เพิ่งกลับมาจากไปนั่งสมาธิสิบวันมา รู้สึกดีจังครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 421
- ผู้ติดตาม: 0
เพิ่งกลับมาจากไปนั่งสมาธิสิบวันมา รู้สึกดีจังครับ
โพสต์ที่ 1
จึงอยากแบ่งปันเผื่อว่าจะมีใครที่สนใจทางนี้ครับ เป็นแนวสติปัฏฐานสี่ เรียกว่าแนวของท่านอาจารย์โคเอ็นก้า (เศรษฐีชาวอินเดียที่ละทิ้งสมบัติมาเอาดีทางนี้ ) จะไม่ได้เน้นการเดินจงกลมเท่าไหร่ครับ เน้นนั่งอย่างเดียวแทบตลอดทั้งวัน อ้อ มีชั่วโมงอธิษฐานวันละ สามชั่วโมงด้วย (ไม่ได้ติดกันทั้งสามชั่วโมงนะครับ) คือจะเป็นลักษณะบังคับตัวเองคือขอไม่ให้มีการขยับร่างกายเลยจะได้ไหม (ผมก็ทำไม่ได้เหมือนกันครับ แหะๆ จะทำได้ครบชั่วโมงสัก สามหรือสี่ครั้งเอง แหะๆ อายเหมือนกัน เลยไม่กล้าอธิษฐานอะไร )
ไม่มีการเก็บตังค์แต่อย่างใดครับ แต่จะบริจาคก็ได้ตามแต่จิตศรัทธาครับ
ไม่มีการเก็บตังค์แต่อย่างใดครับ แต่จะบริจาคก็ได้ตามแต่จิตศรัทธาครับ
รู้สึกดีๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 5786
- ผู้ติดตาม: 0
เพิ่งกลับมาจากไปนั่งสมาธิสิบวันมา รู้สึกดีจังครับ
โพสต์ที่ 2
ผมพอจะทราบว่า สติปัฐฐาน 4 ประกอบไปด้วย
1. กาย
2. เวทนา
3. จิต
4. ธรรม
แต่ไม่ทราบว่านั่งสมาธิแนว สติปัฐฐาน 4 เป็นอย่างไร
คุณลูกไม่ท้อ ช่วยเล่ารายละเอียดให้ฟังหน่อยได้มั้ยครับ
แล้วเขาจัดกันที่ไหนเหรอครับ
ขออนุโมทนาบุญครับ
1. กาย
2. เวทนา
3. จิต
4. ธรรม
แต่ไม่ทราบว่านั่งสมาธิแนว สติปัฐฐาน 4 เป็นอย่างไร
คุณลูกไม่ท้อ ช่วยเล่ารายละเอียดให้ฟังหน่อยได้มั้ยครับ
แล้วเขาจัดกันที่ไหนเหรอครับ
ขออนุโมทนาบุญครับ
"Winners never quit, and quitters never win."
-
- Verified User
- โพสต์: 421
- ผู้ติดตาม: 0
เพิ่งกลับมาจากไปนั่งสมาธิสิบวันมา รู้สึกดีจังครับ
โพสต์ที่ 4
ถูกแล้วครับ สติปัฏฐานสี่คือการพิจารณาสี่อย่างคือกาย , เวทนา , จิต , ธรรม
โดยอาศัยกฎพระไตรลักษณ์ที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนิจจังคือไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้ว ก็ตั้งอยู่ (และแปรเปลี่ยน) จนไปถึง ดับสิ้นไป
ถ้าพิจารณาเพียงเท่านี้ก็เป็นเพียงการรู้ในแนวสุตตมยปัญญา หรือ จินตมยปัญญา คือรู้แบบส่งต่อกันมา แล้วก็ได้แต่คิดเอาเอง
แต่ไม่ได้รับทราบได้ด้วยตัวเองว่าเป็นอย่างไร เพราะบอกไปใครก็รู้ครับว่าทุกสิ่งล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปเป็นอนิจจัง
แต่สติปัฏฐานสี่ต้องการให้รู้แจ้งด้วยการปฏิบัติให้เกิดการรู้นี้แก่จิตโดยตรง โดยการเข้ามาภาวนาด้วยตนเองจนเกินสภาวะการรู้แจ้งนี้ได้ด้วยตนเองจริงๆ
อย่างเรื่องของกายเราก็พิจารณาจากลมหายใจ เช่นดูว่าลมหายใจเข้าออก , หน้าท้องยุบพองไม่คงที่ และถ้าสมาธิดีสติตั้งมั่นก็จะค่อยๆนำไปสู่ภาวะที่สูงไปมากกว่านี้ที่ไม่ใช่แค่การรับรู้ว่ามันเข้าแล้วออก หรือ ยุบพองแค่นี้ (ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันเพราะยังไปไม่ถึงไหนครับผม)
ในส่วนเวทนาก็พิจารณาจากความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นซึ่งไม่ใช่แค่ความเจ็บปวดอย่างเดียวนะครับ ให้มองให้เห็นว่าความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นนี้เป็นอนิจจังเช่นกันคือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป
ในส่วนของจิตและธรรม คงจะเป็นส่วนที่ยากไปหน่อย แต่คิดว่าถ้าจะพิจารณาให้เป็นไปในแนวนี้คิดว่าก็ต้องให้มองให้เห็นว่าสิ่งที่เป็นตัวจิตเอง หรือธรรมที่เกิดขึ้นในจิตก็ล้วนเป็นอนิจจังคือ ไม่เที่ยงเช่นกันครับ (การอธิบายในเชิงวิทยาศาสตร์มีควอนตั้มฟิสิกส์มาเกี่ยวด้วยแหละครับ ในแง่ที่ว่าในหนึ่งเสี้ยววินาทีอณูของสารต่างๆจะมีการแปรเปลี่ยนซึ่งในทางพุทธศาสนาบอกว่าก็คือการเกิดดับนั่นเอง ถึง สิบยกกำลังยี่สิบสองครั้ง จากตรงนี้ก็ทำให้เราทราบว่ารูปและนามของเรา คือ กายและจิตของเราต่างก็เกิดการเกิดดับอยู่ตลอดเวลา แต่มันต่อเนื่องกับเหมือนเอาฟิลม์หนังที่มาวางต่อกันอย่างรวดเร็วจนเรามองไม่เห็นช่องว่างระหว่างรอยต่อดังกล่าว ถ้าเราสามารถแทรกเข้าไปสู่ช่องว่างดังกล่าว ที่อาจจะเรียกได้ว่า การเข้าไปสู่มิติที่สี่ ก็จะทำให้รับทราบความเป็นจริงของชีวิตได้มากกว่าที่เห็นทุกวันนี้ ทำให้เชื่อในกฎแห่งกรรม ทำให้ทราบได้ว่า มันส่งต่อกรรมผ่านมาทางมิติที่สี่นี้ได้อย่างไร ,ทำให้เชื่อในเรืองภพชาติ ฯลฯ)
