แด่คนช่างวิตกตระหนก Andrew S. Grove
-
- Verified User
- โพสต์: 987
- ผู้ติดตาม: 0
แด่คนช่างวิตกตระหนก Andrew S. Grove
โพสต์ที่ 1
มัวแต่ตื่นเต้นเรื่องระเบิดที่เบลเยี่ยม
พอๆกับลุ้นสัญญาลูกผู้ชายของวงดนตรีแจ๊สวงหนึ่ง
ก็มีข่าว(ไม่)เงียบออกมาถึงมรณกรรมของ
Times Magazine’s Man of the Year ปี 1997
Andrew Grove แห่งอาณาจักร Intel จ้าวแห่ง Microprocessor
อุปกรณ์ชิ้นส่วนภายในแค่ตัวเดียวก็สามารถขายคอมพิวเตอร์ภายนอกได้ (Intel Inside)
Andrew Grove เสียชีวิตเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ( 21 มีนาคม) อายุ 79 ปี
ค้นในเวปไทยต่างๆ เอ..ทำไมไม่มีใครเอ่ยถึงเรื่องนี้
คล้ายกับบุรุษ Grove ไม่มีตัวตนหรือความสำคัญใดๆ
กับพัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์ที่เราๆใช้กันอยู่เลย
เอาล่ะ เขาอาจจะไม่ใช่อัจฉริยะโผงผาง มุทะลุ แบบ Steve Jobs
ไม่ใช่คนหัวรั้น เป็นกบฏเงียบๆแบบ Bill Gate
ดูไม่เป็น Hipster แบบ Mark Zuckerberg
แต่ Andrew Grove ก็มีคุณสมบัติของนักสร้างสรรค์ที่ไม่แพ้กับรุ่นน้องเหล่านี้
Steve Jobs เองยังยกย่อง Grove ว่าเป็น Idol คนหนึ่งของเขา
เป็น Mentor คนสำคัญที่ช่วยให้เขาตัดสินใจอย่างถูกต้อง
เมื่อตอนหวนกลับมาเป็นประธานบริษัท Apple อีกครั้ง
(หลังจากถูกปลดแตกทัพกระเจิงไปก่อนหน้านี้)
Grove ไม่ใช่คนอเมริกันโดยกำเนิด
หากเกิดในครอบครัวยิว ประเทศฮังการี( ประเทศช่างหิวตลอดเวลา อุอุ) ในปี 1936
มีชื่ออ่านยากว่า András István Gróf
โชคร้าย บาปบริสุทธิ์ของความเป็นคนยิวย่อมส่งผลมาถึงชุมชนชาวยิวในละแวกบ้านเกิด
เมื่อฮิตเลอร์ขึ้นครองเยอรมันและมีนโยบายกวาดล้างยิวในยุโรปเข้าค่ายกักกัน
Grove และ แม่รอดตายได้ด้วยการปลอมแปลงเอกสารสัญชาติเป็นอื่น
ส่วนพ่อถูกจับเข้าค่ายใช้แรงงาน จนภายหลังสงครามยุติก็ได้กลับมาใช้ชีวิตครอบครัวกันอีกครั้ง
หลังเยอรมันแพ้สงคราม ชีวิตครอบครัว Grove ก็ไม่ได้ราบรื่นดังหวัง
เพราะเกิดการปฏิวัติเผด็จการในฮังการีอีก
พร้อมกับอิทธิพลของคอมมูนิสต์รัสเซียสยายแทนที่เยอรมัน
Grove จึงหนีเลาะตะเข็บไปยังออสเตรีย ระหกระเหเร่รอนจนมาจบที่อเมริกา
พร้อมเปลี่ยนชื่อแซ่เป็น Andrew S. Grove
ด้วยฐานะที่ยากจน และพูดภาษาอังกฤษแทบไม่ได้เลย
แต่ Grove ก็มุมานะทำงานสารพัดเพื่อหาเงินเรียนต่อในวิทยาลัยชุมชนแห่งกรุงนิวยอร์ค
จนกระทั่งจบระดับปริญญาตรี
และต่อปริญญาเอกด้านวิศวกรรมเคมีที่มหาวิทยาลัยเบอร์คเลย์ แคลิฟอร์เนีย
Grove เริ่มงานครั้งแรกในฐานะนักวิจัยที่ Fairchild Semiconductor
เมื่อพรรคพวกคนรู้จักก่อตั้ง Intel ก็ได้ชวน Grove มาร่วมวงด้วย
พัฒนาตัว microprocessor จนโด่งดัง
