มั่งคั่งด้วยหุ้น ลงทุนอย่างมีคุณค่า

เชิญมาพักผ่อน คลายร้อนนั่งเล่น คุยกันเย็นๆ พร้อมเรื่องกีฬา สัพเพเหระ ทัศนะนานา ชีวิตชีวา สุขภาพทั่วไป บันเทิงขำขัน รอบเรื่องเมืองไทย ชวนเที่ยวที่ไหน อยากไปก็นัดมา ...โย่วๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4411

โพสต์

romee เขียน:สวัสดีครับ พี่หมอทุกท่านครับ

ไม่ทราบว่าพี่หมอคนใหนที่รักษาด้านมะเร็งต่อมน้ำเหลือง lymphoma บ้าง หรือพอให้คำแนะนำอ้างอิงหมอท่านอื่นได้บ้าง ผมอยากปรึกษาครับ :|
รบกวนหมอ Med ทุกท่านหรือ ท่านหมอแป๊ะ reiter ด้วยครับ ช่วยน้องโรมหน่อยครับ :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4412

โพสต์

noooon010 เขียน:ไม่ได้เข้ามานานเหมือนกัน
ขอสวัสดีพี่หมอมุขด้วยคนนะครับ
บุญรักษาครับพี่ครับ :D

หวัดดีครับหมอนุ่น ไม่ได้คุยกันนาน

ยินดีด้วยกับชีวิตแต่งงานนะครับ

เห็นภาพดีดกีตาร์ด้วย เท่ห์มากมายครับ :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4413

โพสต์

เอาความสุขมาฝากครับ

1.ความสุขไม่ได้อยู่ที่การมีบ้านหลังใหญ่แต่อยู่ที่ในบ้านนั้นมีรอยยิ้มเสียงหัวเราะ

2.ความสุขไม่ใช่รถคันหรูแต่คือการขับรถถึงบ้านปลอดภัย

3.ความสุขไม่ใช่การมีเงินเก็บเยอะแต่หมายถึงการได้ทำในสิ่งที่ชอบ

4.ความสุขไม่ใช่คนรักเราสวยหรือหล่อแต่ความสุขคือคนรักเรายิ้มได้งดงามเพียงใด

5.ความสุขไม่ใช่ยศฐาบรรดาศักดิ์แต่เป็นใครๆก็บอกว่าคุณเป็นคนดี

6.ความสุขไม่ใช่การได้กินอาหารดีใช้ของแพงๆแต่คือการไม่เจ็บไม่ป่วย

7.ความสุขไม่ใช่ตอนประสบความสำเร็จมีคนยินดีแต่เป็นตอนผิดหวังแล้วมีคนให้กำลังใจ

จาก นิรนาม
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4414

โพสต์

ช่วงนี้เป็นช่วงที่รีวิว บทความย้อนหลังของ ดร นิเวศน์

ก็จะเอาบทความที่น่าสนใจมาฝากเพื่อนๆครับ


Wednesday, 11 April 2007

Chinese Price


ใครที่เคยไปเมืองจีนโดยเฉพาะในเมืองท่องเที่ยวระดับท้องถิ่นอย่างคุนหมิงคงได้เจอประสบการณ์ในการซื้อของที่ระลึกแบบที่ผมเจอมาบ้าง

ตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับผมก็คือ ในขณะที่ลูกทัวร์ซึ่งรวมผมอยู่ด้วยกำลังนั่งอยู่ในรถบัสรอลูกทัวร์คนอื่นทยอยขึ้นรถเพื่อเดินทางต่อไปยังสถานที่ท่องเที่ยวอื่นนั้น คนขายของที่ระลึกที่เป็นขิมจีนทำด้วยไม้ก็ขึ้นมาบนรถและเสนอราคาขายที่ตัวละ 200 หยวนหรือประมาณ 1,000 บาทไทย นักท่องเที่ยวที่อยู่ด้านหน้าของรถสนใจจะซื้อแต่ก็รู้ว่าที่เมืองจีนนั้น ราคาสินค้าที่เรียกจะสูงกว่าราคาจริงมาก จึงต่อราคาเหลือเพียงครึ่งเดียวคือ 100 หยวน คนขายอิดออดเล็กน้อยแต่ก็ยอมขายให้

คนขายขิมเดินต่อมาก็พบกับลูกค้าอีกคนหนึ่งซึ่งสนใจแต่เห็นว่าน่าจะต่อรองราคาขิมลงได้อีก จึงเสนอราคา “เผื่อต่อรอง” ไปที่ 50 หยวน คนขายไม่ยอมรับราคาและเจรจาอยู่สักครู่ก็ตกลงซื้อขายกันที่ 60 หยวน ซึ่งทำให้คนซื้อรู้สึกพอใจ แต่คนซื้อคนแรกรู้สึกเจ็บใจที่ตนเองต้องซื้อของราคาแพงเนื่องจากต่อรองราคาน้อยเกินไปในตอนแรก

พ่อค้าขิม “ตัวแสบ” เดินต่อไปที่ท้ายรถและก็เสนอขายขิมอีกในราคาที่ตกลงกับคนซื้อรายที่สามที่ 30 หยวน ซึ่งทำให้ลูกค้าทั้งรายที่หนึ่งและสองรู้สึกเจ็บปวดหนักที่รู้สึกว่าตัวเองเหมือนถูกหลอกให้ซื้อของที่แพงเกินไปมาก อย่างไรก็ตามพ่อค้าขิมก็ยังเดินต่อไปและเสนอราคาขายขิมในราคาที่ต่ำลงอีกเหลือเพียง 15 หยวน สำหรับลูกค้ารายที่สี่ ซึ่งเมื่อถึงจุดนี้ ลูกค้าทั้งสามรายที่ซื้อไปก่อนหน้านี้ก็แทบคลั่งที่นึกว่าตนเองซื้อของถูกแล้ว แต่กลับมีราคาที่ถูกกว่า

ถึงตอนนี้หัวหน้าทัวร์ก็ประกาศว่ารถกำลังจะออกแล้ว ลูกทัวร์ที่นั่งอยู่ท้ายรถคนหนึ่งรู้สึกสนุกกับ “ความเขลา” ของผู้ซื้อขิมทั้งหลาย และเพื่อที่จะเล่นสนุกกับพ่อค้าขิมเจ้าเล่ห์จึง “แกล้ง”ต่อรองราคาขิมเหลือเพียง 5 หยวน เพราะคิดว่าอย่างไรเสียพ่อค้าขิมก็คงไม่ขายให้ เพราะราคา 5 หยวนนั้น น่าจะต่ำกว่าต้นทุนของขิม เขาเข้าใจผิด พ่อค้าขายขิมให้เขาและรีบลงจากรถที่กำลังเคลื่อนตัวออก เขาส่งยิ้มแสดงความขอบคุณให้ทุกคนที่ซื้อขิมเขา เพราะรายได้จากการขายขิม 5 ตัวคือ 220 หยวน ต้นทุนของขิมคือตัวละ 4 หยวน 5 ตัวเท่ากับ 20 หยวน กำไรของเขาก็คือ 200 หยวน ซึ่งเขาใช้เวลาขายเพียง 15 นาที

พ่อค้าขิมขายสินค้าของเขาได้ในราคาสูงลิ่วเพราะขิมจีนทำด้วยไม้แบบที่เขาขายนั้นเป็นสิ่งที่มีเอกลักษณ์ในตัวที่คนซื้อที่ไม่มีประสบการณ์จะไม่สามารถรู้ได้ว่าราคาควรจะเป็นเท่าไร แต่การตั้งราคาเริ่มต้นที่ 200 หยวนนั้น ดูเหมือนว่าจะเป็นราคาที่ “สมเหตุผล” สำหรับของที่ระลึกที่ดูมีค่าอย่างขิมจีน และที่สำคัญ มันเหมาะกับกระเป๋านักท่องเที่ยวชาวไทย และเมื่อเขากำหนดราคา “พื้นฐาน” ที่เป็นราคาเริ่มต้นได้แล้ว เขาสามารถที่จะ “ขายทำกำไร” ได้ในเกือบจะทุกราคาโดยที่คนซื้อจะพร้อมที่จะเข้ามาซื้อต่อเนื่อง เพราะคิดว่า “ของมันถูก” และไม่น่าจะ “ถูกกว่านี้”

ในตลาดหุ้นไทยนั้น ผมคิดว่ามีหุ้นที่มีลักษณะของการซื้อขายโดยมีราคาในลักษณะที่ผมจะเรียกให้เท่ ๆ ว่า Chinese Price หรือ “ราคาเมืองจีน” ดังที่กล่าวข้างต้นอยู่ไม่น้อย

แนวความคิดก็คือ มี “พ่อค้าหุ้น” ที่มีหุ้นราคาถูกอยู่ในมือจำนวนมาก คำว่าราคาถูกก็คือ เช่น ต้นทุนหุ้นละ 1 บาท สิ่งที่พ่อค้าหุ้นทำก็คือ การพยายาม “เปิดราคา” นั่นคือ ทำอย่างไรก็ได้ให้หุ้นมีการซื้อขายที่ราคาสูงที่สุดที่จะทำได้ เช่น ราคาหุ้นละ 10 บาท การทำให้หุ้นมีราคา 10 บาทได้นั้นก็ต้องพยายามทำให้คนเชื่อว่าราคา 10 บาทเป็นราคาที่ “สมเหตุผล” เหมือนกับ “ราคาเปิด”ของขิมในตัวอย่าง และก็เช่นเดียวกับขิมจีน ราคาหุ้นนั้น บางทีก็สามารถจะวิเคราะห์คำนวณให้มันวิ่งอยู่ระหว่าง 1-10 บาทได้ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสร้างเงื่อนไขหรือสมมุติฐานอย่างไร ตัวอย่างง่าย ๆ ก็เช่นการสร้างกำไรที่ดูโดดเด่นมาก ๆ ให้กับบริษัทสัก 1-2 ปี เพื่อทำให้บริษัทดูดี มีการเจริญเติบโตสูงมาก ซึ่งจะทำให้นักวิเคราะห์มาตีราคาหุ้นที่น่าจะมีราคา 1 บาทให้เป็น 10 บาทได้ หลังจากเปิดราคาแล้ว หน้าที่ของพ่อค้าหุ้นก็คือ พยายาม “ประคอง” ราคาหุ้นให้เหมือนกับการประคองราคาของขิมจีน และทยอยขายหุ้นจนหมดและยังกำไรจากการขายล็อตสุดท้าย

หุ้นที่จะทำ Chinese Price ที่ผมเห็นว่าทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพสูงน่าจะมาจากหุ้นที่ยังไม่มีสถิติของราคาหรือสถิติเดิมล้าสมัยแล้วและนักลงทุนไม่รู้หรือไม่สามารถกำหนดราคาที่เหมาะสมได้เช่นเดียวกับกรณีของขิมจีน ซึ่งในตลาดหุ้นที่ผมนึกออกอย่างน้อยน่าจะมีหุ้น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ นั่นคือ หุ้นของกิจการที่กำลังออกจากการฟื้นฟูกิจการ และ หุ้นของบริษัทที่เข้าซื้อขายในตลาดหุ้นเป็นครั้งแรก หรือหุ้น IPO เพราะหุ้น 2 กลุ่มนี้คนยังไม่รู้ราคาที่เหมาะสม ดังนั้น มันจึงสามารถถูกกำหนดราคาให้สูงลิ่วได้ทั้ง ๆ ที่มูลค่าที่แท้จริงอาจจะน้อยมาก

ในฐานะของ Value Investor ผมเองมักจะไม่เข้าซื้อหุ้นที่มีราคาตกลงไปอย่างต่อเนื่องมหาศาล ผมไม่คิดว่ามันเป็นโอกาสของการซื้อหุ้นถูก เพราะว่า บ่อยครั้ง ราคาของหุ้นเหล่านั้น กลายเป็นราคาแบบ Chinese Price คือตกลงไปจนหาฐานไม่เจอแต่คนขายที่มีต้นทุนต่ำก็ยังได้กำไรอยู่
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4415

