็นfree holdเข้าไปด้วย
ดังนั้นถ้าตัดfree holdออก อาจไม่ได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยLeasehold รวมถึง ต้องหักค่าคืนเงินต้นออกก่อนตัดสินใจสุดท้ายว่าจะลงทุนหรือไม่ ผมใช้วิธีหักแบบเส้นตรงคือคืนเงินปีละ3.33%(100/30ปี)จะเหลือปันผลจริง 3.67%
2.อาคารค่อนข้างเก่า อาจมีการต้องเสียค่าใช้จ่ายปรับปรุงอีก
3.มีการกู้ยืม ถ้าดอกเบี้ยขาขึ้น ต้องระวังส่วนนี้ด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 214
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3243
ตามมาแปะให้ตามที่พี่ๆแนะนำค่ะ _/\_
“Stay The Course” - The story of Vanguard and the Index Revolution
หนังสือเล่มสุดท้ายของ Jack Bogle
โพสนี้จะขออนุญาตค่อยๆเล่าถึงหนังสือเล่ม (น่าจะ) สุดท้ายของ Jack Bogle ก่อนที่เค้าจะเสียชีวิตเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมาค่ะ
เล่มนี้ออกมาประมาณเดือนกันยายน 2018 ไม่ใช่การสรุปหนังสือทั้งหมดนะคะ เเค่อยากจะหยิบบางส่วนที่น่าสนใจมาเล่าเฉยๆค่ะ
“If a statue is ever erected to honor the person who has done the most for American investors,
the hands down choice should be Jack Bogle.”
-Warren Buffett-
เป็น quote แรกที่เขียนถึงเจ้าของหนังสือ Jack Bogle (หรือชื่อจริงคือ John Clifton Bogle) ค่ะ
Jack เขียนคำนำหนังสือไว้เมื่อวันที่ 1 กันยายนปีที่แล้ว (2018) เล่าว่า เค้าเขียน “Stay The Course” ขึ้นมาเพื่อย้ำว่าการลงทุนไม่ว่าจะเป็นใน
กองทุนดัชนี หรือหุ้นก็ตาม เราต้องลงทุนเป็นระยะยาว ถือเอาไว้นานๆ อย่าไปหวั่นไหวกับความผันผวนรายวันของตลาดหุ้น
(stay the course แปลว่า keep going strongly to the end of a race or contest)
Jack บอกว่าหนังสือเล่มนี้จะแบ่งเป็น 4 parts โดย
Part 1 - จะเป็นเรื่องราวความเป็นมาของ Vanguard ที่เริ่มก่อตั้งปี 1974 และเริ่มทำ index fund ในปี 1975
Part 2 - จะเป็นกองทุนหลักที่ Vanguard funds ทำมา เช่น Wellington fund, index funds, Windsor funds, PRIMECAP funds, และพวก bond funds
Part 3 - Jack จะมาบอกว่าเค้ามองอนาคตของ investment management เป็นอย่างไรและมันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
Part 4 - จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ Personal reflection ค่ะ
ส่วนตัวสนใจ Part 3 จะเล่าถึงละเอียดหน่อยค่ะ
“The First Index Investment Trust” ชื่อเดิม ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น “Vanguard 500 Index Fund”
มาดูผลงานกันก่อนค่ะ ตารางนี้บอกเราว่า ถ้าเริ่มต้นลงทุนด้วยเงิน $500 เหรียญ ตอนที่เริ่มมีกองทุนในปี 1977
เเล้วเติมเงินเเบบ DCA ไปเรื่อยๆ $100 ทุกเดือน ผลตอบแทน ณ. สิ้นปี 2017 จะเป็นดังนี้ค่ะ
Vanguard (ภาพซ้าย)เป็นกองทุนที่มีขนาด US$ 5 Trillion บริหารเงินให้ลูกค้า 20 ล้านราย ดำเนินงานด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด
คือเก็บแค่ at-cost basis เพราะวางโครงสร้างไว้ตามรูปด้านล่างนี้ค่ะ จะเห็นความแตกต่างจากกองทุนอื่นๆ ทั่วๆไป (ภาพขวา)
Jack Bogle เริ่มเล่าตั้งเเต่สมัยเป็นนักเรียนทุน ไปเรียนในโรงเรียนประจำทึ่ Blair Academy, New Jersey ช่วงนั้นประมาณปี 1945
พบจบเเล้วมาได้ทุนต่อที่ Princeton university เค้าเป็นนักศึกษารุ่น 1951 เเต่เรื่องมันเริ่มตอนที่ต้องทำวิทยานิพนธ์ แต่หาเรื่องทำไม่ได้
เเล้วไปอ่าน Fortune magazine ที่ออกมาของเดือน ธันวาคม 1949 หน้า 116 เป็นบทความเกี่ยวกับเรื่อง "Big Money in Boston"น่าจะเป็นเรื่องที่เป็นแรงบันดาลใจเค้าเลยทีเดียว
ตามไปอ่าน ที่ Jack เขียนถึงบทความนั้นได้ที่นี่ค่ะ
http://johncbogle.com/wordpress/wp-cont ... -17-13.pdf
Big Money in Boston เล่าเรื่องเกี่ยวกับประวัติ, นโนบาย และการดำเนินงานของ Massachusetts Investor Trust (M.I.T)
ก่อตั้งในปี 1924 เป็น open-end fund กองแรกและจนถึงปัจจุบันใหญ่ที่สุด
เป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้ Jack เขียนวิทยานิพนธ์ที่ไม่เคยมีนักศึกษาคนไหนเขียนมาก่อน
อันนี้ไปดึง factsheet 3Q2018 บางกองมาแปะค่ะ 1951 Welter L. Morgan (Mr. Morgan) ซึ่งเป็นทั้งศิษย์เก่าที่ Princeton และเป็นทั้ง Mentor ในชีวิตการทำงานของเค้า
... พอ Mr. Morgan ได้อ่านวิทยานิพนธ์ของ Jack ก็ชวนเค้ามาทำงานที่ Wellington fund เลย
สมัยนั้นกองทุนยังไม่ค่อยใหญ่ ทั้งอุตสาหกรรมมีสินทรัพย์ ประมาณ $2 billion แต่ Jack บอกว่า
เค้าเห็นอนาคตเลยว่าอุตสาหกรรมนี้จะโตไปได้อีกและจะมีเม็ดเงินเข้ามาสูงขึ้น
ซึ่งก็เป็นไปตามนั้น ปัจจุบันอุตสาหกรรมนี้มีสินทรัพย์สูงถึง $ 21 trillion
Wellington fund ลงทุนแบบ balanced fund คือถือพวกหุ้นผสมพันธบัตร บริหารไปเรื่อยๆ
แต่อุตสาหกรรมเริ่มเปลี่ยนไปตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรต 1960s เค้าเรียกมันว่า Go-Go era
เป็นยุคที่กองทุนเริ่มเสนอแนวการลงทุนที่หวือหวามากขึ้น เริ่มมีไปลงใน speculative stocks
ทำให้กองทุนของเค้าถูกมองว่า หัวโบราณมากเกินไป มันเหมือนกองทุนของ Wellington เป็น bagel
ถ้าเคยทานมันจะแบบแห้งๆ แข็งๆ (แต่ Jack บอกว่ามันเต็มไปด้วยสารอาหาร) พออุตสาหกรรมเริ่มมีโดนัทเข้ามา
มันชวนอร่อยกว่า เพราะว่ามันนุ่มนิ่ม สีสันสดใส รสชาติหวานถูกใจ
Fidelity ก็เป็นหนึ่งในผู้นำของยุค Go-Go era ที่ทำให้กองทุนเหล่านั้นกลายเป็น “เหมืองทอง” ของผู้จัดตั้งกองทุน
.. แต่ไม่ใช่สำหรับผู้ถือหน่วยลงทุน บางกองถึงกับส่อแววพิรุธในการรายงานผลการดำเนินงานที่ยอดเยี่ยม
บางครั้ง Jack ถึงกับสงสัยเลยว่านี่ใช่ของจริงแน่หรือ?
เค้ายกตัวอย่างกอง Enterprise Fund ที่เพิ่งจะจัดตั้งกองทุนในปี 1967 แต่กลับมี return สูงถึง 117%
และพอสิ้นปี 1968 มีสินทรัพย์เพิ่มเป็น $950 million … แต่ว่าพอถึงปี 1977 สินทรัพย์ของกองทุนลดลง 84%
คือเหลือไม่ถึง $150 million แถมกระแสเงินสดติดลบถึง 22 ปี จากระยะเวลาดำเนินงาน 25 ปี (1970-1994)
สุดท้ายก็ต้องปิดกอง ออกจากตลาดไปในปี 2011
กลับมาที่ Wellington ความฮอตของหุ้นหวือหวาตอนนั้นทำให้ market share ของพวกกอง balanced fund ลดลงอย่างน่าใจหาย
ลดลงจาก 1955 = 40%, 1965 = 17%, 1970 = 5%, 1975 = แทบจะเหลือ 1%
Mr. Morgan ก็เรียก Jack มาคุยว่า เราจะเอายังไงดี เราเริ่มอยู่ไม่ได้แล้วนะ (ตอนนั้นปี 1965 เค้าอายุ 35 ปี)
Mr. Morgan บอกว่า “Jack, I want you to take charge and do whatever it takes to solve our problems” มันเป็นอะไรที่เค้าจำได้ดีจนถึงวันนี้ (วันที่เขียนหนังสือ)
ประมาณว่าเป็นการบอกกลายๆว่าเค้าจะต้องเป็นผู้สืบทอดต่อจาก Mr. Morgan
... ในที่สุด Jack ก็ตัดสินใจ ทางรอดคือต้องไป merge กับ fund firm อื่น ตอนนั้นเค้าคัดมา 3 ที่ เลือกเอาที่แบบงบการเงินแข็งแกร่ง
แล้วก็ยื่นข้อเสนอไปทุกแห่ง
แห่งแรก เป็น American Funds group ของ LA ที่ดูแลสินทรัพย์ประมาณ $1 billion (สมัยนั้นกองนี้จัดเป็นอันดับที่ 5 มีสินทรัพย์ประมาณ 3% ของอุตสาหกรรม )
แห่งที่ 2 เป็น กอง stand alone ใน Boston ชื่อ Incorporated Investors ซึ่งต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของ Putnam fund complex
แห่งที่ 3 เป็น Franklin Custodian Funds เป็นกองเล็กๆ ซึ่งตอนนั้นมีสินทรัพย์เพียง $ 17 million เท่านั้น
..ทุกวันนี้เรารู้จักกันในชื่อ Franklin Templeton Investments มีสินทรัพย์ประมาณ $415 billion ในปี 2018
ผลของการเสนอ merger proposal ไปคือทุกที่ปฏิเสธเค้าหมด!
สุดท้ายเค้ามาได้ที่ Thorndike, Doran, Pain & Lewis, Inc.ซึ่งเป็นบริษัทเล็กๆใน Boston มี partners 4 คนเป็นเจ้าของ
แต่มีทำกองประเภท Go-Go ที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จ ชื่อ Ivest ตอนนั้นมีสินทรัพย์ประมาณ $ 17 million
และทำธุรกิจเกี่ยวกับเป็นที่ปรึกษากองทุนบำนาญด้วยค่ะ
แล้ว Mr. Morgan ก็อนุมัติการควบรวมในปี 1966
ตอนหน้าจะเป็น.. กำเนิดของ Vanguard !!!
“Stay The Course” - The story of Vanguard and the Index Revolution
หนังสือเล่มสุดท้ายของ Jack Bogle
โพสนี้จะขออนุญาตค่อยๆเล่าถึงหนังสือเล่ม (น่าจะ) สุดท้ายของ Jack Bogle ก่อนที่เค้าจะเสียชีวิตเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมาค่ะ
เล่มนี้ออกมาประมาณเดือนกันยายน 2018 ไม่ใช่การสรุปหนังสือทั้งหมดนะคะ เเค่อยากจะหยิบบางส่วนที่น่าสนใจมาเล่าเฉยๆค่ะ
“If a statue is ever erected to honor the person who has done the most for American investors,
the hands down choice should be Jack Bogle.”
-Warren Buffett-
เป็น quote แรกที่เขียนถึงเจ้าของหนังสือ Jack Bogle (หรือชื่อจริงคือ John Clifton Bogle) ค่ะ
Jack เขียนคำนำหนังสือไว้เมื่อวันที่ 1 กันยายนปีที่แล้ว (2018) เล่าว่า เค้าเขียน “Stay The Course” ขึ้นมาเพื่อย้ำว่าการลงทุนไม่ว่าจะเป็นใน
กองทุนดัชนี หรือหุ้นก็ตาม เราต้องลงทุนเป็นระยะยาว ถือเอาไว้นานๆ อย่าไปหวั่นไหวกับความผันผวนรายวันของตลาดหุ้น
(stay the course แปลว่า keep going strongly to the end of a race or contest)
Jack บอกว่าหนังสือเล่มนี้จะแบ่งเป็น 4 parts โดย
Part 1 - จะเป็นเรื่องราวความเป็นมาของ Vanguard ที่เริ่มก่อตั้งปี 1974 และเริ่มทำ index fund ในปี 1975
Part 2 - จะเป็นกองทุนหลักที่ Vanguard funds ทำมา เช่น Wellington fund, index funds, Windsor funds, PRIMECAP funds, และพวก bond funds
Part 3 - Jack จะมาบอกว่าเค้ามองอนาคตของ investment management เป็นอย่างไรและมันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
Part 4 - จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ Personal reflection ค่ะ
ส่วนตัวสนใจ Part 3 จะเล่าถึงละเอียดหน่อยค่ะ
“The First Index Investment Trust” ชื่อเดิม ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น “Vanguard 500 Index Fund”
มาดูผลงานกันก่อนค่ะ ตารางนี้บอกเราว่า ถ้าเริ่มต้นลงทุนด้วยเงิน $500 เหรียญ ตอนที่เริ่มมีกองทุนในปี 1977
เเล้วเติมเงินเเบบ DCA ไปเรื่อยๆ $100 ทุกเดือน ผลตอบแทน ณ. สิ้นปี 2017 จะเป็นดังนี้ค่ะ
Vanguard (ภาพซ้าย)เป็นกองทุนที่มีขนาด US$ 5 Trillion บริหารเงินให้ลูกค้า 20 ล้านราย ดำเนินงานด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด
คือเก็บแค่ at-cost basis เพราะวางโครงสร้างไว้ตามรูปด้านล่างนี้ค่ะ จะเห็นความแตกต่างจากกองทุนอื่นๆ ทั่วๆไป (ภาพขวา)
Jack Bogle เริ่มเล่าตั้งเเต่สมัยเป็นนักเรียนทุน ไปเรียนในโรงเรียนประจำทึ่ Blair Academy, New Jersey ช่วงนั้นประมาณปี 1945
พบจบเเล้วมาได้ทุนต่อที่ Princeton university เค้าเป็นนักศึกษารุ่น 1951 เเต่เรื่องมันเริ่มตอนที่ต้องทำวิทยานิพนธ์ แต่หาเรื่องทำไม่ได้
เเล้วไปอ่าน Fortune magazine ที่ออกมาของเดือน ธันวาคม 1949 หน้า 116 เป็นบทความเกี่ยวกับเรื่อง "Big Money in Boston"น่าจะเป็นเรื่องที่เป็นแรงบันดาลใจเค้าเลยทีเดียว
ตามไปอ่าน ที่ Jack เขียนถึงบทความนั้นได้ที่นี่ค่ะ
http://johncbogle.com/wordpress/wp-cont ... -17-13.pdf
Big Money in Boston เล่าเรื่องเกี่ยวกับประวัติ, นโนบาย และการดำเนินงานของ Massachusetts Investor Trust (M.I.T)
ก่อตั้งในปี 1924 เป็น open-end fund กองแรกและจนถึงปัจจุบันใหญ่ที่สุด
เป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้ Jack เขียนวิทยานิพนธ์ที่ไม่เคยมีนักศึกษาคนไหนเขียนมาก่อน
อันนี้ไปดึง factsheet 3Q2018 บางกองมาแปะค่ะ 1951 Welter L. Morgan (Mr. Morgan) ซึ่งเป็นทั้งศิษย์เก่าที่ Princeton และเป็นทั้ง Mentor ในชีวิตการทำงานของเค้า
... พอ Mr. Morgan ได้อ่านวิทยานิพนธ์ของ Jack ก็ชวนเค้ามาทำงานที่ Wellington fund เลย
สมัยนั้นกองทุนยังไม่ค่อยใหญ่ ทั้งอุตสาหกรรมมีสินทรัพย์ ประมาณ $2 billion แต่ Jack บอกว่า
เค้าเห็นอนาคตเลยว่าอุตสาหกรรมนี้จะโตไปได้อีกและจะมีเม็ดเงินเข้ามาสูงขึ้น
ซึ่งก็เป็นไปตามนั้น ปัจจุบันอุตสาหกรรมนี้มีสินทรัพย์สูงถึง $ 21 trillion
Wellington fund ลงทุนแบบ balanced fund คือถือพวกหุ้นผสมพันธบัตร บริหารไปเรื่อยๆ
แต่อุตสาหกรรมเริ่มเปลี่ยนไปตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรต 1960s เค้าเรียกมันว่า Go-Go era
เป็นยุคที่กองทุนเริ่มเสนอแนวการลงทุนที่หวือหวามากขึ้น เริ่มมีไปลงใน speculative stocks
ทำให้กองทุนของเค้าถูกมองว่า หัวโบราณมากเกินไป มันเหมือนกองทุนของ Wellington เป็น bagel
ถ้าเคยทานมันจะแบบแห้งๆ แข็งๆ (แต่ Jack บอกว่ามันเต็มไปด้วยสารอาหาร) พออุตสาหกรรมเริ่มมีโดนัทเข้ามา
มันชวนอร่อยกว่า เพราะว่ามันนุ่มนิ่ม สีสันสดใส รสชาติหวานถูกใจ
Fidelity ก็เป็นหนึ่งในผู้นำของยุค Go-Go era ที่ทำให้กองทุนเหล่านั้นกลายเป็น “เหมืองทอง” ของผู้จัดตั้งกองทุน
.. แต่ไม่ใช่สำหรับผู้ถือหน่วยลงทุน บางกองถึงกับส่อแววพิรุธในการรายงานผลการดำเนินงานที่ยอดเยี่ยม
บางครั้ง Jack ถึงกับสงสัยเลยว่านี่ใช่ของจริงแน่หรือ?
เค้ายกตัวอย่างกอง Enterprise Fund ที่เพิ่งจะจัดตั้งกองทุนในปี 1967 แต่กลับมี return สูงถึง 117%
และพอสิ้นปี 1968 มีสินทรัพย์เพิ่มเป็น $950 million … แต่ว่าพอถึงปี 1977 สินทรัพย์ของกองทุนลดลง 84%
คือเหลือไม่ถึง $150 million แถมกระแสเงินสดติดลบถึง 22 ปี จากระยะเวลาดำเนินงาน 25 ปี (1970-1994)
สุดท้ายก็ต้องปิดกอง ออกจากตลาดไปในปี 2011
กลับมาที่ Wellington ความฮอตของหุ้นหวือหวาตอนนั้นทำให้ market share ของพวกกอง balanced fund ลดลงอย่างน่าใจหาย
ลดลงจาก 1955 = 40%, 1965 = 17%, 1970 = 5%, 1975 = แทบจะเหลือ 1%
Mr. Morgan ก็เรียก Jack มาคุยว่า เราจะเอายังไงดี เราเริ่มอยู่ไม่ได้แล้วนะ (ตอนนั้นปี 1965 เค้าอายุ 35 ปี)
Mr. Morgan บอกว่า “Jack, I want you to take charge and do whatever it takes to solve our problems” มันเป็นอะไรที่เค้าจำได้ดีจนถึงวันนี้ (วันที่เขียนหนังสือ)
ประมาณว่าเป็นการบอกกลายๆว่าเค้าจะต้องเป็นผู้สืบทอดต่อจาก Mr. Morgan
... ในที่สุด Jack ก็ตัดสินใจ ทางรอดคือต้องไป merge กับ fund firm อื่น ตอนนั้นเค้าคัดมา 3 ที่ เลือกเอาที่แบบงบการเงินแข็งแกร่ง
แล้วก็ยื่นข้อเสนอไปทุกแห่ง
แห่งแรก เป็น American Funds group ของ LA ที่ดูแลสินทรัพย์ประมาณ $1 billion (สมัยนั้นกองนี้จัดเป็นอันดับที่ 5 มีสินทรัพย์ประมาณ 3% ของอุตสาหกรรม )
แห่งที่ 2 เป็น กอง stand alone ใน Boston ชื่อ Incorporated Investors ซึ่งต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของ Putnam fund complex
แห่งที่ 3 เป็น Franklin Custodian Funds เป็นกองเล็กๆ ซึ่งตอนนั้นมีสินทรัพย์เพียง $ 17 million เท่านั้น
..ทุกวันนี้เรารู้จักกันในชื่อ Franklin Templeton Investments มีสินทรัพย์ประมาณ $415 billion ในปี 2018
ผลของการเสนอ merger proposal ไปคือทุกที่ปฏิเสธเค้าหมด!
สุดท้ายเค้ามาได้ที่ Thorndike, Doran, Pain & Lewis, Inc.ซึ่งเป็นบริษัทเล็กๆใน Boston มี partners 4 คนเป็นเจ้าของ
แต่มีทำกองประเภท Go-Go ที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จ ชื่อ Ivest ตอนนั้นมีสินทรัพย์ประมาณ $ 17 million
และทำธุรกิจเกี่ยวกับเป็นที่ปรึกษากองทุนบำนาญด้วยค่ะ
แล้ว Mr. Morgan ก็อนุมัติการควบรวมในปี 1966
ตอนหน้าจะเป็น.. กำเนิดของ Vanguard !!!
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
-
- Verified User
- โพสต์: 214
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3244
หลบหน่อยพระเอกมา
(ป.ล. ไม่ได้เรียงตามหนังสือนะคะ อยากจะเล่าก็เล่าค่ะ)
กำเนิดของ Vanguard – The Birth of a New Flagship
หลังการปฏิวัติฝรั่งเศส จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 ภายใต้การนำของ จักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ต กลายเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงด้านการทหารโดดเด่นไปทั่วทวีปยุโรป
นโปเลียนต้องการจะบุกเกาะอังกฤษเพราะอังกฤษถือเป็นภัยคุกคามสำหรับฝรั่งเศส
อังกฤษมีกองทัพเรือที่ขึ้นชื่อว่าทรงแสนยานุภาพที่สุดในโลก ที่กองเรือฝรั่งเศสเคยพ่ายแพ้มาแล้วอย่างหมดท่า
เมื่อเห็นดังนั้นฝรั่งเศสจึงหันไปร่วมมือกับสเปนที่เป็นพันธมิตร ซึ่งกองทัพเรือสเปนก็จัดว่าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าใคร เข้าบุกหมายจะตีเกาะอังกฤษ
สิงหาคม 1798 ในการรบที่สมรภูมิแห่งแม่น้ำ Nile ทัพเรืออังกฤษภายใต้การนำของ พลเรือโท ลอร์ดเนลสันผู้ซึ่งบัญชาการรบอยู่บนเรือหลวง Vanguard
(ช่วงนั้นอยู่ภายใต้ ดยุคแห่ง Wellington) นำทัพเรืออังกฤษ 14 ลำ แยกเป็นสอง กอง กองนึงล้อมอยู่ด้านนอก
กองนึงแอบล่องเข้าไปตรงกลาง สามารถจมเรือรบของฝรั่งเศสได้ 17 ลำได้สำเร็จ (ดัดแปลงมาจาก Wikipedia และ history today.com ค่ะ)
โป๊ะ เช๊ะ! ในช่วงฤดูร้อนปี 1974 Jack ปิดหนังสือที่เค้าเพิ่งซื้อมา ... พึมพำกับตัวเอง อะไรมันจะเข้ากับชีวิตเราขนาดนี้
นายพลเนลสัน, ดยุคแห่ง Wellington (หมายถึง Mr. Morgan ในบริบทของ Jack) ต้องมาตกอยู่ในสถานการณ์ที่หลังชนฝา
... บัญชาการรบบนเรือหลวง Vanguard... อีกอย่าง Vanguard ก็แปลว่าผู้นำแห่งแนวทางใหม่ด้วย .. อะไรจะลงตัวขนาดนั้น
เอาชื่อนี้ละวะ !!
##
กลับมาที่การควบรวมกับ 4 สหายแห่ง Boston ซึ่งเป็นการให้หุ้นของ Wellington Management Company
โดยที่ 4 partners ถือ 40%, ตัว Jack ถือ 28% และที่เหลือเป็น ผถห ในตลาดถือ 32%
สมัยนั้น พวกเค้าถูกเรียกว่า whiz kids
ช่วงนั้นเป็นช่วงที่หุ้น Nifty-Fifty กำลังมาแรงและไม่มีใครคิดว่าหุ้นเหล่านั้นจะตก ลงมาได้เลย
หุ้นแบบ Xerox, Polaroid, IBM, Avon, Digital Equipment พุ่งขึ้นไปสูงเกินกว่า 50 เท่าของ earning
แต่หลังจากที่ฟองสบู่แตกในปี 1973 ไมใช่เพียงเม่าอเมริกันที่ตายเกลื่อน แต่ยังรวมไปถึงผู้จัดการกองทุน,
นักลงทุนสถาบัน, บริษัทประกัน, และพวก college endowment funds
เหตุการณ์ดังกล่าว พลอยทำให้ business model ตัวใหม่ของ Wellington เละไปด้วย
สินทรัพย์ของ Ivest หายไปถึง 65% รวมไปถึงเจ้ากอง Go-Go 2 กองที่ทำเอาไว้ก็มีผลประกอบการย่ำแย่
และสุดท้าย failed ไปในที่สุด
ส่วนลูกพี่ once-conversative Wellington (กอง Wellington ที่ครั้งนึงเคยหัวโบราณ) ก็เละเป็นโจ๊กในช่วงปี 1966-1976
“we had a fiduciary duty both to our mutual fund shareholders and to our management company shareholders.
But when a privately held management company becomes publicly held, this conflict of interest is exacerbated”
1971 Jack เสนอแนวความคิดว่าเมื่อมันเกิด conflict of interest ในการบริหารจัดการกองทุนแบบนี้ เราควรจะเดินหน้า Mutualization ให้เต็มตัว
นั่นคือการเสนอให้ funds acquire management company เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุน (หุ้น) เป็นเจ้าของกองทุน และเค้าอยากจะทำให้มันเกิดขึ้นจริงๆ
แต่ในความตลาดหมี ช่วง 1973-1974 ทำให้ partnership ที่ก่อตั้งขึ้นตอนปี 1966 ต้องแยกตัว ช่วงนั้นสินทรัพย์ของ Wellington
ที่เคยมีสูงสุดประมาณ $2 billion ในปี 1965 ลดลงมาเหลือไม่ถึง $ 1 billion และต่ำสุดที่ $ 480 million billion ในปี 1975
(คิดดู ว่าจาก 2000 เหลือ 480) ราคาหุ้นจาก $50/share >> $ 4.25/share
ช่วงเวลาแบบนี้... เราต้องหาแพะรับบาป ... แน่นอนว่าทุกคนชี้นิ้วมาที่ Mr. Bogle
ใช่ค่ะ.. Jack Bogle ถูกไล่ออกจาก CEO ของ Wellington Management Company ในวันที่ 23 มกรา 1974 และ Robert W. Doran ถูกโปรโมทขึ้นเป็น CEO
มันเป็นช่วงเวลาที่เค้าบอกว่าใจสลาย ... แต่ว่าเค้าเลือกที่จะสู้กลับ ในสมัยนั้นกองทุนจะถูกควบคุมดูแลโดยคณะกรรมการอิสระ ทำให้เค้ายังมีโอกาสสู้
เช้าวันต่อมา เค้าเรียก บรรดา board of directors ของกองทุน Wellington 11 กอง ประชุมกันที่นิวยอร์ค เสนอว่าเราควรจะประกาศตัวเป็นอิสระ
จาก Wellington Management Company แล้วจะทำการ mutualize กลุ่มกองทุน 11 กองของพวกเค้า เพื่อที่จะมาทำกันเองแบบ “at-cost” basis
ซึ่ง Jack บอกว่ามันจะเป็นการ disrupt อุตสาหกรรมกองทุน เพราะไม่เคยมีใครทำมาก่อน แม้แต่ New York Times ยังไม่เข้าใจเลยว่า
อะไรกำลังเกิดขึ้น ... วันที่ 14 มีนา 1974 New York Times ลงข่าว “Ex-Fund Chief to Come Back”
แต่ว่าในประชุมครั้งนั้นบรรดา board of directors ของกองทุน Wellington กลับขอให้เค้าไปคิดดีกว่าเราจะผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้อย่างไง
ช่วงนั้นมันเป็นเหมือนสถานการณ์การเผชิญหน้าระหว่าง กลุ่มของกองทุน, CEO (Jack), และ Wellington Management Company
เค้าไปทำร่างเสนออยู่หลาย options แต่แน่นอนว่าเค้าค่อนข้างเอนเอียงไปทาง mutualization การดำเนินงานของกลุ่มกองทุน โดยการซื้อ Wellington’s mutual funds กลับมาทำกันเอง
แทนที่จะไปพึ่ง Wellington Management Company
แต่เพราะว่าขอเสนอของเค้าไม่เคยมีใครทำมาก่อน ทำให้ กลต. สหรัฐเองก็ไม่ค่อยแน่ว่าเค้าจะทำมันยังไง
สุดท้ายก็จบลงที่ประมาณว่า the Wellington funds จะต้องตั้งบริษัทในเครือขึ้นมาบริหารจัดการกองทุน
โดยที่มี Jack เป็น CEO โดยนิยามของการบริหารจัดการนั้น .. ทำได้แค่ financial affairs, share holder recordkeeping,
legal & compliance, handling share purchases & redemptions
ประมาณว่าบริษัทใหม่ที่เค้าจะเข้าไปทำได้นั้นถูกจำกัดสิทธิ์ และกิจกรรมในการดำเนินงาน
(ประมาณว่าเค้าจะถูกจำกัดเรื่องการตลาด การโฆษณา การ distribution การเป็นที่ปรึกษาทางการลงทุน นู่น นี่ นั่น
แค่คอยซื้อขายหุ้น หรือหน่วยลงทุน ทำบัญชีรายงานงบได้แค่นั้นค่ะ)
เค้าถึงกับเซ็งไปเลย ไม่เอาแล้วเลิก แต่ Jack บอกว่าเค้ายังโชคดีที่มีบอร์ดคนนึง
คือ Charles D. Root Jr. ที่เป็นคนที่เห็นต่างจากคนอื่น และเชื่อมั่นในตัวเค้า .
.. Jack ถึงกับบอกว่า ในเวลาที่แย่ๆ ขอแค่มีคนคนเดียวที่เข้าใจ มันก็เปลี่ยนโลกของเค้าทั้งใบแล้ว
Root บอกเค้าว่า ให้ทำต่อ “Jack, you can call the group anything you want.
And then go out and make it the finest name in the whole damn mutual fund industry!”
จะตั้งชื่อบริษัทอะไรก็ตั้ง แล้วทำให้มันเป็นชื่อที่ดีที่สุดของโลกของกองทุนเลยนะ
ทำยังไง Jack ก็คิดชื่อไม่ออกหรอกค่ะ จนกระทั่งไม่กี่อาทิตย์ก่อนหน้าที่จะจัดตั้งบริษัทใหม่ มีคนขายสิ่งพิมพ์เก่าๆผ่านมาหาที่ออฟฟิศ
แล้วเสนอสิ่งพิมพ์และหนังสือที่เกี่ยวกับสงครามนโปเลียน แล้วมีเสนอแถมเรื่องเกี่ยวกับกองเรืออังกฤษเอาชนะฝรั่งเศสได้ในสมรภูมิแห่งแม่น้ำ Nile
มาด้วย เค้าก้อเลยซื้อๆมา
... และเค้าก็เริ่มพลิกๆหนังสือดู เหมือนตอนที่เค้าพลิกอ่านหนังสือ Fortune magazine สมัยหาเรื่องทำวิทยานิพนธ์นั่นเอง!
ขนลุกเลยเนาะ
ตอนต่อไป The Revolution of Index Fund
อีก 2 ตอนจบเเล้วค่ะ
(ป.ล. ไม่ได้เรียงตามหนังสือนะคะ อยากจะเล่าก็เล่าค่ะ)
กำเนิดของ Vanguard – The Birth of a New Flagship
หลังการปฏิวัติฝรั่งเศส จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 ภายใต้การนำของ จักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ต กลายเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงด้านการทหารโดดเด่นไปทั่วทวีปยุโรป
นโปเลียนต้องการจะบุกเกาะอังกฤษเพราะอังกฤษถือเป็นภัยคุกคามสำหรับฝรั่งเศส
อังกฤษมีกองทัพเรือที่ขึ้นชื่อว่าทรงแสนยานุภาพที่สุดในโลก ที่กองเรือฝรั่งเศสเคยพ่ายแพ้มาแล้วอย่างหมดท่า
เมื่อเห็นดังนั้นฝรั่งเศสจึงหันไปร่วมมือกับสเปนที่เป็นพันธมิตร ซึ่งกองทัพเรือสเปนก็จัดว่าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าใคร เข้าบุกหมายจะตีเกาะอังกฤษ
สิงหาคม 1798 ในการรบที่สมรภูมิแห่งแม่น้ำ Nile ทัพเรืออังกฤษภายใต้การนำของ พลเรือโท ลอร์ดเนลสันผู้ซึ่งบัญชาการรบอยู่บนเรือหลวง Vanguard
(ช่วงนั้นอยู่ภายใต้ ดยุคแห่ง Wellington) นำทัพเรืออังกฤษ 14 ลำ แยกเป็นสอง กอง กองนึงล้อมอยู่ด้านนอก
กองนึงแอบล่องเข้าไปตรงกลาง สามารถจมเรือรบของฝรั่งเศสได้ 17 ลำได้สำเร็จ (ดัดแปลงมาจาก Wikipedia และ history today.com ค่ะ)
โป๊ะ เช๊ะ! ในช่วงฤดูร้อนปี 1974 Jack ปิดหนังสือที่เค้าเพิ่งซื้อมา ... พึมพำกับตัวเอง อะไรมันจะเข้ากับชีวิตเราขนาดนี้
นายพลเนลสัน, ดยุคแห่ง Wellington (หมายถึง Mr. Morgan ในบริบทของ Jack) ต้องมาตกอยู่ในสถานการณ์ที่หลังชนฝา
... บัญชาการรบบนเรือหลวง Vanguard... อีกอย่าง Vanguard ก็แปลว่าผู้นำแห่งแนวทางใหม่ด้วย .. อะไรจะลงตัวขนาดนั้น
เอาชื่อนี้ละวะ !!
##
กลับมาที่การควบรวมกับ 4 สหายแห่ง Boston ซึ่งเป็นการให้หุ้นของ Wellington Management Company
โดยที่ 4 partners ถือ 40%, ตัว Jack ถือ 28% และที่เหลือเป็น ผถห ในตลาดถือ 32%
สมัยนั้น พวกเค้าถูกเรียกว่า whiz kids
ช่วงนั้นเป็นช่วงที่หุ้น Nifty-Fifty กำลังมาแรงและไม่มีใครคิดว่าหุ้นเหล่านั้นจะตก ลงมาได้เลย
หุ้นแบบ Xerox, Polaroid, IBM, Avon, Digital Equipment พุ่งขึ้นไปสูงเกินกว่า 50 เท่าของ earning
แต่หลังจากที่ฟองสบู่แตกในปี 1973 ไมใช่เพียงเม่าอเมริกันที่ตายเกลื่อน แต่ยังรวมไปถึงผู้จัดการกองทุน,
นักลงทุนสถาบัน, บริษัทประกัน, และพวก college endowment funds
เหตุการณ์ดังกล่าว พลอยทำให้ business model ตัวใหม่ของ Wellington เละไปด้วย
สินทรัพย์ของ Ivest หายไปถึง 65% รวมไปถึงเจ้ากอง Go-Go 2 กองที่ทำเอาไว้ก็มีผลประกอบการย่ำแย่
และสุดท้าย failed ไปในที่สุด
ส่วนลูกพี่ once-conversative Wellington (กอง Wellington ที่ครั้งนึงเคยหัวโบราณ) ก็เละเป็นโจ๊กในช่วงปี 1966-1976
“we had a fiduciary duty both to our mutual fund shareholders and to our management company shareholders.
But when a privately held management company becomes publicly held, this conflict of interest is exacerbated”
1971 Jack เสนอแนวความคิดว่าเมื่อมันเกิด conflict of interest ในการบริหารจัดการกองทุนแบบนี้ เราควรจะเดินหน้า Mutualization ให้เต็มตัว
นั่นคือการเสนอให้ funds acquire management company เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุน (หุ้น) เป็นเจ้าของกองทุน และเค้าอยากจะทำให้มันเกิดขึ้นจริงๆ
แต่ในความตลาดหมี ช่วง 1973-1974 ทำให้ partnership ที่ก่อตั้งขึ้นตอนปี 1966 ต้องแยกตัว ช่วงนั้นสินทรัพย์ของ Wellington
ที่เคยมีสูงสุดประมาณ $2 billion ในปี 1965 ลดลงมาเหลือไม่ถึง $ 1 billion และต่ำสุดที่ $ 480 million billion ในปี 1975
(คิดดู ว่าจาก 2000 เหลือ 480) ราคาหุ้นจาก $50/share >> $ 4.25/share
ช่วงเวลาแบบนี้... เราต้องหาแพะรับบาป ... แน่นอนว่าทุกคนชี้นิ้วมาที่ Mr. Bogle
ใช่ค่ะ.. Jack Bogle ถูกไล่ออกจาก CEO ของ Wellington Management Company ในวันที่ 23 มกรา 1974 และ Robert W. Doran ถูกโปรโมทขึ้นเป็น CEO
มันเป็นช่วงเวลาที่เค้าบอกว่าใจสลาย ... แต่ว่าเค้าเลือกที่จะสู้กลับ ในสมัยนั้นกองทุนจะถูกควบคุมดูแลโดยคณะกรรมการอิสระ ทำให้เค้ายังมีโอกาสสู้
เช้าวันต่อมา เค้าเรียก บรรดา board of directors ของกองทุน Wellington 11 กอง ประชุมกันที่นิวยอร์ค เสนอว่าเราควรจะประกาศตัวเป็นอิสระ
จาก Wellington Management Company แล้วจะทำการ mutualize กลุ่มกองทุน 11 กองของพวกเค้า เพื่อที่จะมาทำกันเองแบบ “at-cost” basis
ซึ่ง Jack บอกว่ามันจะเป็นการ disrupt อุตสาหกรรมกองทุน เพราะไม่เคยมีใครทำมาก่อน แม้แต่ New York Times ยังไม่เข้าใจเลยว่า
อะไรกำลังเกิดขึ้น ... วันที่ 14 มีนา 1974 New York Times ลงข่าว “Ex-Fund Chief to Come Back”
แต่ว่าในประชุมครั้งนั้นบรรดา board of directors ของกองทุน Wellington กลับขอให้เค้าไปคิดดีกว่าเราจะผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้อย่างไง
ช่วงนั้นมันเป็นเหมือนสถานการณ์การเผชิญหน้าระหว่าง กลุ่มของกองทุน, CEO (Jack), และ Wellington Management Company
เค้าไปทำร่างเสนออยู่หลาย options แต่แน่นอนว่าเค้าค่อนข้างเอนเอียงไปทาง mutualization การดำเนินงานของกลุ่มกองทุน โดยการซื้อ Wellington’s mutual funds กลับมาทำกันเอง
แทนที่จะไปพึ่ง Wellington Management Company
แต่เพราะว่าขอเสนอของเค้าไม่เคยมีใครทำมาก่อน ทำให้ กลต. สหรัฐเองก็ไม่ค่อยแน่ว่าเค้าจะทำมันยังไง
สุดท้ายก็จบลงที่ประมาณว่า the Wellington funds จะต้องตั้งบริษัทในเครือขึ้นมาบริหารจัดการกองทุน
โดยที่มี Jack เป็น CEO โดยนิยามของการบริหารจัดการนั้น .. ทำได้แค่ financial affairs, share holder recordkeeping,
legal & compliance, handling share purchases & redemptions
ประมาณว่าบริษัทใหม่ที่เค้าจะเข้าไปทำได้นั้นถูกจำกัดสิทธิ์ และกิจกรรมในการดำเนินงาน
(ประมาณว่าเค้าจะถูกจำกัดเรื่องการตลาด การโฆษณา การ distribution การเป็นที่ปรึกษาทางการลงทุน นู่น นี่ นั่น
แค่คอยซื้อขายหุ้น หรือหน่วยลงทุน ทำบัญชีรายงานงบได้แค่นั้นค่ะ)
เค้าถึงกับเซ็งไปเลย ไม่เอาแล้วเลิก แต่ Jack บอกว่าเค้ายังโชคดีที่มีบอร์ดคนนึง
คือ Charles D. Root Jr. ที่เป็นคนที่เห็นต่างจากคนอื่น และเชื่อมั่นในตัวเค้า .
.. Jack ถึงกับบอกว่า ในเวลาที่แย่ๆ ขอแค่มีคนคนเดียวที่เข้าใจ มันก็เปลี่ยนโลกของเค้าทั้งใบแล้ว
Root บอกเค้าว่า ให้ทำต่อ “Jack, you can call the group anything you want.
And then go out and make it the finest name in the whole damn mutual fund industry!”
จะตั้งชื่อบริษัทอะไรก็ตั้ง แล้วทำให้มันเป็นชื่อที่ดีที่สุดของโลกของกองทุนเลยนะ
ทำยังไง Jack ก็คิดชื่อไม่ออกหรอกค่ะ จนกระทั่งไม่กี่อาทิตย์ก่อนหน้าที่จะจัดตั้งบริษัทใหม่ มีคนขายสิ่งพิมพ์เก่าๆผ่านมาหาที่ออฟฟิศ
แล้วเสนอสิ่งพิมพ์และหนังสือที่เกี่ยวกับสงครามนโปเลียน แล้วมีเสนอแถมเรื่องเกี่ยวกับกองเรืออังกฤษเอาชนะฝรั่งเศสได้ในสมรภูมิแห่งแม่น้ำ Nile
มาด้วย เค้าก้อเลยซื้อๆมา
... และเค้าก็เริ่มพลิกๆหนังสือดู เหมือนตอนที่เค้าพลิกอ่านหนังสือ Fortune magazine สมัยหาเรื่องทำวิทยานิพนธ์นั่นเอง!
ขนลุกเลยเนาะ
ตอนต่อไป The Revolution of Index Fund
อีก 2 ตอนจบเเล้วค่ะ
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
-
- Verified User
- โพสต์: 214
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3245
The Revolution of Index Fund
“The search for winning fund managers is a tough and ultimately unrewarding strategy for the vast majority of investors.”