เขาเป็นหัวแรงคนสำคัญที่ผลักดันให้ IBM เป็น lead user ของเทคโนโลยีตัวนี้
หลังจากนั้นธุรกิจของ Intel ก็เสมือนโปรยทางด้วยกลีบกุหลาบ
อาณาจักรของ Intel ภายใต้การคุมบังเหียนของ Grove เติบกล้าและใหญ่โต
พลิกโฉมจากโรงงานผลิต Memory Chips ดาษดื่นเป็นผู้ผลิต Microprocessor โดดเด่น
สร้างมูลค่าการดำเนินงานจาก 4พันล้าน เป็น 197 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ติดอันดับ 7 ของบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก
กำไรได้จากธุรกิจถูกนำมาลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาไม่สิ้นสุด
แน่นอน Andrew Grove เองก็ได้รับเทียบเชิญจัดอันดับฐานะคนรวยระดับต้นๆของมะกันเสียด้วย
แต่แทนที่เขาจะพอใจกับผลงานและมีความสุขในวิถี Slow Life ที่กำลังฮิตๆกัน
Grove กลับเป็นคนที่ตกในอาการวิตกจริต เหมือนบรรดาtechy หลายๆคนเป็นกัน
Only the paranoid survive : คนช่างวิตกตระหนกเท่านั้นจึงจะอยู่รอด
คือประโยค Motto ประจำตัวของ Grove
ที่ไม่ยอมปล่อยเนื้อปล่อยตัวให้ความสำเร็จบดบังความทะยานกล้าที่จะพัฒนาต่อไป
ประโยคเต็มๆก็คือ
Success breeds complacency. Complacency breeds failure. Only the paranoid survive
ความสำเร็จนำมาถึงความพึงพอใจ (และหยุดนิ่ง)
ความพึงพอใจนำมาซึ่งความล้มเหลว
คนช่างวิตกตระหนกเท่านั้นจึงจะอยู่รอด(ต่อได้)
แนวคิดการบริหารงานเช่นนี้ กลายเป็นหนึ่งในหนังสือเล่มดังที่หลายๆคนเคยอ่าน
Only the paranoid survive
(เข้าใจว่า มีบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งรวมทั้งในไทยด้วยก็ใช้วิธีการนี้เขย่าองค์กรอยู่บ่อยๆ)
ในบั้นปลายของชีวิต Grove ป่วยเป็น Parkinson
ถึงกระนั้นก็ยังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาบริษัทอยู่
พร้อมทั้งอุทิศเงินให้กับมูลนิธิที่ศึกษาค้นคว้าโรค Parkinsonนี้อย่างจริงจัง
จนกระทั่ง เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา
คนวิตกตระหนกที่สุดในโลกก็ได้ลาจากไป
มาถึงตอนนี้แล้ว
เพื่อนๆลองดูคอมพิวเตอร์ แล็ปท็อปรุ่นที่ตัวเองใช้อยู่ว่ามีสัญลักษณ์ Intel ปรากฏหรือไม่
ถ้ามี ก็แสดงว่า Grove ไม่ได้จากเราไปไหนไกลเท่าไหร่
มาวิตกตระหนกอยู่ใกล้ๆแค่นี้เอง
พอๆกับลุ้นสัญญาลูกผู้ชายของวงดนตรีแจ๊สวงหนึ่ง
ก็มีข่าว(ไม่)เงียบออกมาถึงมรณกรรมของ
Times Magazine’s Man of the Year ปี 1997
Andrew Grove แห่งอาณาจักร Intel จ้าวแห่ง Microprocessor
อุปกรณ์ชิ้นส่วนภายในแค่ตัวเดียวก็สามารถขายคอมพิวเตอร์ภายนอกได้ (Intel Inside)
Andrew Grove เสียชีวิตเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ( 21 มีนาคม) อายุ 79 ปี
ค้นในเวปไทยต่างๆ เอ..ทำไมไม่มีใครเอ่ยถึงเรื่องนี้
