การล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมในทฤษฎีสัญญาประชาคม
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
การล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมในทฤษฎีสัญญาประชาคม
โพสต์ที่ 1
การล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมในทฤษฎีสัญญาประชาคม(บทความ/ทัศนะ)
โดย ปราโมทย์ นาครทรรพ 7 ธันวาคม 2548 18:35 น.
ผมมิได้ตั้งใจจะเขียนบทความหัวข้อนี้ และยังรอคอยดร.สมบัติ จันทรวงศ์ ซึ่งจะเขียนดีและมีประโยชน์ต่อผู้อ่านและบ้านเมืองมากกว่าของผม
นี้เป็นแต่เพียงการเกริ่น เพื่อให้ประชาคมเกิดความสนใจ ในเวลาที่บ้านเมืองลำบาก ประชาชนจะต้องพากันตั้งสติ และเจริญสมาธิ จึงจะพากันช่วยบ้านเมืองได้ ดังนั้น ตอนนี้จึงเป็นเวลาที่เหมาะที่สุด ที่พวกเราควรจะต้องศึกษาและแลกเปลี่ยนความรู้กัน เกี่ยวกับสิทธิของประชาชนในการล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรม ตามทฤษฏีสัญญาประชาคม โดยปรัชญาเมธีที่มีความคิดกระฉ่อนที่สุดในยุคนั้นๆ คนหนึ่งเป็นอังกฤษ อีกคนหนึ่งเป็นสวิสฝรั่งเศส คนแรกมีอิทธิพลต่อการประกาศอิสรภาพและก่อตั้งสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างยิ่ง นั่นก็คือ John Locke (1632-1704 ) และ J.J. Rousseau (1712-1778)
ทั้งคู่มีความเห็นว่า ประชาชนมีสิทธิ ล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรม แถมมิใช่สิทธิเฉยๆ หากเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบด้วยซ้ำ
ก่อนที่จะเขียนต่อไป ผมขอขอบคุณ พ.ต.ท.ทักษิณ และ สนธิ ลิ้มทองกุล ที่เป็นแรงบันดาลใจให้ผมเขียนเรื่องนี้ แต่มิได้หมายความว่าผมจะฝักใฝ่ฝ่ายใดหรือยุยงให้(ทหาร)ล้มล้างรัฐบาลโดยอ้างประชาชน ผมได้บอกหลายครั้งในข้อเขียนต่างๆของผม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนที่แล้ว เมื่อการต่อสู้ระหว่างสนธิและทักษิณกำลังปรอทขึ้นสูง ว่าผมไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งรัฐบาลโดยม็อบหรือการล้มล้างรัฐบาลโดยการปฏิวัติ
กรุณาอ่านให้ดีๆนะครับ ท่านที่จะกล่าวหาว่าผมฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญมาตรา 63 ฐานยุยงให้ประชาชนล้มล้างรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายด้วยกำลัง ผมเปล่า
ผมเพียงแต่จะเรียกน้ำย่อยให้คนคอยฟัง ล็อค กับ รูสโซ ว่าจะว่าอย่างไร ผ่านอาจารย์สมบัติ ผู้เชี่ยวชาญ ล็อค กับ รูสโซ และทฤษฎีสัญญาประชาคม
เกริ่นแล้ว ผมจะขอเริ่มต้นดังนี้
1. พวกเราอย่าเข้าใจผิดว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่สามารถล้มล้างโดย
กำลังได้
2. ทหารไทยได้ทำลายล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจนจำไม่ได้แล้วว่ากี่
ครั้ง
3. พวกเราอย่าพากันเข้าใจผิดว่าไม่มีการล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งใน
ในอังกฤษ อเมริกา ฝรั่งเศส สำหรับอเมริกานั้น รัฐบาลของจอน เอฟ เคนเนดี้ สิ้นสุดลงโดยการลอบสังหารประธานาธิบดี ตอนนายกฯทักษิณอายุได้ 10 ขวบกว่านี่เอง
ideal coup d'etat หรือรัฐประหารในฝัน ซึ่งก็คือการล้มล้างรัฐบาลโดยกำลังที่อ้างประชาชน แท้ที่จริงเกิดขึ้นบ่อยๆในศตวรรษที่แล้วที่เพิ่งปิดฉากลงได้เพียง 5 ปี นั่นก็คือการเอารถถังออกมายึดทำเนียบ ยึดท่าอากาศยาน สถานีวิทยุและโทรทัศน์ ประกาศภาวะฉุกเฉินและเคอร์ฟิว ยุบสภา และล้มล้างรัฐธรรมนูญ หาชื่อเพราะๆมาเรียกคณะผู้ยึดอำนาจและเหตุผลหรูมาอ้างความจำเป็นฯลฯ เรื่องนี้คงไม่ต้องสอนคนไทย
คำว่า coup d'etat นี้มรดกของฝรั่งเศส เมื่อประธานาธิบดีหลุยส์ นโปเลียนล้มล้างสาธารณรัฐ สถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์นโปเลียนที่ 3
ที่สดๆกว่านั้น ไล่ๆกับ 14 ตุลาคม ซึ่งต่างกว่าใครทั้งหมด และใกล้ๆกับ ล็อคและรูสโซทีเดียว ก็คือ 6 ตุลาคมและพฤษภาทมิฬของเรา การล้มรัฐบาลและสังหารประธานาธิบดี Allende ของชิลี และโดยบรรดานายพลบริวารของ Papamdopoulos แห่งกรีกต้นตำรับประชาธิปไตย และอีกครั้ง การโค่นล้มกษัตริย์ Mohammed Zahir Shah ใน Afghanistan เพื่อเปิดโอกาสให้โซเวียตและอเมริกามาปู้ยี่ปู้ยำการเมืองของโลก เป็นต้น
ถ้าจะเอาตัวอย่างอังกฤษก็ต้องย้อนอดีตไปนานหน่อยถึงปี 1658 1660 หลังCromwell ตาย เมื่อนายพลทั้งหลาย คือ General Fairfax, General Lambert 1659, General Monck, ผลัดกันยาตรากำลังเข้ามายึดลอนดอนและสภา
ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างที่ไม่ดี แต่มนุษย์และประเทศก็ชอบเลียนแบบจากกัน ตัวอย่างชั่วๆมักจะเรียนง่ายกว่าตัวอย่างดี แต่ตัวอย่างทั้งหมดก็คือบทเรียน
