
มั่งคั่งด้วยหุ้น ลงทุนอย่างมีคุณค่า
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4442
วันที่ 7 สิงหาคม ที่ผ่านมา บริษัท เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน)(บมจ.)(PACE) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)ตามเกณฑ์มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด(มาร์เก็ตแคป )ปรากฏว่าราคาปรับตัวลงต่ำกว่าราคาที่ออกและเสนอขายให้กับประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก(ไอพีโอ) ซ้ำรอยบมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ (ANAN) ซึ่งเป็นหุ้นตัวแรกที่เข้าจดทะเบียนตามเกณฑ์มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด(มาร์เก็ตแคป)
โดยหุ้น PACE เปิดตลาดวันแรก (7 ส.ค.) ราคาปรับลงต่ำกว่าไอพีโอทันทีที่ 3.10 บาท จากราคาไอพีโอ 3.50 บาท วันถัดมา (8 ส.ค.)ยังปรับตัวลงต่อเนื่องปิดที่ 2.66 บาท รวม 2 วัน ลดลง 22.86 % ด้านผลการดำเนินงาน PACE ไตรมาส 1/56 ขาดทุนสุทธิ 51.91 ล้านบาท เทียบช่วงเดียวกันปีก่อนมีกำไรสุทธิ 69.16 ล้านบาท
ส่วนเกณฑ์มาร์เก็ตแคปสำหรับหุ้นที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ(SET) ต้องมีมาร์เก็ตแคปขั้นต่ำ 5 พันล้านบาท ส่วนบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ต้องมีมาร์เก็ตแคปขั้นต่ำ 1 พันล้านบาท
ขณะที่ตลท.ยังมั่นอกมั่นใจและยืนยันว่าจะเดินหน้าใช้เกณฑ์มาร์เก็ตแคปต่อไป อีกทั้งจะไม่มีการทบทวนหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าเมื่อมองในแง่ของการระดมทุนถือเป็นการหยิบยื่นโอกาสให้กับผู้ประกอบการ
"ชนิตร์ ชาญชัยณรงค์" รองผู้จัดการหัวหน้าสายงานผู้ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ตลท. ให้เหตุผล พร้อมกล่าวว่า เกณฑ์มาร์เก็ตแคป จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันกับต่างประเทศ รองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( AEC)
"จะเห็นได้ว่าฮ่องกง มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ ก็ใช้เกณฑ์มาร์เก็ตแคป เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทที่มีแนวโน้มในอนาคตที่ดีสามารถระดมทุนได้ ขณะที่มีการเปิดเผยข้อมูลต่อนักลงทุน เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาอยู่แล้ว"
ส่วนสาเหตุที่ราคาหุ้น PACE ปรับตัวลงต่ำกว่าไอพีโอ ผู้บริหารตลท.มองเป็นผลมาจากภาวะตลาดหุ้นที่ไม่เอื้ออำนวย โดยมีปัจจัยลบทั้งเรื่องความกังวลสถานการณ์การเมืองในประเทศ ขณะที่ตลาดหุ้นต่างประเทศก็ปรับตัวลง
ด้าน"สรพจน์ เตชะไกรศรี" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เพซ ดีเวลลอปเมนท์ฯ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมาตนได้เข้าซื้อหุ้น PACE ในตลาดเพิ่มอีกจำนวน 16,547,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 2.85 บาท ( เป็นเงิน 47.17 ล้านบาท) หลังจากเห็นว่าราคาหุ้นลดลงมาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานมาก หลังการซื้อหุ้นเพิ่มในตลาดล่าสุดส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของกลุ่มเตชะไกรศรี เพิ่มขึ้นเป็น 56% ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด
ทั้งหมดคือ ความเคลื่อนไหวของหุ้นไอพีโอตามเกณฑ์มาร์เก็ตแคป ที่สร้างความเจ็บปวดให้กับนักลงทุน ตรงข้ามกับฟากผู้ประกอบการที่แฮปปี้กับเงินระดมทุนก้อนโต
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,869 วันที่ 11 -14 สิงหาคม พ.ศ. 2556
โดยหุ้น PACE เปิดตลาดวันแรก (7 ส.ค.) ราคาปรับลงต่ำกว่าไอพีโอทันทีที่ 3.10 บาท จากราคาไอพีโอ 3.50 บาท วันถัดมา (8 ส.ค.)ยังปรับตัวลงต่อเนื่องปิดที่ 2.66 บาท รวม 2 วัน ลดลง 22.86 % ด้านผลการดำเนินงาน PACE ไตรมาส 1/56 ขาดทุนสุทธิ 51.91 ล้านบาท เทียบช่วงเดียวกันปีก่อนมีกำไรสุทธิ 69.16 ล้านบาท
ส่วนเกณฑ์มาร์เก็ตแคปสำหรับหุ้นที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ(SET) ต้องมีมาร์เก็ตแคปขั้นต่ำ 5 พันล้านบาท ส่วนบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ต้องมีมาร์เก็ตแคปขั้นต่ำ 1 พันล้านบาท
ขณะที่ตลท.ยังมั่นอกมั่นใจและยืนยันว่าจะเดินหน้าใช้เกณฑ์มาร์เก็ตแคปต่อไป อีกทั้งจะไม่มีการทบทวนหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าเมื่อมองในแง่ของการระดมทุนถือเป็นการหยิบยื่นโอกาสให้กับผู้ประกอบการ
"ชนิตร์ ชาญชัยณรงค์" รองผู้จัดการหัวหน้าสายงานผู้ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ตลท. ให้เหตุผล พร้อมกล่าวว่า เกณฑ์มาร์เก็ตแคป จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันกับต่างประเทศ รองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( AEC)
"จะเห็นได้ว่าฮ่องกง มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ ก็ใช้เกณฑ์มาร์เก็ตแคป เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทที่มีแนวโน้มในอนาคตที่ดีสามารถระดมทุนได้ ขณะที่มีการเปิดเผยข้อมูลต่อนักลงทุน เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาอยู่แล้ว"
ส่วนสาเหตุที่ราคาหุ้น PACE ปรับตัวลงต่ำกว่าไอพีโอ ผู้บริหารตลท.มองเป็นผลมาจากภาวะตลาดหุ้นที่ไม่เอื้ออำนวย โดยมีปัจจัยลบทั้งเรื่องความกังวลสถานการณ์การเมืองในประเทศ ขณะที่ตลาดหุ้นต่างประเทศก็ปรับตัวลง
ด้าน"สรพจน์ เตชะไกรศรี" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เพซ ดีเวลลอปเมนท์ฯ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมาตนได้เข้าซื้อหุ้น PACE ในตลาดเพิ่มอีกจำนวน 16,547,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 2.85 บาท ( เป็นเงิน 47.17 ล้านบาท) หลังจากเห็นว่าราคาหุ้นลดลงมาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานมาก หลังการซื้อหุ้นเพิ่มในตลาดล่าสุดส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของกลุ่มเตชะไกรศรี เพิ่มขึ้นเป็น 56% ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด
ทั้งหมดคือ ความเคลื่อนไหวของหุ้นไอพีโอตามเกณฑ์มาร์เก็ตแคป ที่สร้างความเจ็บปวดให้กับนักลงทุน ตรงข้ามกับฟากผู้ประกอบการที่แฮปปี้กับเงินระดมทุนก้อนโต
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,869 วันที่ 11 -14 สิงหาคม พ.ศ. 2556
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4444

จากการสำรวจข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ในส่วนของการซื้อขายแยกรายกลุ่มนักลงทุนย้อนหลัง 3 เดือน (มิ.ย.-5 ก.ย.56) พบว่า บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (พร็อพ เทรด) มียอดขายสุทธิรวมอยู่ที่ 8.5 พันล้านบาท โดยเดือนมิ.ย.56 บัญชีบริษัทหลักทรัพย์มียอดขายสุทธิ 2.5 พันล้านบาท เดือนกรกฎาคม ซื้อ 1.6 พันล้านบาท เดือนสิงหาคม 5.54 พันล้านบาท และล่าสุด 5 ก.ย.56 มียอดขายสุทธิ 2.1 พันล้านบาท
แหล่งข่าวผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า จากสถิติ 3 เดือนที่ผ่านมา ในช่วงก่อนปิดตลาดเวลา 16.00 น.จะพบว่ามีแรงเทขายออกมาจากบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (Prop Trade) ของโบรกเกอร์บางแห่ง ขณะเดียวกันก็จะมี
แรงขายของนักลงทุนที่นิยมการเก็งกำไร โดยเฉพาะนักลงทุนที่ซื้อขายในบัญชีหักกลบลบหนี้ในวันเดียว (net settlement) ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปลดลงแรง
"ปัจจุบันบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายนั้น จะมี 2 ลักษณะคือการซื้อขายแบบระยะยาว และรายวัน ซึ่งจะมีสัดส่วนแค่ไหนขึ้นอยู่กับนโยบายการบริหารพอร์ตลงทุนของแต่ละโบรกเกอร์ ส่วนนักลงทุน
ที่ซื้อขายในบัญชีเน็ทเซทเทิลเมนท์นั้น ก็เป็นตัวผสมโรงที่ทำให้กดดันช่วงท้ายตลาด ที่ผ่านมาพฤติกรรมเช่นนี้ก็จะเกิดขึ้นต่อเนื่อง แต่ล่าสุดเมื่อวอลุ่มในตลาดหุ้นลดลงก็ทำให้เห็นภาพความชัดเจนมากขึ้นด้วย"แหล่งข่าวกล่าว
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรี กล่าวว่าผลกระทบจากกระแสเงินทุนไหลออก เพราะผลจากความกังวลต่อการที่เฟดอาจปรับลดวงเงินการซื้อพันธบัตรในโครงการ QE และเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวกดดันมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์ในครึ่งปีหลังอ่อนแอกว่าคาด โดยปรับลดสมมุติฐานมูลค่าการซื้อขายฯ เฉลี่ยในครึ่งปีหลังเหลือ 3.7 หมื่นล้านบาท จากเดิมคาดไว้ที่ 4.5 หมื่นล้านบาท ทำให้ปรับลดสมมติฐานมูลค่าการซื้อขายฯ เฉลี่ยทั้งปี 56 จากเดิมที่ 5.5 หมื่นล้านบาท เหลือ 4.9 หมื่นล้านบาท และปรับลดประมาณการมูลค่าซื้อขายฯ เฉลี่ยในปี 57 จากเดิม 5 หมื่นล้านบาท เหลือ 4 หมื่นล้านบาท
"จากผลกระทบข้างต้น ฝ่ายวิจัยปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 56 ลง 15% ที่ 1.24 พันล้านบาทเพิ่มขึ้น 67.9%จากงวดเดียวกันปีก่อน โดยคาดว่ากำไรสุทธิในครึ่งปีหลังจะลดลงถึง 65%จากงวดครึ่งแรกของปีนี้เหลือ 325 ล้านบาท"นักวิเคราะห์กล่าว
บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) ระบุว่าหุ้นกลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ มากกว่าปกติ โดยมูลค่าซื้อขายตลาดหลักทรัพย์เดือนสิงหาคม ลดลง 10.19%จากเดือนก่อน โดยบริษัทที่มีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด ได้แก่ บล.เมย์เแบงก์ อยู่ที่ 10.21% แต่มีปริมาณการซื้อขายลดลง 22.61% จากเดือนก่อน ทั้งนี้กลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ สัดส่วนการซื้อขายสูงขึ้น จากเดิมอยู่ที่ 15% ในเดือน ก.ค. 56 ขึ้นมาที่ 17% ในเดือน ส.ค. 56 และถือว่าเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างมากรอบปีนี้ โดยถ้าเทียบกับเดือน ม.ค. 56 แล้วถือว่านักลงทุนกลุ่มนี้ปรับเพิ่มขึ้นมาประมาณ 7% ซึ่งเป็นสัดส่วนการเพิ่มขึ้นเท่ากันกับกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศ โดย ณ สิ้นเดือน ส.ค. 56 มีสัดส่วนเท่ากับ 26%
ทั้งนี้ นักลงทุนที่มีการขายสุทธิได้แก่ บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนต่างประเทศ มีการขายสุทธิ โดย 8 เดือนปีนี้ นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิถึง 1.15 แสนล้านบาท สาเหตุสำคัญมาจากนักลงทุนต่างประเทศเทขายออกมา เนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์สงครามในประเทศซีเรีย, ความไม่ชัดเจนของการยกเลิกนโยบายมาตรการ QE ของสหรัฐอเมริกาและความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศ ส่งผลให้ดัชนีหุ้นไทย เดือนส.ค.ลดลงสูงถึง 128.84 จุด
การเงิน - การลงทุน
วันที่ 7 กันยายน 2556 13:00
'พร็อพ เทรด'ทิ้งหุ้นไทย 8 พันล้าน
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4445
รายงานจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อวานนี้ (6 ก.ย.) ได้เปิดเผยรายงานฐานเงินและเงินสำรองระหว่างประเทศงวดล่าสุด ณ วันที่ 30 ส.ค. ที่ผ่านมา พบว่า ระดับเงินสำรองฯ ของประเทศไทย อยู่ที่ 168,770.33 ล้านดอลลาร์ ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 170,468.55 ล้านดอลลาร์ หรือลดลง 1,698.22 ล้านดอลลาร์
การลดลงของเงินสำรองฯ ครั้งนี้ ถือเป็นการลดลงต่อเนื่อง 3 สัปดาห์ติดต่อกัน และยังเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี นับจากวันที่ 26 พ.ย. 2553 ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่ 168,244.55 ล้านดอลลาร์ โดยการปรับลดลงของระดับเงินสำรองฯ ในครั้งนี้ สอดคล้องกับที่ตลาดการเงินได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่า ธปท. ได้เทขายเงินดอลลาร์ออกมา เพื่อดูแลค่าเงินบาทไม่ให้อ่อนค่ารวดเร็วเกินไป
ธปท.มั่นใจศก.ไทยเสี่ยงต่ำเงินไหลออก
ขณะที่ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “บทเรียน ความท้าทาย และ กลยุทธ์ ในการรักษาเสถียรภาพ ภายใต้ความผันผวนของการเงินโลก” สรุปว่า ปัจจัยเสี่ยงที่นักลงทุนจับตามองในการตัดสินใจเคลื่อนย้ายเงินทุนออกนอกประเทศนั้น แบ่งออกได้ 3 ด้าน คือ
ด้านแรก ได้แก่ ความไร้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยประเทศที่เติบโตบนพื้นฐานของปัจจัยชั่วคราว เช่น การกระตุ้นด้านอุปสงค์ หรือเติบโตจากภาวะ “เงินง่าย” จากปัจจัยภายนอก หรือจากการกู้ยืมจากต่างประเทศที่ไม่สร้างศักยภาพของประเทศในการแข่งขัน จะทำให้ประเทศเหล่านี้เปราะบาง ต่อผลกระทบจากภายนอก หรือวิ่งเข้าสู่ข้อจำกัดในการเติบโตในที่สุด
ส่วนด้านที่สอง คือ ความไร้เสถียรภาพทางการเงิน เพราะหาประเทศมีอัตราเงินเฟ้อสูง เกิดฟองสบู่ในราคาสินทรัพย์ต่างๆ หรือมีการก่อหนี้ที่สูงเกินตัวเรื้อรัง ปัจจัยเหล่านี้จะเพิ่มความเสี่ยงเชิงระบบของประเทศนั้นๆ และทำให้นักลงทุนไม่อยากอยู่ต่อเพราะกังวลว่า ปัญหาเหล่านี้จะนำประเทศเข้าสู่วิกฤติได้
สุดท้ายคือ ความไร้เสถียรภาพด้านสถาบัน เช่น ปัญหาการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมไปถึงความเสี่ยงด้านนโยบายและการบังคับใช้กฎหมาย สิ่งเหล่านี้จะทำลายความเชื่อมั่นของนักลงทุนในระยะยาว และลดแรงจูงใจของเงินทุนที่ดีที่จะเข้ามาทำประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจ
นายประสาร กล่าวว่า ในส่วนของไทย ความเสี่ยงด้านเสถียรภาพที่กล่าวมาทั้งหมดยังอยู่ระดับค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศที่กำลังประสบปัญหาเงินทุนไหลออกรุนแรง ดังนั้นสิ่งสำคัญ คือ ต้องพายามไม่ทำตัวให้เอง ซึ่งยังมีปัจจัยพื้นฐานที่ดีอยู่แล้ว แต่กลับถูกมองว่าอยู่ในสถานะเดียวกับประเทศที่ประสบปัญหา เพราะถ้านักลงทุนขาดความเชื่อมั่นแล้ว จะส่งผลกระทบให้เงินทุนไหลออก จนอาจเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า SELF-FULFILLING ซึ่งหมายถึง ความเชื่อนั้นสามารถทำให้เหตุการณ์เกิดขึ้นได้จริง
เขากล่าวว่า ธปท.มีหน้าที่หลักต้องดูแลเสถียรภาพทางการเงิน ซึ่งก็มีแนวทางและขั้นตอนชัดเจน ในการรับมือความผันผวนในระยะสั้นของภาวะการเงินโลก ซึ่งประกอบด้วย การติดตามการเคลื่อนไหวของเงินทุนในปัจจุบันอย่างใกล้ชิด และมองไปข้างหน้าอยู่เสมอ ขณะเดียวกันก็มีการประเมินสถานการณ์และวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจการเงินอย่างรอบด้านในภาพรวม รวมทั้งยังต้องเตรียมความพร้อมของเครื่องมือต่างๆ ที่จะช่วยลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจตามความจำเป็น ซึ่งรวมถึงมาตรการกำกับดูแลเศรษฐกิจผ่านระบบสถาบันการเงิน (MACRO PRUDENTIAL) ด้วย
ด้าน นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวว่า สถานการณ์ความรุนแรงในซีเรียที่อาจลุกลามออกไปเป็นสงครามนั้น อาจส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกแค่ช่วงสั้นเท่านั้น เพราะถ้าดูระยะยาวแล้ว ความต้องการในตลาดโลกไม่ได้เร่งตัวขึ้นมากนัก สะท้อนผ่านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นจึงไม่ห่วงว่าอุปสงค์น้ำมันจะดันให้ราคาปรับเพิ่มขึ้นไปมากๆ
"ผลกระทบต่อเรื่องนี้ก็คงแค่ช่วงสั้น เพราะระยะยาวยังต้องดูดีมานด์โลก ดูเศรษฐกิจโลกว่าเป็นอย่างไร เพราะในที่สุดของพวกนี้ก็ต้องขึ้นกับปัจจัยพื้นฐาน เชื่อว่าการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันคงไม่รุนแรง เพราะเศรษฐกิจโลกเองก็ทยอยเติบโตช้าๆ ไม่ได้หวือหวา เราจึงไม่ห่วงว่าดีมานด์ตรงนี้จะดันให้ราคาน้ำมันปรับขึ้นไปสูงๆ จนถึง 140 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล" นายไพบูลย์ กล่าว
บาทอ่อนค่าสุดรอบ 3 ปี 2 เดือน
นักบริหารเงินจากธนาคารพาณิชย์ เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทวานนี้ (6 ก.ย.) เปิดตลาดที่ระดับ 32.41-32.44 บาทต่อดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงไปถึงระดับ 32.50 บาทต่อดอลลาร์ ทำสถิติอ่อนค่าสุดในรอบ 3 ปี 2 เดือน ก่อนจะกลับมาแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยที่ 32.33 บาทต่อดอลลาร์ และปิดตลาดที่ระดับ 32.38-32.43 บาทต่อดอลลาร์
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงไปทดสอบระดับ 32.50 บาทต่อดอลลาร์เมื่อวานนี้ เพราะตลาดมีการคาดการณ์ถึงการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐ หรือตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่จะอาจจะออกมาดีกว่าที่คาดไว้ ซึ่งจะบ่งชี้ว่าธนาคารกลางสหรัฐอาจปรับลดมาตรการคิวอีลงได้ ทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ส่วนในช่วงบ่ายที่เงินบาทกลับแข็งค่าขึ้น เนื่องจากนักลงทุนมีการขายดอลลาร์ออกมา เพื่อทำกำไรระยะสั้น
สำหรับสัปดาห์หน้าคาดว่าเงินบาทมีโอกาสจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.35-32.50 บาทต่อดอลลาร์ โดยยังมีแนวโน้มอ่อนค่าได้อีก หากสามารถทะลุระดับ 32.50 บาทต่อดอลลาร์ไปได้ โดยจะต้องจับตาตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐคืนนี้เป็นหลัก
เดือนส.ค. ขายออก 4.5 หมื่นล้าน
นายสุชาติ ธนฐิติพันธ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (THAIBMA) เปิดเผยว่า ในเดือนส.ค. มีเงินไหลออกจากตลาดตราสารหนี้ค่อนข้างมาก 92,000 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินลงทุนที่ครบอายุ 47,000 ล้านบาท และยอดขายสุทธิ 45,000 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการขายตราสารหนี้ระยะสั้น 31,000 ล้านบาท และตราสารหนี้ระยะยาว 14,000 ล้านบาท
จากแรงขายดังกล่าว ส่งผลทำให้ช่วง 8 เดือนแรก มีเงินทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดตราสารหนี้แล้ว 10,093 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ครบอายุ 324,000 ล้านบาท และเป็นยอดซื้อสุทธิ 314,000 ล้านบาท ทำให้ต่างชาติมียอดถือครองตราสารหนี้สุทธิสิ้นเดือนส.ค.ที่ผ่านมาเหลืออยู่ 701,000 ล้านบาท จากสิ้นปี 2555 ที่ 710,000 ล้านบาท
"ทำให้เดือนส.ค. ผลตอบแทนของตราสารหนี้ไทยปรับตัวขึ้นมาเฉลี่ย 0.20-0.30% ตลอดทุกช่วงอายุ ซึ่งจะเห็นว่าเงินที่ไหลออกไปส่วนใหญ่จะเป็นเงินในตราสารหนี้ระยะสั้น ที่ครบอายุและขายออกมา ซึ่งส่วนหนึ่งคงเป็นเงินร้อนที่ไหลเข้ามาก่อนหน้าด้วยเช่นกัน" นายสุชาติ ระบุ
ตัวเลขปัจจุบัน ยังเหลือสัดส่วนของตราสารหนี้ระยะสั้นที่ต่างชาติถือครอง 111,000 ล้านบาท จากนี้ไปภาวะการไหลออกของเงินทุนต่างชาติ น่าจะมีแนวโน้มกลับสู่ภาวะปกติ เพราะตราสารหนี้ระยะสั้นทั้งหมด จะทยอยครบกำหนดเฉลี่ยเดือนละ 10,000 ล้านบาท ไปตลอดทุกเดือนจนครบมูลค่า
"แต่ถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้นภาวะการลงทุนของต่างชาติในตลาดตราสารหนี้ไทยหลังจากนี้น่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แม้ว่าเงินลงทุนใหม่อาจจะยังไม่กลับเข้ามา แต่เงินที่จะไหลออกนั้นก็คงชะลอตัวลงสู่ภาวะปกติอีกครั้ง"
ส่วนเงินจะไหลกลับเมื่อไรเป็นเรื่องที่ประเมินได้ยากแต่ต่างชาติที่ลงทุนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน เป็นกลุ่มนักลงทุนระยะยาวอยู่แล้ว ซึ่งคงไม่ได้อิงกับปัจจัยดังกล่าว ปัจจุบันสัดส่วนการซื้อขายของต่างชาติ ก็ปกติเฉลี่ย 12-13% ของมูลค่าการซื้อขายรวม
หุ้นพุ่งสวนบาทอ่อน
ขณะที่ภาพรวมตลาดหุ้นไทยวานนี้ ดัชนีปรับขึ้นแรงตามตลาดหุ้นในภูมิภาค ระหว่างวันดัชนีปรับขึ้นสูงสุดที่ระดับ 1,337.03 จุด ปรับต่ำสุดที่ระดับ 1,312.92 จุด ปิดตลาดที่ระดับ 1,336.25 จุด ปรับขึ้น 22.76 จุด หรือ 1.73% มูลค่าการซื้อขาย 31,665.56 ล้านบาท โดยเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคที่ส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในแดนบวก และยังเป็นผลจากแรงซื้อหุ้นขนาดใหญ่ หรือหุ้นในกลุ่มพลังงาน และหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์
ส่วนภาพรวมของตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์หน้า ประเด็นสำคัญนอกจากเรื่องการเตรียมใช้กำลังทหารของสหรัฐอเมริกาต่อซีเรีย และประเด็นคิวอีสหรัฐ ยังต้องติดตามปัจจัยภายในประเทศ กรณีการพิจารณาพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ที่ยังไม่ได้ข้อสรุป รวมถึงการชุมนุมของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพาราและสวนปาล์ม ที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
การเงิน - การลงทุน
วันที่ 7 กันยายน 2556 11:00
ทุนสำรองทรุดรอบ3ปี'ประสาร'ชี้ไทยเสี่ยงต่ำ
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
การลดลงของเงินสำรองฯ ครั้งนี้ ถือเป็นการลดลงต่อเนื่อง 3 สัปดาห์ติดต่อกัน และยังเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี นับจากวันที่ 26 พ.ย. 2553 ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่ 168,244.55 ล้านดอลลาร์ โดยการปรับลดลงของระดับเงินสำรองฯ ในครั้งนี้ สอดคล้องกับที่ตลาดการเงินได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่า ธปท. ได้เทขายเงินดอลลาร์ออกมา เพื่อดูแลค่าเงินบาทไม่ให้อ่อนค่ารวดเร็วเกินไป
ธปท.มั่นใจศก.ไทยเสี่ยงต่ำเงินไหลออก
ขณะที่ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “บทเรียน ความท้าทาย และ กลยุทธ์ ในการรักษาเสถียรภาพ ภายใต้ความผันผวนของการเงินโลก” สรุปว่า ปัจจัยเสี่ยงที่นักลงทุนจับตามองในการตัดสินใจเคลื่อนย้ายเงินทุนออกนอกประเทศนั้น แบ่งออกได้ 3 ด้าน คือ
ด้านแรก ได้แก่ ความไร้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยประเทศที่เติบโตบนพื้นฐานของปัจจัยชั่วคราว เช่น การกระตุ้นด้านอุปสงค์ หรือเติบโตจากภาวะ “เงินง่าย” จากปัจจัยภายนอก หรือจากการกู้ยืมจากต่างประเทศที่ไม่สร้างศักยภาพของประเทศในการแข่งขัน จะทำให้ประเทศเหล่านี้เปราะบาง ต่อผลกระทบจากภายนอก หรือวิ่งเข้าสู่ข้อจำกัดในการเติบโตในที่สุด
ส่วนด้านที่สอง คือ ความไร้เสถียรภาพทางการเงิน เพราะหาประเทศมีอัตราเงินเฟ้อสูง เกิดฟองสบู่ในราคาสินทรัพย์ต่างๆ หรือมีการก่อหนี้ที่สูงเกินตัวเรื้อรัง ปัจจัยเหล่านี้จะเพิ่มความเสี่ยงเชิงระบบของประเทศนั้นๆ และทำให้นักลงทุนไม่อยากอยู่ต่อเพราะกังวลว่า ปัญหาเหล่านี้จะนำประเทศเข้าสู่วิกฤติได้
สุดท้ายคือ ความไร้เสถียรภาพด้านสถาบัน เช่น ปัญหาการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมไปถึงความเสี่ยงด้านนโยบายและการบังคับใช้กฎหมาย สิ่งเหล่านี้จะทำลายความเชื่อมั่นของนักลงทุนในระยะยาว และลดแรงจูงใจของเงินทุนที่ดีที่จะเข้ามาทำประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจ
นายประสาร กล่าวว่า ในส่วนของไทย ความเสี่ยงด้านเสถียรภาพที่กล่าวมาทั้งหมดยังอยู่ระดับค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศที่กำลังประสบปัญหาเงินทุนไหลออกรุนแรง ดังนั้นสิ่งสำคัญ คือ ต้องพายามไม่ทำตัวให้เอง ซึ่งยังมีปัจจัยพื้นฐานที่ดีอยู่แล้ว แต่กลับถูกมองว่าอยู่ในสถานะเดียวกับประเทศที่ประสบปัญหา เพราะถ้านักลงทุนขาดความเชื่อมั่นแล้ว จะส่งผลกระทบให้เงินทุนไหลออก จนอาจเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า SELF-FULFILLING ซึ่งหมายถึง ความเชื่อนั้นสามารถทำให้เหตุการณ์เกิดขึ้นได้จริง
เขากล่าวว่า ธปท.มีหน้าที่หลักต้องดูแลเสถียรภาพทางการเงิน ซึ่งก็มีแนวทางและขั้นตอนชัดเจน ในการรับมือความผันผวนในระยะสั้นของภาวะการเงินโลก ซึ่งประกอบด้วย การติดตามการเคลื่อนไหวของเงินทุนในปัจจุบันอย่างใกล้ชิด และมองไปข้างหน้าอยู่เสมอ ขณะเดียวกันก็มีการประเมินสถานการณ์และวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจการเงินอย่างรอบด้านในภาพรวม รวมทั้งยังต้องเตรียมความพร้อมของเครื่องมือต่างๆ ที่จะช่วยลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจตามความจำเป็น ซึ่งรวมถึงมาตรการกำกับดูแลเศรษฐกิจผ่านระบบสถาบันการเงิน (MACRO PRUDENTIAL) ด้วย
ด้าน นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวว่า สถานการณ์ความรุนแรงในซีเรียที่อาจลุกลามออกไปเป็นสงครามนั้น อาจส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกแค่ช่วงสั้นเท่านั้น เพราะถ้าดูระยะยาวแล้ว ความต้องการในตลาดโลกไม่ได้เร่งตัวขึ้นมากนัก สะท้อนผ่านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นจึงไม่ห่วงว่าอุปสงค์น้ำมันจะดันให้ราคาปรับเพิ่มขึ้นไปมากๆ
"ผลกระทบต่อเรื่องนี้ก็คงแค่ช่วงสั้น เพราะระยะยาวยังต้องดูดีมานด์โลก ดูเศรษฐกิจโลกว่าเป็นอย่างไร เพราะในที่สุดของพวกนี้ก็ต้องขึ้นกับปัจจัยพื้นฐาน เชื่อว่าการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันคงไม่รุนแรง เพราะเศรษฐกิจโลกเองก็ทยอยเติบโตช้าๆ ไม่ได้หวือหวา เราจึงไม่ห่วงว่าดีมานด์ตรงนี้จะดันให้ราคาน้ำมันปรับขึ้นไปสูงๆ จนถึง 140 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล" นายไพบูลย์ กล่าว
บาทอ่อนค่าสุดรอบ 3 ปี 2 เดือน
นักบริหารเงินจากธนาคารพาณิชย์ เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทวานนี้ (6 ก.ย.) เปิดตลาดที่ระดับ 32.41-32.44 บาทต่อดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงไปถึงระดับ 32.50 บาทต่อดอลลาร์ ทำสถิติอ่อนค่าสุดในรอบ 3 ปี 2 เดือน ก่อนจะกลับมาแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยที่ 32.33 บาทต่อดอลลาร์ และปิดตลาดที่ระดับ 32.38-32.43 บาทต่อดอลลาร์
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงไปทดสอบระดับ 32.50 บาทต่อดอลลาร์เมื่อวานนี้ เพราะตลาดมีการคาดการณ์ถึงการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐ หรือตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่จะอาจจะออกมาดีกว่าที่คาดไว้ ซึ่งจะบ่งชี้ว่าธนาคารกลางสหรัฐอาจปรับลดมาตรการคิวอีลงได้ ทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ส่วนในช่วงบ่ายที่เงินบาทกลับแข็งค่าขึ้น เนื่องจากนักลงทุนมีการขายดอลลาร์ออกมา เพื่อทำกำไรระยะสั้น
สำหรับสัปดาห์หน้าคาดว่าเงินบาทมีโอกาสจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.35-32.50 บาทต่อดอลลาร์ โดยยังมีแนวโน้มอ่อนค่าได้อีก หากสามารถทะลุระดับ 32.50 บาทต่อดอลลาร์ไปได้ โดยจะต้องจับตาตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐคืนนี้เป็นหลัก
เดือนส.ค. ขายออก 4.5 หมื่นล้าน
นายสุชาติ ธนฐิติพันธ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (THAIBMA) เปิดเผยว่า ในเดือนส.ค. มีเงินไหลออกจากตลาดตราสารหนี้ค่อนข้างมาก 92,000 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินลงทุนที่ครบอายุ 47,000 ล้านบาท และยอดขายสุทธิ 45,000 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการขายตราสารหนี้ระยะสั้น 31,000 ล้านบาท และตราสารหนี้ระยะยาว 14,000 ล้านบาท
จากแรงขายดังกล่าว ส่งผลทำให้ช่วง 8 เดือนแรก มีเงินทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดตราสารหนี้แล้ว 10,093 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ครบอายุ 324,000 ล้านบาท และเป็นยอดซื้อสุทธิ 314,000 ล้านบาท ทำให้ต่างชาติมียอดถือครองตราสารหนี้สุทธิสิ้นเดือนส.ค.ที่ผ่านมาเหลืออยู่ 701,000 ล้านบาท จากสิ้นปี 2555 ที่ 710,000 ล้านบาท
"ทำให้เดือนส.ค. ผลตอบแทนของตราสารหนี้ไทยปรับตัวขึ้นมาเฉลี่ย 0.20-0.30% ตลอดทุกช่วงอายุ ซึ่งจะเห็นว่าเงินที่ไหลออกไปส่วนใหญ่จะเป็นเงินในตราสารหนี้ระยะสั้น ที่ครบอายุและขายออกมา ซึ่งส่วนหนึ่งคงเป็นเงินร้อนที่ไหลเข้ามาก่อนหน้าด้วยเช่นกัน" นายสุชาติ ระบุ
ตัวเลขปัจจุบัน ยังเหลือสัดส่วนของตราสารหนี้ระยะสั้นที่ต่างชาติถือครอง 111,000 ล้านบาท จากนี้ไปภาวะการไหลออกของเงินทุนต่างชาติ น่าจะมีแนวโน้มกลับสู่ภาวะปกติ เพราะตราสารหนี้ระยะสั้นทั้งหมด จะทยอยครบกำหนดเฉลี่ยเดือนละ 10,000 ล้านบาท ไปตลอดทุกเดือนจนครบมูลค่า
"แต่ถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้นภาวะการลงทุนของต่างชาติในตลาดตราสารหนี้ไทยหลังจากนี้น่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แม้ว่าเงินลงทุนใหม่อาจจะยังไม่กลับเข้ามา แต่เงินที่จะไหลออกนั้นก็คงชะลอตัวลงสู่ภาวะปกติอีกครั้ง"
ส่วนเงินจะไหลกลับเมื่อไรเป็นเรื่องที่ประเมินได้ยากแต่ต่างชาติที่ลงทุนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน เป็นกลุ่มนักลงทุนระยะยาวอยู่แล้ว ซึ่งคงไม่ได้อิงกับปัจจัยดังกล่าว ปัจจุบันสัดส่วนการซื้อขายของต่างชาติ ก็ปกติเฉลี่ย 12-13% ของมูลค่าการซื้อขายรวม
หุ้นพุ่งสวนบาทอ่อน
ขณะที่ภาพรวมตลาดหุ้นไทยวานนี้ ดัชนีปรับขึ้นแรงตามตลาดหุ้นในภูมิภาค ระหว่างวันดัชนีปรับขึ้นสูงสุดที่ระดับ 1,337.03 จุด ปรับต่ำสุดที่ระดับ 1,312.92 จุด ปิดตลาดที่ระดับ 1,336.25 จุด ปรับขึ้น 22.76 จุด หรือ 1.73% มูลค่าการซื้อขาย 31,665.56 ล้านบาท โดยเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคที่ส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในแดนบวก และยังเป็นผลจากแรงซื้อหุ้นขนาดใหญ่ หรือหุ้นในกลุ่มพลังงาน และหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์
ส่วนภาพรวมของตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์หน้า ประเด็นสำคัญนอกจากเรื่องการเตรียมใช้กำลังทหารของสหรัฐอเมริกาต่อซีเรีย และประเด็นคิวอีสหรัฐ ยังต้องติดตามปัจจัยภายในประเทศ กรณีการพิจารณาพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ที่ยังไม่ได้ข้อสรุป รวมถึงการชุมนุมของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพาราและสวนปาล์ม ที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
การเงิน - การลงทุน
วันที่ 7 กันยายน 2556 11:00
ทุนสำรองทรุดรอบ3ปี'ประสาร'ชี้ไทยเสี่ยงต่ำ
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4446
ธปท.เผยหนี้เน่ารอบ 1 ปี เพิ่มขึ้น 4.69 หมื่นล้านบาท แยกเป็นลูกหนี้ใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 59% หนี้ไหลย้อนซ้ำซากอีก 15% "บล.ฟิลลิปฯ" แจงโครงการรถคันแรกเริ่มออกฤทธิ์ จับตา"เอ็นพีแอล"ทยอยเร่งตัวจากนี้
"กสิกรไทย" ชี้ชัดคุณภาพหนี้น่าห่วงเหตุอัตราเร่งสูงกว่าสินเชื่อ "ทหารไทย"ระบุอาจเห็นปะทุอีกระลอกช่วงครึ่งแรกปี 2558 หลังส่งมอบรถล็อตใหญ่ครบปี
"ฐานเศรษฐกิจ" รวบรวมตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ณ สิ้นไตรมาส 2/2556 พบว่า ในระบบมียอดเอ็นพีแอลรวมอยู่ที่ 2.64 แสนล้านบาท หากจำแนกเป็นรายธุรกิจจะพบว่า 3 อันดับแรกที่มียอดเอ็นพีแอลสูงสุด ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต 8.53 หมื่นล้านบาท หรือ 32.32% อุปโภคบริโภค 6.32 หมื่นล้านบาท หรือ 23.93% และการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ 3.82 หมื่นล้านบาท หรือ 14.48%
"หากพิจารณาข้อมูลจะพบมูลค่าเอ็นพีแอลมีการเพิ่มขึ้น 4.69 หมื่นล้านบาท หรือ 31.43% จากระดับ 3.57 หมื่นล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอลรายใหม่เพิ่มขึ้น 1.19 หมื่นล้านบาท หรือ 58.79% จากระดับ 2.03 หมื่นล้านบาท มาอยู่ที่ 3.22 หมื่นล้านบาท เอ็นพีแอลที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (Re-Entry) เพิ่มขึ้น 1.22 พันล้านบาท หรือ 14.61% จากระดับ 8.38 พันล้านบาท มาอยู่ที่ 9.60 พันล้านบาท ขณะที่เอ็นพีแอลอื่นๆลดลง 1.94 พันล้านบาท หรือลดลง 27.69% จากระดับ 7.01 พันล้านบาท มาอยู่ที่ 5.07 พันล้านบาท"
ทั้งนี้ ในรายละเอียดการเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอลมูลค่า 4.69 หมื่นล้านบาทนั้น พบการเพิ่มขึ้นของสินเชื่ออุปโภคบริโภคสูงเป็นอันดับ 1 มูลค่าถึง 1.79 หมื่นล้านบาท หรือ 16.06% จากระดับ 1.55 หมื่นล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเอ็นพีแอลรายใหม่มากถึง 1.46 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นกว่า 41.39% จากระดับ 1.03 หมื่นล้านบาท อันดับ 2 สินเชื่อเพื่อการผลิต (ธปท.ปรับนิยามสินเชื่อใหม่ตั้งแต่มกราคม 2556 ซึ่งสินเชื่อเพื่อการผลิตคือสินเชื่อการอุตสาหกรรมเดิม) 7.50 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.22% จากระดับ 5.99 พันล้านบาทและอันดับ 3 การขายส่งและขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ (การพาณิชย์เดิม) 6.81 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.40% จากระดับ 5.07 พันล้านบาท
นายอดิสรณ์ มุ่งพาลชล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย)ฯ กล่าวว่า การเร่งตัวขึ้นของหนี้เอ็นพีแอลในช่วงครึ่งแรกของปีที่ผ่านมา หลักใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นจากสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะกลุ่มเช่าซื้อที่เร่งตัวขึ้นมากอนุมานได้ว่าอาจเกิดขึ้นจากโครงการรถคันแรกของรัฐบาล ทั้งนี้หากยึดจากผลประกอบการไตรมาส 2/2556 ของระบบธนาคารพาณิชย์จะพบว่าธนาคารพาณิชย์ที่มียอดเอ็นพีแอลเร่งตัวขึ้นจากธุรกิจเช่าซื้อได้แก่ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) และธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
อย่างไรก็ตาม คาดการณ์การเกิดเอ็นพีแอลในระยะถัดไปมีแนวโน้มทยอยปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะเอ็นพีแอลจากสินเชื่อรายย่อย ตามภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัว สะท้อนว่ากำลังซื้อภาคประชาชนจะปรับตัวลดลง ซึ่งอาจกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของภาคประชาชนได้ ขณะเดียวกันอาจทำให้สินเชื่อภาคธุรกิจรายใหญ่บางรายกลายเป็นสินเชื่อตกชั้นได้เช่นกัน
"เอ็นพีแอลของสินเชื่อรายย่อยมีอัตราการเร่งตัวสูงมาก หากเทียบกับเอ็นพีแอลในภาคธุรกิจ อีกทั้งเอ็นพีแอลของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่พบยังเป็นการเพิ่มขึ้นเฉพาะรายไม่ได้เกิดขึ้นทั้งระบบ จึงทำให้ภาพรวมไม่น่าเป็นกังวลมากนัก"
เบญจรงค์ สุวรรณคีรี ขณะที่ นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี เจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า คุณภาพสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เริ่มปรับลดลง จากระดับ 1.6% ในไตรมาส 3/2554 ขยับมาอยู่ที่ 2.2% ในไตรมาส 2/2556 และมีแนวโน้มจะทยอยปรับตัวสูงขึ้นและปะทุขึ้นอีกระลอกในช่วงครึ่งแรกของปี 2558 หลังการส่งมอบรถยนต์ตามโครงการรถคันแรกล็อตใหญ่ครบ 1 ปี หรือลูกค้าผ่อนชำระครบ 1 ปีแล้ว ซึ่งสถาบันการเงินต้องติดตามคุณภาพลูกหนี้อย่างใกล้ชิด
"เอ็นพีแอลเร่งตัวสูงขึ้นมากในช่วงไตรมาส 1/2556 เพราะมีทั้งเอ็นพีแอลสะสมจากช่วงน้ำท่วม และเอ็นพีแอลจากสินเชื่อเช่าซื้อเร่งตัวขึ้นเป็นพิเศษ แม้จะปรับลดลงบ้างในไตรมาส 2/2556 แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่สูงมาก ขณะที่เอ็นพีแอลส่วนอื่นๆ เช่น การบริการ การสาธารณูปโภคก็เร่งตัวสูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งน่าเป็นกังวลว่าระยะถัดไปจะกระทบต่อการอุปโภคบริโภคภายในประเทศได้"
ด้านนายศิวัฒน์ เหลืองสมบูรณ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า ปริมาณเอ็นพีแอลที่เร่งตัวขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากปริมาณสินเชื่อคงค้างที่เร่งตัว แม้ในภาพรวมสัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่ออาจปรับตัวเพิ่มขึ้นในระดับที่ไม่สูงมากนัก แต่หากพิจารณาเอ็นพีแอลในแต่ละรายธุรกิจกลับพบอัตราการเร่งตัวขึ้นนั้นมีสัดส่วนสูงกว่าการเร่งตัวของสินเชื่อ ซึ่งยอมรับว่ามีความน่าเป็นห่วง แต่ยังไม่ถึงขั้นกระทบต่อภาพรวมระบบสถาบันการเงิน
"จากข้อมูลข้างต้นจะพบการเร่งตัวของสินเชื่อเช่าซื้ออยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง แต่ที่ไม่น่าห่วงคือขนาดสินเชื่อคงค้างไม่ได้ใหญ่มากนัก ซึ่งต้องติดตามว่าจะเร่งตัวขึ้นอีกระลอกหรือไม่ในช่วงต้นปี 2557 ที่รถยนต์ซึ่งเข้าร่วมโครงการรถคันแรกจะผ่อนชำระครบ 1 ปี อีกทั้งแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยโลกยังอยู่ในช่วงขาขึ้น ซึ่งจะดึงอัตราดอกเบี้ยของไทยให้ปรับสูงขึ้นตามมา อาจกระทบต่อกำลังการผ่อนชำระหนี้ของผู้บริโภคได้ และน่าเป็นห่วงการบริโภคภายในประเทศอาจจะชะลอตัวลงอีกได้"
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,874 วันที่ 29 -31 สิงหาคม พ.ศ. 2556
"กสิกรไทย" ชี้ชัดคุณภาพหนี้น่าห่วงเหตุอัตราเร่งสูงกว่าสินเชื่อ "ทหารไทย"ระบุอาจเห็นปะทุอีกระลอกช่วงครึ่งแรกปี 2558 หลังส่งมอบรถล็อตใหญ่ครบปี
"ฐานเศรษฐกิจ" รวบรวมตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ณ สิ้นไตรมาส 2/2556 พบว่า ในระบบมียอดเอ็นพีแอลรวมอยู่ที่ 2.64 แสนล้านบาท หากจำแนกเป็นรายธุรกิจจะพบว่า 3 อันดับแรกที่มียอดเอ็นพีแอลสูงสุด ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต 8.53 หมื่นล้านบาท หรือ 32.32% อุปโภคบริโภค 6.32 หมื่นล้านบาท หรือ 23.93% และการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ 3.82 หมื่นล้านบาท หรือ 14.48%
"หากพิจารณาข้อมูลจะพบมูลค่าเอ็นพีแอลมีการเพิ่มขึ้น 4.69 หมื่นล้านบาท หรือ 31.43% จากระดับ 3.57 หมื่นล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอลรายใหม่เพิ่มขึ้น 1.19 หมื่นล้านบาท หรือ 58.79% จากระดับ 2.03 หมื่นล้านบาท มาอยู่ที่ 3.22 หมื่นล้านบาท เอ็นพีแอลที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (Re-Entry) เพิ่มขึ้น 1.22 พันล้านบาท หรือ 14.61% จากระดับ 8.38 พันล้านบาท มาอยู่ที่ 9.60 พันล้านบาท ขณะที่เอ็นพีแอลอื่นๆลดลง 1.94 พันล้านบาท หรือลดลง 27.69% จากระดับ 7.01 พันล้านบาท มาอยู่ที่ 5.07 พันล้านบาท"
ทั้งนี้ ในรายละเอียดการเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอลมูลค่า 4.69 หมื่นล้านบาทนั้น พบการเพิ่มขึ้นของสินเชื่ออุปโภคบริโภคสูงเป็นอันดับ 1 มูลค่าถึง 1.79 หมื่นล้านบาท หรือ 16.06% จากระดับ 1.55 หมื่นล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเอ็นพีแอลรายใหม่มากถึง 1.46 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นกว่า 41.39% จากระดับ 1.03 หมื่นล้านบาท อันดับ 2 สินเชื่อเพื่อการผลิต (ธปท.ปรับนิยามสินเชื่อใหม่ตั้งแต่มกราคม 2556 ซึ่งสินเชื่อเพื่อการผลิตคือสินเชื่อการอุตสาหกรรมเดิม) 7.50 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.22% จากระดับ 5.99 พันล้านบาทและอันดับ 3 การขายส่งและขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ (การพาณิชย์เดิม) 6.81 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.40% จากระดับ 5.07 พันล้านบาท
นายอดิสรณ์ มุ่งพาลชล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย)ฯ กล่าวว่า การเร่งตัวขึ้นของหนี้เอ็นพีแอลในช่วงครึ่งแรกของปีที่ผ่านมา หลักใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นจากสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะกลุ่มเช่าซื้อที่เร่งตัวขึ้นมากอนุมานได้ว่าอาจเกิดขึ้นจากโครงการรถคันแรกของรัฐบาล ทั้งนี้หากยึดจากผลประกอบการไตรมาส 2/2556 ของระบบธนาคารพาณิชย์จะพบว่าธนาคารพาณิชย์ที่มียอดเอ็นพีแอลเร่งตัวขึ้นจากธุรกิจเช่าซื้อได้แก่ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) และธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
อย่างไรก็ตาม คาดการณ์การเกิดเอ็นพีแอลในระยะถัดไปมีแนวโน้มทยอยปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะเอ็นพีแอลจากสินเชื่อรายย่อย ตามภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัว สะท้อนว่ากำลังซื้อภาคประชาชนจะปรับตัวลดลง ซึ่งอาจกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของภาคประชาชนได้ ขณะเดียวกันอาจทำให้สินเชื่อภาคธุรกิจรายใหญ่บางรายกลายเป็นสินเชื่อตกชั้นได้เช่นกัน
"เอ็นพีแอลของสินเชื่อรายย่อยมีอัตราการเร่งตัวสูงมาก หากเทียบกับเอ็นพีแอลในภาคธุรกิจ อีกทั้งเอ็นพีแอลของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่พบยังเป็นการเพิ่มขึ้นเฉพาะรายไม่ได้เกิดขึ้นทั้งระบบ จึงทำให้ภาพรวมไม่น่าเป็นกังวลมากนัก"
เบญจรงค์ สุวรรณคีรี ขณะที่ นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี เจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า คุณภาพสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เริ่มปรับลดลง จากระดับ 1.6% ในไตรมาส 3/2554 ขยับมาอยู่ที่ 2.2% ในไตรมาส 2/2556 และมีแนวโน้มจะทยอยปรับตัวสูงขึ้นและปะทุขึ้นอีกระลอกในช่วงครึ่งแรกของปี 2558 หลังการส่งมอบรถยนต์ตามโครงการรถคันแรกล็อตใหญ่ครบ 1 ปี หรือลูกค้าผ่อนชำระครบ 1 ปีแล้ว ซึ่งสถาบันการเงินต้องติดตามคุณภาพลูกหนี้อย่างใกล้ชิด
"เอ็นพีแอลเร่งตัวสูงขึ้นมากในช่วงไตรมาส 1/2556 เพราะมีทั้งเอ็นพีแอลสะสมจากช่วงน้ำท่วม และเอ็นพีแอลจากสินเชื่อเช่าซื้อเร่งตัวขึ้นเป็นพิเศษ แม้จะปรับลดลงบ้างในไตรมาส 2/2556 แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่สูงมาก ขณะที่เอ็นพีแอลส่วนอื่นๆ เช่น การบริการ การสาธารณูปโภคก็เร่งตัวสูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งน่าเป็นกังวลว่าระยะถัดไปจะกระทบต่อการอุปโภคบริโภคภายในประเทศได้"
ด้านนายศิวัฒน์ เหลืองสมบูรณ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า ปริมาณเอ็นพีแอลที่เร่งตัวขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากปริมาณสินเชื่อคงค้างที่เร่งตัว แม้ในภาพรวมสัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่ออาจปรับตัวเพิ่มขึ้นในระดับที่ไม่สูงมากนัก แต่หากพิจารณาเอ็นพีแอลในแต่ละรายธุรกิจกลับพบอัตราการเร่งตัวขึ้นนั้นมีสัดส่วนสูงกว่าการเร่งตัวของสินเชื่อ ซึ่งยอมรับว่ามีความน่าเป็นห่วง แต่ยังไม่ถึงขั้นกระทบต่อภาพรวมระบบสถาบันการเงิน
"จากข้อมูลข้างต้นจะพบการเร่งตัวของสินเชื่อเช่าซื้ออยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง แต่ที่ไม่น่าห่วงคือขนาดสินเชื่อคงค้างไม่ได้ใหญ่มากนัก ซึ่งต้องติดตามว่าจะเร่งตัวขึ้นอีกระลอกหรือไม่ในช่วงต้นปี 2557 ที่รถยนต์ซึ่งเข้าร่วมโครงการรถคันแรกจะผ่อนชำระครบ 1 ปี อีกทั้งแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยโลกยังอยู่ในช่วงขาขึ้น ซึ่งจะดึงอัตราดอกเบี้ยของไทยให้ปรับสูงขึ้นตามมา อาจกระทบต่อกำลังการผ่อนชำระหนี้ของผู้บริโภคได้ และน่าเป็นห่วงการบริโภคภายในประเทศอาจจะชะลอตัวลงอีกได้"
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,874 วันที่ 29 -31 สิงหาคม พ.ศ. 2556
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4447
"ธุรกิจบัณฑิตย์" ชี้ธุรกิจเอสเอ็มอีเสี่ยงปิดกิจการ6.9% เผยเศรษฐกิจทรุดกระทบ-หนีตายหันพึ่งบริการเงินกู้ระยะสั้น ทั้งบัตรเครดิต-บัตรกดเงินสด-สินเชื่อนอกระบบ แนะรัฐกระจายงบประมาณวงกว้างให้ภาคธุรกิจขนาดเล็กเข้าถึงห่วงธุรกิจปิดตัวเพิ่มอีกกว่า 5 หมื่นรายโดยเฉพาะสถานการณ์เศรษฐกิจระยะถัดไปเงินบาทอ่อนค่า-แรงงานยังไม่มีศักยภาพมากนัก
นายเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยผลการวิจัยเรื่อง "SMEs หนีตายเศรษฐกิจถดถอย (ทางเทคนิค)" โดยศึกษาการปรับตัวของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำนวน 713 ราย ใน 16 จังหวัด ระหว่างวันที่ 10-22 สิงหาคม 2556 พบว่า เศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัดกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนโดยตรง โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่จะได้รับผลกระทบมากถึง 58.9% ในจำนวนนี้เป็นผู้ประกอบการที่เริ่มรู้สึกได้รับความยากลำบากในการทำธุรกิจแล้ว 33.2% ลำบากมาก 18.8% และมีความเสี่ยงที่จะปิดกิจการอีก 6.9%
ขณะเดียวกันการสำรวจยังพบ 5 อันดับวิธีที่ผู้ประกอบการเลือกใช้ในการปรับตัวมากที่สุด ประกอบด้วย ลดต้นทุนการผลิต 74.5% ปรับขึ้นราคาสินค้า 69.7% ปรับลดราคาสินค้า 69.2% ปรับลดขนาดการผลิต 60.4% กระทั่งการใช้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อนอกระบบเข้ามาช่วยในการแก้ปัญหาสภาพคล่องระยะสั้น 57.7%
"ปัญหาตอนนี้คือภาครัฐต้องการให้มองเศรษฐกิจเป็นปีต่อปี ทั้งๆที่การเปรียบเทียบปีต่อปีนั้นใช้ได้เฉพาะในภาวะที่เศรษฐกิจขยายตัวในภาวะปกติทั้ง 2 ปี แต่เมื่อใดที่มองว่าเศรษฐกิจมีปัญหาต้องมองไตรมาสต่อไตรมาส โดยเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาขยายตัวชะลอลง 2 ไตรมาสติดกันแล้ว(ตัวเลขสศช.จีดีพีไตรมาส2/2556 ขยายตัว 2.8% แต่ตัวเลขที่แท้จริงติดลบ 0.3% ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 ที่ติดลบ 1.7%) และหากไตรมาสที่ 3 ชะลอลงอีกหรือเป็นบวกเพียงเล็กน้อย ถือเป็นสิ่งที่ต้องให้ความระมัดระวังอย่างมาก โดยเฉพาะสถานการณ์เศรษฐกิจในระยะถัดไปที่เงินบาทอ่อนค่า แรงงานยังไม่มีศักยภาพมากนัก"
อย่างไรก็ตาม ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนักและมีโอกาสปิดกิจการสูง ได้แก่ ภาคธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการอุปโภคบริโภค ธุรกิจต้นน้ำถึงกลางน้ำ เช่น กลุ่มวัตถุดิบ เพราะแม้จะสร้างแบรนด์ใหม่อย่างไรแต่ข้อจำกัดคือหน้าตาของวัตถุดิบยังเหมือนเดิม ธุรกิจขายสินค้าระดับพรีเมียมที่แบรนด์ยังไม่แข็งแรงพอ กลุ่มสิ่งทอ ภาคบริการระดับล่าง
นายเกียรติอนันต์ กล่าวอีกว่า สำหรับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเชิงมหภาค ทั้งการเร่งเบิกจ่ายเงินของภาครัฐ การลงทุนการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท อาจมีผลเชิงบวกกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไม่มาก