คล้ายกับบุรุษ Grove ไม่มีตัวตนหรือความสำคัญใดๆ
กับพัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์ที่เราๆใช้กันอยู่เลย
เอาล่ะ เขาอาจจะไม่ใช่อัจฉริยะโผงผาง มุทะลุ แบบ Steve Jobs
ไม่ใช่คนหัวรั้น เป็นกบฏเงียบๆแบบ Bill Gate
ดูไม่เป็น Hipster แบบ Mark Zuckerberg
แต่ Andrew Grove ก็มีคุณสมบัติของนักสร้างสรรค์ที่ไม่แพ้กับรุ่นน้องเหล่านี้
Steve Jobs เองยังยกย่อง Grove ว่าเป็น Idol คนหนึ่งของเขา
เป็น Mentor คนสำคัญที่ช่วยให้เขาตัดสินใจอย่างถูกต้อง
เมื่อตอนหวนกลับมาเป็นประธานบริษัท Apple อีกครั้ง
(หลังจากถูกปลดแตกทัพกระเจิงไปก่อนหน้านี้)
Grove ไม่ใช่คนอเมริกันโดยกำเนิด
หากเกิดในครอบครัวยิว ประเทศฮังการี( ประเทศช่างหิวตลอดเวลา อุอุ) ในปี 1936
มีชื่ออ่านยากว่า András István Gróf
โชคร้าย บาปบริสุทธิ์ของความเป็นคนยิวย่อมส่งผลมาถึงชุมชนชาวยิวในละแวกบ้านเกิด
เมื่อฮิตเลอร์ขึ้นครองเยอรมันและมีนโยบายกวาดล้างยิวในยุโรปเข้าค่ายกักกัน
Grove และ แม่รอดตายได้ด้วยการปลอมแปลงเอกสารสัญชาติเป็นอื่น
ส่วนพ่อถูกจับเข้าค่ายใช้แรงงาน จนภายหลังสงครามยุติก็ได้กลับมาใช้ชีวิตครอบครัวกันอีกครั้ง
หลังเยอรมันแพ้สงคราม ชีวิตครอบครัว Grove ก็ไม่ได้ราบรื่นดังหวัง
เพราะเกิดการปฏิวัติเผด็จการในฮังการีอีก
พร้อมกับอิทธิพลของคอมมูนิสต์รัสเซียสยายแทนที่เยอรมัน
Grove จึงหนีเลาะตะเข็บไปยังออสเตรีย ระหกระเหเร่รอนจนมาจบที่อเมริกา
พร้อมเปลี่ยนชื่อแซ่เป็น Andrew S. Grove
ด้วยฐานะที่ยากจน และพูดภาษาอังกฤษแทบไม่ได้เลย
แต่ Grove ก็มุมานะทำงานสารพัดเพื่อหาเงินเรียนต่อในวิทยาลัยชุมชนแห่งกรุงนิวยอร์ค
จนกระทั่งจบระดับปริญญาตรี
และต่อปริญญาเอกด้านวิศวกรรมเคมีที่มหาวิทยาลัยเบอร์คเลย์ แคลิฟอร์เนีย
Grove เริ่มงานครั้งแรกในฐานะนักวิจัยที่ Fairchild Semiconductor
เมื่อพรรคพวกคนรู้จักก่อตั้ง Intel ก็ได้ชวน Grove มาร่วมวงด้วย
พัฒนาตัว microprocessor จนโด่งดัง
เขาเป็นหัวแรงคนสำคัญที่ผลักดันให้ IBM เป็น lead user ของเทคโนโลยีตัวนี้
หลังจากนั้นธุรกิจของ Intel ก็เสมือนโปรยทางด้วยกลีบกุหลาบ
อาณาจักรของ Intel ภายใต้การคุมบังเหียนของ Grove เติบกล้าและใหญ่โต
พลิกโฉมจากโรงงานผลิต Memory Chips ดาษดื่นเป็นผู้ผลิต Microprocessor โดดเด่น
สร้างมูลค่าการดำเนินงานจาก 4พันล้าน เป็น 197 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ติดอันดับ 7 ของบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก
กำไรได้จากธุรกิจถูกนำมาลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาไม่สิ้นสุด
แน่นอน Andrew Grove เองก็ได้รับเทียบเชิญจัดอันดับฐานะคนรวยระดับต้นๆของมะกันเสียด้วย