ตัวอย่างซึ่งน่าดูกว่า แต่อาจจะชั่วจริงๆหรือดีจริงๆก็ได้ ก็คือ การปฎิวัติเงียบ หรือการยึดอำนาจโดยสงบ (implied force) ซึ่งบางครั้งก็มีกำลังหนุนอย่างหนาแน่นจะเรียกใช้เมื่อไรก็ได้ เช่นการปฏิวัติครั้งหลังของจอมพลสฤษดิ์ และต่อมาของจอมพลถนอม เป็นต้น แต่บางครั้งก็เป็นการลักไก่แต่สำเร็จก็มี
การยึดอำนาจโดยสยบหรือโดยสงบนี้ เป็นไปได้ในทางดี ทั้งในภาคปฏิบัติและทฤษฎี และรัฐบาลที่มาจากเลือกตั้งก็ถูกล้มล้างโดยกำลังได้ทั้ง 2 ทาง คือ ทางปะทะ และทางสงบหรือสยบ ส่วนใหญ่ก็ใช้กำลังทหาร แต่ที่ใช้กำลัง(กองทัพ)ประชาชนก็มี คือ พวกคอมมิวนิสต์ ผมไม่ชอบคอมมิวนิสต์ เพราะผมเกลียดเผด็จการ และผมก็ไม่ชอบให้ใครมาอ้างประชาชน เพราะผมก็เป็นหนึ่งในประชาชนที่ถูกอ้างบ่อยๆ ผมอยากเห็นผู้ใช้อำนาจของประชาชนที่เป็นประชาชนหรือตัวแทนของประชาชนที่แท้จริง โดยไม่มีการแอบอ้างใดๆ นี่เป็นเรื่องที่ผมอยากให้พวกเราคิด
เอาละครับ ในขณะที่คอยอาจารย์สมบัติ ซึ่งบอกว่าทฤษฎีของ Locke อธิบายเหตุการณ์ของเมืองไทยในปัจจุบันได้ดีที่สุด ผมขอตอบคำถามสั้นๆว่า เมื่อใดประชาชนจึงจะมีหน้าที่ที่จะต้องใช้สิทธิล้มล้างรัฐบาลได้ คำตอบก็คือ เมื่อรัฐบาลนั้น ขาดความชอบธรรม
อะไรคือความชอบธรรมของรัฐบาล ตอบสั้นๆอีก รัฐบาลที่ชอบธรรมก็คือ รัฐบาลที่ ที่มาดี อยู่ดี และไปดี คือเป็นไปตามครรลองและกฎเกณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะรับใช้และรักษาผลประโยชน์ของประชาชน สำหรับการมาดีและไปดีนั้น คล้ายๆจะดูง่าย เพราะใช้เวลาเพียงประเดี๋ยวประด๋าว มีสัญลักษณ์หรือข้อบ่งชี้ เช่น พิธีกรรมเลือกตั้ง เป็นต้น แต่บางทีข้อเท็จจริงกลับตรงกันข้าม เพราะมีการข่มขู่หลอกลวง ซื้อขายเสียง หรือแม้กระทั่งคดโกงการเลือกตั้ง สำหรับการอยู่ดีนั้นกลับดูไม่ยาก เพราะมีเวลามากกว่า จะเห็นได้จากปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาล ว่าจะต้องไม่เป็นการทำลายสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน ถ้าเมื่อใดประชาชนเกิดความสงสัยและพิสูจน์ได้ ว่าตรงกันข้าม รัฐบาลก็ขาดความชอบธรรมทันที
ประเทศในโลกนี้ที่มีผู้นำหรือชนชั้นนำเห่อหรือนิยมอเมริกัน เห็นจะไม่มีใครเกินหน้าประเทศไทย แม้แต่อดีตอาณานิคมอย่างฟิลิปปินส์ก็ยังไม่ปาน ดูเราจะเห่อและอยากเอาอย่างอเมริกันไปเสียหมด ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การบริโภค หรือแม้กระทั่งการบริ หาร ส่วนเราจะได้แก่นหรือกระพี้มา ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
โดยเหตุนี้ คงจะไม่เป็นการเว่อเกินไป ที่ผมจะนำเสนอตัวอย่างอันหนึ่งจากอเมริกา ตัวอย่างนี้คือผลงานของโธมัส เจฟเฟอสัน ประธานาธิบดีคนที่ 3 ของอเมริกา ในการเขียนคำประกาศอิสรภาพของอเมริกา ซึ่งถือกันว่าได้รับอิทธิพลจากล็อคมากที่สุด
ผมจะลอกคำแปลของอาจารย์สมบัติมาเพียงบางส่วนสั้นๆดังนี้
เราถือว่า ความจริงต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ประจักษ์แจ้งอยูในตัวเอง นั่นก็คือ มนุษย์ทุกคนถูกสร้างขึ้นมาอย่างเท่าเทียมกัน และพระผู้เป็นเจ้าได้มอบสิทธิบางประการที่จะเพิกถอนมิได้ไว้ให้แก่มนุษย์ ในบรรดาสิทธิเหล่านั้นได้แก่ ชีวิต เสรีภาพและการเสาะแสวงหาความสุข
เพื่อที่จะคุ้มครองสิทธิเหล่านั้นให้มั่นคง รัฐบาลจึงถูกสถาปนาขึ้นในหมู่มวลมนุษย์ โดยได้อำนาจที่ยุติธรรมอันเนื่องมาจากความยินยอมของผู้ที่อยู่ใต้การปกครอง เมื่อใดก็ตามที่(รูปแบบของ)รัฐบาลใด(เป็นสิ่งที่)ทำลายเป้าหมายเหล่านี้ เมื่อนั้นย่อมเป็นสิทธิของประชาชนที่จะเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกรัฐบาลแบบนั้นเสีย...
ฯลฯ รัฐบาลที่ได้จัดตั้งมาช้านานแล้ว ไม่ควรที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วยเหตุเพียงเล็กน้อยและชั่วแล่น ฯลฯ แต่เมื่อการใช้อำนาจไปในทางที่ผิดและการช่วงชิงอำนาจมีอยู่อย่างยาวนาน โดยมุ่งหมายต่อวัตถุประสงค์เดิมอย่างไม่เสื่อมคลาย จนชี้ให้เห็นว่ามีแผนการที่จะกดให้พวกเขาลงภายใต้การปกครองโดยเด็ดขาดของคนๆเดียวแล้ว ย่อม
เป็นสิทธิ ย่อมเป็นหน้าที่ ของพวกเขาที่จะล้มล้างรัฐบาลเช่นนั้น
ครับ นั่นเป็นคำประกาศเสรีภาพของอเมริกาเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 อย่าเพิ่งเหมาเอาง่ายๆนี่เป็นเรื่องของประเทศไทยในปี 2548
แต่สิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นของเที่ยงแท้ นิรันดร รัฐบาลใดจะมาเพิกถอนมิได้!!!