ขอเปรียบเทียบการปฏิบัติของทั้งสองสายหน่อยนะครับ(ถ้าผิดถูกอย่างไรได้โปรดชี้แนะด้วยนะครับ)
ถ้าเป็นสายยุบหนอพองหนอ(เช่นสายคุณแม่สิริ กรินชัย) ก็จะเป็นการเน้นที่สติก่อนและก็เริ่มจากกายก่อนคือมีสติอยู่ตลอดเวลาเริ่มต้นจากกายโดยดูที่การเคลื่อนไหวคือเมื่อเวลาจะยืน เดิน นั่ง นอน ให้มีสติต่อการเคลื่อนไหวนั้นในทุกขณะ ดังนั้นการฝึกในแนวนี้จะเน้นที่เดินจงกรมรู้ทันอริยาบทในแต่ละช่วง แล้วก็มาสลับกับการดูการหายใจโดยเน้นดูที่หน้าท้องว่ามีอาการพองยุบแล้วมีสมาธิมีสติตามให้ทันต่อการหายใจนั้น พอถึงระดับเวทนาก็ให้มีการตามรู้ความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นต่อจิตซึ่งก็คงไม่ใช่แค่ให้ดูความปวดอย่างเดียวนะครับ
ส่วนในด้านอาจารย์โคเอ็นก้า ก็จะยังเป็นสติปัฏฐานสี่อยู่ โดยจะเน้นที่การดูเวทนา แต่ก่อนจะโดดไปสู่เวทนา ก็จะมีการนำร่องในเรื่องของการดูลมหายใจเช่นกัน แต่ไม่ได้ดูที่หน้าท้องแต่ให้ดูที่ตรงจมูกเลยแต่หลักก็คือให้สร้างการมีสมาธิต่อเนื่องต่อการจับจุดที่จะเพ่งให้มั่นให้ได้เสียก่อน จนสักสองสามวันพอคิดว่าหาจุดเพ่งความสนใจได้จริงแล้วและเกิดการรับรู้ในระดับละเอียดได้แล้ว ก็จะให้เริ่มเพ่งดูในส่วนของเวทนาเลย ซึ่งจะไม่ใช่แค่ดูความเจ็บปวดอย่างเดียวนะครับ มันจะมีเวทนาละเอียดซึ่งเกิดขึ้นแก่จิตขึ้นได้ (อันนี้จะซับซ้อนนิดหน่อย ขอข้ามไปละกันนะครับ ) แต่สรุปก็คือจะยังคงมองให้เห็นว่าเวทนาเหล่านี้เป็นสิ่งไม่เที่ยงเช่นกัน คือเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป
ในส่วนของจิต และ ธรรม ผมคงไม่กล้าให้คำอธิบายเพราะดูจะสู
งเกินความรู้ของผมไปหน่อยครับ แต่คิดว่าหลักการก็จะคงเหมือนกันคือต้องพิจารณาให้เห็นถึงความไม่เที่ยงนะครับ
คิดว่าสองสายนี้คือสายยุบหนอพองหนอ และ สายท่านอาจารย์โคเอ็นก้า ต่างกันตรงที่สายยุบหนอพองหนอ เริ่มต้นตรงสติคือให้เกิดการระลึกรู้เมื่อเกิดสิ่งเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นไปแล้ว
ส่วนสายท่านอาจารย์โคเอ็นก้าคือให้เกิดมีสมาธิให้สามารถจับจุดความสนใจได้แน่นเสียก่อน แล้วถึงจะเริ่มไปจับจุดพิจารณาที่เวทนาที่เกิดแก่จิตครับ
เอาคร่าวๆเท่านี้ก่อนละกันครับผม
โดยอาศัยกฎพระไตรลักษณ์ที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนิจจังคือไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้ว ก็ตั้งอยู่ (และแปรเปลี่ยน) จนไปถึง ดับสิ้นไป
ถ้าพิจารณาเพียงเท่านี้ก็เป็นเพียงการรู้ในแนวสุตตมยปัญญา หรือ จินตมยปัญญา คือรู้แบบส่งต่อกันมา แล้วก็ได้แต่คิดเอาเอง
แต่ไม่ได้รับทราบได้ด้วยตัวเองว่าเป็นอย่างไร เพราะบอกไปใครก็รู้ครับว่าทุกสิ่งล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปเป็นอนิจจัง
แต่สติปัฏฐานสี่ต้องการให้รู้แจ้งด้วยการปฏิบัติให้เกิดการรู้นี้แก่จิตโดยตรง โดยการเข้ามาภาวนาด้วยตนเองจนเกินสภาวะการรู้แจ้งนี้ได้ด้วยตนเองจริงๆ
อย่างเรื่องของกายเราก็พิจารณาจากลมหายใจ เช่นดูว่าลมหายใจเข้าออก , หน้าท้องยุบพองไม่คงที่ และถ้าสมาธิดีสติตั้งมั่นก็จะค่อยๆนำไปสู่ภาวะที่สูงไปมากกว่านี้ที่ไม่ใช่แค่การรับรู้ว่ามันเข้าแล้วออก หรือ ยุบพองแค่นี้ (ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันเพราะยังไปไม่ถึงไหนครับผม)
ในส่วนเวทนาก็พิจารณาจากความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นซึ่งไม่ใช่แค่ความเจ็บปวดอย่างเดียวนะครับ ให้มองให้เห็นว่าความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นนี้เป็นอนิจจังเช่นกันคือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป
ในส่วนของจิตและธรรม คงจะเป็นส่วนที่ยากไปหน่อย แต่คิดว่าถ้าจะพิจารณาให้เป็นไปในแนวนี้คิดว่าก็ต้องให้มองให้เห็นว่าสิ่งที่เป็นตัวจิตเอง หรือธรรมที่เกิดขึ้นในจิตก็ล้วนเป็นอนิจจังคือ ไม่เที่ยงเช่นกันครับ (การอธิบายในเชิงวิทยาศาสตร์มีควอนตั้มฟิสิกส์มาเกี่ยวด้วยแหละครับ ในแง่ที่ว่าในหนึ่งเสี้ยววินาทีอณูของสารต่างๆจะมีการแปรเปลี่ยนซึ่งในทางพุทธศาสนาบอกว่าก็คือการเกิดดับนั่นเอง ถึง สิบยกกำลังยี่สิบสองครั้ง จากตรงนี้ก็ทำให้เราทราบว่ารูปและนามของเรา คือ กายและจิตของเราต่างก็เกิดการเกิดดับอยู่ตลอดเวลา แต่มันต่อเนื่องกับเหมือนเอาฟิลม์หนังที่มาวางต่อกันอย่างรวดเร็วจนเรามองไม่เห็นช่องว่างระหว่างรอยต่อดังกล่าว ถ้าเราสามารถแทรกเข้าไปสู่ช่องว่างดังกล่าว ที่อาจจะเรียกได้ว่า การเข้าไปสู่มิติที่สี่ ก็จะทำให้รับทราบความเป็นจริงของชีวิตได้มากกว่าที่เห็นทุกวันนี้ ทำให้เชื่อในกฎแห่งกรรม ทำให้ทราบได้ว่า มันส่งต่อกรรมผ่านมาทางมิติที่สี่นี้ได้อย่างไร ,ทำให้เชื่อในเรืองภพชาติ ฯลฯ)
ขอเปรียบเทียบการปฏิบัติของทั้งสองสายหน่อยนะครับ(ถ้าผิดถูกอย่างไรได้โปรดชี้แนะด้วยนะครับ)
ถ้าเป็นสายยุบหนอพองหนอ(เช่นสายคุณแม่สิริ กรินชัย) ก็จะเป็นการเน้นที่สติก่อนและก็เริ่มจากกายก่อนคือมีสติอยู่ตลอดเวลาเริ่มต้นจากกายโดยดูที่การเคลื่อนไหวคือเมื่อเวลาจะยืน เดิน นั่ง นอน ให้มีสติต่อการเคลื่อนไหวนั้นในทุกขณะ ดังนั้นการฝึกในแนวนี้จะเน้นที่เดินจงกรมรู้ทันอริยาบทในแต่ละช่วง แล้วก็มาสลับกับการดูการหายใจโดยเน้นดูที่หน้าท้องว่ามีอาการพองยุบแล้วมีสมาธิมีสติตามให้ทันต่อการหายใจนั้น พอถึงระดับเวทนาก็ให้มีการตามรู้ความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นต่อจิตซึ่งก็คงไม่ใช่แค่ให้ดูความปวดอย่างเดียวนะครับ
ส่วนในด้านอาจารย์โคเอ็นก้า ก็จะยังเป็นสติปัฏฐานสี่อยู่ โดยจะเน้นที่การดูเวทนา แต่ก่อนจะโดดไปสู่เวทนา ก็จะมีการนำร่องในเรื่องของการดูลมหายใจเช่นกัน แต่ไม่ได้ดูที่หน้าท้องแต่ให้ดูที่ตรงจมูกเลยแต่หลักก็คือให้สร้างการมีสมาธิต่อเนื่องต่อการจับจุดที่จะเพ่งให้มั่นให้ได้เสียก่อน จนสักสองสามวันพอคิดว่าหาจุดเพ่งความสนใจได้จริงแล้วและเกิดการรับรู้ในระดับละเอียดได้แล้ว ก็จะให้เริ่มเพ่งดูในส่วนของเวทนาเลย ซึ่งจะไม่ใช่แค่ดูความเจ็บปวดอย่างเดียวนะครับ มันจะมีเวทนาละเอียดซึ่งเกิดขึ้นแก่จิตขึ้นได้ (อันนี้จะซับซ้อนนิดหน่อย ขอข้ามไปละกันนะครับ ) แต่สรุปก็คือจะยังคงมองให้เห็นว่าเวทนาเหล่านี้เป็นสิ่งไม่เที่ยงเช่นกัน คือเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป
ในส่วนของจิต และ ธรรม ผมคงไม่กล้าให้คำอธิบายเพราะดูจะสู
งเกินความรู้ของผมไปหน่อยครับ แต่คิดว่าหลักการก็จะคงเหมือนกันคือต้องพิจารณาให้เห็นถึงความไม่เที่ยงนะครับ
คิดว่าสองสายนี้คือสายยุบหนอพองหนอ และ สายท่านอาจารย์โคเอ็นก้า ต่างกันตรงที่สายยุบหนอพองหนอ เริ่มต้นตรงสติคือให้เกิดการระลึกรู้เมื่อเกิดสิ่งเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นไปแล้ว
ส่วนสายท่านอาจารย์โคเอ็นก้าคือให้เกิดมีสมาธิให้สามารถจับจุดความสนใจได้แน่นเสียก่อน แล้วถึงจะเริ่มไปจับจุดพิจารณาที่เวทนาที่เกิดแก่จิตครับ
เอาคร่าวๆเท่านี้ก่อนละกันครับผม
รู้สึกดีๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 421
- ผู้ติดตาม: 0
เพิ่งกลับมาจากไปนั่งสมาธิสิบวันมา รู้สึกดีจังครับ
โพสต์ที่ 5
ลืมบอกรายละเอียดครับ ของแนวท่านอาจารย์โคเอ็นก้า หาดูได้ที่เว็บไซต์นี้ครับ
http://www.thai.dhamma.org
จะมีรายละเอียดบอกถึงสถานที่ , ช่วงเวลา ครับ[/url]
http://www.thai.dhamma.org
จะมีรายละเอียดบอกถึงสถานที่ , ช่วงเวลา ครับ[/url]
รู้สึกดีๆ
- por_jai
- Verified User
- โพสต์: 14338
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เพิ่งกลับมาจากไปนั่งสมาธิสิบวันมา รู้สึกดีจังครับ