แต่แทนที่เขาจะพอใจกับผลงานและมีความสุขในวิถี Slow Life ที่กำลังฮิตๆกัน
Grove กลับเป็นคนที่ตกในอาการวิตกจริต เหมือนบรรดาtechy หลายๆคนเป็นกัน
Only the paranoid survive : คนช่างวิตกตระหนกเท่านั้นจึงจะอยู่รอด
คือประโยค Motto ประจำตัวของ Grove
ที่ไม่ยอมปล่อยเนื้อปล่อยตัวให้ความสำเร็จบดบังความทะยานกล้าที่จะพัฒนาต่อไป
ประโยคเต็มๆก็คือ
Success breeds complacency. Complacency breeds failure. Only the paranoid survive
ความสำเร็จนำมาถึงความพึงพอใจ (และหยุดนิ่ง)
ความพึงพอใจนำมาซึ่งความล้มเหลว
คนช่างวิตกตระหนกเท่านั้นจึงจะอยู่รอด(ต่อได้)
แนวคิดการบริหารงานเช่นนี้ กลายเป็นหนึ่งในหนังสือเล่มดังที่หลายๆคนเคยอ่าน
Only the paranoid survive
(เข้าใจว่า มีบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งรวมทั้งในไทยด้วยก็ใช้วิธีการนี้เขย่าองค์กรอยู่บ่อยๆ)
ในบั้นปลายของชีวิต Grove ป่วยเป็น Parkinson
ถึงกระนั้นก็ยังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาบริษัทอยู่
พร้อมทั้งอุทิศเงินให้กับมูลนิธิที่ศึกษาค้นคว้าโรค Parkinsonนี้อย่างจริงจัง
จนกระทั่ง เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา
คนวิตกตระหนกที่สุดในโลกก็ได้ลาจากไป
มาถึงตอนนี้แล้ว
เพื่อนๆลองดูคอมพิวเตอร์ แล็ปท็อปรุ่นที่ตัวเองใช้อยู่ว่ามีสัญลักษณ์ Intel ปรากฏหรือไม่
ถ้ามี ก็แสดงว่า Grove ไม่ได้จากเราไปไหนไกลเท่าไหร่
มาวิตกตระหนกอยู่ใกล้ๆแค่นี้เอง
ชีวิตเกิดและตายเพียงอย่างละหน ส่วนที่เหลือตรงกลางต้องค้นพบเอง
-
- Verified User
- โพสต์: 987
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แด่คนช่างวิตกตระหนก Andrew S. Grove
โพสต์ที่ 3
สวัสดีคุณ Dech
สบายดีน้า ไม่ได้เจอกันตั้งนาน
ขอบคุณที่เข้ามาทักทาย
ไม่ได้ขีดเขียนอะไรมาเป็นปีแล้ว กลัวคลังคำจะขึ้นสนิม
ก็เลยเคาะๆดูสักหน่อย
สบายดีน้า ไม่ได้เจอกันตั้งนาน
ขอบคุณที่เข้ามาทักทาย
ไม่ได้ขีดเขียนอะไรมาเป็นปีแล้ว กลัวคลังคำจะขึ้นสนิม
ก็เลยเคาะๆดูสักหน่อย
ชีวิตเกิดและตายเพียงอย่างละหน ส่วนที่เหลือตรงกลางต้องค้นพบเอง
-
- Verified User
- โพสต์: 987
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แด่คนช่างวิตกตระหนก Andrew S. Grove
โพสต์ที่ 6
ขอบคุณคุณ iceberg ที่แสดงความคิดเห็น
ไม่ทราบว่าได้อ่านหรือยังเอ่ย มีอะไรดีๆเล่าไว้หรือไม่
ตัวเองยังไม่ได้อ่านละเอียดถึงเล่มนี้ เคยแต่พลิกผ่านบางบท
ระยะหลังอ่านหนังสือน้อยลง เพราะเวลาจำกัด
บางเล่มก็พิมพ์ตัวอักษรเล็กกะจิดริด อ่านเมื่อยตา
ทั้งๆที่มีเนื้อหาน่าสนุก เช่นเล่มนี้
ไม่ทราบว่าได้อ่านหรือยังเอ่ย มีอะไรดีๆเล่าไว้หรือไม่