โดย ปราโมทย์ นาครทรรพ 7 ธันวาคม 2548 18:35 น.
ผมมิได้ตั้งใจจะเขียนบทความหัวข้อนี้ และยังรอคอยดร.สมบัติ จันทรวงศ์ ซึ่งจะเขียนดีและมีประโยชน์ต่อผู้อ่านและบ้านเมืองมากกว่าของผม
นี้เป็นแต่เพียงการเกริ่น เพื่อให้ประชาคมเกิดความสนใจ ในเวลาที่บ้านเมืองลำบาก ประชาชนจะต้องพากันตั้งสติ และเจริญสมาธิ จึงจะพากันช่วยบ้านเมืองได้ ดังนั้น ตอนนี้จึงเป็นเวลาที่เหมาะที่สุด ที่พวกเราควรจะต้องศึกษาและแลกเปลี่ยนความรู้กัน เกี่ยวกับสิทธิของประชาชนในการล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรม ตามทฤษฏีสัญญาประชาคม โดยปรัชญาเมธีที่มีความคิดกระฉ่อนที่สุดในยุคนั้นๆ คนหนึ่งเป็นอังกฤษ อีกคนหนึ่งเป็นสวิสฝรั่งเศส คนแรกมีอิทธิพลต่อการประกาศอิสรภาพและก่อตั้งสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างยิ่ง นั่นก็คือ John Locke (1632-1704 ) และ J.J. Rousseau (1712-1778)
ทั้งคู่มีความเห็นว่า ประชาชนมีสิทธิ ล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรม แถมมิใช่สิทธิเฉยๆ หากเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบด้วยซ้ำ
ก่อนที่จะเขียนต่อไป ผมขอขอบคุณ พ.ต.ท.ทักษิณ และ สนธิ ลิ้มทองกุล ที่เป็นแรงบันดาลใจให้ผมเขียนเรื่องนี้ แต่มิได้หมายความว่าผมจะฝักใฝ่ฝ่ายใดหรือยุยงให้(ทหาร)ล้มล้างรัฐบาลโดยอ้างประชาชน ผมได้บอกหลายครั้งในข้อเขียนต่างๆของผม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนที่แล้ว เมื่อการต่อสู้ระหว่างสนธิและทักษิณกำลังปรอทขึ้นสูง ว่าผมไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งรัฐบาลโดยม็อบหรือการล้มล้างรัฐบาลโดยการปฏิวัติ
กรุณาอ่านให้ดีๆนะครับ ท่านที่จะกล่าวหาว่าผมฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญมาตรา 63 ฐานยุยงให้ประชาชนล้มล้างรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายด้วยกำลัง ผมเปล่า
ผมเพียงแต่จะเรียกน้ำย่อยให้คนคอยฟัง ล็อค กับ รูสโซ ว่าจะว่าอย่างไร ผ่านอาจารย์สมบัติ ผู้เชี่ยวชาญ ล็อค กับ รูสโซ และทฤษฎีสัญญาประชาคม
เกริ่นแล้ว ผมจะขอเริ่มต้นดังนี้
1. พวกเราอย่าเข้าใจผิดว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่สามารถล้มล้างโดย
กำลังได้
2. ทหารไทยได้ทำลายล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจนจำไม่ได้แล้วว่ากี่
ครั้ง
3. พวกเราอย่าพากันเข้าใจผิดว่าไม่มีการล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งใน
ในอังกฤษ อเมริกา ฝรั่งเศส สำหรับอเมริกานั้น รัฐบาลของจอน เอฟ เคนเนดี้ สิ้นสุดลงโดยการลอบสังหารประธานาธิบดี ตอนนายกฯทักษิณอายุได้ 10 ขวบกว่านี่เอง
ideal coup d'etat หรือรัฐประหารในฝัน ซึ่งก็คือการล้มล้างรัฐบาลโดยกำลังที่อ้างประชาชน แท้ที่จริงเกิดขึ้นบ่อยๆในศตวรรษที่แล้วที่เพิ่งปิดฉากลงได้เพียง 5 ปี นั่นก็คือการเอารถถังออกมายึดทำเนียบ ยึดท่าอากาศยาน สถานีวิทยุและโทรทัศน์ ประกาศภาวะฉุกเฉินและเคอร์ฟิว ยุบสภา และล้มล้างรัฐธรรมนูญ หาชื่อเพราะๆมาเรียกคณะผู้ยึดอำนาจและเหตุผลหรูมาอ้างความจำเป็นฯลฯ เรื่องนี้คงไม่ต้องสอนคนไทย
คำว่า coup d'etat นี้มรดกของฝรั่งเศส เมื่อประธานาธิบดีหลุยส์ นโปเลียนล้มล้างสาธารณรัฐ สถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์นโปเลียนที่ 3
ที่สดๆกว่านั้น ไล่ๆกับ 14 ตุลาคม ซึ่งต่างกว่าใครทั้งหมด และใกล้ๆกับ ล็อคและรูสโซทีเดียว ก็คือ 6 ตุลาคมและพฤษภาทมิฬของเรา การล้มรัฐบาลและสังหารประธานาธิบดี Allende ของชิลี และโดยบรรดานายพลบริวารของ Papamdopoulos แห่งกรีกต้นตำรับประชาธิปไตย และอีกครั้ง การโค่นล้มกษัตริย์ Mohammed Zahir Shah ใน Afghanistan เพื่อเปิดโอกาสให้โซเวียตและอเมริกามาปู้ยี่ปู้ยำการเมืองของโลก เป็นต้น
ถ้าจะเอาตัวอย่างอังกฤษก็ต้องย้อนอดีตไปนานหน่อยถึงปี 1658 1660 หลังCromwell ตาย เมื่อนายพลทั้งหลาย คือ General Fairfax, General Lambert 1659, General Monck, ผลัดกันยาตรากำลังเข้ามายึดลอนดอนและสภา
ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างที่ไม่ดี แต่มนุษย์และประเทศก็ชอบเลียนแบบจากกัน ตัวอย่างชั่วๆมักจะเรียนง่ายกว่าตัวอย่างดี แต่ตัวอย่างทั้งหมดก็คือบทเรียน
ตัวอย่างซึ่งน่าดูกว่า แต่อาจจะชั่วจริงๆหรือดีจริงๆก็ได้ ก็คือ การปฎิวัติเงียบ หรือการยึดอำนาจโดยสงบ (implied force) ซึ่งบางครั้งก็มีกำลังหนุนอย่างหนาแน่นจะเรียกใช้เมื่อไรก็ได้ เช่นการปฏิวัติครั้งหลังของจอมพลสฤษดิ์ และต่อมาของจอมพลถนอม เป็นต้น แต่บางครั้งก็เป็นการลักไก่แต่สำเร็จก็มี
การยึดอำนาจโดยสยบหรือโดยสงบนี้ เป็นไปได้ในทางดี ทั้งในภาคปฏิบัติและทฤษฎี และรัฐบาลที่มาจากเลือกตั้งก็ถูกล้มล้างโดยกำลังได้ทั้ง 2 ทาง คือ ทางปะทะ และทางสงบหรือสยบ ส่วนใหญ่ก็ใช้กำลังทหาร แต่ที่ใช้กำลัง(กองทัพ)ประชาชนก็มี คือ พวกคอมมิวนิสต์ ผมไม่ชอบคอมมิวนิสต์ เพราะผมเกลียดเผด็จการ และผมก็ไม่ชอบให้ใครมาอ้างประชาชน เพราะผมก็เป็นหนึ่งในประชาชนที่ถูกอ้างบ่อยๆ ผมอยากเห็นผู้ใช้อำนาจของประชาชนที่เป็นประชาชนหรือตัวแทนของประชาชนที่แท้จริง โดยไม่มีการแอบอ้างใดๆ นี่เป็นเรื่องที่ผมอยากให้พวกเราคิด
เอาละครับ ในขณะที่คอยอาจารย์สมบัติ ซึ่งบอกว่าทฤษฎีของ Locke อธิบายเหตุการณ์ของเมืองไทยในปัจจุบันได้ดีที่สุด ผมขอตอบคำถามสั้นๆว่า เมื่อใดประชาชนจึงจะมีหน้าที่ที่จะต้องใช้สิทธิล้มล้างรัฐบาลได้ คำตอบก็คือ เมื่อรัฐบาลนั้น ขาดความชอบธรรม
อะไรคือความชอบธรรมของรัฐบาล ตอบสั้นๆอีก รัฐบาลที่ชอบธรรมก็คือ รัฐบาลที่ ที่มาดี อยู่ดี และไปดี คือเป็นไปตามครรลองและกฎเกณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะรับใช้และรักษาผลประโยชน์ของประชาชน สำหรับการมาดีและไปดีนั้น คล้ายๆจะดูง่าย เพราะใช้เวลาเพียงประเดี๋ยวประด๋าว มีสัญลักษณ์หรือข้อบ่งชี้ เช่น พิธีกรรมเลือกตั้ง เป็นต้น แต่บางทีข้อเท็จจริงกลับตรงกันข้าม เพราะมีการข่มขู่หลอกลวง ซื้อขายเสียง หรือแม้กระทั่งคดโกงการเลือกตั้ง สำหรับการอยู่ดีนั้นกลับดูไม่ยาก เพราะมีเวลามากกว่า จะเห็นได้จากปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาล ว่าจะต้องไม่เป็นการทำลายสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน ถ้าเมื่อใดประชาชนเกิดความสงสัยและพิสูจน์ได้ ว่าตรงกันข้าม รัฐบาลก็ขาดความชอบธรรมทันที
ประเทศในโลกนี้ที่มีผู้นำหรือชนชั้นนำเห่อหรือนิยมอเมริกัน เห็นจะไม่มีใครเกินหน้าประเทศไทย แม้แต่อดีตอาณานิคมอย่างฟิลิปปินส์ก็ยังไม่ปาน ดูเราจะเห่อและอยากเอาอย่างอเมริกันไปเสียหมด ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การบริโภค หรือแม้กระทั่งการบริ หาร ส่วนเราจะได้แก่นหรือกระพี้มา ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
โดยเหตุนี้ คงจะไม่เป็นการเว่อเกินไป ที่ผมจะนำเสนอตัวอย่างอันหนึ่งจากอเมริกา ตัวอย่างนี้คือผลงานของโธมัส เจฟเฟอสัน ประธานาธิบดีคนที่ 3 ของอเมริกา ในการเขียนคำประกาศอิสรภาพของอเมริกา ซึ่งถือกันว่าได้รับอิทธิพลจากล็อคมากที่สุด
ผมจะลอกคำแปลของอาจารย์สมบัติมาเพียงบางส่วนสั้นๆดังนี้
เราถือว่า ความจริงต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ประจักษ์แจ้งอยูในตัวเอง นั่นก็คือ มนุษย์ทุกคนถูกสร้างขึ้นมาอย่างเท่าเทียมกัน และพระผู้เป็นเจ้าได้มอบสิทธิบางประการที่จะเพิกถอนมิได้ไว้ให้แก่มนุษย์ ในบรรดาสิทธิเหล่านั้นได้แก่ ชีวิต เสรีภาพและการเสาะแสวงหาความสุข
เพื่อที่จะคุ้มครองสิทธิเหล่านั้นให้มั่นคง รัฐบาลจึงถูกสถาปนาขึ้นในหมู่มวลมนุษย์ โดยได้อำนาจที่ยุติธรรมอันเนื่องมาจากความยินยอมของผู้ที่อยู่ใต้การปกครอง เมื่อใดก็ตามที่(รูปแบบของ)รัฐบาลใด(เป็นสิ่งที่)ทำลายเป้าหมายเหล่านี้ เมื่อนั้นย่อมเป็นสิทธิของประชาชนที่จะเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกรัฐบาลแบบนั้นเสีย...