โพสต์

อังคารทมิฬ



วันอังคารที่ 19 ธันวาคม 2549 เวลาประมาณ 11.00 น. ขณะที่ผมกำลังเดินทางท่องเที่ยวอยู่ตามดอยที่เชียงใหม่ท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็นสบายนั้น โบรกเกอร์ผมก็โทรศัพท์มาหา เธอรายงานว่าตลาดหุ้นกำลังตกหนักมากและกำลังแตะระดับที่ติดลบถึง 10% ซึ่งจะต้องหยุดพักการซื้อขายหุ้นชั่วคราว ผมถามว่าเกิดอะไรขึ้น เธอพยายามที่จะอธิบาย ผมจับความไม่ได้แน่ชัด รู้แต่ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยออกเกณฑ์ที่จะควบคุมการไหลเข้าของเงินลงทุนของต่างชาติ เธอไม่ได้ถามผมว่าจะขายหรือจะซื้อหุ้นอะไรเพราะเธอรู้ว่าในสถานการณ์ที่หุ้นตกหนักอย่างนี้ ผมมักไม่ทำอะไร ว่าที่จริง การที่เธอโทรหาผมตอน 11.00 น. ก็อาจเป็นเพราะว่าเธอกำลังยุ่งอยู่กับการรับคำสั่งซื้อขายมือเป็นระวิงและคงไม่มีเวลาที่จะโทรหาผมในช่วงตลาดเปิด

ผมโทรเช็คข้อมูลกับเพื่อนบางคนที่เชี่ยวชาญและคลุกอยู่ในตลาดหุ้นก็พอทราบว่ามาตรการที่ออกมานั้นมีความรุนแรงจริงและก็ไม่สงสัยว่าทำไมตลาดหุ้นจึงตกหนักขนาดเกือบ 20% ในช่วงหนึ่ง ในระหว่างนั้น ผมนึกถึงเรื่องราวของตลาดหุ้นอเมริกาที่ครั้งหนึ่งประธานาธิบดีเคนเนดี้ออกคำสั่งควบคุมราคาเหล็กและทำให้ตลาดหุ้นตกหนักมากยิ่งกว่าวันที่อเมริกายื่นคำขาดให้โซเวียตรัสเซียถอนหัวรบนิวเคลียร์ออกจากคิวบาและก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดสงครามนิวเคลียร์มากมาย และนี่ก็เป็นการพิสูจน์อีกครั้งหนึ่งในตลาดหุ้นไทยว่า สิ่งที่ตลาดหุ้นกลัวมากที่สุดก็คือนโยบายของรัฐที่กระทบต่อความเป็นตลาดเสรีของเศรษฐกิจ การเงิน และตลาดหุ้น

ปิดตลาดหุ้นวันนั้น ดัชนีตกลงไปถึง 108 จุดหรือประมาณเกือบ 15% ทำลายสถิติการตกแรงที่สุดครั้งก่อน ๆ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 8% เท่านั้น ผมตรวจสอบหุ้นในพอร์ตจากอินเตอร์เน็ตเมื่อเข้าไปเที่ยวที่ไนท์พลาซ่าเชียงใหม่ก็พบว่าหุ้นในพอร์ตลดลงไปประมาณ 8-9% อย่างไรก็ตาม ผมก็ได้ข่าวว่าแบงค์ชาติยอมยกเว้นมาตรการควบคุมเงินในส่วนของการลงทุนในหุ้นแล้วจากเพื่อนที่โทรมาบอกในช่วงค่ำของวันนั้น ความรู้สึกของผมในช่วงนั้นก็คือ ผมรู้สึกสบายใจขึ้น ไม่ใช่เพราะคิดว่าหุ้นจะดีดกลับในวันรุ่งขึ้นเท่านั้น แต่เพราะผมคิดว่าเหตุการณ์ในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลยังเห็นความสำคัญของตลาดหุ้นอยู่ และครั้งนี้น่าจะเป็นบทเรียนให้ทางการระมัดระวังมากขึ้นก่อนที่จะเสนอมาตรการอะไรที่จะมีผลกระทบต่อตลาดอย่างมีนัยสำคัญ ถ้าจะพูดตรง ๆ ก็คือ ผมรู้สึกว่า ความเสี่ยงทางด้านการเมืองหรือนโยบายที่เลวร้ายต่อตลาดหุ้นที่ผมเกรงมาตลอดตั้งแต่มีรัฐบาลนี้นั้นน่าจะลดลง อย่างน้อยก็ในช่วงอีกหนึ่งปีที่เหลือ

หุ้นปรับตัวขึ้นในวันรุ่งขึ้น และจนถึงวันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม 2549 อยู่ที่ 680 จุด ต่ำกว่าวันจันทร์ก่อนหน้าวัน “อังคารทมิฬ” ประมาณ 6.9% พอร์ตของผมซึ่งไม่ได้ทำอะไรเลยปรับตัวขึ้นเช่นกันเหลือติดลบประมาณ 3% ซึ่งบังเอิญเป็นมูลค่าของพอร์ตเท่ากับเมื่อต้นเดือนธันวาคม สรุปก็คือ เดือนธันวาคมนี้ พอร์ตของผมน่าจะประมาณเท่าทุน ไม่ได้ไม่เสีย ผมนั่งคิดก็เกิดความรู้สึกว่า เราคงเป็นเหมือนเต่า เมื่อเกิด “แผ่นดินไหวโลกถล่ม” พวกกระต่ายและสัตว์ทั้งหลายต่างก็วิ่งหนีเอาตัวรวด สัตว์บางตัวก็ฉวยโอกาสแย่งชิงเก็บเกี่ยวอาหารในยามที่เกิดโกลาหล แต่เต่านั้นไม่วิ่งไปไหน ที่จริงมันก็คงวิ่งไม่ทันชาวบ้าน ดังนั้น สิ่งที่มันทำก็คือหดหัวเข้าไปในกระดอง นอนราบและอยู่นิ่งที่สุด เมื่อเหตุการณ์สงบลง สัตว์หลายตัวล้มตาย สัตว์บางตัวกลับมั่งคั่งขึ้น แต่เต่าก็ยังเป็นเต่า มันโผล่หัวมาดูเพื่อนสัตว์ที่ “ร่วมชะตากรรม” อย่างปลงอนิจจังพลางคิดว่า “คราวนี้คนโชคดีคือคนที่ไม่กลัวแต่คราวหน้าใครจะรู้”

ความหมายของผมก็คือ ในวันอังคารทมิฬนั้น มีนักลงทุนจำนวนมากที่กล้าเข้าไปช้อนซื้อในยามที่หุ้นตกอย่างหนักโดยคิดว่าหุ้นจะต้องปรับตัวขึ้นเมื่อตกลงไปแรง ซึ่งคนกลุ่มนี้ก็โชคดีมากที่แบงค์ชาติปรับเปลี่ยนกฎอย่างรวดเร็วทำให้หุ้นในวันรุ่งขึ้นดีดตัวขึ้นมามากและทำให้พวกเขาได้กำไรมากมายอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าหากว่าแบงค์ชาติไม่ปรับกฎ อะไรจะเกิดขึ้น? ผมคิดว่าหุ้นจะตกต่อไป เพราะคำสั่งขายจากนักลงทุนต่างประเทศยังเหลืออีกมาก และหากมองระยะยาวออกไป ตลาดหุ้นก็จะมีปัญหาการไหลออกของเม็ดเงินตลอดเวลาขณะที่จะไม่มีเงินใหม่เข้าเลยซึ่งสถานการณ์แบบนี้ ผมเชื่อว่าการลดลงของตลาดหุ้นน่าจะมากกว่า 15 หรือ 20% ที่เกิดขึ้นในวันแรก

สำหรับผมแล้ว ผมคิดอยู่เสมอว่า การลงทุนในตลาดหุ้นนั้น นอกจากความเสี่ยงสารพัดแล้ว นักลงทุนยังต้องเสี่ยงกับการเมืองและนโยบายของรัฐตลอดเวลา คติของผมก็คือ การเมืองนั้นไม่สามารถที่จะช่วยตลาดหุ้นได้ แต่การเมืองนั้น สามารถทำลายตลาดหุ้นได้ ที่พูดนี้ รวมถึงหน่วยงานรัฐต่าง ๆ ด้วย และก็ไม่ใช่ว่าจะต้องเป็นการทำลายตลาดหุ้นโดยตรง แต่รวมถึงการทำลายตลาดหุ้นทางอ้อมด้วย คุณลักษณะโดยทั่วไปก็คือ รัฐบาลที่ “ปิด” รัฐบาลที่เน้น “สังคมนิยม” รัฐบาลที่เน้น “ประชานิยม” เหล่านี้จะมีความเสี่ยงต่อตลาดหุ้นมากกว่ารัฐบาลที่เป็นเสรีประชาธิปไตยที่เน้นการปกครองที่มีกฎเกณฑ์แบบสากล ถ้าจะมองอีกมุมหนึ่งก็คือ รัฐบาลที่ “ยุ่มย่าม” กับธุรกิจมากจะมีความเสี่ยงต่อตลาดหุ้นมากกว่ารัฐบาลที่ปล่อยให้ธุรกิจมีการดำเนินการอย่างเสรีและมีการแข่งขันที่ยุติธรรม และในการลงทุนนั้น เราต้องประเมินความเสี่ยงนี้ด้วยเสมอ
Dr.Jfk
Verified User
โพสต์: 458
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4416

โพสต์

ขอบคุณสำหรับแง่คิดและประสพการณ์ดีๆ ครับ
noooon010
Verified User
โพสต์: 2712
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4417

โพสต์

Paul VI เขียน:
noooon010 เขียน:ไม่ได้เข้ามานานเหมือนกัน
ขอสวัสดีพี่หมอมุขด้วยคนนะครับ
บุญรักษาครับพี่ครับ :D

หวัดดีครับหมอนุ่น ไม่ได้คุยกันนาน

ยินดีด้วยกับชีวิตแต่งงานนะครับ

เห็นภาพดีดกีตาร์ด้วย เท่ห์มากมายครับ :D
ขอบคุณพี่หมอมุขมากๆนะครับผม :oops:
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ

มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม


นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4418

โพสต์

แกะรอยการลงทุน กระเทาะหุ้นแบบ VI ครับ

http://www.moneychannel.co.th/0Live_0/p ... ?listid=12
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4419

โพสต์

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย หั่นจีดีพีเหลือ 4.0% จากเดิม 4.8% หลังปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจอื้อ

updated: 05 ก.ค. 2556
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์


ดร.พิมลวรรณ มหัจฉริยวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่าศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย(GDP)ปีนี้ลงเหลือ 4.0% กรอบคาดการณ์ที่ 3.8 - 4.3% จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ระดับ 4.8% และกรอบคาดการณ์ 4.3 - 5.3% เป็นผลมาจากการที่ตัวเลขเศรษฐกิจในประเทศทั้งการบริโภคของภาคเอกชน การลงทุน การนำเข้า และการส่งออก ในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวลดลง โดยในช่วงไตรมาส 2/2556 เศรษฐกิจมีการขยายตัวเพียง 2 - 3% ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัว 4.3%

ขณะที่ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจมีเพิ่มมากขึ้น ทั้งการที่จีนปรับลดการเติบโตของเศรษฐกิจลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยที่มีการส่งออกไปจีนมากเป็นอันดับหนึ่ง อีกทั้งยังกดดันให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ของโลกปรับตัวอ่อนลง เนื่องจากประเทศจีนมีความต้องการมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก ส่วนการส่งสัญญาณลดปริมาณเข้าซื้อพันธบัตร(QE)ของเฟด แม้ส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ แต่ก็ทำให้ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มขาขึ้น ซึ่งจะกระทบการใช้จ่ายภายในประเทศให้เพิ่มขึ้น โดยปัจจัยทั้งสองล้วนเป็นอุปสรรค์ของการเติบโตของไทย

อย่างไรก็ตามการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯเริ่มส่งสัณญาณฟื้นตัว และทิศทางค่าเงินบาทอ่อนตัวมากขึ้น จะช่วยให้อุตสาหกรรมการส่งออกของไทยในช่วงที่เหลือของปีเติบโตได้มากขึ้น