"มาตรการในการช่วยเหลือเอสเอ็มอีในระยะสั้นนั้นยังมองไม่เห็น แต่ระยะกลางและระยะยาวภาครัฐอาจจำเป็นต้องกระจายงบประมาณเพื่อให้เข้าถึงภาคธุรกิจรายเล็ก หรือประชาชนในวงกว้างมากขึ้น เพราะตอนนี้ธุรกิจเอสเอ็มอีน่าเป็นห่วงมาก โดยปีที่ผ่านมาต้องปิดกิจการไปกว่า 2 แสนราย จากผู้ประกอบการทั้งสิ้น 2.7 ล้านราย ส่วนหนึ่งอาจกระทบจากปัญหาน้ำท่วมและค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ที่ปรับเพิ่มขึ้น แต่หากไม่หาแนวทางใหม่ๆ รวมทั้งภาครัฐไม่เข้าไปช่วยเหลือ ธุรกิจเสี่ยงทั้ง 6.9% อาจมีโอกาสล้มได้ถึง 1 ใน 4 หรือกว่า 5 หมื่นรายได้"
สิ่งที่จำเป็นต่อธุรกิจเอสเอ็มอีตอนนี้คือการพัฒนาด้านยอดขายของตัวเอง ขณะที่อีกด้านภาครัฐอาจจำเป็นต้องเข้ามาช่วยเหลือในบางจังหวะ เริ่มจากการดูแลสภาพคล่องอย่างทั่วถึงหรือการหาแหล่งวัตถุดิบต้นทุนต่ำให้ เพราะปัจจุบันมีเอสเอ็มอีจำนวนไม่น้อยที่ยังเข้าไม่ถึงสินเชื่อธุรกิจ โดยกว่า 70% ยังเป็นการขอสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องระยะสั้นผ่านสินเชื่อบุคคล สินเชื่อบัตรเครดิตเป็นหลัก จากนั้นควรมีมาตรการเสริมกำลังซื้อและเสริมสร้างประสิทธิภาพบุคลากรเป็นหลัก
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,874 วันที่ 29 -31 สิงหาคม พ.ศ. 2556
นายเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยผลการวิจัยเรื่อง "SMEs หนีตายเศรษฐกิจถดถอย (ทางเทคนิค)" โดยศึกษาการปรับตัวของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำนวน 713 ราย ใน 16 จังหวัด ระหว่างวันที่ 10-22 สิงหาคม 2556 พบว่า เศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัดกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนโดยตรง โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่จะได้รับผลกระทบมากถึง 58.9% ในจำนวนนี้เป็นผู้ประกอบการที่เริ่มรู้สึกได้รับความยากลำบากในการทำธุรกิจแล้ว 33.2% ลำบากมาก 18.8% และมีความเสี่ยงที่จะปิดกิจการอีก 6.9%
ขณะเดียวกันการสำรวจยังพบ 5 อันดับวิธีที่ผู้ประกอบการเลือกใช้ในการปรับตัวมากที่สุด ประกอบด้วย ลดต้นทุนการผลิต 74.5% ปรับขึ้นราคาสินค้า 69.7% ปรับลดราคาสินค้า 69.2% ปรับลดขนาดการผลิต 60.4% กระทั่งการใช้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อนอกระบบเข้ามาช่วยในการแก้ปัญหาสภาพคล่องระยะสั้น 57.7%
"ปัญหาตอนนี้คือภาครัฐต้องการให้มองเศรษฐกิจเป็นปีต่อปี ทั้งๆที่การเปรียบเทียบปีต่อปีนั้นใช้ได้เฉพาะในภาวะที่เศรษฐกิจขยายตัวในภาวะปกติทั้ง 2 ปี แต่เมื่อใดที่มองว่าเศรษฐกิจมีปัญหาต้องมองไตรมาสต่อไตรมาส โดยเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาขยายตัวชะลอลง 2 ไตรมาสติดกันแล้ว(ตัวเลขสศช.จีดีพีไตรมาส2/2556 ขยายตัว 2.8% แต่ตัวเลขที่แท้จริงติดลบ 0.3% ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 ที่ติดลบ 1.7%) และหากไตรมาสที่ 3 ชะลอลงอีกหรือเป็นบวกเพียงเล็กน้อย ถือเป็นสิ่งที่ต้องให้ความระมัดระวังอย่างมาก โดยเฉพาะสถานการณ์เศรษฐกิจในระยะถัดไปที่เงินบาทอ่อนค่า แรงงานยังไม่มีศักยภาพมากนัก"
อย่างไรก็ตาม ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนักและมีโอกาสปิดกิจการสูง ได้แก่ ภาคธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการอุปโภคบริโภค ธุรกิจต้นน้ำถึงกลางน้ำ เช่น กลุ่มวัตถุดิบ เพราะแม้จะสร้างแบรนด์ใหม่อย่างไรแต่ข้อจำกัดคือหน้าตาของวัตถุดิบยังเหมือนเดิม ธุรกิจขายสินค้าระดับพรีเมียมที่แบรนด์ยังไม่แข็งแรงพอ กลุ่มสิ่งทอ ภาคบริการระดับล่าง
นายเกียรติอนันต์ กล่าวอีกว่า สำหรับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเชิงมหภาค ทั้งการเร่งเบิกจ่ายเงินของภาครัฐ การลงทุนการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท อาจมีผลเชิงบวกกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไม่มาก
"มาตรการในการช่วยเหลือเอสเอ็มอีในระยะสั้นนั้นยังมองไม่เห็น แต่ระยะกลางและระยะยาวภาครัฐอาจจำเป็นต้องกระจายงบประมาณเพื่อให้เข้าถึงภาคธุรกิจรายเล็ก หรือประชาชนในวงกว้างมากขึ้น เพราะตอนนี้ธุรกิจเอสเอ็มอีน่าเป็นห่วงมาก โดยปีที่ผ่านมาต้องปิดกิจการไปกว่า 2 แสนราย จากผู้ประกอบการทั้งสิ้น 2.7 ล้านราย ส่วนหนึ่งอาจกระทบจากปัญหาน้ำท่วมและค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ที่ปรับเพิ่มขึ้น แต่หากไม่หาแนวทางใหม่ๆ รวมทั้งภาครัฐไม่เข้าไปช่วยเหลือ ธุรกิจเสี่ยงทั้ง 6.9% อาจมีโอกาสล้มได้ถึง 1 ใน 4 หรือกว่า 5 หมื่นรายได้"
สิ่งที่จำเป็นต่อธุรกิจเอสเอ็มอีตอนนี้คือการพัฒนาด้านยอดขายของตัวเอง ขณะที่อีกด้านภาครัฐอาจจำเป็นต้องเข้ามาช่วยเหลือในบางจังหวะ เริ่มจากการดูแลสภาพคล่องอย่างทั่วถึงหรือการหาแหล่งวัตถุดิบต้นทุนต่ำให้ เพราะปัจจุบันมีเอสเอ็มอีจำนวนไม่น้อยที่ยังเข้าไม่ถึงสินเชื่อธุรกิจ โดยกว่า 70% ยังเป็นการขอสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องระยะสั้นผ่านสินเชื่อบุคคล สินเชื่อบัตรเครดิตเป็นหลัก จากนั้นควรมีมาตรการเสริมกำลังซื้อและเสริมสร้างประสิทธิภาพบุคลากรเป็นหลัก
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,874 วันที่ 29 -31 สิงหาคม พ.ศ. 2556
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4448

เซ็นทรัลอุตสาหกรรมกระดาษ ปิดกิจการตามรอยรองเท้าแพน หลังมีปัญหาสภาพคล่อง เผยเหตุสารพัดปัญหารุมทั้งผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน คู่ค้าไม่ปล่อยสินเชื่อ ส่งผลธุรกิจใหม่รีไซเคิลกระดาษ-ขวดแก้ว ที่ทำมา 1 ปี 5 เดือนสะดุด รอความหวังผู้ถือหุ้นใหม่ชุบชีวิต ด้านตลท.งัดข้อมูลสู้เศรษฐกิจชะลอ บจ.ไทยกระแสเงินสดท่วม 7.2 แสนล้านบาท
บริษัท เซ็นทรัลอุตสาหกรรมกระดาษ จำกัด (มหาชน)(บมจ.)(CPICO)แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)เมื่อวันที่ 2 กันยายนที่ผ่านมาว่า บริษัทได้หยุดประกอบธุรกิจ เนื่องจากประสบปัญหาวิกฤติในธุรกิจที่ทำอยู่ โดยไม่ได้รับสินเชื่อการค้าจากคู่ค้าและยังขาดการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่เคยได้รับ เป็นผลให้ขาดเงินทุนหมุนเวียนและสภาพคล่องอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถ้าบริษัทสามารถเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้นเดิม หรือจากกลุ่มนักลงทุนรายใหม่ทำให้สามารถดำเนินธุรกิจรีไซเคิลเดิมหรือเพิ่มการประกอบธุรกิจประเภทอื่นได้
บมจ.เซ็นทรัลอุตสาหกรรมกระดาษ ระบุว่าบริษัทได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการโดยศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ กำหนดให้บริษัทเป็นผู้บริหารแผน เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548 ต่อมาได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในแผนจนเสร็จสิ้นภายในกำหนดระยะเวลาโดยศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2553
ต่อมาเมื่อสภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น และบริษัทได้รับสินเชื่อการค้าจากคู่ค้าตลอดจนการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่บางส่วน บริษัทจึงเริ่มดำเนินการประกอบธุรกิจรีไซเคิล เช่น กระดาษและขวด นับตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2555 เป็นต้นมา
สำหรับประวัติของบมจ.เซ็นทรัลอุตสาหกรรมกระดาษ ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระดาษพิมพ์เขียนที่มีคุณภาพสูงชนิดไม่เคลือบผิวตั้งแต่ปี 2516 โดยมีเครื่องจักรในการผลิต 5 ชุด มีกำลังการผลิตเต็มที่รวม 68,300 ตันต่อปี ผลิตภัณฑ์หลักคือกระดาษปอนด์และกระดาษคราฟต์ ปี2549-2552 ได้หยุดดำเนินกิจการชั่วคราว ต่อมาได้มีการตีโอนทรัพย์หลักประกันเพื่อเป็นการชำระหนี้ให้กับบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ปัจจุบันได้เปลี่ยนการดำเนินธุรกิจจากการผลิตและจำหน่ายกระดาษพิมพ์เขียนมาเป็นการประกอบธุรกิจรีไซเคิล เช่น กระดาษและขวด ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2555 เป็นต้นไป
สำหรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 5 อันดับแรกของบมจ.เซ็นทรัลอุตสาหกรรมกระดาษ ณ วันที่ 27 มีนาคม 2556 ประกอบด้วย 1.นายบุญโรจน์ ยิ่งเกียรติทวีสุข ถือหุ้น 22.82 % 2. นายวิโรจน์ ธนาลงกรณ์ ถือหุ้น 21.74 % 3. บรรษัท บริหารสินทรัพย์ไทย ถือหุ้น 10.87 % 4. น.ส.ศุภรักษณ์ ศรีสมบูรณานนท์ ถือหุ้น10.87 % และ 5. น.ส.รชดา ศรีสมบูรณานนท์ ถือหุ้น 10.87 %
อนึ่ง ก่อนหน้านี้บมจ.แพนเอเซียฟุตแวร์(PAF)ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มสหพัฒน์ฯแจ้งตลท.ว่าได้ปรับโครงสร้างการประกอบกิจการโดยหยุดประกอบธุรกิจโรงงานผลิตรองเท้า และกระเป๋า ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2556 พร้อมเลิกจ้างพนักงานประมาณ 2,000 คน และให้คงพนักงานไว้เฉพาะส่วนสำนักงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่จำนวนหนึ่งประมาณ 10 คน
นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ รองผู้จัดการตลท. และกรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เปิดเผยว่า แม้เศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว แต่จากสถิติต่างๆของบริษัทจดทะเบียนไทย(บจ.)นั้นกลับพบว่ายังคงมีพื้นฐานแข็งแกร่งในทุกด้าน โดยจากการสำรวจบจ.ไม่รวมกลุ่มธนาคารพาณิชย์ พบว่ามีเงินสดประมาณ 6.4 แสนล้านบาท และหากรวมกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่มีเงินสดอยู่ที่ 8.5 หมื่นล้านบาท จะทำให้บจ.ไทยมีเงินสดทั้งหมด 7.25 แสนล้านบาท จากทรัพย์สินของบจ.ไทยทั้งหมด 6.9 ล้านล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับปี 2540 ที่มีอัตราส่วนเงินสดต่อสินทรัพย์รวมไม่ถึง 2 %
นอกจากนี้ตลท.ยังพบว่าบจ.ไทยมีความสามารถจ่ายดอกเบี้ยที่ 5.3 เท่า จากปกติอยู่ที่ 2-3 เท่า จากฐานะบจ.ทีแข็งแกร่งขณะที่ราคาหุ้นปรับตัวลงกว่าความเป็นจริง ดังนั้นคาดว่าบริษัทเหล่านั้นอาจจะซื้อหุ้นคืน โดยปัจจุบันมีบจ.ที่เริ่มใช้เครื่องมือทางการเงินด้วยการซื้อหุ้นคืนแล้ว 5 บริษัท
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,876 วันที่ 5 - 7 กันยายน พ.ศ. 2556
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4449
การเงิน - การลงทุน
วันที่ 5 กันยายน 2556 09:26
หุ้นพลังงานพุ่งสวนตลาด หลังซีเรียระอุ
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
จากความกังวลว่าสหรัฐอาจเข้าโจมตีซีเรีย หลังจากมีกระแสข่าวว่าโอบามาได้รับเสียงสนับสนุนจากสภาล่าง เพื่อเป็นการเตือนซีเรียว่า การใช้อาวุธเคมีสังหารพลเรือนเป็นสิ่งที่นานาประเทศไม่อาจยอมรับได้ จากกรณีความขัดแย้งดังกล่าว ล่าสุดมีความเป็นไปได้ที่สหรัฐจะเข้าไปโจมตีประเทศซีเรียส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเมื่อสถานการณ์ในซีเรีย มีความร้อนแรงมากขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนเกิดความกังวลและเข้ามาเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มน้ำมัน
ส่งผลภาพรวมการลงทุนในตลาดหุ้นไทยเมื่อวานนี้ (4 ก.ย.) ดัชนีหุ้นปิดตลาดที่ระดับ 1,303.21 จุด ลดลง 12.20 จุด คิดเป็น 0.93% มูลค่าการซื้อขายรวม 3.22 หมื่นล้านบาท ขณะที่ราคาหุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนภาพรวมการลงทุน โดยหุ้นบริษัท ปตท. (PTT) มีความคึกคักมากที่สุด และมีมูลค่าซื้อขายสูงสุด และปิดตลาดที่ราคา 326 บาท เพิ่มขึ้น 1 บาทหรือ 0.31 % บริษัท บ้านปู (banpu) ปิดตลาดที่ 295 บาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 9 บาท หรือ 3.15 % บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (pttep) ปิดตลาดที่ 164.50 บาท ลดลง 0.50 บาท หรือ 0.30% บริษัท ไทยออยล์ (TOP) ปิดตลาดที่ 59 บาท เพิ่มขึ้น 3.75 บาทหรือ 6.79 % ส่วนหุ้นบริษัทซัสโก้ (susco) ปิดตลาดที่ 3.04 บาท เพิ่มขึ้น 0.10 บาท คิดเป็น 3.40%
นายธวัชชัย อัศวพรชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด เปิดเผยว่า กลุ่มพลังงานมีแรงเข้ามาเก็งกำไรค่อนข้างสูง เนื่องจากจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างซีเรียกับสหรัฐอเมริกา โดยถ้าสหรัฐอเมริกาจะเข้าไปโจมตีประเทศซีเรีย จะส่งผลกระทบทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นนักลงทุน จึงให้ความสนใจในหุ้นกลุ่มพลังงาน เพราะยังมีราคาที่ค่อนข้างถูกเมื่อเปรียบเทียบกับหุ้นในกลุ่มอื่น
"แรงเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มพลังงานมองว่าการเข้ามาเก็งกำไร และน่าจะเป็นการลงทุนระยะสั้นเท่านั้น เนื่องจากยังมีปัจจัยลบที่จะคอยเข้ามากดดันอีกหลายเรื่องโดยเฉพาะประเด็นการปรับลดมาตรการคิวอีสหรัฐ ดังนั้นนักลงทุนควรระมัดระวังการลงทุน"นายธวัชชัยกล่าว
บล.เมย์แบงก์กิมเอ็ง ประเทศไทย ระบุว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนต่างราคาผลิตปิโตรเคมีส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง 1.8 -9.8 % ซึ่งเป็นการปรับตัวตามราคาน้ำมัน ปัจจุบันส่วนต่างราคาน้ำเบนซินสูงสุดในรอบ 10 ปี ซึ่งเป็นผลลบต่อกลุ่มผู้ผลิตอะโรเมติกส์ ที่ใช้โอเลฟินส์
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่เริ่มทยอยประกาศออกมาเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น จะเป็นผลบวก โดยเฉพาะดัชนีภาคการผลิตที่ปรับเพิ่มขึ้นในเดือนที่ผ่านมา และจะส่งผลให้แนวโน้มผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ของภาคธุรกิจการกลั่นน้ำมันนั้น สามารถฟื้นตัวได้
บริษัทหลักทรัพย์ เคเคเทรด ระบุว่า กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันนั้นเริ่มมีสัญญาณค่าการกลั่นอ่อนตัวลงหลังหมดช่วงฤดูร้อนในสหรัฐ รวมทั้งการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปของกลุ่มประเทศมุสลิมในภูมิภาคเริ่มลดลง แต่ค่าการกลั่นเฉลี่ยในไตรมาสที่ 3 ของกลุ่มผลิตภัณฑ์สำคัญ ทั้งน้ำมันเบนซินปรับตัวขึ้น 34 % จากไตรมาสก่อน และราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวขึ้น 16% จากไตรมาสก่อน โดยตอนนี้ส่วนต่างราคาพาราไซลีนและเบนซินปรับตัวลดลง 6 % จากเดือนก่อน เป็นไปตามค่าการกลั่นที่อ่อนตัวระยะสั้น แต่ยังมีมุมมองเชิงบวกต่อค่าการกลั่นของยุโรปและสหรัฐที่จะมีค่าการกลั่นกลับมาฟื้นตัว
วันที่ 5 กันยายน 2556 09:26
หุ้นพลังงานพุ่งสวนตลาด หลังซีเรียระอุ
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
จากความกังวลว่าสหรัฐอาจเข้าโจมตีซีเรีย หลังจากมีกระแสข่าวว่าโอบามาได้รับเสียงสนับสนุนจากสภาล่าง เพื่อเป็นการเตือนซีเรียว่า การใช้อาวุธเคมีสังหารพลเรือนเป็นสิ่งที่นานาประเทศไม่อาจยอมรับได้ จากกรณีความขัดแย้งดังกล่าว ล่าสุดมีความเป็นไปได้ที่สหรัฐจะเข้าไปโจมตีประเทศซีเรียส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเมื่อสถานการณ์ในซีเรีย มีความร้อนแรงมากขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนเกิดความกังวลและเข้ามาเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มน้ำมัน
ส่งผลภาพรวมการลงทุนในตลาดหุ้นไทยเมื่อวานนี้ (4 ก.ย.) ดัชนีหุ้นปิดตลาดที่ระดับ 1,303.21 จุด ลดลง 12.20 จุด คิดเป็น 0.93% มูลค่าการซื้อขายรวม 3.22 หมื่นล้านบาท ขณะที่ราคาหุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนภาพรวมการลงทุน โดยหุ้นบริษัท ปตท. (PTT) มีความคึกคักมากที่สุด และมีมูลค่าซื้อขายสูงสุด และปิดตลาดที่ราคา 326 บาท เพิ่มขึ้น 1 บาทหรือ 0.31 % บริษัท บ้านปู (banpu) ปิดตลาดที่ 295 บาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 9 บาท หรือ 3.15 % บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (pttep) ปิดตลาดที่ 164.50 บาท ลดลง 0.50 บาท หรือ 0.30% บริษัท ไทยออยล์ (TOP) ปิดตลาดที่ 59 บาท เพิ่มขึ้น 3.75 บาทหรือ 6.79 % ส่วนหุ้นบริษัทซัสโก้ (susco) ปิดตลาดที่ 3.04 บาท เพิ่มขึ้น 0.10 บาท คิดเป็น 3.40%
นายธวัชชัย อัศวพรชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด เปิดเผยว่า กลุ่มพลังงานมีแรงเข้ามาเก็งกำไรค่อนข้างสูง เนื่องจากจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างซีเรียกับสหรัฐอเมริกา โดยถ้าสหรัฐอเมริกาจะเข้าไปโจมตีประเทศซีเรีย จะส่งผลกระทบทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นนักลงทุน จึงให้ความสนใจในหุ้นกลุ่มพลังงาน เพราะยังมีราคาที่ค่อนข้างถูกเมื่อเปรียบเทียบกับหุ้นในกลุ่มอื่น
"แรงเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มพลังงานมองว่าการเข้ามาเก็งกำไร และน่าจะเป็นการลงทุนระยะสั้นเท่านั้น เนื่องจากยังมีปัจจัยลบที่จะคอยเข้ามากดดันอีกหลายเรื่องโดยเฉพาะประเด็นการปรับลดมาตรการคิวอีสหรัฐ ดังนั้นนักลงทุนควรระมัดระวังการลงทุน"นายธวัชชัยกล่าว
บล.เมย์แบงก์กิมเอ็ง ประเทศไทย ระบุว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนต่างราคาผลิตปิโตรเคมีส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง 1.8 -9.8 % ซึ่งเป็นการปรับตัวตามราคาน้ำมัน ปัจจุบันส่วนต่างราคาน้ำเบนซินสูงสุดในรอบ 10 ปี ซึ่งเป็นผลลบต่อกลุ่มผู้ผลิตอะโรเมติกส์ ที่ใช้โอเลฟินส์
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่เริ่มทยอยประกาศออกมาเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น จะเป็นผลบวก โดยเฉพาะดัชนีภาคการผลิตที่ปรับเพิ่มขึ้นในเดือนที่ผ่านมา และจะส่งผลให้แนวโน้มผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ของภาคธุรกิจการกลั่นน้ำมันนั้น สามารถฟื้นตัวได้
บริษัทหลักทรัพย์ เคเคเทรด ระบุว่า กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันนั้นเริ่มมีสัญญาณค่าการกลั่นอ่อนตัวลงหลังหมดช่วงฤดูร้อนในสหรัฐ รวมทั้งการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปของกลุ่มประเทศมุสลิมในภูมิภาคเริ่มลดลง แต่ค่าการกลั่นเฉลี่ยในไตรมาสที่ 3 ของกลุ่มผลิตภัณฑ์สำคัญ ทั้งน้ำมันเบนซินปรับตัวขึ้น 34 % จากไตรมาสก่อน และราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวขึ้น 16% จากไตรมาสก่อน โดยตอนนี้ส่วนต่างราคาพาราไซลีนและเบนซินปรับตัวลดลง 6 % จากเดือนก่อน เป็นไปตามค่าการกลั่นที่อ่อนตัวระยะสั้น แต่ยังมีมุมมองเชิงบวกต่อค่าการกลั่นของยุโรปและสหรัฐที่จะมีค่าการกลั่นกลับมาฟื้นตัว
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4450
นักวิเคราะห์ชี้ หุ้นผันผวนแต่มีโอกาสฟื้นได้ จับตาปัจจัยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ
บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย และศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองแนวโน้มตลาดหุ้นไทยสัปดาห์ระหว่างวันที่ 9-13 ก.ย. 2556 ดัชนียังคงผันผวน แต่มีโอกาสฟื้นตัวขึ้น โดยต้องติดตามการประชุม FOMC และการประชุม G20 สำหรับรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ อาทิ ยอดค้าปลีก และความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Mich. Consumer Sentiment) ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย คาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 1,303 และ 1,274 ขณะที่แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 1,347 และ 1,380 ตามลำดับ
สัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับเพิ่มขึ้น หลังแรงขายของต่างชาติชะลอลง โดยดัชนีหุ้นไทยปิดที่ระดับ 1,336.25 จุด เพิ่มขึ้น 3.24% จากสัปดาห์ก่อน ด้านมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลง 9.55% จากสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 34,479.26 ล้านบาท โดยนักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนรายย่อย บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ ส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 339.58 จุด เพิ่มขึ้น 2.92% จากสัปดาห์ก่อน
ทั้งนี้ ตลาดหุ้นไทยปรับเพิ่มขึ้นในวันจันทร์ นำโดย หุ้นกลุ่มธนาคาร หลังนักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับซีเรียลง ก่อนที่จะปรับลดลงในช่วงต่อมาโดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับการปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ของเฟด หลังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดี อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ หลังแรงขายของต่างชาติเริ่มชะลอลง

บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย และศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองแนวโน้มตลาดหุ้นไทยสัปดาห์ระหว่างวันที่ 9-13 ก.ย. 2556 ดัชนียังคงผันผวน แต่มีโอกาสฟื้นตัวขึ้น โดยต้องติดตามการประชุม FOMC และการประชุม G20 สำหรับรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ อาทิ ยอดค้าปลีก และความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Mich. Consumer Sentiment) ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย คาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 1,303 และ 1,274 ขณะที่แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 1,347 และ 1,380 ตามลำดับ
สัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับเพิ่มขึ้น หลังแรงขายของต่างชาติชะลอลง โดยดัชนีหุ้นไทยปิดที่ระดับ 1,336.25 จุด เพิ่มขึ้น 3.24% จากสัปดาห์ก่อน ด้านมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลง 9.55% จากสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 34,479.26 ล้านบาท โดยนักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนรายย่อย บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ ส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 339.58 จุด เพิ่มขึ้น 2.92% จากสัปดาห์ก่อน
ทั้งนี้ ตลาดหุ้นไทยปรับเพิ่มขึ้นในวันจันทร์ นำโดย หุ้นกลุ่มธนาคาร หลังนักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับซีเรียลง ก่อนที่จะปรับลดลงในช่วงต่อมาโดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับการปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ของเฟด หลังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดี อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ หลังแรงขายของต่างชาติเริ่มชะลอลง

- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4451
อิเกียมั่นใจกำลังซื้อคนไทยยังดี หลังยอดขาย 8 เดือนโต 8% เตรียมลุย 2 สาขาใหม่ขนาด 5 หมื่น ตร.ม.