ก่อนอื่นมาดูผลงานกันก่อนค่ะ
ค่าใช้จ่ายของกองทุนในกลุ่ม Vanguard มีค่า Investment expenses และ operating expenses คิดเป็น 0.02% ในปี 2018
ลดลงมาถึง 94% จากปี 1977 ที่ตอนนั้นก็บอยู่ที่ 0.35%
ลองนับดูเล่นๆแล้ว ตั้งแต่จัดตั้งกองทุนขึ้นมาในปี 1975 จนถึงปัจจุบัน (2018) ผู้ถือหน่วยลงทุนของ Vanguard สามารถประหยัดเงินค่าธรรมเนียมไปได้ถึง $217 billion!!! แม่จ้าว
###
ถ้าที่พระพุทธเจ้าบอกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ไม่มีความบังเอิญเป็นเรื่องจริง เรื่องราวของ Jack ก็เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นแบบรูปธรรม (อันนี้ไม่มีในหนังสือนะคะ มันเป็นความรู้สึกส่วนตัวของเรา)
Paul A. Samuelson ได้รับรางวัลโนเบลจากการวิจัยของเค้า และงานวิจัยของ Paul ถูกตีพิมพ์ลงนิตยสาร The Journal of Portfolio Management ในเดือนตุลาคม 1974 เรื่อง “The Challenge of Judgement”
Dr. Samuelson could find no “brute evidence” that fund managers could systematically outperform the returns of the S&P 500 Index “on repeatable, sustained basis”
…he demands that someone, somewhere, start an index fund modeled on the S&P 500. “As yet, there exist no convenient fund that apes the whole market, requires no load, and keep commission…fees to the feasible minimum”
ผลงานวิจัยของ Paul ระบุว่า เค้าไม่สามารถหาหลักฐานเพื่อที่จะพิสูจน์ได้ว่าจะมีผู้จัดการกองทุนคนใดที่สามารถบริหารกองทุน แล้วได้ผลตอบแทนชนะ S&P 500 index อย่างเป็นระบบ, ยั่งยืน โดยเป็นผลที่ได้เกิดขึ้นต่อเนื่องซ้ำได้เลย
Paul บอกว่าต้องการให้มีใครสักคน ที่ไหนก็ได้ในโลก สร้างกองทุนที่เป็น index fund ไปลงแบบ S&P 500 โดยที่เก็บค่าธรรมเนียมให้ต่ำที่สุด
... เชื่อมั้ยคะ ว่า Jack ได้อ่าน paper นี้ไม่กี่วันหลังจากที่เค้าเพิ่งจดทะเบียนจัดตั้ง Vanguard ขึ้นมา .. เรื่องที่ Paul ทำวิจัยก็ไปสอดคล้องกับวิทนานิพนธ์ที่เค้าเขียนเมื่อ 24 ปีก่อน ตอนที่เค้าจะจบจาก Princeton “Mutual fund may make no claim to superiority over the market averages” ในวิทยานิพนธ์ของ Jack เขียนว่า ไม่มีกองทุนรวมใดในโลกที่สามารถอ้างได้ว่าทำผลตอบแทนชนะค่าเฉลี่ยของตลาด
หลักฐานคือ Jack ได้รวบรวมสถิติ annual return ของแต่ละกองทุนรวมที่มีอยู่ในสมัยนั้นย้อนไป 30 ปี (1945-1975) เทียบผลตอบแทนกับ S&P 500 เพื่อนำเสนอใน proposal เพื่อขอ board อนุมัติการจัดตั้งกองทุน “The First Index Investment Trust” (ชื่อเดิมของ Vanguard 500 Index Fund)
ผลตอบแทนเฉลี่ยของ S&P 500 Index = 11.3%
ผลตอบแทนเฉลี่ยของกองทุนรวมหุ้น = 9.7%
ถ้าใส่เงิน $1,000,000 ลงใน S&P 500 Index จะได้ $25,020,000
แต่ถ้าใสเงิน $1,000,000 ลงในกองทุนรวมหุ้นทั่วไปจะได้ $16,390,000
Board เห็นตัวเลขก็ทึ่ง แต่ยังกังวลว่า Vanguard จะทำได้เหรอ เพราะมีข้อกำหนดที่โดนแบน ห้ามทำนู่น นี่ค้ำคออยู่ Jack บอกว่า ก็ไม่ได้ทำอะไรนิ แค่ไปถือหุ้น 500 ตัวใน S&P 500 Index แค่นั้น
** Jack ได้ลองรัน model ซ้ำอีกทีในปี 2016 ใช้ข้อมูลช่วง 1985-2015 พบว่า ผลตอบแทนเฉลี่ยของ S&P 500 Index ยังคงสูงกว่าผลตอบแทนเฉลี่ยของ actively managed large-cap blend funds อยู่ 1.6 percentage point.
บางตอนของหนังสือ Jack พูดถึงกองทุน Magellan Fund ของ Peter Lynch แห่ง Fidelity
จากที่เคยเล่าถึงมุมมองของ Jack ต่อ Go-Go era ไปแล้วนั้น กองทุนนึงที่ outperform คือ Magellan Fund หนึ่งในผู้รอดชีวิตจากช่วงฟองสบู่แตกใน Go-Go era กองทุนนี้เปิดขายครั้งแรกปี 1963 แต่ Magellan ทำผลงานได้น่าประทับใจ สามารถเอาชนะ S&P 500 ได้ถึง 22. 5 percentage point ต่อปี ในช่วง 1975-1983 และทำผลงานดีต่อเนื่องอีกช่วง 1984-1993 โดยชนะ S&P 500 ได้ 3. 5 percentage point ต่อปี
แต่หลังจากที่ Peter Lynch ลาออก ผลงานของกองทุนเริ่มถดถอย และเริ่มแพ้ตลาดถึง 2% ต่อปี เป็นระยะเวลา 24 ปีหลังจากนั้น
Magellan ที่เคยมีสินทรัพย์สูงถึง $110 billion ในปี 2000 แต่ถึงปัจจุบัน 2018 เหลือสินทรัพย์เพียง $17 billion (หายไป $93 billion)
Jack ปิดท้ายว่า “He who lives by the sword shall die by the sword.”
** Note ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2018 ระดับ market share ของ Fidelity เริ่มนิ่งเพราะเข้ามาทำ Index funds ที่คิดเป็น 25% ของ Fidelity ‘s equity fund assets
###
2 ตอนสุดท้ายนี่จะออกดราม่าหน่อยๆ นะคะ และมีการพาดพิงบุคคลที่ 3 ถ้าอยากเคลียร์ยังไง
ให้ตามไปเคลียร์กับ Jack Bogle คนเขียนนะคะ เราเป็นคนอ่านที่เค้าเขียน แล้วเอามาเล่าให้ฟังค่ะ ^^
Please do not kill the messenger
Section นี้ยาวที่สุดในหนังสือ เล่าเรื่องประวัติความเป็นมาและผลการดำเนินงานของกองทุนหลายๆกอง รวมไปถึงช่วงเวลา ว่าผ่านมาได้อย่างไง แต่เราไม่มีเจตนาที่จะแปล หรือสรุปหนังสือ ดังนั้น มันอาจจะไม่ครบ แต่ถ้าสนใจไปหาอ่านเพิ่มเติมได้ค่ะ
###
ตอนต่อไป เป็นตอนจบที่เราจะเล่า (แต่ไม่ใช่ตอนจบของหนังสือนะคะ)
Future of Investment Management – Bogle’s view
“The search for winning fund managers is a tough and ultimately unrewarding strategy for the vast majority of investors.”
ก่อนอื่นมาดูผลงานกันก่อนค่ะ
ค่าใช้จ่ายของกองทุนในกลุ่ม Vanguard มีค่า Investment expenses และ operating expenses คิดเป็น 0.02% ในปี 2018
ลดลงมาถึง 94% จากปี 1977 ที่ตอนนั้นก็บอยู่ที่ 0.35%
ลองนับดูเล่นๆแล้ว ตั้งแต่จัดตั้งกองทุนขึ้นมาในปี 1975 จนถึงปัจจุบัน (2018) ผู้ถือหน่วยลงทุนของ Vanguard สามารถประหยัดเงินค่าธรรมเนียมไปได้ถึง $217 billion!!! แม่จ้าว
###
ถ้าที่พระพุทธเจ้าบอกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ไม่มีความบังเอิญเป็นเรื่องจริง เรื่องราวของ Jack ก็เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นแบบรูปธรรม (อันนี้ไม่มีในหนังสือนะคะ มันเป็นความรู้สึกส่วนตัวของเรา)
Paul A. Samuelson ได้รับรางวัลโนเบลจากการวิจัยของเค้า และงานวิจัยของ Paul ถูกตีพิมพ์ลงนิตยสาร The Journal of Portfolio Management ในเดือนตุลาคม 1974 เรื่อง “The Challenge of Judgement”
Dr. Samuelson could find no “brute evidence” that fund managers could systematically outperform the returns of the S&P 500 Index “on repeatable, sustained basis”
…he demands that someone, somewhere, start an index fund modeled on the S&P 500. “As yet, there exist no convenient fund that apes the whole market, requires no load, and keep commission…fees to the feasible minimum”
ผลงานวิจัยของ Paul ระบุว่า เค้าไม่สามารถหาหลักฐานเพื่อที่จะพิสูจน์ได้ว่าจะมีผู้จัดการกองทุนคนใดที่สามารถบริหารกองทุน แล้วได้ผลตอบแทนชนะ S&P 500 index อย่างเป็นระบบ, ยั่งยืน โดยเป็นผลที่ได้เกิดขึ้นต่อเนื่องซ้ำได้เลย
Paul บอกว่าต้องการให้มีใครสักคน ที่ไหนก็ได้ในโลก สร้างกองทุนที่เป็น index fund ไปลงแบบ S&P 500 โดยที่เก็บค่าธรรมเนียมให้ต่ำที่สุด
... เชื่อมั้ยคะ ว่า Jack ได้อ่าน paper นี้ไม่กี่วันหลังจากที่เค้าเพิ่งจดทะเบียนจัดตั้ง Vanguard ขึ้นมา .. เรื่องที่ Paul ทำวิจัยก็ไปสอดคล้องกับวิทนานิพนธ์ที่เค้าเขียนเมื่อ 24 ปีก่อน ตอนที่เค้าจะจบจาก Princeton “Mutual fund may make no claim to superiority over the market averages” ในวิทยานิพนธ์ของ Jack เขียนว่า ไม่มีกองทุนรวมใดในโลกที่สามารถอ้างได้ว่าทำผลตอบแทนชนะค่าเฉลี่ยของตลาด
หลักฐานคือ Jack ได้รวบรวมสถิติ annual return ของแต่ละกองทุนรวมที่มีอยู่ในสมัยนั้นย้อนไป 30 ปี (1945-1975) เทียบผลตอบแทนกับ S&P 500 เพื่อนำเสนอใน proposal เพื่อขอ board อนุมัติการจัดตั้งกองทุน “The First Index Investment Trust” (ชื่อเดิมของ Vanguard 500 Index Fund)
ผลตอบแทนเฉลี่ยของ S&P 500 Index = 11.3%
ผลตอบแทนเฉลี่ยของกองทุนรวมหุ้น = 9.7%
ถ้าใส่เงิน $1,000,000 ลงใน S&P 500 Index จะได้ $25,020,000
แต่ถ้าใสเงิน $1,000,000 ลงในกองทุนรวมหุ้นทั่วไปจะได้ $16,390,000
Board เห็นตัวเลขก็ทึ่ง แต่ยังกังวลว่า Vanguard จะทำได้เหรอ เพราะมีข้อกำหนดที่โดนแบน ห้ามทำนู่น นี่ค้ำคออยู่ Jack บอกว่า ก็ไม่ได้ทำอะไรนิ แค่ไปถือหุ้น 500 ตัวใน S&P 500 Index แค่นั้น
** Jack ได้ลองรัน model ซ้ำอีกทีในปี 2016 ใช้ข้อมูลช่วง 1985-2015 พบว่า ผลตอบแทนเฉลี่ยของ S&P 500 Index ยังคงสูงกว่าผลตอบแทนเฉลี่ยของ actively managed large-cap blend funds อยู่ 1.6 percentage point.
บางตอนของหนังสือ Jack พูดถึงกองทุน Magellan Fund ของ Peter Lynch แห่ง Fidelity
จากที่เคยเล่าถึงมุมมองของ Jack ต่อ Go-Go era ไปแล้วนั้น กองทุนนึงที่ outperform คือ Magellan Fund หนึ่งในผู้รอดชีวิตจากช่วงฟองสบู่แตกใน Go-Go era กองทุนนี้เปิดขายครั้งแรกปี 1963 แต่ Magellan ทำผลงานได้น่าประทับใจ สามารถเอาชนะ S&P 500 ได้ถึง 22. 5 percentage point ต่อปี ในช่วง 1975-1983 และทำผลงานดีต่อเนื่องอีกช่วง 1984-1993 โดยชนะ S&P 500 ได้ 3. 5 percentage point ต่อปี
แต่หลังจากที่ Peter Lynch ลาออก ผลงานของกองทุนเริ่มถดถอย และเริ่มแพ้ตลาดถึง 2% ต่อปี เป็นระยะเวลา 24 ปีหลังจากนั้น
Magellan ที่เคยมีสินทรัพย์สูงถึง $110 billion ในปี 2000 แต่ถึงปัจจุบัน 2018 เหลือสินทรัพย์เพียง $17 billion (หายไป $93 billion)
Jack ปิดท้ายว่า “He who lives by the sword shall die by the sword.”
** Note ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2018 ระดับ market share ของ Fidelity เริ่มนิ่งเพราะเข้ามาทำ Index funds ที่คิดเป็น 25% ของ Fidelity ‘s equity fund assets
###
2 ตอนสุดท้ายนี่จะออกดราม่าหน่อยๆ นะคะ และมีการพาดพิงบุคคลที่ 3 ถ้าอยากเคลียร์ยังไง
ให้ตามไปเคลียร์กับ Jack Bogle คนเขียนนะคะ เราเป็นคนอ่านที่เค้าเขียน แล้วเอามาเล่าให้ฟังค่ะ ^^
Please do not kill the messenger
Section นี้ยาวที่สุดในหนังสือ เล่าเรื่องประวัติความเป็นมาและผลการดำเนินงานของกองทุนหลายๆกอง รวมไปถึงช่วงเวลา ว่าผ่านมาได้อย่างไง แต่เราไม่มีเจตนาที่จะแปล หรือสรุปหนังสือ ดังนั้น มันอาจจะไม่ครบ แต่ถ้าสนใจไปหาอ่านเพิ่มเติมได้ค่ะ
###
ตอนต่อไป เป็นตอนจบที่เราจะเล่า (แต่ไม่ใช่ตอนจบของหนังสือนะคะ)
Future of Investment Management – Bogle’s view
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
-
- Verified User
- โพสต์: 214
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3246
ตอนจบค่ะ
The Challenge to the S&P 500 Index Fund
"... funds should be managed and operated in the best interests of their shareholders,
rather than in the interests of advisers, underwriters, and others... The [Vanguard] funds are promoting this goal."
- SEC Administrative Proceeding File No. 3-5281, Feb 1981-
###
Jack Bogle ทำสถิติของ market share แต่ละ house ไว้ให้เราดูตามรูปนี้ค่ะ นับช่วงเวลาที่แต่ละ house
ถือครองสินทรัพย์สูงที่สุด และจำนวนสินทรัพย์ในปีปัจจุบัน
บางกองในเครือของ Vanguard ก็ติดอันดับกองทุนหุ้นที่ใหญ่ที่สุดแห่งชาติตั้งแต่สมัยก่อน (1985) เลยค่ะ
อย่างเช่น Windsor Fund ที่บริหารโดย John Neff
Jack เล่าว่า John Neff เป็นคนที่ทั้ง conservative และ aggressive เพราะ conservative ในแง่ที่จะเลือกหุ้นอย่างพิถีพิถัน
สาย VI แนว contrarian ชัดเจน... ถือรอได้ กว่าตลาดจะให้มูลค่าก็ต้องถืออยู่พักใหญ่
ส่วนเป็นพวก aggressive ในแง่ที่กว่ากล้าทำพอร์ตแบบ concentrate นั่นเอง
Vanguard เป็น mutual fund complex แห่งเดียวที่ใช้ fund ดูแลตัวเอง Jack บอกว่ากองทุนรวมอื่นๆจะทำงานร่วมกับคนนอก
โดยเค้าจะทำกันได้ 3 แบบ คือ
1) privately owned
2) publicly owned หรือ
3) owned โดย domestic หรือ foreign financial conglomerate
ซึ่งแต่ละแบบพยายามที่จะเก็บค่าธรรมเนียมให้สูงที่สุดเพื่อที่จะ maximize profit ให้กับพวกของตัวเอง
เค้าเปรียบเทียบเทียบการออกกองทุนรวมก็เหมือนเด็ก มีพ่อแม่ (management company) คอยดูแลให้โต และออกไปใช้ชีวิต
ทำงาน สร้างธุรกิจของตัวเอง แต่กองทุนรวมจะต่างจากเด็กตรงที่จะไม่มีวันเป็นอิสระ และเติบโตด้วยตัวเองได้
เค้ายกตัวอย่าง ความพยายามที่เค้าจะไปทำแบบเดียวกันนี้ให้กองทุนอื่นนะ วันนึงโอกาสที่ Jack รอคอยก็มาถึง ในปี 1994
เมื่อ IBM ซึ่งมีโครงการกองทุนรวมสำหรับพนักงานที่เกษียณ โดยมีบริษัทในเครือชื่อ IBM Credit Investment Management ดูแลอยู่
ตอนนั้นมีสินทรัพย์อยู่ประมาณ $950 million ทีนี้ IBM ต้องการจะอัพสเกลขึ้นไปเป็นระดับ public เลยต้องการคนมาจัดโดยที่ทาง
IBM Credit Investment Management ยังคงเป็นที่ปรึกษาอยู่ โดยทาง IBM ต้องการให้คนที่เสนอราคาสูงสุดเป็นคนดำเนินงาน
พอ Jack รู้ก็เข้าไปเสนอ proposal โดยที่บอกทางบริษัทลูกของ IBM ว่าจะไม่ให้อะไรกับทาง IBM และ และเค้าก็จะเก็บค่าธรรมเนียมต่ำที่สุด
ซึ่งจะทำให้สามารถประหยัดเงินของผู้ถือหน่วยลงทุน (ซึ่งก็คือบรรดาพนักงานของ IBM และคนที่เกษียณไปแล้ว) ได้ถึง $ 1.2 million ในปีแรก
และอีกหลายล้านในปีต่อๆไป ... ไม่แปลกใจเลยที่ผลสรุปคือ Jack ก็กินแห้วไป
ส่วน IBM Credit Investment Management ขายให้กับ Rhode Island’s Fleet Financial group ที่ราคา $ 14 million
**Note ว่าตอนหลังกองนี้กลายมาเป็น IBM 401(K) retirement fund ซึ่งเป็น index fund ที่เก็บค่าธรรมเนียมเพียง 0.12% เท่านั้นค่ะ
มีอยู่ 2-3 ประเด็นที่ Jack มองว่าเป็นความท้าทายในอนาคตค่ะ
มันมาจากประสบการณ์ของเค้าที่ทำแต่กองทุนรวมมาตั้งแต่เรียนจบเลย .. ทำมาทั้งชีวิต
เรื่องแรก คือสิทธิการโหวต ด้วยความที่กอง index fund ได้รับความนิยม และขยายตัวขึ้นเรื่อย
จากเดิมอยู่ที่ 2% ของ สินทรัพย์ใน equity fund ตอนปี 1987 กลายมาเป็นมีขนาดครึ่งนึง มันทำให้ Wall steet journal
ออกมาเขียนบทความว่ากอง index fund ที่เป็นพวก passive fund ไม่ควรจะมีสิทธิ์ มีเสียงในการโหวตในบริษัที่เค้าไปถือหุ้นอยู่
และควรจะยกสิทธิ์การโหวตให้กับพวกกองทุน active funds ... Jack บอก ไร้สาระที่ stock owners ต้องยกสิทธิ์ให้ stock renters
แต่เค้าไม่กังวลเท่าประเด็นต่อไป
ประเด็นต่อไป คือเรื่อง “common ownership” คือมันมี paper นักวิชาการจาก University of Chicago Law School
รวมไปถึงจากทุนวิจัยของ Yale ก็ดีระบุว่า กองทุนมักจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของหลายๆบริษัท ทีนี้ประเด็นมันอยู่ที่ว่า
บางกองไปถือหุ้นใหญ่ในบริษัทที่เป็นคู่แข่งกันในอุตสาหกรรมเดียวกัน .. แล้วพวกกองทุนดันไปห้ามไม่ให้บริษัทมาแข่งกัน (ถือหุ้นใหญ่ไงคะ มีสิทธิ์พูด แสดงความเห็น)
ยกตัวอย่างกองเดียวกัน ไปถือหุ้นใหญ่ในหุ้นสายการบิน 2-3 ที่เป็นคู่แข่งกัน แล้ว paper ยังระบุว่า นักวิชาการแนะนำให้กองทุนเลือกถือหุ้นตัวเดียวของแต่ละอุตสาหกรรม
ณ. ตอนนี้ยังไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าการถือหุ้นใหญ่ของกองทุน ไปกีดกันการแข่งขัน
Jack บอกว่าอันนี้น่าเป็นห่วง เพราะถ้าเกิดใครบ้าจี้ เอาไปออกเป็นกฎหมายจริงจะเกิดปัญหาทันที เพราะว่าจะกองทุนถูกบังคับให้ต้องขายหุ้นบางตัว
เพื่อที่จะเหลือถือหุ้นแค่บริษัทเดียวในแต่ละ sector ซึ่งหุ้นหลายๆตัวเค้าถือมาตั้งนานนนนนแล้ว ทุนคือต่ำมาก แล้วอยู่ๆจะมาบังคับให้ขาย เพื่อต้องเลือก
แล้วกระทบกับผู้ถือหน่วยลงทุนอีก เพราะถ้ากองขายหุ้นออกมา ก็ต้องเสียภาษี อีกอย่างมันจะกระทบกับแนวทางการลงทุนแบบ diversify portfolio อีกด้วยค่ะ
ต่อมาคือปัญหา Oligopoly ในหมู่กองทุนรวม Jack บอกว่ามันไม่ได้เป็น Oligopoly เพราะว่ามี barrier of entry แต่เพราะค่าธรรมเนียมที่ต่ำมากๆ
ทำให้ไม่ค่อยมีคนอยากเข้ามาทำ เพราะไม่ได้อะไร อย่างตอนนี้แค่ 3 บริษัทแรก ก็กิน market share ไป 80% ของ index fund assets แล้วค่ะ
Vanguard 50%
BlackRock 20%
State Street Global 10%
ทีนี้พอมีผู้เล่นไม่กี่ราย ก็จะเป็นเป้าที่จะโดนคนของทางการเพ่งเล็งได้
นอกจากนี้ Jack ยังพูดถึงกฎหมายที่จะออกมาควบคุมในอนาคตค่ะ แต่เราไม่ขอลงรายละเอียดในที่นี้ ถ้าท่านใดสนใจ สามารถไปอ่านรายละเอียดเพื่มเติมได้ค่ะ
เรื่องที่จะเล่าก็ขอจบประมาณนี้ค่ะ ขอบคุณทุกท่านที่เเวะเข้ามาอ่าน, กด + และให้กำลังใจนะคะ
มันดีต่อใจมากเลยค่ะ เพราะตั้งใจเขียนมากๆ ^^
ถ้าลงอันไหนผิด ขออภัยด้วยนะคะ
The Challenge to the S&P 500 Index Fund
"... funds should be managed and operated in the best interests of their shareholders,
rather than in the interests of advisers, underwriters, and others... The [Vanguard] funds are promoting this goal."
- SEC Administrative Proceeding File No. 3-5281, Feb 1981-
###
Jack Bogle ทำสถิติของ market share แต่ละ house ไว้ให้เราดูตามรูปนี้ค่ะ นับช่วงเวลาที่แต่ละ house
ถือครองสินทรัพย์สูงที่สุด และจำนวนสินทรัพย์ในปีปัจจุบัน
บางกองในเครือของ Vanguard ก็ติดอันดับกองทุนหุ้นที่ใหญ่ที่สุดแห่งชาติตั้งแต่สมัยก่อน (1985) เลยค่ะ
อย่างเช่น Windsor Fund ที่บริหารโดย John Neff
Jack เล่าว่า John Neff เป็นคนที่ทั้ง conservative และ aggressive เพราะ conservative ในแง่ที่จะเลือกหุ้นอย่างพิถีพิถัน
สาย VI แนว contrarian ชัดเจน... ถือรอได้ กว่าตลาดจะให้มูลค่าก็ต้องถืออยู่พักใหญ่
ส่วนเป็นพวก aggressive ในแง่ที่กว่ากล้าทำพอร์ตแบบ concentrate นั่นเอง
Vanguard เป็น mutual fund complex แห่งเดียวที่ใช้ fund ดูแลตัวเอง Jack บอกว่ากองทุนรวมอื่นๆจะทำงานร่วมกับคนนอก
โดยเค้าจะทำกันได้ 3 แบบ คือ
1) privately owned
2) publicly owned หรือ
3) owned โดย domestic หรือ foreign financial conglomerate
ซึ่งแต่ละแบบพยายามที่จะเก็บค่าธรรมเนียมให้สูงที่สุดเพื่อที่จะ maximize profit ให้กับพวกของตัวเอง
เค้าเปรียบเทียบเทียบการออกกองทุนรวมก็เหมือนเด็ก มีพ่อแม่ (management company) คอยดูแลให้โต และออกไปใช้ชีวิต
ทำงาน สร้างธุรกิจของตัวเอง แต่กองทุนรวมจะต่างจากเด็กตรงที่จะไม่มีวันเป็นอิสระ และเติบโตด้วยตัวเองได้
เค้ายกตัวอย่าง ความพยายามที่เค้าจะไปทำแบบเดียวกันนี้ให้กองทุนอื่นนะ วันนึงโอกาสที่ Jack รอคอยก็มาถึง ในปี 1994
เมื่อ IBM ซึ่งมีโครงการกองทุนรวมสำหรับพนักงานที่เกษียณ โดยมีบริษัทในเครือชื่อ IBM Credit Investment Management ดูแลอยู่
ตอนนั้นมีสินทรัพย์อยู่ประมาณ $950 million ทีนี้ IBM ต้องการจะอัพสเกลขึ้นไปเป็นระดับ public เลยต้องการคนมาจัดโดยที่ทาง
IBM Credit Investment Management ยังคงเป็นที่ปรึกษาอยู่ โดยทาง IBM ต้องการให้คนที่เสนอราคาสูงสุดเป็นคนดำเนินงาน
พอ Jack รู้ก็เข้าไปเสนอ proposal โดยที่บอกทางบริษัทลูกของ IBM ว่าจะไม่ให้อะไรกับทาง IBM และ และเค้าก็จะเก็บค่าธรรมเนียมต่ำที่สุด
ซึ่งจะทำให้สามารถประหยัดเงินของผู้ถือหน่วยลงทุน (ซึ่งก็คือบรรดาพนักงานของ IBM และคนที่เกษียณไปแล้ว) ได้ถึง $ 1.2 million ในปีแรก
และอีกหลายล้านในปีต่อๆไป ... ไม่แปลกใจเลยที่ผลสรุปคือ Jack ก็กินแห้วไป
ส่วน IBM Credit Investment Management ขายให้กับ Rhode Island’s Fleet Financial group ที่ราคา $ 14 million
**Note ว่าตอนหลังกองนี้กลายมาเป็น IBM 401(K) retirement fund ซึ่งเป็น index fund ที่เก็บค่าธรรมเนียมเพียง 0.12% เท่านั้นค่ะ
มีอยู่ 2-3 ประเด็นที่ Jack มองว่าเป็นความท้าทายในอนาคตค่ะ
มันมาจากประสบการณ์ของเค้าที่ทำแต่กองทุนรวมมาตั้งแต่เรียนจบเลย .. ทำมาทั้งชีวิต
เรื่องแรก คือสิทธิการโหวต ด้วยความที่กอง index fund ได้รับความนิยม และขยายตัวขึ้นเรื่อย
จากเดิมอยู่ที่ 2% ของ สินทรัพย์ใน equity fund ตอนปี 1987 กลายมาเป็นมีขนาดครึ่งนึง มันทำให้ Wall steet journal
ออกมาเขียนบทความว่ากอง index fund ที่เป็นพวก passive fund ไม่ควรจะมีสิทธิ์ มีเสียงในการโหวตในบริษัที่เค้าไปถือหุ้นอยู่
และควรจะยกสิทธิ์การโหวตให้กับพวกกองทุน active funds ... Jack บอก ไร้สาระที่ stock owners ต้องยกสิทธิ์ให้ stock renters
แต่เค้าไม่กังวลเท่าประเด็นต่อไป
ประเด็นต่อไป คือเรื่อง “common ownership” คือมันมี paper นักวิชาการจาก University of Chicago Law School
รวมไปถึงจากทุนวิจัยของ Yale ก็ดีระบุว่า กองทุนมักจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของหลายๆบริษัท ทีนี้ประเด็นมันอยู่ที่ว่า
บางกองไปถือหุ้นใหญ่ในบริษัทที่เป็นคู่แข่งกันในอุตสาหกรรมเดียวกัน .. แล้วพวกกองทุนดันไปห้ามไม่ให้บริษัทมาแข่งกัน (ถือหุ้นใหญ่ไงคะ มีสิทธิ์พูด แสดงความเห็น)
ยกตัวอย่างกองเดียวกัน ไปถือหุ้นใหญ่ในหุ้นสายการบิน 2-3 ที่เป็นคู่แข่งกัน แล้ว paper ยังระบุว่า นักวิชาการแนะนำให้กองทุนเลือกถือหุ้นตัวเดียวของแต่ละอุตสาหกรรม
ณ. ตอนนี้ยังไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าการถือหุ้นใหญ่ของกองทุน ไปกีดกันการแข่งขัน
Jack บอกว่าอันนี้น่าเป็นห่วง เพราะถ้าเกิดใครบ้าจี้ เอาไปออกเป็นกฎหมายจริงจะเกิดปัญหาทันที เพราะว่าจะกองทุนถูกบังคับให้ต้องขายหุ้นบางตัว
เพื่อที่จะเหลือถือหุ้นแค่บริษัทเดียวในแต่ละ sector ซึ่งหุ้นหลายๆตัวเค้าถือมาตั้งนานนนนนแล้ว ทุนคือต่ำมาก แล้วอยู่ๆจะมาบังคับให้ขาย เพื่อต้องเลือก
แล้วกระทบกับผู้ถือหน่วยลงทุนอีก เพราะถ้ากองขายหุ้นออกมา ก็ต้องเสียภาษี อีกอย่างมันจะกระทบกับแนวทางการลงทุนแบบ diversify portfolio อีกด้วยค่ะ
ต่อมาคือปัญหา Oligopoly ในหมู่กองทุนรวม Jack บอกว่ามันไม่ได้เป็น Oligopoly เพราะว่ามี barrier of entry แต่เพราะค่าธรรมเนียมที่ต่ำมากๆ
ทำให้ไม่ค่อยมีคนอยากเข้ามาทำ เพราะไม่ได้อะไร อย่างตอนนี้แค่ 3 บริษัทแรก ก็กิน market share ไป 80% ของ index fund assets แล้วค่ะ
Vanguard 50%
BlackRock 20%
State Street Global 10%
ทีนี้พอมีผู้เล่นไม่กี่ราย ก็จะเป็นเป้าที่จะโดนคนของทางการเพ่งเล็งได้
นอกจากนี้ Jack ยังพูดถึงกฎหมายที่จะออกมาควบคุมในอนาคตค่ะ แต่เราไม่ขอลงรายละเอียดในที่นี้ ถ้าท่านใดสนใจ สามารถไปอ่านรายละเอียดเพื่มเติมได้ค่ะ
เรื่องที่จะเล่าก็ขอจบประมาณนี้ค่ะ ขอบคุณทุกท่านที่เเวะเข้ามาอ่าน, กด + และให้กำลังใจนะคะ
มันดีต่อใจมากเลยค่ะ เพราะตั้งใจเขียนมากๆ ^^
ถ้าลงอันไหนผิด ขออภัยด้วยนะคะ
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3248
ชื่อเรื่อง: เศรษฐกิจโลกจะเสี่ยงต่อการชะลอตัวอย่างรุนแรงและ/หรือภาวะถดถอย (recession) มากน้อยเพียงใด
ดร ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ดังที่ผมได้เขียนถึงในครั้งที่แล้วตอนปลายปี 2018 ราคาหุ้นปรับตัวลดลงรุนแรงทั่วโลก เพราะกลัวการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก
แต่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็วในเดือน ม.ค. ส่วนสำคัญน่าจะเกิดจากการที่นาย Jerome Powell ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐส่งสัญญาณว่าจะ patient (อดทน รอดู ใจเย็น) เกี่ยวกับการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายและพร้อมรับฟังสัญญาณจากตลาดทุน
ประเด็นสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาต่อไปสำหรับนักลงทุนน่าจะเป็นดังนี้คือ
ในเมื่อธนาคารกลางสหรัฐให้คำมั่นกับตลาดทุนดังกล่าวข้างต้นแล้ว ก็น่าจะวางใจได้ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะ “ดูแล” นักลงทุน (Powell put)ดังนั้น จึงน่าจะซื้อหุ้นเพิ่มได้และหุ้นน่าจะให้ผลตอบแทนที่ดี
ประเด็นที่เป็นห่วงอีกประเด็นหนึ่งคือการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนนั้นก็ดูเหมือนว่าจะหาข้อตกลงเพื่อสงบศึกได้ เพราะมีข่าวว่าประธานาธิบดีทรัมพ์อยากให้การเจรจาประสบผลสำเร็จ (เพราะที่ผ่านมามีผลงานน้อยมากหลังจากการลดภาษี) ซึ่งนาย Robert Lighthizer ผู้แทนการค้าสหรัฐ ก็ได้เจรจากับนาย Liu He ไปแล้วรอบหนึ่งในวันที่ 30-31 มกราคมที่ผ่านมา และประธานาธิบดีทรัมพ์ ให้ความหวังว่า จะมีข่าวดี เมื่อเขาพบปะและเจรจากับประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ในปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้
กรณีปัญหา Brexitนั้น นักลงทุนเชื่อว่าหากหาข้อสรุปไม่ได้ อังกฤษก็จะขอชะลอการออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งศาลยุโรปได้ตีความเปิดทางเอาไว้ให้ ทำให้ตลาดเชื่อว่ากรณีที่อังกฤษจะออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปโดยไม่มีข้อตกลงรองรับ (hard Brexit) จะไม่เกิดขึ้น
หากทุกอย่างพัฒนาไปด้วยดีดังกล่าวข้างต้น การปรับขึ้นของราคาหุ้นในเดือน ม.ค.ก็จะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการฟื้นตัวของตลาดหุ้น และความกังวลในปลายปีที่แล้วว่าเศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัวอย่างรุนแรง โดยมีความเสี่ยงว่าจะเกิดภาวะถดถอยขึ้นมาได้นั้น ก็จะเป็นเพียงความเชื่อที่ขัดกับข้อเท็จจริง ทั้งนี้หลายคนจะอาศัยตลาดหุ้นเป็นเครื่องมือในการคาดการณ์อนาคตของเศรษฐกิจ เพราะผู้ที่ลงทุนในตลาดหุ้นนั้นคือผู้ที่พยายามซื้ออนาคต (คาดการณ์ผลกำไรของบริษัทในอนาคต) นั่นเอง การปรับขึ้นของราคาหุ้นในเดือน ม.ค.จึงเป็นเรื่องที่ดีและหากนักลงทุนคาดการณ์ถูกต้อง ความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจก็จะถูกทดแทนโดยตัวเลขเศรษฐกิจที่จะปรับตัวดีขึ้นใน 3-6 เดือนข้างหน้า ทำให้ความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการชะลอตัวลงหมดสิ้นไปในที่สุด
แต่การมองในแง่ดีดังกล่าวดูจะ “ง่าย” เกินไป กล่าวคือเพียงธนาคารกลางสหรัฐยุติการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะพลิกผันจากภัยกลายเป็นดี ผมคิดว่าประเด็นที่สำคัญที่สุดคือ ข้อแม้ที่นาย Jerome Powell กล่าวเอาไว้เมื่อวันที่ 4 ม.ค.ที่ผ่านมาดังนี้
“As always, there is no pre-set path for policy. And particularly with muted inflation readings that we’ve seen coming in, we will be patient as we watch to see how the economy evolves”
คำพูดที่ตลาดทุนพึงพอใจมากที่สุดคือส่วนที่นาย Powell กล่าวว่า “We will be patient” (จะไม่เร่งรีบขึ้นดอกเบี้ย) และ “there is no pre-set path for policy” (ไม่ได้กำหนดขั้นตอนการปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างตายตัวเอาไว้แล้ว) เพราะ “We watch to see how the economy evolves” (จะต้องพิจารณาดูพัฒนาการของเศรษฐกิจพร้อมกันไปด้วย) แต่ประเด็นที่ผมจะให้ความสำคัญสูงสุดใน 3-6 เดือนข้างหน้าคือ แนวโน้มของเงินเฟ้อในสหรัฐ เพราะนาย Powell ตั้งข้อแม้เอาไว้อย่างชัดเจนว่าจะสามารถชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย และรอสังเกตการณ์ภาวะเศรษฐกิจอย่างระมัดระวังได้ ก็เพราะว่าข้อมูลเงินเฟ้อที่เข้ามานั้นอยู่ที่ระดับต่ำ กล่าวคือ “with muted inflation readings…, we will be patient.
แปลว่าเมื่อใดที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น ธนาคารกลางสหรัฐน่าจะต้องถูกกดดันในทันที่ให้ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อไป ทั้งนี้ปัจจุบันเงินเฟ้อสหรัฐอยู่ที่ระดับ 1.8-2.0% ในขณะที่ดอกเบี้ยนโยบายนั้นปัจจุบันอยู่ที่ 2.5% แต่ในภาวะที่เศรษฐกิจสหรัฐได้ขยายตัวเต็มที่แล้ว (จีดีพีโต 2% และอัตราการว่างงานต่ำกว่า 5% - ปัจจุบันอยู่ที่ 3.8%) ดอกเบี้ยนโยบายควรจะปรับขึ้นไปที่ 3% แปลว่าธนาคารกลางสหรัฐยังมีเป้าหมาย “ในใจ” ว่าน่าจะต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งจึงจะบรรลุถึงเป้าหมาย แต่ก็สามารถจะรีรอได้ตราบใดที่เงินเฟ้อยังอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 2% อย่างไรก็ดีหากเงินเฟ้อ เร่งปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 2.5-3.0% ผมเชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐจะไม่มีทางเลือกและต้องรีบปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะไม่ต้องการให้เข้าไปอยู่ในสภาวะที่จะต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อไล่ตามเงินเฟ้อ ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงให้ดอกเบี้ยต้องปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และจะเป็นภัยอันตรายต่อเศรษฐกิจอย่างมาก
ดังนั้นจึงจะต้องคาดหวังกันว่าเงินเฟ้อจะไม่ปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรงในปี 2019 ครับ
***
ดร ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ดังที่ผมได้เขียนถึงในครั้งที่แล้วตอนปลายปี 2018 ราคาหุ้นปรับตัวลดลงรุนแรงทั่วโลก เพราะกลัวการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก
แต่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็วในเดือน ม.ค. ส่วนสำคัญน่าจะเกิดจากการที่นาย Jerome Powell ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐส่งสัญญาณว่าจะ patient (อดทน รอดู ใจเย็น) เกี่ยวกับการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายและพร้อมรับฟังสัญญาณจากตลาดทุน
ประเด็นสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาต่อไปสำหรับนักลงทุนน่าจะเป็นดังนี้คือ
ในเมื่อธนาคารกลางสหรัฐให้คำมั่นกับตลาดทุนดังกล่าวข้างต้นแล้ว ก็น่าจะวางใจได้ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะ “ดูแล” นักลงทุน (Powell put)ดังนั้น จึงน่าจะซื้อหุ้นเพิ่มได้และหุ้นน่าจะให้ผลตอบแทนที่ดี
ประเด็นที่เป็นห่วงอีกประเด็นหนึ่งคือการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนนั้นก็ดูเหมือนว่าจะหาข้อตกลงเพื่อสงบศึกได้ เพราะมีข่าวว่าประธานาธิบดีทรัมพ์อยากให้การเจรจาประสบผลสำเร็จ (เพราะที่ผ่านมามีผลงานน้อยมากหลังจากการลดภาษี) ซึ่งนาย Robert Lighthizer ผู้แทนการค้าสหรัฐ ก็ได้เจรจากับนาย Liu He ไปแล้วรอบหนึ่งในวันที่ 30-31 มกราคมที่ผ่านมา และประธานาธิบดีทรัมพ์ ให้ความหวังว่า จะมีข่าวดี เมื่อเขาพบปะและเจรจากับประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ในปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้
กรณีปัญหา Brexitนั้น นักลงทุนเชื่อว่าหากหาข้อสรุปไม่ได้ อังกฤษก็จะขอชะลอการออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งศาลยุโรปได้ตีความเปิดทางเอาไว้ให้ ทำให้ตลาดเชื่อว่ากรณีที่อังกฤษจะออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปโดยไม่มีข้อตกลงรองรับ (hard Brexit) จะไม่เกิดขึ้น
หากทุกอย่างพัฒนาไปด้วยดีดังกล่าวข้างต้น การปรับขึ้นของราคาหุ้นในเดือน ม.ค.ก็จะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการฟื้นตัวของตลาดหุ้น และความกังวลในปลายปีที่แล้วว่าเศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัวอย่างรุนแรง โดยมีความเสี่ยงว่าจะเกิดภาวะถดถอยขึ้นมาได้นั้น ก็จะเป็นเพียงความเชื่อที่ขัดกับข้อเท็จจริง ทั้งนี้หลายคนจะอาศัยตลาดหุ้นเป็นเครื่องมือในการคาดการณ์อนาคตของเศรษฐกิจ เพราะผู้ที่ลงทุนในตลาดหุ้นนั้นคือผู้ที่พยายามซื้ออนาคต (คาดการณ์ผลกำไรของบริษัทในอนาคต) นั่นเอง การปรับขึ้นของราคาหุ้นในเดือน ม.ค.จึงเป็นเรื่องที่ดีและหากนักลงทุนคาดการณ์ถูกต้อง ความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจก็จะถูกทดแทนโดยตัวเลขเศรษฐกิจที่จะปรับตัวดีขึ้นใน 3-6 เดือนข้างหน้า ทำให้ความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการชะลอตัวลงหมดสิ้นไปในที่สุด
แต่การมองในแง่ดีดังกล่าวดูจะ “ง่าย” เกินไป กล่าวคือเพียงธนาคารกลางสหรัฐยุติการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะพลิกผันจากภัยกลายเป็นดี ผมคิดว่าประเด็นที่สำคัญที่สุดคือ ข้อแม้ที่นาย Jerome Powell กล่าวเอาไว้เมื่อวันที่ 4 ม.ค.ที่ผ่านมาดังนี้
“As always, there is no pre-set path for policy. And particularly with muted inflation readings that we’ve seen coming in, we will be patient as we watch to see how the economy evolves”
คำพูดที่ตลาดทุนพึงพอใจมากที่สุดคือส่วนที่นาย Powell กล่าวว่า “We will be patient” (จะไม่เร่งรีบขึ้นดอกเบี้ย) และ “there is no pre-set path for policy” (ไม่ได้กำหนดขั้นตอนการปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างตายตัวเอาไว้แล้ว) เพราะ “We watch to see how the economy evolves” (จะต้องพิจารณาดูพัฒนาการของเศรษฐกิจพร้อมกันไปด้วย) แต่ประเด็นที่ผมจะให้ความสำคัญสูงสุดใน 3-6 เดือนข้างหน้าคือ แนวโน้มของเงินเฟ้อในสหรัฐ เพราะนาย Powell ตั้งข้อแม้เอาไว้อย่างชัดเจนว่าจะสามารถชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย และรอสังเกตการณ์ภาวะเศรษฐกิจอย่างระมัดระวังได้ ก็เพราะว่าข้อมูลเงินเฟ้อที่เข้ามานั้นอยู่ที่ระดับต่ำ กล่าวคือ “with muted inflation readings…, we will be patient.