ส่วนทิศทางของธุรกิจในช่วงครึ่งปีหลัง คาดว่าจะมีทั้งกลุ่มที่เติบโตดี ทรงตัว และกลุ่มที่อาจได้รับผลกระทบ โดยกลุ่มที่คาดว่าจะเติบโตดี ได้แก่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโทรคมนาคม ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว กลุ่มสุขภาพ และกลุ่มพลังงานทดแทน ขณะที่กลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มทรงตัว ได้แก่กลุ่มสินค้าเกษตรและอาหาร กลุ่มส่งออก ธุรกิจขนส่งสินค้า และธุรกิจก่อสร้าง ส่วนธุรกิจที่คาดว่าอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ คือ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค อสังหาริมทรัพย์ อุสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มรถยนต์

http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1373030782
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4420

โพสต์

อ่านแล้วจะได้เตรียมตัวไว้ พี่JFK ก็คงต้องเตรียมไว้ด้วยนะครับ :mrgreen:

เตรียมการเข้าสู่สังคมสูงวัย : ตัวอย่างจากญี่ปุ่น

กรกฎาคม 1, 2013

บทความ Posted by วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ


เป็นที่ทราบกันมาพักใหญ่แล้วว่า สังคมไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมสูงวัย คือมีผู้สูงอายุมากกว่า 15% ของประชากรทั้งหมดในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ดิฉันได้มีโอกาสไปญี่ปุ่น และได้เห็นการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่สังเกตได้ จึงอยากจะนำมาแลกเปลี่ยนกับท่านผู้อ่านค่ะ
ดิฉันไม่ได้เดินในตัวเมืองโตเกียวในวันทำงานมานานพอสมควร สังเกตว่าในช่วงเวลากลางวันของวันทำงาน ไม่ค่อยมีคนหนุ่มสาวอยู่บนท้องถนนหรือสถานที่ต่างๆโดยเฉพาะแถบชานกรุงโตเกียว แต่พบผู้สูงวัยออกมาท่องเที่ยวกันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะตามสถานที่ซึ่งมีกลิ่นอายของวัฒนธรรมดั้งเดิม เช่น โรงละครคาบูกิ วัดอาซากุสะ เป็นต้น
ผู้สูงวัยเหล่านี้มักจะมาเที่ยวกันเป็นคู่ มีบ้างที่มากันเป็นกลุ่มใหญ่ ซึ่งเข้าใจว่ามาจากชนบท แต่ละคนก็มีการซื้อของที่ระลึกติดไม้ติดมือกันกลับไปบ้าง แต่ไม่ได้ซื้อมากนัก
องค์การสหประชาชาติคาดว่าในปี 2025 ญี่ปุ่นจะมีประชากรสูงวัยคืออายุเกิน 60 ปีเป็นสัดส่วน 35.1% ของประชากรทั้งหมด คือจะมีจำนวน 43.5 ล้านคน จากจำนวนประชากร 123.8 ล้านคน โดยปัจจุบันดิฉันคาดว่ามีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 28-29%
สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันประชากรสูงวัยมีสัดส่วนประมาณ 12% หรือคล้ายกับญี่ปุ่นในปี 1975ซึ่งมีประชากรสูงวัย 11.7% โดยองค์การสหประชาชาติคาดว่าไทยจะมีประชากรสูงวัยเป็นสัดส่วน 17.1% ในปี 2025
เพื่อนชาวญี่ปุ่นของดิฉันเล่าให้ฟังว่า หลังจากแผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 ชาวญี่ปุ่นไม่ว่าหนุ่มสาวหรือผู้สูงวัย หันมาชื่นชมประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิม หันมาสู่ความเรียบง่ายแบบเซนมากขึ้น
พิธีชงชาแบบญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่า ชาโนะยุ การจัดดอกไม้แบบอิเคบะนะ การพับกระดาษเป็นรูปต่างๆหรือโอริกะมิ รวมทั้งการชมทละครคาบูกิ หรือไปเยี่ยมชมโรงละครหรือพิพิธภัณฑ์ กลับมาเป็นที่นิยมมากขึ้น
ดิฉันพบว่าทางเดินเก่าตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจากตึกหนึ่งไปอีกตึกหนึ่ง หรือทางเดินตามสถานีรถไฟ ถูกปรับเปลี่ยนเป็นทางเลื่อนมากขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงวัย มีทั้งแบบเลื่อนราบๆปกติ เลื่อนขึ้นแบบบันไดเลื่อน หรือผสมผสานทั้งราบและปรับเลื่อนขึ้น
จากการเดินบนท้องถนนและเดินตามสถานีรถไฟต่างๆพบว่าชาวญี่ปุ่นโดยเฉลี่ยเดินช้าลง จำได้ว่าสามสิบปีก่อนดิฉันเดินตามเขาไม่ทัน ยี่สิบปีที่แล้วเดินในอัตราความเร็วเท่ากันพอดี พอมาถึงตอนนี้ดิฉันเดินเร็วกว่าคนญี่ปุ่นโดยทั่วไป ยกเว้นคนทำงานที่เดินในสถานีรถไฟที่ยุ่งมากๆ เช่นสถานีชินจูกุ หรือสถานีโตเกียวในช่วงเวลาเร่งด่วนนะคะ
นอกจากนี้คิวขึ้นบันไดเลื่อนที่เป็นคิวชิดซ้ายคือคิวยืน จะมีผู้นิยมมากขึ้น คิดว่าประมาณ 90% จะอยู่ในช่องยืน มีเพียง 10% เท่านั้นที่อยู่ช่องขวามือ คือช่องเดิน ห้ามหยุด
สาเหตุคือ อายุเฉลี่ยของคนญี่ปุ่นสูงขึ้น คนอายุหกสิบถึงแปดสิบปีจะออกมาเดินในช่วงกลางวันของวันธรรมดา ในขณะที่คนหนุ่มสาวออกมาเดินเล่นซื้อของในช่วงวันหยุด สมัยอายุน้อย การเดินวันละห้าถึงหกกิโลเมตรเป็นเรื่องธรรมดามาก แต่พออายุมากขึ้น เดินวันละห้ากิโลเมตรนี่เมื่อยพอสมควรนะคะ อีกสาเหตุน่าจะเป็นความรีบร้อนที่น้อยลง การแข่งขันที่ลดลง ตอนนี้คนที่ฮ่องกงเดินเร็วกว่าค่ะ
ประเทศไทยก็ต้องเตรียมการตั้งแต่วันนี้ เพื่อรองรับคนสูงอายุที่จะทยอยเกษียณอายุงาน ผู้สูงวัยส่วนใหญ่ใช้รถสาธารณะ แต่เมืองไทยไม่ค่อยมีการคมนาคมสาธารณะที่เอื้อให้ผู้สูงวัย หากไม่เตรียมไว้ อีกสิบปีข้างหน้ามีปัญหาแน่นอน ท่านคงไม่อยากให้คนแก่อายุเจ็ดสิบแปดสิบปีออกมาขับรถเพ่นพ่านกันบนท้องถนนแข่งกับคนขับรถคันแรกวัยยี่สิบต้นจริงไหมคะ
บันไดเลื่อนเมืองไทยบางจุดก็แปลกๆ ทางขึ้นแอร์พอร์ตเรลลิ้งก์มีบันไดให้ต้องเดินยกกระเป๋าขึ้นอยู่ 5-6 ขั้น แล้วจึงจะเป็นบันไดเลื่อน ลิฟท์ก็ไม่มีให้ด้วย ไม่เข้าใจว่าทำไมออกแบบเช่นนั้น
เดี๋ยวนี้ทางข้ามต่างๆของญี่ปุ่นยกขึ้นไปสูง แทนที่จะลอดใต้ดินเหมือนเดิม มีผู้สูงวัยใช้บริการมากมาย ดิฉันก็ข้ามตามไปบ้าง ปรากฏว่าหลงทาง เพราะไม่ชิน มองไม่เห็นร้านค้า เลยลงผิดแยกไป
คนแก่ที่เงินหมดแล้วเร่ร่อนตามท้องถนนดูจะมีมากขึ้นกว่าเดิม เพราะอายุยืนขึ้น คนเร่ร่อนในสมัยก่อนอายุประมาณ 50 ปี สมัยนี้อายุประมาณ 70-80 ปี ส่วนใหญ่ก็อาศัยนอนตาม สถานีรถไฟ ตามสะพานลอยขนาดใหญ่ที่ใช้ข้ามทางรถไฟหรือข้ามถนน และอยู่ตามสวนสาธารณะบ้าง มีข้าวของและสมบัติเป็นกระเป๋าเดินทางที่คนทิ้งแล้ว กินอาหารที่มีคนใจดีแบ่งมาให้ หรือเศษขอบขนมปังที่ร้านอาหารไม่ใช้และนำมาให้ เข้าใจว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐนำอาหารมาแจกตามจุดที่มีคนจรจัดพักอาศัยทุกวัน แต่ช่วงที่ไปไม่เห็นค่ะ
เราจะจัดการอย่างไร ให้คนไทยมีเงินดูแลตัวเองจนกว่าจะจากโลกนี้ไป ถ้าลูกหลานไม่ดูแลแบบในสมัยก่อน ขนาดญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่มีรัฐสวัสดิการดี ดีจนรัฐมีหนี้ท่วมตัวอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถดูแลคนแก่ได้ทั่วถึง ยิ่งอายุยืนก็ยิ่งต้องการการดูแลมากขึ้น แล้วไทยจะทำอย่างไร
ในรถไฟแต่ละตู้ จะมีการจัดที่นั่งไว้ให้ผู้สูงวัย คนพิการและหญิงมีครรภ์ประมาณ 30% ของที่นั่งทั้งหมด หลายสถานีกำลังทยอยเปลี่ยนบันไดปกติให้เป็นบันไดเลื่อน
การรณรงค์ให้รักษาสุขภาพมีอยู่ทั่วไป และที่น่าดีใจแทนคนญี่ปุ่นคือ คนสูบบุหรี่ลดลงไปเยอะมาก คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยสูบบุหรี่กันแล้ว ต่างกับเมื่อสิบปีที่แล้วที่วัยรุ่นผู้หญิงเห็นการสูบบุหรี่เป็นสิ่งโก้เก๋มาก
ห้องน้ำสาธารณะหรือตามห้างต่างๆเปลี่ยนจากส้วมซึมแบบยองๆเป็นโถนั่งเกือบทั้งหมดแล้ว แต่ยังคงเหลือแบบเดิมบ้าง เช่น ที่สนามบินนาริตะ และตามสถานีรถไฟ ยังมีประมาณ 20%คือ 1 ใน 5 ห้อง หรือ 2 ใน 8-10 ห้อง ที่ยังเป็นแบบยองๆ ส่วนที่อาคารต่างประเทศของสนามบินฮาเนดะนั้น เขาทำประตูห้องน้ำให้ใหญ่และเป็นห้องน้ำแบบให้รถเข็นสามารถเข้าไปได้ มีราวจับ เกือบหมดทุกห้อง ยกเว้นห้องที่เป็นแบบนั่งยองๆค่ะ
เมื่อเป็นสังคมสูงวัย คนอื่นๆก็สูงวัยกันมากขึ้น การให้ความช่วยเหลือระหว่างกันจึงดูเหมือนจะมีน้อยลงเพราะต่างคนต่างสูงวัย และจำนวนประชากรก็ลดลงด้วยค่ะ โดยในปี 2000 ญี่ปุ่นมีประชากรประมาณ 127 ล้านคน ปี 2025 องค์การสหประชาชาติคาดว่าญี่ปุ่นจะมีประชากร 123.8 ล้านคน และลดลงเป็น 109 ล้านคนในปี 2050 จึงไม่มีคนหนุ่มสาวมาดูแลคนแก่ คนแก่จึงต้องดูแลตัวเองค่ะ
ในเรื่องการเตรียมตัว สรุปแล้วมีสามส่วนค่ะ การเตรียมสถานที่และสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ การคมนาคมสาธารณะฯลฯ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นของรัฐโดยตรง จะเป็นหน่วยงานท้องถิ่นหรือหน่วยงานกลางก็ตาม ส่วนที่สองคือการเตรียมรับมือสถานการณ์ที่ผู้สูงวัยต้องช่วยตัวเอง เลี้ยงตัวเอง ดูแลตัวเองมากขึ้น ด้วยการเก็บออมและลงทุนเพื่ออนาคตให้มากขึ้น และส่วนที่สามคือ การเตรียมการดูแลทางด้านสุขภาพ ทั้งในด้านการป้องกันและการรักษา
หวังให้รัฐช่วยเตรียมฝ่ายเดียวคงไม่ได้ ต้องเตรียมตัวเองด้วยค่ะ เพราะถ้ายังมีชีวิตอยู่ ดิฉันก็จะเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้สูงวัย 17.1% ในปี 2025 (พ.ศ. 2568) ด้วยค่ะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4421