ฯลฯ รัฐบาลที่ได้จัดตั้งมาช้านานแล้ว ไม่ควรที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วยเหตุเพียงเล็กน้อยและชั่วแล่น ฯลฯ แต่เมื่อการใช้อำนาจไปในทางที่ผิดและการช่วงชิงอำนาจมีอยู่อย่างยาวนาน โดยมุ่งหมายต่อวัตถุประสงค์เดิมอย่างไม่เสื่อมคลาย จนชี้ให้เห็นว่ามีแผนการที่จะกดให้พวกเขาลงภายใต้การปกครองโดยเด็ดขาดของคนๆเดียวแล้ว ย่อม
เป็นสิทธิ ย่อมเป็นหน้าที่ ของพวกเขาที่จะล้มล้างรัฐบาลเช่นนั้น
ครับ นั่นเป็นคำประกาศเสรีภาพของอเมริกาเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 อย่าเพิ่งเหมาเอาง่ายๆนี่เป็นเรื่องของประเทศไทยในปี 2548
แต่สิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นของเที่ยงแท้ นิรันดร รัฐบาลใดจะมาเพิกถอนมิได้!!!
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
การล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมในทฤษฎีสัญญาประชาคม
โพสต์ที่ 2
การล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมในทัศนะพุทธ
โดย ปราโมทย์ นาครทรรพ 8 ธันวาคม 2548
ภิกขุไม่มีศีล ทหารไม่มีวินัย ผู้ปกครองไม่มีจรรยาจะเอาบ้านเมืองไว้ได้อย่างไร
นี่คือ คำที่ถามกันอยู่เซ็งแซ่ ผมเชื่อมั่นว่า เมืองไทยของเรายังมีความหวัง เพราะภิกขุที่มีศีลยังมีอยู่มากกว่า ทหารที่มีวินัยยังมีอยู่มากกว่า และหวังว่าผู้ปกครองที่มีจรรยาก็ยังมีหลงเหลืออยู่
แต่ถ้าหากผู้นำที่จรรยาไม่มี จะทำอย่างไรดี
ในพุทธศาสนามีการพูดถึง การแก้ปัญหาการเมืองโดยการล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรม ก่อนปรัชญาเมธีตะวันตกตั้งหลายร้อยปีเสียอีก
มีผู้คาดดั้นให้ผมเขียนเรื่อง ภิกขุไม่มีศีล ทหารไม่มีวินัยฯ ใหม่ เพื่อตอบคำถามเรื่องหลวงตามหาบัว เมื่อผมบวช ผมมีบุญได้รับใช้พระผู้ใหญ่สายอาจารย์มั่นในภาคอีสานที่ดับขันธ์ไปแล้วแทบทุกองค์ แต่ต้องสารภาพว่า ผมไม่มีบุญได้รับใช้หรือรู้จักท่านหลวงตามหาบัวเลย
แต่ผมไม่มีความข้องใจสงสัยใดๆทั้งสิ้นในบริสุทธิศีลของท่าน คำสั่งสอนธรรมของท่านที่เกี่ยวกับบ้านเมืองนั้น ถึงผมได้สดับอย่างฉาบฉวย มีผู้ชอบมาถามว่านั่นกิจอะไรของสงฆ์ ผมแนะว่า ให้ไปอ่านชาดกในพุทธศาสนาเอาเอง พระพุทธเจ้าทรงเทศนาถึงเรื่องจรรยาของผู้ปกครอง เรื่อง การต่อสู้ทางการเมือง การขับไล่และลงโทษผู้ปกครองที่ไม่เป็นธรรม แทบจะนับไม่ถ้วนเรื่อง สนุกจริงๆ
พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งสันติภาพ มีจุดเน้นอยู่ที่ความล่วงรู้ เพื่อจะให้มนุษย์พ้นบ่วงทุกข์ และวางจุดหนักไว้ที่ตัวบุคคลซึ่งจะต้องเป็นผู้เรียนเอง รู้เอง และทำเอง เป็นศาสนาที่แยกอาณาจักรและศาสนาจักรออกจากกัน โดยกำหนดความสัมพันธ์ที่ต่างก็มีอิสระแบบเชื่อมโยง
ธรรมและคำสั่งสอนในรูปอื่นๆของศาสนาพุทธก็เต็มไปด้วยเรื่องราวของการสร้างครอบครัว ชุมชนและบ้านเมืองโดยใช้ความรอบรู้และธรรมเป็นเครื่องชี้ทาง
ปรัชญาของพุทธมิได้ด้อยไปกว่าศาสนาอื่น หรือแม้กระทั่งปรัชญาการเมืองของตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพ ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ประชาธิปไตย การปกครองและความเป็นผู้นำฯลฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทำตัวอย่าง โดยนำชาดกมาประกอบเป็นพระราชนิพนธ์พระมหาชนก ผมแปลกใจและเสียดายที่รัฐบาลทุกรัฐบาลและกระทรวงศึกษา ไม่ทุ่มเทเผยแพร่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นชาดก อย่างจริงจัง เพราะ จะมีประโยชน์ยิ่งกว่าตำราหน้าที่พลเมืองในอดีต หรือกิจกรรมประชาสังคมหลายๆอย่างที่เคลื่อนไหวกันอยู่ ที่เกิดจากรากฐานทางความคิดและรหัสของตะวันตก ขาดการเชื่อมโยงที่แยบคายกับความเป็นไทย
ผมเคยอ่านเบอทรัล รัสเซล นักมนุษยนิยมและปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่ กับ ไอน์สไตน์ ทั้งสองคนกล่าวถึงลักษณะพิเศษอันเป็นจุดเด่นที่ไม่มีใครเหมือนของศาสนาพุทธ ถึงกับทำนายว่าจะเป็นศาสนาแห่งอนาคต ไอน์สไตน์แสดงปาฐกถาที่มหาวิทยาลัยปรินซตัน ในปี ค.ศ. 1947 มีข้อความว่า ศาสนาในอนาคตจะต้องเป็นศาสนาแห่งจักรวาล (cosmic religion) ในบรรดาศาสนาที่มีอยู่ ศาสนาพุทธมีความใกล้เคียงกับความเป็นศาสนาจักรวาลมากที่สุด