แปลว่าเมื่อใดที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น ธนาคารกลางสหรัฐน่าจะต้องถูกกดดันในทันที่ให้ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อไป ทั้งนี้ปัจจุบันเงินเฟ้อสหรัฐอยู่ที่ระดับ 1.8-2.0% ในขณะที่ดอกเบี้ยนโยบายนั้นปัจจุบันอยู่ที่ 2.5% แต่ในภาวะที่เศรษฐกิจสหรัฐได้ขยายตัวเต็มที่แล้ว (จีดีพีโต 2% และอัตราการว่างงานต่ำกว่า 5% - ปัจจุบันอยู่ที่ 3.8%) ดอกเบี้ยนโยบายควรจะปรับขึ้นไปที่ 3% แปลว่าธนาคารกลางสหรัฐยังมีเป้าหมาย “ในใจ” ว่าน่าจะต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งจึงจะบรรลุถึงเป้าหมาย แต่ก็สามารถจะรีรอได้ตราบใดที่เงินเฟ้อยังอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 2% อย่างไรก็ดีหากเงินเฟ้อ เร่งปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 2.5-3.0% ผมเชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐจะไม่มีทางเลือกและต้องรีบปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะไม่ต้องการให้เข้าไปอยู่ในสภาวะที่จะต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อไล่ตามเงินเฟ้อ ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงให้ดอกเบี้ยต้องปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และจะเป็นภัยอันตรายต่อเศรษฐกิจอย่างมาก
ดังนั้นจึงจะต้องคาดหวังกันว่าเงินเฟ้อจะไม่ปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรงในปี 2019 ครับ
***
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3249
ฝากเพื่อนๆ น้องๆ พี่ๆในห้องหาดใหญ่ ถ้ามีใครไปAGM ปีนี้ ช่วยมาอัปเดทในlinkด้านล่าง
เพื่อแชร์ให้อ่านกันครับ
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=62314
เพื่อแชร์ให้อ่านกันครับ
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=62314
- AnieLee
- Verified User
- โพสต์: 1436
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3250
// บางส่วนของบทวิแคระ จากโบรคฯ แห่งหนึ่ง
รวมถึง ผลการทำ M&A ที่ผ่านมา (Software ร้านอาหารและสนามกอล์ฟ ) ส่งผลให้รายได้เติบโต 2% y-y, 25% q-q
(ต่อ)
จุดที่น่าสนใจ คือ
1) เป้น Under valued stock บริษัทที่มีเงินสดสูงมาก สูงถึง 3 บาท/หุ้น vs ราคาปัจจุบัน 3.6 บาท
2) จ่ายปันผล 1.0 บาท (ขึ้น XD 1 เม.ย.)
// คัดมาเท่านี้พอ
คำถามคือ
1. เงินสดมีมากถึง 3 บาทต่อหุ้น แล้ว นลท เอามาได้ไหมล่ะ จะมาเขียนเพื่อให้ดูดีอย่างนั้นรึ 5555
2. เงินสดที่มี มาจากไหนล่ะ ก็มาจาก (1) เงินสดที่ได้จาก ipo และ (2) เงินสดที่ขายกิจการกากๆ ออกไปคืนเจ้าของเดิม ดีนะที่ขายออกไปมีกำไรคืนมาราว 12.5 ล้านบาท เปรียบเหมือนดอกเบี้ยรับคืนจากเงินที่เอาไปซื้อเค้า อิอิ
3. เทียบเงินสดต่อหุ้น กับ ราคาหุ้น มองอีกมุมเป็น เงินสดที่มีในบัญชีเปรียบเทียบมาร์เก็ตแคปทั้งบริษัท หากเราเป็น นลท รายย่อย มันก็ไม่มีความหมายไร เพราะเราไม่มีอำนาจไปจัดการ/บริหารเงินสดก้อนนั้นได้ แต่ถ้าเราสามารถซื้อหุ้นทั้งบริษัท เราก็จะได้เงินส่วนนั้นมา แถมตัวบริษัทอีกด้วย เราก็อาจได้ประโยชน์ เพราะเราก็เอาเงินสดคืนมา แล้วก็ผ่าตัดแบ่งขายทิ้งไป แต่ก้ออีกนั่นล่ะ เจ้าของก็คงไม่ขายหุ้นในราคาตามมาร์เก็ตแคปแน่ๆ 555 สรุป นลท รายย่อย อย่าไปมองผิดมุมตามที่โบรคฯ มาเชียร์
4. สิ่งที่ต้องทราบ คือ บริษัทมีแผนที่นะเอาเงินสดไปลงทุนอะไรที่จะก่อเกิดผลดีต่อกิจการหรือไม่ ถ้าลงทุนในกิจการกากๆ ก็ละลายเงินหมดอยู่ดี
สรุป เงินสดของ บมจ เยอะยังไง นลท ก็ไม่มีประโยชน์ใดๆ ตราบใดที่เราไม่สามารถจัดการเงินสดนั้นได้ แต่ถ้าเรารู้แผนการใช้เงินของ บมจ นั่นละ อาจจะมีประโยชน์ในการมองอนาคต บมจ นั้นๆ
ปล เงินปันผล จ่ายเพียง 0.10 บาทต่อหุ้น ไม่ใช่ 1.0 บาทต่อหุ้นตามที่บทวิแคระเขียนครับ
รวมถึง ผลการทำ M&A ที่ผ่านมา (Software ร้านอาหารและสนามกอล์ฟ ) ส่งผลให้รายได้เติบโต 2% y-y, 25% q-q
(ต่อ)
จุดที่น่าสนใจ คือ
1) เป้น Under valued stock บริษัทที่มีเงินสดสูงมาก สูงถึง 3 บาท/หุ้น vs ราคาปัจจุบัน 3.6 บาท
2) จ่ายปันผล 1.0 บาท (ขึ้น XD 1 เม.ย.)
// คัดมาเท่านี้พอ
คำถามคือ
1. เงินสดมีมากถึง 3 บาทต่อหุ้น แล้ว นลท เอามาได้ไหมล่ะ จะมาเขียนเพื่อให้ดูดีอย่างนั้นรึ 5555
2. เงินสดที่มี มาจากไหนล่ะ ก็มาจาก (1) เงินสดที่ได้จาก ipo และ (2) เงินสดที่ขายกิจการกากๆ ออกไปคืนเจ้าของเดิม ดีนะที่ขายออกไปมีกำไรคืนมาราว 12.5 ล้านบาท เปรียบเหมือนดอกเบี้ยรับคืนจากเงินที่เอาไปซื้อเค้า อิอิ
3. เทียบเงินสดต่อหุ้น กับ ราคาหุ้น มองอีกมุมเป็น เงินสดที่มีในบัญชีเปรียบเทียบมาร์เก็ตแคปทั้งบริษัท หากเราเป็น นลท รายย่อย มันก็ไม่มีความหมายไร เพราะเราไม่มีอำนาจไปจัดการ/บริหารเงินสดก้อนนั้นได้ แต่ถ้าเราสามารถซื้อหุ้นทั้งบริษัท เราก็จะได้เงินส่วนนั้นมา แถมตัวบริษัทอีกด้วย เราก็อาจได้ประโยชน์ เพราะเราก็เอาเงินสดคืนมา แล้วก็ผ่าตัดแบ่งขายทิ้งไป แต่ก้ออีกนั่นล่ะ เจ้าของก็คงไม่ขายหุ้นในราคาตามมาร์เก็ตแคปแน่ๆ 555 สรุป นลท รายย่อย อย่าไปมองผิดมุมตามที่โบรคฯ มาเชียร์
4. สิ่งที่ต้องทราบ คือ บริษัทมีแผนที่นะเอาเงินสดไปลงทุนอะไรที่จะก่อเกิดผลดีต่อกิจการหรือไม่ ถ้าลงทุนในกิจการกากๆ ก็ละลายเงินหมดอยู่ดี
สรุป เงินสดของ บมจ เยอะยังไง นลท ก็ไม่มีประโยชน์ใดๆ ตราบใดที่เราไม่สามารถจัดการเงินสดนั้นได้ แต่ถ้าเรารู้แผนการใช้เงินของ บมจ นั่นละ อาจจะมีประโยชน์ในการมองอนาคต บมจ นั้นๆ
ปล เงินปันผล จ่ายเพียง 0.10 บาทต่อหุ้น ไม่ใช่ 1.0 บาทต่อหุ้นตามที่บทวิแคระเขียนครับ
####################################################
ความสำเร็จจากการลงทุน ไม่ได้เกิดจาก "การซื้อของดี" แต่มาจาก "การซื้อของได้ดี" ต่างหาก
ความสำเร็จจากการลงทุน ไม่ได้เกิดจาก "การซื้อของดี" แต่มาจาก "การซื้อของได้ดี" ต่างหาก
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3251
กลยุทธ์การลงทุนในDividend Play
ดร นิเวศน์ พูดถึงการลงทุนในช่วงที่การเมืองไม่ชัดเจน ว่า การลงทุนแบบวีไอ หรือ ลงทุนหุ้นเน้นคุณค่า
ไม่ค่อยมีผลกระทบจากการเมืองเพราะเป็นการลงทุนในระยะยาว การเมืองจะกระทบกับชีวิตประจำวันมากกว่า
ทุกวันนี้มีคนพยายามหาว่าวิธีไหนที่ลงทุนดีที่สุด โดยเฉพาะกับคนธรรมดา
ดร เล่าต่อว่า มีคนไปถามนักลงทุนที่มีชื่อเสียงคือ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ว่าการลงทุนอะไรดีที่สุด
บัฟเฟตต์ตอบว่า เคล็ดลับของการลงทุนคือไม่มีเคล็ดลับ
และบอกอีกว่า นักลงทุนแค่ทำสามเรื่องได้แก่
1.ลงทุนแบบ Value Investing ดูคุณสมบัติของหุ้นให้ครบถ้วน มีคุณค่าน่าลงทุนถึงจะซื้อ
2.ต้องคิดทำอะไรช้าๆ อย่าหวังรวยเร็ว
3.คิดถึงเรื่องปันผล
ซึ่งปกติคนส่วนใหญ่ทำไม่ค่อยได้ เพราะหวังรวยเร็ว ชอบหุ้นที่มีลักษณะขึ้น ลงเร็ว
ปันผลคือพื้นฐานที่แท้จริงของหุ้น กำไรหรือจะสู้ปันผลได้ (กำไรอาจเป็นเพียงตัวเลข แต่ปันผลได้
แสดงว่าธุรกิจได้รับเงินสดเข้ามาจึงสามารถปันผลได้)
ดร ลงทุนมากว่า 20ปี ซึ่งเริ่มลงทุนด้วยเงิน 10 ล้านปี ในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง
ส่วนใหญ่ที่หุ้นที่เลือกราคาถูกมาก ทำให้ได้ปันผลปีแรก 10% คือ 1 ล้านบาท 50%ก็มาใช้จ่ายค่าเทอมของลูกที่เรียนInter ส่วนที่เหลือก็นำมาใช้จ่าย ซึ่งพอกับค่าใช้จ่ายในหนึ่งปี
บริษัทที่ลงทุนช่วงนั้น ได้แก่บริษัทที่ผลิตและขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปซึ่งขายดีในช่วงต้มยำกุ้ง คู่แข่งสู้ไม่ได้
หลักในการดูหุ้น
1.รายได้ ตรวจสอบรายได้ย้อนหลัง พบว่า รายได้มีแต่เพิ่มขึ้นตลอด ถึงแม้ต้นทุนวัตถุดิบเพิ่ม
ก็สามารถขึ้นราคาได้ เป็นข้อดีของบริษัทใหญ่ที่เป็นผู้นำ
2.รายได้เพิ่ม กำไรก็เพิ่มขึ้น และ ธุรกิจไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่มอีกแล้ว
ปันผลก็เพิ่มทุกปี 20ปีผ่านไป ถ้ามีขายหุ้นก็นำเงินไปซื้อหุ้นตัวอื่น เงินลงทุนทั้งหมดอยู่ในหุ้น
ล่าสุดปันผลปีนึงเกิน 100ล้านบาท
ลงทุนช่วงแรกอย่าคิดถึงกำไร และ อย่าถอนออกมาใช้จ่าย ให้ไปใช้เงินตอนหลังเกษียณ
ยิ่งถ้าหาเงินได้ ก็ไม่ต้องไปยุ่งกับเงินลงทุนส่วนนี้
มีความสุขกับการที่เงินเติบโต
ส่วนเงินลงทุนระยะยาวในกองทุนรวม ดร นิเวศน์ ก็ลงในLTF,RMF ไม่ต่ำกว่า 15ปีตั้งแต่เริ่มแรก
โดยลงเต็มสิทธิ 15%ของรายได้ ตอนนี้ก็มีเงิน 10กว่าล้านบาท ซึ่งพิสูจน์ได้ว่า การลงทุนระยะยาว
ในกองทุนรวมก็สามารถเกษียณได้ด้วย LTF,RMF
ส่วนกองทุนหุ้น SETHD นั้นก็น่าสนใจ เพราะหุ้นในSETHDส่วนใหญ่เป็นหุ้นขนาดใหญ่ ที่ปันผลได้ติดต่อกัน
อย่างน้อย 5 ปี และ กำไรโตอย่างสม่ำเสมอ ปันผลอย่างต่ำ 3-5% ดีกว่าดอกเบี้ยหุ้นกู้ของบริษัทในSETHD
ลงทุนระยะสั้น 2-3ปี น่าจะoutperform แค่ปันผลก็คุ้มแล้ว
หลักการลงทุนคือ ขอให้ไม่ขาดทุน เหมือนกับ วอร์เรน บัฟเฟตต์เคยพูด
และ กำไรก็จะมาเองโดยที่เราไม่ได้คาดหวัง
ดร บอกว่า นักลงทุนในตลาดหุ้นไทย แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ
1.นักเก็งกำไร และ รายย่อย ซึ่งจะลงทุนในหุ้นขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่ง 10ปีที่ผ่านมาโตอย่างรวดเร็ว
และPEค่อนข้างสูง เพราะคนคาดหวังว่ากลุ่มนี้จะเติบโต ปรากฏว่าปีที่แล้ว พบว่าไม่เติบโตอย่างที่หวัง
ราคาจึงปรับลงมาจาก PE 100 เป็น 50 เท่า โดยราคาลงมาถึง 50% ดังนั้น หุ้นกลุ่มนี้ยังไม่น่าสนใจ
เพราะPEยังแพงอยู่ถึงแม้ราคาลงมาเยอะ ให้รอไปก่อน ยังไม่ใช่ช่วงที่น่าลงทุน
2.กลุ่มนักลงทุนต่างประเทศ และ สถาบันในประเทศ ซึ่งลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ซึ่งoperationดีมาตลอด
กำไรก็เติบโตมาเรื่อยๆอย่างช้าๆ ปันผล 4-6% ดูน่าสนใจ แถมบริษัทยังมั่นคงด้วย
ปีที่แล้วราคาหุ้นขนาดใหญ่ลงมา ดูน่าซื้อไปหมด โดยเฉพาะSETHD ตลาดลงมา 10% แต่กลุ่มนี้รวมปันผล4-5% ปรากฏว่าลงแค่ 1-2% PE ก็ต่ำเกือบสุดด้วย ความแข็งแรงของธุรกิจก็ดี โอกาสถูกdisruptก็ยาก เช่น กลุ่มธนาคาร ก็เริ่มdisruptตัวเอง กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ไม่มีใครมาdisrupt
กลุ่มที่จะโดนdisruptส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง
สำหรับคนที่ไม่ชำนาญในการลงทุนแบบหุ้นคุณค่า ก็สามารถซื้อกองทุนที่ลงทุนในSETHD
ได้ ก็สามารถที่จะเกษียณได้ลงทุนผ่านกองทุนรวม เหมือนอย่างประเทศที่พัฒนาแล้ว
นักลงทุนส่วนใหญ่กว่า 70% ลงทุนผ่านกองทุนรวมแบบIndex Fund
สุดท้ายขอขอบคุณ บลจ วรรณ ที่จัดงานสัมมนาครับ
ดร นิเวศน์ พูดถึงการลงทุนในช่วงที่การเมืองไม่ชัดเจน ว่า การลงทุนแบบวีไอ หรือ ลงทุนหุ้นเน้นคุณค่า
ไม่ค่อยมีผลกระทบจากการเมืองเพราะเป็นการลงทุนในระยะยาว การเมืองจะกระทบกับชีวิตประจำวันมากกว่า
ทุกวันนี้มีคนพยายามหาว่าวิธีไหนที่ลงทุนดีที่สุด โดยเฉพาะกับคนธรรมดา
ดร เล่าต่อว่า มีคนไปถามนักลงทุนที่มีชื่อเสียงคือ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ว่าการลงทุนอะไรดีที่สุด
บัฟเฟตต์ตอบว่า เคล็ดลับของการลงทุนคือไม่มีเคล็ดลับ
และบอกอีกว่า นักลงทุนแค่ทำสามเรื่องได้แก่
1.ลงทุนแบบ Value Investing ดูคุณสมบัติของหุ้นให้ครบถ้วน มีคุณค่าน่าลงทุนถึงจะซื้อ
2.ต้องคิดทำอะไรช้าๆ อย่าหวังรวยเร็ว
3.คิดถึงเรื่องปันผล
ซึ่งปกติคนส่วนใหญ่ทำไม่ค่อยได้ เพราะหวังรวยเร็ว ชอบหุ้นที่มีลักษณะขึ้น ลงเร็ว
ปันผลคือพื้นฐานที่แท้จริงของหุ้น กำไรหรือจะสู้ปันผลได้ (กำไรอาจเป็นเพียงตัวเลข แต่ปันผลได้
แสดงว่าธุรกิจได้รับเงินสดเข้ามาจึงสามารถปันผลได้)
ดร ลงทุนมากว่า 20ปี ซึ่งเริ่มลงทุนด้วยเงิน 10 ล้านปี ในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง
ส่วนใหญ่ที่หุ้นที่เลือกราคาถูกมาก ทำให้ได้ปันผลปีแรก 10% คือ 1 ล้านบาท 50%ก็มาใช้จ่ายค่าเทอมของลูกที่เรียนInter ส่วนที่เหลือก็นำมาใช้จ่าย ซึ่งพอกับค่าใช้จ่ายในหนึ่งปี
บริษัทที่ลงทุนช่วงนั้น ได้แก่บริษัทที่ผลิตและขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปซึ่งขายดีในช่วงต้มยำกุ้ง คู่แข่งสู้ไม่ได้
หลักในการดูหุ้น
1.รายได้ ตรวจสอบรายได้ย้อนหลัง พบว่า รายได้มีแต่เพิ่มขึ้นตลอด ถึงแม้ต้นทุนวัตถุดิบเพิ่ม
ก็สามารถขึ้นราคาได้ เป็นข้อดีของบริษัทใหญ่ที่เป็นผู้นำ
2.รายได้เพิ่ม กำไรก็เพิ่มขึ้น และ ธุรกิจไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่มอีกแล้ว
ปันผลก็เพิ่มทุกปี 20ปีผ่านไป ถ้ามีขายหุ้นก็นำเงินไปซื้อหุ้นตัวอื่น เงินลงทุนทั้งหมดอยู่ในหุ้น
ล่าสุดปันผลปีนึงเกิน 100ล้านบาท
ลงทุนช่วงแรกอย่าคิดถึงกำไร และ อย่าถอนออกมาใช้จ่าย ให้ไปใช้เงินตอนหลังเกษียณ
ยิ่งถ้าหาเงินได้ ก็ไม่ต้องไปยุ่งกับเงินลงทุนส่วนนี้
มีความสุขกับการที่เงินเติบโต
ส่วนเงินลงทุนระยะยาวในกองทุนรวม ดร นิเวศน์ ก็ลงในLTF,RMF ไม่ต่ำกว่า 15ปีตั้งแต่เริ่มแรก
โดยลงเต็มสิทธิ 15%ของรายได้ ตอนนี้ก็มีเงิน 10กว่าล้านบาท ซึ่งพิสูจน์ได้ว่า การลงทุนระยะยาว
ในกองทุนรวมก็สามารถเกษียณได้ด้วย LTF,RMF
ส่วนกองทุนหุ้น SETHD นั้นก็น่าสนใจ เพราะหุ้นในSETHDส่วนใหญ่เป็นหุ้นขนาดใหญ่ ที่ปันผลได้ติดต่อกัน
อย่างน้อย 5 ปี และ กำไรโตอย่างสม่ำเสมอ ปันผลอย่างต่ำ 3-5% ดีกว่าดอกเบี้ยหุ้นกู้ของบริษัทในSETHD
ลงทุนระยะสั้น 2-3ปี น่าจะoutperform แค่ปันผลก็คุ้มแล้ว
หลักการลงทุนคือ ขอให้ไม่ขาดทุน เหมือนกับ วอร์เรน บัฟเฟตต์เคยพูด
และ กำไรก็จะมาเองโดยที่เราไม่ได้คาดหวัง
ดร บอกว่า นักลงทุนในตลาดหุ้นไทย แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ
1.นักเก็งกำไร และ รายย่อย ซึ่งจะลงทุนในหุ้นขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่ง 10ปีที่ผ่านมาโตอย่างรวดเร็ว
และPEค่อนข้างสูง เพราะคนคาดหวังว่ากลุ่มนี้จะเติบโต ปรากฏว่าปีที่แล้ว พบว่าไม่เติบโตอย่างที่หวัง
ราคาจึงปรับลงมาจาก PE 100 เป็น 50 เท่า โดยราคาลงมาถึง 50% ดังนั้น หุ้นกลุ่มนี้ยังไม่น่าสนใจ
เพราะPEยังแพงอยู่ถึงแม้ราคาลงมาเยอะ ให้รอไปก่อน ยังไม่ใช่ช่วงที่น่าลงทุน
2.กลุ่มนักลงทุนต่างประเทศ และ สถาบันในประเทศ ซึ่งลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ซึ่งoperationดีมาตลอด
กำไรก็เติบโตมาเรื่อยๆอย่างช้าๆ ปันผล 4-6% ดูน่าสนใจ แถมบริษัทยังมั่นคงด้วย
ปีที่แล้วราคาหุ้นขนาดใหญ่ลงมา ดูน่าซื้อไปหมด โดยเฉพาะSETHD ตลาดลงมา 10% แต่กลุ่มนี้รวมปันผล4-5% ปรากฏว่าลงแค่ 1-2% PE ก็ต่ำเกือบสุดด้วย ความแข็งแรงของธุรกิจก็ดี โอกาสถูกdisruptก็ยาก เช่น กลุ่มธนาคาร ก็เริ่มdisruptตัวเอง กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ไม่มีใครมาdisrupt
กลุ่มที่จะโดนdisruptส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง
สำหรับคนที่ไม่ชำนาญในการลงทุนแบบหุ้นคุณค่า ก็สามารถซื้อกองทุนที่ลงทุนในSETHD
ได้ ก็สามารถที่จะเกษียณได้ลงทุนผ่านกองทุนรวม เหมือนอย่างประเทศที่พัฒนาแล้ว
นักลงทุนส่วนใหญ่กว่า 70% ลงทุนผ่านกองทุนรวมแบบIndex Fund
สุดท้ายขอขอบคุณ บลจ วรรณ ที่จัดงานสัมมนาครับ
- IndyVI
- Verified User
- โพสต์: 3530
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3252
Investment success doesn’t come from “buying good things,” but rather from “buying things well.
# Howard Mark #
# Howard Mark #
- IndyVI
- Verified User
- โพสต์: 3530
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3253
Investment success doesn’t come from “buying good things,” but rather from “buying things well.
# Howard Mark #
# Howard Mark #
- IndyVI
- Verified User
- โพสต์: 3530
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3254
เหตุผลที่คุณควรมีแฟนเป็นนักลงทุน
ความรักเป็นเรื่องดี แต่ทำไมการมีแฟนเป็นนักลงทุนจึงจะดีมากกว่า เหตุผลที่คุณควรมีแฟนเป็นนักลงทุน คืออะไร ทำไมถ้ามีนักลงทุนสักคนมาคุกเข่าขอความรัก คุณจึงควรมองลึกลงไปในดวงตาเขา และเลือกรับเอาคำขอความรักของเขามาพินิจพิจารณา
เหตุผลที่คุณควรมีแฟนเป็นนักลงทุน
1 เพราะเขามองเห็นคุณค่าในตัวคุณ
นักลงทุนแนวทุกคนเลือกลงทุนในคุณค่าภายในมากกว่าเปลือกภายนอกเสมอ ดังนั้น การที่เขาเลือกคุณ แปลว่าเขาเห็นคุณค่าที่อยู่ในตัวคุณ ถ้าเป็นคนรักคนอื่น คุณอาจจะต้องคิดว่าเขาตัดสินคุณจากคุณสมบัติข้อไหน แต่เชื่อเถอะ สำหรับนักลงทุนแล้ว คุณค่าในตัวคุณคือเหตุผลหลักเสมอ และมันไม่ดีเหรอ ที่จะมีคนมองเห็นคุณค่าในตัวคุณ
2 เพราะเขารอคุณได้เสมอ
นักลงทุนมีคุณสมบัติข้อหนึ่งที่ทุกคนน่าจะรู้ดีคือความอดทน เขารอได้เสมอ รอจนกว่าที่ราคาหุ้นจะต่ำกว่ามูลค่า และรอจนกว่าเวลาของเขาจะมาถึง หากเพียงแต่ว่าคุณทำให้เขารู้สึกว่าเขาควรจะรอ และคุณมีคุณค่ามากเพียงพอให้เขารอ เขาก็ยังยินดีจะรอ รอจนกว่าวันของเขาจะมาถึง แม้ว่ามันดูจะนานจนแทบที่จะหมดความพยายามแค่ไหนก็ตาม
3 เพราะในวันที่คุณพลาด เขายังอยู่เคียงข้างคุณ
ใครคนอื่นอาจจะจากไปเมื่อหุ้นเจอวิกฤต แต่ไม่ใช่สำหรับนักลงทุน เพราะนักลงทุนเชื่อว่าวิกฤตที่ไม่เปลี่ยนแปลงพื้นฐานบริษัท วิกฤตภายนอกเป็นเพียงเรื่องชั่วคราว มันไม่มีความจำเป็นใดๆ ต้องขายหุ้นทิ้ง เช่นเดียวกับความผิดพลาดของคุณ ตราบใดที่ความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับเขายังเหมือนเดิม เขาจะอยู่เคียงข้างคุณในวันที่แย่ที่สุด วันที่คุณอาจจะต้องใครสักคนอยู่เคียงข้างและแบ่งปันไหล่อุ่นๆ ไว้ให้คุณ
4 เพราะเขาร่วมลงทุน ไม่ใช่เก็งกำไร
นักลงทุนมองการลงทุนคือการลงทุน ไม่ใช่การเก็งกำไร ดังนั้น ความสัมพันธ์ของเขาไม่ได้ตั้งอยู่บนคำถามที่ว่า เขาจะได้อะไร และเขาจะเสียอะไรไปในความสัมพันธ์ แต่เขาจะมองว่าการเดินเคียงข้างกันไปในวันนี้จะดีไหม ต่างฝ่ายจะต่างประคับประคองกันได้ไหม เราจะเติบโตกันไปอย่างไร เขาให้ความสำคัญในสิ่งที่คุณมีน้อยกว่าสิ่งที่เขาและคุณจะร่วมสร้างกันขึ้นมา สำหรับเขา อนาคตสำคัญกว่าอดีตเสมอ
5 เพราะเขาจะอยู่เคียงข้างคุณไปตราบนานเท่านาน
อย่าลืมว่าความเป็นการลงทุนมักจะควบคู่ไปกับการถือหุ้นไปในระยะยาว ดังนั้น ทุกความสัมพันธ์ของนักลงทุนย่อมมองระยะยาวมากกว่า เขาเลือกหุ้นโดยคิดจะอยู่ไปกับบริษัทตลอดชีวิตอย่างไร เขาก็เลือกคุณโดยคิดจะอยู่คุณไปตลอดชีวิตอย่างนั้น หากชีวิตคือการเดินทางระยะไกล มันไม่ดีกว่าเหรอที่จะมีใครสักคนร่วมกันแก่เฒ่าไปอย่างมีคุณภาพกับคุณ
We’re all traveling through time together, every day of our lives. All we can do is do our best to relish this remarkable ride. (About Time; 2013) พวกเราจะเดินทางผ่านวันเวลาไปด้วยกันในทุกวันของชีวิต ทุกสิ่งที่เราทำได้คือทำทุกอย่างให้ดีที่สุด เพื่อที่จะเพลิดเพลินไปกับการเดินทางแสนพิเศษของเรา
Happy Valentine’s Investors
May the love be with you <3
ลงทุนศาสตร์ – Investerest
Investment success doesn’t come from “buying good things,” but rather from “buying things well.
# Howard Mark #
# Howard Mark #
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3255
สรุปจากที่ได้ฟังมาในงาน Meeting : Intelligent Investor Club
ขอขอบคุณสำหรับสมาคมไทยวีไอที่จัดงานนี้ขึ้นเพื่อให้สมาชิกสมาคมที่โพสเยอะ รวมถึงทีมที่ชนะเลิศการ
เสนอผลงานหุ้นในงานอบรมหลักสูตรการลงทุนเน้นคุณค่ารุ่นที่14และ15 มาร่วมงาน
ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับกรรมการ สมาชิกสมาคม และ ได้ฟังวิทยากรที่มีความรู้มาแชร์ประสบการณ์
ขอบคุณน้องอ๋องสำหรับสถานที่ในการจัดงาน คือ ร้าน Think Tank ตรงข้าม ม ราชมงคล เทคนิคกรุงเทพ
ก็เลยมาสรุปเนื้อหาเพื่อเป็นประโยชน์กับผู้อ่านที่ไม่ได้เข้าร่วมด้วย
เริ่มในเนื้อหากันเลยครับ
สำหรับการเตรียมตัวก่อนลงทุนในหุ้นของนักลงทุนที่ต้องการประสบความสำเร็จ
1.สำหรับการลงทุนหุ้นในประเทศไทย นักลงทุนธรรมดาไม่สามารถไปรับรู้เรื่องinsideหรือยุ่งเกี่ยวกับเจ้ามือหุ้น
ดังนั้น วิธีที่จะค้นหาหุ้นที่ดีก็มาจากการดูผลประกอบการจากงบการเงิน ซึ่งจะให้ความสำคัญกว่าการวิเคราะห์ผู้บริหาร
เพราะ ข้อมูลจากงบการเงินตรงไปตรงมา ทำให้ไม่มีBiasในการลงทุน
ส่วนตัวของวิทยากร ไม่ได้จบทางด้านการเงิน หรือ เข้าคอร์ตเรียนวิชาบัญชีจากกูรูดังๆ แต่อาศัยการศึกษาด้วยตนเอง
จนมีวิธีการที่เป็นของตัวเองในการดูงบการเงิน
2.ศึกษาThemeในการลงทุนในแต่ละช่วง ตัวอย่างเช่น ช่วงที่ผ่านมาที่รัฐบาลไม่ได้ลงทุน
ตอนนั้น เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนด้วยการก่อหนี้ของครัวเรือน ทำให้สินเชื่อโตอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา
การตามผลประกอบการของกลุ่มสินเชื่อ ถ้าเข้าใจศัพท์ทางการเงิน เช่น ค่าเผื่อสงสัยหนี้จะสูญ
Coverage ratio , NIM(Net Interes Margin), Spread จะเข้าใจงบการเงินของกลุ่มนี้ได้ดี
และ จะวิเคราะห์งบได้ง่ายกว่าหุ้นกลุ่มอื่น
3.เวลาศึกษาหุ้น ให้ศึกษาหลายบริษัทเปรียบเทียบกัน เช่น บริษัทในกลุ่มสินเชื่อ ซึ่งมีทั้ง
สินเชื่อแบบมีหลักประกัน และ สินเชื่อแบบไม่มีหลักประกัน เราเห็นหลายๆแบบ
เวลาหุ้นมีการเคลื่อนไหว เราก็มีความมั่นใจและตัดสินใจtake actionได้
4.เลือกอาจารย์ที่เราจะทำตามให้ถูกตั้งแต่แรก ซึ่งในสมาคมไทยวีไอ ก็มีหลายท่านที่เป็นแบบอย่างที่ดี
เช่น อาจารย์นิเวศน์ คุณ โจ ลูกอีสาน คุณเวป พรชัย นายกสมาคม คุณชาย มโนภาส
รวมถึงปรมาจารย์ระดับโลกอย่าง วอร์เรน บัฟเฟตต์ ปิเตอร์ ลินด์
โดยเราไปศึกษาว่าเขาคิดอย่างไร ใช้ไอเดียของเรามาประกอบการวิเคราะห์อีกที
พระพุทธเจ้าก็เป็นแบบอย่างที่ดี ทำให้เกิดไอเดีย เราต้องหาส่วนประกอบ ทิศทาง ของธุรกิจหรืออุตสาหกรรม
ในอนาคตเป็นอย่างไร โดยเราต้องตัดอคติออก รวมถึงการปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ จะช่วยในการตัดสินใจ
ถึงแม้ไม่สมบูรณ์ แต่ก็เป็นไอเดียในการเลือกหุ้นแบบนึง
5.เราต้องรู้ข้อมูลของแต่ละบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ว่าแต่ละบริษัททำอะไร ได้ประโยชน์อะไรที่ทำให้กำไรเติบโต
ซึ่งจะคัดกรองหุ้นจากในตลาดหลักทรัพย์700กว่าตัว ให้เหลือ200ตัวที่ดีและเราสนใจ
ประเมินคร่าวว่าหุ้นควรจะซื้อขายในราคาเท่าไหร่ ปกติก็ใกล้เคียงกับราคาตลาด
ซึ่งใช้เวลาประมาณ1-2ปี ก็จะเข้าบริษัทในตลาดหุ้นได้หมด และ อ่านข่าวทุกวัน
วิเคราะห์ว่าแต่ละข่าวส่งผลต่อกิจการอย่างไรบ้าง
ทำFinancial Projection ซึ่งต้นทุนของกิจการมีทั้งต้นทุนคงที่ และ ผันแปร
ถ้ามีปัจจัยที่มากระทบ ทำให้ราคาปรับตัวลง เราก็วิเคราะห์และตัดสินใจลงทุนได้
ถือเป็นงานที่ยากในช่วงต้น แต่ในLongrun จะได้ประโยชน์มาก
พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง ที่ทำให้เรากระทบต่อผลตอบแทนในport
1.การยึดติดกับvaluationเกินไป ในช่วงจังหวะที่ตลาดมองโลกบวกมาก ทำให้เราขายเร็วเกินไป
เพราะราคาไปมากกว่าที่เราคำนวณเยอะ
แต่จากการยึดติดในvaluation ทำให้รอดตัวจากหุ้นตก เช่น
ในช่วงที่หุ้นgrowth ผลประกอบการทำไม่ได้ตามที่นักลงทุนหวัง ราคาก็ปรับตัวลงมาลึกกว่าที่เคยขาย
2.Biasในการลงทุน วิชาการเราสามารถจับต้องได้ ศึกษาได้ แต่ สิ่งที่ยากคือการจัดการกับอคติของตัวเอง
3. Overconfident ทำให้เราวิเคราะห์ข้อมูลน้อยลง คิดว่าถูกแน่ ทำให้เกิดโอกาสพลาดได้
หรือ เราคิดว่าเราสามารถคาดการณ์อนาคตของบริษัทใน1-2ปีข้างหน้า ปรากฏว่าแค่ภายใน1ปีก็เปลี่ยนแปลง
ไปจากที่เราคาดการณ์
Themeการลงทุนในอนาคต
สำหรับตลาดหุ้นไทย หุ้นแข็งแกร่งในตอนนี้จะเติบโตได้ค่อนข้างน้อย เพราะvaluationสูงมาก
แต่ให้มองหาหุ้นที่โดนกระทบจากปัจจัยต่างๆทำให้ราคาลงมามากแต่จริงๆกำไรถูกกระทบไม่มาก
บริษัทในอุตสาหกรรมที่เคยover regulate ไม่สามารถเข้าตลาดได้ ตอนนี้มีบริษัทนึงสามารถเข้า
ตลาดได้ จะกลายเป็นunder regulate ถึงแม้valuationจะแพง ก็ยังดูน่าสนใจ
ส่วนตัวของวิทยากรบอกว่า ได้กระจายลงทุนในหลายประเทศที่GDPเติบโตสูง เพราะปีที่แล้วได้ผลตอบแทนในตลาดหุ้น Philippineค่อนข้างมาก และmarket capไม่สูงเมื่อเทียบกับไทยรวมถึงหุ้นในกลุ่มที่มีผลประกอบการดีในอนาคตเช่นบริษัทที่เกี่ยวกับAI ซึ่งผลิตการ์ดจอ และ ทำGPU training AI เป็นต้น
สุดท้ายขอขอบคุณสมาคมไทยวีไอที่จัดสัมมนาครั้งนี้ขึ้นมารวมถึงขอบคุณวิทยากร กรรมการสมาคมทุกท่านด้วยครับ
ขอขอบคุณสำหรับสมาคมไทยวีไอที่จัดงานนี้ขึ้นเพื่อให้สมาชิกสมาคมที่โพสเยอะ รวมถึงทีมที่ชนะเลิศการ
เสนอผลงานหุ้นในงานอบรมหลักสูตรการลงทุนเน้นคุณค่ารุ่นที่14และ15 มาร่วมงาน
ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับกรรมการ สมาชิกสมาคม และ ได้ฟังวิทยากรที่มีความรู้มาแชร์ประสบการณ์
ขอบคุณน้องอ๋องสำหรับสถานที่ในการจัดงาน คือ ร้าน Think Tank ตรงข้าม ม ราชมงคล เทคนิคกรุงเทพ
ก็เลยมาสรุปเนื้อหาเพื่อเป็นประโยชน์กับผู้อ่านที่ไม่ได้เข้าร่วมด้วย
เริ่มในเนื้อหากันเลยครับ
สำหรับการเตรียมตัวก่อนลงทุนในหุ้นของนักลงทุนที่ต้องการประสบความสำเร็จ
1.สำหรับการลงทุนหุ้นในประเทศไทย นักลงทุนธรรมดาไม่สามารถไปรับรู้เรื่องinsideหรือยุ่งเกี่ยวกับเจ้ามือหุ้น
ดังนั้น วิธีที่จะค้นหาหุ้นที่ดีก็มาจากการดูผลประกอบการจากงบการเงิน ซึ่งจะให้ความสำคัญกว่าการวิเคราะห์ผู้บริหาร
เพราะ ข้อมูลจากงบการเงินตรงไปตรงมา ทำให้ไม่มีBiasในการลงทุน
ส่วนตัวของวิทยากร ไม่ได้จบทางด้านการเงิน หรือ เข้าคอร์ตเรียนวิชาบัญชีจากกูรูดังๆ แต่อาศัยการศึกษาด้วยตนเอง
จนมีวิธีการที่เป็นของตัวเองในการดูงบการเงิน
2.ศึกษาThemeในการลงทุนในแต่ละช่วง ตัวอย่างเช่น ช่วงที่ผ่านมาที่รัฐบาลไม่ได้ลงทุน
ตอนนั้น เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนด้วยการก่อหนี้ของครัวเรือน ทำให้สินเชื่อโตอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา
การตามผลประกอบการของกลุ่มสินเชื่อ ถ้าเข้าใจศัพท์ทางการเงิน เช่น ค่าเผื่อสงสัยหนี้จะสูญ
Coverage ratio , NIM(Net Interes Margin), Spread จะเข้าใจงบการเงินของกลุ่มนี้ได้ดี
และ จะวิเคราะห์งบได้ง่ายกว่าหุ้นกลุ่มอื่น
3.เวลาศึกษาหุ้น ให้ศึกษาหลายบริษัทเปรียบเทียบกัน เช่น บริษัทในกลุ่มสินเชื่อ ซึ่งมีทั้ง
สินเชื่อแบบมีหลักประกัน และ สินเชื่อแบบไม่มีหลักประกัน เราเห็นหลายๆแบบ
เวลาหุ้นมีการเคลื่อนไหว เราก็มีความมั่นใจและตัดสินใจtake actionได้
4.เลือกอาจารย์ที่เราจะทำตามให้ถูกตั้งแต่แรก ซึ่งในสมาคมไทยวีไอ ก็มีหลายท่านที่เป็นแบบอย่างที่ดี
เช่น อาจารย์นิเวศน์ คุณ โจ ลูกอีสาน คุณเวป พรชัย นายกสมาคม คุณชาย มโนภาส
รวมถึงปรมาจารย์ระดับโลกอย่าง วอร์เรน บัฟเฟตต์ ปิเตอร์ ลินด์
โดยเราไปศึกษาว่าเขาคิดอย่างไร ใช้ไอเดียของเรามาประกอบการวิเคราะห์อีกที
พระพุทธเจ้าก็เป็นแบบอย่างที่ดี ทำให้เกิดไอเดีย เราต้องหาส่วนประกอบ ทิศทาง ของธุรกิจหรืออุตสาหกรรม
ในอนาคตเป็นอย่างไร โดยเราต้องตัดอคติออก รวมถึงการปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ จะช่วยในการตัดสินใจ
ถึงแม้ไม่สมบูรณ์ แต่ก็เป็นไอเดียในการเลือกหุ้นแบบนึง
5.เราต้องรู้ข้อมูลของแต่ละบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ว่าแต่ละบริษัททำอะไร ได้ประโยชน์อะไรที่ทำให้กำไรเติบโต
ซึ่งจะคัดกรองหุ้นจากในตลาดหลักทรัพย์700กว่าตัว ให้เหลือ200ตัวที่ดีและเราสนใจ
ประเมินคร่าวว่าหุ้นควรจะซื้อขายในราคาเท่าไหร่ ปกติก็ใกล้เคียงกับราคาตลาด
ซึ่งใช้เวลาประมาณ1-2ปี ก็จะเข้าบริษัทในตลาดหุ้นได้หมด และ อ่านข่าวทุกวัน
วิเคราะห์ว่าแต่ละข่าวส่งผลต่อกิจการอย่างไรบ้าง
ทำFinancial Projection ซึ่งต้นทุนของกิจการมีทั้งต้นทุนคงที่ และ ผันแปร
ถ้ามีปัจจัยที่มากระทบ ทำให้ราคาปรับตัวลง เราก็วิเคราะห์และตัดสินใจลงทุนได้
ถือเป็นงานที่ยากในช่วงต้น แต่ในLongrun จะได้ประโยชน์มาก
พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง ที่ทำให้เรากระทบต่อผลตอบแทนในport
1.การยึดติดกับvaluationเกินไป ในช่วงจังหวะที่ตลาดมองโลกบวกมาก ทำให้เราขายเร็วเกินไป
เพราะราคาไปมากกว่าที่เราคำนวณเยอะ
แต่จากการยึดติดในvaluation ทำให้รอดตัวจากหุ้นตก เช่น
ในช่วงที่หุ้นgrowth ผลประกอบการทำไม่ได้ตามที่นักลงทุนหวัง ราคาก็ปรับตัวลงมาลึกกว่าที่เคยขาย
2.Biasในการลงทุน วิชาการเราสามารถจับต้องได้ ศึกษาได้ แต่ สิ่งที่ยากคือการจัดการกับอคติของตัวเอง
3. Overconfident ทำให้เราวิเคราะห์ข้อมูลน้อยลง คิดว่าถูกแน่ ทำให้เกิดโอกาสพลาดได้
หรือ เราคิดว่าเราสามารถคาดการณ์อนาคตของบริษัทใน1-2ปีข้างหน้า ปรากฏว่าแค่ภายใน1ปีก็เปลี่ยนแปลง
ไปจากที่เราคาดการณ์
Themeการลงทุนในอนาคต
สำหรับตลาดหุ้นไทย หุ้นแข็งแกร่งในตอนนี้จะเติบโตได้ค่อนข้างน้อย เพราะvaluationสูงมาก
แต่ให้มองหาหุ้นที่โดนกระทบจากปัจจัยต่างๆทำให้ราคาลงมามากแต่จริงๆกำไรถูกกระทบไม่มาก
บริษัทในอุตสาหกรรมที่เคยover regulate ไม่สามารถเข้าตลาดได้ ตอนนี้มีบริษัทนึงสามารถเข้า
ตลาดได้ จะกลายเป็นunder regulate ถึงแม้valuationจะแพง ก็ยังดูน่าสนใจ
ส่วนตัวของวิทยากรบอกว่า ได้กระจายลงทุนในหลายประเทศที่GDPเติบโตสูง เพราะปีที่แล้วได้ผลตอบแทนในตลาดหุ้น Philippineค่อนข้างมาก และmarket capไม่สูงเมื่อเทียบกับไทยรวมถึงหุ้นในกลุ่มที่มีผลประกอบการดีในอนาคตเช่นบริษัทที่เกี่ยวกับAI ซึ่งผลิตการ์ดจอ และ ทำGPU training AI เป็นต้น
สุดท้ายขอขอบคุณสมาคมไทยวีไอที่จัดสัมมนาครั้งนี้ขึ้นมารวมถึงขอบคุณวิทยากร กรรมการสมาคมทุกท่านด้วยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3256
สรุปหนังสือ Rise of The Robots By Seminar Knowledge by Amorn
หนังสือเขียนโดย Martin Ford และแปลโดย คุณทีปกร วุฒิพิทยามงคล
หนังสือเล่มนี้น่าสนใจเพราะได้รับรางวัลหนังสือธุรกิจแห่งปี 2015 จาก Financial Time&Mckinsey Business
------------------------------------------------------------------------------------
Martin Ford เป็นนักอนาคตวิทยาและนักเขียนที่เน้นเรื่องผลกระทบจากAI และ หุ่นยนต์ต่อสังคมและระบบเศรษฐกิจ
หนังสือเล่มนี้เกริ่นนำโดยพูดถึงเรื่อง ประสิทธิภาพของการผลิตและค่าแรง ระหว่างปี 1970 กับ ปี 2013
ผลผลิตเพิ่มขึ้น 107% แต่ค่าแรงกลับลดลง 13% หลังปรับเงินเฟ้อแล้ว
ช่วง ปี 1970 เกิดทั้งภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง พ่วงเงินเฟ้อ และ วิกฤตพลังงาน แต่ยังสร้างงานใหม่เพิ่ม 27%
เปรียบเทียบกับทศวรรษแรกของศตวรรษที่21 ไม่ได้สร้างตำแหน่งงานใหม่ๆเลย
ความเลื่อมล้ำทางรายได้เพิ่มสูงขึ้นจนถึงระดับที่ไม่เคยมาก่อนตั้งแต่ปี 1929 ความมั่งคั่งของคนกลุ่มน้อยแค่5%
เพิ่มสูงมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
--------------------------------------------------------------------------------------
หนังสือเล่มนี้พูดถึงว่าหุ่นยนต์สามารถทำงานแทนคนได้ ยกตัวอย่างเช่น งานจัดเรียงกล่อง
อุปกรณ์เล่นเกมได้พัฒนาอย่างรวดเร็วโดย บริษัท นินเทนโด พัฒนาเกมวี โดยมีอุปกรณ์จับความเร่งฝังอยู่ข้างใน
ทำให้การเล่นเกมพลิกโฉมไป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่นักพัฒนาหุ่นยนต์ได้นำเทคโนโลยีคิเน๊กต์ ไปช่วยทำให้หุ่นยนต์
มองเห็นในราคาที่ถูกมาก ทำให้เครื่องจักรมีความสามารถในการรับรู้และปฏิสัมพันธ์ใกล้เคียงกับมนุษย์ในราคาจับต้องได้
ซึ่งต่อมาก็มีผลต่อการจ้างแรงงาน เช่น โรงงานFoxconซึ่งผลิตอุปกรณ์สำหรับมือถือI-Phone เปลี่ยนมาใช้หุ่นยนต์ประกอบแทนคน
และ จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการผลิต จากเมื่อก่อนย้ายโรงงานผลิตไปที่แรงงานถูก
ต่อไปก็จะมีการย้ายฐานการผลิตกลับประเทศญี่ปุ่นหรืออเมริกา โดยใช้หุ่นยนต์ผลิตแทน ต้นทุนไม่แตกต่างแต่
สะดวกในการขนส่งไปยังผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น ตอนนี้ บริษัท Casio มีแผนย้ายฐานการผลิตจากไทยไปญี่ปุ่น
------------------------------------------------------------------------------------
ธุรกิจภาคบริการ ถือเป็นอีกภาคที่ใช้แรงงานค่อนข้างมาก และมีการเรียกร้องขึ้นค่าแรงอยู่เสมอก็เป็นอีกธุรกิจที่มีโอกาส
ถูกทดแทนด้วยหุ่นยนต์ในการให้บริการ ตอนนี้ที่ญี่ปุ่น เครือข่ายร้านซูซิคุระ ได้บุกเบิกการใช้ระบบอัตโนมัติจนสำเร็จ
หุ่นยนต์จะปั้นซูชิและใช้สายพานแทนพนักงานเสิร์ฟ ในเมืองไทยก็มีบางร้านใช้หุ่นยนต์และสายพานให้บริการ
หุ่นยนต์ในภาคบริการ
ปี2000 คนงานที่ทำงานในเรือกสวนไร่นา ลดลงจาก 50% เหลือแค่ 2% เครื่องจักร จะทำหน้าที่ในการปลูกพืชไร่ส่วน2%
มีหน้าที่ในการเก็บผลไม้ที่เปราะบางและมีราคาแพง รวมไปถึงไม้ดอกไม้ประดับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ความท้าทายของบริการสุขภาพ
การวินิจฉัยโรคนั้น ขึ้นอยู่กับความรู้ด้านการแพทย์และทักษะการวินิจฉัยโรคของแพทย์แต่ละคน
ตัวอย่าง คนไข้ชายวัย 55 ปี เข้ารับการรักษาที่ University of Marburg ด้วยอาการมีไข้ หลอดอาหารอักเสบ ระดับ
โฮโมนไทรอยด์ต่ำ และมองอะไรไม่ชัด ก่อนหน้านี้ไปพบแพทย์มาหลายคน แต่หาสาเหตุไม่ได้
ซึ่งจริงๆแล้วอาการนี้ก็เกิดขึ้นเมื่อหลายเดือนก่อนกับหญิงชราวัย59ปีในอีกทวีปหนึ่ง ซึ่งได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจที่ศูนย์
การแพทย์ของมหาวิทยาลัยโคโรลาโดในเดนเวอร์ สาเหตุที่แท้จริงคือพิษโคบอลต์ โดยคนไข้ทั้งสองต่างใช้สะโพกเทียมที่
ทำจากโลหะ เมื่อเวลาผ่านไปอวัยะเทียมถูกขัดสีจนปล่อยอนุภาคโคบอลต์ออกมาจนเป็นพิษเรื้อรังแก่ผู้ป่วย
ดูจากทั้งสองกรณี คือ ข้อมูลในการรักษาได้ถูกเก็บแยกกันไว้ในสมองของแพทย์แต่ละคน รวมถึงข้อมูลสิ่งตีพิมพ์ในวารสาร
การแพทย์นั้นก็หายาก น่าจะใช้AI&Big Data มาช่วยในวงการแพทย์
บริษัทIBM ก็ได้มีหน่วยงานที่ได้ทำเรื่องระบบประมวลผลการรู้คิด
IBM Watson ปรากฏในสื่อครั้งแรก คือในปี 2011 ผ่านรายการแข่งขันเกมประเภท Quiz show ที่ชื่อ Jeopardy!