โพสต์

รบกวนพี่ๆน้องๆ Cardiomed / Med หรือท่านใดที่สะดวกช่วยตอบปัญหาของคุณ Nevercry boy ด้วยครับ

ตามLink นี้ครับ http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=14&t=56072
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4422

โพสต์

วันนี้วันหยุดได้อ่านหนังสือการลงทุนจบไปแล้ว 1 เล่ม

กำลังจะอ่านต่ออีกเล่ม

เปิดมาเจอคำนำ เลยเอาข้อคิดดีๆมาฝากครับ

" มันเป็นเรื่องง่ายกว่าที่จะบอกว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับราคาหุ้นมกกว่าจะใช้เวลาเท่าไหร้มันถึงจะเกิด "

Philip A. Fisher
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4423

โพสต์

โอกาสสุดท้าย !!!! สำหรับสมาชิกสมาคมฯเท่านั้น

จันทร์นี้ เปิดรับอีกครั้ง 50 ที่สุดท้ายครับ

ตามไปดูในกระทู้นี้ได้ครับ

http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=56139
Dr.Jfk
Verified User
โพสต์: 458
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4424

โพสต์

Paul VI เขียน:โอกาสสุดท้าย !!!! สำหรับสมาชิกสมาคมฯเท่านั้น

จันทร์นี้ เปิดรับอีกครั้ง 50 ที่สุดท้ายครับ

ตามไปดูในกระทู้นี้ได้ครับ

http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=56139
ขอบคุณคุณหมอ ครับเกือบตกข่าวอดจอง

เห็นเมื่อคืนเด๋วบ่ายโมงเกาะขอบจอ จองเลย อิๆ
Dr.Jfk
Verified User
โพสต์: 458
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4425

โพสต์

โอ้โห Topic นั้นฮ้อตมาก ผม นั่งรีเฟรช รอปลดล้อคกระทู้ตลอดเวลา

ปลดล้อค บ่ายโมงตรงเป๊ะ ขนาด Copy ข้อความรอไว้แปะแล้ว ส่งไปทันที

ส่งเข้าไปเสร็จดู กลายเป็นคิวที่เกือบ 20 คน จองไปเกือบ 30 ทีแล้ว

และหลังจากครบห้านาที ยอดคนจอง ทะลุไปกว่า 60 คน ยอดจองเกือบร้อยที่เกินค่าโควต้า 50 ที่ไปเยอะเลย

นี่ถ้าไม่เห็นกระทู้คุณหมอ แล้ว นั่งเกาะขอบจอ อดแน่นอนเลย

ขอบคุณ คุณหมอ Paul VI ที่ส่งข่าวผ่านกระทู้นี้ให้ ครับ อิๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1495
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4426

โพสต์

ยินดีกับพี่ JFK ด้วยครับ :D
จะขอไปสวัสดีพี่วันนั้นด้วยนะครับ
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4427

โพสต์

Dr.Jfk เขียน:โอ้โห Topic นั้นฮ้อตมาก ผม นั่งรีเฟรช รอปลดล้อคกระทู้ตลอดเวลา

ปลดล้อค บ่ายโมงตรงเป๊ะ ขนาด Copy ข้อความรอไว้แปะแล้ว ส่งไปทันที

ส่งเข้าไปเสร็จดู กลายเป็นคิวที่เกือบ 20 คน จองไปเกือบ 30 ทีแล้ว

และหลังจากครบห้านาที ยอดคนจอง ทะลุไปกว่า 60 คน ยอดจองเกือบร้อยที่เกินค่าโควต้า 50 ที่ไปเยอะเลย

นี่ถ้าไม่เห็นกระทู้คุณหมอ แล้ว นั่งเกาะขอบจอ อดแน่นอนเลย

ขอบคุณ คุณหมอ Paul VI ที่ส่งข่าวผ่านกระทู้นี้ให้ ครับ อิๆ
ยินดีครับพี่ jfk

เจอกันวันงานนะครับ :D
Dr.Jfk
Verified User
โพสต์: 458
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4428

โพสต์

kotaro เขียน:ยินดีกับพี่ JFK ด้วยครับ :D
จะขอไปสวัสดีพี่วันนั้นด้วยนะครับ
ขอบคุณครับ ผมเอง ค่อนข้างใหม่ สำหรับเว็บนี้ไม่ค่อยรู้จักใคร

ถ้าไงเจอกันทักทายด้วยนะครับ :)

ขอบคุณ คุณหมอ Paul VI อีกครั้งเจอกันวันงานครับ มีทติ้งครั้งก่อนผมก็ไม่ค่อยรู้จักใครได้คุณหมอมาทักทายหายเขินไปเยอะมารู้ทีหลัง ว่า คนดังเว็บนี้ :P
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4429

โพสต์

ได้เจอหมอรุ่นพี่ ได้เรียนรู้ประสบการณ์ไปด้วยครับ

พี่ JFK ประสบการณ์ชีวิตเยอะดีออกครับ

ในพันทิพสิครับ ผมแทบไม่รู้จักใครเลยครับ

เวบนี้ด้วยหน้าที่ก็เลย รู้จักพี่ๆน้องๆ ไปในตัวน่ะครับ :D
Dr.Jfk
Verified User
โพสต์: 458
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4430

โพสต์

Paul VI เขียน:ได้เจอหมอรุ่นพี่ ได้เรียนรู้ประสบการณ์ไปด้วยครับ

พี่ JFK ประสบการณ์ชีวิตเยอะดีออกครับ

ในพันทิพสิครับ ผมแทบไม่รู้จักใครเลยครับ

เวบนี้ด้วยหน้าที่ก็เลย รู้จักพี่ๆน้องๆ ไปในตัวน่ะครับ :D

งั้นต้องไปทางพันทิป ถิ่นผมมั่ง แถวนั้น น้องๆค่อยรู้จักผมเยอะหน่อย :)
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4431

โพสต์

เอาความรู้มาฝากครับ งานประจำปี ThaiVI ปี 2553 ครับ

[youtube]n4els5ytvCo[/youtube]
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4432

โพสต์

กสิกรไทยมองแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังเปราะบาง "จุดเปลี่ยนคิวอีสหรัฐ-หนี้ยุโรป-เศรษฐกิจจีนเปราะบาง-การเมืองในประเทศป่วน"


บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า ทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ยังมีภาพที่คลุมเครือในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 โดยเฉพาะจากความเปราะบางของสถานการณ์เศรษฐกิจจีน ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินสัญญาณการฟื้นตัวของการส่งออกไทยในช่วงครึ่งหลังของปีอย่างระมัดระวัง เนื่องจากจีนไม่ใช่เป็นแค่เพียงตลาดส่งออกหลักอันดับ 1 ของไทยเท่านั้น แต่จีนยังมีบทบาทเป็นคู่ค้ารายสำคัญของประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ซึ่งย่อมจะมีผลทางอ้อมย้อนกลับมากระทบจังหวะการฟื้นตัวของสินค้าส่งออกบางรายการของไทยด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ฐานมูลค่าการส่งออกที่ต่ำของช่วงเดียวกันปีก่อน สัญญาณที่เริ่มมีภาพที่นิ่งมากขึ้นในกลุ่มเศรษฐกิจที่เป็นแกนนำของโลก (ซึ่งส่วนหนึ่งช่วยให้เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบที่มีเสถียรภาพมากขึ้น) ตลอดจนการยืนยันภารกิจที่จะทำให้เศรษฐกิจจีนเติบโตอย่างมีเสถียรภาพของทางการจีนในช่วงครึ่งปีหลัง ก็อาจเพียงพอที่จะช่วยหนุนให้การส่งออกไทย สามารถพลิกกลับมาบันทึกอัตราการเติบโตได้อีกครั้งในช่วงหลายเดือนข้างหน้า

โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การส่งออกของไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 อาจเติบโตได้อย่างน้อยร้อยละ 3.0 (YoY) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หลังจากที่ขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างต่ำเพียงร้อยละ 1.2 (YoY) ในช่วงครึ่งแรกของปี

สำหรับทิศทางการใช้จ่ายในประเทศนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า บรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยของภาคเอกชนในช่วงครึ่งปีหลัง น่าจะถูกปกคลุมไปด้วยภาพที่ซบเซาอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางความกังวลต่อประเด็นเรื่องค่าครองชีพ/ภาระหนี้ครัวเรือน รวมถึงการระมัดระวังการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจในช่วงที่รอประเมินแนวโน้มสถานการณ์เศรษฐกิจ-การเมืองในประเทศ

นอกจากนี้ ปริมาณจำหน่ายสินค้าคงทน (อาทิ รถยนต์) และกึ่งคงทนบางรายการ ก็อาจเผชิญกับภาวะหดตัวในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของครึ่งปีหลังด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากปราศจากแรงหนุนใหม่ๆ มากระตุ้นการใช้จ่าย

ทั้งนี้ ภาพรวมเครื่องชี้เศรษฐกิจรายเดือนของไทยในระหว่างช่วงไตรมาส 2/2556 สะท้อนทิศทางของโมเมนตัมเศรษฐกิจที่หมุนช้าลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาส 1/2556 ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า จีดีพีประจำไตรมาส 2/2556 น่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงมาที่กรอบประมาณร้อยละ 2.0-3.0 (YoY) หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 (YoY) ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย มีโอกาสขยับขึ้นเล็กน้อยมาอยู่เหนือระดับร้อยละ 5.0 (YoY) อีกครั้งในช่วงไตรมาส 3/2556 โดยได้รับอานิสงส์จากฐานมูลค่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ต่ำในช่วงเดียวกันปีก่อน แม้ว่าสภาพแวดล้อมของเศรษฐกิจไทยและต่างประเทศ จะยังไม่ได้มีทิศทางที่ดีขึ้นได้อย่างชัดเจนมากนักในช่วงต้นๆ ของครึ่งปีหลังตามที่กล่าวไว้ข้างต้นก็ตาม นอจากนี้ คาดว่า การเร่งเบิกจ่ายเม็ดเงินของภาครัฐในช่วงโค้งสุดท้ายของปีงบประมาณ 2556 ก็อาจเป็นอีกหนึ่งแรงที่ช่วยประคองให้อุปสงค์ในประเทศ ยังคงรักษาทิศทางการขยายตัวไว้ได้ต่อเนื่อง

สำหรับภาพรวมในปี 2556 นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงกรอบประมาณการอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยไว้ที่ร้อยละ 3.8-4.3 (โดยมีค่ากลางกรณีพื้นฐานที่ร้อยละ 4.0) ซึ่งก็เท่ากับว่า เศรษฐกิจไทยคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงทิศทางที่แผ่วลงจากปี 2555 ซึ่งขยายตัวประมาณร้อยละ 6.5 ไปได้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยมีโอกาสกลับมาเผชิญกับภาวะชะลอตัวอีกครั้ง ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2556 เนื่องจากฐานเปรียบเทียบที่สูงในช่วงปลายปี 2555 แต่กระนั้น จุดเปลี่ยนของมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ของธนาคารกลางสหรัฐ รวมไปถึงสถานการณ์หนี้ยูโรโซน หลังผ่านพ้นการเลือกตั้งในเยอรมนีไปแล้ว ก็นับเป็นตัวแปรจากเศรษฐกิจโลกที่อาจมีนัยต่อเนื่องต่อทิศทางเศรษฐกิจไทยด้วยเช่นกัน