ตัวเองยังไม่ได้อ่านละเอียดถึงเล่มนี้ เคยแต่พลิกผ่านบางบท
ระยะหลังอ่านหนังสือน้อยลง เพราะเวลาจำกัด
บางเล่มก็พิมพ์ตัวอักษรเล็กกะจิดริด อ่านเมื่อยตา
ทั้งๆที่มีเนื้อหาน่าสนุก เช่นเล่มนี้
ชีวิตเกิดและตายเพียงอย่างละหน ส่วนที่เหลือตรงกลางต้องค้นพบเอง
- kotaro
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1495
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แด่คนช่างวิตกตระหนก Andrew S. Grove
โพสต์ที่ 7
ชอบอ่าน สำนวนที่พี่กูรูเขียนครับ
หนังสือ Only the Paranoid Survive ผมเคยอ่านหลายปีแล้วครับ
สั่งจาก amazon มาอ่าน และสะสมไว้ครับ
จำได้ว่าที่สั่งซื้อมา เพราะติดหนึ่งในร้อย หนังสือควรอ่าน
ปีนึงผมจะสั่งหนังสือ จาก amazon ประมาณ 2 ครั้ง โดยจะshopping
พวก used book เพราะถูกมากครับ จำได้ว่า Only the Paranoid Survive
ราคา 0.99 รวมค่าส่งอีก 4 US$ ทั้งหมดก็ 5 ดอลกว่าๆ ร้อยกว่าบาทไทยเองครับ
รวบรวมให้ส่งไปที่ shipito 10-20 เล่ม แล้วก็ combine ส่งกลับเมืองไทยทีนึง
ชอบมากครับ
หนังสือเล่มนี้ เท่าที่ยังคงระลึกติดอยู่ในหัว คือ จุดที่คุณ Andrew Grove เรียกว่าเป็น
Strategic Inflection Points คือเป็นจุดเปลี่ยน ที่หัวเลี้ยวหัวต่อ จะอยู่หรือจะไป ก็ช่วงนี้
เป็นจุดที่มีนัยยะกับพื้นฐานมาก ถ้าเป็นชีวิตคน ก็คงเป็นช่วงวัยรุ่นอะครับ
ผมคิดว่าในอุต IT น่าจะต้องเจอบ่อยๆ บ่อยกว่าอุตสาหกรรมอื่น ทำให้ผู้เขียน เลยคิดว่า
ต้องระแวง ถึงจะอยู่รอดครับ ความเข้าใจผมคือ แกน่าจะสอนให้ตรวจสอบตัวอื่นบ่อยๆ ว่า
จุดดังกล่าวมันใกล้เราเข้ามาหรือยัง จะได้เตรียมรับมือได้ถูก
ครั้งแรก ผมอ่านชื่อหนังสือ Paranoid แล้วชวนนึกถึงความว่าในทางการแพทย์ พวกที่มีนิสัยหวาดระแวง
เกินกว่าเหตุ ทำให้คิดค้านไปว่า พวก Paranoid น่าจะตายเร็วกว่าทีจะทำให้อยู่รอดนะ 55
พออ่านจบ ก็เข้าใจว่าผู้เขียนไม่ได้สื่อถึงขั้นนั้นครับ แค่วิตกตระหนก อย่างที่พี่กูรูเขียนไว้ครับ
หนังสือ Only the Paranoid Survive ผมเคยอ่านหลายปีแล้วครับ
สั่งจาก amazon มาอ่าน และสะสมไว้ครับ
จำได้ว่าที่สั่งซื้อมา เพราะติดหนึ่งในร้อย หนังสือควรอ่าน
ปีนึงผมจะสั่งหนังสือ จาก amazon ประมาณ 2 ครั้ง โดยจะshopping
พวก used book เพราะถูกมากครับ จำได้ว่า Only the Paranoid Survive
ราคา 0.99 รวมค่าส่งอีก 4 US$ ทั้งหมดก็ 5 ดอลกว่าๆ ร้อยกว่าบาทไทยเองครับ
รวบรวมให้ส่งไปที่ shipito 10-20 เล่ม แล้วก็ combine ส่งกลับเมืองไทยทีนึง
ชอบมากครับ
หนังสือเล่มนี้ เท่าที่ยังคงระลึกติดอยู่ในหัว คือ จุดที่คุณ Andrew Grove เรียกว่าเป็น
Strategic Inflection Points คือเป็นจุดเปลี่ยน ที่หัวเลี้ยวหัวต่อ จะอยู่หรือจะไป ก็ช่วงนี้