เกม Jeopardy! เป็นเกมใบ้คำปริศนา ที่ค่อนข้างซับซ้อน แต่IBM Watson ประสบความสำเร็จอย่างมาก
ชนะแชมป์ของเกมนี้อย่างท้วมท้น และได้รับการจับตาจากสื่ออย่างมาก
ในภายหลัง IBM Watson ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจการแพทย์ แต่กลับพบว่าไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่คิด
ปัญหาของ IBM Watson คือ เป็น AI ประเภท Rule-based ปัญหาของ AI ประเภทนี้ คือมันทำงานได้ Specific มาก
ถ้าจะทำให้ IBM Watson ไปเล่นหมากรุก หรือเล่นโกะ ทีมวิศวกรผู้พัฒนาก็ต้องเขียน Algorithm ใหม่เกือบทั้งหมด
แตกต่างจากวิธีการเรียนรู้ของมนุษย์ตรงที่ เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถฝึกตัวเองได้
เราสามารถ connect ความรู้ใหม่ เข้ากับพื้นความรู้เดิมได้ง่ายและเร็วมาก
เช่น ถ้าเราเล่นหมากรุกเก่ง ก็มีแนวโน้มที่เราจะฝึกเล่นโกะเป็นได้เร็ว
ยิ่งเรามีข้อมูลในสมองเรามากเท่าไหร่ มันก็ยิ่งง่ายที่จะทำให้เราเรียนรู้เรื่องราวใหม่ๆ มากเท่านั้น
สาเหตุเพราะสมองมีการทำงานแบบที่เรียกว่า Neural Network กล่าวคือเรามีเครือข่ายของเซลล์ประสาทขนาดใหญ่
ที่ connect องค์ความรู้หลากหลายประเภทเข้าด้วยกัน เป็นเหมือน Algorithm Network ขนาดใหญ่
แต่ IBM Watson มีข้อจำกัดมาก มันอาจจะมี Algorithm Network ของตัวเอง แต่ก็เป็นชุดที่วิศวกร IBM สร้างขึ้น และถึงแม้
Algorithm Network ชุดนั้นจะซับซ้อนพอที่จะเล่นเกมปริศนาใบ้คำที่ซับซ้อนมากๆ ได้ แต่ก็ยังเป็นชุด Algorithm
อย่างง่ายๆ ที่เทียบไม่ได้เลยกับ Neural Network ในสมองของมนุษย์
และที่สำคัญคือ IBM Watson เองก็ไม่มีความสามารถที่จะพัฒนา Algorithm Network ของตัวมันเองได้
อย่างไรก็ตาม IBM Watson ก็ได้เปลี่ยนโฉมวงการแพทย์ โดยระบบสามารถขุดคุ้ยข้อมูลมหาศาลที่มีรูปแบบแตกต่างได้
ในอนาคตอันใกล้ เราอาจขาดเครื่องมือวินิจฉัยเช่นนี้ไม่ได้เลย โดยเฉพาะกับแพทย์ที่ต้องเผชิญความท้าทายอย่างยิ่งในคนไข้บางราย
จากงานศึกษาหลายชิ้นทำนายว่าจะขาดแคลนแพทย์ในส่วนที่ไปทำงานพื้นที่ชนบทจำนวนมากถึง 200,000ตำแหน่งภายใน 15 ปี
เมื่อแพทย์จำนวนหนึ่งเกษียณอายุ รวมถึงผู้ป่วยรายใหม่ 32ล้านคนไหลเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพ และ
ภาวะประชากรสูงวัยก็ยิ่งทำให้ต้องการบริการสุขภาพที่สูงขึ้นอีก
ผู้เขียนได้เสนออาชีพของผู้จบวิทยาลัยหลักสูตร4ปีหรือปริญญาโทเพื่อฝึกให้พูดคุยและตรวจคนไข้เป็นหลัก จากนั้นก็กรอก
ข้อมูลเข้าไปในระบบวินิจฉัยและรักษาที่ได้มาตรฐาน ซึ่งสามารถรองรับการรักษาคนไข้แบบรูทีนได้เป็นจำนวนมาก
อาจพัฒนาขึ้นได้อีกเพื่อช่วยผู้ป่วยเช่น โรคอ้วนหรือเบาหวานซึ่งเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วได้
ระบบปัญญาประดิษฐ์ที่อิงมาตราฐานการปฏิบัติ จะช่วยลดข้อผิดพลาดของแพทย์ และสามารถวินิจฉัยโรคได้แม่นยำขึ้น
โดยเฉพาะแขนงที่ไม่ต้องปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยโดยตรง อาจช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพขึ้น
เช่น AI ได้สามารถทำหน้าที่ช่วยอ่านและวินิจฉัยผลจากการฉายรังสีโรคมะเร็ง เสมือนทำงานแทนแพทย์คนที่สองได้เลย
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ
ประชากรของประเทศพัฒนาแล้วรวมไปถึงประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศกำลังแก่ตัวอย่างรวดเร็ว เช่น สหรัฐ ญี่ปุ่น
โดยเฉพาะญี่ปุ่น ทำนายว่าปี2025 ประชากร 1 ใน 3 อายุมากกว่า 65 ปี ตอนนี้ญี่ปุ่นขาดแคลนคนทำงานดูแลผู้สูงอายุถึง
700,000 ตำแหน่ง ทางแก้คือการสร้างหุ่นยนต์มาดูแลแทน แต่ปัญหาหลักคือหุ่นยนต์ไม่ค่อยมีความสามารถมากนัก
และราคาแพง น้ำหนักมาก ส่วนใหญ่ถูกใช้ในโรงพยาบาลและสถานดูแลผู้สูงอายุเป็นหลัก
รัฐบาลญี่ปุ่นได้เริ่มโครงการอุดหนุนค่าใช้จ่าย 2 ใน 3 ให้แก่การพัฒนาหุ่นยนต์ทำงานเฉพาะอย่างที่ราคาไม่แพงซึ่ง
ช่วยดูแลผู้สูงอายุได้ นวัตกรรมที่น่าสนใจตอนนี้คือ HAL ซึ่งเป็นโครงไฟฟ้าสำหรับสวมใส่โดยเฉพาะส่วนบน
ซึ่งช่วยในการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ ในอนาคตอันใกล้อาจมีการพัฒนาขาจักรกลเพื่อช่วยการเคลื่อนที่ในราคาที่ไม่แพง
เพื่อช่วยหยิบยา น้ำ หรือ ของที่ลืมบ่อยๆ
แต่เทคโนโลยีเหล่านี้ยังไม่ได้เกิดในเร็ววัน ดังนั้นการจ้างงานอาจย้ายไปยังภาคบริการสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุ
สำนักงานสถิติแรงงานของสหรัฐประเมินว่าปี 2022 มีงานดูแลส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 580,000 คน และงานพยาบาลวิชาชีพ
เพิ่มอีก 527,000 คนรวมถึงงานช่วยสุขภาพคนในบ้าน และ งานช่วยดูแลคนไข้ รวม 1.8 ล้านตำแหน่ง
แต่ปัญหาคือ ตำแหน่งที่ว่างนี้ทดแทนตำแหน่งที่ขาดในช่วงที่ผ่านมาได้แค่ 25% และได้รับค่าแรงต่ำ ไม่เหมาะกับประชากรจำนวนมาก
ใครที่กำลังหาสายงานที่น่าจะปลอดภัยจากการใช้ระบบอัตโนมัติอยู่ วิชาชีพด้านการบริการสุขภาพที่ต้องใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์
โดยตรงกับผู้ป่วยก็ถือเป็นทางเลือกที่ดี แต่ในอีก 20-30ปีต่อจากนี้ อาจเปลี่ยนแปลงไป
CR: ขอบคุณสำหรับบทความเกี่ยวกับIBM Watsonโดยน้องตู้ มานะชัย ซึ่งเขียนเพิ่มเติมจากในหนังสือเลยขอหยิบมาประกอบ
หนังสือเขียนโดย Martin Ford และแปลโดย คุณทีปกร วุฒิพิทยามงคล
หนังสือเล่มนี้น่าสนใจเพราะได้รับรางวัลหนังสือธุรกิจแห่งปี 2015 จาก Financial Time&Mckinsey Business
------------------------------------------------------------------------------------
Martin Ford เป็นนักอนาคตวิทยาและนักเขียนที่เน้นเรื่องผลกระทบจากAI และ หุ่นยนต์ต่อสังคมและระบบเศรษฐกิจ
หนังสือเล่มนี้เกริ่นนำโดยพูดถึงเรื่อง ประสิทธิภาพของการผลิตและค่าแรง ระหว่างปี 1970 กับ ปี 2013
ผลผลิตเพิ่มขึ้น 107% แต่ค่าแรงกลับลดลง 13% หลังปรับเงินเฟ้อแล้ว
ช่วง ปี 1970 เกิดทั้งภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง พ่วงเงินเฟ้อ และ วิกฤตพลังงาน แต่ยังสร้างงานใหม่เพิ่ม 27%
เปรียบเทียบกับทศวรรษแรกของศตวรรษที่21 ไม่ได้สร้างตำแหน่งงานใหม่ๆเลย
ความเลื่อมล้ำทางรายได้เพิ่มสูงขึ้นจนถึงระดับที่ไม่เคยมาก่อนตั้งแต่ปี 1929 ความมั่งคั่งของคนกลุ่มน้อยแค่5%
เพิ่มสูงมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
--------------------------------------------------------------------------------------
หนังสือเล่มนี้พูดถึงว่าหุ่นยนต์สามารถทำงานแทนคนได้ ยกตัวอย่างเช่น งานจัดเรียงกล่อง
อุปกรณ์เล่นเกมได้พัฒนาอย่างรวดเร็วโดย บริษัท นินเทนโด พัฒนาเกมวี โดยมีอุปกรณ์จับความเร่งฝังอยู่ข้างใน
ทำให้การเล่นเกมพลิกโฉมไป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่นักพัฒนาหุ่นยนต์ได้นำเทคโนโลยีคิเน๊กต์ ไปช่วยทำให้หุ่นยนต์
มองเห็นในราคาที่ถูกมาก ทำให้เครื่องจักรมีความสามารถในการรับรู้และปฏิสัมพันธ์ใกล้เคียงกับมนุษย์ในราคาจับต้องได้
ซึ่งต่อมาก็มีผลต่อการจ้างแรงงาน เช่น โรงงานFoxconซึ่งผลิตอุปกรณ์สำหรับมือถือI-Phone เปลี่ยนมาใช้หุ่นยนต์ประกอบแทนคน
และ จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการผลิต จากเมื่อก่อนย้ายโรงงานผลิตไปที่แรงงานถูก
ต่อไปก็จะมีการย้ายฐานการผลิตกลับประเทศญี่ปุ่นหรืออเมริกา โดยใช้หุ่นยนต์ผลิตแทน ต้นทุนไม่แตกต่างแต่
สะดวกในการขนส่งไปยังผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น ตอนนี้ บริษัท Casio มีแผนย้ายฐานการผลิตจากไทยไปญี่ปุ่น
------------------------------------------------------------------------------------
ธุรกิจภาคบริการ ถือเป็นอีกภาคที่ใช้แรงงานค่อนข้างมาก และมีการเรียกร้องขึ้นค่าแรงอยู่เสมอก็เป็นอีกธุรกิจที่มีโอกาส
ถูกทดแทนด้วยหุ่นยนต์ในการให้บริการ ตอนนี้ที่ญี่ปุ่น เครือข่ายร้านซูซิคุระ ได้บุกเบิกการใช้ระบบอัตโนมัติจนสำเร็จ
หุ่นยนต์จะปั้นซูชิและใช้สายพานแทนพนักงานเสิร์ฟ ในเมืองไทยก็มีบางร้านใช้หุ่นยนต์และสายพานให้บริการ
หุ่นยนต์ในภาคบริการ
ปี2000 คนงานที่ทำงานในเรือกสวนไร่นา ลดลงจาก 50% เหลือแค่ 2% เครื่องจักร จะทำหน้าที่ในการปลูกพืชไร่ส่วน2%
มีหน้าที่ในการเก็บผลไม้ที่เปราะบางและมีราคาแพง รวมไปถึงไม้ดอกไม้ประดับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ความท้าทายของบริการสุขภาพ
การวินิจฉัยโรคนั้น ขึ้นอยู่กับความรู้ด้านการแพทย์และทักษะการวินิจฉัยโรคของแพทย์แต่ละคน
ตัวอย่าง คนไข้ชายวัย 55 ปี เข้ารับการรักษาที่ University of Marburg ด้วยอาการมีไข้ หลอดอาหารอักเสบ ระดับ
โฮโมนไทรอยด์ต่ำ และมองอะไรไม่ชัด ก่อนหน้านี้ไปพบแพทย์มาหลายคน แต่หาสาเหตุไม่ได้
ซึ่งจริงๆแล้วอาการนี้ก็เกิดขึ้นเมื่อหลายเดือนก่อนกับหญิงชราวัย59ปีในอีกทวีปหนึ่ง ซึ่งได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจที่ศูนย์
การแพทย์ของมหาวิทยาลัยโคโรลาโดในเดนเวอร์ สาเหตุที่แท้จริงคือพิษโคบอลต์ โดยคนไข้ทั้งสองต่างใช้สะโพกเทียมที่
ทำจากโลหะ เมื่อเวลาผ่านไปอวัยะเทียมถูกขัดสีจนปล่อยอนุภาคโคบอลต์ออกมาจนเป็นพิษเรื้อรังแก่ผู้ป่วย
ดูจากทั้งสองกรณี คือ ข้อมูลในการรักษาได้ถูกเก็บแยกกันไว้ในสมองของแพทย์แต่ละคน รวมถึงข้อมูลสิ่งตีพิมพ์ในวารสาร
การแพทย์นั้นก็หายาก น่าจะใช้AI&Big Data มาช่วยในวงการแพทย์
บริษัทIBM ก็ได้มีหน่วยงานที่ได้ทำเรื่องระบบประมวลผลการรู้คิด
IBM Watson ปรากฏในสื่อครั้งแรก คือในปี 2011 ผ่านรายการแข่งขันเกมประเภท Quiz show ที่ชื่อ Jeopardy!
เกม Jeopardy! เป็นเกมใบ้คำปริศนา ที่ค่อนข้างซับซ้อน แต่IBM Watson ประสบความสำเร็จอย่างมาก
ชนะแชมป์ของเกมนี้อย่างท้วมท้น และได้รับการจับตาจากสื่ออย่างมาก
ในภายหลัง IBM Watson ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจการแพทย์ แต่กลับพบว่าไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่คิด
ปัญหาของ IBM Watson คือ เป็น AI ประเภท Rule-based ปัญหาของ AI ประเภทนี้ คือมันทำงานได้ Specific มาก
ถ้าจะทำให้ IBM Watson ไปเล่นหมากรุก หรือเล่นโกะ ทีมวิศวกรผู้พัฒนาก็ต้องเขียน Algorithm ใหม่เกือบทั้งหมด
แตกต่างจากวิธีการเรียนรู้ของมนุษย์ตรงที่ เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถฝึกตัวเองได้
เราสามารถ connect ความรู้ใหม่ เข้ากับพื้นความรู้เดิมได้ง่ายและเร็วมาก
เช่น ถ้าเราเล่นหมากรุกเก่ง ก็มีแนวโน้มที่เราจะฝึกเล่นโกะเป็นได้เร็ว
ยิ่งเรามีข้อมูลในสมองเรามากเท่าไหร่ มันก็ยิ่งง่ายที่จะทำให้เราเรียนรู้เรื่องราวใหม่ๆ มากเท่านั้น
สาเหตุเพราะสมองมีการทำงานแบบที่เรียกว่า Neural Network กล่าวคือเรามีเครือข่ายของเซลล์ประสาทขนาดใหญ่
ที่ connect องค์ความรู้หลากหลายประเภทเข้าด้วยกัน เป็นเหมือน Algorithm Network ขนาดใหญ่
แต่ IBM Watson มีข้อจำกัดมาก มันอาจจะมี Algorithm Network ของตัวเอง แต่ก็เป็นชุดที่วิศวกร IBM สร้างขึ้น และถึงแม้
Algorithm Network ชุดนั้นจะซับซ้อนพอที่จะเล่นเกมปริศนาใบ้คำที่ซับซ้อนมากๆ ได้ แต่ก็ยังเป็นชุด Algorithm
อย่างง่ายๆ ที่เทียบไม่ได้เลยกับ Neural Network ในสมองของมนุษย์
และที่สำคัญคือ IBM Watson เองก็ไม่มีความสามารถที่จะพัฒนา Algorithm Network ของตัวมันเองได้
อย่างไรก็ตาม IBM Watson ก็ได้เปลี่ยนโฉมวงการแพทย์ โดยระบบสามารถขุดคุ้ยข้อมูลมหาศาลที่มีรูปแบบแตกต่างได้
ในอนาคตอันใกล้ เราอาจขาดเครื่องมือวินิจฉัยเช่นนี้ไม่ได้เลย โดยเฉพาะกับแพทย์ที่ต้องเผชิญความท้าทายอย่างยิ่งในคนไข้บางราย
จากงานศึกษาหลายชิ้นทำนายว่าจะขาดแคลนแพทย์ในส่วนที่ไปทำงานพื้นที่ชนบทจำนวนมากถึง 200,000ตำแหน่งภายใน 15 ปี
เมื่อแพทย์จำนวนหนึ่งเกษียณอายุ รวมถึงผู้ป่วยรายใหม่ 32ล้านคนไหลเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพ และ
ภาวะประชากรสูงวัยก็ยิ่งทำให้ต้องการบริการสุขภาพที่สูงขึ้นอีก
ผู้เขียนได้เสนออาชีพของผู้จบวิทยาลัยหลักสูตร4ปีหรือปริญญาโทเพื่อฝึกให้พูดคุยและตรวจคนไข้เป็นหลัก จากนั้นก็กรอก
ข้อมูลเข้าไปในระบบวินิจฉัยและรักษาที่ได้มาตรฐาน ซึ่งสามารถรองรับการรักษาคนไข้แบบรูทีนได้เป็นจำนวนมาก
อาจพัฒนาขึ้นได้อีกเพื่อช่วยผู้ป่วยเช่น โรคอ้วนหรือเบาหวานซึ่งเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วได้
ระบบปัญญาประดิษฐ์ที่อิงมาตราฐานการปฏิบัติ จะช่วยลดข้อผิดพลาดของแพทย์ และสามารถวินิจฉัยโรคได้แม่นยำขึ้น
โดยเฉพาะแขนงที่ไม่ต้องปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยโดยตรง อาจช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพขึ้น
เช่น AI ได้สามารถทำหน้าที่ช่วยอ่านและวินิจฉัยผลจากการฉายรังสีโรคมะเร็ง เสมือนทำงานแทนแพทย์คนที่สองได้เลย
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ
ประชากรของประเทศพัฒนาแล้วรวมไปถึงประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศกำลังแก่ตัวอย่างรวดเร็ว เช่น สหรัฐ ญี่ปุ่น
โดยเฉพาะญี่ปุ่น ทำนายว่าปี2025 ประชากร 1 ใน 3 อายุมากกว่า 65 ปี ตอนนี้ญี่ปุ่นขาดแคลนคนทำงานดูแลผู้สูงอายุถึง
700,000 ตำแหน่ง ทางแก้คือการสร้างหุ่นยนต์มาดูแลแทน แต่ปัญหาหลักคือหุ่นยนต์ไม่ค่อยมีความสามารถมากนัก
และราคาแพง น้ำหนักมาก ส่วนใหญ่ถูกใช้ในโรงพยาบาลและสถานดูแลผู้สูงอายุเป็นหลัก
รัฐบาลญี่ปุ่นได้เริ่มโครงการอุดหนุนค่าใช้จ่าย 2 ใน 3 ให้แก่การพัฒนาหุ่นยนต์ทำงานเฉพาะอย่างที่ราคาไม่แพงซึ่ง
ช่วยดูแลผู้สูงอายุได้ นวัตกรรมที่น่าสนใจตอนนี้คือ HAL ซึ่งเป็นโครงไฟฟ้าสำหรับสวมใส่โดยเฉพาะส่วนบน
ซึ่งช่วยในการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ ในอนาคตอันใกล้อาจมีการพัฒนาขาจักรกลเพื่อช่วยการเคลื่อนที่ในราคาที่ไม่แพง
เพื่อช่วยหยิบยา น้ำ หรือ ของที่ลืมบ่อยๆ
แต่เทคโนโลยีเหล่านี้ยังไม่ได้เกิดในเร็ววัน ดังนั้นการจ้างงานอาจย้ายไปยังภาคบริการสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุ
สำนักงานสถิติแรงงานของสหรัฐประเมินว่าปี 2022 มีงานดูแลส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 580,000 คน และงานพยาบาลวิชาชีพ
เพิ่มอีก 527,000 คนรวมถึงงานช่วยสุขภาพคนในบ้าน และ งานช่วยดูแลคนไข้ รวม 1.8 ล้านตำแหน่ง
แต่ปัญหาคือ ตำแหน่งที่ว่างนี้ทดแทนตำแหน่งที่ขาดในช่วงที่ผ่านมาได้แค่ 25% และได้รับค่าแรงต่ำ ไม่เหมาะกับประชากรจำนวนมาก
ใครที่กำลังหาสายงานที่น่าจะปลอดภัยจากการใช้ระบบอัตโนมัติอยู่ วิชาชีพด้านการบริการสุขภาพที่ต้องใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์
โดยตรงกับผู้ป่วยก็ถือเป็นทางเลือกที่ดี แต่ในอีก 20-30ปีต่อจากนี้ อาจเปลี่ยนแปลงไป
CR: ขอบคุณสำหรับบทความเกี่ยวกับIBM Watsonโดยน้องตู้ มานะชัย ซึ่งเขียนเพิ่มเติมจากในหนังสือเลยขอหยิบมาประกอบ
-
- Verified User
- โพสต์: 842
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3257
Q4 ปี61 ครั้งที่39 ครั้งหน้าครบสิบปี
เที่ยวนี้ต้องขอขอบคุณทุกท่านนะฮะ โดยเฉพาะท่านAnieLee ที่กรุณาเอาlittle book of valuationมาฝากผม
อีกหลายเล่มคลาสสิกๆทั้งนั้นฝากท่านอื่น และการ์ดโปเกม่อน(มั้ยอ่ะ เราไม่รู้จัก)ฝากลูกท่านelite5
เสียดายว่าจะเลิกโพสต์ เพราะมีคนเอาโพสต์ไปส่งต่อเพี้ยนๆ ผมโพสต์ต่อเองฮะ จะได้เพี้ยนๆมั่วๆกว่าเดิมไปเลย..
ปีที่แล้วเป็นความล้มเหลวของนักลงทุนที่ไม่ได้ใช้สติ
งบปีออกแล้ว ควรไปประชุมผู้ถือหุ้น เลือกเอาที่ข้อมูลไม่ค่อยมี
เพราะนี่คือโอกาสเดียวที่จะไปหาข่าวที่มีสัญญานบางอย่างของหุ้นนั้น
ควรถามอย่างสร้างสรรค์แทนที่จะต่อว่าเรื่องจุกจิก
กำไรหุ้นนั้นดีกว่าขาดทุนแล้วไปเอาคืนด้วยของชำร่วยรึอาหารเล็กๆน้อยๆ
งบแย่ ก็ให้ดูว่าแย่ชั่วคราวหรือถาวร ถ้าถาวรอย่าดื้อ ถ้าชั่วคราว ลองชั่งใจว่าราคาร่วงเป็นโอกาสมั้ย
ถ้าแย่แต่ยังแพงก็ไม่น่าเข้า PE(สูง)ลอยเวลาลง จะลงหนักมาก
วิธีเป็นวีไอ
1. เลือกอ.ถูกคน ผิดตนไอเดียเพี้ยน ลงเหว(knowwho สำคัญกว่า knowhow ให้รู้ว่าไผเป็นไผ..)
2. ต้องมีทุน ทำงานหาเงินเพิ่ม(ได้ผลน้อยสุด)หรือออมเพิ่ม ( ถ้าพ่อแม่ไม่รวย )ใช้ทุนต่อทุน (ได้ผลดีสุด)
3. เข้าใจการทบต้น และผลตอบแทน ทบต้นไปเรื่อยๆ
4. ลงทุนให้นาน ระยะเวลามีผลสูงสุดต่อผลตอบแทน วิกฤติมาทุกครั้งก็ฟื้นทุกครั้ง ไม่เคยไม่ฟื้น
วิกฤติ40 2-3ปีฟื้น สับพราม9เดือนฟื้น ระยะยาวหุ้นจะขึ้นเสมอ ถ้าพยามเข้าๆออกๆจับจังหวะจะได้ผลแย่กว่าอยู่ในตลาดตลอด
น่าจะเอาวิดีโอประชุมAGMขึ้นเนตให้เห็นกันทั้งโลก
กลต.น่าจะเอาตัวแทนโบรคออกจากบอร์ดแล้วให้นักลงทุนส่งตัวแทนเข้าไปแทน..
ฟังถึงตรงนี้ ผมรีบยัดคำถาม..
Q : Romeeฝากถามฮะ จ่ายสองร้อยที่พี่บัวดินแล้ว
ถ้าหลัง24มีค.นี้ อ.ได้เป็นนายก จะแก้กฎหมายตลาดหุ้นยังไงมั่ง(คำถามล่อเป้า เอ๊ยคำถามนางงามจิงๆ)
A ตาเป็นประกาย(เพลิง))
1. Insider ใส่ดอกจันห้าดอก สำคัญสุด
ให้ติดคุก1เดือน +ปรับ ไม่รอลงอาญา(แบบป้ามาธาร์สจ๊วดมั้ยอ่ะ) ขึ้นศาลที่ตัดสินเร็วๆแบบไม่ต้องยื้อ
ทำระบบคอมพิวเตอร์ให้เชื่อมกันหมด จะได้มีหลักฐานแน่นหนาแม่นยำรวดเร็ว
2. "ห้าม"company visit ไม่ว่าจะเป็นกองทุน ต่างชาติ นักวิแคะ นักลงทุน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ รายเล็ก รายละเอียด
"แต่" ให้ออกอากาศให้ดูกันทั้งโลกหลังงบออกได้
ถ้ามีoppday ให้แปลเป็นภาษาอังกฤษให้ต่างชาติดูใน1วัน(ต้องมีภาษามือด้วยมั้ยฮะ)
3. Capital gain tax ถ้าจะมีก็มีซัก10%ก็ได้ แฟร์ๆไป(หักขาดทุนได้? ถือสั้นถือยาว? บุคคลธรรมดา? นิติบุคคล? รู้สึกอ.ว่าไม่ต้องมีเงื่อนไขนะฮะ)
4. กรรมการกลต.ให้มีตัวแทนนักลงทุน(ระดับสมาคมมีไทยวีไอ กะอีกเจ้าที่ชอบไปถามเรื่องธรรมาภิบาลต้านคอรัปชั่นไรนั่นมั้ยฮะ)เพิ่ม เราจะไปบอกเองว่าต้องมีมาตรการอะไร จะไม่ไปถามว่าบ.,กลต.จะมีมาตรการอย่างไร (คิดไปให้เลย)
5. ประกาศยอดขายรายเดือนด้วย (แบบccetไต้หวันมั้ยฮะ)
6. ประกาศงบให้มันเร็วกว่านี้ คอมพิวเตอร์ทำงบทันที เวียดนามทำไมทำได้ ไทยรออะไร
(ท่านlonesomecookอดีตCFOบมจ.S_F คว้าไมค์ฟันธงเลย "จากประสบการณ์ผม มันต้องทำได้" สมาชิกเฮลั่นตบมือเกรียว)
7.แก้ปัญหาตามเจตนา ไม่ใช่ยึดกติกาตามตัวอักษร ที่ทำให้เกิดredtape เช่น หุ้นifake,หุ้น"โลก"ที่ยังติดขัดไปหมดเพราะไม่มีใครกล้าทำอะไร
8. ส่งงบช้าเกินสองดือน เช่น หุ้บรับเหมาหำแมวดำ,เบาะรถ น่าจะโดนปรับ
9. ระบบเทรดต่างจังหวัดควรเร็วเท่ากรุงเทพ( เรามีวีไอสายfastกะเค้าด้วยแฮะ)
ตอนพรมวิเศษจะลิ่งคีย์ซื้อเข้าไป รอเกือบนาที(มิน่า ถึงฝึกสมาชิกคีย์จองมี้ตติ้งหาดใหญ่อย่างนี้นี่เองง..)
ส่วนตัวอ.นั้น หลังจากแบ่งให้ลูกๆจนมีพอแล้ว อาจซื้อindex fund(ดึงออกมาใช้ปีละ3-4%)แล้วรอจนอายุ85ปี น่าจะติดtop100เศรษฐีไทยได้
ตอนนี้ยึดเงินแตะเอียลูกๆ มาซื้อหุ้นลงทุนให้ไปก่อน (ผมรีบถาม"อ.ซื้อหุ้นอะไรให้ลูกมั่งฮะ.." เพื่อนฮาทั้งห้องอีกแล้ว..)
จะเอาตังค์ไปบริจาคการกุศล ชักใย เอ๊ย บริจาคพรรคการเมืองรึวีไอที่จะไปเล่นการเมือง..
เที่ยวนี้ต้องขอขอบคุณทุกท่านนะฮะ โดยเฉพาะท่านAnieLee ที่กรุณาเอาlittle book of valuationมาฝากผม
อีกหลายเล่มคลาสสิกๆทั้งนั้นฝากท่านอื่น และการ์ดโปเกม่อน(มั้ยอ่ะ เราไม่รู้จัก)ฝากลูกท่านelite5
เสียดายว่าจะเลิกโพสต์ เพราะมีคนเอาโพสต์ไปส่งต่อเพี้ยนๆ ผมโพสต์ต่อเองฮะ จะได้เพี้ยนๆมั่วๆกว่าเดิมไปเลย..
ปีที่แล้วเป็นความล้มเหลวของนักลงทุนที่ไม่ได้ใช้สติ
งบปีออกแล้ว ควรไปประชุมผู้ถือหุ้น เลือกเอาที่ข้อมูลไม่ค่อยมี
เพราะนี่คือโอกาสเดียวที่จะไปหาข่าวที่มีสัญญานบางอย่างของหุ้นนั้น
ควรถามอย่างสร้างสรรค์แทนที่จะต่อว่าเรื่องจุกจิก
กำไรหุ้นนั้นดีกว่าขาดทุนแล้วไปเอาคืนด้วยของชำร่วยรึอาหารเล็กๆน้อยๆ
งบแย่ ก็ให้ดูว่าแย่ชั่วคราวหรือถาวร ถ้าถาวรอย่าดื้อ ถ้าชั่วคราว ลองชั่งใจว่าราคาร่วงเป็นโอกาสมั้ย
ถ้าแย่แต่ยังแพงก็ไม่น่าเข้า PE(สูง)ลอยเวลาลง จะลงหนักมาก
วิธีเป็นวีไอ
1. เลือกอ.ถูกคน ผิดตนไอเดียเพี้ยน ลงเหว(knowwho สำคัญกว่า knowhow ให้รู้ว่าไผเป็นไผ..)
2. ต้องมีทุน ทำงานหาเงินเพิ่ม(ได้ผลน้อยสุด)หรือออมเพิ่ม ( ถ้าพ่อแม่ไม่รวย )ใช้ทุนต่อทุน (ได้ผลดีสุด)
3. เข้าใจการทบต้น และผลตอบแทน ทบต้นไปเรื่อยๆ
4. ลงทุนให้นาน ระยะเวลามีผลสูงสุดต่อผลตอบแทน วิกฤติมาทุกครั้งก็ฟื้นทุกครั้ง ไม่เคยไม่ฟื้น
วิกฤติ40 2-3ปีฟื้น สับพราม9เดือนฟื้น ระยะยาวหุ้นจะขึ้นเสมอ ถ้าพยามเข้าๆออกๆจับจังหวะจะได้ผลแย่กว่าอยู่ในตลาดตลอด
น่าจะเอาวิดีโอประชุมAGMขึ้นเนตให้เห็นกันทั้งโลก
กลต.น่าจะเอาตัวแทนโบรคออกจากบอร์ดแล้วให้นักลงทุนส่งตัวแทนเข้าไปแทน..
ฟังถึงตรงนี้ ผมรีบยัดคำถาม..
Q : Romeeฝากถามฮะ จ่ายสองร้อยที่พี่บัวดินแล้ว
ถ้าหลัง24มีค.นี้ อ.ได้เป็นนายก จะแก้กฎหมายตลาดหุ้นยังไงมั่ง(คำถามล่อเป้า เอ๊ยคำถามนางงามจิงๆ)
A ตาเป็นประกาย(เพลิง))
1. Insider ใส่ดอกจันห้าดอก สำคัญสุด
ให้ติดคุก1เดือน +ปรับ ไม่รอลงอาญา(แบบป้ามาธาร์สจ๊วดมั้ยอ่ะ) ขึ้นศาลที่ตัดสินเร็วๆแบบไม่ต้องยื้อ
ทำระบบคอมพิวเตอร์ให้เชื่อมกันหมด จะได้มีหลักฐานแน่นหนาแม่นยำรวดเร็ว
2. "ห้าม"company visit ไม่ว่าจะเป็นกองทุน ต่างชาติ นักวิแคะ นักลงทุน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ รายเล็ก รายละเอียด
"แต่" ให้ออกอากาศให้ดูกันทั้งโลกหลังงบออกได้
ถ้ามีoppday ให้แปลเป็นภาษาอังกฤษให้ต่างชาติดูใน1วัน(ต้องมีภาษามือด้วยมั้ยฮะ)
3. Capital gain tax ถ้าจะมีก็มีซัก10%ก็ได้ แฟร์ๆไป(หักขาดทุนได้? ถือสั้นถือยาว? บุคคลธรรมดา? นิติบุคคล? รู้สึกอ.ว่าไม่ต้องมีเงื่อนไขนะฮะ)
4. กรรมการกลต.ให้มีตัวแทนนักลงทุน(ระดับสมาคมมีไทยวีไอ กะอีกเจ้าที่ชอบไปถามเรื่องธรรมาภิบาลต้านคอรัปชั่นไรนั่นมั้ยฮะ)เพิ่ม เราจะไปบอกเองว่าต้องมีมาตรการอะไร จะไม่ไปถามว่าบ.,กลต.จะมีมาตรการอย่างไร (คิดไปให้เลย)
5. ประกาศยอดขายรายเดือนด้วย (แบบccetไต้หวันมั้ยฮะ)
6. ประกาศงบให้มันเร็วกว่านี้ คอมพิวเตอร์ทำงบทันที เวียดนามทำไมทำได้ ไทยรออะไร
(ท่านlonesomecookอดีตCFOบมจ.S_F คว้าไมค์ฟันธงเลย "จากประสบการณ์ผม มันต้องทำได้" สมาชิกเฮลั่นตบมือเกรียว)
7.แก้ปัญหาตามเจตนา ไม่ใช่ยึดกติกาตามตัวอักษร ที่ทำให้เกิดredtape เช่น หุ้นifake,หุ้น"โลก"ที่ยังติดขัดไปหมดเพราะไม่มีใครกล้าทำอะไร
8. ส่งงบช้าเกินสองดือน เช่น หุ้บรับเหมาหำแมวดำ,เบาะรถ น่าจะโดนปรับ
9. ระบบเทรดต่างจังหวัดควรเร็วเท่ากรุงเทพ( เรามีวีไอสายfastกะเค้าด้วยแฮะ)
ตอนพรมวิเศษจะลิ่งคีย์ซื้อเข้าไป รอเกือบนาที(มิน่า ถึงฝึกสมาชิกคีย์จองมี้ตติ้งหาดใหญ่อย่างนี้นี่เองง..)
ส่วนตัวอ.นั้น หลังจากแบ่งให้ลูกๆจนมีพอแล้ว อาจซื้อindex fund(ดึงออกมาใช้ปีละ3-4%)แล้วรอจนอายุ85ปี น่าจะติดtop100เศรษฐีไทยได้
ตอนนี้ยึดเงินแตะเอียลูกๆ มาซื้อหุ้นลงทุนให้ไปก่อน (ผมรีบถาม"อ.ซื้อหุ้นอะไรให้ลูกมั่งฮะ.." เพื่อนฮาทั้งห้องอีกแล้ว..)