เราทราบดีว่าพุทธศาสนาแยกออกเป็น 2 กระแสใหญ่ คือ หินยานหรือเถรวาทแบบของไทย ลาว เขมร พม่าและศรีลังกา กับมหายาน คือ ธิเบต จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนาม ผมได้เห็นการแพร่ขยายอย่างมีระบบของพุทธศาสนาในตะวันตก โดยเฉพาะจากวัดบ้านป่า สายท่านอาจารย์ชา ผมคิดว่า ในไม่ช้านี้ เราจะมีพุทธศาสนากระแสตะวันตก ซึ่งมีความเป็นพุทธ ที่สามารถท้าทายความคิดกระแสเดิมที่อ้างความเป็นยอดของตะวันตกได้อย่างดีเยี่ยม ถ้าจะให้สำเร็จ เมืองไทยจะต้องรักษาความเป็นพุทธ ความเป็นธรรมและความเป็นประชาธิปไตยไว้ให้ได้เสียก่อน
ในมหายานนั้นความสัมพันธ์กับชุมชนและการเมืองมีลักษณะเปิดเผย จริงจังและแข็งขันกว่าในบ้านเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งธิเบต ซึ่งถ้าหากไม่ถูกจีนทำลาย จะเป็นตัวอย่างของบูรณาการและการผนึกรวมเป็นอันเดียวกันระหว่างพุทธศาสนากับการปกครอง
เราคงไม่ลืมว่าการต่อสู้ของชาวพุทธในเวียดนาม จนกระทั่งถึงกับมีพระภิกษุถึง4 องค์เผาตัวเองประท้วง เป็นจุดเริ่มต้นไปสู่อวสานของรัฐบาลเผด็จการโง ดิน เยียม
สำหรับทัศนะพุทธในบทความนี้ ผมจะจำกัดอยู่ที่ธรรมและคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยสังเขปเท่านั้น หวังว่าท่านผู้รู้คงจะช่วยกันอธิบายขยายความกันต่อๆไป
อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าเป็นเจ้าฟ้า กว่าพระองค์จะสละอำนาจการเมืองออกบวชก็เมื่อมีพระชนม์ชีพถึง 29 พรรษา หลังจากศึกษาศิลปะวิทยาการทางโลกได้อย่างแจ้งจบแล้ว ทำไมพระองค์จึงทรงสั่งสอนให้แยกทางโลกออกจากทางธรรม หรือแยกการเมืองออกจากศาสนา พวกเราต้องคิดดูเอาเอง แต่จะเป็นการผิดอย่างฉกรรจ์หากพวกเราคิดว่าพระองค์ไม่รู้จักการเมือง และไม่ทรงพร่ำสอนให้พุทธบริษัทที่มิใช่พระสงฆ์ให้เข้าใจและเป็นพลังที่ดีทางการเมือง
คำสอนของพระองค์เป็นอกาลิโกยังทันสมัยและเป็นพื้นฐานทางการเมืองมาถึงยุคปัจจุบัน คือ (1) ความเท่าเทียมกันและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตนเอง (2)ทรงเน้นคุณค่าของความร่วมมือกันอย่างแข็งขันในสังคมและชุมชนเหมือนกับ participative democracy ในปัจจุบัน (3)ไม่ทรงตั้งทายาท แต่ส่งเสริมให้ใช้พระธรรมวินัยหรือ Rule of Law เป็นพื้นฐานของการปกครองสงฆ์และสังคม (4)ทรงส่งเสริมการประชุมปรึกษาหารือและการตัดสินปัญหาในที่ประชุมเยี่ยงบัณฑิต ไม่ต่างกับหรือด้อยกว่าสภาผู้แทน
พระพุทธเจ้าไม่ส่งเสริมสงครามหรือการสู้รบด้วยกำลัง แม้แต่ ธรรม-อธรรมสงคราม พระองค์ก็ทรงแนะให้หลีกเลี่ยง เพราะผู้ชนะจะเป็นผู้ก่อกรรมและผู้แพ้จะคุมแค้นทุกข์ทรมาน พระองค์ทรงห้ามทัพและป้องกันสงครามระหว่างขุนศึกด้วยพระองค์เองหลายครั้ง เช่น สงครามระหว่างศากยวงศ์และโกลิยวงศ์ ที่แย่งใช้แม่น้ำโรหิณีกัน ทรงห้ามพระเจ้าอชาตศัตรูมิให้โจมตีแคว้นวัชชี เป็นต้น
พระองค์ทรงแสดงความแตกต่างของรัฐบาลที่กดขี่คดโกงกับรัฐธรรมาภิบาล และทรงบรรยายถึงขบวนการที่รัฐบาลเสื่อมทรามเพราะหัวหน้ารัฐบาลเกิดความโลภและเบียดเบียน พระองค์ตรัสว่า
เมื่อผู้ปกครองประเทศสุจริตและยุติธรรม เสนาบดีก็จะสุจริตและยุติธรรม เมื่อเสนาบดีสุจริตและยุติธรรม ข้าราชการผู้ใหญ่ก็จะสุจริตและยุติธรรม เมื่อข้าราชการผู้ใหญ่สุจริตและยุติธรรม ข้าราชการผู้น้อยก็จะสุจริตและยุติธรรม เมื่อข้าราชการผู้น้อยสุจริตยุติธรรม ราษฏรก็จะสุจริตและยุติธรรม สังคมก็จะเป็นสุข สวัสดี (อังคุตตรนิกาย)
ใน จักรวรรดิ สีหนันทศสูตรพระองค์ทรงอธิบายถึงความเสื่อมศีลธรรมจรรยาอันนำไปสู่โจรกรรม อาสัตย์ การแก่งแย่งชิงดี ความเกลียดขึ้งประสงค์ร้าย ทั้งหมดจะนำบ้านเมือง ไปสู่ความลำบากยากจน ซึ่งไม่สามารถจะแก้ไขได้ด้วยการใช้กำลัง แต่ด้วยธรรม และความเมตตากรุณา และในพระสูตรอื่นๆ ทรงแนะนำการพัฒนาเศรษฐกิจแบบพุทธคล้ายกับเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง และทรงย้ำว่านี่คือวิธีพัฒนาที่แท้จริง ต้องไม่ใช้อำนาจ
ผมจะไม่พูดถึงทศพิธราชธรรมซึ่งเป็นที่รู้ดีอยู่แล้ว และจะข้ามไปตอนที่สนุก ว่าแม้แต่พระพุทธองค์ก็ทรงตระหนักว่า การต่อสู้ระหว่างธรรม กับอธรรมด้วยกำลังนั้นเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงมิได้ เมื่อถึงคราวจำเป็น ผู้มีธรรมก็จะต้องเป็นผู้ที่กล้า
ใน ขุรัปปชาดก เรื่อง ถึงคราวกล้าควรกล้า พระพุทธองค์เสวยชาติเป็นผู้พิทักษ์คาราวานสมบัติ มีโศลกว่าดังนี้
ถาม เมื่อท่านเห็นพวกโจรยิงลูกธนูอันแหลม ถือดาบอันคมกล้า ซึ่งขัดแล้ว ด้วยน้ำมัน เมื่อมรณภัยปรากฏเฉพาะหน้าแล้ว เหตุไฉนหนอ ท่านจึง ไม่มีความครั่นคร้าม.