โพสต์ที่ 6
8) ผมไปที่วัดผา มานะครับ หลักสูตรยุบหนอ พองหนอลูกไม่ท้อ เขียน:อ้อ มีชั่วโมงอธิษฐานวันละ สามชั่วโมงด้วย (ไม่ได้ติดกันทั้งสามชั่วโมงนะครับ) คือจะเป็นลักษณะบังคับตัวเองคือขอไม่ให้มีการขยับร่างกายเลยจะได้ไหม (ผมก็ทำไม่ได้เหมือนกันครับ แหะๆ จะทำได้ครบชั่วโมงสัก สามหรือสี่ครั้งเอง แหะๆ อายเหมือนกัน เลยไม่กล้าอธิษฐานอะไร )
ที่ท่านว่าแหละครับ
ผมไม่เคยนั่งได้เกิน20นาทีเลยครับ
ไม่เคยง่วงเลย
แต่ปวดขาอย่างแรง
ตั้งแต่วันแรกๆ
กำหนดอย่างไรก็ไม่ไหว
วันที่3 เหมือนขาจะหลุดเป็นส่วนๆออกจากร่างกาย
แต่พอวันที่6วันที่7
เอ๊ะไม่เท่าไหร่แล้วแฮะ
ถ้าการนั่งครั้งใด ถ้าสมาธิมั่นคง
ก็จะนั่งได้นานและมีความสุข
อาจารย์สอนว่าเวลาเกิดนิมิตให้กำหนด
แล้วกลับไปยุบหนอ พองหนอ ต่อให้ได้
แต่ผมไม่ค่อยเชื่อ พอเกิดนิมิตผมจะคอยตามดู
สมาธิกลับดีมากอย่างไม่น่าเชื่อ
ผมเฝ้าดูนิมิตที่เกิดขึ้นได้จนอาจารย์ปลุกจากสมาธิ
ผมยังไม่อยากออกเลย
แต่คำนวณว่าถึงจะดีอย่างไร
ถ้าจะให้นั่งเป็นชั่วโมง(อย่างทีคุณนั่งได้)
ต้องถอดขาออกมาประกอบใหม่แน่เลย
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
เพิ่งกลับมาจากไปนั่งสมาธิสิบวันมา รู้สึกดีจังครับ
โพสต์ที่ 7
มาอนุโมทนา ขอสมาธิและปัญญาจงมีแด่ทุกท่าน :D
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 421
- ผู้ติดตาม: 0
เพิ่งกลับมาจากไปนั่งสมาธิสิบวันมา รู้สึกดีจังครับ
โพสต์ที่ 10
หลวงปู่ดุลย์ อตุโลได้เคยพูดเกี่ยวกับนิมิตไว้ว่า เราเห็นนั้นเห็นจริง แต่ว่าสิ่งที่เราเห็นนั้นไม่ใช่สิ่งจริงครับ เป็นการปรุงแต่งขึ้นมา ท่านอาจารย์ว่าในเรื่องวิปัสสนานั้นเราต้องดูตัวเราครับโดยให้มีฐานอยู่ในทั้งสี่ฐานที่กล่าวมาครับผม
รู้สึกดีๆ
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
เพิ่งกลับมาจากไปนั่งสมาธิสิบวันมา รู้สึกดีจังครับ
โพสต์ที่ 11
เคยไปฝึกนั่งกรรมฐานประมาณสองเดือน วัดไหนไม่บอก :D แต่เป็นสองเดือนที่มืดสนิทอย่างแท้จริง หลับตาทีไรก็ไม่เคยเห็นอะไรเลย แต่มีคนบางคนที่ฝึกด้วยกันเห็นครับ คิดว่าไม่ถึง 5% ของทั้งหมด บางคนหลวงพี่ตรวจสอบดูโดยการถามถึงสิ่งที่เห็นก็รู้ว่าไม่ได้เห็นจริง แต่บางคนหลวงพี่ยืนยันได้ว่าเขาเห็นจริงๆ ครับ โลกนี้ยังมีอะไรแปลกๆ อีกหลายอย่างที่วิทยาศาสตร์ยังไม่รู้นะครับ
อีกครั้งเคยไปฝึกวิปัสสนาที่สวนโมกข์ครับ ไม่เห็นอะไรอีกเช่นเคย ได้แต่ปวดขาอย่างเดียว ได้ทราบว่าสิ่งที่เห็นเหล่านั้นเป็นเรื่องปกติของจิตที่มีสมาธิครับ แต่ไม่เกี่ยวอะไรกับการพ้นทุกข์เลยแม้แต่น้อย
อีกครั้งเคยไปฝึกวิปัสสนาที่สวนโมกข์ครับ ไม่เห็นอะไรอีกเช่นเคย ได้แต่ปวดขาอย่างเดียว ได้ทราบว่าสิ่งที่เห็นเหล่านั้นเป็นเรื่องปกติของจิตที่มีสมาธิครับ แต่ไม่เกี่ยวอะไรกับการพ้นทุกข์เลยแม้แต่น้อย
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- nano
- Verified User
- โพสต์: 447
- ผู้ติดตาม: 0
เพิ่งกลับมาจากไปนั่งสมาธิสิบวันมา รู้สึกดีจังครับ
โพสต์ที่ 12
เฮียพอใจครับ ที่ครูสอนนั้นถูกต้องแล้วครับเรื่องนิมิตนั้นอย่าไปสนใจตามมันเป็นดีที่สุด ช่วงนี้อันตรายมากหากเราเกิดไปหลงนิมิตขึ้นมา ถ้าตามไปมากๆเข้า เพี้ยนได้นะครับ มันจะหลอกเอา
ตามตำราในเบื้องต้นมีอยู่สามคือ บริกรรมนิมิต อุคหนิมิต ปฎิภาคนิมิต
ให้ปล่อยผ่านไป อีกหน่อยก็ไม่เกิดอีกครับ
การกำหนดหยุบหนอพองหนอ เป็นการเจริญสติรู้เพื่อให้เกิดปัญญา รู้แจ้งเห็นจริงในไตรลักษณ์ อริยสัจ เป็นวิปัสสนาญาณ
พูดถึงตรงนี้ทำให้นึกถึงนายกทักษิณเลยนะ ในทางโลกเกียรติ ทรัพย์ ยศถาบรรดาศักดิ์ ก็สมบูรณ์พร้อมแล้วหาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยาก ตัวนายกเองสติปัญญา(ทางโลก) ไอคิวก็เป็นเลิศ และช่วงเวลานี้ก็เป็นโอกาสอันดีถ้าได้ออกบวช ฝึกฝนวิปัสสนากับครูบาอาจารย์สายวัดป่า เพื่อสร้างพุทธปัญญา ให้รู้แจ้งเห็นจริง อย่างน้อยก็รู้ซึ้งในโลกธรรม ๘ ว่ามีลาภก็เสื่อมลาภ มียศก็เสื่อมยศ มีสุขก็มีทุกข์ มีสรรเสริญก็มีนินทา มันเป็นเช่นนั้นเอง ถ้าสามารถปฎิบัติได้ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างใหญ่หลวงเลยครับ