น.ส.ลาเซีย เชอร์ล็อค ผู้จัดการสโตร์ อิเกีย บางนา บริษัท อิคาโน่ ประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมกำลังซื้อของผู้บริโภคในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปีนี้ บริษัทมั่นใจว่ายังมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากช่วงปลายปีเป็นช่วงจับจ่ายซื้อสินค้า ซึ่งในส่วนของเศรษฐกิจไทยเองก็มีความแข็งแกร่ง บริษัทจึงมั่นใจว่าครึ่งปีหลังจะมียอดขายเติบโตที่ดี
สำหรับภาพรวมยอดขายในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นช่วงปิดรอบบัญชี 2556 (ก.ย. 2555-ส.ค. 2556) บริษัทมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการอยู่ที่ประมาณ 3 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 19% ขณะที่ยอดขายมีอัตราการเติบโตที่ 8% โดยสินค้าที่ทำรายได้ให้มากที่สุดคือกลุ่มตู้เก็บของแบบกระจก
“กลุ่มลูกค้าหลักที่เข้ามาใช้บริการหลักสัดส่วนประมาณ 65% ยังคงเป็นกลุ่มลูกค้าทั่วไป อีก 35% เป็นกลุ่มลูกค้าองค์กร เพราะแนวทางการทำธุรกิจของบริษัทยังคงเน้นไปที่กลุ่มผู้ใช้งานจริง” น.ส.ลาเซีย กล่าว
ด้านแผนการเปิดสาขาใหม่นั้น บริษัทยังคงเดินหน้าตามแผนเดิมที่วางไว้ คือ เปิดอีก 2 สาขาในอีก 10 ปี ซึ่งทำเลที่ให้ความสนใจยังคงอยู่บริเวณรอบกรุงเทพฯ ในด้านทิศเหนือและทิศตะวันตก โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาซื้อที่ดิน คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้
น.ส.ลาเซีย กล่าวว่า รูปแบบของอิเกียสาขาต่อไปจะมีทั้งบริษัทลงทุนคนเดียวและจับมือกับพันธมิตร ซึ่งขนาดสาขาที่บริษัทให้ความสนใจลงทุนในประเทศไทยจะเป็นสาขาขนาดใหญ่ใช้พื้นที่ประมาณ 4-4.5 หมื่น ตร.ม. เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพไม่เหมาะกับการลงทุนสาขาขนาดกลางพื้นที่ 3.5 หมื่น ตร.ม. และขนาดเล็ก2.5 หมื่น ตร.ม.
“การเลือกทำเลแต่ละแห่งเพื่อเปิดสาขาใหม่อิเกีย บริษัทจะมีการศึกษาสภาพทางภูมิศาสตร์และพฤติกรรมของ|ผู้บริโภค ซึ่งสาขาบางนาถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยเฉพาะช่วงวันหยุดและช่วงปลายปีจะมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการจำนวนมาก”น.ส.ลาเซีย กล่าว
ทั้งนี้ ล่าสุดบริษัทได้เปิดตัวแค็ตตาล็อกอิเกีย 2014 วางตลาด เพื่อเป็นการกระตุ้นกำลังซื้อของลูกค้าในช่วงปลายปี เนื่องจากแค็ตตาล็อกเล่มใหม่จะมีสินค้าใหม่กว่า 1,200 รายการให้ลูกค้าได้เลือกซื้อ โดยในจำนวนดังกล่าวกว่า 950 รายการเป็นสินค้าลดราคา 10%
น.ส.ลาเซีย เชอร์ล็อค ผู้จัดการสโตร์ อิเกีย บางนา บริษัท อิคาโน่ ประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมกำลังซื้อของผู้บริโภคในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปีนี้ บริษัทมั่นใจว่ายังมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากช่วงปลายปีเป็นช่วงจับจ่ายซื้อสินค้า ซึ่งในส่วนของเศรษฐกิจไทยเองก็มีความแข็งแกร่ง บริษัทจึงมั่นใจว่าครึ่งปีหลังจะมียอดขายเติบโตที่ดี
สำหรับภาพรวมยอดขายในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นช่วงปิดรอบบัญชี 2556 (ก.ย. 2555-ส.ค. 2556) บริษัทมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการอยู่ที่ประมาณ 3 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 19% ขณะที่ยอดขายมีอัตราการเติบโตที่ 8% โดยสินค้าที่ทำรายได้ให้มากที่สุดคือกลุ่มตู้เก็บของแบบกระจก
“กลุ่มลูกค้าหลักที่เข้ามาใช้บริการหลักสัดส่วนประมาณ 65% ยังคงเป็นกลุ่มลูกค้าทั่วไป อีก 35% เป็นกลุ่มลูกค้าองค์กร เพราะแนวทางการทำธุรกิจของบริษัทยังคงเน้นไปที่กลุ่มผู้ใช้งานจริง” น.ส.ลาเซีย กล่าว
ด้านแผนการเปิดสาขาใหม่นั้น บริษัทยังคงเดินหน้าตามแผนเดิมที่วางไว้ คือ เปิดอีก 2 สาขาในอีก 10 ปี ซึ่งทำเลที่ให้ความสนใจยังคงอยู่บริเวณรอบกรุงเทพฯ ในด้านทิศเหนือและทิศตะวันตก โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาซื้อที่ดิน คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้
น.ส.ลาเซีย กล่าวว่า รูปแบบของอิเกียสาขาต่อไปจะมีทั้งบริษัทลงทุนคนเดียวและจับมือกับพันธมิตร ซึ่งขนาดสาขาที่บริษัทให้ความสนใจลงทุนในประเทศไทยจะเป็นสาขาขนาดใหญ่ใช้พื้นที่ประมาณ 4-4.5 หมื่น ตร.ม. เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพไม่เหมาะกับการลงทุนสาขาขนาดกลางพื้นที่ 3.5 หมื่น ตร.ม. และขนาดเล็ก2.5 หมื่น ตร.ม.
“การเลือกทำเลแต่ละแห่งเพื่อเปิดสาขาใหม่อิเกีย บริษัทจะมีการศึกษาสภาพทางภูมิศาสตร์และพฤติกรรมของ|ผู้บริโภค ซึ่งสาขาบางนาถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยเฉพาะช่วงวันหยุดและช่วงปลายปีจะมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการจำนวนมาก”น.ส.ลาเซีย กล่าว
ทั้งนี้ ล่าสุดบริษัทได้เปิดตัวแค็ตตาล็อกอิเกีย 2014 วางตลาด เพื่อเป็นการกระตุ้นกำลังซื้อของลูกค้าในช่วงปลายปี เนื่องจากแค็ตตาล็อกเล่มใหม่จะมีสินค้าใหม่กว่า 1,200 รายการให้ลูกค้าได้เลือกซื้อ โดยในจำนวนดังกล่าวกว่า 950 รายการเป็นสินค้าลดราคา 10%
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4452
ที่ดินกรุงเทพฯ ราคาพุ่งต่อเนื่อง อีกปีแตะ ตร.ว.ละ 2 ล้านบาท ล่าสุดย่านสุขุมวิทพุ่ง 1.8 ล้านบาทแล้ว
นายชนะ นันทจันทูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซ็นจูรี่ 21 เรียลตี้ แอฟฟิลิเอทส์ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ใน 1-2 ปีข้างหน้าราคาขายที่ดินบางแปลงอยู่ใกล้กับแนวรถไฟฟ้าจะปรับขึ้นสูงถึง 2 ล้านบาทต่อ ตร.ว. ทำให้โครงการคอนโดมิเนียมจะมีราคาขายเริ่มต้น 1.8-2 แสนบาทต่อ ตร.ม. หลังจากบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่เร่งซื้อที่ดินในเมืองจำนวนมาก ส่งผลให้ราคาที่ดินหลายแปลงขยับขึ้นไม่ต่ำกว่า 100%
ทั้งนี้ แม้ภาวะเศรษฐกิจจะผันผวน แต่ที่ดินแนวรถไฟฟ้ายังปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อย่างล่าสุดที่ดินในซอยสุขุมวิท 55 เริ่มขายที่ราคา 1.3 ล้านบาทต่อ ตร.ว. และบริษัทอยู่ระหว่างต่อรองซื้อที่ดินย่านสุขุมวิทตอนต้น ราคาก็สูงถึง 1.8 ล้านบาทต่อ ตร.ว.
นอกจากนี้ เมื่อที่ดินในเมืองปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง เป็นแรงกดดันทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ต้องออกไปลงทุนหัวเมืองต่างจังหวัดมากขึ้น เพื่อสร้างการเติบโตด้านยอดขายและรายได้ ส่งผลให้ราคาที่ดินหัวเมืองต่างจังหวัดเพิ่มสูงเช่นกัน
นายอุทัย อุทัยแสงสุข รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายงานพัฒนาธุรกิจและพัฒนาโครงการแนวสูง บริษัท แสนสิริ กล่าวว่า ราคาประเมินที่ดินในต่างจังหวัดปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง เช่น จ.พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ขยับขึ้น 100% ชะอำ ขึ้น 60-100% จอมเทียน เพิ่มขึ้น 150-200% เป็นต้น
ด้านนายไพรัช มณฑาพันธุ์ นายกสมาคมนักประเมินราคาอิสระไทย ชี้แจงว่า ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไม่ควรตื่นกับโครงการรถไฟความเร็วสูงที่จะเกิดขึ้น และประเมินราคาที่ดินในแนวรถไฟฟ้าสูงเกินจริง ควรรอดูความชัดเจนของเส้นทางก่อนเพราะหากเป็นแค่ทางผ่าน หรือไม่มีจุดจอดราคาที่ดินจะไม่ขยับสูงมากนัก
นายชนะ นันทจันทูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซ็นจูรี่ 21 เรียลตี้ แอฟฟิลิเอทส์ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ใน 1-2 ปีข้างหน้าราคาขายที่ดินบางแปลงอยู่ใกล้กับแนวรถไฟฟ้าจะปรับขึ้นสูงถึง 2 ล้านบาทต่อ ตร.ว. ทำให้โครงการคอนโดมิเนียมจะมีราคาขายเริ่มต้น 1.8-2 แสนบาทต่อ ตร.ม. หลังจากบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่เร่งซื้อที่ดินในเมืองจำนวนมาก ส่งผลให้ราคาที่ดินหลายแปลงขยับขึ้นไม่ต่ำกว่า 100%
ทั้งนี้ แม้ภาวะเศรษฐกิจจะผันผวน แต่ที่ดินแนวรถไฟฟ้ายังปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อย่างล่าสุดที่ดินในซอยสุขุมวิท 55 เริ่มขายที่ราคา 1.3 ล้านบาทต่อ ตร.ว. และบริษัทอยู่ระหว่างต่อรองซื้อที่ดินย่านสุขุมวิทตอนต้น ราคาก็สูงถึง 1.8 ล้านบาทต่อ ตร.ว.
นอกจากนี้ เมื่อที่ดินในเมืองปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง เป็นแรงกดดันทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ต้องออกไปลงทุนหัวเมืองต่างจังหวัดมากขึ้น เพื่อสร้างการเติบโตด้านยอดขายและรายได้ ส่งผลให้ราคาที่ดินหัวเมืองต่างจังหวัดเพิ่มสูงเช่นกัน
นายอุทัย อุทัยแสงสุข รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายงานพัฒนาธุรกิจและพัฒนาโครงการแนวสูง บริษัท แสนสิริ กล่าวว่า ราคาประเมินที่ดินในต่างจังหวัดปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง เช่น จ.พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ขยับขึ้น 100% ชะอำ ขึ้น 60-100% จอมเทียน เพิ่มขึ้น 150-200% เป็นต้น
ด้านนายไพรัช มณฑาพันธุ์ นายกสมาคมนักประเมินราคาอิสระไทย ชี้แจงว่า ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไม่ควรตื่นกับโครงการรถไฟความเร็วสูงที่จะเกิดขึ้น และประเมินราคาที่ดินในแนวรถไฟฟ้าสูงเกินจริง ควรรอดูความชัดเจนของเส้นทางก่อนเพราะหากเป็นแค่ทางผ่าน หรือไม่มีจุดจอดราคาที่ดินจะไม่ขยับสูงมากนัก
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4453
ในที่สุดไมโครซอฟท์ก็ประกาศเข้าซื้อธุรกิจโทรศัพท์มือถือของโนเกียมูลค่า 7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ (5.44 พันล้านยูโร)
โดยดีลนี้คาดว่าจะเสร็จได้ในไตรมาสแรกปีหน้า โดยจะต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นรวมถึงกระบวนการอนุญาตทางกฏหมายด้วย
ตามอ่านที่กระทู้นี้ครับ
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=56428
โดยดีลนี้คาดว่าจะเสร็จได้ในไตรมาสแรกปีหน้า โดยจะต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นรวมถึงกระบวนการอนุญาตทางกฏหมายด้วย
ตามอ่านที่กระทู้นี้ครับ
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=56428
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4454
การจัดงาน "ไทยแลนด์โฟกัส 2013" ครั้งที่ 7 ที่มีขึ้นระหว่างวันที่ 28-29 สิงหาคมที่ผ่านมา นับว่าท้าทายเจ้าภาพหลักอย่างตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) เพราะเป็นช่วงที่ฟ้าฝนไม่เป็นใจ
พายุลูกใหญ่หรือปัจจัยลบทั้งในประเทศและต่างประเทศกำลังกระหน่ำ ซัดดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลงมาเคลื่อนไหวแบบอ่อนเปลี้ยเพลียแรงที่ 1,200 จุดปลายๆ สาเหตุหลักมาจากการไหลออกของเงินลงทุนต่างชาติ
วัตถุประสงค์ของการจัดงานไทยแลนด์โฟกัส เพื่อแสดงโอกาสทางเศรษฐกิจ และศักยภาพของบริษัทจดทะเบียนไทย(บจ.)ในภาวะที่ภูมิภาคเอเชียกำลังได้รับ ความสนใจมากขึ้น และเป็นโอกาสที่ผู้ลงทุนสถาบันจากทั่วโลกจะได้รับฟังเป้าหมายและยุทธศาสตร์ การบริหารประเทศ จากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
สำหรับปีนี้ผู้จัดการกองทุนจากทั่วโลกเข้าร่วมฟังข้อมูลถึง 168 ราย สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และบจ.ร่วมนำเสนอข้อมูล 112 แห่ง มีการประชุมในงานมากกว่า 2,000 ครั้ง ซึ่ง "จรัมพร โชติกเสถียร" กรรมการและผู้จัดการตลท. เผยว่าเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าตลาดทุนไทยและเศรษฐกิจไทยอยู่ในความสนใจของ ทั่วโลก
ส่วนหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ใช้เวทีนี้ในการชี้แจงทั้งปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ และภาวะตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลดลง โดยยืนยันว่าการเมืองของไทยเดินตามระบอบประชาธิปไตย ขณะที่เจ้าของวลี "โกหกสีขาว"ยอมรับว่า ปัญหาการเมืองกระทบต่อความเชื่อมั่นทำให้บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือยัง ไม่เพิ่มอันดับเครดิตของไทย
ประเด็นฮอต!ที่นักลงทุนต่างชาติสอบถามมากที่สุด "กฤติยา วีรบุรุษ" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทหลักทรัพย์(บล.) ภัทร จำกัด หนึ่งในเจ้าภาพของงานไทยแลนด์โฟกัส กล่าวว่า เป็นเรื่องโครงการลงทุน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งทางรัฐบาลยืนยันว่าทำแน่
เจ้าภาพรายนี้ยังกล่าวด้วยน้ำเสียงที่มีความหวังว่านักลงทุนต่างชาติส่วน ใหญ่ได้รับคำตอบที่พอใจในการตัดสินใจเข้ามาลงทุนในไทย แม้ในระยะสั้นอาจมีเงินไหลออกจากตลาดเกิดใหม่บ้าง แต่เงินที่ไหลออกไปในระดับ 1 แสนล้านบาท น้อยมากเมื่อเทียบกับเม็ดเงินต่างชาติที่ยังถือครองหุ้นไทยอยู่ปัจจุบัน ประมาณ 3.5 ล้านล้านบาท ยังไม่รวมการถือหุ้นแบบพันธมิตรลงทุน หรือการเข้าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของกิจการ ซึ่งถือมานานแล้ว และดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ปรับลดลงนั้น นักลงทุนต่างชาติหลายคนกลับมองเป็นโอกาสในการลงทุน
รูดม่านไปแบบมีความหวังสำหรับงานไทยแลนด์โฟกัสปีนี้ ความหวังที่ว่าผู้จัดการกองทุนต่างชาติจะนำข้อมูลทางเศรษฐกิจและข้อมูลบจ.ไป วิเคราะห์เพื่อวางแผนการลงทุนในตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง และอาจเริ่มชะลอการขายลง
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,875 วันที่ 1 - 4 กันยายน พ.ศ. 2556
พายุลูกใหญ่หรือปัจจัยลบทั้งในประเทศและต่างประเทศกำลังกระหน่ำ ซัดดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลงมาเคลื่อนไหวแบบอ่อนเปลี้ยเพลียแรงที่ 1,200 จุดปลายๆ สาเหตุหลักมาจากการไหลออกของเงินลงทุนต่างชาติ
วัตถุประสงค์ของการจัดงานไทยแลนด์โฟกัส เพื่อแสดงโอกาสทางเศรษฐกิจ และศักยภาพของบริษัทจดทะเบียนไทย(บจ.)ในภาวะที่ภูมิภาคเอเชียกำลังได้รับ ความสนใจมากขึ้น และเป็นโอกาสที่ผู้ลงทุนสถาบันจากทั่วโลกจะได้รับฟังเป้าหมายและยุทธศาสตร์ การบริหารประเทศ จากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
สำหรับปีนี้ผู้จัดการกองทุนจากทั่วโลกเข้าร่วมฟังข้อมูลถึง 168 ราย สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และบจ.ร่วมนำเสนอข้อมูล 112 แห่ง มีการประชุมในงานมากกว่า 2,000 ครั้ง ซึ่ง "จรัมพร โชติกเสถียร" กรรมการและผู้จัดการตลท. เผยว่าเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าตลาดทุนไทยและเศรษฐกิจไทยอยู่ในความสนใจของ ทั่วโลก
ส่วนหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ใช้เวทีนี้ในการชี้แจงทั้งปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ และภาวะตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลดลง โดยยืนยันว่าการเมืองของไทยเดินตามระบอบประชาธิปไตย ขณะที่เจ้าของวลี "โกหกสีขาว"ยอมรับว่า ปัญหาการเมืองกระทบต่อความเชื่อมั่นทำให้บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือยัง ไม่เพิ่มอันดับเครดิตของไทย
ประเด็นฮอต!ที่นักลงทุนต่างชาติสอบถามมากที่สุด "กฤติยา วีรบุรุษ" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทหลักทรัพย์(บล.) ภัทร จำกัด หนึ่งในเจ้าภาพของงานไทยแลนด์โฟกัส กล่าวว่า เป็นเรื่องโครงการลงทุน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งทางรัฐบาลยืนยันว่าทำแน่
เจ้าภาพรายนี้ยังกล่าวด้วยน้ำเสียงที่มีความหวังว่านักลงทุนต่างชาติส่วน ใหญ่ได้รับคำตอบที่พอใจในการตัดสินใจเข้ามาลงทุนในไทย แม้ในระยะสั้นอาจมีเงินไหลออกจากตลาดเกิดใหม่บ้าง แต่เงินที่ไหลออกไปในระดับ 1 แสนล้านบาท น้อยมากเมื่อเทียบกับเม็ดเงินต่างชาติที่ยังถือครองหุ้นไทยอยู่ปัจจุบัน ประมาณ 3.5 ล้านล้านบาท ยังไม่รวมการถือหุ้นแบบพันธมิตรลงทุน หรือการเข้าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของกิจการ ซึ่งถือมานานแล้ว และดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ปรับลดลงนั้น นักลงทุนต่างชาติหลายคนกลับมองเป็นโอกาสในการลงทุน
รูดม่านไปแบบมีความหวังสำหรับงานไทยแลนด์โฟกัสปีนี้ ความหวังที่ว่าผู้จัดการกองทุนต่างชาติจะนำข้อมูลทางเศรษฐกิจและข้อมูลบจ.ไป วิเคราะห์เพื่อวางแผนการลงทุนในตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง และอาจเริ่มชะลอการขายลง
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,875 วันที่ 1 - 4 กันยายน พ.ศ. 2556
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re:
โพสต์ที่ 4455
naris เขียน:ช่วงจิตตก.ผมก็เคยเป็นพี่paul.![]()
ช่วงที่เป็นผมใช้วิธี โทรหาคนที่เราคิดว่าคุยด้วยแล้วเขาสบายใจและรับฟังปัญหาให้เรา หรือโทรหาคนที่มีประสบการณ์ในเรื่องนี้ๆ
ความรู้สึกตอนนั้น ช่วงนั้นที่ผมเคยเป็นก็เบื่อๆอยากๆ "ตามกิเลสที่มันโหยหา" คงเป็นเพราะ มันไม่ได้ดั่งใจที่หวัง คาดหวังแล้วไม่สมหวัง-สิ่งที่คนอื่นดีกว่าตน
พอชงมีอารมณ์นี้มาตอนนั้น ก็ระบายและมองหาสิ่งที่เราต้องการ ดูจริงๆ มันร้อนเพราะเราคิดและอยากให้เป็นอย่างที่ไม่ใช่เป็นอยู่อย่างปัจจุบัน และคิดถึงเรื่องเราต้องการอะไรในชีวิต "ทุกข์หรือสุข" พอชัดเจนว่า เราต้องการสุข และมาคิดให้มันทุกข์ทำไม
ที่สำคัญ ชีวิตเราประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง ถ้าพูดว่าคน100คนในประเทศ แบบเราก็น่าจะเป็นคน10%แรกในประเทศ ทำไมไม่ทำให้ปัจจุบันมีความสุขหล่ะ พอคิดได้อย่างนั้น มันก็วางไปเกือบหมดครับ ใจมันก็มองโลกในแง่ดีแง่บวกมากขึ้นครับพี่paul.