จะเอาตังค์ไปบริจาคการกุศล ชักใย เอ๊ย บริจาคพรรคการเมืองรึวีไอที่จะไปเล่นการเมือง..
samatah
-
- Verified User
- โพสต์: 842
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3258
Q : (คำถามท่านromee)ให้พีอีแต่ละอุตสาหกรรมอย่างไร
A : เอาง่ายๆคือดูพีอีตลาด แล้วมาเทียบกับพีอีหุ้นรายตัว ซึ่งแต่ละอุตสาหกรรม แม้หุ้นในกลุ่มเดียวกันยังไม่น่าจะเท่ากัน
หุ้นย้ายกลุ่มจากMAIไปSETตลาดไม่ค่อยให้พีอีเพิ่ม(เดิมก็สูงอยู่แล้วมั้ยฮะ)
หุ้นย้ายกลุ่มบันเทิงไปขายของ
หุ้นย้ายกลุ่มจากอสังหาไปโรงบาล ก็ไม่แน่ว่าจะได้พีอีเพิ่ม เพราะเปิดโรงบาลขาดทุนนานกว่าจะกำไร
ไม่เหมือนเปิดโรงไฟฟ้า จ่ายไฟปุ๊บได้เงินเลย
โรงบาล พีอีสูงเพราะเป็นเทรนใหญ่ บางโรงที่บางนาอาจสูงปรี๊ดเพราะกำไรลดครึ่งนึงแน่ในอนาคต
โรงงาน ขยายกำลังก็ขาดทุนพักนึงค่าเสื่อม ค่าของเสียจากผลิต
โรงเรียน ถ้ามีตัวเดียว ไม่รู้จะเทียบกับใคร พีอีตามใจเจ้ามือ ปั่นสูงก็ไปชอร์ตสวนได้เลย
ส่วนใหญ่จะให้พีอีเท่าไร พื้นฐานคือดู คุณภาพกำไร การเติบโต และปันผล
Q : (ท่านดำฝากมา)ขอไอเดียโดยเฉพาะ"จุดตาย"ของ มาบุญครอง,ลูกศร,อ้าสิฟะ
A : มาบุญครองไม่ได้ตาม ปีก่อนกำไรพิเศษโตกว่าปกติ แต่คิดว่าถือหุ้นไอค่อนสยามไม่มากจนช่วยเพิ่มกำไรให้สักเท่าไร จุดตายไม่น่ามี
ลูกศร แต่ก่อนแพงเว่อร์ จุดตายคือท่อร้อยสายกำไร15%หรือสองหลักเมื่อไร คู่แข่งต้องมาแน่
แค่สตอคเหล็กราคาต่ำแล้วกำไรดี ท่อใต้ดินอาจเป็นอัพไซด์
อ้าสิฟะ Q3กำไรลด แต่Q4ระเบิด ทำตู้ไฟฟ้าเองกำไรดีกว่าซื้อมาขายไป? ไม่ค่อยเข้าใจสินค้ากับการเติบโต
ข้อต่อรองกับชไนเดอร์ไม่แน่ใจ
พูดถึงNPMดีเกินจริงถึงสองหลักจนทำให้คู่แข่งโดดเข้ามาจนฟองสบู่แตกที่ผ่านมาคือน้ำมะพร้าวกับพลังงานทดแทน
ล่าสุดคือเครื่องสำอาง ตัวต่อไปจำนำทะเบียนรถ มหาลัย(ถ้ามีหุ้นในตลาดนะ) ในระยะยาวคือโรงบาล
ใครๆก็โดดมาทำ
ท่านRoMEAotZเสริมเรื่องหอย ว่าทำตลาดโดยใช้โปรดักแทนยี่ห้อ ซึ่งไม่เวิร์ค แบบหางจรเข้ โคคิวเทน ผ่านไปคนก็จำไม่ได้ แถมมีของเลียนแบบเกือบเหมือน คนเผลอซื้อของเลียนแบบไปแล้วดันกลับมาซื้อซ้ำอีก
เงินสดสี่พันล้านกับมาร์เกตแคปห้าพันล้านยังอันตรายมาก
เทียบกับ"มิดตีน"ไปจีน สามปีแรกขาดทุน ตอนนี้ขายหมื่นล้าน ส่วน" สวย"จะไปนอก มีคนทำงานแค่สองสามคน
อีกยี่ห้อที่เคยขายทีวีก็ไปกำไรอสังหาซะงั้น
เที่ยวนี้เซอร์ไพรส์ทางลบ ขาดทุนแทบเจ๊งก็มี ตรวจสอบทีหน้าทีหลัง,รับเหมาทีหน้าสองตัว ,รับเหมาทีหน้าตัวเดียว,ชื่อคล้ายไอเฟคแต่เป็นเอ็มแทนไอ บ.พวกนี้มีลักษณะร่วมคือ
1. ประมูลงาน
2. หนี้เสียก้อนใหญ่
3. ลงทุนโครงการใหญ่ต้องตัดด้อยค่า
อ.worapong
ตอนนี้เริ่มย้ายหุ้นท่อน้ำมันที่เมกา ไปเป็นindexfundแล้ว75%คือs&p500 และtotal bond(yield3%)อีก25%
สุดท้ายindex fund จะfeeต่ำลงเรื่อยๆจนแทบฟรี(อ่านเรื่องjack bogleที่ท่านผักกาดเขียนด้านบน)
ส่วนหุ้นไทย ปีก่อนตลาดเป็นหมีน้อย หุ้นเล็กเหวี่ยงเยอะ หุ้นใหญ่ไม่ค่อยนัก
S&P500 ลง7% SETลง10%(pe17) MAIลง30%(pe50) ssetเละตุ้มเป๊ะ
แต่set HDลง5% (pe12)แต่ปันผล5% ได้ผลตอบแทนราว10% น่าสนใจ
เดิมเน้นหุ้นปันผล มีพลาดบ้าง ไปอ่านว่าคุณทักษินบอกค่าเสื่อมมือถือ ต้องดูให้เหมาะสม
ถ้า5Gมา3,4Gหมดค่าเลย ต้องคำนวนกันใหม่ อาจตั้งค่าผิดให้ดูมีกำไรดี
ส่วนหุ้นตู้ส้มเติมเงินราคาลงเยอะเพราะตลาดไม่แน่ใจเรื่องdisruption กับ7ไล่ตู้ส้มออก แต่ก็ไปเช่าเสาไฟหน้า7สู้เลย ดูๆก็แก้ปัญหาได้ดี ตัวเลขดี แต่ผบห.ลาออกเฉย ใจเสียขายไปแล้วแต่ยังไม่ซื้อกลับมา
กำไรnewhigh แต่ราคาหุ้นnewlow
ครั้งนี้ทำการบ้านหาหุ้นกำไรสม่ำเสมอ ปันผลดี มาแนะนำกัน
1. แบ็งค์ดิ๊สโก้(ชื่อยังกะจังหวะเต้นรำ)
ดีพอใช้ 3ปีล่าสุด กำไร5,6,7พันล้าน ปันผล3.5,5,7 ตั้งสำรองไม่สูง กำไรปันผลได้
เดิมโตจากซื้อสินทรัพย์ ปีนี้จะขยายสินเชื่อเพิ่ม ฟังออพเดย์ค่อนข้างconservative
ที่ราคา87 PE10 PBV1.8 DIV8%
2. บ้านคุณภาพ
กำไร3100,3500,3800 ปันผล0.15,0.20,0.22
ที่3บาท PE8 DIV7% กำไรครึ่งนึงมาจากเงินลงทุนเช่นREITS,โปรเรื่องบ้าน
โดนมาตรการแบงค์ชาติไม่มาก ปีนี้ไม่น่าแย่เท่าอสังหาตัวอื่น
3. ปล่อยกู้ "ถาม"(ไม่ใช่"คำถาม"นะจ๊ะ หน้าแตกงวดที่แล้ว..)
ไปเรื่อยๆ ทุกปีโต5-10% 710,750,790 ปันผลเพิ่ม1.40,1,48,1,61
PE10.7 PBV1.7 DIV6%
Q : ที่อ.ว่าปีนี้จะได้ปันผลมโหฬาร มีหุ้นไรมั่ง
A : ตู้ส้ม,โรงไฟฟ้าขยะปนถ่านหินในโรงปูน,นิคมนะวะ(นะวะนะเว้ย ไม่ใช่นะจ๊ะ จะบอกให้)
พักครึ่ง แจกหลวงพ่อทวดบูชาองค์ใหญ่ใส่ตู้กระจก จตุคาม พวงเครื่องรางแขวนหน้ารถ
ที่หลวงพ่อพระครูขันตยารัต วัดชะลอน ต.ดีหลวง อ.สทิงพระ จ.สงขลา90190(089-9762001,093-5818277)
ที่มี้ตติ้งครั้งที่แล้ว เหลือเงินหลักหมื่น แล้วอ.กับสมาชิกเติมให้เป็นหลักแสน
หลวงพ่อให้เณร(เลี้ยงเณรลูกชาวบ้านไว้เป็นร้อย ไม่ให้ติดยา จับตรวจฉี่ทุกคน)ขนมาให้กองใหญ่
ใส่รถอ.ลูกอิสานกับอ.tyจนท้ายห้อย เอามาแจกสมาชิกวีไอทุกคน อ.ว่าเล่นของขลังขนาดนี้ หุ้นไม่ขึ้นให้มันรู้ไป..
วีไอเล่นของ(ตัวเอง) รายงาน
A : เอาง่ายๆคือดูพีอีตลาด แล้วมาเทียบกับพีอีหุ้นรายตัว ซึ่งแต่ละอุตสาหกรรม แม้หุ้นในกลุ่มเดียวกันยังไม่น่าจะเท่ากัน
หุ้นย้ายกลุ่มจากMAIไปSETตลาดไม่ค่อยให้พีอีเพิ่ม(เดิมก็สูงอยู่แล้วมั้ยฮะ)
หุ้นย้ายกลุ่มบันเทิงไปขายของ
หุ้นย้ายกลุ่มจากอสังหาไปโรงบาล ก็ไม่แน่ว่าจะได้พีอีเพิ่ม เพราะเปิดโรงบาลขาดทุนนานกว่าจะกำไร
ไม่เหมือนเปิดโรงไฟฟ้า จ่ายไฟปุ๊บได้เงินเลย
โรงบาล พีอีสูงเพราะเป็นเทรนใหญ่ บางโรงที่บางนาอาจสูงปรี๊ดเพราะกำไรลดครึ่งนึงแน่ในอนาคต
โรงงาน ขยายกำลังก็ขาดทุนพักนึงค่าเสื่อม ค่าของเสียจากผลิต
โรงเรียน ถ้ามีตัวเดียว ไม่รู้จะเทียบกับใคร พีอีตามใจเจ้ามือ ปั่นสูงก็ไปชอร์ตสวนได้เลย
ส่วนใหญ่จะให้พีอีเท่าไร พื้นฐานคือดู คุณภาพกำไร การเติบโต และปันผล
Q : (ท่านดำฝากมา)ขอไอเดียโดยเฉพาะ"จุดตาย"ของ มาบุญครอง,ลูกศร,อ้าสิฟะ
A : มาบุญครองไม่ได้ตาม ปีก่อนกำไรพิเศษโตกว่าปกติ แต่คิดว่าถือหุ้นไอค่อนสยามไม่มากจนช่วยเพิ่มกำไรให้สักเท่าไร จุดตายไม่น่ามี
ลูกศร แต่ก่อนแพงเว่อร์ จุดตายคือท่อร้อยสายกำไร15%หรือสองหลักเมื่อไร คู่แข่งต้องมาแน่
แค่สตอคเหล็กราคาต่ำแล้วกำไรดี ท่อใต้ดินอาจเป็นอัพไซด์
อ้าสิฟะ Q3กำไรลด แต่Q4ระเบิด ทำตู้ไฟฟ้าเองกำไรดีกว่าซื้อมาขายไป? ไม่ค่อยเข้าใจสินค้ากับการเติบโต
ข้อต่อรองกับชไนเดอร์ไม่แน่ใจ
พูดถึงNPMดีเกินจริงถึงสองหลักจนทำให้คู่แข่งโดดเข้ามาจนฟองสบู่แตกที่ผ่านมาคือน้ำมะพร้าวกับพลังงานทดแทน
ล่าสุดคือเครื่องสำอาง ตัวต่อไปจำนำทะเบียนรถ มหาลัย(ถ้ามีหุ้นในตลาดนะ) ในระยะยาวคือโรงบาล
ใครๆก็โดดมาทำ
ท่านRoMEAotZเสริมเรื่องหอย ว่าทำตลาดโดยใช้โปรดักแทนยี่ห้อ ซึ่งไม่เวิร์ค แบบหางจรเข้ โคคิวเทน ผ่านไปคนก็จำไม่ได้ แถมมีของเลียนแบบเกือบเหมือน คนเผลอซื้อของเลียนแบบไปแล้วดันกลับมาซื้อซ้ำอีก
เงินสดสี่พันล้านกับมาร์เกตแคปห้าพันล้านยังอันตรายมาก
เทียบกับ"มิดตีน"ไปจีน สามปีแรกขาดทุน ตอนนี้ขายหมื่นล้าน ส่วน" สวย"จะไปนอก มีคนทำงานแค่สองสามคน
อีกยี่ห้อที่เคยขายทีวีก็ไปกำไรอสังหาซะงั้น
เที่ยวนี้เซอร์ไพรส์ทางลบ ขาดทุนแทบเจ๊งก็มี ตรวจสอบทีหน้าทีหลัง,รับเหมาทีหน้าสองตัว ,รับเหมาทีหน้าตัวเดียว,ชื่อคล้ายไอเฟคแต่เป็นเอ็มแทนไอ บ.พวกนี้มีลักษณะร่วมคือ
1. ประมูลงาน
2. หนี้เสียก้อนใหญ่
3. ลงทุนโครงการใหญ่ต้องตัดด้อยค่า
อ.worapong
ตอนนี้เริ่มย้ายหุ้นท่อน้ำมันที่เมกา ไปเป็นindexfundแล้ว75%คือs&p500 และtotal bond(yield3%)อีก25%
สุดท้ายindex fund จะfeeต่ำลงเรื่อยๆจนแทบฟรี(อ่านเรื่องjack bogleที่ท่านผักกาดเขียนด้านบน)
ส่วนหุ้นไทย ปีก่อนตลาดเป็นหมีน้อย หุ้นเล็กเหวี่ยงเยอะ หุ้นใหญ่ไม่ค่อยนัก
S&P500 ลง7% SETลง10%(pe17) MAIลง30%(pe50) ssetเละตุ้มเป๊ะ
แต่set HDลง5% (pe12)แต่ปันผล5% ได้ผลตอบแทนราว10% น่าสนใจ
เดิมเน้นหุ้นปันผล มีพลาดบ้าง ไปอ่านว่าคุณทักษินบอกค่าเสื่อมมือถือ ต้องดูให้เหมาะสม
ถ้า5Gมา3,4Gหมดค่าเลย ต้องคำนวนกันใหม่ อาจตั้งค่าผิดให้ดูมีกำไรดี
ส่วนหุ้นตู้ส้มเติมเงินราคาลงเยอะเพราะตลาดไม่แน่ใจเรื่องdisruption กับ7ไล่ตู้ส้มออก แต่ก็ไปเช่าเสาไฟหน้า7สู้เลย ดูๆก็แก้ปัญหาได้ดี ตัวเลขดี แต่ผบห.ลาออกเฉย ใจเสียขายไปแล้วแต่ยังไม่ซื้อกลับมา
กำไรnewhigh แต่ราคาหุ้นnewlow
ครั้งนี้ทำการบ้านหาหุ้นกำไรสม่ำเสมอ ปันผลดี มาแนะนำกัน
1. แบ็งค์ดิ๊สโก้(ชื่อยังกะจังหวะเต้นรำ)
ดีพอใช้ 3ปีล่าสุด กำไร5,6,7พันล้าน ปันผล3.5,5,7 ตั้งสำรองไม่สูง กำไรปันผลได้
เดิมโตจากซื้อสินทรัพย์ ปีนี้จะขยายสินเชื่อเพิ่ม ฟังออพเดย์ค่อนข้างconservative
ที่ราคา87 PE10 PBV1.8 DIV8%
2. บ้านคุณภาพ
กำไร3100,3500,3800 ปันผล0.15,0.20,0.22
ที่3บาท PE8 DIV7% กำไรครึ่งนึงมาจากเงินลงทุนเช่นREITS,โปรเรื่องบ้าน
โดนมาตรการแบงค์ชาติไม่มาก ปีนี้ไม่น่าแย่เท่าอสังหาตัวอื่น
3. ปล่อยกู้ "ถาม"(ไม่ใช่"คำถาม"นะจ๊ะ หน้าแตกงวดที่แล้ว..)
ไปเรื่อยๆ ทุกปีโต5-10% 710,750,790 ปันผลเพิ่ม1.40,1,48,1,61
PE10.7 PBV1.7 DIV6%
Q : ที่อ.ว่าปีนี้จะได้ปันผลมโหฬาร มีหุ้นไรมั่ง
A : ตู้ส้ม,โรงไฟฟ้าขยะปนถ่านหินในโรงปูน,นิคมนะวะ(นะวะนะเว้ย ไม่ใช่นะจ๊ะ จะบอกให้)
พักครึ่ง แจกหลวงพ่อทวดบูชาองค์ใหญ่ใส่ตู้กระจก จตุคาม พวงเครื่องรางแขวนหน้ารถ
ที่หลวงพ่อพระครูขันตยารัต วัดชะลอน ต.ดีหลวง อ.สทิงพระ จ.สงขลา90190(089-9762001,093-5818277)
ที่มี้ตติ้งครั้งที่แล้ว เหลือเงินหลักหมื่น แล้วอ.กับสมาชิกเติมให้เป็นหลักแสน
หลวงพ่อให้เณร(เลี้ยงเณรลูกชาวบ้านไว้เป็นร้อย ไม่ให้ติดยา จับตรวจฉี่ทุกคน)ขนมาให้กองใหญ่
ใส่รถอ.ลูกอิสานกับอ.tyจนท้ายห้อย เอามาแจกสมาชิกวีไอทุกคน อ.ว่าเล่นของขลังขนาดนี้ หุ้นไม่ขึ้นให้มันรู้ไป..
วีไอเล่นของ(ตัวเอง) รายงาน
samatah
- romee
- Verified User
- โพสต์: 1850
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3259
ขอบคุณพี่หมอ1ด้วยครับ ที่มาแชร์บรรยากาศกับมีตติ้งหาดใหญ่ (เขินจังฝากถามอย่างเดียว รอบนี้ผมร่วมทำบุญแล้วนะครับ )
ฟังคำตอบของพี่โจ เรื่องข้อกฎหมายของตลาดทุนแล้วรับรู้ถึงอาการที่วัยรุ่นเรียกว่า "พูดแล้วขึ้น" เลยครับ
อ่ะ ทำตัวมีประโยชน์บ้าง...วันก่อนไปนั่งฟังของ siamquant พูดเรื่องการเลือกกองทุนส่วนบุคคล ที่ใช้แนว AI, ROBOT, algo (เขาขายของว่างั้นแหละ)
แต่มีหัวข้อนึงที่น่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆในนี้คือรูปนี้ครับ กราฟบนสุด คือผลตอบแทนกลยุทธ์การลงทุน เน้นหุ้นถูก, (เน้น PBVต่ำ แล้วเลือกหุ้นเข้าซื้อ จุดขายคือถือ1ปีแล้วขาย)
กราฟสีส้ม รองลงมา กลยุทธ์momentum(เน้นbreak high แล้วขายตอนหลุดMA อะไรก็ว่าไป)
กราฟสีเขียวแก่เป็นกลยุทธ์หุ้นเติบโต(เน้นกำไรเติบโตสูงสุด แล้ว ranking เลือกหุ้นเข้าซื้อ)
ส่วนกราฟผลตอบแทน set คือสีดำ อันล่างสุด
เขาสรุปมาว่า
ถ้ากลยุทธ์เราเน้นหุ้นถูก โอกาสที่จุดขาดทุนหนักๆตามตลาดก็มี เพราะอาจจะมีถูกแล้ว มีถูกกว่า (ถ้าไม่ดูคุณภาพเลย), และกลยุทธ์นี้จะกำไรดีมากช่วงที่ตลาดฟื้นตัว จากขาลงหนักๆแบบปี2012, 2014
กลยุทธ์สีส้มแนวmomentum...ข้อดีคือจุดขาดทุน(drawdown)ไม่สูง เพราะมีการเผ่นพันลี้ และwinrateไม่เยอะแต่เน้นกินคำโต เพื่อทดแทนคำเล็กที่ขาดทุน
ถ้าเราเป็นคนชอบหุ้นเติบโตล้วนๆ...ข้อเสียคือช่วงตลาดแย่ก็แย่ตามและเผลอๆหนักกว่าตลาด, ข้อดีคือถ้าจับถูกตัว+คุณภาพก็กำไรเยอะมาก(แต่ตลาดต้องเป็นใจด้วย)
***ข้อสังเกต กลยุทธ์หุ้นเติบโตล้วนๆนี้เริ่มแพ้ตลาดตั้งแต่ต้นปี2017 แสดงว่าตลาดเริ่มไม่เล่นหุ้นเติบโตโดยไม่ดูPEแล้ว***
แต่ทั้ง3กลยุทธ์นี้ ก็ยังมีผลตอบแทนโดยรวม10ปีที่ชนะตลาดแบบมีนัยยะครับ
สรุป ขอให้เรารู้ตัวว่ากลยุทธ์ที่เราใช้คืออะไรกันแน่ แล้วเข้าใจธรรมชาติของมัน...ถ้าจะเปลี่ยนวิธีก็ต้องเข้าใจว่าแต่ละแบบเป็นยังไง ไม่ใช่เปลี่ยนไปมาตามแห่คนอื่นจนธาตุไฟเข้าแทรกครับ
ปล.1อ่านแล้วก็นึกถึง กลยุทธ์เหาฉลามของพี่หมอ1 (ลอกหุ้นที่มีนัยยะของคนอื่นแล้วขายตาม) ชนะเลิศแน่นอนฮะ
ปล.2 ถ้าผมอธิบายผิดพลาดไป ก็ถือเป็นความผิดที่ผมมาถ่ายทอดไม่สมบูรณ์เองนะครับ ไม่ได้เกี่ยวกับทางsiamquantแต่อย่างใด
cr.รูปจากเวบเพจ siamquant
ฟังคำตอบของพี่โจ เรื่องข้อกฎหมายของตลาดทุนแล้วรับรู้ถึงอาการที่วัยรุ่นเรียกว่า "พูดแล้วขึ้น" เลยครับ
อ่ะ ทำตัวมีประโยชน์บ้าง...วันก่อนไปนั่งฟังของ siamquant พูดเรื่องการเลือกกองทุนส่วนบุคคล ที่ใช้แนว AI, ROBOT, algo (เขาขายของว่างั้นแหละ)
แต่มีหัวข้อนึงที่น่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆในนี้คือรูปนี้ครับ กราฟบนสุด คือผลตอบแทนกลยุทธ์การลงทุน เน้นหุ้นถูก, (เน้น PBVต่ำ แล้วเลือกหุ้นเข้าซื้อ จุดขายคือถือ1ปีแล้วขาย)
กราฟสีส้ม รองลงมา กลยุทธ์momentum(เน้นbreak high แล้วขายตอนหลุดMA อะไรก็ว่าไป)
กราฟสีเขียวแก่เป็นกลยุทธ์หุ้นเติบโต(เน้นกำไรเติบโตสูงสุด แล้ว ranking เลือกหุ้นเข้าซื้อ)
ส่วนกราฟผลตอบแทน set คือสีดำ อันล่างสุด
เขาสรุปมาว่า
ถ้ากลยุทธ์เราเน้นหุ้นถูก โอกาสที่จุดขาดทุนหนักๆตามตลาดก็มี เพราะอาจจะมีถูกแล้ว มีถูกกว่า (ถ้าไม่ดูคุณภาพเลย), และกลยุทธ์นี้จะกำไรดีมากช่วงที่ตลาดฟื้นตัว จากขาลงหนักๆแบบปี2012, 2014
กลยุทธ์สีส้มแนวmomentum...ข้อดีคือจุดขาดทุน(drawdown)ไม่สูง เพราะมีการเผ่นพันลี้ และwinrateไม่เยอะแต่เน้นกินคำโต เพื่อทดแทนคำเล็กที่ขาดทุน
ถ้าเราเป็นคนชอบหุ้นเติบโตล้วนๆ...ข้อเสียคือช่วงตลาดแย่ก็แย่ตามและเผลอๆหนักกว่าตลาด, ข้อดีคือถ้าจับถูกตัว+คุณภาพก็กำไรเยอะมาก(แต่ตลาดต้องเป็นใจด้วย)
***ข้อสังเกต กลยุทธ์หุ้นเติบโตล้วนๆนี้เริ่มแพ้ตลาดตั้งแต่ต้นปี2017 แสดงว่าตลาดเริ่มไม่เล่นหุ้นเติบโตโดยไม่ดูPEแล้ว***
แต่ทั้ง3กลยุทธ์นี้ ก็ยังมีผลตอบแทนโดยรวม10ปีที่ชนะตลาดแบบมีนัยยะครับ
สรุป ขอให้เรารู้ตัวว่ากลยุทธ์ที่เราใช้คืออะไรกันแน่ แล้วเข้าใจธรรมชาติของมัน...ถ้าจะเปลี่ยนวิธีก็ต้องเข้าใจว่าแต่ละแบบเป็นยังไง ไม่ใช่เปลี่ยนไปมาตามแห่คนอื่นจนธาตุไฟเข้าแทรกครับ
ปล.1อ่านแล้วก็นึกถึง กลยุทธ์เหาฉลามของพี่หมอ1 (ลอกหุ้นที่มีนัยยะของคนอื่นแล้วขายตาม) ชนะเลิศแน่นอนฮะ
ปล.2 ถ้าผมอธิบายผิดพลาดไป ก็ถือเป็นความผิดที่ผมมาถ่ายทอดไม่สมบูรณ์เองนะครับ ไม่ได้เกี่ยวกับทางsiamquantแต่อย่างใด
cr.รูปจากเวบเพจ siamquant
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
You only live once, but if you do it right, once is enough.
-
- Verified User
- โพสต์: 842
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3260
ปล.1ของท่านromeeถูกใจผมฮะ โลน เอ๊ยเหาเฉลามแบบลอกหุ้นที่มีนัยยะของคนอื่น(แต่ขายตามไม่ทัน)เนี่ยนะ
เที่ยวนี้ที่สังเกตดูก็มี
หุ้นมอเตอร์โชว์ผสมสิ่งพิมพ์ชื่อเหมือนรางวัล
ท่านRoMEAotZถือหุ้นอันดับ4 ราวๆ50(สตังค์?,สองสลึงเนี่ยนะ )เล่าให้ฟังว่า
Q4ขาดทุน16ล้าน ไม่มีรายละเอียด น่าจะบวกกลับอะไรสักอย่าง Q1,2,3กำไรดี
ต้นทุนคงที่กดกำไรเยอะ รับล่วงหน้าลดลง คงเพราะไม่อยากให้ส่วนลด
จัดงานล่าสุด ทาทาหายไป กำไรลดไปสิบล้าน แถมไม่ยึดมัดจำเพราะป๋าแกกันเอง
พม่าน่าจะอีกพัก มีกฎว่าต่อไปรถจดทะเบียนจะต้องเป็นพวงมาลัยซ้ายเท่านั้น
เงินสด600ล้านยังรอใช้ให้ดีๆอยู่ จะปันผลจากกำไรสะสมให้หมด
ส่วนตัวกระจายความเสี่ยงอีกครึ่งไปซื้ออสังหา(ที่ดิน,ตึกนะจ๊ะ ไม่ใช่หุ้น)
ตัวแปรเยอะ อะไรที่คาดการณ์ไม่ได้ แปลว่าเราไม่เข้าใจ
ถังแกส(นรก)
Q4ไม่ดี
จุดดีคือขยายจากแปดล้านเป็นสิบล้านใบ (อันดับ1โลกแล้วมั้ยฮะ)ค่าเงินคู่แข่งเริ่มแข็ง
จุดด้อยคือ Q4แย่ ค่าเงินตุรกี(ลูกค้าใหญ่)อ่อนมากจากทะเลาะกับเมกา กำไร10%อาจดีเกินจริง
สร้างโรงงานใหม่เมืองนอกอาจขาดทุนตอนแรกมาก
โรงบาลฟัน(ตัวที่มีโรงบาลนะฮะ CEOจบม.สงขลานี่ล่ะ)
หุ้นร่วงถัวไปหน่อยนึง อยากจะบอกว่าหุ้นที่มีวีไอหลายๆคนเข้าไปเจิม(รึติดดอยฮะ หลบตีนแพรบ..)
ก็เหมือนมีผ้ายันต์หลายๆผืนนั่นแหละ ต่อให้ผ้ายันต์สิบผืน โดนปืนใหญ่ก็ไปเหมือนกัน..
นอกนั้นหุ้นเล็กหุ้นน้อย สมาชิกที่มีข้อมูลเยอะๆก็..
ท่านAnieLeeประกาศเลิกโพสต์แล้วนะฮะ คงไม่ขายเลคเชอร์ด้วยมั้ง เพราะเงินไม่สำคัญเท่ามิตรภาพ ใครอยากรู้ข้อมูลวงในไปผูกมิตรกันเอาเองนะจ๊ะ ล่าสุดท่านจะไปถล่มบมจ.ซอฟท์แวร์(ที่เคยแฉในห้องนี้หน้าก่อนๆ)ในงานAGM ไปเจอกันได้จ้ะ
อีกท่านคือท่านผักกาด อ.ชมว่าข้อมูลเร็ว ,ลึกยังกะไปแอบฟังอยู่ใต้เตียง..
มะเขือเผา(ตั้งชื่อให้เป็นผักๆ เผื่อจะเก่งแบบท่านผักกาดมั่ง) รายงาน
เที่ยวนี้ที่สังเกตดูก็มี
หุ้นมอเตอร์โชว์ผสมสิ่งพิมพ์ชื่อเหมือนรางวัล
ท่านRoMEAotZถือหุ้นอันดับ4 ราวๆ50(สตังค์?,สองสลึงเนี่ยนะ )เล่าให้ฟังว่า
Q4ขาดทุน16ล้าน ไม่มีรายละเอียด น่าจะบวกกลับอะไรสักอย่าง Q1,2,3กำไรดี
ต้นทุนคงที่กดกำไรเยอะ รับล่วงหน้าลดลง คงเพราะไม่อยากให้ส่วนลด
จัดงานล่าสุด ทาทาหายไป กำไรลดไปสิบล้าน แถมไม่ยึดมัดจำเพราะป๋าแกกันเอง
พม่าน่าจะอีกพัก มีกฎว่าต่อไปรถจดทะเบียนจะต้องเป็นพวงมาลัยซ้ายเท่านั้น
เงินสด600ล้านยังรอใช้ให้ดีๆอยู่ จะปันผลจากกำไรสะสมให้หมด
ส่วนตัวกระจายความเสี่ยงอีกครึ่งไปซื้ออสังหา(ที่ดิน,ตึกนะจ๊ะ ไม่ใช่หุ้น)
ตัวแปรเยอะ อะไรที่คาดการณ์ไม่ได้ แปลว่าเราไม่เข้าใจ
ถังแกส(นรก)
Q4ไม่ดี
จุดดีคือขยายจากแปดล้านเป็นสิบล้านใบ (อันดับ1โลกแล้วมั้ยฮะ)ค่าเงินคู่แข่งเริ่มแข็ง
จุดด้อยคือ Q4แย่ ค่าเงินตุรกี(ลูกค้าใหญ่)อ่อนมากจากทะเลาะกับเมกา กำไร10%อาจดีเกินจริง
สร้างโรงงานใหม่เมืองนอกอาจขาดทุนตอนแรกมาก
โรงบาลฟัน(ตัวที่มีโรงบาลนะฮะ CEOจบม.สงขลานี่ล่ะ)
หุ้นร่วงถัวไปหน่อยนึง อยากจะบอกว่าหุ้นที่มีวีไอหลายๆคนเข้าไปเจิม(รึติดดอยฮะ หลบตีนแพรบ..)
ก็เหมือนมีผ้ายันต์หลายๆผืนนั่นแหละ ต่อให้ผ้ายันต์สิบผืน โดนปืนใหญ่ก็ไปเหมือนกัน..
นอกนั้นหุ้นเล็กหุ้นน้อย สมาชิกที่มีข้อมูลเยอะๆก็..
ท่านAnieLeeประกาศเลิกโพสต์แล้วนะฮะ คงไม่ขายเลคเชอร์ด้วยมั้ง เพราะเงินไม่สำคัญเท่ามิตรภาพ ใครอยากรู้ข้อมูลวงในไปผูกมิตรกันเอาเองนะจ๊ะ ล่าสุดท่านจะไปถล่มบมจ.ซอฟท์แวร์(ที่เคยแฉในห้องนี้หน้าก่อนๆ)ในงานAGM ไปเจอกันได้จ้ะ
อีกท่านคือท่านผักกาด อ.ชมว่าข้อมูลเร็ว ,ลึกยังกะไปแอบฟังอยู่ใต้เตียง..
มะเขือเผา(ตั้งชื่อให้เป็นผักๆ เผื่อจะเก่งแบบท่านผักกาดมั่ง) รายงาน
samatah
- romee
- Verified User
- โพสต์: 1850
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3261
เข้าช่วงประกาศงบQ1กันแล้ว
ช่วงต้นปีบรรยากาศ อึมครึม ภาคอสังหาก็กังวลกับเรื่องมาตรการ LVT ที่จะใช้กันต้นเดือนเมษายนนี้ (แต่ราคาหุ้นกลุ่มนี้ จากต้นปีขึ้นมาเยอะมาก), บางคนก็โดนหุ้นPEสูงเล่นงาน, บางคนก็โดนหุ้นที่มีงานในมือ แต่งบออกมาดันไม่มีกำไรซะงั้น
หลายคนก็ปรับกลยุทธ์ กระจายการลงทุน ถือหุ้นเยอะตัวมากขึ้น, ถือเงินสดในมือไว้บ้าง, ไม่ถือหุ้นPEสูง, ไม่ไล่ราคายอมตกรถดีกว่าติดดอย...เอาใจช่วยทุกคนนะครับ(รวมทั้งตัวผมเอง 5555)
เอาข้อมูลหุ้นที่ขึ้นและลงแบบโดดเด่น ช่วงต้นปีกันครับ นับจากต้นปี2019 ถึงวันนี้ (สังเกตว่าจำนวนหุ้นแอบขึ้นมากกว่าหุ้นลง)
บวก30%
MPG CBG TCMC JMART STPI DDD BEC SISB JCKH TACC CPT ETE GRAMMY CHAYO YUASA NER ACAP TVT FN GL AU TIC ACC DIGI TNR SAPPE RPC PRM
AQUA CMO IRCP COMAN KWM AP EPCO BIZ FE TQM MVP JMT TAE TSR JWD ANAN LRH MAJOR SAT VNT
บวกระหว่าง 20-30%
RAM MFEC RS SPVI ALLA RJH KTC SPORT NETBAY III SELIC SUSCO JAS SAWAD FPT LOXLEY SMM DTAC TEAM GGC TKN EIC VPO PAF AJ ICHI KCM EA UBIS FPI NPPG PTG TSE TC BGRIM GOLD COM7 AMANAH PTL STEC BTS FSMART B MCOT INTUCH OTO PPM THCOM RATCH OSP AUCT GULF BROOK AMATAV NWR TTCL VGI SPA SUPER SEAOIL THE ARIP SMART ARROW
ลง มากกว่า20%
PIMO OCEAN SWC TMT HYDRO NMG MORE PACE CHOW TIGER 7UP CPL POST UREKA SIMAT MILL SINGER SSF CSR SMPC SKN ROCK DOD D THANI IT
อีกข่าวทีเป็นข่าวดีของตลาด (มั้ง) คือพรบ.ตลาดหลักทรัพย์ฉบับใหม่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/ ... T_0069.PDF
https://www.efinancethai.com/HotNews/ho ... =h_170419h
ใจความส่วนนึง ก็คือให้อำนาจ กลต. มากขึ้น, รองรับเทคโนโลยี่ในอนาคตมากขึ้น (regulatory sandbox), ออกกองทุนเพื่อพัฒนาความรู้การลงทุน(CMDF)... ลองเข้าไปอ่านดูครับ
(หันไปดูหน่วยงาน ที่ชื่อคล้ายๆกัน...กกต... แล้วแบบ...มองบน )
ก็ลุ้นงบQ1กันต่อไปครับ เจอหุ้นดีงบสวยกระซิบกันมาบ้างนะคร๊าบ อยากแก้พอร์ตติดลบจะแย่ละ
VIพ่อลูกอ่อน นอนดึก รายงาน
ช่วงต้นปีบรรยากาศ อึมครึม ภาคอสังหาก็กังวลกับเรื่องมาตรการ LVT ที่จะใช้กันต้นเดือนเมษายนนี้ (แต่ราคาหุ้นกลุ่มนี้ จากต้นปีขึ้นมาเยอะมาก), บางคนก็โดนหุ้นPEสูงเล่นงาน, บางคนก็โดนหุ้นที่มีงานในมือ แต่งบออกมาดันไม่มีกำไรซะงั้น
หลายคนก็ปรับกลยุทธ์ กระจายการลงทุน ถือหุ้นเยอะตัวมากขึ้น, ถือเงินสดในมือไว้บ้าง, ไม่ถือหุ้นPEสูง, ไม่ไล่ราคายอมตกรถดีกว่าติดดอย...เอาใจช่วยทุกคนนะครับ(รวมทั้งตัวผมเอง 5555)
เอาข้อมูลหุ้นที่ขึ้นและลงแบบโดดเด่น ช่วงต้นปีกันครับ นับจากต้นปี2019 ถึงวันนี้ (สังเกตว่าจำนวนหุ้นแอบขึ้นมากกว่าหุ้นลง)
บวก30%
MPG CBG TCMC JMART STPI DDD BEC SISB JCKH TACC CPT ETE GRAMMY CHAYO YUASA NER ACAP TVT FN GL AU TIC ACC DIGI TNR SAPPE RPC PRM
AQUA CMO IRCP COMAN KWM AP EPCO BIZ FE TQM MVP JMT TAE TSR JWD ANAN LRH MAJOR SAT VNT
บวกระหว่าง 20-30%
RAM MFEC RS SPVI ALLA RJH KTC SPORT NETBAY III SELIC SUSCO JAS SAWAD FPT LOXLEY SMM DTAC TEAM GGC TKN EIC VPO PAF AJ ICHI KCM EA UBIS FPI NPPG PTG TSE TC BGRIM GOLD COM7 AMANAH PTL STEC BTS FSMART B MCOT INTUCH OTO PPM THCOM RATCH OSP AUCT GULF BROOK AMATAV NWR TTCL VGI SPA SUPER SEAOIL THE ARIP SMART ARROW
ลง มากกว่า20%
PIMO OCEAN SWC TMT HYDRO NMG MORE PACE CHOW TIGER 7UP CPL POST UREKA SIMAT MILL SINGER SSF CSR SMPC SKN ROCK DOD D THANI IT
อีกข่าวทีเป็นข่าวดีของตลาด (มั้ง) คือพรบ.ตลาดหลักทรัพย์ฉบับใหม่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/ ... T_0069.PDF
https://www.efinancethai.com/HotNews/ho ... =h_170419h
ใจความส่วนนึง ก็คือให้อำนาจ กลต. มากขึ้น, รองรับเทคโนโลยี่ในอนาคตมากขึ้น (regulatory sandbox), ออกกองทุนเพื่อพัฒนาความรู้การลงทุน(CMDF)... ลองเข้าไปอ่านดูครับ
(หันไปดูหน่วยงาน ที่ชื่อคล้ายๆกัน...กกต... แล้วแบบ...มองบน )
ก็ลุ้นงบQ1กันต่อไปครับ เจอหุ้นดีงบสวยกระซิบกันมาบ้างนะคร๊าบ อยากแก้พอร์ตติดลบจะแย่ละ
VIพ่อลูกอ่อน นอนดึก รายงาน
You only live once, but if you do it right, once is enough.
- AnieLee
- Verified User
- โพสต์: 1436
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3262
เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี มีทติ้งวีไอภาคใต้
บทความนี้ มอบให้ อาจารย์โจ ลูกอิสาน ครับ
มีทติ้งแรก กำเนิด ปี 52
จากเพียงสอง สามคน จนนับสิบ
ร่วมหัวคิด หาหุ้น ละเอียดยิบ
เพื่อพิชิต อิสรภาพ ทางการเงิน
จากวันแรก จนถึง ณ วันนี้
ล้วนก็มี มีทติ้ง ตลอดมา
ให้วิชา ความรู้ แด่ผู้มา
ได้วิชา กลับไป พัฒนาตน
จนวันนี้ ครบรอบ ปีที่สิบ
ชวนให้คิด ถึงงาน ที่ผ่านมา
ล้วนมีคน มากมาย ร่วมสัมมนา
นับเป็นงาน เปี่ยมคุณค่า คู่นักลงทุน
ด้วยน้ำใจ เอื้อเฟื้อ ของอาจารย์
พร้อมทีมงาน สืบสาน งานเรื่อยมา
จนเชื่อว่า มีต่อไป ในภายหน้า
เผยแพร่วิชา การลงทุน เน้นคุณค่าเอย
ทั้ง “อาจารย์โจ ลูกอิสาน”, “อาจารย์กานต์ วรพงศ์” และ “อาจารย์ตี้ ธนะสิน” ร่วมกัน ให้ความรู้
ชี้ให้ดู ตัวอย่างหุ้น อันหลากหลาย
สอนกลเม็ด การลงทุน อย่างแพรวพาย
ล้วนมุ่งหมาย ให้ลูกศิษย์ สำเร็จเอย
พี่จรัล พี่แมว พี่บัวดิน (พร้อมทีมงานที่ไม่ได้เอ่ยนาม) ต่างช่วยกัน จัดมีทติ้ง
แถมต้องวิ่ง ตะเวนหา สถานที่
เพื่อให้มี งานมีทติ้ง ที่ดีดี
เป็นแบบนี้ ตลอดมา ทุก 3 เดือน
เงินค่า งานมีทติ้ง เพียงเล็กน้อย
เก็บหกร้อย ต่อคน นานหลายปี
หลังจากหัก ค่าใช้จ่าย ที่พึงมี
ก็พอมี เงินบริจาค เพื่อสังคม
มีทติ้งนี้ เรามี (อาจารย์)โจ ลูกอิสาน
เป็นแบบอย่าง ให้ความรู้ ให้ความเห็น
ให้แนวทาง ตัวอย่าง ที่ควรเป็น
ล้วนแล้วเป็น ผู้นำทาง แสงสว่างเอย
เลือกเฟ้นครู ถูกคน ถูกแนวทาง
ช่วยปูทาง สู่สำเร็จ เป็นมั่นหมาย
เฝ้าเรียนรู้ ต่อสู้ไป ด้วยใจกาย
เพื่อจุดหมาย อิสรภาพ ทางการเงิน
ผู้ร่วมงาน(มีทติ้ง) เปรียบเหมือน ดั่งพี่น้อง
ทั้งเพื่อนพ้อง ญาติมิตร และสหาย
ช่วยเหลือกัน อบอุ่น มิรู้คลาย
และมุ่งหมาย เอื้อเฟื้อกัน ตลอดไป
ขอบพระคุณ อาจารย์โจ ในโอกาสนี้
ซึ่งทำหน้าที่ ตลอดมา ไม่ขาดสาย
แบ่งปันเวลา ชี้แนะ แสนมากมาย
ลูกศิษย์ได้ ความรู้ดี ทุกไตรมาสเอย
ขออวยพร ให้อาจารย์ มีความสุข
ไร้ความทุกข์ ไร้กังวล ไร้เศร้าหมอง
หวังสิ่งใด จงสมหวัง ดั่งใจปอง
มีเงินทอง มีความสุข สุขภาพแข็งแรง ตลอดไป
บทความนี้ มอบให้ อาจารย์โจ ลูกอิสาน ครับ
มีทติ้งแรก กำเนิด ปี 52
จากเพียงสอง สามคน จนนับสิบ
ร่วมหัวคิด หาหุ้น ละเอียดยิบ
เพื่อพิชิต อิสรภาพ ทางการเงิน
จากวันแรก จนถึง ณ วันนี้
ล้วนก็มี มีทติ้ง ตลอดมา
ให้วิชา ความรู้ แด่ผู้มา
ได้วิชา กลับไป พัฒนาตน
จนวันนี้ ครบรอบ ปีที่สิบ
ชวนให้คิด ถึงงาน ที่ผ่านมา
ล้วนมีคน มากมาย ร่วมสัมมนา
นับเป็นงาน เปี่ยมคุณค่า คู่นักลงทุน
ด้วยน้ำใจ เอื้อเฟื้อ ของอาจารย์
พร้อมทีมงาน สืบสาน งานเรื่อยมา
จนเชื่อว่า มีต่อไป ในภายหน้า
เผยแพร่วิชา การลงทุน เน้นคุณค่าเอย
ทั้ง “อาจารย์โจ ลูกอิสาน”, “อาจารย์กานต์ วรพงศ์” และ “อาจารย์ตี้ ธนะสิน” ร่วมกัน ให้ความรู้
ชี้ให้ดู ตัวอย่างหุ้น อันหลากหลาย
สอนกลเม็ด การลงทุน อย่างแพรวพาย
ล้วนมุ่งหมาย ให้ลูกศิษย์ สำเร็จเอย
พี่จรัล พี่แมว พี่บัวดิน (พร้อมทีมงานที่ไม่ได้เอ่ยนาม) ต่างช่วยกัน จัดมีทติ้ง
แถมต้องวิ่ง ตะเวนหา สถานที่
เพื่อให้มี งานมีทติ้ง ที่ดีดี
เป็นแบบนี้ ตลอดมา ทุก 3 เดือน
เงินค่า งานมีทติ้ง เพียงเล็กน้อย
เก็บหกร้อย ต่อคน นานหลายปี
หลังจากหัก ค่าใช้จ่าย ที่พึงมี
ก็พอมี เงินบริจาค เพื่อสังคม
มีทติ้งนี้ เรามี (อาจารย์)โจ ลูกอิสาน
เป็นแบบอย่าง ให้ความรู้ ให้ความเห็น
ให้แนวทาง ตัวอย่าง ที่ควรเป็น
ล้วนแล้วเป็น ผู้นำทาง แสงสว่างเอย
เลือกเฟ้นครู ถูกคน ถูกแนวทาง
ช่วยปูทาง สู่สำเร็จ เป็นมั่นหมาย
เฝ้าเรียนรู้ ต่อสู้ไป ด้วยใจกาย
เพื่อจุดหมาย อิสรภาพ ทางการเงิน
ผู้ร่วมงาน(มีทติ้ง) เปรียบเหมือน ดั่งพี่น้อง
ทั้งเพื่อนพ้อง ญาติมิตร และสหาย
ช่วยเหลือกัน อบอุ่น มิรู้คลาย
และมุ่งหมาย เอื้อเฟื้อกัน ตลอดไป
ขอบพระคุณ อาจารย์โจ ในโอกาสนี้
ซึ่งทำหน้าที่ ตลอดมา ไม่ขาดสาย
แบ่งปันเวลา ชี้แนะ แสนมากมาย
ลูกศิษย์ได้ ความรู้ดี ทุกไตรมาสเอย
ขออวยพร ให้อาจารย์ มีความสุข
ไร้ความทุกข์ ไร้กังวล ไร้เศร้าหมอง
หวังสิ่งใด จงสมหวัง ดั่งใจปอง
มีเงินทอง มีความสุข สุขภาพแข็งแรง ตลอดไป
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
####################################################
ความสำเร็จจากการลงทุน ไม่ได้เกิดจาก "การซื้อของดี" แต่มาจาก "การซื้อของได้ดี" ต่างหาก
ความสำเร็จจากการลงทุน ไม่ได้เกิดจาก "การซื้อของดี" แต่มาจาก "การซื้อของได้ดี" ต่างหาก
-
- Verified User
- โพสต์: 214
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3263
สวัสดีค่ะ ขออนุญาติเอามาแปะในนี้อีกที
พอดีเล่มนี้อ่านเเล้วเล่าคร่าวๆไว้นานเเล้ว ขออนุญาติเอามาแปะอีกทีในนี้ค่ะ
พอดีมีเคสปรับผู้ตรวจสอบบัญชีของ EY 13.8 ล้านบาท ... เรื่องแบบนี้ในหนังสือเล่มนี้เล่าไว้หลายเคสมากๆค่ะ
https://money2know.com/%E0%B8%A5%E0%B8% ... %E0%B8%B5/
=== The Big Four by Ian Gow & Stuart Kells ===
เป็นเรื่องเกี่ยวกับ auditing firms ยักษ์ใหญ่ 4 แห่ง อันได้แก่ Deloitte, PwC, EY และ KPMG ... เล่าตั้งแต่ประวัติศาตร์ว่าบัญชีกับคนตรวจสอบบัญชีเกิดขึ้นมาได้ยังไงไปจนถึงเล่าดราม่าการล้มละลายของ Lehman brothers ว่าด้วยเกี่ยวกับความบกพร่องของการตรวจสอบบัญชี รวมไปถึงการเข้าไปวางระบบตรวจสอบบัญชีในจีนตอนที่เปิดประเทศใหม่ จนกระทั่งกำลังจะโดนจีนเตะออกมา หลังจากที่ดูดความรู้ไปหมดแล้ว คนเขียนเป็นออสเตรเลีย
***เนื้อหามันจะปนดราม่านิดๆ เพราะฉะนั้น..please do not kill the messenger นะคะ อันนี้ว่าไปตามหนังสือ >< เราเล่าไปเรื่อยๆตามที่จำได้นะคะ ไม่ได้เรียงตามหนังสือเช่นเคย และไม่ใช่ทั้งหมดของหนังสือค่ะ ในหนังสือเคสเยอะ ใช้ศัพท์ค่อนข้างยาก ถ้าสนใจลองไปหาอ่านเพิ่มดูค่ะ ***
.