เป็นจุดที่มีนัยยะกับพื้นฐานมาก ถ้าเป็นชีวิตคน ก็คงเป็นช่วงวัยรุ่นอะครับ
ผมคิดว่าในอุต IT น่าจะต้องเจอบ่อยๆ บ่อยกว่าอุตสาหกรรมอื่น ทำให้ผู้เขียน เลยคิดว่า
ต้องระแวง ถึงจะอยู่รอดครับ ความเข้าใจผมคือ แกน่าจะสอนให้ตรวจสอบตัวอื่นบ่อยๆ ว่า
จุดดังกล่าวมันใกล้เราเข้ามาหรือยัง จะได้เตรียมรับมือได้ถูก
ครั้งแรก ผมอ่านชื่อหนังสือ Paranoid แล้วชวนนึกถึงความว่าในทางการแพทย์ พวกที่มีนิสัยหวาดระแวง
เกินกว่าเหตุ ทำให้คิดค้านไปว่า พวก Paranoid น่าจะตายเร็วกว่าทีจะทำให้อยู่รอดนะ 55
พออ่านจบ ก็เข้าใจว่าผู้เขียนไม่ได้สื่อถึงขั้นนั้นครับ แค่วิตกตระหนก อย่างที่พี่กูรูเขียนไว้ครับ
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
-
- Verified User
- โพสต์: 987
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แด่คนช่างวิตกตระหนก Andrew S. Grove
โพสต์ที่ 9
ดีใจที่ได้เจอ คุณหมอ kotaro อีก
ไม่ได้เข้ามาเขียนกระทู้นานมากแล้ว
กลัวเหมือนกันว่าจะยังสื่อสารรู้เรื่องหรือไม่
แต่อ่านจากคำทักทายของคุณหมอ คิดเข้าข้างตัวเองแล้วกันว่า สอบผ่าน แอะ แอะ
ว่าจะกล่าวถึงอิทธิพลของคนช่างพารานอยด์ที่เอามาใช้ในการบริหารงาน
เคยคุยกับผู้บริหารท่านหนึ่งซึ่งตอนนั้นเป็นเบอร์หนึ่งของบริษัทสื่อสาร
ถามว่า "หน้าที่ของท่านทุกวันนี้ทำอะไร"
ท่านตอบว่า "ทำวิกฤตทุกวัน"
ว้าว..ในใจเราคิดว่าเจ้าวิกฤตนี่รููปร่างหน้าตาอย่างไรล่ะเนี่ย
หล่อสูง คมเข้ม ขนาดไหน
ไม่ทันจะได้เลิกคิ้วถาม
ท่านก็อธิบายต่อว่า
องค์กรที่อยู่ทุกวันนี้ ทุกคนเหมือนอยู่ใน Comfort Zone
(ถ้าสมัยนั้น คำว่า Slow Life เกิดขึ้น ก็คงจะบอกว่า ทุกคนที่ทำงานในนี้ทำตัวเป็น Hipster
ใช้ชีวิต Slow Slow ไม่เดือดร้อน มีเงินเดือนออกทุกเดือน มีโบนัสทุกปี)
ไม่มีใครรู้สึกเลยว่าโลกภายนอกแข่งขันกันขนาดไหน
มัวแต่ฮัมเพลง..เธอเห็นท้องฟ้านั่นมั้ย ฉันเก็บเอาไว้ให้เธอ ลัลลา
ผม(CEO ท่านนั้น) ก็เลยต้องวางแผนเขย่าองค์กรทุกวัน
เพื่อให้ทุกคนสำนึกว่า อย่านั่ง ยืน ย่ำอยู่กับที่นานเกินไป
นี่คือ งานประจำของ CEO ผู้พารานอยด์
เมื่อหัวแถวตระหนกวิตกแล้ว
ลูกน้องจะอยู่นิ่งก็ใช่ที่
ไล่เรียงความนอยด์ตามลำดับขั้น
และความนอยด์เหล่านั้นจะสร้างสิ่งใหม่ๆเกิดขึ้นเรื่อยๆ
เลยได้ทฤษฎีการบริหารมาอีก นั่นก็คือ"องค์กรพารานอยด์"
ไม่ได้เข้ามาเขียนกระทู้นานมากแล้ว
กลัวเหมือนกันว่าจะยังสื่อสารรู้เรื่องหรือไม่
แต่อ่านจากคำทักทายของคุณหมอ คิดเข้าข้างตัวเองแล้วกันว่า สอบผ่าน แอะ แอะ
ว่าจะกล่าวถึงอิทธิพลของคนช่างพารานอยด์ที่เอามาใช้ในการบริหารงาน
เคยคุยกับผู้บริหารท่านหนึ่งซึ่งตอนนั้นเป็นเบอร์หนึ่งของบริษัทสื่อสาร