ชงว่าพี่มาระบายในเวปนี้เรื่อยๆ เดี๋ยวก็หายครับ
มานึกย้อนถึงวันหลัง
พี่ขอขอบคุณ น้อง ชง นริศ มากเลย ที่ช่วยประคองพี่ไว้ จนอยู่รอดมาถึงวันนี้ครับ



- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4456
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สิน เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จากกรณีที่ ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 มีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2556 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 3 เดือน ปรากฏว่าโครงการคอนโดมิเนียมที่จะก่อสร้างใหม่จำนวนมากได้รับผลกระทบ ให้กลับไปแก้ไขแบบอาคารใหม่ ให้ถูกต้องตามข้อกำหนดผังเมืองใหม่ ทั้งนี้บทเฉพาะกาลผ่อนผันให้ยึดวันที่ยื่นขออนุญาตเป็นเกณฑ์ หากยื่นขออนุญาตปลูกสร้างอาคารก่อนวันที่ผังเมืองใหม่มีผลบังคับใช้ให้ถือว่าสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขตามผังเมืองเก่าได้ จากปกติจะยึดวันที่ได้รับใบอนุญาตแล้วเป็นเกณฑ์
ปรากฏว่า ในทางปฏิบัติไม่สามารถเป็นไปตามที่บทเฉพาะกาลกำหนดเนื่องจาก โครงการคอนโดมิเนียมในกทม. ส่วนใหญ่จะมีขนาดพื้นที่เกิน 4 พันตารางเมตรขึ้นไป หรือ เกิน 80 ห้อง ต้องอยู่ในข่ายทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) ส่งผลให้ ทางกทม. ต้องส่งเรื่องกลับเจ้าของโครงการเพื่อผ่านสิ่งแวดล้อม หรือ ได้รับอนุมัติ อีไอเอก่อน จึงกลับมายื่นขออนุญาตปลูกสร้างอาคารที่กทม.ได้ ส่งผลให้วันที่นับหนึ่งที่เป็นวันยื่นขออนุญาต จึงต้องรออีไอเอ และการพิจารณาต้องใช้เวลานาน กว่าจะผ่านจึงมีผลให้ผังเมืองกทม.ใหม่บังคับใช้แล้ว ปัญหาที่ตามมาก็คือ บางทำเลไม่สามารถสร้างอาคารขนาดใหญ่ได้ ตามผังเก่า ทำให้ต้องมีการปรับแบบและมีบางโครงการลูกค้าคืนการจองห้องก็มี ซึ่งจากการสำรวจพบว่ามีหลายร้อยโครงการ
สอดคล้องกับนายเลิศมงคล วราเวณุชย์ เลขาธิการสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า ยอมรับว่า มีโครงการคอนโดมิเนียมที่ ได้รับผลกระทบจากความเข้าใจผิดจากบทเฉพาะกาล ของผังเมืองรวมกทม.ฉบับใหม่ที่ระบุว่า อนุโลมให้ยึดวันที่ยื่นขออนุญาตเป็นเกณฑ์แทนที่จะยึดใบอนุญาตเป็นเกณฑ์ ก่อนหรือหลังผังเมืองใหม่บังคับใช้ จึงมีผลให้คอนโดมิเนียมขนาดใหญ่ ที่อยู่ในข่ายต้องทำอีไอเอ จะต้องไปดำเนินการตามขั้นตอนขออีไอเอก่อนจนได้รับใบอนุญาต จึงจะนำหลักฐานการอนุญาตอีไอเอ มาประกอบการยื่นขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร จึงจะนับเป็นวันที่ยื่นขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร ซึ่งแน่นอนว่า ทุกโครงการที่เข้ากระบวนการสิ่งแวดล้อมต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือนขึ้นไป จึงเป็นไปได้ว่า หลายโครงการที่มีเจตนาที่ยื่นขออนุญาตตามผังเก่าและยึดบทเฉพาะกาลผังใหม่จึงได้รับผลกระทบกลับไปแก้แบบใหม่ เพราะหลายพื้นที่ การบังคับใช้เรื่องขนาดอาคารสำหรับผังใหม่และผังเก่าไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ประเมินว่า จะมีประมาณ 100โครงการหรือ พันหน่วยที่ได้รับผลกระทบจากการปรับแบบโครงการใหม่
สำหรับ กรณีการพัฒนาโครงการคอนโดฯ ของบริษัท บิ๊ก ทรีแอสเสท จำกัด ภายใต้แบรนด์ " ทรี คอนโด" ส่วนใหญ่ก่อนตัดสินใจพัฒนาโครงการจะ ต้องดูผังเมืองเป็นหลัก หากเห็นว่าใกล้วันที่ผังเมืองใหม่ประกาศใช้หรือช่วงคาบเกี่ยวระหว่างผังเก่าและผังใหม่ บริษัทจะตัดสินใจ พิจารณาตามผังเมืองใหม่ทันที เพราะ ทุกโครงการจะต้องเข้าสิ่งแวดล้อม ทำอีไอเอ ดังนั้นจะต้องใช้เวลานาน ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ดังนั้น ต้องคำนวณเผื่อไว้เพื่อไม่ต้องแก้ไขและไม่ให้ลูกค้าเดือดร้อนภายหลัง ซึ่งยอมรับว่ามีผู้ประกอบการหลายรายคิดที่จะลักไก่ ยื่นขออนุญาตให้ทันก่อนผังใหม่ประกาศใช้แต่ไม่ได้พิจารณาให้รอบคอบว่ามีกฎระเบียบอื่นที่ต้องปฏิบัติด้วย
ด้านแหล่งจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ทุกโครงการคอนโดมิเนียมที่ยื่นขออนุญาตปลูกสร้างอาคารในกทม. เฉลี่ยปีละ กว่า 100 อาคาร ที่อยู่ในข่ายต้องทำอีไอเอ จะต้องมีใบอนุญาตผ่านอีไอเอ แนบมาพร้อมหลักฐานการยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร ไม่เช่นนั้นแล้ว จะไม่รับคำขอ ซึ่งยอมรับว่า ช่วงก่อนหน้าที่ผังเมืองกทม.ใหม่จะบังคับใช้มีโครงการแห่ยื่นเข้ามาจำนวนมาก เมื่อตรวจสอบแล้ว ยังไม่ผ่านสิ่งแวดล้อมก็จะให้นำไปยื่นอีไอเอก่อนโดยจะนับหนึ่งของการยื่นขออนุญาตปลูกสร้างอาคารต่อเมื่อผ่านอีไอเอแล้วเท่านั้น
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,876 วันที่ 8 - 11 กันยายน พ.ศ. 2556
ปรากฏว่า ในทางปฏิบัติไม่สามารถเป็นไปตามที่บทเฉพาะกาลกำหนดเนื่องจาก โครงการคอนโดมิเนียมในกทม. ส่วนใหญ่จะมีขนาดพื้นที่เกิน 4 พันตารางเมตรขึ้นไป หรือ เกิน 80 ห้อง ต้องอยู่ในข่ายทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) ส่งผลให้ ทางกทม. ต้องส่งเรื่องกลับเจ้าของโครงการเพื่อผ่านสิ่งแวดล้อม หรือ ได้รับอนุมัติ อีไอเอก่อน จึงกลับมายื่นขออนุญาตปลูกสร้างอาคารที่กทม.ได้ ส่งผลให้วันที่นับหนึ่งที่เป็นวันยื่นขออนุญาต จึงต้องรออีไอเอ และการพิจารณาต้องใช้เวลานาน กว่าจะผ่านจึงมีผลให้ผังเมืองกทม.ใหม่บังคับใช้แล้ว ปัญหาที่ตามมาก็คือ บางทำเลไม่สามารถสร้างอาคารขนาดใหญ่ได้ ตามผังเก่า ทำให้ต้องมีการปรับแบบและมีบางโครงการลูกค้าคืนการจองห้องก็มี ซึ่งจากการสำรวจพบว่ามีหลายร้อยโครงการ
สอดคล้องกับนายเลิศมงคล วราเวณุชย์ เลขาธิการสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า ยอมรับว่า มีโครงการคอนโดมิเนียมที่ ได้รับผลกระทบจากความเข้าใจผิดจากบทเฉพาะกาล ของผังเมืองรวมกทม.ฉบับใหม่ที่ระบุว่า อนุโลมให้ยึดวันที่ยื่นขออนุญาตเป็นเกณฑ์แทนที่จะยึดใบอนุญาตเป็นเกณฑ์ ก่อนหรือหลังผังเมืองใหม่บังคับใช้ จึงมีผลให้คอนโดมิเนียมขนาดใหญ่ ที่อยู่ในข่ายต้องทำอีไอเอ จะต้องไปดำเนินการตามขั้นตอนขออีไอเอก่อนจนได้รับใบอนุญาต จึงจะนำหลักฐานการอนุญาตอีไอเอ มาประกอบการยื่นขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร จึงจะนับเป็นวันที่ยื่นขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร ซึ่งแน่นอนว่า ทุกโครงการที่เข้ากระบวนการสิ่งแวดล้อมต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือนขึ้นไป จึงเป็นไปได้ว่า หลายโครงการที่มีเจตนาที่ยื่นขออนุญาตตามผังเก่าและยึดบทเฉพาะกาลผังใหม่จึงได้รับผลกระทบกลับไปแก้แบบใหม่ เพราะหลายพื้นที่ การบังคับใช้เรื่องขนาดอาคารสำหรับผังใหม่และผังเก่าไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ประเมินว่า จะมีประมาณ 100โครงการหรือ พันหน่วยที่ได้รับผลกระทบจากการปรับแบบโครงการใหม่
สำหรับ กรณีการพัฒนาโครงการคอนโดฯ ของบริษัท บิ๊ก ทรีแอสเสท จำกัด ภายใต้แบรนด์ " ทรี คอนโด" ส่วนใหญ่ก่อนตัดสินใจพัฒนาโครงการจะ ต้องดูผังเมืองเป็นหลัก หากเห็นว่าใกล้วันที่ผังเมืองใหม่ประกาศใช้หรือช่วงคาบเกี่ยวระหว่างผังเก่าและผังใหม่ บริษัทจะตัดสินใจ พิจารณาตามผังเมืองใหม่ทันที เพราะ ทุกโครงการจะต้องเข้าสิ่งแวดล้อม ทำอีไอเอ ดังนั้นจะต้องใช้เวลานาน ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ดังนั้น ต้องคำนวณเผื่อไว้เพื่อไม่ต้องแก้ไขและไม่ให้ลูกค้าเดือดร้อนภายหลัง ซึ่งยอมรับว่ามีผู้ประกอบการหลายรายคิดที่จะลักไก่ ยื่นขออนุญาตให้ทันก่อนผังใหม่ประกาศใช้แต่ไม่ได้พิจารณาให้รอบคอบว่ามีกฎระเบียบอื่นที่ต้องปฏิบัติด้วย
ด้านแหล่งจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ทุกโครงการคอนโดมิเนียมที่ยื่นขออนุญาตปลูกสร้างอาคารในกทม. เฉลี่ยปีละ กว่า 100 อาคาร ที่อยู่ในข่ายต้องทำอีไอเอ จะต้องมีใบอนุญาตผ่านอีไอเอ แนบมาพร้อมหลักฐานการยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร ไม่เช่นนั้นแล้ว จะไม่รับคำขอ ซึ่งยอมรับว่า ช่วงก่อนหน้าที่ผังเมืองกทม.ใหม่จะบังคับใช้มีโครงการแห่ยื่นเข้ามาจำนวนมาก เมื่อตรวจสอบแล้ว ยังไม่ผ่านสิ่งแวดล้อมก็จะให้นำไปยื่นอีไอเอก่อนโดยจะนับหนึ่งของการยื่นขออนุญาตปลูกสร้างอาคารต่อเมื่อผ่านอีไอเอแล้วเท่านั้น
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,876 วันที่ 8 - 11 กันยายน พ.ศ. 2556
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ลงทุนอย่างเพียงพอ แบบชาวหมอ VI
โพสต์ที่ 4457
วันนี้ขออนุญาต ชาวหมอ VI เปลี่ยนชื่อ เป็น
ลงทุนอย่างเพียงพอ แบบชาวหมอ VI ครับ
หลังๆ ผมเองก็ทำการบ้านโดยการหาข้อมูลมา update ตัวเอง เพื่อเป็นทางในการหาหุ้นที่จะลงทุน รวมทั้งติดตามหุ้นตัวเอง โดยดู trend megatrend ข่าวสารต่างๆที่จะมากระทบ
ก็คิดว่าข่าวสารที่ดูก็อาจจะมีประโยชน์มากน้อย ให้กับเพื่อนๆ น้องๆ ชาว VI ได้บ้าง จึงขออนุญาตเอากระทู้ชมรมหมอ VI มาเสริมข้อมูลตรงจุดนี้ หวังว่าพี่ๆน้องๆ คงจะไม่ว่ากันนะครับ
ต่อไปนี้ใครมีข่าวสารอะไรที่เกี่ยวกับการลงทุน ถ้ายังสามารถอยู่ในกรอบ VI ผมว่า ok หมด เชิญได้ตามสบายนะครับ
แต่ถ้าเป็นแนวอื่นนอกเหนือจากแนว VI ก็ขออนุญาตล่วงหน้าเลยนะครับว่าไม่ ok
ลงทุนอย่างเพียงพอ แบบชาวหมอ VI ครับ
หลังๆ ผมเองก็ทำการบ้านโดยการหาข้อมูลมา update ตัวเอง เพื่อเป็นทางในการหาหุ้นที่จะลงทุน รวมทั้งติดตามหุ้นตัวเอง โดยดู trend megatrend ข่าวสารต่างๆที่จะมากระทบ
ก็คิดว่าข่าวสารที่ดูก็อาจจะมีประโยชน์มากน้อย ให้กับเพื่อนๆ น้องๆ ชาว VI ได้บ้าง จึงขออนุญาตเอากระทู้ชมรมหมอ VI มาเสริมข้อมูลตรงจุดนี้ หวังว่าพี่ๆน้องๆ คงจะไม่ว่ากันนะครับ

ต่อไปนี้ใครมีข่าวสารอะไรที่เกี่ยวกับการลงทุน ถ้ายังสามารถอยู่ในกรอบ VI ผมว่า ok หมด เชิญได้ตามสบายนะครับ
แต่ถ้าเป็นแนวอื่นนอกเหนือจากแนว VI ก็ขออนุญาตล่วงหน้าเลยนะครับว่าไม่ ok

- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ลงทุนอย่างเพียงพอ แบบชาวหมอ VI
โพสต์ที่ 4458
updated: 05 ก.ย. 2556 เวลา 19:37:20 น.
คอลัมน์ รอบโลกน่ารู้
สมาร์ทโฟนแย่งซีน คนมะกันรุ่นใหม่เมินขับรถ
เมื่อมีคนไปทำงานลดลง คนที่ขับรถก็น้อยลงด้วย นี่เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ผู้เชี่ยวชาญใช้อธิบายการดิ่งลงของระยะทางที่คน อเมริกันขับรถในช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ แต่ตอนนี้แม้เศรษฐกิจสหรัฐเริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัว ระยะทางการขับรถของคนในประเทศดังกล่าวกลับยังลดลงต่อเนื่อง
ซีเอ็นบีซีอ้างรายงานของสำนักงานทางหลวงส่วนกลางสหรัฐว่า ตัวเลขระยะทางที่ยานพาหนะแต่ละคันวิ่ง (VMT) ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ยังคงร่วงลง ทั้ง ๆ ที่ควรจะเพิ่มขึ้นเมื่อดูจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มกระเตื้อง
สอดคล้องกับผลการศึกษาของศูนย์ระบบคมนาคมแห่งชาติ จอห์น เอ. วอล์พ ที่พบว่า ระยะทางที่แต่ละคนขับรถต่อเดือนลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงไม่กี่ปีมานี้ โดยตัวเลขดังกล่าวพุ่งสูงสุดที่ 900 ไมล์ (1,448 กม.) ต่อเดือนในเดือนกรกฎาคม 2547 แต่ในเดือนที่เจ็ดของปีกลาย ระยะทางขับรถลดเหลือ 820 ไมล์ (1,320)/เดือน
ดอน พิกเรลล์ และ เดวิด เพซ นักวิจัยของศูนย์วอล์พชี้ว่า "เกือบ 40 ปีที่ผ่านมา ตัวเลข VMT เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับจีดีพี ช่วงเกิดวิกฤตการเงินโลกครั้งล่าสุดตัวเลขดังกล่าวก็ลดลง แต่เมื่อเศรษฐกิจเริ่มมีแนวโน้มเป็นบวก VMT กลับไม่ได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งสาเหตุบางอย่างไม่ใช่เรื่องใหม่ อาทิ ตลาดรถยนต์เริ่มถึงจุดอิ่มตัว คนรุ่นเบบี้บูมขับรถน้อยลงตามอายุที่มากขึ้น รวมถึงค่าใช้จ่ายที่สูงในการเป็นเจ้าของรถ"
ในหมู่นักขับรุ่นใหม่ก็ขับรถน้อยลงเช่นกัน เนื่องจากต้นทุนในการซื้อรถตลอดจนค่าบำรุงรักษาแพงมากเมื่อเทียบกับรายได้ อีกทั้งรัฐบาลยังเพิ่มความเข้มงวดในการอนุมัติใบขับขี่ให้กับวัยรุ่น นอกจากนี้ คนหนุ่มสาวยังเลือกที่จะติดต่อสื่อสารกันผ่านการส่งข้อความหรือโซเชียลมีเดียมากกว่าจะพบหน้าค่าตากันจริง ๆ
การบูมของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมยังส่งผลให้คนรุ่นใหม่หมดเงินไปกับแก็ดเจตอย่างสมาร์ทโฟนหรือแท็บเลตซึ่งกลายเป็นสินค้าแสดงสถานะทางสังคมในยุคปัจจุบัน แทนที่จะนำไปซื้อรถยนต์ซึ่งเป็นสิ่งวัดสถานะทางสังคมของคนรุ่นก่อน
แนนซี แมคกัคคิน นักวิเคราะห์พฤติกรรมด้านการคมนาคมมองว่า "การใช้รถยนต์เป็นสิ่งวัดศักยภาพของผู้ชายน่าจะสิ้นสุดลงแล้วสำหรับคนบางรุ่น ฉันไม่คิดว่าผู้ชายรุ่นใหม่จะให้ความสนใจกับรถที่ตัวเองขับมากเท่ากับสมัยก่อน"
เนื่องจากภาคการผลิตขายและให้บริการหลังการขายรถยนต์เป็นแหล่งจ้างงานขนาดใหญ่ ตลอดจนเป็นอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนจีดีพีของสหรัฐ พฤติกรรมการขับรถที่เปลี่ยนแปลงไปของคนอเมริกันย่อมส่งผลกระทบครั้งใหญ่ต่อภาพรวมเศรษฐกิจในอนาคต ในรายงานของศูนย์วอล์พชี้ว่า กองทุนทรัสต์ทางหลวงซึ่งมีรายได้จากภาษีพลังงานจะมีรายรับไม่เพียงพอสำหรับการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน จนอาจทำให้รัฐต้องดึงงบประมาณจากส่วนอื่นมาโปะหรือปรับขึ้นภาษีเพื่อไม่ให้กองทุนติดลบ
คอลัมน์ รอบโลกน่ารู้
สมาร์ทโฟนแย่งซีน คนมะกันรุ่นใหม่เมินขับรถ
เมื่อมีคนไปทำงานลดลง คนที่ขับรถก็น้อยลงด้วย นี่เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ผู้เชี่ยวชาญใช้อธิบายการดิ่งลงของระยะทางที่คน อเมริกันขับรถในช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ แต่ตอนนี้แม้เศรษฐกิจสหรัฐเริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัว ระยะทางการขับรถของคนในประเทศดังกล่าวกลับยังลดลงต่อเนื่อง
ซีเอ็นบีซีอ้างรายงานของสำนักงานทางหลวงส่วนกลางสหรัฐว่า ตัวเลขระยะทางที่ยานพาหนะแต่ละคันวิ่ง (VMT) ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ยังคงร่วงลง ทั้ง ๆ ที่ควรจะเพิ่มขึ้นเมื่อดูจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มกระเตื้อง
สอดคล้องกับผลการศึกษาของศูนย์ระบบคมนาคมแห่งชาติ จอห์น เอ. วอล์พ ที่พบว่า ระยะทางที่แต่ละคนขับรถต่อเดือนลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงไม่กี่ปีมานี้ โดยตัวเลขดังกล่าวพุ่งสูงสุดที่ 900 ไมล์ (1,448 กม.) ต่อเดือนในเดือนกรกฎาคม 2547 แต่ในเดือนที่เจ็ดของปีกลาย ระยะทางขับรถลดเหลือ 820 ไมล์ (1,320)/เดือน
ดอน พิกเรลล์ และ เดวิด เพซ นักวิจัยของศูนย์วอล์พชี้ว่า "เกือบ 40 ปีที่ผ่านมา ตัวเลข VMT เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับจีดีพี ช่วงเกิดวิกฤตการเงินโลกครั้งล่าสุดตัวเลขดังกล่าวก็ลดลง แต่เมื่อเศรษฐกิจเริ่มมีแนวโน้มเป็นบวก VMT กลับไม่ได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งสาเหตุบางอย่างไม่ใช่เรื่องใหม่ อาทิ ตลาดรถยนต์เริ่มถึงจุดอิ่มตัว คนรุ่นเบบี้บูมขับรถน้อยลงตามอายุที่มากขึ้น รวมถึงค่าใช้จ่ายที่สูงในการเป็นเจ้าของรถ"
ในหมู่นักขับรุ่นใหม่ก็ขับรถน้อยลงเช่นกัน เนื่องจากต้นทุนในการซื้อรถตลอดจนค่าบำรุงรักษาแพงมากเมื่อเทียบกับรายได้ อีกทั้งรัฐบาลยังเพิ่มความเข้มงวดในการอนุมัติใบขับขี่ให้กับวัยรุ่น นอกจากนี้ คนหนุ่มสาวยังเลือกที่จะติดต่อสื่อสารกันผ่านการส่งข้อความหรือโซเชียลมีเดียมากกว่าจะพบหน้าค่าตากันจริง ๆ
การบูมของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมยังส่งผลให้คนรุ่นใหม่หมดเงินไปกับแก็ดเจตอย่างสมาร์ทโฟนหรือแท็บเลตซึ่งกลายเป็นสินค้าแสดงสถานะทางสังคมในยุคปัจจุบัน แทนที่จะนำไปซื้อรถยนต์ซึ่งเป็นสิ่งวัดสถานะทางสังคมของคนรุ่นก่อน
แนนซี แมคกัคคิน นักวิเคราะห์พฤติกรรมด้านการคมนาคมมองว่า "การใช้รถยนต์เป็นสิ่งวัดศักยภาพของผู้ชายน่าจะสิ้นสุดลงแล้วสำหรับคนบางรุ่น ฉันไม่คิดว่าผู้ชายรุ่นใหม่จะให้ความสนใจกับรถที่ตัวเองขับมากเท่ากับสมัยก่อน"
เนื่องจากภาคการผลิตขายและให้บริการหลังการขายรถยนต์เป็นแหล่งจ้างงานขนาดใหญ่ ตลอดจนเป็นอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนจีดีพีของสหรัฐ พฤติกรรมการขับรถที่เปลี่ยนแปลงไปของคนอเมริกันย่อมส่งผลกระทบครั้งใหญ่ต่อภาพรวมเศรษฐกิจในอนาคต ในรายงานของศูนย์วอล์พชี้ว่า กองทุนทรัสต์ทางหลวงซึ่งมีรายได้จากภาษีพลังงานจะมีรายรับไม่เพียงพอสำหรับการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน จนอาจทำให้รัฐต้องดึงงบประมาณจากส่วนอื่นมาโปะหรือปรับขึ้นภาษีเพื่อไม่ให้กองทุนติดลบ
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ลงทุนอย่างเพียงพอ แบบชาวหมอ VI
โพสต์ที่ 4459
แนวโน้มใหญ่ หรือ Megatrend ของโลก จะต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวที่ต่อเนื่องยาวนานอย่างน้อย 10 ปีขึ้นไปและน่าจะเป็นอย่างนั้นต่อไปอีกไม่น้อยกว่า 10 ปี และต่อไปนี้ คือ สิ่งที่ผมเห็น
Megatrend แรกที่ดำเนินมายาวนาน น่าจะหลายสิบปี และจะดำเนินต่อไปอีกนานมาก ก็คือ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี 2 ด้าน นั่นก็คือ เทคโนโลยีด้าน IT และการสื่อสารแบบเคลื่อนที่ กับเทคโนโลยีด้านชีวภาพ หรือ Biotech นี่คือเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้ารวดเร็ว จนเราตามแทบไม่ทัน
ด้านของ IT เราส่วนใหญ่อาจจะได้ยินได้เห็น และได้ใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมากมาย แต่ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ อาจจะมีคนไม่มากที่ได้สัมผัสกับมันโดยตรง อย่างไรก็ตาม ผลกระทบก็อาจจะมีมากพอๆ กับเรื่องของ IT เพราะหลายเรื่องเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีเกี่ยวกับยาและการแพทย์ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนทำให้การรักษาโรคที่ร้ายแรงในอดีต สามารถทำได้ดีขึ้นมากในปัจจุบันและต่อไปในอนาคตอันใกล้
Megatrend ที่สอง ก็คือ เรื่องของ Wealth หรือความมั่งคั่งของคนในโลก นี่เป็นแนวโน้มที่ต่อเนื่องยาวนาน ในอดีตนั้น การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมักเกิดขึ้นในประเทศที่เจริญกว่า แต่ในปัจจุบันความมั่งคั่งมักเพิ่มขึ้นเร็วกว่าในประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะที่มีประชากรมากหรือมีทรัพยากรมาก ความมั่งคั่งที่มากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ธุรกิจเกี่ยวกับเงินซึ่งรวมถึงระบบธนาคารและการบริหารเงินและกองทุนรวมเติบโตต่อเนื่องระยะยาว และแน่นอน ส่งผลต่อราคาหุ้นโดยเฉพาะในประเทศที่มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
Megatrend ที่สาม คือ เรื่องของโครงสร้างอายุของประชากรในโลกที่เริ่มแก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว อายุเฉลี่ยของประชากรโลกน่าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะเด็กเกิดใหม่มีอัตราลดลงในขณะที่คนก็มีอายุยืนขึ้น โดยที่ประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศเหล่านั้น ผลกระทบ ก็คือ ธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพและคนสูงอายุน่าจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
Megatrend ที่สี่ คือ เรื่องที่ผมอยากเรียกว่าเป็น “การเพิ่มขึ้นของอิทธิพลของเอเชีย” นี่คือ แนวโน้มใหญ่ที่ประเทศในเอเชียมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับส่วนอื่นของโลก ประกอบกับการที่มีประชากรจำนวนมาก ทำให้เอเชียมีบทบาทและความสำคัญสูงขึ้นอย่างมากในทุกด้าน ทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม ผลต่อประเทศไทย ก็คือ เราจะมีการค้าและการลงทุนมากขึ้นเช่นเดียวกับนักท่องเที่ยวที่จะมีมากขึ้น เนื่องจากไทยก็เป็นส่วนหนึ่งของประเทศที่อยู่ในศูนย์กลางของเอเชีย