ตามตำราในเบื้องต้นมีอยู่สามคือ บริกรรมนิมิต อุคหนิมิต ปฎิภาคนิมิต
ให้ปล่อยผ่านไป อีกหน่อยก็ไม่เกิดอีกครับ
การกำหนดหยุบหนอพองหนอ เป็นการเจริญสติรู้เพื่อให้เกิดปัญญา รู้แจ้งเห็นจริงในไตรลักษณ์ อริยสัจ เป็นวิปัสสนาญาณ
พูดถึงตรงนี้ทำให้นึกถึงนายกทักษิณเลยนะ ในทางโลกเกียรติ ทรัพย์ ยศถาบรรดาศักดิ์ ก็สมบูรณ์พร้อมแล้วหาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยาก ตัวนายกเองสติปัญญา(ทางโลก) ไอคิวก็เป็นเลิศ และช่วงเวลานี้ก็เป็นโอกาสอันดีถ้าได้ออกบวช ฝึกฝนวิปัสสนากับครูบาอาจารย์สายวัดป่า เพื่อสร้างพุทธปัญญา ให้รู้แจ้งเห็นจริง อย่างน้อยก็รู้ซึ้งในโลกธรรม ๘ ว่ามีลาภก็เสื่อมลาภ มียศก็เสื่อมยศ มีสุขก็มีทุกข์ มีสรรเสริญก็มีนินทา มันเป็นเช่นนั้นเอง ถ้าสามารถปฎิบัติได้ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างใหญ่หลวงเลยครับ
- por_jai
- Verified User
- โพสต์: 14338
- ผู้ติดตาม: 0
เพิ่งกลับมาจากไปนั่งสมาธิสิบวันมา รู้สึกดีจังครับ
โพสต์ที่ 15
8) เคยไปนั่งมั๊ยEyore เขียน:ไปธรรมกายระวังจะหลงติดนิมิตนะครับ
เดี๋ยวจะหาทางออกไม่เจอ
ถ้าไม่เคยมันจาคุยกันคนละภาษานา
หรือถ้าเคยไปนั่งก็บอกแบ็คกราวน์หน่อย
จาได้ให้สอบอารมณ์ให้
ว่าทำไงจึงจาไม่ติดนิมิต
ผมชอบนิมิตผมจริงๆนะ
โลกใต้น้ำอ่ะ
ผมยังไม่เคยฝันเลยว่า
มันจะไปได้ไกลถึงเพียงนั้น
นิมิตมันมีข้อเสียอะไรบ้างครับ
สำหรับคนที่ไม่หวังปัญญาอย่างผม
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
-
- Verified User
- โพสต์: 5786
- ผู้ติดตาม: 0
เพิ่งกลับมาจากไปนั่งสมาธิสิบวันมา รู้สึกดีจังครับ
โพสต์ที่ 18
นิมิตเป็นปรากฏการณ์ของจิตเมื่อเริ่มนิ่งครับ (จิตรวม)
ปกติแล้วพฤติกรรมของจิตจะมีลักษณะเหมือนลิง
(ลิงมันไม่อยู่นิ่ง มันชอบวิ่งกระโดดไปมา :D )
การภาวนา เป็นเหมือนอุบายล่อลิง ให้มันอยู่นิ่งๆ
จะเป็น พุทโธ หรือจะ ยุบหนอพองหนอก็แล้วแต่
ล้วนมีจุดประสงค์เพื่อให้จิตจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
จากจิตที่ไม่เคยอยู่นิ่งๆได้เลย เมื่อสามารถอยู่นิ่งได้แล้ว
ก็จะเกิดปรากฎการณ์ของจิตขึ้นมา (เกิดปีติ และ สุข)
ซึ่งแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป
ของผมเหมือนกับตัวใหญ่ ออกไปเรื่อยๆไม่มีสิ้นสุด
(ผมมักจะเป็นแบบนี้ เมื่อจิตรวม เป็นปรากฎการณ์ที่มหัศจรรย์มาก
แต่เกิดขึ้นน้อยครั้งมาก)
case พี่ por_jai เห็นเป็นโลกใต้น้ำ
แต่ไม่ว่านิมิตจะเป็นอย่างไร มันจะก่อให้เกิดความปีติ ขึ้นมาครับ
ทางพระท่านบอกว่า อย่าไปสนใจ ให้จดจ่อกับสิ่งที่เราเฝ้าดูเท่านั้น
(อาจจะเป็นลมหายใจ หรือการยุบพองของหน้าท้อง)
หากเราไปสนใจที่นิมิต สมาธิก็จะคลายลง แล้วนิมิตนั้นก็อาจจะหายไปเลย
หรือเราอาจจะหลงเข้าใจผิด
สิ่งนั้นอาจจะเป็นจินตนาการที่เราสร้างขึ้นมาเอง แล้วเราหลงเข้าใจว่าเป็นนิมิต
การเกิดนิมิต เป็นสัญญาณที่ดีที่บอกว่าจิตเราสามารถรวมตัวได้บ้างแล้ว
เป็นจิตที่เหมาะแก่การทำการงานต่อไป
จุดมุ่งหมายของสมาธิก็เพื่อให้จิตรวม เพื่อทำการงานในลำดับสูงต่อไป
ซึ่งเป้าหมายสุดท้ายที่เราต้องการคือปัญญา นั่นก็คือ วิมุติ หลุดพ้นครับ
สมาธิเป็นเพียง การสร้างความพร้อมให้จิต ในการทำการงาน
หรือ อาจจะเป็นที่พักผ่อนสำหรับจิต ครับ
(จบดีกว่า พูดมากเดี๋ยวผิด :D )
ปกติแล้วพฤติกรรมของจิตจะมีลักษณะเหมือนลิง
(ลิงมันไม่อยู่นิ่ง มันชอบวิ่งกระโดดไปมา :D )
การภาวนา เป็นเหมือนอุบายล่อลิง ให้มันอยู่นิ่งๆ
จะเป็น พุทโธ หรือจะ ยุบหนอพองหนอก็แล้วแต่
ล้วนมีจุดประสงค์เพื่อให้จิตจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
จากจิตที่ไม่เคยอยู่นิ่งๆได้เลย เมื่อสามารถอยู่นิ่งได้แล้ว
ก็จะเกิดปรากฎการณ์ของจิตขึ้นมา (เกิดปีติ และ สุข)