ถามว่า "หน้าที่ของท่านทุกวันนี้ทำอะไร"
ท่านตอบว่า "ทำวิกฤตทุกวัน"
ว้าว..ในใจเราคิดว่าเจ้าวิกฤตนี่รููปร่างหน้าตาอย่างไรล่ะเนี่ย
หล่อสูง คมเข้ม ขนาดไหน
ไม่ทันจะได้เลิกคิ้วถาม
ท่านก็อธิบายต่อว่า
องค์กรที่อยู่ทุกวันนี้ ทุกคนเหมือนอยู่ใน Comfort Zone
(ถ้าสมัยนั้น คำว่า Slow Life เกิดขึ้น ก็คงจะบอกว่า ทุกคนที่ทำงานในนี้ทำตัวเป็น Hipster
ใช้ชีวิต Slow Slow ไม่เดือดร้อน มีเงินเดือนออกทุกเดือน มีโบนัสทุกปี)
ไม่มีใครรู้สึกเลยว่าโลกภายนอกแข่งขันกันขนาดไหน
มัวแต่ฮัมเพลง..เธอเห็นท้องฟ้านั่นมั้ย ฉันเก็บเอาไว้ให้เธอ ลัลลา
ผม(CEO ท่านนั้น) ก็เลยต้องวางแผนเขย่าองค์กรทุกวัน
เพื่อให้ทุกคนสำนึกว่า อย่านั่ง ยืน ย่ำอยู่กับที่นานเกินไป
นี่คือ งานประจำของ CEO ผู้พารานอยด์
เมื่อหัวแถวตระหนกวิตกแล้ว
ลูกน้องจะอยู่นิ่งก็ใช่ที่
ไล่เรียงความนอยด์ตามลำดับขั้น
และความนอยด์เหล่านั้นจะสร้างสิ่งใหม่ๆเกิดขึ้นเรื่อยๆ
เลยได้ทฤษฎีการบริหารมาอีก นั่นก็คือ"องค์กรพารานอยด์"
ชีวิตเกิดและตายเพียงอย่างละหน ส่วนที่เหลือตรงกลางต้องค้นพบเอง
- kotaro
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1495
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แด่คนช่างวิตกตระหนก Andrew S. Grove
โพสต์ที่ 10
อยากอ่านไหมครับ ไม่ต้องซื้อก็ได้ ผมให้ยืมได้นะครับ เดี่ยวส่งไปรษณีย์ไปให้iceberg เขียน:คุณกูรูขอบสนาม
เล่มนี้ผมยังไม่ได้ซื้อครับ เคยเห็นผ่านๆ ใน amazon
ตอนนี้ เก็บไว้เป็น watch list ก่อนครับ
กำลังรวบรวมหนังสือที่จะสั่งซื้อทาง amazon พอดี คงต้องรอไว้ก่อนครับ
ผบห บริษัทสื่อสาร กับ comfort zone ทำให้ผมนึกถึง คุณ ธนา เธียรอัจฉริยะ เลยครับว่าจะกล่าวถึงอิทธิพลของคนช่างพารานอยด์ที่เอามาใช้ในการบริหารงาน
เคยคุยกับผู้บริหารท่านหนึ่งซึ่งตอนนั้นเป็นเบอร์หนึ่งของบริษัทสื่อสาร
ถามว่า "หน้าที่ของท่านทุกวันนี้ทำอะไร"
ท่านตอบว่า "ทำวิกฤตทุกวัน"
ว้าว..ในใจเราคิดว่าเจ้าวิกฤตนี่รููปร่างหน้าตาอย่างไรล่ะเนี่ย
หล่อสูง คมเข้ม ขนาดไหน
ที่ยอมออกจาก comfort zone ของตัวเองไปหาความท้าทายใหม่ๆครับ
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 2
Re: แด่คนช่างวิตกตระหนก Andrew S. Grove
โพสต์ที่ 11
Intel made a huge mistake 10 years ago. Now 12,000 workers are paying the price.
Updated by Timothy B. Lee on April 20, 2016, 1:10 p.m. ET
http://www.vox.com/2016/4/20/11463818/i ... revolution
Updated by Timothy B. Lee on April 20, 2016, 1:10 p.m. ET
http://www.vox.com/2016/4/20/11463818/i ... revolution
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530