ตอบ เมื่อเราเห็นพวกโจรยิงลูกธนูอันแหลม ถือดาบอันคมกล้า ซึ่งขัดแล้ว ด้วยน้ำมัน เมื่อมรณภัยปรากฏเฉพาะหน้าแล้ว เรากลับได้ความยินดี และโสมนัสมากยิ่ง.
เรานั้นเกิดความยินดีและโสมนัสแล้ว ก็ครอบงำศัตรูทั้งหลายเสียได้ เพราะว่า ชีวิตของเราๆ ได้สละมาแต่ก่อนแล้ว เราไม่ได้ทำความอาลัยในชีวิต บุคคลผู้กล้าหาญพึงกระทำกิจของคนกล้า ในกาลบางคราว. "
ในมิลินทปัญหา พระพุทธเจ้าเสวยชาติเป็นพระนาคเสน ตอบพระเจ้ามิมิลินท์ว่า
หากบุคคล ขาดคุณสมบัติที่ดี ไร้ความสามารถ ไร้ศีลธรรมจรรยา ไม่เหมาะสม ได้ขึ้นบัลลังก์มาเป็นใหญ่ มีอำนาจมากเพียงใด เขาจะถูกฉีกเนื้อ และลงฑัณฑ์โดยประชาชน เพราะเขามิได้ขึ้นมาและมิได้อยู่ในอำนาจด้วยความชอบธรรม ผู้ปกครองเยี่ยงนี้ เหมือนผู้ปกครองทั้งหลายที่ฝ่าฝืน ทำลายศีลธรรมจรรยา และกฏเกณฑ์ของสังคม ก็จะถูกประชาทัณฑ์ เยี่ยงเดียวกัน โดยพาะอย่างยิ่ง ผู้ปกครองที่ประพฤติตนเหมือนโจรปล้นสมบัติของแผ่นดิน
พระพุทธองค์ทรงเปรียบผู้ปกครองว่า คนพาลผู้สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต ปกครองหมู่คณะ ตกอยู่ในอำนาจจิต ของตนแล้ว พึงนอนตาย เหมือนลิงจ่าฝูง นอนตายอยู่ ฉะนั้น
ผมขอจบด้วยฉากอันระทึก ใน ปลายิชาดก: ว่าด้วยขับไล่ศัตรูแบบสายฟ้าแลบ ดังนี้
เมืองตักกสิลาถูกเขาล้อมไว้ทุกด้านแล้ว ด้วยกองพลช้างตัวประเสริฐ ซึ่งร้องคำรณอยู่ด้านหนึ่ง ด้วยกองพลม้าตัวประเสริฐ ซึ่งคลุมมาลาเครื่อง ครบอยู่ด้านหนึ่ง ด้วยกองพลรถ ดุจคลื่นในมหาสมุทรอันยังฝนคือ ลูกศรให้ตกลงด้านหนึ่ง ด้วยกองพลเดินเท้า ถือธนูมั่นมีฝีมือยิงแม่นอยู่ ด้านหนึ่ง. ท่านทั้งหลายจงรีบรุกเข้าไป และจงรีบบุกเข้าไป จงไสช้างให้หนุนเนื่อง กันเข้าไปเลย จงโห่ร้องให้สนั่นหวั่นไหวในวันนี้ ดุจสายฟ้าอันซ่าน ออกจากกลีบเมฆคำรณอยู่ ฉะนั้น
ธงสำหรับรถของเรามีมากมาย พลพาหนะของเราก็นับไม่ถ้วนแสนยาก ที่ศัตรูจะหาญหักเข้าสู้รบได้ ดุจสาครยากที่ฝูงกาจะบินข้ามให้ถึงฝั่งได้ ฉะนั้น อนึ่ง กองพลของเรานี้ยากที่กองพลอื่นจะหาญเข้าตีหักได้ดุจภูเขา อันลมไม่อาจให้ไหวได้ ฉะนั้น วันนี้ เราประกอบด้วยกองพลเท่านี้ อันกอง พลเช่นนั้นยากที่ศัตรูจะหาญหักเข้ารุกรานได้
ท่านผู้อ่านอย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่า กองทัพอันเกรียงไกรข้างต้นนั้นจะกำชัย เพราะนั่น เป็นกองทัพของรัฐบาลอธรรม
กองทัพที่จะกำชัยคือของทัพธรรมของพระพุทธที่เสวยชาติมาปราบยุคเข็ญต่างหาก พระองค์ตรัสว่า
คนเช่นท่านอย่าพูดเพ้อถึงความที่ตนเป็นคนโง่เขลาไปเลย คนเช่นท่านจะเรียกว่า ผู้สามารถไม่ได้ ท่านถูกความเร่าร้อน คือ ราคะ โทสะ โมหะ และมานะ เผารนอยู่เสมอ ไม่อาจจะกำจัดเราได้เลย จะต้องหนีเราไป กองพล ของเราจักย่ำยีท่านหมดทั้งกองพล ดุจช้างเมามันขยี้ไม้อ้อด้วยเท้า ฉะนั้น.