ซึ่งแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป
ของผมเหมือนกับตัวใหญ่ ออกไปเรื่อยๆไม่มีสิ้นสุด
(ผมมักจะเป็นแบบนี้ เมื่อจิตรวม เป็นปรากฎการณ์ที่มหัศจรรย์มาก
แต่เกิดขึ้นน้อยครั้งมาก)
case พี่ por_jai เห็นเป็นโลกใต้น้ำ
แต่ไม่ว่านิมิตจะเป็นอย่างไร มันจะก่อให้เกิดความปีติ ขึ้นมาครับ
ทางพระท่านบอกว่า อย่าไปสนใจ ให้จดจ่อกับสิ่งที่เราเฝ้าดูเท่านั้น
(อาจจะเป็นลมหายใจ หรือการยุบพองของหน้าท้อง)
หากเราไปสนใจที่นิมิต สมาธิก็จะคลายลง แล้วนิมิตนั้นก็อาจจะหายไปเลย
หรือเราอาจจะหลงเข้าใจผิด
สิ่งนั้นอาจจะเป็นจินตนาการที่เราสร้างขึ้นมาเอง แล้วเราหลงเข้าใจว่าเป็นนิมิต
การเกิดนิมิต เป็นสัญญาณที่ดีที่บอกว่าจิตเราสามารถรวมตัวได้บ้างแล้ว
เป็นจิตที่เหมาะแก่การทำการงานต่อไป
จุดมุ่งหมายของสมาธิก็เพื่อให้จิตรวม เพื่อทำการงานในลำดับสูงต่อไป
ซึ่งเป้าหมายสุดท้ายที่เราต้องการคือปัญญา นั่นก็คือ วิมุติ หลุดพ้นครับ
สมาธิเป็นเพียง การสร้างความพร้อมให้จิต ในการทำการงาน
หรือ อาจจะเป็นที่พักผ่อนสำหรับจิต ครับ
(จบดีกว่า พูดมากเดี๋ยวผิด :D )
"Winners never quit, and quitters never win."
- por_jai
- Verified User
- โพสต์: 14338
- ผู้ติดตาม: 0
เพิ่งกลับมาจากไปนั่งสมาธิสิบวันมา รู้สึกดีจังครับ
โพสต์ที่ 19
8) ไม่รู้ในเวปนี้มีใครพอเล่าให้ผมฟัง
เรื่องธรรมกายบ้างไหมครับ
ว่าที่ผมหวังจะได้แค่สมาธิจากธรรมกาย
นี่มันหวังผิดหรือเปล่า
ผมไม่ได้หวังเรื่องปัญญาเลยจริงๆ
ตอนอยู่ที่วัดผา
ตอนอุทิศส่วนกุศล/แผ่เมตตาที่ได้จากการนั่งสมาธิ
ให้กับเจ้ากรรมนายเวรมีบทสวด
ให้หวังไปถึงนิพพาน ผมไม่เคยพูดตามเลย
ผมยังอยากเวียนว่ายตายเกิดอยู่ สนุกดี
เหมือนตอนที่ให้รับศีล5
พอถึงข้อสุราเป็นระยะ
ผมไม่เคยรับศีลข้อนี้เลย
เพราะรู้ว่าทำไม่ได้
กลัวไฮเนเก้น ยอดขายตก.....
เรื่องธรรมกายบ้างไหมครับ
ว่าที่ผมหวังจะได้แค่สมาธิจากธรรมกาย
นี่มันหวังผิดหรือเปล่า
ผมไม่ได้หวังเรื่องปัญญาเลยจริงๆ
ตอนอยู่ที่วัดผา
ตอนอุทิศส่วนกุศล/แผ่เมตตาที่ได้จากการนั่งสมาธิ
ให้กับเจ้ากรรมนายเวรมีบทสวด
ให้หวังไปถึงนิพพาน ผมไม่เคยพูดตามเลย
ผมยังอยากเวียนว่ายตายเกิดอยู่ สนุกดี
เหมือนตอนที่ให้รับศีล5
พอถึงข้อสุราเป็นระยะ
ผมไม่เคยรับศีลข้อนี้เลย
เพราะรู้ว่าทำไม่ได้
กลัวไฮเนเก้น ยอดขายตก.....
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
- oatty
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2444
- ผู้ติดตาม: 0
เพิ่งกลับมาจากไปนั่งสมาธิสิบวันมา รู้สึกดีจังครับ
โพสต์ที่ 20
ไม่ผิดเลยครับพี่พอใจ
เนื่องจากคนเราพอใจต่างกัน
พรหมและพวกเทวดา ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่เป็นหมื่นชาติแสนชาติ นับไม่ได้
ส่วนสมาธิแบบธรรมกาย น่าจะถามคุณโป้งดูนะครับ หรือท่านสมาชิกอื่น ๆ ที่เข้าไปฝึกที่นั่น ก่อนหน้านี้พี่ที่ทำงานก็เป็นศิษย์วัดธรรมกายอยู่ แต่บังเิอิญว่าเกษียนไปซะแล้ว
เนื่องจากคนเราพอใจต่างกัน
พรหมและพวกเทวดา ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่เป็นหมื่นชาติแสนชาติ นับไม่ได้
ส่วนสมาธิแบบธรรมกาย น่าจะถามคุณโป้งดูนะครับ หรือท่านสมาชิกอื่น ๆ ที่เข้าไปฝึกที่นั่น ก่อนหน้านี้พี่ที่ทำงานก็เป็นศิษย์วัดธรรมกายอยู่ แต่บังเิอิญว่าเกษียนไปซะแล้ว
- por_jai
- Verified User
- โพสต์: 14338
- ผู้ติดตาม: 0
เพิ่งกลับมาจากไปนั่งสมาธิสิบวันมา รู้สึกดีจังครับ
โพสต์ที่ 23
8) ก็อย่างที่ค่อยๆเล่าให้ฟังตามกระทู้นี้นะแหละJeng เขียน:อะไรคือผิดพี่พอใจ
ผมสนใจมากขึ้นๆ
มันดูน่าค้นคว้า
และดูมีประโยชน์กับตัวเองกับโลกรอบๆตัว
ก็เลยคิดว่านอกจากสติปัฏฐาน4
ซึ่งสำหรับผมแล้วยากมากที่จะปฏิบัติให้เกิดมรรคเกิดผล
มีแนวอื่นที่เหมาะกับเรา ให้ศึกษาเพิ่มเติมไหม
ผมยกตัวอย่างนะ
เวลาเดินจงกรมนานๆบ่อยๆ ผมก็เอียนเลี่ยนมาก
ไม่ชอบจริงๆ
พอเริ่มจะได้สมาธิ ก็ลงนั่งคุมสติ
ซักพัก
มันก็ปวดไปหมดทั้งขาทั้งหลัง
