|0 คอมเมนต์
amornkowa เขียน:รอบของพี่ thaivi5 อ ไพบูลย์ไม่สบายเลยไม่ได้มาสอน น่าเสียดายมาก
ส่วนคุณชาย สอนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
โดยรวมหลักสูตรนี้ปูพื้นฐานให้ไปศึกษาต่อครับ
นี้คือพื้นฐานที่น่าคิดว่าไปอย่างไร
เพราะ ทุกวันนี้การลงทุนมันยากมากๆ ที่คาดเดาว่าในอนาคตเป็นเช่นไร
เหมือน INTEL VS ARM
โดยในอดีตนั้น INTEL เป็นเจ้าตลาดเซมิคอนดักเซอร์ ในส่วนของ Chipset และ CPU เรียกได้ว่าเกือบผูกขาด
แต่เมื่อยุคสมัยมันเปลี่ยนแปลงเป็นยุคของ Smart Phone ในยุคของ iOS และ Anroid
Intel ก็ยังออก CPU ในส่วนของ Smart Phone มา แต่ทว่า มีการพัฒนา แต่ทว่า แพ้ ARM
น่าศึกษาอย่างมากๆ ในกรณีแบบนี้
ยิ่งเป็นตลาดของ Internet of Things ด้วยแล้ว Intel ก็ออกมา แต่ทว่าก็แพ้ที่ใช้ ARM เช่นเดิม
แต่ ARM ตอนนี้ก็มีปัญหาว่า X86 ที่ INTEL พัฒนานั้น Intel ก็เก็บไว้กับตัวมิให้คนอื่นมาใช้งานง่ายๆ
ดังนั้น ถ้าหาก ARM ทำให้ MS ทำงานได้ ก็ต้องไปซื้อ สิทธิบัตรของ INTEL ซิ Intel ไม่ยอม หรือไม่ให้ใช้งาน
ดังนั้นน่าจับตา เพราะในยุคนี้ไม่ได้พึ่งพา MS เหมือนเมื่อก่อนแล้ว เพราะ Linux ในหลายหลากตระกูลเริ่มมีบทบาทเพิ่มมาขึ้น (ของฟรีไม่ต้องเสียค่า License ที่แพงแสนแพงและยุ่งยากมากๆ)
อันนี้เป็นตัวอย่างที่ เมื่อ 15 ปีที่แล้ว มีคนบอกว่าใช้ CPU ของ ARM ต้องบอกว่าได้มันน้อยคนจริงๆที่รู้จัก
แต่ปัจจุบัน พื้นฐานการพัฒนาไปตกอยู่ที่ ARM แล้ว
เวลาเดินไปข้างหน้า บางที่กิจการที่เราคิดไว้ว่ามันดี ก็เปลี่ยนแปลงได้
ในเมืองไทย ก็มีให้เห็น องค์กร 100 ปี
ของเทียบสององค์กร องค์กรแรกคือ IEC ใครคิดว่า เมื่อ 100 ปี ซึ่งเป็นตอนเริ่มต้นของกิจการนี้ ทำด้านรถไฟ แต่ปัจจุบัน ไปทำพลังงานทางเลือกและโดน SP อยู่ รอไปอย่างเร็วสุดๆๆคือปี 2561 กลับมาจากหลุม หรือเปล่ายังไม่รู้เลย
ส่วนอีกกิจการ อันนี้เกิดในสมัยรัชกาล 6 คือปูนใหญ่ ปัจจุบัน รายได้เริ่มเปลี่ยนไปทางปิโตรเคมี + ก่อสร้าง มิใช้มาจากปูนเท่าไร
ใน US เองก็เช่นกัน บริษัทที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงกิจการแล้ว ยังทำกิจการเดิมมาเป็น 100 ปี นั้นมีอยู่ 6-7 รายจาก 100 รายเท่านั้น
ดังนั้น อาชีพที่เห็นแก่ตัวคือนักลงทุน คือเปลี่ยนกิจการได้ตลอดเวลา บนพื้นฐานของความรู้ของนักลงทุน
คือ งบการเงินอ่านให้เป็น การคาดเดาอนาคตของกิจการให้ออกให้แม่นยำ
ตอนนี้อีกเคสที่น่าสนใจคือ CEO ของ UBER โดนกดดันให้ลาออกจากกิจการที่ตัวเองสร้างมา
เพื่อวัฒนธรรมขององค์กรที่เปิดออกมาทำให้ยอมรับกันไม่ได้ พร้อมทั้งผลประกอบการที่ยังคงขาดทุนอยู่
ทำให้นึกถึงตอนยุค Internet Boom! (ปี 1995-2000) ที่หุ้นที่เป็นกิจการที่ขาดทุน แต่เกาะกระแสเข้าตลาดหุ้น นักลงทุนสามารถทำกำไรเป็นกอบเป็นกำได้ ในช่วงเวลานั้น
เช่นบริษัทที่ทำกิจการพัฒนาระบบปฏิบัติการของ Linux สายพันธ์หนึ่ง ขาดทุนตลอด เข้ามาราคาหุ้นเพิ่มเป็น 10 เท่าจากราคา IPO แต่สุดท้ายเมื่อฟองสบู่แตก ก็ไม่เหลืออะไรให้เลย
ดังนั้น Startup ที่เปลี่ยนโลกต้องดูในบริบท ว่าจุดไหน แล้วทำกำไรจากไหน
แต่บางบริการนั้น เปลี่ยนการดำเนินธุรกิจได้ แต่ทว่า มันไม่ได้กำไรอย่างที่คิด แต่เป็นการขาดทุนมากๆ
เล่าซักยาวเลย