เรื่องสถาบันการเงินและระบบบัญชีมันเริ่มมาจาก Medici bank ก่อตั้งในเมืองฟลอเรนซ์ (ประเทศอิตาลี ในปัจจุบัน) แบงก์นี้เค้าสนับสนุนการเงินให้พระคารดินัลไต่เต้าตำแหน่งขึ้นไป ทำให้แบงค์นี้กลายเป็นแบงก์ที่ได้รับความเชื่อถือและขยายไปมากที่สุดในยุโรป และสนิทกับพระสันตปาปา พระคาร์ดินัล ถือว่ากุมอำนาจระดับนึง พอขยายสาขามากๆเริ่มมีการทุจริต เลยต้องเริ่มระบบการทำบัญชี และการตรวจสอบขึ้นมา และแบงก์นี้แหละที่เป็นคนคิดเรื่องการบันทึกบัญชี 2 ขา พวก debit, credit
.
แต่หลังจากที่ James Watt คิดเครื่องจักรไอน้ำได้แล้ว เกิดการปฎิวัติอุสาหกรรมในอังกฤษ ทำให้ระบบบัญชีไปเติบโตที่นั่น เกิดการขนส่งระบบรางขึ้นมา เกิดบริษัท railways หลายแห่งในอังกฤษ และมีธุรกิจรายรอบกิจการเดินรถรางด้วย รวมไปถึงเกิดบริษัทที่ล้มละลายจำนวนมากด้วย ทำให้ช่วงนั้นทนายความและนักกฎหมายมีเยอะ และเป็นอาชีพที่มีเกียรติมาก พอคนล้มละลายเป็นคดีความเยอะ ทำให้มีการต้องตรวจสอบการรับจ่าย จึงทำให้นักบัญชีและการตรวจสอบบัญชีเป็นที่ต้องการ แต่สมัยนั้นยังไม่มีการ qualified คุณสมบัติของนักบัญชีและผู้ตรวจสอบ ใครก้อได้ที่ไม่ประสบความสำเร็จในอาชีพอื่น (เช่นช่างทำหมวก ช่างทำรองเท้า) ก้อมาเป็นนักบัญชี ทำให้คนอื่นค่อนข้างดูถูก จนกระทั่ง 1880 เริ่มมีการก่อตั้งสมาคมนักบัญชี ICAEW (Institute of Chartered Accountants in England and Wales) และสร้างมาตรฐานบัญชีขึ้นมา เมื่อมีการลงทุนก่อสร้างรางรถไฟมากขึ้นทำให้รัฐบาลระดมเงินไม่ทัน มีการระดมทุนกันเองของบริษัท railways มีผู้ถือหุ้น มีการออกตราสารหนี้ มีปันผล เมื่อไม่มีระบบจัดการที่ดีทำให้เกิดการโกง ปลอมเอกสารได้ง่ายซึ่งส่วนใหญ่โกงโดยนักบัญชี จนเสื่อมเสียไปทั้งวงการ แต่ทีนี้ก้อเริ่มมีนักบัญชีบางคนที่ไม่โกง และเปิดโปงการทุจริต ยกตัวอย่าง William Deloitte ที่เปิดโปงการโกงทะเบียนหุ้นของ Great Northern Railway (GNR) โดยนาย Leopold Redpath แก้ชื่อหุ้นให้เป็นของตัวเอง และนาย Redpath โดนขับไล่ออกจากอังกฤษในสุด บริษัทเดินรถไฟอื่นๆเลยมาจ้าง Deloitte ให้มาตรวจสอบบริษัทตัวเองบ้าง จนเป็นที่มาของการชำระล้างการโกงในอุตสาหกรรมการรถไฟ รัฐบาลเลยให้มาช่วยร่างกฎหมายควมคุมบริษัทรถไฟ รวมไปถึงกำหนดให้บริษัทรถไฟบันทึกบัญชีแบบ 2 ขาด้วย สมัยนั้น Deloitte และ Waterhouse เลยเป็นบริษัทตรวจสอบบัญชีที่ทรงอิทธิพลมาก
ช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 20 จัดเป็นยุคทองของการบัญชีและขยายไปอเมริกา Deloitte ไปเปิดออฟฟิศในอเมริกาปี 1893 ตรวจสอบบัญชีให้กับ บริษัทที่ทำสบู่กับเทียน ซึ่งต่อมาคือ Procter & Gamble หลังจากเกิดcrash ใน Wall Street ปี 1929 มีการออก พรบ. หลักทรัพย์ออกมา โดยกำหนดให้บัญชีของบริษัทจดทะเบียนต้องถูกตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบอิสระ Price Waterhouse มีการเข้าไปช่วยร่าง GAAP (Generally Accepted Accounting Principles) ให้กับ กลต. รวมไปถึงช่วยร่างอะไรหลายๆอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชี รวมไปถึงการลด uncapped liability ที่นักบัญชีต้องรับผิดชอบผลจากการตรวจสอบบัญชีด้วย
.
ปัจจุบัน Big 4 มีพนักงานรวมกันมากกว่า 1 ล้านคนทั่วโลก (โดยไม่รวม outsource) ในปี 2017, มี 497 บริษัทที่อยู่ใน S&P 500 index ใช้บริการตรวจสอบบัญชีจาก 1 ใน Big 4 รวมไปถึงใช้บริการที่ปรึกษา ขนาด PwC เคลมว่าเค้าให้คำปรึกษากับ 422 บริษัทที่ติด Fortune Global 500 ในปี 2017 กันเลยทีเดียว มันบ่งบอกถึงความเกือบจะเป็น monopoly ของ audit firms เหล่านี้
** ตั้งเเต่สมัยก่อน ..มีการควบรวมกิจการกันเกิดขึ้นเรื่อยๆ ไล่มาจาก
>> Big 8 (1-Arthur Anderson, 2-Arthur Young McClelland Moores & Co, 3 -Coopers & Lybrand, 4 -Deloitte Haskins & Sells, 5 -Ernst & Whinney, 6 -Peat Marwick Mitchell, 7 -Price Waterhouse, 8 -Touche Ross Bailey & Smart )
>> Big 6 (1989 Ernst & Whinney รวมกับ Arthur Young เป็น Ernst & Young (EY), Deloitte, Haskins & Sells รวมกับ Touche Ross เป็น Deloitte & Touche)
>> Big 5 (1998 when Price Waterhouse รวมกับ Coopers & Lybrand เป็น PricewaterhouseCoopers -PwC) โดยมี Arthur Anderson เป็น audit firm ที่มีชื่อเสียงที่สุด เข้มสุด และเค้าเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีให้กับ Enron ด้วย ... แต่พอ Anderson ตกนรกไปพร้อม Enron ก้อเหลือเป็น Big 4 (แต่จะมี Anderson Consulting ที่เหลือรอดออกมาได้ เพราะ split ตัวออกมาทันเวลาภายใต้แบรนด์ใหม่ ชื่อ Accenture นั่นเอง) ต่อมาปี 2005 มี KPMG แอบไปช่วยเรื่องเลี่ยงภาษีให้ลูกค้า โดน US of Justice จับได้ …. แต่ว่าโลกใบนี้ไม่สามารถจะปล่อยให้เหลือแค่ Big 3 ทำให้ KPMG รอดจากการล่มสลาย เหลือแค่โดนปรับไป US$ 456 million
ในหนังสือเค้าจะพูดถึงเคสการโกงของ Enron พอสมควร แต่หนังสือไม่ได้อธิบาย เคส Enron อย่างละเอียด แต่เราเคยโน้ตไว้แล้วจากหนังสือกลบัญชี, บัญชีศรีธนญชัย ของ อ. ดร. ภาพร ค่ะ (กราบขอบพระคุณ อ.ค่ะ)
นอกจากการตรวจสอบบัญชีแล้ว Big 4 ยังรับเป็นที่ปรึกษา และช่วยยื่นเรื่องระบบภาษี รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาให้บริษัทข้ามชาติเลี่ยงภาษี ซึ่งเหล่านี้เป็นธุรกิจที่มีมาร์จิ้นดีกว่าการตวจสอบบัญชี (ซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องใช้แรงงานเยอะ เสี่ยงติดคุก คดีความอีก เลยมีการจ้างเด็กๆเข้ามาฝึกเป็น auditors เพื่อ “leverage” ด้วยๆ เด็กๆที่จบใหม่ที่เข้ามาเป็นผู้ตรวจสอบบัญชี ก้อประหนึ่งแรงงานทาส ทำงานเยอะ กลับดึก (หรือกลับเช้า)ไม่มีโอที ตรวจผิดก้อซวย โดนไล่เบี้ยตลอด แต่ทุกคนที่เข้ามาทำเพราะต้องการปั้น resume เพื่อที่จะเป็นบันไดไปต่อ..ที่ไหนก้อได้ .. อะไรก้อได้สักที่ >//< **อันนี้หนังสือเขาว่านะคะ**
**แต่หลังจากที่เกิดเรื่องราวของ Enron ที่ตอนนั้น Arthur Anderson รับเป็นทั้งบริษัทผู้ตรวจสอบบัญชีและที่ปรึกษาให้ ซึ่งทำให้นักกฎหมายเชื่อว่าผลประโยชน์จากการเป็นที่ปรึกษาให้กับ Enron ทำให้ขาด้านตรวจสอบบัญชีของ Arthur Anderson ทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และไม่อิสระ ... หลังจากที่ Enron ล้มละลาย และเกิดมีการออก พรบ. Sarbox (Sarbanes-Oxley Act หรือเป็นที่รู้จักกันว่า "Public Company Accounting Reform and Investor Protection Act" (in the Senate ) และ "Corporate and Auditing Accountability, Responsibility, and Transparency Act" (in the House) เพื่อช่วยปกป้องนักลงทุน) ออกมา ทำให้ Big 4 บางเจ้าออกจากกิจการที่ปรึกษา อย่าง PwC ขายธุรกิจ consulting ให้กับ IBM, KPMG ขาย KPMG consulting ออก...แต่สุดท้ายแล้ว ต่างก้อกลับเข้ามาทำกันใหม่ (ก้อมาร์จิ้นมันดี)
**ช่วงปี 2008 Financial Crisis บริษัที่ตรวจสอบบัญชีของแบงก์ต่างๆรับเละ .. Deloitte ตรวจ Bear Sterns และ Fannie Mae, KPMG ตรวจ Citigroup, PwC ตรวจ AIG และ Goldman Sachs, EY ตรวจ Lehman Brothers แต่ดูเหมือนว่าเคสของ Lehman Brothers จะหนักที่สุดเพราะ EY ไปรับตรวจให้เค้าอยู่ 7 ปี..จนถึงปี 2007 ได้รับค่าจ้างตรวจไป US$ 185 million ในเคสของ Lehman เกิดจากไปทำ Repo 105 (Repurchase ด้วย level collateralization ที่ระดับ 105%) คือเหมือนไปทำ window dressing ทางการเงินด้วย การขายสินทรัพย์ที่มีมูลค่ากว่าหลายสิบ US$ bn ออกทุกๆสิ้นไตรมาส แล้วซื้อกลับในเวลาอันรวดเร็ว เงินที่ขายทรัพย์สินได้ เอาไปจ่ายหนี้ทำงบการเงินดูมีหนี้สิ้นน้อย ... ในขณะที่ผู้ตรวจสอบบัญชีของ EY รู้อยู่เต็มอกว่า Lehman มีการกระทำลักษณะนี้ แต่ยังรายงานงบการเงินว่าไม่มีอะไร (clean audit)
ที่อังกฤษ ปี 2012 PwC โดนปรับ £1.4 million เพราะไปรายงานว่า JP Morgan Securities ทำตามกฎเกี่ยวกับ Segregation and Separation ของเงินลูกค้าที่อยู่ในกองทุน..ทั้งๆที่ JP Morgan Securities ไม่ได้ทำตามนั้น
ปี 2014 ปู่ Buffett เสียเงิน US$750 million ขายหุ้น Tesco ทิ้งเพราะงบการเงินปี 2013 มีความน่าสงสัย แต่ audit firm ไม่ได้แสดงความเห็นและให้ clean audit
**ส่วนเรื่องการเป็นที่ปรึกษาให้บริษัทข้ามชาติเรื่องการทำภาษี ให้จ่ายภาษีน้อยลงเวลาไปทำกิจการที่ประเทศอื่น โดยช่วยในการหา defendable expense allocation (หาที่ลงให้ คชจ ต่างๆโดยไม่ต้องเสียภาษีและยังสามารถอธิบายได้ เวลาสรรพากรมาตรวจสอบ) จนเป็นที่มาของการรั่วไหลของ LuxLeak (Luxembourg Leak) ในปี 2014 (ซึ่งคล้ายกับ Panama paper ในปี 2015 และ Paradise paper ในปี 2017) เรื่องของเรื่องก้อประมาณว่า พนักงานของ PwC เอาเอกสาร 30,000 หน้าให้นักข่าว มันเป็นเอกสารเกี่ยวกับการที่บริษัทแบบ Accenture, Burberry, FedEx, Heinz, IKEA หรือ Pepsi รวม 343 บริษัท ใช้ประเทศอย่าง Luxembourg ในการจัดการกับ Corporate tax deals
===เอาประมาณนี้พอล่ะกันค่ะ ===
พอดีเล่มนี้อ่านเเล้วเล่าคร่าวๆไว้นานเเล้ว ขออนุญาติเอามาแปะอีกทีในนี้ค่ะ
พอดีมีเคสปรับผู้ตรวจสอบบัญชีของ EY 13.8 ล้านบาท ... เรื่องแบบนี้ในหนังสือเล่มนี้เล่าไว้หลายเคสมากๆค่ะ
https://money2know.com/%E0%B8%A5%E0%B8% ... %E0%B8%B5/
=== The Big Four by Ian Gow & Stuart Kells ===
เป็นเรื่องเกี่ยวกับ auditing firms ยักษ์ใหญ่ 4 แห่ง อันได้แก่ Deloitte, PwC, EY และ KPMG ... เล่าตั้งแต่ประวัติศาตร์ว่าบัญชีกับคนตรวจสอบบัญชีเกิดขึ้นมาได้ยังไงไปจนถึงเล่าดราม่าการล้มละลายของ Lehman brothers ว่าด้วยเกี่ยวกับความบกพร่องของการตรวจสอบบัญชี รวมไปถึงการเข้าไปวางระบบตรวจสอบบัญชีในจีนตอนที่เปิดประเทศใหม่ จนกระทั่งกำลังจะโดนจีนเตะออกมา หลังจากที่ดูดความรู้ไปหมดแล้ว คนเขียนเป็นออสเตรเลีย
***เนื้อหามันจะปนดราม่านิดๆ เพราะฉะนั้น..please do not kill the messenger นะคะ อันนี้ว่าไปตามหนังสือ >< เราเล่าไปเรื่อยๆตามที่จำได้นะคะ ไม่ได้เรียงตามหนังสือเช่นเคย และไม่ใช่ทั้งหมดของหนังสือค่ะ ในหนังสือเคสเยอะ ใช้ศัพท์ค่อนข้างยาก ถ้าสนใจลองไปหาอ่านเพิ่มดูค่ะ ***
.
เรื่องสถาบันการเงินและระบบบัญชีมันเริ่มมาจาก Medici bank ก่อตั้งในเมืองฟลอเรนซ์ (ประเทศอิตาลี ในปัจจุบัน) แบงก์นี้เค้าสนับสนุนการเงินให้พระคารดินัลไต่เต้าตำแหน่งขึ้นไป ทำให้แบงค์นี้กลายเป็นแบงก์ที่ได้รับความเชื่อถือและขยายไปมากที่สุดในยุโรป และสนิทกับพระสันตปาปา พระคาร์ดินัล ถือว่ากุมอำนาจระดับนึง พอขยายสาขามากๆเริ่มมีการทุจริต เลยต้องเริ่มระบบการทำบัญชี และการตรวจสอบขึ้นมา และแบงก์นี้แหละที่เป็นคนคิดเรื่องการบันทึกบัญชี 2 ขา พวก debit, credit
.
แต่หลังจากที่ James Watt คิดเครื่องจักรไอน้ำได้แล้ว เกิดการปฎิวัติอุสาหกรรมในอังกฤษ ทำให้ระบบบัญชีไปเติบโตที่นั่น เกิดการขนส่งระบบรางขึ้นมา เกิดบริษัท railways หลายแห่งในอังกฤษ และมีธุรกิจรายรอบกิจการเดินรถรางด้วย รวมไปถึงเกิดบริษัทที่ล้มละลายจำนวนมากด้วย ทำให้ช่วงนั้นทนายความและนักกฎหมายมีเยอะ และเป็นอาชีพที่มีเกียรติมาก พอคนล้มละลายเป็นคดีความเยอะ ทำให้มีการต้องตรวจสอบการรับจ่าย จึงทำให้นักบัญชีและการตรวจสอบบัญชีเป็นที่ต้องการ แต่สมัยนั้นยังไม่มีการ qualified คุณสมบัติของนักบัญชีและผู้ตรวจสอบ ใครก้อได้ที่ไม่ประสบความสำเร็จในอาชีพอื่น (เช่นช่างทำหมวก ช่างทำรองเท้า) ก้อมาเป็นนักบัญชี ทำให้คนอื่นค่อนข้างดูถูก จนกระทั่ง 1880 เริ่มมีการก่อตั้งสมาคมนักบัญชี ICAEW (Institute of Chartered Accountants in England and Wales) และสร้างมาตรฐานบัญชีขึ้นมา เมื่อมีการลงทุนก่อสร้างรางรถไฟมากขึ้นทำให้รัฐบาลระดมเงินไม่ทัน มีการระดมทุนกันเองของบริษัท railways มีผู้ถือหุ้น มีการออกตราสารหนี้ มีปันผล เมื่อไม่มีระบบจัดการที่ดีทำให้เกิดการโกง ปลอมเอกสารได้ง่ายซึ่งส่วนใหญ่โกงโดยนักบัญชี จนเสื่อมเสียไปทั้งวงการ แต่ทีนี้ก้อเริ่มมีนักบัญชีบางคนที่ไม่โกง และเปิดโปงการทุจริต ยกตัวอย่าง William Deloitte ที่เปิดโปงการโกงทะเบียนหุ้นของ Great Northern Railway (GNR) โดยนาย Leopold Redpath แก้ชื่อหุ้นให้เป็นของตัวเอง และนาย Redpath โดนขับไล่ออกจากอังกฤษในสุด บริษัทเดินรถไฟอื่นๆเลยมาจ้าง Deloitte ให้มาตรวจสอบบริษัทตัวเองบ้าง จนเป็นที่มาของการชำระล้างการโกงในอุตสาหกรรมการรถไฟ รัฐบาลเลยให้มาช่วยร่างกฎหมายควมคุมบริษัทรถไฟ รวมไปถึงกำหนดให้บริษัทรถไฟบันทึกบัญชีแบบ 2 ขาด้วย สมัยนั้น Deloitte และ Waterhouse เลยเป็นบริษัทตรวจสอบบัญชีที่ทรงอิทธิพลมาก
ช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 20 จัดเป็นยุคทองของการบัญชีและขยายไปอเมริกา Deloitte ไปเปิดออฟฟิศในอเมริกาปี 1893 ตรวจสอบบัญชีให้กับ บริษัทที่ทำสบู่กับเทียน ซึ่งต่อมาคือ Procter & Gamble หลังจากเกิดcrash ใน Wall Street ปี 1929 มีการออก พรบ. หลักทรัพย์ออกมา โดยกำหนดให้บัญชีของบริษัทจดทะเบียนต้องถูกตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบอิสระ Price Waterhouse มีการเข้าไปช่วยร่าง GAAP (Generally Accepted Accounting Principles) ให้กับ กลต. รวมไปถึงช่วยร่างอะไรหลายๆอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชี รวมไปถึงการลด uncapped liability ที่นักบัญชีต้องรับผิดชอบผลจากการตรวจสอบบัญชีด้วย
.
ปัจจุบัน Big 4 มีพนักงานรวมกันมากกว่า 1 ล้านคนทั่วโลก (โดยไม่รวม outsource) ในปี 2017, มี 497 บริษัทที่อยู่ใน S&P 500 index ใช้บริการตรวจสอบบัญชีจาก 1 ใน Big 4 รวมไปถึงใช้บริการที่ปรึกษา ขนาด PwC เคลมว่าเค้าให้คำปรึกษากับ 422 บริษัทที่ติด Fortune Global 500 ในปี 2017 กันเลยทีเดียว มันบ่งบอกถึงความเกือบจะเป็น monopoly ของ audit firms เหล่านี้
** ตั้งเเต่สมัยก่อน ..มีการควบรวมกิจการกันเกิดขึ้นเรื่อยๆ ไล่มาจาก
>> Big 8 (1-Arthur Anderson, 2-Arthur Young McClelland Moores & Co, 3 -Coopers & Lybrand, 4 -Deloitte Haskins & Sells, 5 -Ernst & Whinney, 6 -Peat Marwick Mitchell, 7 -Price Waterhouse, 8 -Touche Ross Bailey & Smart )
>> Big 6 (1989 Ernst & Whinney รวมกับ Arthur Young เป็น Ernst & Young (EY), Deloitte, Haskins & Sells รวมกับ Touche Ross เป็น Deloitte & Touche)
>> Big 5 (1998 when Price Waterhouse รวมกับ Coopers & Lybrand เป็น PricewaterhouseCoopers -PwC) โดยมี Arthur Anderson เป็น audit firm ที่มีชื่อเสียงที่สุด เข้มสุด และเค้าเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีให้กับ Enron ด้วย ... แต่พอ Anderson ตกนรกไปพร้อม Enron ก้อเหลือเป็น Big 4 (แต่จะมี Anderson Consulting ที่เหลือรอดออกมาได้ เพราะ split ตัวออกมาทันเวลาภายใต้แบรนด์ใหม่ ชื่อ Accenture นั่นเอง) ต่อมาปี 2005 มี KPMG แอบไปช่วยเรื่องเลี่ยงภาษีให้ลูกค้า โดน US of Justice จับได้ …. แต่ว่าโลกใบนี้ไม่สามารถจะปล่อยให้เหลือแค่ Big 3 ทำให้ KPMG รอดจากการล่มสลาย เหลือแค่โดนปรับไป US$ 456 million
ในหนังสือเค้าจะพูดถึงเคสการโกงของ Enron พอสมควร แต่หนังสือไม่ได้อธิบาย เคส Enron อย่างละเอียด แต่เราเคยโน้ตไว้แล้วจากหนังสือกลบัญชี, บัญชีศรีธนญชัย ของ อ. ดร. ภาพร ค่ะ (กราบขอบพระคุณ อ.ค่ะ)
นอกจากการตรวจสอบบัญชีแล้ว Big 4 ยังรับเป็นที่ปรึกษา และช่วยยื่นเรื่องระบบภาษี รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาให้บริษัทข้ามชาติเลี่ยงภาษี ซึ่งเหล่านี้เป็นธุรกิจที่มีมาร์จิ้นดีกว่าการตวจสอบบัญชี (ซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องใช้แรงงานเยอะ เสี่ยงติดคุก คดีความอีก เลยมีการจ้างเด็กๆเข้ามาฝึกเป็น auditors เพื่อ “leverage” ด้วยๆ เด็กๆที่จบใหม่ที่เข้ามาเป็นผู้ตรวจสอบบัญชี ก้อประหนึ่งแรงงานทาส ทำงานเยอะ กลับดึก (หรือกลับเช้า)ไม่มีโอที ตรวจผิดก้อซวย โดนไล่เบี้ยตลอด แต่ทุกคนที่เข้ามาทำเพราะต้องการปั้น resume เพื่อที่จะเป็นบันไดไปต่อ..ที่ไหนก้อได้ .. อะไรก้อได้สักที่ >//< **อันนี้หนังสือเขาว่านะคะ**
**แต่หลังจากที่เกิดเรื่องราวของ Enron ที่ตอนนั้น Arthur Anderson รับเป็นทั้งบริษัทผู้ตรวจสอบบัญชีและที่ปรึกษาให้ ซึ่งทำให้นักกฎหมายเชื่อว่าผลประโยชน์จากการเป็นที่ปรึกษาให้กับ Enron ทำให้ขาด้านตรวจสอบบัญชีของ Arthur Anderson ทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และไม่อิสระ ... หลังจากที่ Enron ล้มละลาย และเกิดมีการออก พรบ. Sarbox (Sarbanes-Oxley Act หรือเป็นที่รู้จักกันว่า "Public Company Accounting Reform and Investor Protection Act" (in the Senate ) และ "Corporate and Auditing Accountability, Responsibility, and Transparency Act" (in the House) เพื่อช่วยปกป้องนักลงทุน) ออกมา ทำให้ Big 4 บางเจ้าออกจากกิจการที่ปรึกษา อย่าง PwC ขายธุรกิจ consulting ให้กับ IBM, KPMG ขาย KPMG consulting ออก...แต่สุดท้ายแล้ว ต่างก้อกลับเข้ามาทำกันใหม่ (ก้อมาร์จิ้นมันดี)
**ช่วงปี 2008 Financial Crisis บริษัที่ตรวจสอบบัญชีของแบงก์ต่างๆรับเละ .. Deloitte ตรวจ Bear Sterns และ Fannie Mae, KPMG ตรวจ Citigroup, PwC ตรวจ AIG และ Goldman Sachs, EY ตรวจ Lehman Brothers แต่ดูเหมือนว่าเคสของ Lehman Brothers จะหนักที่สุดเพราะ EY ไปรับตรวจให้เค้าอยู่ 7 ปี..จนถึงปี 2007 ได้รับค่าจ้างตรวจไป US$ 185 million ในเคสของ Lehman เกิดจากไปทำ Repo 105 (Repurchase ด้วย level collateralization ที่ระดับ 105%) คือเหมือนไปทำ window dressing ทางการเงินด้วย การขายสินทรัพย์ที่มีมูลค่ากว่าหลายสิบ US$ bn ออกทุกๆสิ้นไตรมาส แล้วซื้อกลับในเวลาอันรวดเร็ว เงินที่ขายทรัพย์สินได้ เอาไปจ่ายหนี้ทำงบการเงินดูมีหนี้สิ้นน้อย ... ในขณะที่ผู้ตรวจสอบบัญชีของ EY รู้อยู่เต็มอกว่า Lehman มีการกระทำลักษณะนี้ แต่ยังรายงานงบการเงินว่าไม่มีอะไร (clean audit)
ที่อังกฤษ ปี 2012 PwC โดนปรับ £1.4 million เพราะไปรายงานว่า JP Morgan Securities ทำตามกฎเกี่ยวกับ Segregation and Separation ของเงินลูกค้าที่อยู่ในกองทุน..ทั้งๆที่ JP Morgan Securities ไม่ได้ทำตามนั้น
ปี 2014 ปู่ Buffett เสียเงิน US$750 million ขายหุ้น Tesco ทิ้งเพราะงบการเงินปี 2013 มีความน่าสงสัย แต่ audit firm ไม่ได้แสดงความเห็นและให้ clean audit
**ส่วนเรื่องการเป็นที่ปรึกษาให้บริษัทข้ามชาติเรื่องการทำภาษี ให้จ่ายภาษีน้อยลงเวลาไปทำกิจการที่ประเทศอื่น โดยช่วยในการหา defendable expense allocation (หาที่ลงให้ คชจ ต่างๆโดยไม่ต้องเสียภาษีและยังสามารถอธิบายได้ เวลาสรรพากรมาตรวจสอบ) จนเป็นที่มาของการรั่วไหลของ LuxLeak (Luxembourg Leak) ในปี 2014 (ซึ่งคล้ายกับ Panama paper ในปี 2015 และ Paradise paper ในปี 2017) เรื่องของเรื่องก้อประมาณว่า พนักงานของ PwC เอาเอกสาร 30,000 หน้าให้นักข่าว มันเป็นเอกสารเกี่ยวกับการที่บริษัทแบบ Accenture, Burberry, FedEx, Heinz, IKEA หรือ Pepsi รวม 343 บริษัท ใช้ประเทศอย่าง Luxembourg ในการจัดการกับ Corporate tax deals
===เอาประมาณนี้พอล่ะกันค่ะ ===
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
-
- Verified User
- โพสต์: 214
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3264
ในหนังสือเค้าจะพูดถึงเคสการโกงของ Enron พอสมควร แต่หนังสือไม่ได้อธิบาย เคส Enron อย่างละเอียด แต่เราเคยโน้ตไว้แล้วจากหนังสือกลบัญชี, บัญชีศรีธนญชัย ของ อ. ดร. ภาพร ค่ะ (กราบขอบพระคุณ อ.ค่ะ)
วาร์ปไปเคส Enron แบบคร่าวๆ
เคสกลบัญชี- จากหนังสือกลบัญชี, บัญชีศรีธนญชัย ของ อ. ดร. ภาพร ค่ะ (กราบขอบพระคุณ อ.ค่ะ)
พยายามเอาแบบสั้นๆ ได้ใจความก้อแล้วกันค่ะ
ROYNET
ROYNET เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI ในปี 2546 ถูกกล่าวหาด้วยความผิด 3 ประการคือ 1) จัดทำข้อมูลทางการเงินที่เป็นเท็จ 2) ใช้ข้อมูลภายใน ในการซื้อขายหุ้น 3) ไม่รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหุ้นทุก 5%
มาดูเฉพาะความผิดแรก ที่จำทำข้อมูลทางบัญชีเป็นเท็จ ROYNET บันทึกรายได้จากการขายบัตร internet ในงบกำไรขาดทุน ไตรมาส 1 ถึง 3 ในปี 2546 รวมทั้งสิ้น 71 ล้านบาท รายงานยอดลูกหนี้ 66 ล้านบาท เมื่อ auditor ไล่ตรวจกลับไปถึงการชำระเงินของลูกหนี้ใน ไตรมาส 3 พบว่าบริษัทได้รับชำระเงินเพียง 8 ล้านบาท .... แสดงว่าบริษัท “บันทึกรายได้เร็วเกินไป” เพราะบัตร internet ที่บันทึกเป็นรายได้นั้น ยังไม่ได้ถูกขายออกไป ... แค่นำไปฝากขายเท่านั้น
เมื่อบริษัทต้องแก้ไขงบ ไตรมาส 3/2546 ตามคำสั่งของ ก.ล.ต. พบว่า กำไรสุทธิที่เคยแสดงไว้ที่ 11 ล้านบาท กลับกลายเป็นขาดทุนสุทธิ 13 ล้านบาท (แสดงว่าบันทึกรายได้สูงเกินไป 24 ล้านบาท) และงบในงวด 9 เดือนแรก ต้องแสดงผลขาดทุนสุทธิ 36 ล้านบาท (จากที่เคยระบุว่า 9 งวด เดือนแรก กำไรสุทธิ 22 ล้านบาท)
ENRON
ก่อตั้งขึ้นในปี 1985 เกิดจากการควบรวมกิจการของ Houston Natural Gas ในแท็กซัส และ InterNorth บริษัทขายแก๊สธรรมชาติในเมืองโอมาฮา เพื่อจัดส่งแก๊สธรรมชาติระหว่างรัฐ Kenneth Lay คือประธานบริษัทคนแรก ...ความยิ่งใหญ่ของบริษัทเริ่มมาจาก เมื่อปี 1989 Lay กับ Skiing (คนหลังนี่เชี่ยวชาญทางด้านการเงิน) ตัดสินใจให้ เอนรอนเริ่มเข้าสู่ธุรกิจการซื้อขายอนุพันธ์ทางการเงิน ไม่นาน เอนรอนกลายเป็นบริษัทผู้ค้าแก๊สธรรมชาติรายใหญ่ รวมไปถึงไฟฟ้า สินค้าโภคภัณฑ์ ให้คำปรึกษาทางอินเตอร์เนทความเร็วสูง และเป็นบริษัท ที่ขายโภคภัณฑ์ผ่านเวบ (ผ่านทางอนุพันธ์) ด้วยความเก่งและใหญ่ ในปี 1993 เอนรอนก้อได้ร่วมกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการของรัฐแคลิฟอร์เนีย (CalPERS) ทำการจัดตั้ง JEDI-1 (Joint Energy Development Investment-1) เพื่อลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงาน และซื้อโรงงานผลิตไฟฟ้าทั่วโลก (ขนาดโรงไฟฟ้าราชบุรีที่บริษัทเราทำ ยังโดนจีบเลย) โดยลงขันคนละ US$ 250M โครงการ JEDI-1 ตอนนั้นกำไรมหาศาล เป็นเงินประมาณ US$ 400M (ผลตอบแทนการลงทุนอยู่ที่ ประมาณ 23%) CalPERS เรียกให้เอนรอนชำระบัญชีและแบ่งผลกำไร ในปี 1997.... แต่เอนรอน (โดย Skiing) ไม่อยากเลิก เพราะเห็นว่าโครงการมันทำกำไรได้มากมาย และยิ่งไปกว่านั้น เค้าต้องการทำ JEDI-2 ขึ้นมาด้วย โดยจะเอาให้ใหญ่กว่า JEDI-1 เป็นสองเท่าอีกต่างหาก (ลงเงินเพิ่มคนละอีกเท่าตัว) ทาง CalPERS ก้อโอเคที่จะลงเงิน US$ 500M สำหรับ JEDI-2 แต่มีข้อแม้ว่า CalPERS ต้องขอถอนผลตอบแทนทั้งหมด US$ 383M ออกจาก JEDI-1 เสียก่อน ... แต่เอนรอนไม่อยากขาย แต่ก้อต้องหาเงินมาคืน ซึ่งการจะเก็บทั้ง 2 โครงการไว้เอนรอนต้องไปกู้เงินมา US$ 500M แต่ถ้าเอนรอนทำแบบนั้น... งบจะไม่สวยเพราะจะมีหนี้สินเพิ่มขึ้นมา US$ 500M ในงบตัวเอง
เอนรอนก้อเลยจัดตั้งบริษัทเฉพาะกิจ เอาหนี้สินส่วนนี้ไปซุกไว้นอกงบการเงินของตัวเอง โดยบริษัทเฉพาะกิจนี้ จะต้องดูเหมือนไม่มีความเกี่ยวข้องกับเอนรอน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องนำงบมาแสดงในงบการเงินรวม ... CHEWCO จึงเกิดขึ้น เพื่อจ่ายเงินจำนวน US$ 383M ให้ CalPERS เพื่อซื้อ JEDI-1 >>> CHEWCO ซึ่งไม่ได้มีตังค์มากขนาดนั้น ก้อไปยืมเงินเอนรอน US$ 132M + กู้ US$240M จากธนาคาร Barclays = US$ 371.5M ยังขาดอีก US$11.5M (หรือ 3%) ซึ่งต้องไปหาจากบุคคลภายนอกมาลงทุน ตามกฎบัญชีของเมกา (ในเมกา จะมีกฎ 3% ซึ่งอนุมานมาจากการตีความของคำถามทางบัญชีเรื่องนึงที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเช่า ... กฎสรุปว่า ผู้เช่า ไม่ต้องนำงบการเงินของ ผู้ให้เช่า มารวมในงบการเงินรวบ ถ้าผู้ให้เช่ามีเงินลงทุนที่มาจากบุคคลภายนอก (ที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้เช่า) เป็นจำนวน 3% ของสินทรัพย์ทั้งหมดของ ผู้ให้เช่า ... พูดง่ายๆก้อคือ ผู้เช่า จะลงทุนและค้ำประกัน ผู้ให้เช่า ได้ไม่เกิน 97% ของสินทรัพย์ทั้งหมดของ ผู้ให้เช่า ....ทีนี้ การตีความนี้ ก้อถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย กลายเป็นเกณฑ์ในการคิดว่าจะการนำ งบการเงินของบริษัทที่เกี่ยวข้อง มารวมหรือไม่)
ทีนี้ ไอ้เงิน 3% (ของสินทรัพย์ทั้งหมดของ CHEWCO) ที่ยังขาดอยู่ ทาง ผบห ก้อจะเอาชื่อเครือญาติมาลงไม่ได้ ... ก้อเลยไปตั้งบริษัท Big River Funding และ Little River Funding ขึ้นมา แล้วเอาเงินของเพื่อนที่อยู่ใต้บังคัญบัญชาไปลงทุน เพื่อให้โครงสร้างดูซับซ้อน โดยใช้ Big River Funding เป็นผู้ลงทุนใน CHEWCO และใช้ Little River Funding เป็นผถห ใน Big River Funding
CHEWCO เอาตังค์ไปจ่าย CalPERS เรียบร้อย และหนี้กว่า US$400M นี้ ไม่เคยปรากฎในงบของเอนรอนเลยแม้แต่เพนนีเดียว
ปัญหามันอยู่ที่ว่า ในการคำนวนว่าเงินลงทุนของ เอนรอนใน CHEWCO จะเกิน 97% หรือไม่นั้น เอนรอนจะต้องนำทั้งเงินกู้ยืมที่เอนรอนเป็นผู้คำประกันให้แก่ CHEWCO และหุ้นส่วน CHEWCO มารวมด้วย ... ดังนั้นเงินประมาณครึ่งนึงของ จำนวน US$ 11.5M ที่ Big River Funding และ ใช้ Little River Funding เอามาลงนั้น ... มาจาก ผบห ของเอนรอนเอง ... จึงเท่ากับว่าเป็นเงินกู้ยืมที่เอนรอนค้ำประกันให้ ... เมื่อเป็นเช่นนี้ แปลว่า เอนรอนคือผู้ลงทุนใน CHEWCO เกินกว่า 97% และต้องนำ CHEWCO เข้ามารวมในงบการเงินของเอนรอน ซึ่งควรทำมาแล้วตั้งแต่ปี 1997... งานนี้บริษัท audit บัญชี อย่าง Andersen ก้อมีส่วนรู้เห็นด้วย เพราะลงชื่อรับรองความถูกต้องมาตลอด (เมื่อก่อนบริษัท audit บัญชี ขนาดใหญ่จะมี 5 ที่ เรียก BIG5>> EY, KPMG, Deloitte, PwC และ Andersen แต่ Andersen ก้อล้มเพราะงานนี้เหมือนกัน)
ปี 2001 เมื่อเอนรอนทำการแก้ไขงบการเงินไตรมาส 3/2000 ด้วยข้อผิดพลาดที่สำคัญ.... โดยการนำงบของ CHEWCO มารวมด้วย ทำให้มีการแสดงผลขาดทุนจำนวน US$ 618M (ก่อนหน้านั้นรายงาน กำไร ไตรมาส 3 อยู่ที่ US$ 292 M)
เท่านั้นแระ ... นรกแตก
วาร์ปไปเคส Enron แบบคร่าวๆ
เคสกลบัญชี- จากหนังสือกลบัญชี, บัญชีศรีธนญชัย ของ อ. ดร. ภาพร ค่ะ (กราบขอบพระคุณ อ.ค่ะ)
พยายามเอาแบบสั้นๆ ได้ใจความก้อแล้วกันค่ะ
ROYNET
ROYNET เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI ในปี 2546 ถูกกล่าวหาด้วยความผิด 3 ประการคือ 1) จัดทำข้อมูลทางการเงินที่เป็นเท็จ 2) ใช้ข้อมูลภายใน ในการซื้อขายหุ้น 3) ไม่รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหุ้นทุก 5%
มาดูเฉพาะความผิดแรก ที่จำทำข้อมูลทางบัญชีเป็นเท็จ ROYNET บันทึกรายได้จากการขายบัตร internet ในงบกำไรขาดทุน ไตรมาส 1 ถึง 3 ในปี 2546 รวมทั้งสิ้น 71 ล้านบาท รายงานยอดลูกหนี้ 66 ล้านบาท เมื่อ auditor ไล่ตรวจกลับไปถึงการชำระเงินของลูกหนี้ใน ไตรมาส 3 พบว่าบริษัทได้รับชำระเงินเพียง 8 ล้านบาท .... แสดงว่าบริษัท “บันทึกรายได้เร็วเกินไป” เพราะบัตร internet ที่บันทึกเป็นรายได้นั้น ยังไม่ได้ถูกขายออกไป ... แค่นำไปฝากขายเท่านั้น
เมื่อบริษัทต้องแก้ไขงบ ไตรมาส 3/2546 ตามคำสั่งของ ก.ล.ต. พบว่า กำไรสุทธิที่เคยแสดงไว้ที่ 11 ล้านบาท กลับกลายเป็นขาดทุนสุทธิ 13 ล้านบาท (แสดงว่าบันทึกรายได้สูงเกินไป 24 ล้านบาท) และงบในงวด 9 เดือนแรก ต้องแสดงผลขาดทุนสุทธิ 36 ล้านบาท (จากที่เคยระบุว่า 9 งวด เดือนแรก กำไรสุทธิ 22 ล้านบาท)
ENRON
ก่อตั้งขึ้นในปี 1985 เกิดจากการควบรวมกิจการของ Houston Natural Gas ในแท็กซัส และ InterNorth บริษัทขายแก๊สธรรมชาติในเมืองโอมาฮา เพื่อจัดส่งแก๊สธรรมชาติระหว่างรัฐ Kenneth Lay คือประธานบริษัทคนแรก ...ความยิ่งใหญ่ของบริษัทเริ่มมาจาก เมื่อปี 1989 Lay กับ Skiing (คนหลังนี่เชี่ยวชาญทางด้านการเงิน) ตัดสินใจให้ เอนรอนเริ่มเข้าสู่ธุรกิจการซื้อขายอนุพันธ์ทางการเงิน ไม่นาน เอนรอนกลายเป็นบริษัทผู้ค้าแก๊สธรรมชาติรายใหญ่ รวมไปถึงไฟฟ้า สินค้าโภคภัณฑ์ ให้คำปรึกษาทางอินเตอร์เนทความเร็วสูง และเป็นบริษัท ที่ขายโภคภัณฑ์ผ่านเวบ (ผ่านทางอนุพันธ์) ด้วยความเก่งและใหญ่ ในปี 1993 เอนรอนก้อได้ร่วมกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการของรัฐแคลิฟอร์เนีย (CalPERS) ทำการจัดตั้ง JEDI-1 (Joint Energy Development Investment-1) เพื่อลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงาน และซื้อโรงงานผลิตไฟฟ้าทั่วโลก (ขนาดโรงไฟฟ้าราชบุรีที่บริษัทเราทำ ยังโดนจีบเลย) โดยลงขันคนละ US$ 250M โครงการ JEDI-1 ตอนนั้นกำไรมหาศาล เป็นเงินประมาณ US$ 400M (ผลตอบแทนการลงทุนอยู่ที่ ประมาณ 23%) CalPERS เรียกให้เอนรอนชำระบัญชีและแบ่งผลกำไร ในปี 1997.... แต่เอนรอน (โดย Skiing) ไม่อยากเลิก เพราะเห็นว่าโครงการมันทำกำไรได้มากมาย และยิ่งไปกว่านั้น เค้าต้องการทำ JEDI-2 ขึ้นมาด้วย โดยจะเอาให้ใหญ่กว่า JEDI-1 เป็นสองเท่าอีกต่างหาก (ลงเงินเพิ่มคนละอีกเท่าตัว) ทาง CalPERS ก้อโอเคที่จะลงเงิน US$ 500M สำหรับ JEDI-2 แต่มีข้อแม้ว่า CalPERS ต้องขอถอนผลตอบแทนทั้งหมด US$ 383M ออกจาก JEDI-1 เสียก่อน ... แต่เอนรอนไม่อยากขาย แต่ก้อต้องหาเงินมาคืน ซึ่งการจะเก็บทั้ง 2 โครงการไว้เอนรอนต้องไปกู้เงินมา US$ 500M แต่ถ้าเอนรอนทำแบบนั้น... งบจะไม่สวยเพราะจะมีหนี้สินเพิ่มขึ้นมา US$ 500M ในงบตัวเอง
เอนรอนก้อเลยจัดตั้งบริษัทเฉพาะกิจ เอาหนี้สินส่วนนี้ไปซุกไว้นอกงบการเงินของตัวเอง โดยบริษัทเฉพาะกิจนี้ จะต้องดูเหมือนไม่มีความเกี่ยวข้องกับเอนรอน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องนำงบมาแสดงในงบการเงินรวม ... CHEWCO จึงเกิดขึ้น เพื่อจ่ายเงินจำนวน US$ 383M ให้ CalPERS เพื่อซื้อ JEDI-1 >>> CHEWCO ซึ่งไม่ได้มีตังค์มากขนาดนั้น ก้อไปยืมเงินเอนรอน US$ 132M + กู้ US$240M จากธนาคาร Barclays = US$ 371.5M ยังขาดอีก US$11.5M (หรือ 3%) ซึ่งต้องไปหาจากบุคคลภายนอกมาลงทุน ตามกฎบัญชีของเมกา (ในเมกา จะมีกฎ 3% ซึ่งอนุมานมาจากการตีความของคำถามทางบัญชีเรื่องนึงที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเช่า ... กฎสรุปว่า ผู้เช่า ไม่ต้องนำงบการเงินของ ผู้ให้เช่า มารวมในงบการเงินรวบ ถ้าผู้ให้เช่ามีเงินลงทุนที่มาจากบุคคลภายนอก (ที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้เช่า) เป็นจำนวน 3% ของสินทรัพย์ทั้งหมดของ ผู้ให้เช่า ... พูดง่ายๆก้อคือ ผู้เช่า จะลงทุนและค้ำประกัน ผู้ให้เช่า ได้ไม่เกิน 97% ของสินทรัพย์ทั้งหมดของ ผู้ให้เช่า ....ทีนี้ การตีความนี้ ก้อถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย กลายเป็นเกณฑ์ในการคิดว่าจะการนำ งบการเงินของบริษัทที่เกี่ยวข้อง มารวมหรือไม่)
ทีนี้ ไอ้เงิน 3% (ของสินทรัพย์ทั้งหมดของ CHEWCO) ที่ยังขาดอยู่ ทาง ผบห ก้อจะเอาชื่อเครือญาติมาลงไม่ได้ ... ก้อเลยไปตั้งบริษัท Big River Funding และ Little River Funding ขึ้นมา แล้วเอาเงินของเพื่อนที่อยู่ใต้บังคัญบัญชาไปลงทุน เพื่อให้โครงสร้างดูซับซ้อน โดยใช้ Big River Funding เป็นผู้ลงทุนใน CHEWCO และใช้ Little River Funding เป็นผถห ใน Big River Funding
CHEWCO เอาตังค์ไปจ่าย CalPERS เรียบร้อย และหนี้กว่า US$400M นี้ ไม่เคยปรากฎในงบของเอนรอนเลยแม้แต่เพนนีเดียว
ปัญหามันอยู่ที่ว่า ในการคำนวนว่าเงินลงทุนของ เอนรอนใน CHEWCO จะเกิน 97% หรือไม่นั้น เอนรอนจะต้องนำทั้งเงินกู้ยืมที่เอนรอนเป็นผู้คำประกันให้แก่ CHEWCO และหุ้นส่วน CHEWCO มารวมด้วย ... ดังนั้นเงินประมาณครึ่งนึงของ จำนวน US$ 11.5M ที่ Big River Funding และ ใช้ Little River Funding เอามาลงนั้น ... มาจาก ผบห ของเอนรอนเอง ... จึงเท่ากับว่าเป็นเงินกู้ยืมที่เอนรอนค้ำประกันให้ ... เมื่อเป็นเช่นนี้ แปลว่า เอนรอนคือผู้ลงทุนใน CHEWCO เกินกว่า 97% และต้องนำ CHEWCO เข้ามารวมในงบการเงินของเอนรอน ซึ่งควรทำมาแล้วตั้งแต่ปี 1997... งานนี้บริษัท audit บัญชี อย่าง Andersen ก้อมีส่วนรู้เห็นด้วย เพราะลงชื่อรับรองความถูกต้องมาตลอด (เมื่อก่อนบริษัท audit บัญชี ขนาดใหญ่จะมี 5 ที่ เรียก BIG5>> EY, KPMG, Deloitte, PwC และ Andersen แต่ Andersen ก้อล้มเพราะงานนี้เหมือนกัน)
ปี 2001 เมื่อเอนรอนทำการแก้ไขงบการเงินไตรมาส 3/2000 ด้วยข้อผิดพลาดที่สำคัญ.... โดยการนำงบของ CHEWCO มารวมด้วย ทำให้มีการแสดงผลขาดทุนจำนวน US$ 618M (ก่อนหน้านั้นรายงาน กำไร ไตรมาส 3 อยู่ที่ US$ 292 M)
เท่านั้นแระ ... นรกแตก
- IndyVI
- Verified User
- โพสต์: 3530
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3265
Investment success doesn’t come from “buying good things,” but rather from “buying things well.