ตอนสอบอารมณ์ผมก็ถามอาจารย์
ท่านว่าให้อดทน
ถ้าทนไม่ไหวก็เปลี่ยนท่าได้
แต่ให้อดทนไว้จะดีกว่า
ท่านว่าคนแก่อายุ60-70ยังนั่งจนได้ญาณได้เลย
เขามิต้องอดทนปวดมากกว่าผมหรือ
ผมถามต่อว่า ไม่รู้ละ ตอนที่อยู่บ้าน
ถ้าผมจะไปซื้ออาสนะที่มีที่เสริม/หนุนหลัง
ผมจะได้รับมือความปวดให้เหลือด้านเดียวคือปวดขา
อาจารย์ท่านก็ว่าท่านั่งคู้บัลลังก์ นะดีอยู่แล้ว
ไม่ควรไปทำอย่างที่ผมคิด
ให้อดทน (ท่านคงคิดว่าเจอพวกลัทธิแก้ เข้าให้ละมั๊ง)
(จริงๆแล้วตอนอยู่วัด การนั่งก็ดีการเดินก็ดี
มันทำได้ง่ายกว่าตอนกลับมาปฏิบัติที่บ้านเยอะนะ
เพราะเราเหมือนมาเรียนหนังสือ
จิตเราก็จดจ่ออยู่ตลอด)
มาถึงตอนสำคัญ
ท่านอาจารย์ผู้สอนเน้นเสมอๆว่า
สมาธิน่ะง่าย เจริญสติให้เกิดปัญญาน่ะยาก
ผมก็ว่าผมต้องการแค่สมาธิ
ถามว่าการปฏิบัติแนวธรรมกาย
จะเหมาะกับตัวผมมากกว่าไหม
ได้สมาธิง่ายกว่าวิปัสสนากรรมฐาน จริงไหม
ท่านว่าเหมือนเดิม
ให้อดทน ฮุ...ฮุ....
ผิดหรือไม่ผิด ผมก็ไม่รู้จะตอบพี่เจ๋งยังไงดีอ่ะ....
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
-
- Verified User
- โพสต์: 5786
- ผู้ติดตาม: 0
เพิ่งกลับมาจากไปนั่งสมาธิสิบวันมา รู้สึกดีจังครับ
โพสต์ที่ 25
พี่ por_jai หาผ้านุ่มๆ มาพับแล้วเอามาลองก้น
ให้ก้นสูงขึ้นมาหน่อย เวลานั่งก็จะสบายขึ้นครับ
ท่าคู้บรรลังค์เป็นท่าที่เหมาะสมที่สุดแล้ว
เพราะทำให้กายตั้งตรง ดำรงสติได้ง่าย
ไม่สบายจนเกินไป แล้วก็ไม่ลำบากจนเกินไป
ท่านั่งที่สบายจนเกินไป มันทำให้เราเผลอสติได้ง่าย
ซึ่งทำให้เข้าถึงสมาธิได้ยากขึ้น
ส่วนอิริยาบถต่างๆ จะเหมาะสมกับจริตของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป
บางคนเดินจงกรมแล้วจิตรวม เกิดสมาธิได้ง่าย
บางคนนั่งแล้วเกิดสมาธิได้ง่าย
บางคนยืนแล้วเกิดสมาธิได้ง่าย
บางคนนอน (แล้วหลับเลย :lovl: ) อุ้ย...อันนี้ไม่มีครับ
ผมเคยอ่านหนังสือธรรมมะของ ท่าน ป.อ.ปยุตโต
ท่านกล่าวว่าหากนอนไม่หลับ ก็ให้ท่องพุทโธในใจ
จนหลับไปเอง ตื่นขึ้นมาก็จะไม่เพลียมาก
ซึ่งแตกต่างกับการที่กระวนกระวายใจว่านอนไม่หลับ
ตื่นขึ้นมาจะเพลีย และแทบจะไม่อยากลุก
หากจริตของเราเหมาะกับอิริยาบถไหนเราก็เน้นไปที่อิริยาบถนั้นหน่อยก็ได้ครับ
ผมคิดว่า สมาธิไม่ว่าจะสายไหนจุดประสงค์ก็เหมือนกัน
อุบายไม่ว่าจะใช้ไม้ไหน ถ้าหากสามารถล่อให้ลิงอยู่นิ่งก็ใช้ได้เหมือนกัน
แต่ถ้าเราฝึกแบบไหนถนัดแล้ว ก็ควรจะยึดแบบนั้น เพราะเราชำนาญแล้ว
สำหรับผม ผมศรัทธาในสายวัดป่า
ก่อนจบอยากเรียนถามครับ
ที่พี่ por_jai พูดว่า "สอบอารมณ์" เนี่ย มันเป็นยังไงเหรอครับ
ให้ก้นสูงขึ้นมาหน่อย เวลานั่งก็จะสบายขึ้นครับ
ท่าคู้บรรลังค์เป็นท่าที่เหมาะสมที่สุดแล้ว
เพราะทำให้กายตั้งตรง ดำรงสติได้ง่าย
ไม่สบายจนเกินไป แล้วก็ไม่ลำบากจนเกินไป
ท่านั่งที่สบายจนเกินไป มันทำให้เราเผลอสติได้ง่าย
ซึ่งทำให้เข้าถึงสมาธิได้ยากขึ้น
ส่วนอิริยาบถต่างๆ จะเหมาะสมกับจริตของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป
บางคนเดินจงกรมแล้วจิตรวม เกิดสมาธิได้ง่าย
บางคนนั่งแล้วเกิดสมาธิได้ง่าย
บางคนยืนแล้วเกิดสมาธิได้ง่าย
บางคนนอน (แล้วหลับเลย :lovl: ) อุ้ย...อันนี้ไม่มีครับ
ผมเคยอ่านหนังสือธรรมมะของ ท่าน ป.อ.ปยุตโต
ท่านกล่าวว่าหากนอนไม่หลับ ก็ให้ท่องพุทโธในใจ
จนหลับไปเอง ตื่นขึ้นมาก็จะไม่เพลียมาก
ซึ่งแตกต่างกับการที่กระวนกระวายใจว่านอนไม่หลับ
ตื่นขึ้นมาจะเพลีย และแทบจะไม่อยากลุก
หากจริตของเราเหมาะกับอิริยาบถไหนเราก็เน้นไปที่อิริยาบถนั้นหน่อยก็ได้ครับ
ผมคิดว่า สมาธิไม่ว่าจะสายไหนจุดประสงค์ก็เหมือนกัน
อุบายไม่ว่าจะใช้ไม้ไหน ถ้าหากสามารถล่อให้ลิงอยู่นิ่งก็ใช้ได้เหมือนกัน
แต่ถ้าเราฝึกแบบไหนถนัดแล้ว ก็ควรจะยึดแบบนั้น เพราะเราชำนาญแล้ว
สำหรับผม ผมศรัทธาในสายวัดป่า
ก่อนจบอยากเรียนถามครับ
ที่พี่ por_jai พูดว่า "สอบอารมณ์" เนี่ย มันเป็นยังไงเหรอครับ
"Winners never quit, and quitters never win."