Megatrend ที่ห้า ก็คือ เรื่อง "ภาวะโลกร้อน" นี่คือ แนวโน้มที่เพิ่งเกิดมาไม่นาน หรือน่าจะพูดว่าเราเพิ่งตระหนักมาไม่นานนัก แต่ผลกระทบอาจจะรุนแรงขนาดที่สามารถเปลี่ยนแปลงภูมิศาสตร์เศรษฐกิจของโลกได้ในระยะยาว ในระยะสั้น ผลกระทบอาจจะเป็นเรื่องของท้องถิ่นบางแห่ง ที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ ซึ่งรวมถึงภาวะแห้งแล้ง พายุ หรือน้ำท่วม ที่อาจจะเกิดขึ้นมากกว่าปกติ และนี่ทำให้เกิดความเสี่ยงโดยเฉพาะในด้านของทรัพย์สินและการดำเนินธุรกิจ เป็นเรื่องยากที่จะบอกได้ชัดเจนว่าจะเกิดที่จุดไหนและเมื่อใด
Megatrend สุดท้ายที่ผมจะพูดถึง ก็คือ เรื่อง Globalization หรือโลกาภิวัตน์ ซึ่งบางคนใช้คำว่า "โลกแบน" ความหมาย ก็คือ พรมแดนทางภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น จะมีความหมายน้อยลงเรื่อยๆ คนในแต่ละประเทศจะมีความคิด ค่านิยม และความเป็นอยู่คล้ายๆ กันขึ้นอยู่กับฐานะและความมั่งคั่งมากกว่าเรื่องของวัฒนธรรมประจำชาติ นอกจากนั้น แต่ละประเทศจะไม่สามารถทำอะไรตามใจตนเองได้ทั้งหมดแต่จะต้องทำในสิ่งที่เป็นที่ยอมรับของสังคมโลกด้วย เช่นเดียวกัน การแข่งขันทางธุรกิจก็จะต้องเปิดกว้างขึ้นเรื่อยๆ และต้องรวมไปถึงธุรกิจจากต่างประเทศทั่วโลก ผลกระทบ ก็คือ บริษัทที่มีความสามารถทางการแข่งขันสูงจะสามารถขยายตัวได้มากขึ้นมาก ในขณะที่บริษัทระดับรองหรืออ่อนแอจะอยู่ได้ยากขึ้น
สรุปก็คือ ผมคิดว่าอุตสาหกรรมที่เป็น Megatrend และจะโตเร็วและโตไปอีกนาน ก็คือ อุตสาหกรรมไฮเทคที่เกี่ยวกับ IT และการสื่อสารในระบบเคลื่อนที่ และอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการแพทย์และการให้บริการทางการแพทย์ ในอุตสาหกรรมอื่นนั้น ผมคิดว่าธุรกิจการเงินและการบริหารเงิน และการลงทุนในหุ้น น่าจะมีอนาคตสดใส เช่นเดียวกับการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของประเทศในทวีปเอเชียที่ประชากรมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น ซึ่งการบริโภคนี้รวมถึงการท่องเที่ยวและการเดินทางข้ามประเทศที่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ผลกระทบจากการเปิดเสรีประเทศมากขึ้น จากผลของโลกาภิวัตน์ จะทำให้กิจการที่เป็นผู้นำที่โดดเด่น โดดเด่นขึ้น ในขณะที่บริษัทระดับรองลำบากขึ้น และผลกระทบจากภาวะโลกร้อนนั้น จะทำให้ความเสี่ยงของธุรกิจสูงขึ้น จากภัยธรรมชาติในระยะสั้น
ผลกระทบของ Megatrend โลกนั้น แน่นอน รวมถึงประเทศไทย เพราะเราอยู่ในกระแสของโลกาภิวัตน์ด้วย ดังนั้น เราต้องนำ Trend ต่าง ๆ เหล่านั้นเข้ามาพิจารณา ในเรื่องของการลงทุน สิ่งที่สำคัญ ก็คือ เราต้องการลงทุนในหุ้นที่อยู่ในกระแสและหลีกเลี่ยงหุ้นที่สวนกระแส แต่การลงทุนกับหุ้นที่อยู่ใน Megatrend นั้นยังไม่เพียงพอ เหตุผล ก็คือ กิจการที่อยู่ในกระแสนั้น บ่อยครั้งมีมากยิ่งกว่ากิจการที่ไม่อยู่ในกระแส การแข่งขันกันจึงรุนแรงและอาจทำให้บริษัทขาดทุนหรือล้มหายตายจากได้ง่ายๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ก็คือ กิจการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี IT ที่เราเห็น “คนตาย” มากกว่า “คนอยู่” หุ้นหรือกิจการที่เราต้องการจริงๆ ก็คือ เราต้องการบริษัทที่เป็น “ผู้ชนะ” ในอุตสาหกรรมที่อยู่ใน Megatrend และในราคาที่สมเหตุผล
ประเด็นสำคัญที่ตามมา ก็คือ อะไร คือ “ราคาที่สมเหตุผล” นี่เป็นเรื่องยากหรืออาจจะยากยิ่งกว่าการกำหนดว่าบริษัทอยู่ใน Megatrend และเป็น “ผู้ชนะ” หรือไม่? เหตุผล ก็คือ หุ้นที่อิงกับกระแสแนวโน้มใหญ่นั้น มักจะเติบโตไปได้ต่อเนื่องยาวนานตราบที่เขายังมีความสามารถสูงอยู่ อีกเหตุผลหนึ่ง ก็คือ บริษัทที่ “กำลังชนะ” นั้น Profit Margin หรือกำไรต่อยอดขายมักจะมาทีหลัง ในขณะที่ช่วงแรกๆ ของการเติบโต ผลกำไรจะไม่สูงมาก เนื่องจากบริษัทจะเน้นไปที่การเพิ่มยอดขายมากกว่าที่จะทำกำไร ดังนั้น ในช่วงที่บริษัทยังโตเร็ว ผลกำไรอาจจะไม่สูงมาก นี่ทำให้ค่า PE อาจจะดูสูงและทำให้ราคาหุ้นดูไม่สมเหตุผลโดยเฉพาะในสายตาของ Value Investor ที่เน้นหุ้นถูกเป็นหลัก วิธีที่ดีกว่า ก็คือ การดู “ศักยภาพ” ว่า บริษัทน่าจะสามารถเติบโตมียอดขายถึงระดับไหนและมันน่าจะมีกำไรเท่าไรเมื่อถึงจุดนั้น โดยกำไรนั้นจะต้องคำนวณจาก Profit Margin ที่เหมาะสม ซึ่งนั่นจะทำให้เราสามารถคำนวณหากำไรและราคาหุ้นที่เหมาะสมในอนาคตได้ จากนั้นจึงมาดูว่าราคาในปัจจุบันนั้นเหมาะสมหรือไม่
ธุรกิจ : CEO Blogs
วันที่ 27 มีนาคม 2555 04:00
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR
Megatrend แรกที่ดำเนินมายาวนาน น่าจะหลายสิบปี และจะดำเนินต่อไปอีกนานมาก ก็คือ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี 2 ด้าน นั่นก็คือ เทคโนโลยีด้าน IT และการสื่อสารแบบเคลื่อนที่ กับเทคโนโลยีด้านชีวภาพ หรือ Biotech นี่คือเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้ารวดเร็ว จนเราตามแทบไม่ทัน
ด้านของ IT เราส่วนใหญ่อาจจะได้ยินได้เห็น และได้ใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมากมาย แต่ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ อาจจะมีคนไม่มากที่ได้สัมผัสกับมันโดยตรง อย่างไรก็ตาม ผลกระทบก็อาจจะมีมากพอๆ กับเรื่องของ IT เพราะหลายเรื่องเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีเกี่ยวกับยาและการแพทย์ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนทำให้การรักษาโรคที่ร้ายแรงในอดีต สามารถทำได้ดีขึ้นมากในปัจจุบันและต่อไปในอนาคตอันใกล้
Megatrend ที่สอง ก็คือ เรื่องของ Wealth หรือความมั่งคั่งของคนในโลก นี่เป็นแนวโน้มที่ต่อเนื่องยาวนาน ในอดีตนั้น การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมักเกิดขึ้นในประเทศที่เจริญกว่า แต่ในปัจจุบันความมั่งคั่งมักเพิ่มขึ้นเร็วกว่าในประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะที่มีประชากรมากหรือมีทรัพยากรมาก ความมั่งคั่งที่มากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ธุรกิจเกี่ยวกับเงินซึ่งรวมถึงระบบธนาคารและการบริหารเงินและกองทุนรวมเติบโตต่อเนื่องระยะยาว และแน่นอน ส่งผลต่อราคาหุ้นโดยเฉพาะในประเทศที่มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
Megatrend ที่สาม คือ เรื่องของโครงสร้างอายุของประชากรในโลกที่เริ่มแก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว อายุเฉลี่ยของประชากรโลกน่าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะเด็กเกิดใหม่มีอัตราลดลงในขณะที่คนก็มีอายุยืนขึ้น โดยที่ประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศเหล่านั้น ผลกระทบ ก็คือ ธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพและคนสูงอายุน่าจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
Megatrend ที่สี่ คือ เรื่องที่ผมอยากเรียกว่าเป็น “การเพิ่มขึ้นของอิทธิพลของเอเชีย” นี่คือ แนวโน้มใหญ่ที่ประเทศในเอเชียมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับส่วนอื่นของโลก ประกอบกับการที่มีประชากรจำนวนมาก ทำให้เอเชียมีบทบาทและความสำคัญสูงขึ้นอย่างมากในทุกด้าน ทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม ผลต่อประเทศไทย ก็คือ เราจะมีการค้าและการลงทุนมากขึ้นเช่นเดียวกับนักท่องเที่ยวที่จะมีมากขึ้น เนื่องจากไทยก็เป็นส่วนหนึ่งของประเทศที่อยู่ในศูนย์กลางของเอเชีย
Megatrend ที่ห้า ก็คือ เรื่อง "ภาวะโลกร้อน" นี่คือ แนวโน้มที่เพิ่งเกิดมาไม่นาน หรือน่าจะพูดว่าเราเพิ่งตระหนักมาไม่นานนัก แต่ผลกระทบอาจจะรุนแรงขนาดที่สามารถเปลี่ยนแปลงภูมิศาสตร์เศรษฐกิจของโลกได้ในระยะยาว ในระยะสั้น ผลกระทบอาจจะเป็นเรื่องของท้องถิ่นบางแห่ง ที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ ซึ่งรวมถึงภาวะแห้งแล้ง พายุ หรือน้ำท่วม ที่อาจจะเกิดขึ้นมากกว่าปกติ และนี่ทำให้เกิดความเสี่ยงโดยเฉพาะในด้านของทรัพย์สินและการดำเนินธุรกิจ เป็นเรื่องยากที่จะบอกได้ชัดเจนว่าจะเกิดที่จุดไหนและเมื่อใด
Megatrend สุดท้ายที่ผมจะพูดถึง ก็คือ เรื่อง Globalization หรือโลกาภิวัตน์ ซึ่งบางคนใช้คำว่า "โลกแบน" ความหมาย ก็คือ พรมแดนทางภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น จะมีความหมายน้อยลงเรื่อยๆ คนในแต่ละประเทศจะมีความคิด ค่านิยม และความเป็นอยู่คล้ายๆ กันขึ้นอยู่กับฐานะและความมั่งคั่งมากกว่าเรื่องของวัฒนธรรมประจำชาติ นอกจากนั้น แต่ละประเทศจะไม่สามารถทำอะไรตามใจตนเองได้ทั้งหมดแต่จะต้องทำในสิ่งที่เป็นที่ยอมรับของสังคมโลกด้วย เช่นเดียวกัน การแข่งขันทางธุรกิจก็จะต้องเปิดกว้างขึ้นเรื่อยๆ และต้องรวมไปถึงธุรกิจจากต่างประเทศทั่วโลก ผลกระทบ ก็คือ บริษัทที่มีความสามารถทางการแข่งขันสูงจะสามารถขยายตัวได้มากขึ้นมาก ในขณะที่บริษัทระดับรองหรืออ่อนแอจะอยู่ได้ยากขึ้น
สรุปก็คือ ผมคิดว่าอุตสาหกรรมที่เป็น Megatrend และจะโตเร็วและโตไปอีกนาน ก็คือ อุตสาหกรรมไฮเทคที่เกี่ยวกับ IT และการสื่อสารในระบบเคลื่อนที่ และอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการแพทย์และการให้บริการทางการแพทย์ ในอุตสาหกรรมอื่นนั้น ผมคิดว่าธุรกิจการเงินและการบริหารเงิน และการลงทุนในหุ้น น่าจะมีอนาคตสดใส เช่นเดียวกับการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของประเทศในทวีปเอเชียที่ประชากรมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น ซึ่งการบริโภคนี้รวมถึงการท่องเที่ยวและการเดินทางข้ามประเทศที่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ผลกระทบจากการเปิดเสรีประเทศมากขึ้น จากผลของโลกาภิวัตน์ จะทำให้กิจการที่เป็นผู้นำที่โดดเด่น โดดเด่นขึ้น ในขณะที่บริษัทระดับรองลำบากขึ้น และผลกระทบจากภาวะโลกร้อนนั้น จะทำให้ความเสี่ยงของธุรกิจสูงขึ้น จากภัยธรรมชาติในระยะสั้น
ผลกระทบของ Megatrend โลกนั้น แน่นอน รวมถึงประเทศไทย เพราะเราอยู่ในกระแสของโลกาภิวัตน์ด้วย ดังนั้น เราต้องนำ Trend ต่าง ๆ เหล่านั้นเข้ามาพิจารณา ในเรื่องของการลงทุน สิ่งที่สำคัญ ก็คือ เราต้องการลงทุนในหุ้นที่อยู่ในกระแสและหลีกเลี่ยงหุ้นที่สวนกระแส แต่การลงทุนกับหุ้นที่อยู่ใน Megatrend นั้นยังไม่เพียงพอ เหตุผล ก็คือ กิจการที่อยู่ในกระแสนั้น บ่อยครั้งมีมากยิ่งกว่ากิจการที่ไม่อยู่ในกระแส การแข่งขันกันจึงรุนแรงและอาจทำให้บริษัทขาดทุนหรือล้มหายตายจากได้ง่ายๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ก็คือ กิจการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี IT ที่เราเห็น “คนตาย” มากกว่า “คนอยู่” หุ้นหรือกิจการที่เราต้องการจริงๆ ก็คือ เราต้องการบริษัทที่เป็น “ผู้ชนะ” ในอุตสาหกรรมที่อยู่ใน Megatrend และในราคาที่สมเหตุผล
ประเด็นสำคัญที่ตามมา ก็คือ อะไร คือ “ราคาที่สมเหตุผล” นี่เป็นเรื่องยากหรืออาจจะยากยิ่งกว่าการกำหนดว่าบริษัทอยู่ใน Megatrend และเป็น “ผู้ชนะ” หรือไม่? เหตุผล ก็คือ หุ้นที่อิงกับกระแสแนวโน้มใหญ่นั้น มักจะเติบโตไปได้ต่อเนื่องยาวนานตราบที่เขายังมีความสามารถสูงอยู่ อีกเหตุผลหนึ่ง ก็คือ บริษัทที่ “กำลังชนะ” นั้น Profit Margin หรือกำไรต่อยอดขายมักจะมาทีหลัง ในขณะที่ช่วงแรกๆ ของการเติบโต ผลกำไรจะไม่สูงมาก เนื่องจากบริษัทจะเน้นไปที่การเพิ่มยอดขายมากกว่าที่จะทำกำไร ดังนั้น ในช่วงที่บริษัทยังโตเร็ว ผลกำไรอาจจะไม่สูงมาก นี่ทำให้ค่า PE อาจจะดูสูงและทำให้ราคาหุ้นดูไม่สมเหตุผลโดยเฉพาะในสายตาของ Value Investor ที่เน้นหุ้นถูกเป็นหลัก วิธีที่ดีกว่า ก็คือ การดู “ศักยภาพ” ว่า บริษัทน่าจะสามารถเติบโตมียอดขายถึงระดับไหนและมันน่าจะมีกำไรเท่าไรเมื่อถึงจุดนั้น โดยกำไรนั้นจะต้องคำนวณจาก Profit Margin ที่เหมาะสม ซึ่งนั่นจะทำให้เราสามารถคำนวณหากำไรและราคาหุ้นที่เหมาะสมในอนาคตได้ จากนั้นจึงมาดูว่าราคาในปัจจุบันนั้นเหมาะสมหรือไม่
ธุรกิจ : CEO Blogs
วันที่ 27 มีนาคม 2555 04:00
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ลงทุนอย่างเพียงพอ แบบชาวหมอ VI
โพสต์ที่ 4460
โลกในมุมมองของ Value Investor 7 กันยายน 2556
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
หุ้นโรงงาน
ถ้าจะถามว่าหุ้นกลุ่มไหนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีผลงานหรือให้ผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นน้อยกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญและ “น่าผิดหวัง” มากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาที่ดัชนีตลาดได้ปรับตัวขึ้นมาอย่างโดดเด่น ผมอยากจะตอบว่าคือ “หุ้นโรงงาน” นี่ไม่ใช่หุ้นที่แบ่งตามภาคอุตสาหกรรมและไม่น่าจะมีใครมาจัดหมวดหมู่แต่ผมคิดว่ามันเป็นกลุ่มหุ้นที่มีลักษณะในการ “ทำมาหากิน” ที่คล้ายคลึงกันในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ และมันแตกต่างจากหุ้นกลุ่มอื่นที่ไม่มีใครจัดเป็นหมวดหมู่เหมือนกันอย่างเช่น “หุ้นโรงเรือน” หรือ “หุ้นมียี่ห้อโดดเด่น”
คำนิยามของ “หุ้นโรงงาน” ของผมก็คือ “หุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ผลิตสินค้าเพื่อขายให้กับลูกค้าที่จะนำมันไปประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปหรือนำไปจัดจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคในชื่อยี่ห้อของเขา” ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่ก็คือ บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนสินค้าอุตสาหกรรม เช่น รถยนต์ ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็คโทรนิกส์ บริษัทที่ผลิตวัตถุดิบที่ผู้ซื้อนำไปใช้ในการผลิตสินค้าสำเร็จรูปเช่น ผ้าผืนหรือผลิตภัณฑ์บรรจุหีบห่อ เช่น กระดาษ ฟิล์มแบบต่าง ๆ และผู้ผลิตที่เป็น OEM ซึ่งก็คือผลิตสินค้าสำเร็จรูปภายใต้ยี่ห้อของลูกค้า เป็นต้น
หุ้นโรงงานนั้นเป็นกิจการที่มีจุดด้อยหลาย ๆ ประการมองในแง่ของธุรกิจ ประการแรกก็คือ สินค้าของบริษัทนั้น มักจะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีลักษณะเหมือน ๆ กับสินค้าของคู่แข่งหรือผู้ผลิตอื่นนั่นคือมันมีคุณสมบัติและรูปสมบัติเหมือน ๆ กัน สินค้าของบริษัทแยกไม่ออกจากสินค้าของบริษัทอื่นยกเว้นเครื่องหมายการค้าที่อาจจะติดอยู่ที่หีบห่อ ว่าที่จริง เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าเองนั้นก็อาจจะซื้อมาจากบริษัทเดียวกัน วัตถุดิบก็เหมือนกัน ดังนั้น สินค้าที่ผลิตออกมาจึงเหมือนกัน ความแตกต่างถ้าจะมีก็อาจจะมาจากความสามารถหรือฝีมือในการผลิตของพนักงานและการควบคุมคุณภาพซึ่งผมเองคิดว่าเป็นความได้เปรียบที่ไม่ใคร่จะยั่งยืนเนื่องจากเมื่อเวลาผ่านไปคนก็ “เรียนทันกัน” ดังนั้น ราคาขายของสินค้าโรงงานจึงใกล้เคียงกันหมดและบริษัทกำหนดไม่ได้ ขึ้นอยู่กับราคาตลาด หรือราคาที่ทำให้บริษัทระดับกลาง ๆ พออยู่ได้ในภาวะปกติ
ความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งที่อาจจะช่วยให้บริษัทหนึ่งได้เปรียบคู่แข่งก็คือ ด้านของต้นทุนการผลิตที่อาจจะต่ำกว่าเนื่องจากเรื่องของค่าแรงและต้นทุนอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น อาจจะเนื่องจากขนาดของกำลังการผลิตที่สูงกว่า อย่างไรก็ตาม นี่ยังไม่ทำให้ Margin หรือกำไรต่อยอดขายของบริษัทดีนัก เหตุผลก็คือ ในธุรกิจการรับจ้างผลิตนั้น ผู้ซื้อมักจะเป็นรายใหญ่มีอำนาจในการต่อรองสูง โดยเฉพาะบริษัทของญี่ปุ่นนั้นมักจะมีนโยบาย “Cost Down” คือขอให้ Supplier ลดราคาชิ้นส่วนหรือสินค้าที่ขายลงทุกปีอาจจะปีละ 2-3% ซึ่งอาจจะทำให้กำไรของบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนโตได้ยาก และในกรณีที่ต้นทุนการผลิตเช่นค่าแรงเพิ่มขึ้นมากอย่างในช่วงเร็ว ๆ นี้ก็ทำให้กำไรของธุรกิจหุ้นโรงงานแทบจะไม่โตเลย
หุ้นโรงงานที่ผลิตสินค้าโดยเฉพาะที่เป็นชิ้นส่วนอีเล็กโทรนิกส์นั้น ส่วนใหญ่หรือแทบทั้งหมดก็จะเป็นการส่งออกซึ่งมักจะถูกกระทบจากปัจจัยหลายอย่างที่ควบคุมไม่ได้ เช่น เรื่องของค่าเงินที่ผันผวนทำให้ผลประกอบการของบริษัทไม่ใคร่แน่นอน ในช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งบริษัทมักขายสินค้าได้น้อยลง เช่นเดียวกับในยามที่เศรษฐกิจโลกอ่อนแอซึ่งทำให้ความต้องการสินค้าลดลง นอกจากนี้ ราคาของชิ้นส่วนอีเล็กโทรนิกส์เองก็ผันผวนคล้าย ๆ กับสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ เหมือนกัน ดูเหมือนว่าปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อธุรกิจในกลุ่มนี้อย่างชัดเจนจะเป็นเรื่องของค่าเงินบาทที่อ่อนลงอย่างที่กำลังเป็นอยู่ในช่วงนี้ที่ทำให้หุ้นโรงงานในกลุ่มนี้ดูดีขึ้น อย่างไรก็ตาม มันจะดำรงอยู่นานเท่าไรก็เป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยาก และนี่ก็ทำให้หุ้นเหล่านี้ไม่สามารถที่จะมีคุณค่าหรือมีค่า PE ที่สูงได้
จุดอ่อนของหุ้นโรงงานยังอยู่ที่ด้านของการผลิตที่มักจะต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์จำนวนมากที่ต้องมีการลงทุนสูงเมื่อเทียบกับยอดขาย ดังนั้น เมื่อยอดขายเพิ่มขึ้นถึงจุดหนึ่ง บริษัทก็มักจะต้องลงทุนเพิ่มในอัตราที่ค่อนข้างสูง นอกจากการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรที่เป็นโรงงานและเครื่องจักรแล้ว บริษัทก็มักจะต้องลงทุนสต็อกวัตถุดิบ สินค้า และการให้เครดิตทางการค้าแก่ลูกค้าค่อนข้างยาว ทำให้เม็ดเงินต้องไปจมอยู่ค่อนข้างมากแม้ว่าบางส่วนจะได้รับการชดเชยจากผู้ขายวัตถุดิบให้แก่ตนเองก็ตาม ดังนั้น กำไรของบริษัทจึงมักจะไม่สามารถนำมาจ่ายเป็นปันผลได้มากเหมือนกับธุรกิจบริการอื่น ๆ ที่มักจะมีกระแสเงินสดดีกว่า ผลจากการนี้ทำให้ “คุณค่า” ของบริษัทโรงงานลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับกิจการอื่นที่มีกระแสเงินสดสูงกว่าและทำให้ค่า PE รวมถึงค่า PB หรือราคาต่อมูลค่าทางบัญชีของหุ้นโรงงานมักจะไม่สูง
ความเสี่ยงที่ “รุนแรง” ของหุ้นโรงงานนั้นก็มีไม่น้อยอยู่เหมือนกัน เรื่องแรกก็คือ โรงงานอาจจะ“ล้าสมัย” ได้เร็วกว่าที่กำหนดไว้ตามหลักการทางบัญชีที่ส่วนมากกำหนดไว้ประมาณ 10 ปี นี่ทำให้บริษัทต้องลงทุนปรับปรุงเครื่องจักรอุปกรณ์ใหม่เร็วกว่ากำหนดเพื่อที่จะสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ และนี่ก็เป็นต้นทุนที่อาจจะไม่ก่อให้เกิดรายได้และกำไรมากนัก ความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งที่อาจจะรุนแรงยิ่งกว่าก็คือ การสูญเสียผู้ซื้อรายใหญ่ที่อาจจะมีมูลค่าการซื้อหลายสิบเปอร์เซ็นต์ของบริษัท และนี่อาจจะทำให้ผลประกอบการของบริษัททรุดได้อย่างไม่คาดฝัน การสูญเสียลูกค้ารายใหญ่นั้นอาจจะมีสาเหตุได้หลากหลายมาก เช่น ลูกค้ารายใหญ่อาจจะหันไปซื้อจากคู่แข่งที่ทำได้ดีกว่าหรือต้นทุนต่ำกว่าและบริษัทไม่สามารถแข่งขันได้ หรือลูกค้าอาจจะไปซื้อบริษัทหรือขยายงานเพื่อทำชิ้นส่วนเอง หรืออุตสาหกรรมหรือเทคโนโลยีอาจจะเปลี่ยนไปทำให้ชิ้นส่วนเดิมไม่ถูกใช้อีกต่อไป สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อาจทำให้ “พื้นฐาน”ของบริษัทเปลี่ยนไปและอาจกลายเป็น “หายนะ” ของการลงทุนในหุ้นโรงงานได้
การวิเคราะห์เพื่อที่จะกำหนดว่าหุ้นตัวไหนเป็นหุ้นโรงงานนั้น บางบริษัทก็ชัดเจนตรงตามคุณสมบัติดังที่กล่าว อย่างไรก็ตาม บางบริษัทก็อาจจะไม่ชัดนัก เหตุผลก็อาจจะมีหลากหลาย ถ้าบริษัทมีโรงงานเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โตแต่สิ่งที่โรงงานผลิตนั้น ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่มียี่ห้อโดดเด่นที่ผู้บริโภคเรียกหาและบริษัทเป็นเจ้าของ แบบนี้ต้องถือว่ามันไม่ใช่หุ้นโรงงาน ในอีกด้านหนึ่ง ถ้าผลิตภัณฑ์ของบริษัทดังกล่าวนั้น ส่วนใหญ่แล้วผลิตเป็น OEM ในขณะที่ส่วนน้อยหรือบางส่วนบริษัทติดยี่ห้อของตนเอง แบบนี้ แม้ว่ายี่ห้อจะโดดเด่นเราก็อาจจะบอกว่ามันเป็นหุ้นโรงงานอยู่ดี เป็นต้น
ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ผมไม่ได้หมายความว่าเราไม่ควรลงทุนในหุ้นโรงงานเลย เพียงแต่จะบอกว่าการลงทุนในหุ้นโรงงานนั้น เราจะต้องรู้ว่าบ่อยครั้งมันมีข้อจำกัดและเป็นเรื่องยากที่มันจะเป็นหุ้นที่ดีระดับซุปเปอร์สต็อกได้ ในบางช่วงบางตอนนั้น อุตสาหกรรมบางอย่างอยู่ในภาวะที่สดใสมากและมีการเชียร์จากนักวิเคราะห์และเซียนหุ้นมากมาย ตัวอย่างเช่นในอุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมอีเล็กโทรนิกส์ และอื่น ๆ จนทำให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไปสูงมากมองจากค่า PE และ/หรือ PB แต่แล้วหลังจากนั้น เมื่อภาพอุตสาหกรรมเปลี่ยนไป กลับพบว่าหุ้นตกลงมามากมายและทำให้นักลงทุนเจ็บหนักจนคนเลิกสนใจไปเลย และนี่ก็อาจจะเป็นโอกาสลงทุนได้เหมือนกัน เพียงแต่เราต้องรู้ว่า หุ้นโรงงานตัวนั้นคุ้มค่าหรือไม่มองจากข้อจำกัดต่าง ๆ
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
หุ้นโรงงาน
ถ้าจะถามว่าหุ้นกลุ่มไหนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีผลงานหรือให้ผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นน้อยกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญและ “น่าผิดหวัง” มากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาที่ดัชนีตลาดได้ปรับตัวขึ้นมาอย่างโดดเด่น ผมอยากจะตอบว่าคือ “หุ้นโรงงาน” นี่ไม่ใช่หุ้นที่แบ่งตามภาคอุตสาหกรรมและไม่น่าจะมีใครมาจัดหมวดหมู่แต่ผมคิดว่ามันเป็นกลุ่มหุ้นที่มีลักษณะในการ “ทำมาหากิน” ที่คล้ายคลึงกันในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ และมันแตกต่างจากหุ้นกลุ่มอื่นที่ไม่มีใครจัดเป็นหมวดหมู่เหมือนกันอย่างเช่น “หุ้นโรงเรือน” หรือ “หุ้นมียี่ห้อโดดเด่น”
คำนิยามของ “หุ้นโรงงาน” ของผมก็คือ “หุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ผลิตสินค้าเพื่อขายให้กับลูกค้าที่จะนำมันไปประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปหรือนำไปจัดจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคในชื่อยี่ห้อของเขา” ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่ก็คือ บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนสินค้าอุตสาหกรรม เช่น รถยนต์ ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็คโทรนิกส์ บริษัทที่ผลิตวัตถุดิบที่ผู้ซื้อนำไปใช้ในการผลิตสินค้าสำเร็จรูปเช่น ผ้าผืนหรือผลิตภัณฑ์บรรจุหีบห่อ เช่น กระดาษ ฟิล์มแบบต่าง ๆ และผู้ผลิตที่เป็น OEM ซึ่งก็คือผลิตสินค้าสำเร็จรูปภายใต้ยี่ห้อของลูกค้า เป็นต้น
หุ้นโรงงานนั้นเป็นกิจการที่มีจุดด้อยหลาย ๆ ประการมองในแง่ของธุรกิจ ประการแรกก็คือ สินค้าของบริษัทนั้น มักจะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีลักษณะเหมือน ๆ กับสินค้าของคู่แข่งหรือผู้ผลิตอื่นนั่นคือมันมีคุณสมบัติและรูปสมบัติเหมือน ๆ กัน สินค้าของบริษัทแยกไม่ออกจากสินค้าของบริษัทอื่นยกเว้นเครื่องหมายการค้าที่อาจจะติดอยู่ที่หีบห่อ ว่าที่จริง เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าเองนั้นก็อาจจะซื้อมาจากบริษัทเดียวกัน วัตถุดิบก็เหมือนกัน ดังนั้น สินค้าที่ผลิตออกมาจึงเหมือนกัน ความแตกต่างถ้าจะมีก็อาจจะมาจากความสามารถหรือฝีมือในการผลิตของพนักงานและการควบคุมคุณภาพซึ่งผมเองคิดว่าเป็นความได้เปรียบที่ไม่ใคร่จะยั่งยืนเนื่องจากเมื่อเวลาผ่านไปคนก็ “เรียนทันกัน” ดังนั้น ราคาขายของสินค้าโรงงานจึงใกล้เคียงกันหมดและบริษัทกำหนดไม่ได้ ขึ้นอยู่กับราคาตลาด หรือราคาที่ทำให้บริษัทระดับกลาง ๆ พออยู่ได้ในภาวะปกติ
ความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งที่อาจจะช่วยให้บริษัทหนึ่งได้เปรียบคู่แข่งก็คือ ด้านของต้นทุนการผลิตที่อาจจะต่ำกว่าเนื่องจากเรื่องของค่าแรงและต้นทุนอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น อาจจะเนื่องจากขนาดของกำลังการผลิตที่สูงกว่า อย่างไรก็ตาม นี่ยังไม่ทำให้ Margin หรือกำไรต่อยอดขายของบริษัทดีนัก เหตุผลก็คือ ในธุรกิจการรับจ้างผลิตนั้น ผู้ซื้อมักจะเป็นรายใหญ่มีอำนาจในการต่อรองสูง โดยเฉพาะบริษัทของญี่ปุ่นนั้นมักจะมีนโยบาย “Cost Down” คือขอให้ Supplier ลดราคาชิ้นส่วนหรือสินค้าที่ขายลงทุกปีอาจจะปีละ 2-3% ซึ่งอาจจะทำให้กำไรของบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนโตได้ยาก และในกรณีที่ต้นทุนการผลิตเช่นค่าแรงเพิ่มขึ้นมากอย่างในช่วงเร็ว ๆ นี้ก็ทำให้กำไรของธุรกิจหุ้นโรงงานแทบจะไม่โตเลย
หุ้นโรงงานที่ผลิตสินค้าโดยเฉพาะที่เป็นชิ้นส่วนอีเล็กโทรนิกส์นั้น ส่วนใหญ่หรือแทบทั้งหมดก็จะเป็นการส่งออกซึ่งมักจะถูกกระทบจากปัจจัยหลายอย่างที่ควบคุมไม่ได้ เช่น เรื่องของค่าเงินที่ผันผวนทำให้ผลประกอบการของบริษัทไม่ใคร่แน่นอน ในช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งบริษัทมักขายสินค้าได้น้อยลง เช่นเดียวกับในยามที่เศรษฐกิจโลกอ่อนแอซึ่งทำให้ความต้องการสินค้าลดลง นอกจากนี้ ราคาของชิ้นส่วนอีเล็กโทรนิกส์เองก็ผันผวนคล้าย ๆ กับสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ เหมือนกัน ดูเหมือนว่าปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อธุรกิจในกลุ่มนี้อย่างชัดเจนจะเป็นเรื่องของค่าเงินบาทที่อ่อนลงอย่างที่กำลังเป็นอยู่ในช่วงนี้ที่ทำให้หุ้นโรงงานในกลุ่มนี้ดูดีขึ้น อย่างไรก็ตาม มันจะดำรงอยู่นานเท่าไรก็เป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยาก และนี่ก็ทำให้หุ้นเหล่านี้ไม่สามารถที่จะมีคุณค่าหรือมีค่า PE ที่สูงได้
จุดอ่อนของหุ้นโรงงานยังอยู่ที่ด้านของการผลิตที่มักจะต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์จำนวนมากที่ต้องมีการลงทุนสูงเมื่อเทียบกับยอดขาย ดังนั้น เมื่อยอดขายเพิ่มขึ้นถึงจุดหนึ่ง บริษัทก็มักจะต้องลงทุนเพิ่มในอัตราที่ค่อนข้างสูง นอกจากการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรที่เป็นโรงงานและเครื่องจักรแล้ว บริษัทก็มักจะต้องลงทุนสต็อกวัตถุดิบ สินค้า และการให้เครดิตทางการค้าแก่ลูกค้าค่อนข้างยาว ทำให้เม็ดเงินต้องไปจมอยู่ค่อนข้างมากแม้ว่าบางส่วนจะได้รับการชดเชยจากผู้ขายวัตถุดิบให้แก่ตนเองก็ตาม ดังนั้น กำไรของบริษัทจึงมักจะไม่สามารถนำมาจ่ายเป็นปันผลได้มากเหมือนกับธุรกิจบริการอื่น ๆ ที่มักจะมีกระแสเงินสดดีกว่า ผลจากการนี้ทำให้ “คุณค่า” ของบริษัทโรงงานลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับกิจการอื่นที่มีกระแสเงินสดสูงกว่าและทำให้ค่า PE รวมถึงค่า PB หรือราคาต่อมูลค่าทางบัญชีของหุ้นโรงงานมักจะไม่สูง
ความเสี่ยงที่ “รุนแรง” ของหุ้นโรงงานนั้นก็มีไม่น้อยอยู่เหมือนกัน เรื่องแรกก็คือ โรงงานอาจจะ“ล้าสมัย” ได้เร็วกว่าที่กำหนดไว้ตามหลักการทางบัญชีที่ส่วนมากกำหนดไว้ประมาณ 10 ปี นี่ทำให้บริษัทต้องลงทุนปรับปรุงเครื่องจักรอุปกรณ์ใหม่เร็วกว่ากำหนดเพื่อที่จะสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ และนี่ก็เป็นต้นทุนที่อาจจะไม่ก่อให้เกิดรายได้และกำไรมากนัก ความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งที่อาจจะรุนแรงยิ่งกว่าก็คือ การสูญเสียผู้ซื้อรายใหญ่ที่อาจจะมีมูลค่าการซื้อหลายสิบเปอร์เซ็นต์ของบริษัท และนี่อาจจะทำให้ผลประกอบการของบริษัททรุดได้อย่างไม่คาดฝัน การสูญเสียลูกค้ารายใหญ่นั้นอาจจะมีสาเหตุได้หลากหลายมาก เช่น ลูกค้ารายใหญ่อาจจะหันไปซื้อจากคู่แข่งที่ทำได้ดีกว่าหรือต้นทุนต่ำกว่าและบริษัทไม่สามารถแข่งขันได้ หรือลูกค้าอาจจะไปซื้อบริษัทหรือขยายงานเพื่อทำชิ้นส่วนเอง หรืออุตสาหกรรมหรือเทคโนโลยีอาจจะเปลี่ยนไปทำให้ชิ้นส่วนเดิมไม่ถูกใช้อีกต่อไป สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อาจทำให้ “พื้นฐาน”ของบริษัทเปลี่ยนไปและอาจกลายเป็น “หายนะ” ของการลงทุนในหุ้นโรงงานได้
การวิเคราะห์เพื่อที่จะกำหนดว่าหุ้นตัวไหนเป็นหุ้นโรงงานนั้น บางบริษัทก็ชัดเจนตรงตามคุณสมบัติดังที่กล่าว อย่างไรก็ตาม บางบริษัทก็อาจจะไม่ชัดนัก เหตุผลก็อาจจะมีหลากหลาย ถ้าบริษัทมีโรงงานเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โตแต่สิ่งที่โรงงานผลิตนั้น ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่มียี่ห้อโดดเด่นที่ผู้บริโภคเรียกหาและบริษัทเป็นเจ้าของ แบบนี้ต้องถือว่ามันไม่ใช่หุ้นโรงงาน ในอีกด้านหนึ่ง ถ้าผลิตภัณฑ์ของบริษัทดังกล่าวนั้น ส่วนใหญ่แล้วผลิตเป็น OEM ในขณะที่ส่วนน้อยหรือบางส่วนบริษัทติดยี่ห้อของตนเอง แบบนี้ แม้ว่ายี่ห้อจะโดดเด่นเราก็อาจจะบอกว่ามันเป็นหุ้นโรงงานอยู่ดี เป็นต้น
ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ผมไม่ได้หมายความว่าเราไม่ควรลงทุนในหุ้นโรงงานเลย เพียงแต่จะบอกว่าการลงทุนในหุ้นโรงงานนั้น เราจะต้องรู้ว่าบ่อยครั้งมันมีข้อจำกัดและเป็นเรื่องยากที่มันจะเป็นหุ้นที่ดีระดับซุปเปอร์สต็อกได้ ในบางช่วงบางตอนนั้น อุตสาหกรรมบางอย่างอยู่ในภาวะที่สดใสมากและมีการเชียร์จากนักวิเคราะห์และเซียนหุ้นมากมาย ตัวอย่างเช่นในอุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมอีเล็กโทรนิกส์ และอื่น ๆ จนทำให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไปสูงมากมองจากค่า PE และ/หรือ PB แต่แล้วหลังจากนั้น เมื่อภาพอุตสาหกรรมเปลี่ยนไป กลับพบว่าหุ้นตกลงมามากมายและทำให้นักลงทุนเจ็บหนักจนคนเลิกสนใจไปเลย และนี่ก็อาจจะเป็นโอกาสลงทุนได้เหมือนกัน เพียงแต่เราต้องรู้ว่า หุ้นโรงงานตัวนั้นคุ้มค่าหรือไม่มองจากข้อจำกัดต่าง ๆ
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ลงทุนอย่างเพียงพอ แบบชาวหมอ VI
โพสต์ที่ 4461
ก.ล.ต.พบกองทุนอสังหาฯประเมินสินทรัพย์สูงเกินจริง เผยหลังสั่งกลับไปประเมินใหม่มูลค่าลดลงกว่า 1 พันล้านบาท ตื่นออกหนังสือเวียนถึงบลจ.เข้มงวดจัดทำข้อมูลกองทุนลูกค้า บลจ.กสิกรไทยฯ เปิดพอร์ตกองทุนอสังหาฯ
นางวรัชญา ศรีมาจันทร์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ก.ล.ต.ตรวจสอบพบว่ามีการยื่นทรัพย์สินเพื่อจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์(พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์)สูงเกินความเป็นจริงจึงสั่งให้ไปจัดการประเมินทรัพย์สินใหม่ มูลค่าก็ลดลงกว่า 1 พันล้านบาท
จากพฤติกรรมที่พบจึงทำให้ก.ล.ต.ต้องเข้มงวดมากขึ้น โดยได้ย้ำเตือนบลจ.ให้รอบคอบในการทำข้อมูลต่างๆ เพื่อประโยชน์แก่นักลงทุนสูงสุด ซึ่งที่ผ่านมา ก.ล.ต.ได้มีการพูดคุยกับสมาคมบริษัทจัดการกองทุน (สมาคมบลจ.)ไปแล้ว เพื่อให้นำข้อมูลไปชี้แจงต่อบริษัทจดทะเบียน(บจ.)ที่ต้องการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
นอกจากนี้ก.ล.ต.อยู่ระหว่างการจัดทำหนังสือเวียนเพื่อกำชับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ให้เข้มงวดในการจัดทำข้อมูลงบการเงิน และการประเมินทรัพย์สินของผู้ที่ต้องการจัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่จะต้องเร่งยื่นให้ทันก่อนสิ้นปีนี้ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่จะใช้เกณฑ์การตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์(กอง 1) เพื่อให้เกิดความถูกต้อง และรอบคอบมากที่สุด หลังจากมีเร่งจัดตั้งกองทุนโดยปัจจุบันมีคำขอเพื่อจัดตั้งกองทุนอสังหาฯเข้ามากว่า 20 กองทุน ซึ่งถือว่าค่อนข้างมากทำให้กระบวนการต่างๆ อาจมีข้อบกพร่อง
นายจงรัก รัตนเพียร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ. กสิกรไทยฯ เปิดเผยว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้บริษัทเตรียมที่จะออกกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานและกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs)หรือกองรีทส์ รวมมูลค่ากว่า 4 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นกองรีทส์ ของอิมแพ็ค เมืองทองธานี ประมาณ 1.8-2 หมื่นล้านบาท ซึ่งกองทุนดังกล่าวบริษัทไม่ได้เป็นผู้จัดการกองทุนแต่เป็นเพียงผู้ดูแลทรัพย์สิน
นอกจากนี้มีแผนออกกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ประมาณ 2-3 กองทุน ขนาดกองทุนละ 3.5 พันล้านบาท และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน 2 กอง คือ กองทุนอินฟราสตรักเจอร์ และล่าสุดกองทุนอินฟราสตรักเจอร์ของ บริษัท อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ฯ 6.3-6.6 พันล้านบาท รวมมูลค่าทั้งหมด 1.2-1.3 หมื่นล้านบาท
ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมา บมจ.โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์(HMPRO)แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติให้นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติให้บริษัทเข้าทำสัญญาให้เช่าพื้นที่บางส่วนในอาคารศูนย์การค้ามาร์เก็ตวิลเลจ หัวหิน และงานระบบสาธารณูปโภค และสิทธิใดๆ ที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับทรัพย์สินดังกล่าว รวมกันเป็นราคาก่อนหักค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 4.06 พันล้านบาท
พร้อมทั้งอนุมัติให้บริษัทเข้าลงทุนในกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ แอล เอช ชอปปิ้ง เซ็นเตอร์ ในจำนวนเงินไม่เกิน 1 ใน 3 ของราคาประเมินทรัพย์สินเฉพาะส่วนทรัพย์สินที่บริษัทให้เช่าและจำหน่ายให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เบื้องต้นคาดว่ามูลค่าการซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์จะมีมูลค่าไม่เกิน 1.42 ล้านบาท
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,876 วันที่ 8 - 11 กันยายน พ.ศ. 2556
นางวรัชญา ศรีมาจันทร์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ก.ล.ต.ตรวจสอบพบว่ามีการยื่นทรัพย์สินเพื่อจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์(พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์)สูงเกินความเป็นจริงจึงสั่งให้ไปจัดการประเมินทรัพย์สินใหม่ มูลค่าก็ลดลงกว่า 1 พันล้านบาท
จากพฤติกรรมที่พบจึงทำให้ก.ล.ต.ต้องเข้มงวดมากขึ้น โดยได้ย้ำเตือนบลจ.ให้รอบคอบในการทำข้อมูลต่างๆ เพื่อประโยชน์แก่นักลงทุนสูงสุด ซึ่งที่ผ่านมา ก.ล.ต.ได้มีการพูดคุยกับสมาคมบริษัทจัดการกองทุน (สมาคมบลจ.)ไปแล้ว เพื่อให้นำข้อมูลไปชี้แจงต่อบริษัทจดทะเบียน(บจ.)ที่ต้องการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
นอกจากนี้ก.ล.ต.อยู่ระหว่างการจัดทำหนังสือเวียนเพื่อกำชับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ให้เข้มงวดในการจัดทำข้อมูลงบการเงิน และการประเมินทรัพย์สินของผู้ที่ต้องการจัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่จะต้องเร่งยื่นให้ทันก่อนสิ้นปีนี้ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่จะใช้เกณฑ์การตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์(กอง 1) เพื่อให้เกิดความถูกต้อง และรอบคอบมากที่สุด หลังจากมีเร่งจัดตั้งกองทุนโดยปัจจุบันมีคำขอเพื่อจัดตั้งกองทุนอสังหาฯเข้ามากว่า 20 กองทุน ซึ่งถือว่าค่อนข้างมากทำให้กระบวนการต่างๆ อาจมีข้อบกพร่อง
นายจงรัก รัตนเพียร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ. กสิกรไทยฯ เปิดเผยว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้บริษัทเตรียมที่จะออกกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานและกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs)หรือกองรีทส์ รวมมูลค่ากว่า 4 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นกองรีทส์ ของอิมแพ็ค เมืองทองธานี ประมาณ 1.8-2 หมื่นล้านบาท ซึ่งกองทุนดังกล่าวบริษัทไม่ได้เป็นผู้จัดการกองทุนแต่เป็นเพียงผู้ดูแลทรัพย์สิน
นอกจากนี้มีแผนออกกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ประมาณ 2-3 กองทุน ขนาดกองทุนละ 3.5 พันล้านบาท และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน 2 กอง คือ กองทุนอินฟราสตรักเจอร์ และล่าสุดกองทุนอินฟราสตรักเจอร์ของ บริษัท อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ฯ 6.3-6.6 พันล้านบาท รวมมูลค่าทั้งหมด 1.2-1.3 หมื่นล้านบาท
ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมา บมจ.โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์(HMPRO)แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติให้นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติให้บริษัทเข้าทำสัญญาให้เช่าพื้นที่บางส่วนในอาคารศูนย์การค้ามาร์เก็ตวิลเลจ หัวหิน และงานระบบสาธารณูปโภค และสิทธิใดๆ ที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับทรัพย์สินดังกล่าว รวมกันเป็นราคาก่อนหักค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 4.06 พันล้านบาท
พร้อมทั้งอนุมัติให้บริษัทเข้าลงทุนในกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ แอล เอช ชอปปิ้ง เซ็นเตอร์ ในจำนวนเงินไม่เกิน 1 ใน 3 ของราคาประเมินทรัพย์สินเฉพาะส่วนทรัพย์สินที่บริษัทให้เช่าและจำหน่ายให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เบื้องต้นคาดว่ามูลค่าการซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์จะมีมูลค่าไม่เกิน 1.42 ล้านบาท
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,876 วันที่ 8 - 11 กันยายน พ.ศ. 2556
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ลงทุนอย่างเพียงพอ แบบชาวหมอ VI
โพสต์ที่ 4462
ในปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์ได้สนับสนุนเครื่องมือเพื่อเป็นทางเลือกให้บริษัทจดทะเบียน(บจ.)สามารถจ่ายปันผลเป็นหุ้น (Stock dividend) แทนที่จะจ่ายปันผลออกมาในรูปของเงินสด ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวทำให้บริษัทสามารถเก็บเงินสดเหล่านั้นไว้เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
หรือใช้ในการลงทุนเพื่อขยายธุรกิจซึ่งนำมาสู่กำไรที่เพิ่มในอนาคตได้ โดยใน 5 เดือนแรกของปี 2556 มีบริษัทจดทะเบียนที่จ่ายปันผลเป็นหุ้นจำนวน 53 บริษัท เพิ่มขึ้นจากทั้งปี 2555 ที่ 31 บริษัท คิดเป็นมูลค่ากว่า 7 พันล้านบาท
อีกทั้งพบว่าใน 5 เดือนแรกของปี 2556 นี้ บจ.ยังนิยมเพิ่มทุนโดยการเสนอขายหุ้นสามัญ (right offering: RO) และใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ (วอแรนต์) ให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้นมากยิ่งขึ้นด้วย โดยสาเหตุหลักมาจากหลายธุรกิจในไทยมีแนวโน้มการเจริญเติบโตสูง ทำให้บจ.ต้องการเก็บเงินสดไว้เพื่อขยายการลงทุนให้สอดคล้องไปกับสภาวะเศรษฐกิจ อีกทั้งตลาดหุ้นไทยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2556 ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นจังหวะที่ดีในการระดมทุนเพิ่ม นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มสภาพคล่องของหุ้นของแต่ละบริษัทเพื่อทำให้มูลค่าตลาดเติบโตมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
ปัจจัยที่ทำให้บจ.มีแนวโน้มประสบความสำเร็จ (มีมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี) แม้มีการใช้เครื่องมือเพิ่มสภาพคล่องนั้นขึ้นอยู่กับว่าราคาหุ้นจะสามารถปรับตัวสูงขึ้นเพื่อชดเชยกับผลกระทบจากราคาหุ้นได้มากน้อยเพียงใด จากข้อมูลของบจ.ที่จ่ายปันผลในปี 2556 มีอัตราการจ่ายปันผลเป็นหุ้นเฉลี่ยประมาณ 26% หรือคิดเป็น 10 หุ้นเดิมต่อ 2.6 หุ้นใหม่ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นราว 20% แต่เมื่อไปดูผลกระทบที่เกิดขึ้นกลับพบว่าราคาหุ้น (1 วันหลังจากประกาศ XD) ปรับตัวลดลงเฉลี่ยเพียง 16% เท่านั้น