# Howard Mark #
# Howard Mark #
- IndyVI
- Verified User
- โพสต์: 3530
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3267
สรุปหนังสือ “Beating the Street" ของ Peter Lynch
Cr. คุณ VIIM
viewtopic.php?f=1&t=51215
1. คุณจะซื้อหุ้นแบบไหน หุ้นเล็กหรือหุ้นใหญ่ ไม่สำคัญเท่ากับว่าคุณได้ลงทุนในหุ้นแล้ว เพราะประเด็นหุ้นเล็ก หุ้นใหญ่เป็นประเด็นรองจริงๆ วิธีคิด คือ ลงทุนในหุ้นเสียเถอะ ถ้าต้องการผลตอบแทนในระยะยาวที่ดี
2. ลินซ์กล่าวว่า นักลงทุนมือสมัครเล่นที่สามารถเจียดเวลาเพียงไม่มากนักกับการศึกษาบริษัทในอุตสาหกรรมที่เขามีความรู้จะสามารถเอาชนะผู้จัดการกองทุนได้ แถมมาด้วยความสนุกอีกต่างหาก
3. ไม่ว่าคุณจะใช้วิธีไหนก็ตามในการเลือกหุ้นหรือกรองหุ้นลงทุน สุดท้ายแล้วสิ่งที่จะตัดสินว่า คุณจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวก็คือ ความสามารถของคุณในการเพิกเฉยต่อความกังวลกับเรื่องต่างๆในโลกได้ยาวนานพอที่จะทำให้การลงทุนของคุณประสบความสำเร็จ สิ่งที่จะกำหนดชะตากรรมของนักลงทุน ไม่ใช่ความเฉลียวฉลาด แต่เป็นความสามารถในการควบคุมอารมณ์ต่างหาก นักลงทุนขี้ตกใจจะถูกกดดันให้ออกจากตลาดในยามที่ตลาดเต็มไปด้วยข่าวร้าย ไม่ว่าพวกเขาจะเฉลียวฉลาดปานใดก็ตาม
4. กฎข้อ 3 ของลินซ์: อย่าพึ่งซื้อหุ้นตัวไหนจนกว่าคุณจะสามารถอธิบายมันออกมาเป็นภาพวาดได้
5. การซื้อลงทุนในสิ่งที่คุณมีความรู้ ความเข้าใจเป็นหนึ่งในความคิดหลักของพวกเรา และในพอร์ตหุ้นควรจะมีหุ้นปันผลดีอย่างน้อย 1-2 ตัวเสมอ
6. การศึกษารายงานเหล่านี้ทำให้ผมตระหนักว่า หุ้นหลายๆตัวที่ผมได้ขายออกไปหลังจากที่ซื้อมาได้สองสามเดือนเป็นหุ้นที่ผมควรจะถือเอาไว้ยาวนานกว่านั้นมาก นี่ไม่ใช่ความภักดีแบบไม่มีเงื่อนไข แต่เป็นการกอดหุ้นของบริษัทที่ดูน่าสนใจขึ้นเรื่อยๆเอาไว้ รายชื่อหุ้นที่ผมไม่ควรขายออกไป ประกอบด้วย Albertson’s หุ้นโตเร็วที่ราคาได้เพิ่มสูงขึ้น 300 เท่า Toy R US, Pic N Save ที่ได้กล่าวไปแล้ว Warner communications หุ้นที่นักวิเคราะห์ทางเทคนิคแนะนำให้ผมขาย และ Federal Express หุ้นทีผมซื้อมาในราคา $5 และขายทำกำไรไปที่ราคา $10 แล้วก็ได้แต่นั่งมองราคาของมันขึ้นไปที่ $ 70 ภายในระยะเวลา 2 ปี
7. เวลาที่ Lynch พูดคุยกับ CEO ของบริษัทต่างๆเขามักจะจบด้วยคำถามที่ว่า “คุณนับถือคู่แข่งรายไหนของคุณมากที่สุด” ถ้ามีคำตอบมันก็จะเป็นการรับรองความเก่งของบริษัทคู่แข่งที่ทรงพลังมากทีเดียว ในท้ายที่สุด Lynch ก็จะทำการสั่งซื้อหุ้นของบริษัทคู่แข่งของพวกเขาอยู่บ่อยๆ
8. ไม่ว่าคุณจะคิดว่า คุณรู้จักบริษัทดีแค่ไหน มันจะมีบางสิ่งบางอย่างที่จะทำให้คุณรู้สึกประหลาดใจเกิดขึ้นเสมอ
9. หุ้นถูกเป็นสิ่งที่พิเศษสำหรับนักลงทุนพันธ์แท้ ความมั่งคั่งที่ลดลงไป 10-30% ในช่วงที่ตลาดตกต่ำไม่ได้มีความหมายอะไรเลย เราไม่ได้มองการตกลงของตลาดเป็นหายนะ แต่มองมันเป็นโอกาสในการเข้าซื้อหุ้นเพิ่มที่ราคาถูกๆ นี่เป็นเส้นทางที่จะนำไปสู่ความร่ำรวย
10. เมื่อไหร่ที่ความคาดหวังของนักลงทุนมีสูงเกินไปกับบริษัทหนึ่งๆ จนผลการดำเนินงานตามไม่ทัน เมื่อนั้นตลาดก็จะทำการเทขายหุ้นอกมา แล้วเราค่อยไปติดตามดูทีหลังก็ได้ว่ากิจการเป็นอย่างไร มีแนวโน้มการทำกำไรดีขึ้นหรือไม่ อย่าเข้าไปตอนที่หุ้นกำลังร้อนแรง เต็มไปด้วยความคาดหวัง เพราะเราอาจจะอยู่บนดอยได้ อิ อิ
11. นักลงทุนที่พอร์ตเล็ก อาจจะใช้กฎหุ้น 5 ตัวและเลือกซื้อหุ้นเข้าพอร์ตเพียงห้าตัว หากหุ้นตัวหนึ่งของคนให้กำไรคุณ 10 เท่า ขณะที่ราคาหุ้นอีก 4 ตัวไม่ไปไหน พอร์ตของคุณโดยรวมก็โตเป็นสามเท่าแล้ว
12. หากหุ้นมีราคาสูงกว่าเส้นกราฟของผลกำไรของมัน ราคาหุ้นจะไม่ไปไหนหรือไม่ก็จะตกลงมาจนกระทั่งราคาของมันกลับมามีควาสมเหตุสมผลมากยิ่งขึ้น
13. ให้ซื้อหุ้นในตอนที่เส้นราคาหุ้นอยู่ที่เดียวกับหรือต่ำกว่าเส้นผลกำไรและlอย่าซื้อหุ้น หากเส้นราคาอยู่สูงกว่าเส้นกำไร
14. การจำกัดการซื้อขายหุ้นของคุณในบริษัทจำนวนหนึ่งที่คุณสามารถติดตามได้อย่างทั่วถึงเป็นกลยุทธ์ที่ไม่เลวเลยทีเดียว เมื่อครั้งที่คุณได้ซื้อหุ้นตัวหนึ่งมาแล้ว คุณจะได้เรียนรู้บางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับอุตสาหกรรมและบริษัทนี้ คุณจะได้เรียนรู้ว่า บริษัทนี้เป็นอย่างไรบ้างในช่วงที่เกิดสภาวะเศรษฐกิจถดถอย ปัจจัยอะไรบเงที่มีผลต่อการทำกำไรและอื่นๆ ไม่ช้าก็เร็ว ข่าวร้ายจะทำให้ตลาดหุ้นโดยรวมปรับตัวลงและหุ้นตัวเก่าๆที่คุณชอบก็จะกลับมามีราคาถูกอีกครั้ง ซึ่งนั่นจะเป็นโอกาสในการเข้าลงทุนของคุณ
15. หุ้นต้องได้รับการตรวจสอบเป็นระยะๆเพื่อดูว่ามันมีเรื่องราวหรือจุดหักเหอะไรใหม่ๆเกิดขึ้นหรือไม่ หากบริษัทยังไม่ล้มละลาย เรื่องราวก็ยังไม่จบ หุ้นที่คุณเคยมีเมื่อ 10 ปีที่แล้ว หรือ 2 ปีที่แล้ว อาจจะกลับมามีความน่าสนใจในการลงทุนอีกครั้งก็เป็นได้ ดังนั้นการจดบันทึกเป็น diary เรื่องราวเกี่ยวกับหุ้นที่เคยซื้อ เคยขาย และเหตุผลในการซื้อขายก็จะทำให้เราสามารถกลับมาทบทวนได้เสมอ
16. การคัดเลือกหุ้นเป็นทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม การให้น้ำหนักทางด้านใด ด้านหนึ่งมากเกินไปก็จะก่อให้เกิดอันตรายได้ คนที่มุ่งเน้นแต่ในเรื่องของตัวเลขและงบดุลเพียงอย่างเดียว จะมีโอกาสประสบความสำเร็จน้อย เพราะถ้าหากคุณสามารถบอกอนาคตจากการดูงบดุลได้แล้วล่ะก็ นักคณิตศาสตร์และนักบัญชีจะกลายเป็นคนที่ร่ำรวยที่สุดในโลกไปแล้วในขณะนี้
17. เครื่องมือที่ซับซ้อนต่างๆ การใช้บริการข้อมูลของโบรกเกอร์ นักวิเคราะห์ ตามแหล่งข้อมูลต่างๆทั้งที่จ่ายเงินและไม่จ่ายเงินจะไม่มีประโยชน์เลย หากคุณไม่ได้ทำการบ้านเกี่ยวกับบริษัทด้วยตัวเอง เอาเวลาไปเดินตามศูนย์การค้าเพื่อตรวจสอบสินค้า ออกไปเสาะหาข้อมูลจริงๆจะดีกว่าถ้าทำได้ (Scuttlebut)
18. นักลงทุนรายย่อย ไม่จำเป็นต้องซื้อหุ้นเป็นร้อยๆตัวเหมือนผม (Lynch) ทั้งหมดที่พวกเขาต้องการคือ หาหุ้นที่กำไรมากๆสองสามตัวในทุกๆ 10 ปีเท่านั้น
19. ถ้าเราสนใจในบริษัทโตเร็วแห่งหนึ่งแต่ราคาสูงมากเกินไปแล้ว (PE สูงมาก) วิธีการที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์แบบนี้ก็คือ การซื้อหุ้นในจำนวนน้อยๆก่อนและค่อยซื้อเพิ่มในตอนที่ตลาดเกิดการเทขาย และสำหรับหุ้นโตเร็ว คุณสามารถที่จะรอจนเรื่องราวมันชัดเจนแล้วค่อยเข้าไปลงทุน คุณไม่จำเป็นต้องรีบร้อนเข้าไปซื้อหุ้นในตอนเริ่มต้นในตอนที่ร้านกำลังขยายสาขาแค่ 100 สาขา เอาไว้ให้มีความชัดเจนมากขึ้น แล้วค่อยไปลงทุนก็ยังไม่สายเมื่อบริษัทขยายไปแล้ว 200 สาขา แต่ยังโตได้อีกเป็น 400 หรือ 500 หรือแม้กระทั่ง 1000 สาขา
20. หุ้นที่ขึ้นมาแล้ว 10 เท่าไม่ใช่มันจะไปต่อเป็น 20 เท่า 30 เท่าไม่ได้ ถ้าเรื่องราวมันยังดีอยู่ และมันยังโตต่อเนื่อง
21. เทคนิคหนึ่งที่ใช้ได้ผลครั้งแล้วครั้งเล่าก็คือ การรอคอยให้ความคิดเห็นส่วนใหญ่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมหนึ่งๆเปลี่ยนจากไม่ดีกลายมาเป็นแย่สุดๆ จากนั้นก็เข้าไปซื้อหุ้นของบริษัทที่มีความแข็งแกร่งที่สุดในกลุ่ม (แต่ก็ไม่เสมอไปให้ดูประกอบกับข้อมูลที่ว่าสถานการณ์มันกำลังจะดีขึ้น)
22. ในสภาวะที่เศรษฐกิจถดถอยมันไม่ใช่เรื่องแปลกที่ตัวเลข SSS (same store sales) จะมีค่าลดลง แต่จะเป็นเรื่องแปลกถ้าหากพบว่าตัวเลข SSS มีค่าลดลงในสภาวะที่เศรษฐกิจดีขึ้น
23. วิธีการหนึ่งในการประเมินมูลค่าที่แท้จริงของบริษัทก็คือ การเปรียบเทียบ market cap ของบริษัทที่ทำธุรกิจคล้ายๆกัน ดูว่าราคาของบริษัทที่เราสนใจในปัจจุบันมันสมเหตุสมผลหรือไม่ เมื่อเทียบกับบริษัทที่ใกล้เคียง ถ้ามันถูกต่างกันมากก็ให้ทำการวิเคราะห์ต่อว่ามันสมควรแล้วที่ถูก หรือถ้าเราไม่สามารถหาความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ อะไรก็คล้ายกันไปหมด ความสามารถในการทำกำไรก็ไม่ต่างกัน และพบว่ามันถูกแบบไร้เหตุผล ก็ให้ทำการเคาะขวาได้เลย อย่ารอช้าเดี๋ยวราคาหุ้นจะวิ่งหนีก่อน
24. เมื่อไหร่ก็ตามที่แม้กระทั่งนักวิเคราะห์เองก็เริ่มรู้สึกเบื่อ มันจะได้เวลาของการเริ่มซื้อหุ้น
25. S&L (saving and loan) เช่นกลุ่มธนาคาร ตัวเลขที่มีความสำคัญมากๆเช่น equity-to-assets ratio อย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่า 7.5% ยิ่งสูงยิ่งดี ตัวต่อมาคือ เงินปันผล BV PBV < 1 ยิ่งดี เปอร์เซ็นหนี้เสียน้อยๆ เปอร์เซ็นการให้สินเชื่ออสังหาฯเชิงพาณิชย์น้อยๆ กล่าวคือ ต้องดูพอร์ตสินเชื่อว่ามีโอกาสที่จะกลายเป็นหนี้สูญมากน้อยไหน
26. Lynch มักจะชอบกิจการที่ยอดเยี่ยมในอุตสาหกรรมที่ย่ำแย่ เพราะเขามีความเชื่อว่ากิจการเหล่านี้มีความแข็งแกร่ง สามารถรอดพ้นสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยได้ และสามารถได้ market share เพิ่มจากกิจการอื่นๆที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันแต่ได้ล้มหายตายจากไป
27. หากทุกๆอย่างดูเหมือนกันหมดให้ทำการลงทุนในกิจการที่มีรูปสีปรากฏอยู่ในรายงานประจำปีน้อยที่สุด
28. หุ้นศูนย์การค้าให้ดูพื้นที่เช่า ถ้าว่างมากไม่ดี และให้ดูการเซ็นสัญญาเช่าจริงๆเสียก่อน อย่าฟังแต่ข่าวว่าจะมาเช่า ให้ชัวร์ๆก่อนแล้วค่อยเข้าไปซื้อก็ได้ แพงเพิ่มอีกหน่อย แต่มั่นใจดี
29. ปันผลของหุ้นก็ให้ดูความสม่ำเสมอและแนวโน้มควรจะปันผลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามกำไรที่เพิ่มขึ้น หุ้นปันผลดี สม่ำเสมอ มักจะเป็น defensive stock ถ้าราคาลงก็เป็นโอกาสซื้อที่ดี แต่ต้องเช็คให้รอบด้านก่อนซักนิดก่อนซื้อ ก็จะปลอดภัย
30. ไม่ว่าเงินปันผลจะดีแค่ไหน ราคาหุ้นก็จะไม่ค่อยดีนัก หากผลกำไรของบริษัทไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
31. นักลงทุนควรจะตรวจสอบหุ้นทุกตัวในพอร์ตของตัวเองทีละตัว และดูว่ามีเหตุผลอะไรหรื อเปล่าที่จะทำให้ปีหน้ามันดีกว่านี้ หากคุณหาเหตุผลไม่เจอ คำถามที่คุณควรจะถามต่อไปก็คือ ทำไมผมจึงยังถือหุ้นตัวนี้อยู่?
32. การที่บริษัท X ทำการซื้อกิจการทั้งบริษัทของบริษัท Y มา ถ้าบริษัท X ซื้อมาในราคาแพงกว่ามูลค่าทางบัญชีของบริษัท Y บริษัท X จะต้องทำการบันทึก ค่าความนิยม (Goodwill) ในบัญชีสินทรัพย์ของตัวเองและทำการตัดจำหน่ายออกไปในจำนวนปีที่คิดว่าจะได้ประโยชน์จากค่าความนิยมนี้ ซึ่งต้นทุนค่าความนิยมนี้จะเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ซึ่งทำให้กำไรของบริษัทน้อยกว่าความเป็นจริง ดังนั้น การดูงบกระแสเงินสดจะช่วยได้
33. ในบางกรณีบริษัทที่ทำธุรกิจโดยการกู้เงินมาลงทุนและต้องทำการจ่ายดอกเบี้ย ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ กระแสเงินสดอิสระ (FCF) ที่บริษัทสามารถทำได้มีค่ามากกว่าดอกเบี้ยที่ต้องชำระมากๆเช่น สามถึงสี่เท่า ให้มั่นใจได้เลยว่าบริษัทเจ๊งยาก และมั่นคงพอสมควร
34. หุ้นยานยนต์ ในช่วงขาลงจะสังเกตเห็นยอดขายรถจริงจะต่ำกว่ายอดประมาณการมาก และยอดขายจะตกมากกว่าปีก่อนแม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจะดีก็ตาม แต่ในทางกลับกันในสภาวะที่เป็นขาขึ้นของกลุ่มยานยนต์ ยอดขายจริงจะกลับมาสูงกว่ายอดขายประมาณการมาก และขาขึ้นจะกินเวลาประมาณ 4-5 ปี ดังนั้นเราอย่าพึ่งขายหมู ให้พยายามตักตวงสภาวะขาขึ้นก่อน ในทางขาลงระยะเวลาก็จะประมาณสี่ถึงห้าปีเช่นกัน
35. หุ้นในกลุ่มสาธารณูปโภค จะเป็นหุ้นที่ค่อนข้างแข็งแกร่งในแง่ของการไม่ตายไปจากตลาดได้โดยง่าย เพราะมีภาครัฐเข้ามาช่วยดูแลป้องกันการล้มละลายอีกชั้นหนึ่ง ดังนั้นหุ้นในกลุ่มนี้จะน่าสนใจลทุนในสภาวะที่กิจการอยู่ในช่วงยากลำบากและตลาดตกใจเทขายออกมา และสามารถทำกำไรได้อย่างงาม ช่วงเวลาที่ควรเข้าไปซื้อหุ้นในกลุ่มนี้คือเมื่อบริษัทประกาศงดจ่ายเงินปันผลและให้ถือไปจนกระทั่งบริษัทประกาศจ่ายปันผล
36. การที่หุ้นจะสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าที่ผู้คนในตลาดคาดการณ์กันเอาไว้ได้ บริษัทจะต้องได้รับการประเมินจากผู้คนทั่วไปในระดับที่แย่กว่าความเป็นจริง มิฉะนั้นราคาหุ้นมันก็คงจะอยู่ในระดับสูงตั้งแต่ตอนแรกแล้ว เมื่อไหร่ก็ตามที่ความเห็นทั่วๆไปมันออกมาในเชิงลบมากกว่าความเห็นของคุณ คุณจะต้องตรวจสอบข้อมูลซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อให้ตัวคุณเองมั่นใจว่าคุณไม่ได้มองโลกในแง่ดีแบบโง่ๆ
37. หุ้นที่สุดยอดแต่คนยังไม่เห็น ในที่สุดตลาดก็จะเริ่มมองเห็นว่าบริษัทนี้สามารถเติบโตในอัตรา 15-20% ต่อปีได้ ราคาหุ้นได้เพิ่มขึ้นจาก $16 ไปเป็น $ 42 ภายในหนึ่งปี กรณีนี้มันเป็นกรณีที่ความอดทนที่สะสมกันมานานหลายปี มันได้รับผลตอบแทนรวมอยู่ในปีเดียว ซึ่งมันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆในตลาดหุ้น
38. เทคนิคในการเสาะหาหุ้นถูกภายในหุ้นกลุ่มที่น่าสนใจที่มักได้ผลเสมอ คือ การเปรียบเทียบค่า P/E ของบริษัทต่างๆในกลุ่มเดียวกัน และดูตัวที่มีค่า P/E ต่ำสุดและหาเหตุผลให้ได้ว่าทำไมมันถูก ถ้าหาเหตุผลไม่เจอแสดงว่าคุณได้เจอของดีแล้ว
39. หุ้นเครือข่ายร้านอาหาร: บริษัทเครือข่ายร้านอาหารก็เหมือนกับบริษัทค้าปลีกที่จะสามารถเติบโตได้อีก 15-20 ปี แม้ว่าธุรกิจจะดูเหมือนเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันกันสูงมาก แต่กิจการร้านอาหารจะแตกต่างจากกิจการในกลุ่มอิเล็คทรอนิคส์หรือกิจการรองเท้า ซึ่งมันอาจจะถูกกระทบจากการนำสินค้าราคาถูกจากจีนหรือเกาหลีได้ สิ่งที่จะแยกแยะระหว่างความสำเร็จและความล้มเหลวของเครือข่ายร้านอาหาร ก็คือ ผู้บริหารที่มีความสามารถ เงินทุนที่เพียงพอ และการขยายงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและเต็มไปด้วยความระมัดระวัง การขยายงานในธุรกิจนี้จะต้องเป็นไปอย่างช้าๆ แต่มั่นคง ถ้าขยายเร็วเกินไป อาจจะเกิดปัญหาได้ เพราะต้องมีการ train พนักงาน การเลือกทำเลที่เหมาะสม ปัจจัยที่เราจะต้องจับตาดูสำหรับกิจการค้าปลีกก็คือ sales and sales growth, same-store sales growth ต้องเพิ่มขึ้นทุกไตรมาส, D/E ต้องพอเหมาะ
40. หุ้นเครือข่ายร้านอาหารหรือค้าปลีก แม้ว่าจะมีค่า PE ทีสูงเป็น 30 เท่า แต่ก็เป็นหุ้นที่ควรค่าแก่การติดตาม
41. หุ้นของบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานดี แต่อยู่ในธุรกิจที่ถูกรุมล้อมไปด้วยข่าวร้ายสุดๆ สุดท้ายแล้วมันมักจะให้ผลตอบแทนสูงๆ
42. การปฏิเสธหุ้นตัวหนึ่งๆด้วยเหตุผลที่ว่า ราคาของมันได้เพิ่มขึ้นมาเป็นสองเท่าแล้ว สามเท่าแล้ว หรือแม้กระทั่งสี่เท่าแล้ว เมื่อไม่นานมานี้ อาจจะเป็นความผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่ก็เป็นได้ ไม่ว่านักลงทุนนับล้านคนจะได้กำไรหรือขาดทุนจากหุ้น Chrysler เมื่อเดือนที่แล้ว มันก็ไม่ได้มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในเดือนถัดไปเลย ผมพยายามที่จะมองการลงทุนในแต่ละครั้งเหมือนกับว่าหุ้นตัวนั้นไม่เคยมีประวัติการซื้อขายมาก่อนเลยในอดีต ผมจะใช้แนวคิด “พิจารณาที่ราคานี้” ซึ่งราคาที่เคยเกิดขึ้นในช่วงก่อนหน้ามันไม่ได้มีความหมายอะไรเลย สิ่งที่สำคัญ คือ ระดับราคาหุ้นในปัจจุบันที่ $21 - $ 22 มันถูกหรือมันแพง เมื่อเทียบกับศักยภาพในการทำกำไรของบริษัทที่จะทำได้ที่ $5 - $7
43. หุ้นวัฏจักร: คุณไม่สามารถที่จะถือหุ้นวัฎจักรไว้ในลักษณะเดียวกันกับการถือหุ้นในบริษัทค้าปลีกในช่วงที่มันยังสามารถขยายงานอยู่ได้
.
Investment success doesn’t come from “buying good things,” but rather from “buying things well.
# Howard Mark #
# Howard Mark #
- IndyVI
- Verified User
- โพสต์: 3530
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3268
.
Cr. คุณ VIIM
viewtopic.php?f=1&t=51215
การตรวจสอบประจำ 6 เดือน
พอร์ตการลงทุนจะมีสุขภาพที่ดีได้ จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบอยู่เป็นประจำ ซึ่งอาจจะเป็นทุกไตรมาสหรือทุก 6 เดือน โดยการ เกาะติดเรื่องราวของบริษัท และต้องพยายามที่จะหาคำตอบให้กับพื้นฐานสองคำถามต่อไปนี้
1. เมื่อพิจารณาถึงผลกำไรของบริษัทแล้ว ราคาหุ้นของบริษัทยังอยู่ในระดับที่น่าสนใจอยู่หรือป่าว?
2. มีอะไรกำลังเกิดขึ้นในบริษัท ซึ่งจะไปผลักดันให้ผลกำไรของบริษัทเพิ่มสูงขึ้นหรือป่าว?
และคุณต้องได้ข้อสรุปหนึ่งสามข้อนี้ออกมา
1. เรื่องราวของบริษัทดูดีขึ้นและคุณอยากจะซื้อหุ้นเพิ่ม
2. เรื่องราวของบริษัทดูแย่ลงนะ และคุณอยากจะขายหุ้นออกไป
3. เรื่องราวของบริษัทยังคงเหมือนเดิม และคุณจะถือหุ้นนั้นเอาไว้ หรืออยากจะเปลี่ยนไปถือหุ้นที่มีเรื่องราวที่น่าสนใจกว่านี้
กฎสำคัญ 24 ข้อของ Peter Lynch
1. การลงทุนมันเป็นเรื่องที่น่าสนุกและตื่นเต้น แต่มันก็เป็นเรื่องที่เต็มไปด้วยอันตราย หากคุณไม่ได้ลงมือทำอะไรเลย
2. มุมมองการลงทุนที่เหนือกว่าของคุณไม่ได้เป็นสิ่งที่คุณได้มาจาก wall street มันเป็นเรื่องที่คุณมีอยู่แล้วในตัว คุณจะสามารถเอาชนะผู้เชี่ยวชาญได้ หากคุณใช้มุมมองที่เหนือกว่าของคุณไปลงทุนกับกิจการที่คุณมีความเข้าใจเป็นอย่างดี
3. ตลอดช่วงระยะเวลาสามทศวรรษที่ผ่านมา ตลาดหุ้นถูกครอบงำโดยเหล่านักลงทุนมืออาชีพ มันอาจจะฟังดูขัดแย้งกับความเชื่อทั่วๆไป แต่สภาพดังกล่าวมันกลับทำให้การลงทุนของนักลงทุนมือสมัครเล่น มันง่ายขึ้น คุณจะสามารถเอาชนะตลาดได้โดยการละเลยฝูงชน
4. เบื้องหลังของหุ้นทุกตัวก็คือบริษัท จงค้นหาดูว่า บริษัทเหล่านั้นทำธุรกิจอะไรบ้าง
5. บ่อยครั้งที่ราคาหุ้นและความสำเร็จของบริษัทมักจะไม่ไปด้วยกัน อย่างไรก็ตามในระยะยาวแล้ว ราคาหุ้นและความสำเร็จของบริษัทจะไปด้วยกันร้อยเปอร์เซ็นต์เสมอ
6. ก่อนจะทำการซื้อหุ้น คุณต้องรู้ว่า ทำไมคุณต้องซื้อมัน หุ้นตัวนี้กำลังจะขึ้นมันไม่ใช่เหตุผล
7. บริษัทที่ประสบปัญหา มักจะมีเหตุการณ์ที่ผิดคาดเกิดขึ้นอยู่เสมอ
8. การเป็นเจ้าของหุ้นก็จะคล้ายๆกับการมีลูก ดังนั้นอย่ามีมากตัวจนเกินไป ห้าตัวกำลังดีและคุณสามารถติดตามดูแลเรื่องราวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
9. หากคุณไม่สามารถค้นหาบริษัทที่น่าสนใจในการลงทุน การฝากเงินไว้ก่อนก็ไม่เห็นเสียหายอะไรนี่
10. อย่าลงทุนในบริษัทใดๆ โดยที่คุณยังไม่ได้เข้าใจฐานะการเงินของบริษัทนั้น
11. หลีกเลี่ยงหุ้นร้อนอุตสาหกรรมที่ร้อนแรง บริษัทชั้นเยี่ยมในอุตสาหกรรมที่ไม่มีการเติบโต มักจะเป็นหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงๆ
12. สำหรับการลงทุนในบริษัทขนาดเล็ก คุณควรจะรอพวกมันให้มีผลกำไรที่ชัดเจนก่อนแล้วค่อยเข้าไปลงทุน
13. หากคุณจะลงทุนในอุตสาหกรรมที่กำลังประสบปัญหา ให้เลือกบริษัทที่มีงบดุลแข็งแกร่ง และจะสามารถอยู่รอดได้และให้รอจนกว่าจะมีสัญญาณของการฟื้นตัวที่ชัดเจนก่อน อุตสาหกรรมรถม้าและวิทยุเป็นอุตสาหกรรมเป็นอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหาและมันก็ไม่เคยกลับมาอีกเลย
14. เงินลงทุนของคุณ 10,000 บาทในการซื้อหุ้น ทั้งหมดที่คุณจะขาดทุนได้ คือ 10,000 บาท แต่คุณอาจจะได้กำไร 10,000 หรือ 50,000 หรือแม้กระทั่ง 100,000 บาท หากคุณมีความอดทน นักลงทุนทั่วๆไปจะสามารถมุ่งเน้นไปที่บริษัทชั้นดีเพียงสองหรือสามแห่งเท่านั้น คุณค่าของการลงทุนทั้งชีวิตจะอาศัยหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงมากๆเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น
15. ในทุกๆอุตสาหกรรมและในทุกๆพื้นที่ของประเทศ นักลงทุนมือสมัครเล่นจะสามารถพบเจอบริษัทโตเร็วชั้นเยี่ยมได้ก่อนนักลงทุนมืออาชีพนานเลยทีเดียว
16. การตกต่ำของตลาดหุ้นก็ไม่ต่างอะไรกับการเกิดพายุหิมะ หากคุณมีการเตรียมตัวที่ดี มันจะไม่สามารถทำร้ายคุณได้ การตกลงของราหุ้นจะเป็นโอกาสของการซื้อมากกว่าโอกาสของการขาย
17. ใครๆก็มีสติปัญญาสูงพอที่จะทำกำไรจากตลาดหุ้น แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีสภาวะอารมณ์อันเหมาะสม หากคุณมีแนวโน้มที่จะขายทุกสิ่งทุกอย่างอกไปในสภาวะของการตื่นตระหนก คุณก็ควรหลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นซะ
18. มันมีบางสิ่งบางอย่างให้วิตกกังวลอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการคิดวิตกกังวลในช่วงสุดสัปดาห์ และจงละเลยการคาดการณ์การอันเลวร้ายตามรายการโทรทัศน์และรายกาวิทยุต่างๆ ขายหุ้นออกไปก็ต่อเมื่อกิจการของคุณมีพื้นฐานที่เปลี่ยนไปในทางที่แย่ลงหรือเมื่อราคามันขึ้นมาอย่างไร้เหตุผล (overvalue) แต่ไม่ใช่ขายเพราะกลัวว่าฟ้าจะถล่ม
19. หากคุณทำการศึกษาบริษัท 10 แห่ง คุณจะพบบริษัทแห่งหนึ่งที่มีเรื่องราวที่ดีกว่าที่คุณคิด และหากคุณศึกษา 50 แห่ง คุณก็มักจะพบบริษัท 5 แห่งที่ดีกกว่าที่คุณคิด มันมีความประหลาดใจที่น่ายินดีให้เราได้ค้นหาเสมอในตลาดหุ้น ผมหมายถึงบริษัทชั้นดีที่มักถูกมองข้ามโดยตลาด wall street
20. หากคุณไม่ได้ศึกษาบริษัทใดเลย การลงทุนของคุณก็จะเหมือนกับการเดิมพันในการเล่นไพ่โป๊กเกอร์ โดยที่ไม่ได้ดูไพ่
21. เวลาจะอยู่ข้างเดียวกับคุณ หากคุณลงทุนในบริษัทชั้นเยี่ยม คุณสามารถที่จะรอได้ กระทั่งว่าคุณพลาดการลงทุนในหุ้น wal-mart ในช่วงระยะเวลาห้าปีแรก มันก็ยังเป็นหุ้นที่น่าซื้อยู่ในอีกห้าปีต่อมา เวลาจะเป็นศัตรูกับคุณหากคุณซื้อ options
22. หากคุณพบว่าคุณเป็นคนที่มีภาวะอารมณ์ที่เหมาะสมกับการลงทุนในหุ้น แต่ไม่มีเวลาหรือไม่อยากที่จะทำการศึกษาบริษัท ก็สามารถลงทุนในกองทุนหุ้นได้
23. ไม่มีใครที่จะสามารถทำนายอัตราดอกเบี้ย ทิศทางเศรษฐกิจในอนาคตหรือตลาดหุ้นได้ เลิกฟังการคาดการณ์เหล่านั้น และมุ่งเน้นไปยังสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับบริษัทที่คุณกำลังลงทุนอยู่
24. ในระยะยาวแล้ว portfolio ที่ประกอบไปด้วยหุ้นที่ได้รับการคัดสรรอย่างดีแล้วจะให้ผลตอบแทนสูงกว่า portfolio ที่ประกอบไปด้วยตราสารหนี้หรือตลาดเงิน แต่ portfolio ของหุ้นที่ได้รับการคัดสรรมาแบบแย่ๆ จะไม่สามารถให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการเก็บเงินไว้ไต้พรมเสียอีก
Cr. คุณ VIIM
viewtopic.php?f=1&t=51215
การตรวจสอบประจำ 6 เดือน
พอร์ตการลงทุนจะมีสุขภาพที่ดีได้ จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบอยู่เป็นประจำ ซึ่งอาจจะเป็นทุกไตรมาสหรือทุก 6 เดือน โดยการ เกาะติดเรื่องราวของบริษัท และต้องพยายามที่จะหาคำตอบให้กับพื้นฐานสองคำถามต่อไปนี้
1. เมื่อพิจารณาถึงผลกำไรของบริษัทแล้ว ราคาหุ้นของบริษัทยังอยู่ในระดับที่น่าสนใจอยู่หรือป่าว?
2. มีอะไรกำลังเกิดขึ้นในบริษัท ซึ่งจะไปผลักดันให้ผลกำไรของบริษัทเพิ่มสูงขึ้นหรือป่าว?