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4433

โพสต์

ธปท.เผยจีดีพีไตรมาส2 ไม่ติดลบแน่ เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนไตรมาส3 ลุ้นเศรษฐกิจจี-3ฟื้นหนุนภาคส่งออกไทยดีดตัวดีขึ้น เข็นกำลังซื้อภายใน การลงทุนและท่องเที่ยวในช่วงปลายปีนี้ หลังเดือนมิถุนายนเศรษฐกิจชะลอลงต่อเนื่องตามอุปสงค์ต่างประเทศ ที่ชะลอลงรั้งส่งออกหดตัว 3.5% ลงทุนเอกชนหดตัว 4.1 แต่ "ว่างงานต่ำ-ท่องเที่ยว-สินเชื่อเอกชน"เป็นปัจจัยหนุน

รูปภาพ

นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า เศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ยังไม่ถึงขั้นติดลบอย่างแน่นอน หากเทียบกับระยะเดียวกันในปีก่อน ปัจจัยที่จะส่งผลให้ในไตรมาส 3 มีการเติบโตที่ดีขึ้นเล็กน้อยน่าจะเป็นการฟื้นตัวของประเทศจี-3( สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ยุโรป) จะช่วยภาคการส่งออกของไทยให้ดีขึ้นได้ในช่วงปลายปี โดยจะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้กำลังซื้อหรือภาคการบริโภค หรือการลงทุนกระเตื้องขึ้น อีกทั้งการท่องเที่ยวที่แม้ว่าจะมีผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วบ้าง แต่ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าภาคการท่องเที่ยวนั้นค่อนข้างมีความยืดหยุ่นจึงสามารถฟื้นตัวได้เร็ว
"ไตรมาส 2 มีการขยายตัวชะลอลงตามการบริโภคภาคเอกชนที่เรียกว่าเป็นการพักฐาน หลังจากเร่งไปมากเมื่อปีก่อน จึงเห็นแต่ละหมวดชะลอตัว อย่างไรก็ดีภาคการท่องเที่ยวยังขยายตัวดี ภาพรวมเศรษฐกิจมีอัตราว่างงานต่ำ อัตราเงินเฟ้อชะลอลงจากไตรมาสก่อน"
ขณะเดียวกันแม้ว่าเศรษฐกิจเดือนมิถุนายนชะลอลงต่อเนื่องตามอุปสงค์ต่างประเทศที่ชะลอลงโดยเฉพาะจีน ส่งผลให้ดัชนีชี้วัดส่วนใหญ่หดตัว อาทิ ภาคการส่งออกหดตัว 3.5% มูลค่า 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นการหดตัวของการส่งออกสินค้าเกษตรพวกข้าว ยาง ประมง และอุตสาหกรรมโดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม(จากปัจจัยชั่วคราวการปิดซ่อมโรงกลั่นปิโตรเลียม)จากเดือนพฤษภาคมต่อเนื่องถึงเดือนมิถุนายน รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าเกษตรแปรรูป โดยการส่งออกที่ชะลอลงทำให้การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและการลงทุนภาคเอกชนหดตัว โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัว 3.5% การลงทุนภาคเอกชนหดตัว 4.1% การบริโภคอุปโภคภาคเอกชนขยายตัว 0.8% ตามการใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทนและการนำเข้าหดตัว 5.1% มูลค่า 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หักการนำเข้าเชื้อเพลิงและทองคำ)

ทั้งนี้ ปัจจัยที่สนับสนุนการบริโภคคือ รายได้เกษตรกรขยายตัว 12% ทั้งปริมาณที่ขยายตัว 8.5%และราคาขยายตัว 3.2%อย่างไรก็ตามรายได้ภาคเกษตรที่เป็นบวกเดือนมิถุนายนรวมทั้งปริมาณและราคานั้นเนื่องจากการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกยาง, ปาล์มน้ำมัน ทำให้ผลผลิตดีและราคาที่เพิ่มขึ้น กุ้ง, มันสำปะหลัง, ปศุสัตว์ และรายได้ลูกจ้างทั้งในและนอกภาคเกษตรเพิ่ม รวมถึงอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องแม้จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยสำหรับเดือนมิถุนายนจากดัชนีผู้ที่ประกันตนรับผลประโยชน์จากการว่างงานหรือเลิกจ้าง ขณะเดียวกันภาคการท่องเที่ยวขยายตัวดีต่อเนื่อง นักท่องเที่ยวต่างประเทศมีจำนวน 2.1 ล้านคน ขยายตัว 25% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจีน มาเลเซีย อินเดีย และรัสเซีย โดยครึ่งปีมีนักท่องเที่ยวจำนวน 12.7 ล้านคนขยายตัว 20% ถือว่ามาก นอกจากนี้หมวดก่อสร้างยังขยายตัวทั้งกลุ่มที่อยู่อาศัย เช่น ธนาคารพาณิชย์ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยสินเชื่อปรับตัวสูงขึ้นทั้งสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อครัวเรือน ส่วนความเชื่อมั่นนักธุรกิจเดือนมิถุนายนและอีก 3 เดือนข้างหน้ายังดีอยู่

สำหรับภาคอสังหาริมทรัพย์เดือนมิถุนายนในเขตกุรงเทพฯและปริมณฑลภาพรวมชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานโดยความต้องการที่อยู่อาศัยชะลอต่อเนื่องจากเดือนก่อน หากพิจารณาจากข้อมูลปรับฤดูกาลเฉลี่ยเคลื่อนที่ 3 เดือนพบว่า จำนวนที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ 4,402 หน่วย ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ 5,030 หน่วยตามการลดลงของที่อยู่อาศัยแนวราบที่ลดลงจาก 3,430หน่วย มาอยู่ที่ 2,763 หน่วย ขณะที่อาคารชุดทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนโดยอยู่ที่ 1,640หน่วย ส่วนหนึ่งเพราะธนาคารพาณิชย์เพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย เพราะกังวลถึงผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง

ส่วนทางด้านผู้ประกอบการได้ชะลอการเปิดขายโครงการใหม่โดยเฉพาะอาคารชุด สะท้อนจากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 3 เดือนของจำนวนที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ในเดือนนี้ที่ลดลงจากกว่า 1หมื่นหน่วยมาอยู่ที่กว่า 8,751 หน่วยตามการลดลงของทั้งที่อยู่อาศัยแนวราบและอาคารชุด จาก 4,425 และ 5,971หน่วยมาอยู่ที่ 3,669และ 5,082 หน่วยตามลำดับ โดยไตรมาสที่2พบว่าจำนวนที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อปล่อยใหม่จากธนาคารพาณิชย์เริ่มชะลอลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่จำนวนที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่โดยรวมยังคงขยายตัวเพราะผู้ประกอบการเริ่มหันมาเปิดโครงการบ้านแนวราบมากขึ้น หลังจากชะลอดูสถานการณ์อุทกภัยในปีก่อน ทั้งนี้ไตรมาส2 ยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ 1.40 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจำนวน 1.4 ล้านล้านบาทหรือ 12.2% ของช่วงเดียวกันปีก่อนและสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่ออสังหาริมทรัพย์อื่นๆมีจำนวน 6,455 ล้านบาทหรือ 4.3% และยอดคงค้างสินเชื่อผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์จำนวน 5.2แสนล้านบาทหรือ 16.7%

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,867 วันที่ 4 -7 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4434

โพสต์

ธุรกิจ : BizWeek
วันที่ 5 สิงหาคม 2556 09:00
ผ่าทำเลเด่น-ด้อยรับผังเมืองใหม่ รัชดามาแรง เบียดสุขุมวิท

ชำแหละร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556 ที่ได้ประกาศใช้มาตั้งแต่วันที่ 16 พ.ค.2556 บนแนวคิดให้สิทธิขยายอาคารขนาดใหญ่ กิจกรรมทางธุรกิจ อาทิ ศูนย์การค้า ที่พักอาศัย ที่เป็นอาคารสูงขนาดใหญ่ในรัศมี 500 เมตร ตามแนวรถไฟ ผลักดันย่านธุรกิจให้กระจายตัวจากสีลมและสาธร ไปยังศูนย์กลางธุรกิจรอบมุมเมืองกรุงเทพฯ (Hub Center) ในพระราม2 ,บางนา,มีนบุรี ,สะพานใหม่ และตลิ่งชัน

ผังเมืองยังออกแบบมหานคร ให้รองรับโครงสร้างการเติบโตของที่พักอาศัยตามแนวรถไฟฟ้า เพื่อปรับโหมดขนส่งมวลชนที่เน้นเดินทางโดยรถยนต์เป็นระบบราง รับแผนก่อสร้างประมาณ 10- 12 สาย ให้แรงงานกระจายตัวไปในฮับเซ็นเตอร์ ลดการกระจุกตัว แออัด ตามย่านธุรกิจใจกลางเมือง โดยแต่ละมุมเมืองจะเน้นการใช้ประโยชน์ผสมผสาน ทั้งอาคารสำนักงาน ย่านการค้า และที่พักอาศัย

ผังเมืองใหม่ ยังเป็น "เครื่องมือ" สำคัญในการ "อ่านเกม" ความความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคของบรรดานักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Developer) ในอนาคต (2556-2560)

ทว่าสิ่งที่ต้องพิจารณาควบคู่กันไปคือ "กำลังซื้อ" ของคนซึ่งผันแปรไปตามภาวะเศรษฐกิจ ไปจนถึง แผนและระยะเวลาการก่อสร้างรถไฟฟ้าว่าจะสะดุดหรือไม่ ซึ่งจะเป็นความเสี่ยง ทำให้ "เกมพลิก"

นักประเมินราคาที่ดินและการใช้ประโยชน์จากผังเมืองรวมกรุงเทพฯ "จำนงค์ บัวไขย" กรรมการผู้จัดการ บริษัทเอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (AREA) วิเคราะห์หลักเกณฑ์ของผังเมืองใหม่กรุงเทพฯ ที่ประกาศออกมาว่า เมื่อเกิดการกระจายตัวของการใช้สอยที่ดินจากกรุงเทพฯชั้นใน ไปหากรุงเทพฯชั้นกลางและชั้นนอก (ชานเมือง) มากขึ้น กลายเป็นอานิสงส์ในการเนรมิต "ทำเลเด่นย่านใหม่" ที่ดีเวลลอปเปอร์ ต้องรีบไปจับจองให้ทันกับโอกาส

เขาไล่ข้อมูลที่ศึกษาไว้ โดยระบุว่า "ทำเลเด่น" ตามเกณฑ์ผังเมืองใหม่จะมีทั้งหมด 10 แห่ง ประกอบด้วย

1.ถนนศรีนครินทร์ -พัฒนาการ-พระราม9 ผลมาจากการขยายศักยภาพพื้นที่ควบคุมการสร้างที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย เปลี่ยนมาเป็นหนาแน่นปานกลาง โดยเพิ่มศักยภาพการก่อสร้างจาก 2,000 ตรม.เป็นไม่เกิน 10,000 ตรม. ถนนต้องกว้างเกิน 30เมตร และให้สิทธิพัฒนาได้เพิ่มในรัศมี 500 เมตรจากแนวรถไฟฟ้า

2.ถนนประชาอุทิศ และถนนวงแหวนด้านใต้ 3.ถนนร่มเกล้า 4.ถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนตะวันตก-ใต้) ที่ปรับเกณฑ์การใช้พื้นที่ในลักษณะเดียวกัน โดยปรับพื้นที่เป็น ย.2 (ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) ขยายเกณฑ์การสร้างจากเดิมที่ห้ามสร้างอาคารอยู่อาศัยอาคารสูง หรือทาวน์เฮาส์ เพิ่มมาเป็นสร้างได้ทั้งทาวน์เฮาส์ ตึกแถว และอาคารแต่ที่ดินจะต้องเกินกว่า 20 ตรว. ถนนความกว้างเกิน 16 เมตร