นอกจากสภาพตลาดหุ้นที่อยู่ในช่วงขาขึ้นแล้ว ยังพบลักษณะของบจ.ที่ประสบความสำเร็จดังนี้ 1) บริษัทในกลุ่ม SET101-200 ประสบความสำเร็จสูงที่สุด ในขณะที่กลุ่มนอกSET200 และกลุ่มที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ส่วนใหญ่กลับมีมูลค่าตลาดลดลง 2) บริษัทในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และกลุ่มบริการ มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในการใช้เครื่องมือเพิ่มสภาพคล่องเหล่านี้มากกว่ากลุ่มธุรกิจอื่น 3) บริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานดี โดยเฉพาะอัตราการเติบโตของกำไรที่สูงเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้การใช้เครื่องมือเหล่านี้ประสบความสำเร็จ 4) ปัจจัยเฉพาะของแต่ละบริษัทที่ผู้ลงทุนควรพิจารณาได้แก่ วัตถุประสงค์ในการนำเงินทุนที่ได้มาไปใช้, การบริหารจัดการการเพิ่มสภาพคล่อง (ราคาหุ้น, จำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้น, ความถี่ในการเพิ่มทุน) รวมถึงจรรยาบรรณของผู้บริหารด้วย
สำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการได้รับสิทธิประโยชน์ในการได้รับหุ้นปันผล หุ้นเพิ่มทุน และวอแรนต์จากบจ.ต่างๆ นั้น ต้องเข้าไปตรวจสอบข้อมูลก่อนการลงทุน เช่น วันสุดท้ายที่จะได้สิทธิดังกล่าวเป็นวันที่เท่าไหร่ โดยในเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีปฏิทินประกาศไว้อย่างชัดเจน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับช่วงปิดสมุดบัญชีเพื่อจ่ายปันผล (ช่วง มี.ค. - พ.ค.) ดังนั้นแล้วผู้ลงทุนที่เข้าซื้อหุ้นในช่วงเวลาดังกล่าวจะเปรียบเสมือนกับได้โปรโมชันส่งเสริมการขายที่บริษัทต่างๆ ได้นำมาใช้เพื่อเพิ่มความน่าสนใจในหุ้นของบริษัท
อย่างไรก็ดี หากใครเคยเป็นนักการตลาดก็คงจะพอทราบว่าจริงๆ สินค้าที่มีโปรโมชันเหล่านี้ต่างมีต้นทุน และต้นทุนเหล่านั้นได้ถูกเพิ่มไปในราคาสินค้าเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นในฐานะผู้ลงทุนที่ดีจึงควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อ และเลือกซื้อเฉพาะสินค้าที่ดี มีคุณภาพ ในราคาเป็นกันเอง
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,876 วันที่ 8 - 11 กันยายน พ.ศ. 2556
หรือใช้ในการลงทุนเพื่อขยายธุรกิจซึ่งนำมาสู่กำไรที่เพิ่มในอนาคตได้ โดยใน 5 เดือนแรกของปี 2556 มีบริษัทจดทะเบียนที่จ่ายปันผลเป็นหุ้นจำนวน 53 บริษัท เพิ่มขึ้นจากทั้งปี 2555 ที่ 31 บริษัท คิดเป็นมูลค่ากว่า 7 พันล้านบาท
อีกทั้งพบว่าใน 5 เดือนแรกของปี 2556 นี้ บจ.ยังนิยมเพิ่มทุนโดยการเสนอขายหุ้นสามัญ (right offering: RO) และใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ (วอแรนต์) ให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้นมากยิ่งขึ้นด้วย โดยสาเหตุหลักมาจากหลายธุรกิจในไทยมีแนวโน้มการเจริญเติบโตสูง ทำให้บจ.ต้องการเก็บเงินสดไว้เพื่อขยายการลงทุนให้สอดคล้องไปกับสภาวะเศรษฐกิจ อีกทั้งตลาดหุ้นไทยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2556 ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นจังหวะที่ดีในการระดมทุนเพิ่ม นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มสภาพคล่องของหุ้นของแต่ละบริษัทเพื่อทำให้มูลค่าตลาดเติบโตมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
ปัจจัยที่ทำให้บจ.มีแนวโน้มประสบความสำเร็จ (มีมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี) แม้มีการใช้เครื่องมือเพิ่มสภาพคล่องนั้นขึ้นอยู่กับว่าราคาหุ้นจะสามารถปรับตัวสูงขึ้นเพื่อชดเชยกับผลกระทบจากราคาหุ้นได้มากน้อยเพียงใด จากข้อมูลของบจ.ที่จ่ายปันผลในปี 2556 มีอัตราการจ่ายปันผลเป็นหุ้นเฉลี่ยประมาณ 26% หรือคิดเป็น 10 หุ้นเดิมต่อ 2.6 หุ้นใหม่ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นราว 20% แต่เมื่อไปดูผลกระทบที่เกิดขึ้นกลับพบว่าราคาหุ้น (1 วันหลังจากประกาศ XD) ปรับตัวลดลงเฉลี่ยเพียง 16% เท่านั้น
นอกจากสภาพตลาดหุ้นที่อยู่ในช่วงขาขึ้นแล้ว ยังพบลักษณะของบจ.ที่ประสบความสำเร็จดังนี้ 1) บริษัทในกลุ่ม SET101-200 ประสบความสำเร็จสูงที่สุด ในขณะที่กลุ่มนอกSET200 และกลุ่มที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ส่วนใหญ่กลับมีมูลค่าตลาดลดลง 2) บริษัทในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และกลุ่มบริการ มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในการใช้เครื่องมือเพิ่มสภาพคล่องเหล่านี้มากกว่ากลุ่มธุรกิจอื่น 3) บริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานดี โดยเฉพาะอัตราการเติบโตของกำไรที่สูงเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้การใช้เครื่องมือเหล่านี้ประสบความสำเร็จ 4) ปัจจัยเฉพาะของแต่ละบริษัทที่ผู้ลงทุนควรพิจารณาได้แก่ วัตถุประสงค์ในการนำเงินทุนที่ได้มาไปใช้, การบริหารจัดการการเพิ่มสภาพคล่อง (ราคาหุ้น, จำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้น, ความถี่ในการเพิ่มทุน) รวมถึงจรรยาบรรณของผู้บริหารด้วย
สำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการได้รับสิทธิประโยชน์ในการได้รับหุ้นปันผล หุ้นเพิ่มทุน และวอแรนต์จากบจ.ต่างๆ นั้น ต้องเข้าไปตรวจสอบข้อมูลก่อนการลงทุน เช่น วันสุดท้ายที่จะได้สิทธิดังกล่าวเป็นวันที่เท่าไหร่ โดยในเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีปฏิทินประกาศไว้อย่างชัดเจน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับช่วงปิดสมุดบัญชีเพื่อจ่ายปันผล (ช่วง มี.ค. - พ.ค.) ดังนั้นแล้วผู้ลงทุนที่เข้าซื้อหุ้นในช่วงเวลาดังกล่าวจะเปรียบเสมือนกับได้โปรโมชันส่งเสริมการขายที่บริษัทต่างๆ ได้นำมาใช้เพื่อเพิ่มความน่าสนใจในหุ้นของบริษัท
อย่างไรก็ดี หากใครเคยเป็นนักการตลาดก็คงจะพอทราบว่าจริงๆ สินค้าที่มีโปรโมชันเหล่านี้ต่างมีต้นทุน และต้นทุนเหล่านั้นได้ถูกเพิ่มไปในราคาสินค้าเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นในฐานะผู้ลงทุนที่ดีจึงควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อ และเลือกซื้อเฉพาะสินค้าที่ดี มีคุณภาพ ในราคาเป็นกันเอง
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,876 วันที่ 8 - 11 กันยายน พ.ศ. 2556
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ลงทุนอย่างเพียงพอ แบบชาวหมอ VI
โพสต์ที่ 4463
มีน้องๆส่งมาให้เลยเอามาแบ่งปันครับ
7 Mega trand ที่จะเป็นเทรนที่จะเติบโตในอนาคต
Mega Trend 1 : 3G
- เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ 3G
- ขายสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต
- mobile banking
- ค้าปลีก e-Commerce
- เว็บธุรกรรมออนไลน์
- โซเชียลมีเดีย & เกมออนไลน์
Mega Trend 2 : TV Digital
- เจ้าของสถานีโทรทัศน์
- ผลิตรายการ
- โฆษณาทางทีวี
- ติดตั้งอุปกรณ์การออกอากาศ/รับสัญญาณทีวีดิจิตอล
ข้อพิจารณาสำหรับกลุ่มนี้
- ทีวีดิจิตอลต้นทุนสูงกว่าทีวีดาวเทียม (หลักพันล้าน .vs. หลักร้อยล้าน)
- ค่าโฆษณาทีวีดาวเทียมต่ำกว่าฟรีทีวี แต่ต้นทุนการผลิตรายการเท่ากัน
- จำนวนช่องมาก >> เม็ดเงินโฆษณากระจายตัวไปตามแต่ละช่อง
- จำนวนช่องมาก >> content สำคัญ
- วัดเรตติ้งได้แม่นยำขึ้น
Mega Trend 3 : AEC
- ท่องเที่ยว
- ก่อสร้าง
- บริการขนส่งสินค้า & คน
- การบิน
- อสังหาฯ
- การก่อสร้างระบบขนส่ง & เส้นทางคมนาคม
- แรงงานราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้าน >> hit labor intensive industries
- ย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้านที่มีค่าแรงถูก
- การท่องเที่ยวบูม (หนึ่งวีซ่าสิบประเทศ)
7 Mega trand ที่จะเป็นเทรนที่จะเติบโตในอนาคต
Mega Trend 1 : 3G
- เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ 3G
- ขายสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต
- mobile banking
- ค้าปลีก e-Commerce
- เว็บธุรกรรมออนไลน์
- โซเชียลมีเดีย & เกมออนไลน์
Mega Trend 2 : TV Digital
- เจ้าของสถานีโทรทัศน์
- ผลิตรายการ
- โฆษณาทางทีวี
- ติดตั้งอุปกรณ์การออกอากาศ/รับสัญญาณทีวีดิจิตอล
ข้อพิจารณาสำหรับกลุ่มนี้
- ทีวีดิจิตอลต้นทุนสูงกว่าทีวีดาวเทียม (หลักพันล้าน .vs. หลักร้อยล้าน)
- ค่าโฆษณาทีวีดาวเทียมต่ำกว่าฟรีทีวี แต่ต้นทุนการผลิตรายการเท่ากัน
- จำนวนช่องมาก >> เม็ดเงินโฆษณากระจายตัวไปตามแต่ละช่อง
- จำนวนช่องมาก >> content สำคัญ
- วัดเรตติ้งได้แม่นยำขึ้น
Mega Trend 3 : AEC
- ท่องเที่ยว
- ก่อสร้าง
- บริการขนส่งสินค้า & คน
- การบิน
- อสังหาฯ
- การก่อสร้างระบบขนส่ง & เส้นทางคมนาคม
- แรงงานราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้าน >> hit labor intensive industries
- ย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้านที่มีค่าแรงถูก
- การท่องเที่ยวบูม (หนึ่งวีซ่าสิบประเทศ)
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ลงทุนอย่างเพียงพอ แบบชาวหมอ VI
โพสต์ที่ 4464
Mega Trend 4 : สังคมผู้สูงอายุ
- โรงพยาบาลรายใหญ่
- ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต
- ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ-อาหารเสริม
- ก่อสร้างบ้านสำหรับผู้สูงอายุ
- สถานพยาบาล&บ้านพักคนชรา
- ความต้องการสถานพยาบาล&บุคลากรจะเพิ่มขึ้นมากจนขาดแคลนได้
Mega Trend 5 : สังคมเมือง
- ค้าปลีก
- ก่อสร้าง
- ขนส่ง
- อสังหา
- ค้าปลีกขยายไปตามหัวเมืองชั้นหนึ่ง/ชั้นสอง
- การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมหัวเมืองต่างๆ
Mega Trend 6 : Gen Y
- สินค้า/บริการที่อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน
- ขายสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต
- เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ 3G
- เครื่องสำอาง/เสริมความงาม
- สุขภาพ เช่น ลดความอ้วน อาหารเสริม
Mega Trend 7 : ภาวะโลกร้อน
- ประกันภัย ประกันชีวิต
- พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- อสังหาบนพื้นที่ที่อยู่พ้นน้ำ
- ก่อสร้าง
- น้ำสะอาด
- อาหาร
- โรงพยาบาลรายใหญ่
- ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต
- ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ-อาหารเสริม
- ก่อสร้างบ้านสำหรับผู้สูงอายุ
- สถานพยาบาล&บ้านพักคนชรา
- ความต้องการสถานพยาบาล&บุคลากรจะเพิ่มขึ้นมากจนขาดแคลนได้
Mega Trend 5 : สังคมเมือง
- ค้าปลีก
- ก่อสร้าง
- ขนส่ง
- อสังหา
- ค้าปลีกขยายไปตามหัวเมืองชั้นหนึ่ง/ชั้นสอง
- การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมหัวเมืองต่างๆ
Mega Trend 6 : Gen Y
- สินค้า/บริการที่อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน
- ขายสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต
- เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ 3G
- เครื่องสำอาง/เสริมความงาม
- สุขภาพ เช่น ลดความอ้วน อาหารเสริม
Mega Trend 7 : ภาวะโลกร้อน
- ประกันภัย ประกันชีวิต
- พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- อสังหาบนพื้นที่ที่อยู่พ้นน้ำ
- ก่อสร้าง
- น้ำสะอาด
- อาหาร
-
- Verified User
- โพสต์: 1980
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ลงทุนอย่างเพียงพอ แบบชาวหมอ VI
โพสต์ที่ 4465
มาทักทายครับ
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
-
- Verified User
- โพสต์: 458
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ลงทุนอย่างเพียงพอ แบบชาวหมอ VI
โพสต์ที่ 4467
เข้ามาอ่าน Mega trend เก็บความรู้เพิ่ม และ ฉลองเปลี่ยนชื่ือกระทู้ใหม่
ขอบคุณ สำหรับความรู้ดีๆที่เอามาฝากครับ
ขอบคุณ สำหรับความรู้ดีๆที่เอามาฝากครับ
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ลงทุนอย่างเพียงพอ แบบชาวหมอ VI
โพสต์ที่ 4468
ถือว่าขออนุญาตผ่านพี่ JFK และพี่ๆน้องๆ หมอไปเลยแล้วกันนะครับDr.Jfk เขียน:เข้ามาอ่าน Mega trend เก็บความรู้เพิ่ม และ ฉลองเปลี่ยนชื่ือกระทู้ใหม่
ขอบคุณ สำหรับความรู้ดีๆที่เอามาฝากครับ
ถือเป็นที่แชรืความรู้และทำการบ้านของผมไปพร้อมๆกันละกันนะครับ พอดีผมไม่เคยเปิด blog ส่วนตัวอะไรเลย
เอากระทู้นี้เป็นตัวแปะข้อมูลและการบ้านไปพร้อมๆกันเลยนะครับ
ชื่อกระทู้เชยไปไหมครับพี่ JFK

-
- Verified User
- โพสต์: 458
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ลงทุนอย่างเพียงพอ แบบชาวหมอ VI
โพสต์ที่ 4469
ผมชอบชื่อนี้มากกว่า อันก่อน ครับPaul VI เขียน:
ชื่อกระทู้เชยไปไหมครับพี่ JFK
อันก่อน ประมาณเหมือน ชุมนุมหมอ คนอื่น อาจจะไม่ค่อยกล้ามาแจม
ทั้งที่กระทู้นี้ แม้จะมีเพื่อนๆหมอเข้ามาพูดคุย ทักทายกันเยอะหน่อย
แต่ก็มีประโยชน์กับเพื่อนๆชาว VI ทุกคน ทุกสาขาอาชีพ ครับ

- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ลงทุนอย่างเพียงพอ แบบชาวหมอ VI
โพสต์ที่ 4470
น่าจะเป็นช่องทางใหม่ๆของ บ. จดทะเบียน ในการระดมทุน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ออกกฎเกณฑ์ใหม่ ในการตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน สามารถเข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้นั้น ส่งผลให้มีบริษัทจดทะเบียนเริ่มทยอยขายทรัพย์สินของบริษัทเข้าสู่กองทุนโครงสร้างพื้นฐานต่อเนื่อง ทั้งนี้จากการสำรวจ พบว่า ปัจจุบันมีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว 1 กองทุน คือ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน บีทีเอส โกรท (BTSGIF) ของ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) มีขนาดกองทุน 62,000 ล้านบาท
ขณะที่กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้าอมตะ บี.กริมเพาเวอร์ หรือ ABPIF อยู่ระหว่างการพิจารณาคำขอเข้าจดทะเบียน กองทุนมีมูลค่าระดมทุน ประมาณ 6,500 ล้านบาท เบื้องต้นกำหนดราคาขายหน่วยลงทุน 10.50-11.00 บาท และจะเสนอขายระหว่างวันที่ 9-13 ก.ย. 2556 พร้อมเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ในวันที่ 27 ก.ย. นอกจากนี้ยังมีกองทุนโครงสร้างพื้นฐานอีก 3 กองทุน ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ ได้แก่ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานของ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่จะระดมทุนมูลค่า 7 หมื่นล้านบาท กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานของบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) มูลค่าการระดมทุน 5-7 หมื่นล้านบาท และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานของบริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าระดมทุน 4-5 พัน ล้านบาท
นายกวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท หลักทรัพย์กสิกรไทย (บล.) เปิดเผยว่า กองตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานนั้นเป็นการขายทรัพย์สินของบริษัทเข้าสู่กองทุนเพื่อที่บริษัทจะนำเงินไปลงทุนในการขยายกิจการของบริษัทในด้านอื่นๆ โดยในแง่การลงทุนนักลงทุนต้องทำความเข้าใจว่ากองทุนมีความต่างจากหุ้น โดยแต่ละกองทุนมีลักษณะที่แตกต่างกัน ทำให้ผู้ที่ต้องการลงทุนต้องตรวจสอบข้อมูล และทำความเข้าใจให้ครบถ้วนก่อนการเข้าไปลงทุน และหากจะลงทุนให้คุ้มค่านั้นนักลงทุนควรที่จะถือหน่วยลงทุนให้ครบอายุกองทุน
"กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานนั้นนักลงทุนต้องเข้าใจว่า มันมีความแตกต่างจากหุ้น คือ มีวันหมดอายุหากไม่มีการนำทรัพย์สินใหม่เข้าสู่กองทุนโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มขึ้น และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานนั้นจะมีกระแสเงินสดออกมาให้นักลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ในรูปแบบของเงินปันผล ซึ่งจะสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ และได้สิทธิการงดเก็บภาษีเงินปันผล 10 ปี ทำให้กองทุนในรูปแบบดังกล่าวเหมาะแก่การลงทุนระยะยาว"

การเงิน - การลงทุน
วันที่ 9 กันยายน 2556 10:20
บจ.แห่ขายอินฟราฯเฉียด2แสนล้าน
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ออกกฎเกณฑ์ใหม่ ในการตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน สามารถเข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้นั้น ส่งผลให้มีบริษัทจดทะเบียนเริ่มทยอยขายทรัพย์สินของบริษัทเข้าสู่กองทุนโครงสร้างพื้นฐานต่อเนื่อง ทั้งนี้จากการสำรวจ พบว่า ปัจจุบันมีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว 1 กองทุน คือ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน บีทีเอส โกรท (BTSGIF) ของ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) มีขนาดกองทุน 62,000 ล้านบาท
ขณะที่กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้าอมตะ บี.กริมเพาเวอร์ หรือ ABPIF อยู่ระหว่างการพิจารณาคำขอเข้าจดทะเบียน กองทุนมีมูลค่าระดมทุน ประมาณ 6,500 ล้านบาท เบื้องต้นกำหนดราคาขายหน่วยลงทุน 10.50-11.00 บาท และจะเสนอขายระหว่างวันที่ 9-13 ก.ย. 2556 พร้อมเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ในวันที่ 27 ก.ย. นอกจากนี้ยังมีกองทุนโครงสร้างพื้นฐานอีก 3 กองทุน ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ ได้แก่ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานของ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่จะระดมทุนมูลค่า 7 หมื่นล้านบาท กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานของบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) มูลค่าการระดมทุน 5-7 หมื่นล้านบาท และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานของบริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าระดมทุน 4-5 พัน ล้านบาท
นายกวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท หลักทรัพย์กสิกรไทย (บล.) เปิดเผยว่า กองตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานนั้นเป็นการขายทรัพย์สินของบริษัทเข้าสู่กองทุนเพื่อที่บริษัทจะนำเงินไปลงทุนในการขยายกิจการของบริษัทในด้านอื่นๆ โดยในแง่การลงทุนนักลงทุนต้องทำความเข้าใจว่ากองทุนมีความต่างจากหุ้น โดยแต่ละกองทุนมีลักษณะที่แตกต่างกัน ทำให้ผู้ที่ต้องการลงทุนต้องตรวจสอบข้อมูล และทำความเข้าใจให้ครบถ้วนก่อนการเข้าไปลงทุน และหากจะลงทุนให้คุ้มค่านั้นนักลงทุนควรที่จะถือหน่วยลงทุนให้ครบอายุกองทุน
"กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานนั้นนักลงทุนต้องเข้าใจว่า มันมีความแตกต่างจากหุ้น คือ มีวันหมดอายุหากไม่มีการนำทรัพย์สินใหม่เข้าสู่กองทุนโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มขึ้น และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานนั้นจะมีกระแสเงินสดออกมาให้นักลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ในรูปแบบของเงินปันผล ซึ่งจะสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ และได้สิทธิการงดเก็บภาษีเงินปันผล 10 ปี ทำให้กองทุนในรูปแบบดังกล่าวเหมาะแก่การลงทุนระยะยาว"

การเงิน - การลงทุน
วันที่ 9 กันยายน 2556 10:20
บจ.แห่ขายอินฟราฯเฉียด2แสนล้าน
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์