- por_jai
- Verified User
- โพสต์: 14338
- ผู้ติดตาม: 0
เพิ่งกลับมาจากไปนั่งสมาธิสิบวันมา รู้สึกดีจังครับ
โพสต์ที่ 26
8) ผมเลียนแบบในพันทิพครับjojo เขียน:
อย่าเรียกผมว่าพี่เลยครับ แฮ่ะ ๆ เพิ่งจะเลยสามสิบมาไม่นานเอง
(พี่ซีเคเล่าให้ฟัง)
ที่ต่างฝ่ายต่างเรียกกันว่าพี่
ถือว่าให้เกียรติกับความรู้ความสามารถมากกว่าอายุ
(แต่จริงๆแล้วผมจะได้ไม่รู้สึกแก่ มากไปกว่านี้...)
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
- por_jai
- Verified User
- โพสต์: 14338
- ผู้ติดตาม: 0
เพิ่งกลับมาจากไปนั่งสมาธิสิบวันมา รู้สึกดีจังครับ
โพสต์ที่ 27
8) เป็นอย่างนี้นะครับHVI เขียน: ก่อนจบอยากเรียนถามครับ
ที่พี่ por_jai พูดว่า "สอบอารมณ์" เนี่ย มันเป็นยังไงเหรอครับ
ที่วัดผา
ไปถึงก็เดินจงกรมเลย ก็ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ
ไม่บอกว่าเดินไปทำไมด้วย เดินทั้งวัน
เสร็จแล้ว ก็ให้นั่งสมาธิ นั่งทั้งวันเหมือนกัน
กำหนดด้วย ยุบหนอพองหนอที่ท้อง
แล้วก็ไม่บอกด้วยว่านั่งไปทำไม
เป็นอย่างนี้อยู่2วัน
พอวันที่สามทุกคนที่ไปปฏิบัติ(ครั้งแรก)ก็จะอัดอั้นตันอุรา
ถามกันเองก็ไม่ได้ ห้ามพูด
ก็ต้องรอถามกะอาจารย์ผู้สอน(เป็นทีม5-6คน)
ก็วันที่3กะวันที่6
ให้ผู้มาปฏิบัติมาสอบถามก๊ะท่านอาจารย์
ถึงเรื่องต่างๆที่ข้องใจในเวลาที่กำหนด
ทางอาจารย์ที่สอนเรียกวิธีนี้ว่า สอบอารมณ์ ครับผม...
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
- bluesky
- Verified User
- โพสต์: 332
- ผู้ติดตาม: 0
เพิ่งกลับมาจากไปนั่งสมาธิสิบวันมา รู้สึกดีจังครับ
โพสต์ที่ 29
สำหรับผู้ที่ไปนั่งวิปัสสนา มีใครพอแนะนำสถานที่ให้บ้างอะครับ ว่าใครไปที่ไหนแล้ว ผลเป็นอย่างไรบ้าง ทราบมาว่าบางสถานที่ ถ้าไม่เคยฝึกหรือผ่านการนั่งมาก่อน เค้าไม่ให้ร่วมเข้าปฏิบัติแบบ 10 วัน หรือปฏิบัติยาวๆ แต่เคยได้ยินของ คุณแม่สุนีย์ ก็น่าสนใจเหมือนกัน เสียแต่ว่า หยุดงานยาวๆไม่ได้ แบบนี้เข้าข่าย เจตนาดีแต่กรรมบังไหมเนี่ย 

มีบางคนบอกว่า คนเราเกิดมาเพื่อตามหาอีกครึ่งหนึ่งของตัวเรา
-
- Verified User
- โพสต์: 14
- ผู้ติดตาม: 0
แนะนำสถานที่ปฎิบัตธรรม
โพสต์ที่ 30
เคยไปศืกษาธรรมะหลายแห่งตอนอายุ 30 ปีขื้นไป สถานที่ไป
ได้พบพระอาจารย์ เช่น สวนโมกข์-ท่านพุทธทาส ,วัดสนามใน-หลวงพ่อเทียน (แนวสติ), ยุวพุทธ , หลวงตามหาบัว,หลวงปู่ซา ,วัดพระธรรมกาย ชอบทุกแห่งที่ได้ไปมา แต่พระอาจารย์กล่าวว่า ให้เลีอกแนวปฎิบัติที่ถูกกับจริตของเรามากที่สุดค่ะ ตอนนี้ใกล้เกษียณแล้ว ค่อนฃ้างสงบดี ลองเข้า www.larndham.net , budpage.com นะคะ
ได้พบพระอาจารย์ เช่น สวนโมกข์-ท่านพุทธทาส ,วัดสนามใน-หลวงพ่อเทียน (แนวสติ), ยุวพุทธ , หลวงตามหาบัว,หลวงปู่ซา ,วัดพระธรรมกาย ชอบทุกแห่งที่ได้ไปมา แต่พระอาจารย์กล่าวว่า ให้เลีอกแนวปฎิบัติที่ถูกกับจริตของเรามากที่สุดค่ะ ตอนนี้ใกล้เกษียณแล้ว ค่อนฃ้างสงบดี ลองเข้า www.larndham.net , budpage.com นะคะ