5.ถนนรามอินทรา (มีนบุรี) ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพู ผังเมืองเดิมเป็นพื้นที่ ย.3 ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยความหนาแน่นน้อย ปรับมาเป็น ย.6 (ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง) ให้สร้างอาคารอยู่อาศัยรวมได้ แต่พื้นที่ไม่เกิน 10,000 ตรม. และให้สร้างได้เกิน 10,000 ตรม.ได้ หากอยู่ในรัศมี 500 เมตรจากสถานีรถไฟฟ้า เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม จำนงค์ อธิบายว่า แม้ผังเมืองใหม่จะเพิ่มพื้นที่ทำเลเด่นที่ 2-5 แต่ศักยภาพของพื้นที่ ในราคาที่ดินในบริเวณดังกล่าวเฉลี่ยยังคงทรงตัว หรือเคลื่อนไหวเล็กน้อย เนื่องจากเป็นพื้นที่แถบชานเมือง

6.ถนนประเสริฐมนูกิจ ปรับจากพื้นที่ ย.4 (ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) ให้สร้างอาคารขนาดใหญ่ได้ ตามผังเมืองใหม่เปลี่ยนมาเป็นพื้นที่ พ 3. (ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม) กำหนดให้สร้างอาคารอยู่อาศัยรวมได้ แต่ไม่เกิน 10,000 ตรม. ถนนต้องกว้างเกิน 30 เมตร และก่อสร้างอาคารสูงได้ในระยะรัศมี 500 เมตร รอบสถานีรถไฟฟ้า เรียกว่าผังเมืองใหม่ให้สร้างอาคารขนาดใหญ่เชิงการค้าได้เพิ่มขึ้น

7.ถนนเพชรเกษม (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ) เป็นทำเลเด่นที่มีการเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินอย่างมาก จากอานิสงส์ของการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รวมกับผังเมืองใหม่มาเสริมจากพื้นที่สีส้ม (ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง) ผังเมืองใหม่เพิ่มให้เป็นสีน้ำตาล (ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก) จากเดิมที่กำหนดให้สร้างบ้าน ทาวน์เฮาส์ ก็เพิ่มให้สร้างคอนโดมิเนียมขนาดใหญ่ได้ในมากกว่า 10,000 ตรม.

8.ถนนราชพฤกษ์ -ฉิมพลี (รถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต) ผังเมืองเดิม ห้ามสร้างอาคารสูงแต่ผังเมืองใหม่เริ่มปรับมาเป็นสีส้ม สามารถสร้างคอนโดมิเนียมได้ บนถนนความกว้างเกิน 30 เมตร

9.ริมถนนบางนา-ตราด ซึ่งเดิมเป็นทำเลเด่นอยู่แล้ว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัย มากกว่าศูนย์ธุรกิจ โดยผังเมืองใหม่ปรับจากพื้นที่ ย.7 หรือที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยปานกลาง ซึ่งห้ามสร้างอาคารพาณิชย์ ผังเมืองใหม่เปลี่ยนเป็น พ.3 หมายถึงพื้นที่ที่สร้างอาคารขนาดใหญ่พิเศษ โรงแรม และที่อยู่อาศัยได้ เกิน 10,000 ตรม. บนถนนความกว้างเกิน 30 เมตร ซึ่งริมถนนบางนา-ตราด ขนาดเกิน 30 เมตรอยู่แล้ว

"ผังเมืองต้องการให้บางนา-ตราดคึกคักและเป็นศูนย์กลางธุรกิจในโซนตะวันออก จึงปรับพื้นที่เป็นพ.3 แต่ก็ยังไม่บูมเทียบกับตามแนวรถไฟฟ้า ปัจจุบันที่ดินบางนา-ตราด เฉลี่ยตรว.ละ 2 แสนบาท ขณะที่แถบแบริ่ง สุขุมวิท ราคาที่สดินสูงสุดตรว.ละ 1 ล้านบาท" จำนงค์ เผย

และ10.เกาะรัตนโกสินทร์ -พระนคร-ธนบุรีบางส่วน ผังเมืองเดิมกำหนดให้เป็นพื้นที่สีน้ำตาลอ่อน (ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย) ห้ามสร้างโรงแรม แต่ผังเมืองใหม่แม้จะกำหนดให้เป็นพื้นที่สีเดิม แต่เพิ่มศักยภาพให้ก่อสร้างโรงแรมได้ในขนาดจำกัด ไม่เกิน 50 ห้อง

ขณะที่ทำเลด้อย ตามมุมมองของบริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์รายนี้ ระบุว่า มีอยู่ด้วยกัน 5 ทำเล ประกอบด้วย

1.ถนนแจ้งวัฒนะ (รถไฟฟ้าสายสีชมพู แคลาย-มีนบุรี ) จากเดิมกำหนดให้เป็นที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย ปรับเป็นพื้นที่เพื่อการพาณิชย์ สามารถสร้างโรงแรม และสถานบริการได้ โดยจำกัดการพัฒนา "ที่อยู่อาศัย" บริเวณริมถนนแจ้งวัฒนะด้วยอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR5)

2.ถนนราชพฤกษ์ -ฉิมพลี (รถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต) ผังเมืองใหม่ปรับลดจากสีน้ำตาล ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากลงมาเป็นหนาแน่นปานกลาง หากจะสร้างอาคารขนาดใหญ่จะต้องตั้งอยู่ริมถนนความกว้างเกิน 30 เมตร และพื้นที่บางส่วนต้องขออนุญาตก่อสร้างทำให้พื้นที่ด้อยค่าลง แต่พื้นที่บางส่วนโดดเด่นขึ้นหากอยู่ในรัศมี 500 เมตรตามแนวรถไฟฟ้า

3.ถนนบางนา-ตราด (ในซอยและบางทำเล) ตามผังเมืองใหม่ถูกปรับลดจากพ.4 พื้นที่เชิงพาณิชย์ที่สร้างอาคารขนาดใหญ่ได้เกิน 10,000 ตรม.เป็น พ.3 สร้างอาคารขนาดใหญ่ได้แต่เพิ่มเงื่อนไขว่าจะต้องอยู่ริมถนนความกว้างเกิน 30 เมตร ส่งผลทำให้พื้นที่ "ในซอย" ตามแนวถนนบางนา-ตราดพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ไม่ได้ เพราะถนนแคบกว่า 30 เมตร

4.ถนนสุขสวัสดิ์ ถูกลดจากสีน้ำตาลเป็นสีส้ม พื้นที่แออัดลดลง จะสร้างอาคารขนาดใหญ่ได้ก็ต้องมีเงื่อนไขในผังเมืองใหม่ เพิ่มเข้ามาให้ต้องตั้งอยู่ริมถนนกว้างไม่น้อยกว่า 30 เมตร

และ 5.ถนนบางขุนเทียน -ชายทะเล ผังเมืองเดิมเป็นพื้นที่สีเขียว พื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม ถูกปรับให้เป็นพื้นที่ดินประเภทอนุรักษ์ ชนบทและเกษตรกรรม หรือสีเขียวลาย เนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำ และเป็นพื้นที่มีปัญหาถูกกัดเซาะตามแนวชายฝั่งไม่ส่งเสริมสร้างที่อยู่อาศัย ในทำเลแห่งนี้ถือถ้อยค่าในตัวเองอยู่แล้ว

ขณะที่ "วสันต์ คงจันทร์" กรรมการมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย และกรรมการสมาคมนักประเมินราคาอิสระไทย มองทำเด่น ตามผังเมืองใหม่ว่า แม้จะเป็นปัจจัยเพิ่มมูลค่าที่ดินในบางพื้นที่ แต่ต้องพิจารณาร่วมกับกำลังซื้อของตลาด จึงครบสูตรการพัฒนาพื้นที่ทำเลทอง

เช่น ถนนประชาอุทิศ สุขสวัสดิ์ วงแหวนด้านใต้ แม้ทำเลที่ไม่มีรถไฟฟ้า แต่เดินทางไปยังถนนเศรษฐกิจอย่างสีลม สาทร สะดวก ที่ดินบริเวณนี้จึงยังมีความต้องการ ขณะที่ราคาถูกหาซื้อได้ในราคา 5,000-10,000 ต่อตรว. สามารถพัฒนาโครงการบ้านเดี่ยวราคา 1-3 ล้านบาทได้ ทำเลจึงเหมาะกับบางตลาด

ขณะที่ถนนพัฒนาการ ใกล้กับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ เป็นทำเลชั้นกลางที่บูมขึ้นมาเพราะรถไฟฟ้า ตามผังเมืองเป็นสีเหลือง คือสร้างบ้าน ทาวเฮาส์ได้ แต่ถามว่าไม่มีใครทำบ้านเดี่ยวแถบนี้ เพราะราคาสูงเกินตลาดจะรับได้ เป็นต้น

ส่วนพื้นที่รามอินทรา รถไฟฟ้าสีชมพู (แคลาย-มีนบุรี) ปรับจากพื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางเป็นหนาแน่นมาก ขยับไปสร้างคอนโดได้ ไล่มาถึงทำเลถนนประเสริฐมนูกิจ ก็ถือว่าเป็นทำเลเด่นรับปัจจัยเอื้อหลายด้าน ทั้งการบูมถนนรัชดาภิเษก อีกด้านเป็นถนนเกษตรนวมินทร์ ลาดพร้าว ซึ่งมีแผนจะสร้างรถไฟฟ้าในย่านดังกล่าว

ย่านเพชรเกษม บูมเป็นที่พักอาศัย เพราะอานิสงส์รถไฟฟ้า และผังเมือง มาช่วยให้สร้างตึกแถวขนาดใหญ่ได้ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของคนจำนวนมาก ถือเป็นแหล่งแรงงาน รองรับคนจากปิ่นเกล้า ธนบุรี บางแค ขยับมาขึ้นรถไฟฟ้าที่เพชรเกษม

“อนาคตรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) และสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) สร้างเสร็จ ฝั่งธนฯ ก็จะมีศูนย์กลางธุรกิจละแวกบางแค ลงจากรถไฟฟ้า ขึ้นรถต่อรถที่นั่น ก่อนกระจายเข้าบ้านใครบ้านมัน"

ขณะที่เส้นราชพฤกษ์ แม้จะมีผังเมืองจะเอื้อให้สร้างที่อยู่อาศัยได้ แต่บ้านแถบนี้ขนาด 100 ตรว. ราคาสูงถึงหลังละ 30 ล้านบาท ราคาที่สูงเกินไปจึงไม่จูงใจตลาดมากนัก นักพัฒนาอสังหาฯจึงไม่เน้นพัฒนาย่านนี้ เพราะไม่ตอบโจทย์ฐานรายได้ของคนส่วนใหญ่ในกรุงเทพฯ ที่มีกำลังซื้อบ้านราคาเฉลี่ยไม่เกินหลังละ 5 ล้านบาท

มาถึงบางนา-ตราด แม้ผังเมืองเพิ่มพื้นที่ให้เป็นย่านพาณิชยกรรม แต่ศูนย์การค้าแถบนี้ เป็นตลาดที่ไม่ใหญ่เมื่อเทียบกับตลาดคอนโดและที่พักอาศัย

เขาอธิบายเพิ่มว่า เป้าหมายของการออกแบบผังเมือง ว่าต้องการวางคอนเซ็ปต์ให้แต่ละชุมชนมีศูนย์กลางชุมชนของเมือง กระจายตัวไปในบางนา บางแค มีนบุรี และบางกะปิ แต่ละจุดมีศูนย์กลางชุมชนไว้ เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่สีแดง (ย่านพาณิชยกรรม) ต่อไป

“หากทุกคนเอะอ่ะอะไร ก็วิ่งเข้ามาในใจกลางเมืองหมดก็วุ่นวายกันทั้งเมือง"