และคุณต้องได้ข้อสรุปหนึ่งสามข้อนี้ออกมา
1. เรื่องราวของบริษัทดูดีขึ้นและคุณอยากจะซื้อหุ้นเพิ่ม
2. เรื่องราวของบริษัทดูแย่ลงนะ และคุณอยากจะขายหุ้นออกไป
3. เรื่องราวของบริษัทยังคงเหมือนเดิม และคุณจะถือหุ้นนั้นเอาไว้ หรืออยากจะเปลี่ยนไปถือหุ้นที่มีเรื่องราวที่น่าสนใจกว่านี้
กฎสำคัญ 24 ข้อของ Peter Lynch
1. การลงทุนมันเป็นเรื่องที่น่าสนุกและตื่นเต้น แต่มันก็เป็นเรื่องที่เต็มไปด้วยอันตราย หากคุณไม่ได้ลงมือทำอะไรเลย
2. มุมมองการลงทุนที่เหนือกว่าของคุณไม่ได้เป็นสิ่งที่คุณได้มาจาก wall street มันเป็นเรื่องที่คุณมีอยู่แล้วในตัว คุณจะสามารถเอาชนะผู้เชี่ยวชาญได้ หากคุณใช้มุมมองที่เหนือกว่าของคุณไปลงทุนกับกิจการที่คุณมีความเข้าใจเป็นอย่างดี
3. ตลอดช่วงระยะเวลาสามทศวรรษที่ผ่านมา ตลาดหุ้นถูกครอบงำโดยเหล่านักลงทุนมืออาชีพ มันอาจจะฟังดูขัดแย้งกับความเชื่อทั่วๆไป แต่สภาพดังกล่าวมันกลับทำให้การลงทุนของนักลงทุนมือสมัครเล่น มันง่ายขึ้น คุณจะสามารถเอาชนะตลาดได้โดยการละเลยฝูงชน
4. เบื้องหลังของหุ้นทุกตัวก็คือบริษัท จงค้นหาดูว่า บริษัทเหล่านั้นทำธุรกิจอะไรบ้าง
5. บ่อยครั้งที่ราคาหุ้นและความสำเร็จของบริษัทมักจะไม่ไปด้วยกัน อย่างไรก็ตามในระยะยาวแล้ว ราคาหุ้นและความสำเร็จของบริษัทจะไปด้วยกันร้อยเปอร์เซ็นต์เสมอ
6. ก่อนจะทำการซื้อหุ้น คุณต้องรู้ว่า ทำไมคุณต้องซื้อมัน หุ้นตัวนี้กำลังจะขึ้นมันไม่ใช่เหตุผล
7. บริษัทที่ประสบปัญหา มักจะมีเหตุการณ์ที่ผิดคาดเกิดขึ้นอยู่เสมอ
8. การเป็นเจ้าของหุ้นก็จะคล้ายๆกับการมีลูก ดังนั้นอย่ามีมากตัวจนเกินไป ห้าตัวกำลังดีและคุณสามารถติดตามดูแลเรื่องราวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
9. หากคุณไม่สามารถค้นหาบริษัทที่น่าสนใจในการลงทุน การฝากเงินไว้ก่อนก็ไม่เห็นเสียหายอะไรนี่
10. อย่าลงทุนในบริษัทใดๆ โดยที่คุณยังไม่ได้เข้าใจฐานะการเงินของบริษัทนั้น
11. หลีกเลี่ยงหุ้นร้อนอุตสาหกรรมที่ร้อนแรง บริษัทชั้นเยี่ยมในอุตสาหกรรมที่ไม่มีการเติบโต มักจะเป็นหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงๆ
12. สำหรับการลงทุนในบริษัทขนาดเล็ก คุณควรจะรอพวกมันให้มีผลกำไรที่ชัดเจนก่อนแล้วค่อยเข้าไปลงทุน
13. หากคุณจะลงทุนในอุตสาหกรรมที่กำลังประสบปัญหา ให้เลือกบริษัทที่มีงบดุลแข็งแกร่ง และจะสามารถอยู่รอดได้และให้รอจนกว่าจะมีสัญญาณของการฟื้นตัวที่ชัดเจนก่อน อุตสาหกรรมรถม้าและวิทยุเป็นอุตสาหกรรมเป็นอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหาและมันก็ไม่เคยกลับมาอีกเลย
14. เงินลงทุนของคุณ 10,000 บาทในการซื้อหุ้น ทั้งหมดที่คุณจะขาดทุนได้ คือ 10,000 บาท แต่คุณอาจจะได้กำไร 10,000 หรือ 50,000 หรือแม้กระทั่ง 100,000 บาท หากคุณมีความอดทน นักลงทุนทั่วๆไปจะสามารถมุ่งเน้นไปที่บริษัทชั้นดีเพียงสองหรือสามแห่งเท่านั้น คุณค่าของการลงทุนทั้งชีวิตจะอาศัยหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงมากๆเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น
15. ในทุกๆอุตสาหกรรมและในทุกๆพื้นที่ของประเทศ นักลงทุนมือสมัครเล่นจะสามารถพบเจอบริษัทโตเร็วชั้นเยี่ยมได้ก่อนนักลงทุนมืออาชีพนานเลยทีเดียว
16. การตกต่ำของตลาดหุ้นก็ไม่ต่างอะไรกับการเกิดพายุหิมะ หากคุณมีการเตรียมตัวที่ดี มันจะไม่สามารถทำร้ายคุณได้ การตกลงของราหุ้นจะเป็นโอกาสของการซื้อมากกว่าโอกาสของการขาย
17. ใครๆก็มีสติปัญญาสูงพอที่จะทำกำไรจากตลาดหุ้น แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีสภาวะอารมณ์อันเหมาะสม หากคุณมีแนวโน้มที่จะขายทุกสิ่งทุกอย่างอกไปในสภาวะของการตื่นตระหนก คุณก็ควรหลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นซะ
18. มันมีบางสิ่งบางอย่างให้วิตกกังวลอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการคิดวิตกกังวลในช่วงสุดสัปดาห์ และจงละเลยการคาดการณ์การอันเลวร้ายตามรายการโทรทัศน์และรายกาวิทยุต่างๆ ขายหุ้นออกไปก็ต่อเมื่อกิจการของคุณมีพื้นฐานที่เปลี่ยนไปในทางที่แย่ลงหรือเมื่อราคามันขึ้นมาอย่างไร้เหตุผล (overvalue) แต่ไม่ใช่ขายเพราะกลัวว่าฟ้าจะถล่ม
19. หากคุณทำการศึกษาบริษัท 10 แห่ง คุณจะพบบริษัทแห่งหนึ่งที่มีเรื่องราวที่ดีกว่าที่คุณคิด และหากคุณศึกษา 50 แห่ง คุณก็มักจะพบบริษัท 5 แห่งที่ดีกกว่าที่คุณคิด มันมีความประหลาดใจที่น่ายินดีให้เราได้ค้นหาเสมอในตลาดหุ้น ผมหมายถึงบริษัทชั้นดีที่มักถูกมองข้ามโดยตลาด wall street
20. หากคุณไม่ได้ศึกษาบริษัทใดเลย การลงทุนของคุณก็จะเหมือนกับการเดิมพันในการเล่นไพ่โป๊กเกอร์ โดยที่ไม่ได้ดูไพ่
21. เวลาจะอยู่ข้างเดียวกับคุณ หากคุณลงทุนในบริษัทชั้นเยี่ยม คุณสามารถที่จะรอได้ กระทั่งว่าคุณพลาดการลงทุนในหุ้น wal-mart ในช่วงระยะเวลาห้าปีแรก มันก็ยังเป็นหุ้นที่น่าซื้อยู่ในอีกห้าปีต่อมา เวลาจะเป็นศัตรูกับคุณหากคุณซื้อ options
22. หากคุณพบว่าคุณเป็นคนที่มีภาวะอารมณ์ที่เหมาะสมกับการลงทุนในหุ้น แต่ไม่มีเวลาหรือไม่อยากที่จะทำการศึกษาบริษัท ก็สามารถลงทุนในกองทุนหุ้นได้
23. ไม่มีใครที่จะสามารถทำนายอัตราดอกเบี้ย ทิศทางเศรษฐกิจในอนาคตหรือตลาดหุ้นได้ เลิกฟังการคาดการณ์เหล่านั้น และมุ่งเน้นไปยังสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับบริษัทที่คุณกำลังลงทุนอยู่
24. ในระยะยาวแล้ว portfolio ที่ประกอบไปด้วยหุ้นที่ได้รับการคัดสรรอย่างดีแล้วจะให้ผลตอบแทนสูงกว่า portfolio ที่ประกอบไปด้วยตราสารหนี้หรือตลาดเงิน แต่ portfolio ของหุ้นที่ได้รับการคัดสรรมาแบบแย่ๆ จะไม่สามารถให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการเก็บเงินไว้ไต้พรมเสียอีก
Investment success doesn’t come from “buying good things,” but rather from “buying things well.
# Howard Mark #
# Howard Mark #
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3269
สงครามการค้า: สมุดปกขาวกับสัญญาณรบจากจีน?
เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา กองโฆษกของรัฐบาลจีนได้เผยแพร่สมุดปกขาวเกี่ยวกับจุดยืนของรัฐบาลจีนในเรื่องสงครามการค้า
จุดยืนมี 4 ข้อครับ คือ 1. การเจรจาต้องอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียม 2. การเจรจาต้องอาศัยความสุจริตใจ 3. จีนจะไม่ยอมถอยในเรื่องที่เป็นหลักการ 4. ความท้าทายจากสงครามการค้าจะไม่สามารถหยุดยั้งการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนได้
ในสมุดปกขาว ยังพูดจากมุมจีนว่าสหรัฐฯ ได้เปลี่ยนท่าทีกลับไปกลับมาในการเจรจาถึง 3 ครั้ง และโยนความผิดว่าสหรัฐฯ ทำให้การเจรจาล้มเหลว (ส่วนสหรัฐฯ ก่อนหน้านี้บอกว่าเป็นเพราะจีนเองกลับลำในช่วงสุดท้าย)
จีนย้ำว่า ถ้าสหรัฐฯ พร้อมเจรจาเมื่อไรภายใต้หลักความเท่าเทียมและสุจริตใจ จีนเปิดประตูรอเสมอ แต่ถ้าสหรัฐฯ เลือกจะรบ จีนเองก็จะสู้กลับให้ถึงที่สุด!
ในการแถลงข่าวเปิดสมุดปกขาว มีนักข่าวถาม รมช. พาณิชย์ของจีนว่า ฝ่ายสหรัฐฯ บอกว่าสงครามการค้าครั้งนี้ ฝ่ายจีนจะเป็นผู้แพ้ ท่านเห็นด้วยหรือไม่? ท่านรมช. ตอบอย่างคมคายว่า สงครามการค้านั้นมีแต่แพ้ทั้งคู่ ไม่มีฝั่งใดชนะหรอก!
ผมมีข้อสังเกตเกี่ยวกับสมุดปกขาวของจีน ดังนี้ครับ
1.รัฐบาลจีนใช้สมุดปกขาวสื่อสารกับประชาคมโลกก็จริง แต่ที่สำคัญกว่านั้น คือต้องการใช้สมุดปกขาวสื่อสารกับคนจีนในประเทศด้วยครับ
รัฐบาลจีนต้องการสื่อสารกับคนในประเทศว่า ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อมาจากฝั่งสหรัฐฯ (ไม่ใช่ความผิดของรัฐบาลจีน) และเมื่อเป็นเช่นนี้ รัฐบาลจีนก็พร้อมยืนหยัดต่อสู้ หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า ภาษาที่ใช้รอบนี้แรงขึ้นจากการแถลงในอดีต ชนิดที่บอกว่าถ้าเอ็งจะรบ ก็เข้ามาเลย!
ในสมุดปกขาว จีนยังพูดถึงหลักการสำคัญว่าสหรัฐฯ ต้องเคารพอำนาจอธิปไตยของจีน ซึ่งสะกิดต่อมความรู้สึกของคนจีนกลับไปที่ประวัติศาสตร์ช่วงที่ตะวันตกรังแกจีนและบังคับให้จีนทำสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมในช่วงปลายราชวงศ์ชิง
ข่าวลือก่อนหน้านี้มีว่า ดีลจีน-สหรัฐฯ ล่ม เพราะสหรัฐฯ ต้องการบันทึกในข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ถ้าในอนาคตจีนไม่สามารถปรับปรุงตัวในเรื่องต่างๆ จนสหรัฐฯ พึงพอใจ (เช่น การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา, การยอมเปิดบางภาคเศรษฐกิจของจีนให้นักลงทุนสหรัฐฯ เข้ามาลงทุน) รัฐบาลสหรัฐฯ สงวนสิทธิที่จะกลับมาขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน โดยที่จีนสัญญาว่าจะไม่ขึ้นภาษีตอบโต้
ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงและพรรคคอมมิวนิสต์มองว่า ถ้าขืนยอมตกลงไปอย่างนี้ ก็จะเสียหน้ามาก ศัตรูทางการเมืองในพรรคอาจโจมตีว่า เข้าข่ายทำสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม แถมคนจีนชาตินิยมทั้งหลายอาจไม่พอใจ ทั้งหมดจึงเป็นเหตุให้ต้องย้ำแล้วย้ำอีกในสมุดปกขาวว่า การเจรจาต่อไปนี้ต้องยึดหลักความเท่าเทียม
ข้อสังเกตข้อที่ 2. สมุดปกขาวของจีนเน้นพูดเรื่องสงครามการค้าในมิติเศรษฐกิจและในมุมเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก แต่หลีกเลี่ยงที่จะกล่าวหาว่าสหรัฐฯ ใช้สงครามการค้าเป็นฉากบังหน้าเพื่อต่อรองเรื่องอื่น
นักวิเคราะห์หลายรายมองว่า แท้จริงแล้ว จีน-สหรัฐฯ ขัดแย้งเชิงลึกในทางการเมืองและความมั่นคง มหาอำนาจเก่าอย่างสหรัฐฯ เห็นว่าการผงาดขึ้นมาของมหาอำนาจใหม่อย่างจีนเป็นภัยคุกคามเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน
สมุดปกขาวสะท้อนว่า จากฝั่งของจีน รัฐบาลจีนพยายามตีกรอบการเจรจาให้อยู่ที่เรื่องเศรษฐกิจการค้าเท่านั้น และไม่เอาเรื่องอื่นมาปะปน หรือไม่ยกระดับว่านี่เป็นเรื่องมากกว่าการค้า
นักวิชาการจีนท่านหนึ่งมองว่า ทั้งสหรัฐฯ และจีนต่างก็มีไพ่เด็ดอยู่ในมือทั้งคู่ ถ้าจะยกระดับเป็นสงครามเย็น ความขัดแย้งจะไม่มีวันจบ ดังนั้น เฉพาะหน้าควรจำกัดกรอบเป็นเรื่องการค้า และแสวงความร่วมมือด้านการค้าที่เป็นประโยชน์กับทั้ง 2 ฝ่ายให้ได้
แต่คำถามก็คือ ทางสหรัฐฯ จะเห็นเช่นนี้ด้วยหรือไม่ เพราะยิ่งวัน ยิ่งอ่านทวีตของพี่ทรัมป์ หลายคนยิ่งงงว่า สหรัฐฯ ทำสงครามการค้าเพื่ออะไรกันแน่ จนนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ตอนนี้มองเป็นเรื่องการเมืองและความมั่นคงไปแล้ว บางคนถึงกับมองว่า ไพ่สงครามการค้าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ใหญ่ของสหรัฐฯ ที่ต้องการปิดล้อมจีน รวมทั้งเอามาใช้ต่อรองเรื่องอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นให้จีนช่วยคุยกับเกาหลีเหนือ เรื่องความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ และเรื่องไต้หวัน
3.ข้อสังเกตสุดท้าย การที่จีนออกสมุดปกขาวในช่วงนี้สะท้อนว่า ในระยะสั้น คงจะไม่มีการเจรจาหรือการยอมถอย แต่ในระยะยาว จีนพร้อมเปิดประตูสู่การเจรจาเสมอ
นักวิชาการจีนส่วนหนึ่งวิจารณ์ว่า รัฐบาลจีนออกสมุดปกขาวเร็วไป น่าจะรอปลายเดือนนี้ค่อยออกก็ได้ พอออกมาตอนนี้ยิ่งเท่ากับราดน้ำมันลงในกองเพลิง ไฟความขัดแย้งในระยะสั้นคงยิ่งโหมหนัก
รัฐบาลจีนเตรียมตัวขึ้นภาษีตอบโต้ รวมทั้งเตรียมออกมาตรการจัดการบริษัทยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ แบบที่สหรัฐฯ ทำกับหัวเว่ย (ตอนนี้มีข่าวลือว่า รัฐบาลจีนจะตรวจสอบบริษัท Fed-Ex รวมทั้งอาจเลิกใช้ซอฟต์แวร์ของ Microsoft) อันนี้ก็ต้องรอดูครับว่า พี่สีแกกำลังเลียนแบบยุทธวิธีเขียนเสือให้วัวกลัวแบบพี่ทรัมป์หรือเปล่า
สงครามการค้ายกก่อนหน้านี้ เนื่องจากตอนนั้นยังเป็นช่วงขาขึ้นของเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมทั้งการขึ้นภาษีรอบก่อนยังจำกัดเฉพาะสินค้าบางประเภทเท่านั้น คนในสหรัฐฯ จึงยังไม่รู้สึกเจ็บตัวจากสงครามการค้าเท่าใดนัก แต่เมื่อตอนนี้ความขัดแย้งเริ่มยกระดับ โดยสหรัฐฯ ขึ้นภาษีระลอกใหม่ และจีนเตรียมยกระดับการตอบโต้ สุดท้ายหนีไม่พ้นหรอกครับที่ผู้บริโภคในสหรัฐฯ จะเริ่มรู้สึก บริษัทใหญ่ๆ ของสหรัฐฯ จะเริ่มเจ็บ และที่สำคัญ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะเริ่มร่วงหนักขึ้น จีนมองว่าถึงตอนนั้น ทรัมป์ก็คงต้องหันกลับมาเจรจา
แต่วางท่าจะตีกันเต็มสูบแบบนี้ ก่อนที่ทั้งสองฝ่ายจะถูกกดดันให้กลับมาเจรจากัน ก็คงเจ็บหนักไม่น้อยหน้ากันทั้งคู่ครับT
เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา กองโฆษกของรัฐบาลจีนได้เผยแพร่สมุดปกขาวเกี่ยวกับจุดยืนของรัฐบาลจีนในเรื่องสงครามการค้า
จุดยืนมี 4 ข้อครับ คือ 1. การเจรจาต้องอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียม 2. การเจรจาต้องอาศัยความสุจริตใจ 3. จีนจะไม่ยอมถอยในเรื่องที่เป็นหลักการ 4. ความท้าทายจากสงครามการค้าจะไม่สามารถหยุดยั้งการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนได้
ในสมุดปกขาว ยังพูดจากมุมจีนว่าสหรัฐฯ ได้เปลี่ยนท่าทีกลับไปกลับมาในการเจรจาถึง 3 ครั้ง และโยนความผิดว่าสหรัฐฯ ทำให้การเจรจาล้มเหลว (ส่วนสหรัฐฯ ก่อนหน้านี้บอกว่าเป็นเพราะจีนเองกลับลำในช่วงสุดท้าย)
จีนย้ำว่า ถ้าสหรัฐฯ พร้อมเจรจาเมื่อไรภายใต้หลักความเท่าเทียมและสุจริตใจ จีนเปิดประตูรอเสมอ แต่ถ้าสหรัฐฯ เลือกจะรบ จีนเองก็จะสู้กลับให้ถึงที่สุด!
ในการแถลงข่าวเปิดสมุดปกขาว มีนักข่าวถาม รมช. พาณิชย์ของจีนว่า ฝ่ายสหรัฐฯ บอกว่าสงครามการค้าครั้งนี้ ฝ่ายจีนจะเป็นผู้แพ้ ท่านเห็นด้วยหรือไม่? ท่านรมช. ตอบอย่างคมคายว่า สงครามการค้านั้นมีแต่แพ้ทั้งคู่ ไม่มีฝั่งใดชนะหรอก!
ผมมีข้อสังเกตเกี่ยวกับสมุดปกขาวของจีน ดังนี้ครับ
1.รัฐบาลจีนใช้สมุดปกขาวสื่อสารกับประชาคมโลกก็จริง แต่ที่สำคัญกว่านั้น คือต้องการใช้สมุดปกขาวสื่อสารกับคนจีนในประเทศด้วยครับ
รัฐบาลจีนต้องการสื่อสารกับคนในประเทศว่า ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อมาจากฝั่งสหรัฐฯ (ไม่ใช่ความผิดของรัฐบาลจีน) และเมื่อเป็นเช่นนี้ รัฐบาลจีนก็พร้อมยืนหยัดต่อสู้ หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า ภาษาที่ใช้รอบนี้แรงขึ้นจากการแถลงในอดีต ชนิดที่บอกว่าถ้าเอ็งจะรบ ก็เข้ามาเลย!
ในสมุดปกขาว จีนยังพูดถึงหลักการสำคัญว่าสหรัฐฯ ต้องเคารพอำนาจอธิปไตยของจีน ซึ่งสะกิดต่อมความรู้สึกของคนจีนกลับไปที่ประวัติศาสตร์ช่วงที่ตะวันตกรังแกจีนและบังคับให้จีนทำสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมในช่วงปลายราชวงศ์ชิง
ข่าวลือก่อนหน้านี้มีว่า ดีลจีน-สหรัฐฯ ล่ม เพราะสหรัฐฯ ต้องการบันทึกในข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ถ้าในอนาคตจีนไม่สามารถปรับปรุงตัวในเรื่องต่างๆ จนสหรัฐฯ พึงพอใจ (เช่น การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา, การยอมเปิดบางภาคเศรษฐกิจของจีนให้นักลงทุนสหรัฐฯ เข้ามาลงทุน) รัฐบาลสหรัฐฯ สงวนสิทธิที่จะกลับมาขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน โดยที่จีนสัญญาว่าจะไม่ขึ้นภาษีตอบโต้
ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงและพรรคคอมมิวนิสต์มองว่า ถ้าขืนยอมตกลงไปอย่างนี้ ก็จะเสียหน้ามาก ศัตรูทางการเมืองในพรรคอาจโจมตีว่า เข้าข่ายทำสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม แถมคนจีนชาตินิยมทั้งหลายอาจไม่พอใจ ทั้งหมดจึงเป็นเหตุให้ต้องย้ำแล้วย้ำอีกในสมุดปกขาวว่า การเจรจาต่อไปนี้ต้องยึดหลักความเท่าเทียม
ข้อสังเกตข้อที่ 2. สมุดปกขาวของจีนเน้นพูดเรื่องสงครามการค้าในมิติเศรษฐกิจและในมุมเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก แต่หลีกเลี่ยงที่จะกล่าวหาว่าสหรัฐฯ ใช้สงครามการค้าเป็นฉากบังหน้าเพื่อต่อรองเรื่องอื่น
นักวิเคราะห์หลายรายมองว่า แท้จริงแล้ว จีน-สหรัฐฯ ขัดแย้งเชิงลึกในทางการเมืองและความมั่นคง มหาอำนาจเก่าอย่างสหรัฐฯ เห็นว่าการผงาดขึ้นมาของมหาอำนาจใหม่อย่างจีนเป็นภัยคุกคามเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน
สมุดปกขาวสะท้อนว่า จากฝั่งของจีน รัฐบาลจีนพยายามตีกรอบการเจรจาให้อยู่ที่เรื่องเศรษฐกิจการค้าเท่านั้น และไม่เอาเรื่องอื่นมาปะปน หรือไม่ยกระดับว่านี่เป็นเรื่องมากกว่าการค้า
นักวิชาการจีนท่านหนึ่งมองว่า ทั้งสหรัฐฯ และจีนต่างก็มีไพ่เด็ดอยู่ในมือทั้งคู่ ถ้าจะยกระดับเป็นสงครามเย็น ความขัดแย้งจะไม่มีวันจบ ดังนั้น เฉพาะหน้าควรจำกัดกรอบเป็นเรื่องการค้า และแสวงความร่วมมือด้านการค้าที่เป็นประโยชน์กับทั้ง 2 ฝ่ายให้ได้
แต่คำถามก็คือ ทางสหรัฐฯ จะเห็นเช่นนี้ด้วยหรือไม่ เพราะยิ่งวัน ยิ่งอ่านทวีตของพี่ทรัมป์ หลายคนยิ่งงงว่า สหรัฐฯ ทำสงครามการค้าเพื่ออะไรกันแน่ จนนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ตอนนี้มองเป็นเรื่องการเมืองและความมั่นคงไปแล้ว บางคนถึงกับมองว่า ไพ่สงครามการค้าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ใหญ่ของสหรัฐฯ ที่ต้องการปิดล้อมจีน รวมทั้งเอามาใช้ต่อรองเรื่องอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นให้จีนช่วยคุยกับเกาหลีเหนือ เรื่องความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ และเรื่องไต้หวัน
3.ข้อสังเกตสุดท้าย การที่จีนออกสมุดปกขาวในช่วงนี้สะท้อนว่า ในระยะสั้น คงจะไม่มีการเจรจาหรือการยอมถอย แต่ในระยะยาว จีนพร้อมเปิดประตูสู่การเจรจาเสมอ
นักวิชาการจีนส่วนหนึ่งวิจารณ์ว่า รัฐบาลจีนออกสมุดปกขาวเร็วไป น่าจะรอปลายเดือนนี้ค่อยออกก็ได้ พอออกมาตอนนี้ยิ่งเท่ากับราดน้ำมันลงในกองเพลิง ไฟความขัดแย้งในระยะสั้นคงยิ่งโหมหนัก
รัฐบาลจีนเตรียมตัวขึ้นภาษีตอบโต้ รวมทั้งเตรียมออกมาตรการจัดการบริษัทยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ แบบที่สหรัฐฯ ทำกับหัวเว่ย (ตอนนี้มีข่าวลือว่า รัฐบาลจีนจะตรวจสอบบริษัท Fed-Ex รวมทั้งอาจเลิกใช้ซอฟต์แวร์ของ Microsoft) อันนี้ก็ต้องรอดูครับว่า พี่สีแกกำลังเลียนแบบยุทธวิธีเขียนเสือให้วัวกลัวแบบพี่ทรัมป์หรือเปล่า
สงครามการค้ายกก่อนหน้านี้ เนื่องจากตอนนั้นยังเป็นช่วงขาขึ้นของเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมทั้งการขึ้นภาษีรอบก่อนยังจำกัดเฉพาะสินค้าบางประเภทเท่านั้น คนในสหรัฐฯ จึงยังไม่รู้สึกเจ็บตัวจากสงครามการค้าเท่าใดนัก แต่เมื่อตอนนี้ความขัดแย้งเริ่มยกระดับ โดยสหรัฐฯ ขึ้นภาษีระลอกใหม่ และจีนเตรียมยกระดับการตอบโต้ สุดท้ายหนีไม่พ้นหรอกครับที่ผู้บริโภคในสหรัฐฯ จะเริ่มรู้สึก บริษัทใหญ่ๆ ของสหรัฐฯ จะเริ่มเจ็บ และที่สำคัญ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะเริ่มร่วงหนักขึ้น จีนมองว่าถึงตอนนั้น ทรัมป์ก็คงต้องหันกลับมาเจรจา
แต่วางท่าจะตีกันเต็มสูบแบบนี้ ก่อนที่ทั้งสองฝ่ายจะถูกกดดันให้กลับมาเจรจากัน ก็คงเจ็บหนักไม่น้อยหน้ากันทั้งคู่ครับT
-
- Verified User
- โพสต์: 214
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3270
สอนลูกแบบไหนในยุคดิจิตัล
==Futuration by ดร.สันติธาร เสถียรไทย==
บางคนเรียกเค้าว่าอัจฉริยะ บินมาจากสิงคโปร์เพื่องานนี้ (จริงๆเราว่าพิธีกรก้อพูดเว่อร์ไป เค้ามาพูดงาน Tech Sauce พรุ่งนี้ 19-June-19 ด้วยนะ) ..มุมมองงี้คมมาก ทั้งๆที่ใช้ภาษาธรรมดาๆค่ะ
จากที่เค้าแนะนำตัว ดร. สันติธาร เสถียรไทย นักเศรษฐศาสตร์ (ดาวรุ่งของเอเชีย) เคยทำงานที่ธนาคาร Credit Suisse 8 ปีในตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดทีมวิเคราะห์ ปัจจุบันเป็นผู้บริหารของบริษัท SEA Group ที่เป็นแม่ของ Garena, Shopee และ AirPlay
ตอนย้ายมาทำที่ SEA Group ตำแหน่งที่เค้าเป็นนี่ไม่เคยมีมาก่อน แต่ Founder คุยด้วยแล้วชอบ อยากให้มาทำด้วย แต่ไม่รู้จะลงในตำแหน่งไหน บอกให้ไปคิดมาว่าตัวเองจะเข้ามาทำตำแหน่งอะไรในบริษัท.... สร้างตำแหน่งด้วยตัวเอง (ย้ายจากการเงิน มาทำ Tech) จบตรีเศรษฐศาสตร์จาก LSE, โทเอก ฮาร์วาร์ด ได้รางวัลวิทยานิพนธ์ยอดเยี่ยม
หนังสือที่เขียนจะเขียนแนวพ่อคุยกับลูกเพราะต้องการสื่อถึงลูกที่กำลังจะโตขึ้นไปเจออะไร ในอนาคต
-เดิมโลกเป็นยุคการค้า ทำอุตสาหกรรมผลิตมาเพื่อขาย>> ต่อมาเป็นยุคการเงิน (มักเกิดวิกฤตการเงินบ่อยๆ เช่น เตกิล่า, ต้มยำกุ้ง, แฮมเบอร์เกอร์...ชื่ออาหารทั้งนั้น) >> เข้าสู่ยุคปัจจุบันคือยุคที่โลกเชื่อมกันด้วย Data
..อยากรู้ว่าโลกเป็นยุคอะไร ให้ดูหน้าตาของบริษัทที่เป็น Topๆ หรือดูว่านักเรียนอยากไปเรียนต่อที่ไหน เมื่อก่อนอยากเรียน MBA เดี๋ยวนี้อยากเรียน Data science, อยากไปทำบริษัท Tech
-เดิมบริษัทTech อยู่อเมริกา ตอนนี้ย้ายขั้วมาเป็นจีน
มหาอำนาจที่เเข่งขันกันอยู่ทำให้ประเทศเล็กๆมีอำนาจต่อรองมากขึ้น อย่างเช่นอินโดนีเซียต่อรองรถไฟความเร็วสูงกับจีน
-การค้าออนไลน์ของเอเชียคิดเป็นสัดส่วนเพียง 2-3% เท่านั้น ในขณะที่อเมริกาเป็น 1x% จีนเป็น 2x%... แปลว่าไทยตามหลังจีนอยู่ 8 ปี
-จากรายงาน Internet report 2019 ของ Mary Meeker ราชินีแห่งเทค เค้าจะอัพเดททุกปี ถึงรายงานมันจะดูน่าเบื่อแต่คนทั่วไปจะใช้อันนี้เป็น
guideline แนวโน้มอุตสาหกรรมตลอด...ปี 2019 มีความพิเศษคือเป็นครั้งแรกที่ คนใช้อินเตอร์เนทมีจำนวนมากกว่าคนไม่ใช้เนท
แปลว่าเรื่องง่ายๆที่เกี่ยวกับเนทเราทำไปหมดแล้ว
-บริษัทที่เป็น platform ยิ่งทำ ยิ่งคนใช้เยอะ ยิ่งมีมูลค่าเยอะเพราะมีnetwork effect พวกstart up เริ่มไม่แข่งกันเองเเล้ว หันมาจับมือกันรวมทั้งไป
จับมือกับบริษัทใหญ่ๆด้วย เช่นกับ Bank การปล่อยกู้เริ่มเปลี่ยนจาก collateral-based loan >> information-based loan คือไม่ต้องมีหลักประกัน
แต่ใช้ข้อมูลพฤติกรรมเราแทน อย่าง Ant financial ของ Alibaba
-บริษัทที่จะถูก disrupted ไปก่อนคือพวกที่ไม่ตื่นตัว ไม่ยอม disrupted ตัวเอง ยกตัวอย่าง Gerena เมื่อก่อนไปซื้อเกมมาปรับแต่ง ตอนนี้ยอมเปิด
กว้างให้พนักงานพัฒนาเกมเอง จน free fly ติดอันดับ Top 5 และเป็นเกมที่ถูกdownload แล้ว 450 ล้านครั้ง มีคนเล่นวันละ 50 ล้านคน
แล้วไปฮิตแถบลาตินอเมริกา
.. SEA Group listed ใน NYSE มีมูลค่าเทียบเท่ายูนิคอร์นแล้ว
-Shopee เข้ามาทีหลัง Lazada แต่ด้วยคอนเซป we run กล้าเปิดตัวเวบไซต์พร้อมกัน 7 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยที่แต่ละประเทศมีภาษาและฟังก์ชั่นของตัวเอง ซึ่งตอนนั้นถือว่าเสี่ยงมาก แต่ตอนนี้ประสบความสำเร็จแล้ว
-ชอบที่ Kai Fu Lee พูดว่า AI ไม่ได้จะมาแทนที่คน แต่มันเป็นสิ่งที่บอกว่า..อะไรที่ทำให้เราเป็นคน (แตกต่างจากหุ่นยนต์)
เค้าคิดได้ตอนป่วยเป็นมะเร็งใกล้จะตาย มาคิดว่าอะไรคือความเป็นคน..
1)คนมี creativity ความคิดสร้างสรรค์
2)คนมี compassion คือความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ
ดึงทักษะความเป็นคนออกมาใช้เพื่อเอาชนะ AI
-ระบบการศึกษาปัจจุบันมันเตรียมคนเพื่ออุตสาหกรรมยุคเก่า เรียนเพื่อลดความผิดพลาด (ของกระบวนการผลิต) แต่ปัจจุบันเรียนเพื่อ learn how to learn..เพื่อเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะ 60% ของอาชีพในอนาคตจะไม่ใช่อาชีพที่มีในทุกวันนี้(ซึ่งก้อยังไม่รู้ว่ามันจะเป็นอาชีพอะไรบ้าง) ดังนั้นวันนี้ต้องเรียนเพื่อที่รู้ว่าล้มแล้วลุกขึ้นใหม่ได้
ที่ Sweden เปิด Museum of Failed Innovation เช่นซอส Heize เคยทำสีเขียว Colgate เคยออกลาซานญ่าแช่เเข็งเพื่อที่จะบอกว่าแปรงฟันด้วย
Colgate แล้วกินลาซานญ่าอร่อยขึ้น...Sweden ต้องการจะบอกคนในประเทศว่ามันเป็น Museum ที่รวบรวมความคิดสร้างสรรค์ ต้อง failed กันมาก่อนทั้งนั้น
ค่านิยมทั้งไทยและสิงคโปร์ในปัจจุบันไม่นิยมความล้มเหลว..ห้ามล้มเหลว ซึ่งมันปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์
เพราะความคิดสร้างสรรค์มันต้องล้มเหลวมาก่อน
-มีบทความหรือหนังสืออะไรสักอย่างบอกว่า มหาวิทยาลัยจะเดินตามโลกดนตรี..โลกดนตรีมันถูก disrupted ไปก่อนเพื่อน ไม่มีเทป ไม่มี CD แล้ว อยากฟังเพลงไหนก้อจ่ายแค่เพลงนั้น มหาวิทยาลัยก้อเช่นกัน จะจบปริญญาไม่ต้องเรียนตามหลักสูตรแบบเดิมๆเเล้ว อยากลงคอร์สไหนก้อลงเลย อยากเรียนกฎหมาย การเงิน data science ก้อลงไปตามรายวิชา
..เป็นไปได้ว่าการสมัครงานในอนาคตไม่ต้องใช้ใบปริญญา
-ต่อไปบริษัทจะมองหาคนที่มี mindset แบบ C O R E
C-Coordination ทำงานกับทีมได้
O-Open mindset เปิดกว้าง อีโก้ต่ำๆหน่อย
RE- Resilient ยืดหยุ่น ทนทาน เหมือนหนังสือชื่อ GRIT คืออึด อดทน วิริยะอุตสาหะ พลาดแล้วต้องทนได้
-Mindset ของการเรียนรู้ตลอดชีวิตคือ
1)ลด Ego ของตัวเองลงบ้าง, humble ถ่อมตัว ฟังความเห็นคนอื่นบ้าง
2)Curiosity สงสัย ตั้งคำถาม
3)Courage กล้าที่จะออกนอกกรอบที่เราไม่คุ้นเคย
เปิดรับความคิดของคนรุ่นเก่าบ้าง..เพราะเค้าก้อมี Data ..แต่มันอยู่ในรูปของ 'ประสบการณ์'
-ชอบอ่านหนังสือของ Yuval Harari...เค้าเหมือนมนุษย์ต่างดาว มองเข้ามาในหมู่มนุษย์
จบค่า^^
==Futuration by ดร.สันติธาร เสถียรไทย==
บางคนเรียกเค้าว่าอัจฉริยะ บินมาจากสิงคโปร์เพื่องานนี้ (จริงๆเราว่าพิธีกรก้อพูดเว่อร์ไป เค้ามาพูดงาน Tech Sauce พรุ่งนี้ 19-June-19 ด้วยนะ) ..มุมมองงี้คมมาก ทั้งๆที่ใช้ภาษาธรรมดาๆค่ะ
จากที่เค้าแนะนำตัว ดร. สันติธาร เสถียรไทย นักเศรษฐศาสตร์ (ดาวรุ่งของเอเชีย) เคยทำงานที่ธนาคาร Credit Suisse 8 ปีในตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดทีมวิเคราะห์ ปัจจุบันเป็นผู้บริหารของบริษัท SEA Group ที่เป็นแม่ของ Garena, Shopee และ AirPlay
ตอนย้ายมาทำที่ SEA Group ตำแหน่งที่เค้าเป็นนี่ไม่เคยมีมาก่อน แต่ Founder คุยด้วยแล้วชอบ อยากให้มาทำด้วย แต่ไม่รู้จะลงในตำแหน่งไหน บอกให้ไปคิดมาว่าตัวเองจะเข้ามาทำตำแหน่งอะไรในบริษัท.... สร้างตำแหน่งด้วยตัวเอง (ย้ายจากการเงิน มาทำ Tech) จบตรีเศรษฐศาสตร์จาก LSE, โทเอก ฮาร์วาร์ด ได้รางวัลวิทยานิพนธ์ยอดเยี่ยม
หนังสือที่เขียนจะเขียนแนวพ่อคุยกับลูกเพราะต้องการสื่อถึงลูกที่กำลังจะโตขึ้นไปเจออะไร ในอนาคต
-เดิมโลกเป็นยุคการค้า ทำอุตสาหกรรมผลิตมาเพื่อขาย>> ต่อมาเป็นยุคการเงิน (มักเกิดวิกฤตการเงินบ่อยๆ เช่น เตกิล่า, ต้มยำกุ้ง, แฮมเบอร์เกอร์...ชื่ออาหารทั้งนั้น) >> เข้าสู่ยุคปัจจุบันคือยุคที่โลกเชื่อมกันด้วย Data
..อยากรู้ว่าโลกเป็นยุคอะไร ให้ดูหน้าตาของบริษัทที่เป็น Topๆ หรือดูว่านักเรียนอยากไปเรียนต่อที่ไหน เมื่อก่อนอยากเรียน MBA เดี๋ยวนี้อยากเรียน Data science, อยากไปทำบริษัท Tech
-เดิมบริษัทTech อยู่อเมริกา ตอนนี้ย้ายขั้วมาเป็นจีน
มหาอำนาจที่เเข่งขันกันอยู่ทำให้ประเทศเล็กๆมีอำนาจต่อรองมากขึ้น อย่างเช่นอินโดนีเซียต่อรองรถไฟความเร็วสูงกับจีน
-การค้าออนไลน์ของเอเชียคิดเป็นสัดส่วนเพียง 2-3% เท่านั้น ในขณะที่อเมริกาเป็น 1x% จีนเป็น 2x%... แปลว่าไทยตามหลังจีนอยู่ 8 ปี
-จากรายงาน Internet report 2019 ของ Mary Meeker ราชินีแห่งเทค เค้าจะอัพเดททุกปี ถึงรายงานมันจะดูน่าเบื่อแต่คนทั่วไปจะใช้อันนี้เป็น
guideline แนวโน้มอุตสาหกรรมตลอด...ปี 2019 มีความพิเศษคือเป็นครั้งแรกที่ คนใช้อินเตอร์เนทมีจำนวนมากกว่าคนไม่ใช้เนท
แปลว่าเรื่องง่ายๆที่เกี่ยวกับเนทเราทำไปหมดแล้ว
-บริษัทที่เป็น platform ยิ่งทำ ยิ่งคนใช้เยอะ ยิ่งมีมูลค่าเยอะเพราะมีnetwork effect พวกstart up เริ่มไม่แข่งกันเองเเล้ว หันมาจับมือกันรวมทั้งไป
จับมือกับบริษัทใหญ่ๆด้วย เช่นกับ Bank การปล่อยกู้เริ่มเปลี่ยนจาก collateral-based loan >> information-based loan คือไม่ต้องมีหลักประกัน
แต่ใช้ข้อมูลพฤติกรรมเราแทน อย่าง Ant financial ของ Alibaba
-บริษัทที่จะถูก disrupted ไปก่อนคือพวกที่ไม่ตื่นตัว ไม่ยอม disrupted ตัวเอง ยกตัวอย่าง Gerena เมื่อก่อนไปซื้อเกมมาปรับแต่ง ตอนนี้ยอมเปิด
กว้างให้พนักงานพัฒนาเกมเอง จน free fly ติดอันดับ Top 5 และเป็นเกมที่ถูกdownload แล้ว 450 ล้านครั้ง มีคนเล่นวันละ 50 ล้านคน
แล้วไปฮิตแถบลาตินอเมริกา
.. SEA Group listed ใน NYSE มีมูลค่าเทียบเท่ายูนิคอร์นแล้ว
-Shopee เข้ามาทีหลัง Lazada แต่ด้วยคอนเซป we run กล้าเปิดตัวเวบไซต์พร้อมกัน 7 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยที่แต่ละประเทศมีภาษาและฟังก์ชั่นของตัวเอง ซึ่งตอนนั้นถือว่าเสี่ยงมาก แต่ตอนนี้ประสบความสำเร็จแล้ว
-ชอบที่ Kai Fu Lee พูดว่า AI ไม่ได้จะมาแทนที่คน แต่มันเป็นสิ่งที่บอกว่า..อะไรที่ทำให้เราเป็นคน (แตกต่างจากหุ่นยนต์)
เค้าคิดได้ตอนป่วยเป็นมะเร็งใกล้จะตาย มาคิดว่าอะไรคือความเป็นคน..
1)คนมี creativity ความคิดสร้างสรรค์
2)คนมี compassion คือความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ
ดึงทักษะความเป็นคนออกมาใช้เพื่อเอาชนะ AI
-ระบบการศึกษาปัจจุบันมันเตรียมคนเพื่ออุตสาหกรรมยุคเก่า เรียนเพื่อลดความผิดพลาด (ของกระบวนการผลิต) แต่ปัจจุบันเรียนเพื่อ learn how to learn..เพื่อเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะ 60% ของอาชีพในอนาคตจะไม่ใช่อาชีพที่มีในทุกวันนี้(ซึ่งก้อยังไม่รู้ว่ามันจะเป็นอาชีพอะไรบ้าง) ดังนั้นวันนี้ต้องเรียนเพื่อที่รู้ว่าล้มแล้วลุกขึ้นใหม่ได้
ที่ Sweden เปิด Museum of Failed Innovation เช่นซอส Heize เคยทำสีเขียว Colgate เคยออกลาซานญ่าแช่เเข็งเพื่อที่จะบอกว่าแปรงฟันด้วย
Colgate แล้วกินลาซานญ่าอร่อยขึ้น...Sweden ต้องการจะบอกคนในประเทศว่ามันเป็น Museum ที่รวบรวมความคิดสร้างสรรค์ ต้อง failed กันมาก่อนทั้งนั้น
ค่านิยมทั้งไทยและสิงคโปร์ในปัจจุบันไม่นิยมความล้มเหลว..ห้ามล้มเหลว ซึ่งมันปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์
เพราะความคิดสร้างสรรค์มันต้องล้มเหลวมาก่อน
-มีบทความหรือหนังสืออะไรสักอย่างบอกว่า มหาวิทยาลัยจะเดินตามโลกดนตรี..โลกดนตรีมันถูก disrupted ไปก่อนเพื่อน ไม่มีเทป ไม่มี CD แล้ว อยากฟังเพลงไหนก้อจ่ายแค่เพลงนั้น มหาวิทยาลัยก้อเช่นกัน จะจบปริญญาไม่ต้องเรียนตามหลักสูตรแบบเดิมๆเเล้ว อยากลงคอร์สไหนก้อลงเลย อยากเรียนกฎหมาย การเงิน data science ก้อลงไปตามรายวิชา
..เป็นไปได้ว่าการสมัครงานในอนาคตไม่ต้องใช้ใบปริญญา
-ต่อไปบริษัทจะมองหาคนที่มี mindset แบบ C O R E
C-Coordination ทำงานกับทีมได้
O-Open mindset เปิดกว้าง อีโก้ต่ำๆหน่อย
RE- Resilient ยืดหยุ่น ทนทาน เหมือนหนังสือชื่อ GRIT คืออึด อดทน วิริยะอุตสาหะ พลาดแล้วต้องทนได้
-Mindset ของการเรียนรู้ตลอดชีวิตคือ
1)ลด Ego ของตัวเองลงบ้าง, humble ถ่อมตัว ฟังความเห็นคนอื่นบ้าง
2)Curiosity สงสัย ตั้งคำถาม
3)Courage กล้าที่จะออกนอกกรอบที่เราไม่คุ้นเคย
เปิดรับความคิดของคนรุ่นเก่าบ้าง..เพราะเค้าก้อมี Data ..แต่มันอยู่ในรูปของ 'ประสบการณ์'
-ชอบอ่านหนังสือของ Yuval Harari...เค้าเหมือนมนุษย์ต่างดาว มองเข้ามาในหมู่มนุษย์
จบค่า^^
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้