|0 คอมเมนต์
ใจใส เขียน:ใจเรานี่ไม่นิ่งจริงๆเลยค่ะ คิดโน่น นี่นั่น เรื่อยเปื่อย อนาคต อดีต ปนเปไปเรื่อย บางทีอยู่ดีๆก็รู้สึกหงุดหงิดโดยไม่ทราบสาเหตุ สังเกตุได้ว่าเป็นได้ทุกเดือน ผู้หญิงจะลำบากหน่อยค่ะ ถ้าคุณผู้ชายโดนเหวี่ยงใส่ละก็พยายามเข้าใจหน่อยนะคะ
ความไม่นิ่งถูกต้องแล้วครับ เป็นธรรมชาติ ของ จิต ที่จะเิกิดดับในขันธ์ทั้ง 4
จิต ไม่ใช่เรา เรามานั่งสมาธิ ก็เพื่อให้เห็นว่าจิต เกิด ดับ ไปมา ยืนยันโดยคำตถาคต
"จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น
ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ
[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อย
กิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกาย
อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณ
บ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉัน
นั้นแล ฯ"
พอหลุดไปคิดอนาคต (สังขาร)
คิดอดีต (สัญญา)
หงุดหงิด(เวทนา)
ให้ดึงกลับมาที่ลมหายใจ (รูป หรือ กาย)
แล้วเห็นการเิกิดดับของขันธ์ทั้ง 5 ในองค์ฌานนั้นๆ ทำแค่นี้ไปจนนิพพานได้เลย
ไม่ต้องตะกายทำอย่างอื่นนะครับ พระพุทธเจ้าตรัส
"ข้อนี้ฉันใด เรากล่าวว่าพึงเห็นผัสสาหารฉันนั้นเหมือนกัน เมื่ออริยสาวกกำหนดรู้ผัสสาหารได้แล้ว
ก็เป็นอันกำหนดรู้เวทนาทั้งสามได้ เมื่ออริยสาวกกำหนดรู้ เวทนาทั้งสามได้แล้ว เรากล่าวว่าไม่มีสิ่งใดที่อริยสาวกพึงทำให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ อีกแล้ว ฯ" เห็นแค่ เวทนา เิกิดดับ ก้อไปยันนิพพานได้
"ข้อนี้ฉันใด เรากล่าวว่า จะพึง เห็นวิญญาณาหารฉันนั้นเหมือนกัน เมื่ออริยสาวกกำหนดรู้วิญญาณาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้นามรูปได้แล้ว เมื่ออริยสาวกมากำหนดรู้
นามรูปได้แล้ว เรากล่าว ว่า
ไม่มีสิ่งใดที่อริยสาวกจะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีกแล้ว ฯ" อย่าไปตะกายนะครับ ท่านห้ามไว้แล้วด้วย
ท่านตรัสไว้ชัดเจนว่า เป็น อริยสาวก (ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป) ครับ นี่แหละเป็นความรู้ของโสดาบันครับ เรื่องอสาธารณญาณ ที่จะเห็นว่า วิญญาณไม่เวียนเลยไปจากขันธ์ทั้ง 4
ใจใส เขียน:
ช่วงนี้นั่งสมาธิแล้วไม่ค่อยได้เท่าไหร่พอมีอาการซ่า ก็จะรู้ตัวและรู้สึกจั๊กจี้เหมือนในทีวีที่ใช้แป้งตรางู ทีนี้ก็เริ่มคิดไปเรื่อยปรุงแต่งไปเรื่อยๆ สนุกสนานกับการปรุงไปจนออกสมาธิ อุตส่าห์ใช้ชื่อล๊อคอินนี้ เพราะจะได้เตือนตัวเองให้พยายามขัดเกลาจิตใจให้ใสเหมือนแก้วทุกวัน T_T (โธ่เอ๋ย..แค่นี้อิชั้นก็ทำไม่ได้) ปลายเดือนว่าจะไปฝึกวิชาใหม่ค่ะ
ฝันกันแม่นจังค่ะ ถ้าฝันเห็นหุ้นก็บอกๆกันด้วยนะคะ
อาการซ่าเป็น ปิติครับ ยืนยันโดย พระพุทธเจ้า
๑. ภิกษุ ท !ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุศล ธรรม
ทั้งหลาย จึงบรรลุ ฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่.
เธอ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก นั้น ,
ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกนั้น ไม่ถูกต้อง
แล้ว มิได้มี.
ภิกษุ ท !เปรียบเหมือน นายช่างอาบ ก็ดี หรือลูกมือของเขาก็ดีเป็น คนฉลาด
โรยผงที่ใช้สำหรับถูตัวในเวลาอาบน้ำลงในขันสำริด แล้วพรมน้ำหมักไว้ , ครั้นเวลา
เย็น ก้อนผงออกยางเข้ากัน ซึมทั่วกันแล้ว จับกันทั้งภายในภายนอก ไม่ไหลหยด ฉัน
ใด; ภิกษุ ท !ภิกษุนั้น ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวก , ส่วนใดส่วนหนึ่ง ของกายเธอ ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่
ถูกต้องแล้ว มิได้มี , ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุ ท ! นี้คือ การเจริญสัมมาสมาธิ ที่
ประกอบด้วยองค์ห้าอันเป็นอริยะ ประการที่หนึ่ง .
ใจใส เขียน:ใจเรานี่ไม่นิ่งจริงๆเลยค่ะ คิดโน่น นี่นั่น เรื่อยเปื่อย อนาคต อดีต ปนเปไปเรื่อย บางทีอยู่ดีๆก็รู้สึกหงุดหงิดโดยไม่ทราบสาเหตุ สังเกตุได้ว่าเป็นได้ทุกเดือน ผู้หญิงจะลำบากหน่อยค่ะ ถ้าคุณผู้ชายโดนเหวี่ยงใส่ละก็พยายามเข้าใจหน่อยนะคะ
ให้ทำตามพระสูตรด้านล่างนี้ครับ จะเข้านิพพานได้เลย มาถูกทางแล้วครับ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ตติยฌานบ้าง จตุตถฌานบ้าง อากาส
นัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง ฯ
ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน เธอย่อม
พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมี
อยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค
เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด
ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว เธอ
ย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่ง
สังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด
ความดับ นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ
จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิย-
*สังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงรูปหุ่นที่ทำด้วย
หญ้าหรือกองก้อนดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ
ได้แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ ... ว่างเปล่าเป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้น
แล้วย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบ
แห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็น
อุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ข้อที่
เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะ
อาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