ในมุมมองของ วสันต์ ยังชี้ให้เห็นจุดทำเลด้อยตามผังเมืองใหม่ว่า อยู่ในย่านจุฬาฯไล่ยาวไปถึงริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม้พื้นที่บริเวณนี้จะถูกปรับให้เป็นพื้นที่ พ. 3 (พื้นที่พาณิชยกรม) สามารถสร้างอาคารขนาดใหญ่ได้ แต่ถนนจะต้องกว้างเกิน 30 เมตร ทำให้แนวคิดในการขยายพื้นที่ทำโครงการหอพักนานาชาติในรั้วจุฬาฯ ต้องพับแผนไป เช่นเดียวกับบริเวณเวิ้งนาครเกษม ย่านเยาวราช เพราะถนนตัดผ่านเวิ้งนาครเกษมกว้างไม่ถึง 30 เมตร แต่ยังมีปัจจัยเอื้อเป็นกรณียกเว้น ตรงที่เวิ้งนาครเกษม อยู่ติดกับโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีวังบูรพา ที่กำลังก่อสร้างรัศมี 500 เมตร ทำให้สามารถขึ้นตึกสูงได้

คอนโด 1-2 ล้านกรุงเทพฯชั้นกลางมาแรง

วสันต์ ยังประเมินทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์ในอนาคต (2556 -2560) ว่า อนาคตราคาตลาดที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะคอนโดในย่านศูนย์กลางธุรกิจกรุงเทพฯชั้นใน เช่น ถนนสุขุมวิท จะอยู่ระดับ 3-5 ล้านบาท ทำให้นักพัฒนาอสังหาฯขยับมาทำคอนโดในย่านถนนรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นพื้นที่กรุงเทพฯชั้นกลาง และพื้นที่โดยรอบ ซึ่งยังมีพื้นที่เหลือค่อนข้างมาก

ตลาดที่บูมที่สุดของคอนโด คือมนุษย์เงินเดือน ซึ่งมีรายได้เดือนละ 20,000 -40,000 บาท โดยราคาคอนโดระดับ 1-2 ล้านบาทจะขายดี จองเต็มเร็ว อัตราการผ่อนเดือนละ 5,000-7,000 บาท ในราคา 1 ล้านบาท และผ่อนเดือนละ 10,000-15,000 สำหรับคนมีรายได้เดือนละ 30,000 -40,000 บาท

“คนต้องการที่พักในราคาที่ถูกลงในระดับ 1-2 ล้านบาท เพราะอัตราหนี้ต่อคนที่สูงขึ้น จากโครงการรถคันแรก ทำให้คนมีกำลังซื้อลดลง" วสันต์กล่าวและว่า

ดังนั้นตลาดจึงออกแบบโครงการเพื่อเอาใจคนกลุ่มนี้ ดังนั้นทำเลที่เหมาะกับคนกลุ่มนี้จะขยับจากใจกลางเมือง มาเป็น "พื้นที่ชั้นกลาง" ของกรุงเทพฯแทน

ส่วนกลุ่มรายได้ระดับต่ำลงมา เงินเดือนเดือนละ 10,000 -15,000 บาท จะเกิดคอนโดราคา 6-8 แสนบาท ผ่อนเดือนละ 3,000-4,000 บาท ในบริเวณชานเมืองเพิ่มมากขึ้น อาทิ บางใหญ่ บางปู รังสิต ลำลูกกา หรือ บ้านจัดสรรราคา 1-3 ล้านบาท เอาใจคนต้องการมีบ้านเป็นของตัวเอง ในราคาที่พอสู้ไหว

“ที่ดินราคาแพงขึ้นในใจกลางเมือง คนมีรายได้น้อยจึงไปอยู่บริเวณชานเมืองซื้อคอนโดราคา 6-8 แสน และบ้านจัดสรรราคา 1-3 ล้านบาทเพราะยังมีที่ดินราคาถูกสำหรับคนอยากมีบ้าน เมื่อมีรถไฟฟ้าทำให้การเดินทางมากขึ้น”

เขายังเห็นว่าทำเล "กรุงเทพฯชั้นกลาง” ที่มีเส้นทางรถไฟฟ้าเชื่อมแหล่งแรงงานขนาดใหญ่ จะเป็นโซนที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยในอนาคต โดยราคาที่ดินกรุงเทพฯชั้นกลางอยู่ที่ระหว่าง 1-3 แสนบาทต่อตรว.ถือว่ายังไม่สูงมากสำหรับการพัฒนาคอนโด ระดับราคา 1-2 ล้านบาทต่อยูนิต ไปจนถึงทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม ราคา 4-5 ล้านบาท

รัชดาทำเลทอง CBD น้องใหม่

โดยเฉพาะ รัชดาภิเษก ย่านธุรกิจที่กำลังคึกคัก เป็น CBD ที่กำลังจะเดินตามรอยชั้นกรุงเทพฯชั้นในอย่างสุขุมวิท สาธรในไม่ช้า โดยเริ่มมีอาคารสำนักงานมาสร้างมากขึ้น รวมถึงตึกของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(กลต.)แห่งใหม่ก็ย้ายจากคลองเตยมาอยู่รัชดาฯ ตั้งแต่รัชดาฯ ยาวไปถึงพหลโยธิน ตลอดเส้นทางรายล้อมด้วยอาคารสำนักงานใหญ่ ศูนย์ธุรกิจ บริษัทหลายแห่ง อาทิ ธนาคารไทยพาณิชย์ ปตท. เมืองไทยประกันชีวิต การบินไทย

“รัชดาเป็นย่านธุรกิจที่มีศักยภาพเป็น CBD ต่อไปในอนาคตเพราะเป็นพื้นที่ย่านธุรกิจเพียงแห่งเดียวที่ยังเหลือแปลงที่ดินนำไปพัฒนาสร้างสำนักงานได้ แทนที่ สุขุมวิท สาธร เพลินจิต สีลม ที่ราคาแพงจนไม่คุ้มค่ากับการลงทุน"

ปัจจุบันราคาที่ดินรัชดาอยู่ที่ 4-5 แสนบาทต่อตรว. ขยับจาก 1-2 ปีที่ผ่านมาที่ราคาอยู่ที่ 3 แสนบาทต่อตรว.ในอนาคต 1-2 ปีข้างหน้าฟันธงได้ว่าจะขยับราคาที่ดินขึ้นไปถึง 1 ล้านบาทต่อตรว. ตามรุ่นพี่ย่านสุขุมวิท "วสันต์" ฟันธง
ส่วนพื้นที่เชื่อมต่อรัชดา ที่มีศักยภาพประเมินว่าจะเป็น ลาดพร้าว ดอนเมือง รามอินทรา พัฒนาการ ขณะนี้ราคาที่ดินยังไม่สูงมาก เพราะรอโครงการรถไฟฟ้าที่ยังไม่เริ่ม ราคาที่ดินเฉลี่ยจึงอยู่ระดับ 1-3 แสนบาทต่อตรว.

อานิสงส์จากรัชดาฯบูม กวาดยาวไปยังลาดพร้าว- โชคชัย 4 -แฮปปี้แลนด์- บางกะปิ จนถึงลำสาลี-ศรีนครินทร์ แถบที่กล่าวมานี้กำลังเป็นทำเลใหม่รับการพัฒนาที่พักอาศัย เพื่อตอบสนองตลาดคนมีรายได้ปานกลาง แถบนี้นอกจากรถใต้ดิน MRT แล้ว ยังมีใกล้เคียงกับแอร์พอร์ตลิงค์ ถือว่าเป็นโซนที่คึกคักอีกพื้นที่หนึ่ง

ยกตัวอย่างโครงการที่เกิดขึ้นมากมายเพื่อรับกับการเติบโตในย่านรัชดา เริ่มตั้งแต่แถบลาดพร้าว-โชคชัย 4 พัฒนาคอนโดขนาด 28 ตรม. ได้ในราคาเริ่มต้นที่ยูนิตละ 1.9 ล้านบาท ทำเลถัดมาใกล้ๆ กันคือ แฮปปี้แลนด์ -บางกะปิ ราคาที่ดินติดถนน 300,000 บาทต่อตรว.ก็ทำคอนโดขายได้ในราคายูนิตละ 2.07 ล้านบาท ส่วนทำเลวงแหวนรอบรัชดาฯถัดมาคือ ลำสาลี-ศรีนครินทร์ ราคาที่ดินเริ่มต้น 2.4 แสนบาทต่อตรว. พัฒนาคอนโดขายได้ในราคายูนิตละ 1.8 ล้านบาท

อีกทำเลเด่นของกรุงเทพฯชั้นกลางคือ พหลโยธิน พื้นที่ได้รับอานิสงส์ พัฒนาที่อยู่อาศัยเตรียมรอขายในตลาดได้คือ บางซื่อ ดอนเมือง สะพานใหม่ แถบนี้รอความชัดเจนของรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ยังไม่เปิดประมูล , สายสีเขียวเข้ม(หมอชิต-สะพานใหม่) ราคาที่ดินจึงยังไม่ขยับมากนัก เฉลี่ยยังอยู่ที่ 1 แสนบาทต่อตรว.
Dr.Jfk
Verified User
โพสต์: 458
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4435

โพสต์

คอนโดนี่หลายคนบอกฟองสบู่จะแตกแต่ราคา มันไม่ฟังเสียงจริงๆ

แถวพหลโยธิน ถ้าใกล้รถไฟฟ้า หรือทำเลดีๆนี่ฮ้อตจริงๆ

ผมเองซื้อ Life พหลอารีย์ 5 ปีก่อนห้อง 40 ตรม. ซื้อตอนหมดพรีเซลแล้ว ตามราคาโครงการไม่มีส่วนลด 2.5 ล้าน อยู่มาเกือบๆห้าปี (ถ้าคิดค่าเช่าเดือนล่ะ หมื่นห้าตามที่เค้าเช่ากัน ก็เท่ากับกำไรค่าเช่าไป หกแสนกว่าๆ)

แล้ว ตอนขายนี่ยังขายได้ 3 ล้านกำไรส่วนต่างราคาอีก 5 แสน รวมแล้ว ผลตอบแทนล้านกว่าๆจากทุนสองล้านในสี่ปี

ส่วนอันใหม่ Noble Reform นี่ยิ่งหนัก จอง 63 ตรม.อันนี้ได้ราคาพรีเซล ลดจาก 7 ล้านเหลือ 6.5 ล้านผ่อนดาวน์เกือบสี่ปีไปราวๆเกือบสามล้าน ทั้งที่มีปัญหาโครงการสารพัด แต่ พอเสร็จ .ใกล้โอนราคาขายเปลี่ยนมือห้องเดียวกัน แต่ชั้นต่ำกว่าผม ปาเข้าไป 8 ล้านกว่า แถมล่าสุดตอน เดือนก่อน โนเบิ้ลเอาห้องที่ว่าหลุดดาวน์มาขายห้องแปลนผมกลายเป็นสิบล้านเข้าไปแล้ว บ้าเลือดดีแท้ แต่ก็มีคนซื้อซะด้วย

ไหนว่ากลัวฟองสบู่แตกกัน อิๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4436

โพสต์

ใช่ครับ ราคาพุ่งแรงมาก เดือนที่แล้ว ผมเดินที่พารากอน เจอโนเบิล เอาคอนโดแถวนั้นมาขาย ผมสนใจแถวๆพญาไทบอกหมดเกลี้ยงเลย เซลล์บอกตอนแรกเหลืออยู่ห้องนึง ตอนก่อนเที่ยง ผมไปประมาณบ่ายโมงเศษๆ บอกมีคนซื้อไปแล้ว ห้องละ 10 ล้้านกว่าๆ

หลังๆแฟนผมเค้าก็สนใจคอนโด Pyne ที่ราชเทวี ตอนนี้ก็ไม่รู้เป็นมือ 2 หรือ 3 หรือ 4 แล้วล่ะครับ ตอนเปิดใหม่ๆ ตารางเมตรละ 120000 มั้ง ตอนนี้ อย่างน้อยตารางเมตรละ 170000 เป็นอย่างน้อย แล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4437

โพสต์

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4438

โพสต์

เปิดแผนกู้เงิน 2 ล้านล้าน ปี′60 พีกสุด ทะลุ 4.7 แสนล้าน

ภายใต้กรอบวงเงิน 2 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนโครงการ "รถไฟความเร็วสูง" วงเงิน 783,230 ล้านบาท หรือสัดส่วน 39% รองลงมา "รถไฟฟ้า" วงเงิน 472,448 ล้านบาท หรือสัดส่วน 24% "รถไฟทางคู่" วงเงิน 403,214 ล้านบาท หรือสัดส่วน 20% "ถนน 4 ช่องจราจร-สะพานข้ามแยกรถไฟ-ซ่อมบูรณะทาง-ถนนเชื่อมประตูการค้า" วงเงิน 183,569 ล้านบาท หรือสัดส่วน 9%

"มอเตอร์เวย์" จำนวน 3 สายทาง วงเงิน 91,820 ล้านบาท หรือสัดส่วน 5% ก่อสร้าง "สถานีขนส่งสินค้า" วงเงิน 14,093 ล้านบาท หรือสัดส่วน 1% "ปรับปรุงลำน้ำและชายฝั่ง" วงเงิน 29,820 ล้านบาท หรือสัดส่วน 1% และก่อสร้าง "ด่านศุลกากร" วงเงิน 12,545 ล้านบาท หรือสัดส่วน 1% ส่วนที่เหลือเป็นเงินกันสำรองสำหรับไว้เป็นค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด

ขณะที่แผนการใช้เงินภายใต้กรอบเวลา 7 ปีนี้ ทางกระทรวงการคลังผู้รับผิดชอบเรื่องการหาแหล่งเงินทุนมาดำเนินการ ได้จัดทำสรุปแผนการใช้เงินกระจายเป็นรายปี และแต่ละปีจะมียอด

การใช้เงินเท่ากัน ขึ้นอยู่กับความพร้อมของโครงการ โดยปี 2560 จะเป็นปีที่ใช้งบฯมากที่สุด อยู่ที่ 471,019.88 ล้านบาท หรือ 23.55% รองลงมาปี 2559 วงเงิน 426,441.95 ล้านบาท หรือ 21.32% ปี 2561 วงเงิน 372,018.25 ล้านบาท หรือ 18.60% ปี 2558 วงเงิน 292,963.13 ล้านบาท หรือ 14.65%

ปี 2562 วงเงิน 171,842.79 ล้านบาท หรือ 8.59% ปี 2557 วงเงิน 150,047.55 ล้านบาท หรือ 7.50% ปี 2563 วงเงิน 94,663.89 ล้านบาท หรือ 4.73% และปี 2556 วงเงิน 203.25 ล้านบาท หรือ 0.01% เนื่องจากเป็นปีแห่งการเริ่มต้นโครงการ

http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1375847554
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4439

โพสต์

"โต้ง-ชัชชาติ" ยังไม่ฟันธงยุบ-ไม่ยุบแอร์พอร์ตลิงก์ ขอเวลาพิจารณาอย่างรอบคอบ เผยคนเริ่มใช้เยอะขึ้น เตรียมชงรัฐบาลปูเร่งซื้อรถเพิ่ม 7 ขบวน 5.2 พันล้านฟื้นสถานีมักกะสันรับไฮสปีดเทรนสาย "กทม.-ระยอง" ดีเดย์ 10 ส.ค.นี้ เปิดใช้ทางเชื่อมรถไฟใต้ดินดึงคนเข้าระบบ

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ยังไม่ได้มีการพิจารณาถึงแนวทางการดำเนินการของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด บริษัทลูกของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ต้องรอข้อสรุปจากกระทรวงคมนาคมที่เสนอมา ประกอบการพิจารณาข้อเสนอของสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ

ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการรถไฟฯ หรือหน่วยงานอื่น โดยต้องการพิจารณาอย่างรอบคอบ และกระทรวงการคลัง
พร้อมให้ความสนับสนุน



นอกจากนี้ จะต้องเร่งพัฒนาพื้นที่สถานีมักกะสัน เนื่องจากต่อไปในอนาคตระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์จะเป็นรากฐานของรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก จากกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ดังนั้น เส้นทางและแนวทางการดำเนินการจะต้องเริ่มต้นจากกรอบนี้ กล่าวคือพัฒนาสถานีมักกะสันมารองรับ คาดว่ารถไฟความเร็วสูงสายนี้จะเป็นสายแรกที่มีการดำเนินการ ทางกระทรวงคมนาคมคงจะใช้เวลาอีกไม่นานในการพิจารณาเรื่องโครงสร้างงานโยธา



เปิดทางเชื่อม 10 ส.ค.นี้

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ยังไม่ตัดสินใจถึงแนวทางการดำเนินการของบริษัทแอร์พอร์ตลิงก์จะเป็นแนวทางไหน ระหว่างทำตามผลการศึกษาของศศินทร์ฯที่ให้แยกบริษัทและการบริหารดำเนินการออกมาจากการรถไฟฯ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว หรือจะเป็นแนวทางของนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟฯ ที่ต้องการให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของการรถไฟฯเหมือนเดิม เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการบริหารจัดการเดินรถไฟความเร็วสูงในอนาคต

"เรื่องนี้ไม่เร่งรีบพิจารณาเพราะยังมีเวลาปัจจุบันรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์เริ่มดีขึ้น มีคนมาใช้บริการมากขึ้นเฉลี่ยวันละ 3-4 หมื่นเที่ยวคนต่อวัน"

ทั้งนี้ จะปรับปรุงเรื่องการเชื่อมต่อเพื่อให้การมาใช้บริการสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จัดให้มีทางเดินเชื่อมกับรถไฟใต้ดินที่สถานีเพชรบุรี เป็นรูปแบบ SKywalk ขณะนี้สร้างเสร็จแล้ว เตรียมเปิดใช้อย่างเป็นทางการวันที่ 10 สิงหาคมนี้ มีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี มาเป็นประธานเปิด ในอนาคตทำให้การเดินทางเข้าออกของ 2 รถไฟฟ้าสะดวกมากขึ้น

ปรับเวลาเอ็กซ์เพรสไลน์

นอกจากนี้ มีปรับปรุงพื้นที่จอดรถ ภูมิทัศน์ด้านหน้า งานที่เหลือคือเรื่องซื้อขบวนรถไฟฟ้าใหม่ จำนวน 7 ขบวน วงเงินไม่เกิน 5,200 ล้านบาท การรถไฟฯเสนอเรื่องให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้ว รอบรรจุเข้าสู่วาระประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป

"สำหรับยี่ห้อรถไฟฟ้ายังไม่สามารถระบุได้ตอนนี้ว่าจะใช้ผู้ผลิตรายเดิมคือบริษัทซีเมนส์ฯหรือไม่ขอดูรายละเอียดก่อน เพราะมีข้อเสนอมา 2 ทางเลือก ใช้เจ้าเดิมหรือจะเปลี่ยนใหม่ แต่จะให้ทางซีเมนส์ปลดล็อกระบบอาณัติสัญญาณให้รถไฟฟ้ายี่ห้อไหนมาวิ่งให้บริการก็ได้เหมือนบีทีเอส เพื่อให้เกิดการแข่งขัน เราจะต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุด"

นายชัชชาติกล่าวอีกว่า อีกทั้งจะมีการปรับปรุงการเดินรถให้รวดเร็วขึ้น มีการปรับรถด่วน Express Line บางขบวน วิ่งให้บริการเฉพาะสถานีมักกะสัน-สุวรรณภูมิ เนื่องจากคนใช้น้อย จากเดิมมีบริการจากสถานีพญาไท เนื่องจากสถานีพญาไทจะมีรถธรรมดา City Line ให้บริการอยู่แล้ว และคนใช้บริการมาก ซึ่งจะต้องค่อย ๆ บริหารจัดการไประหว่างรอรถขบวนใหม่ผลิตเสร็จใช้เวลา 2 ปี

ศศินทร์ฯเสนอโมเดลแก้ปัญหา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผลการศึกษาของศศินทร์ฯที่ออกมา ได้ดำเนินการตามที่คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) สั่งให้กระทรวงคมนาคมหาแนวทางแก้ปัญหารถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ที่มีภาระหนี้อยู่กว่า 3 หมื่นล้านบาท โดยบริหารจัดการองค์กรใหม่ทั้งระบบ ปรับโครงสร้างทางการเงิน และการถ่ายโอนสินทรัพย์ระหว่างการรถไฟฯซึ่งเป็นบริษัทแม่ และบริษัทแอร์พอร์ตลิงก์ในฐานะบริษัทลูก

โดยศศินทร์ฯศึกษาภายใต้โจทย์ที่กระทรวงการคลังให้มา คือแยกบริษัทแอร์พอร์ตลิงก์ออกจากการบริหารจัดการของการรถไฟฯเป็นผู้ถือหุ้น 99.99% ดูความเหมาะสมในการถือหุ้นในบริษัทด้วยระหว่างการรถไฟฯกับกระทรวงการคลัง

นอกจากนี้ ทางศศินทร์ฯเสนอแนะให้โอนทรัพย์สินที่เป็นงานระบบ 15,094 ล้านบาท อยู่กับบริษัททั้งหมด ส่วนภาระหนี้ที่ได้ลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน 18,318 ล้านบาท ให้รัฐบาลรับภาระแทน ส่วนที่ดินควรจะให้บริษัทเช่าในราคาถูกจึงจะอยู่ได้ เพื่อสร้างรายได้เสริมนอกเหนือจากค่าโดยสารที่จัดเก็บอยู่ปีละ 600 ล้านบาท

วัดใจ "ที่ดินมักกะสัน" แลกหนี้

นอกจากนี้ จะต้องจัดหาเงินกู้ให้บริษัทในอนาคตสำหรับใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน จำนวน 1,860 ล้านบาท และค่าซื้อรถไฟฟ้าใหม่ 7 ขบวน วงเงิน 5,200 ล้านบาท รวมเบ็ดเสร็จภายหลังการโอนทรัพย์สินและแยกองค์กรออกมาแล้ว บริษัทจะมีภาระหนี้ประมาณ 18,765 ล้านบาท ภายใน 20 ปีและจากประมาณการผลดำเนินงานยังขาดทุนกระแสเงินสดอยู่ 7-8 ปี แต่จะไม่เป็นภาระให้กับกระทรวงการคลัง

อย่างไรก็ตาม ทางศศินทร์ฯได้จำลองโมเดลกรณีที่แอร์พอร์ตลิงก์เป็นบริษัทรับจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงอย่างเดียว โดยไม่รับภาระใด ๆ จะมีรายได้จากผลประกอบการจึงสามารถมีผลกำไรในปีแรกของการประกอบการ แต่มีข้อควรระวัง คือกรณียังไม่มีระบบต่าง ๆ ในการประกอบการบริษัทอาจจะต้องกู้ยืมเงินเพื่อจัดหาระบบ ซึ่งหมายถึงจะมีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้ทางศศินทร์ฯได้เสนอผลการศึกษาเบื้องต้นมาแล้วเมื่อต้นเดือน พ.ค. 2556 โดยยังยึดหลักการเดียวกัน คือแยกบริษัทแอร์พอร์ตลิงก์ออกจากการรถไฟฯ แต่เสนอวิธีการอื่นเป็นทางเลือกคู่ขนานไปด้วย คือให้แลกที่ดินมักกะสันกับหนี้สินของแอร์พอร์ตลิงก์ทั้งหมดกว่า 3 หมื่นล้านบาท ให้กระทรวงการคลังนำที่ดินมักกะสันพื้นที่ 497 ไร่ ไปพัฒนาประโยชน์เพื่อหารายได้ในเชิงพาณิชย์ 30 ปี ประมาณการรายได้อยู่ที่ 30,000-64,000 ล้านบาท แต่การรถไฟฯไม่เห็นด้วย เนื่องจากมีแผนจะนำที่ดินแปลงนี้มาประมูลหารายได้ระยะยาวเช่นกัน

http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1375705496

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: ชมรมหมอ VI

โพสต์ที่ 4440

โพสต์

วันนี้ขอนอกเรื่องหน่อยครับ

เอาชีวิตจริงของหลายคนมาตีแผ่เป็นการ์ตูน

พวกเราหลายคนก็เป็นนะ 555

รูปภาพ