ท่านที่สนใจโปรดอ่านพระอรรถกถาเอาเอง เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้
โดย ปราโมทย์ นาครทรรพ 8 ธันวาคม 2548
ภิกขุไม่มีศีล ทหารไม่มีวินัย ผู้ปกครองไม่มีจรรยาจะเอาบ้านเมืองไว้ได้อย่างไร
นี่คือ คำที่ถามกันอยู่เซ็งแซ่ ผมเชื่อมั่นว่า เมืองไทยของเรายังมีความหวัง เพราะภิกขุที่มีศีลยังมีอยู่มากกว่า ทหารที่มีวินัยยังมีอยู่มากกว่า และหวังว่าผู้ปกครองที่มีจรรยาก็ยังมีหลงเหลืออยู่
แต่ถ้าหากผู้นำที่จรรยาไม่มี จะทำอย่างไรดี
ในพุทธศาสนามีการพูดถึง การแก้ปัญหาการเมืองโดยการล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรม ก่อนปรัชญาเมธีตะวันตกตั้งหลายร้อยปีเสียอีก
มีผู้คาดดั้นให้ผมเขียนเรื่อง ภิกขุไม่มีศีล ทหารไม่มีวินัยฯ ใหม่ เพื่อตอบคำถามเรื่องหลวงตามหาบัว เมื่อผมบวช ผมมีบุญได้รับใช้พระผู้ใหญ่สายอาจารย์มั่นในภาคอีสานที่ดับขันธ์ไปแล้วแทบทุกองค์ แต่ต้องสารภาพว่า ผมไม่มีบุญได้รับใช้หรือรู้จักท่านหลวงตามหาบัวเลย
แต่ผมไม่มีความข้องใจสงสัยใดๆทั้งสิ้นในบริสุทธิศีลของท่าน คำสั่งสอนธรรมของท่านที่เกี่ยวกับบ้านเมืองนั้น ถึงผมได้สดับอย่างฉาบฉวย มีผู้ชอบมาถามว่านั่นกิจอะไรของสงฆ์ ผมแนะว่า ให้ไปอ่านชาดกในพุทธศาสนาเอาเอง พระพุทธเจ้าทรงเทศนาถึงเรื่องจรรยาของผู้ปกครอง เรื่อง การต่อสู้ทางการเมือง การขับไล่และลงโทษผู้ปกครองที่ไม่เป็นธรรม แทบจะนับไม่ถ้วนเรื่อง สนุกจริงๆ
พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งสันติภาพ มีจุดเน้นอยู่ที่ความล่วงรู้ เพื่อจะให้มนุษย์พ้นบ่วงทุกข์ และวางจุดหนักไว้ที่ตัวบุคคลซึ่งจะต้องเป็นผู้เรียนเอง รู้เอง และทำเอง เป็นศาสนาที่แยกอาณาจักรและศาสนาจักรออกจากกัน โดยกำหนดความสัมพันธ์ที่ต่างก็มีอิสระแบบเชื่อมโยง
ธรรมและคำสั่งสอนในรูปอื่นๆของศาสนาพุทธก็เต็มไปด้วยเรื่องราวของการสร้างครอบครัว ชุมชนและบ้านเมืองโดยใช้ความรอบรู้และธรรมเป็นเครื่องชี้ทาง
ปรัชญาของพุทธมิได้ด้อยไปกว่าศาสนาอื่น หรือแม้กระทั่งปรัชญาการเมืองของตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพ ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ประชาธิปไตย การปกครองและความเป็นผู้นำฯลฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทำตัวอย่าง โดยนำชาดกมาประกอบเป็นพระราชนิพนธ์พระมหาชนก ผมแปลกใจและเสียดายที่รัฐบาลทุกรัฐบาลและกระทรวงศึกษา ไม่ทุ่มเทเผยแพร่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นชาดก อย่างจริงจัง เพราะ จะมีประโยชน์ยิ่งกว่าตำราหน้าที่พลเมืองในอดีต หรือกิจกรรมประชาสังคมหลายๆอย่างที่เคลื่อนไหวกันอยู่ ที่เกิดจากรากฐานทางความคิดและรหัสของตะวันตก ขาดการเชื่อมโยงที่แยบคายกับความเป็นไทย
ผมเคยอ่านเบอทรัล รัสเซล นักมนุษยนิยมและปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่ กับ ไอน์สไตน์ ทั้งสองคนกล่าวถึงลักษณะพิเศษอันเป็นจุดเด่นที่ไม่มีใครเหมือนของศาสนาพุทธ ถึงกับทำนายว่าจะเป็นศาสนาแห่งอนาคต ไอน์สไตน์แสดงปาฐกถาที่มหาวิทยาลัยปรินซตัน ในปี ค.ศ. 1947 มีข้อความว่า ศาสนาในอนาคตจะต้องเป็นศาสนาแห่งจักรวาล (cosmic religion) ในบรรดาศาสนาที่มีอยู่ ศาสนาพุทธมีความใกล้เคียงกับความเป็นศาสนาจักรวาลมากที่สุด
เราทราบดีว่าพุทธศาสนาแยกออกเป็น 2 กระแสใหญ่ คือ หินยานหรือเถรวาทแบบของไทย ลาว เขมร พม่าและศรีลังกา กับมหายาน คือ ธิเบต จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนาม ผมได้เห็นการแพร่ขยายอย่างมีระบบของพุทธศาสนาในตะวันตก โดยเฉพาะจากวัดบ้านป่า สายท่านอาจารย์ชา ผมคิดว่า ในไม่ช้านี้ เราจะมีพุทธศาสนากระแสตะวันตก ซึ่งมีความเป็นพุทธ ที่สามารถท้าทายความคิดกระแสเดิมที่อ้างความเป็นยอดของตะวันตกได้อย่างดีเยี่ยม ถ้าจะให้สำเร็จ เมืองไทยจะต้องรักษาความเป็นพุทธ ความเป็นธรรมและความเป็นประชาธิปไตยไว้ให้ได้เสียก่อน
ในมหายานนั้นความสัมพันธ์กับชุมชนและการเมืองมีลักษณะเปิดเผย จริงจังและแข็งขันกว่าในบ้านเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งธิเบต ซึ่งถ้าหากไม่ถูกจีนทำลาย จะเป็นตัวอย่างของบูรณาการและการผนึกรวมเป็นอันเดียวกันระหว่างพุทธศาสนากับการปกครอง
เราคงไม่ลืมว่าการต่อสู้ของชาวพุทธในเวียดนาม จนกระทั่งถึงกับมีพระภิกษุถึง4 องค์เผาตัวเองประท้วง เป็นจุดเริ่มต้นไปสู่อวสานของรัฐบาลเผด็จการโง ดิน เยียม
สำหรับทัศนะพุทธในบทความนี้ ผมจะจำกัดอยู่ที่ธรรมและคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยสังเขปเท่านั้น หวังว่าท่านผู้รู้คงจะช่วยกันอธิบายขยายความกันต่อๆไป
อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าเป็นเจ้าฟ้า กว่าพระองค์จะสละอำนาจการเมืองออกบวชก็เมื่อมีพระชนม์ชีพถึง 29 พรรษา หลังจากศึกษาศิลปะวิทยาการทางโลกได้อย่างแจ้งจบแล้ว ทำไมพระองค์จึงทรงสั่งสอนให้แยกทางโลกออกจากทางธรรม หรือแยกการเมืองออกจากศาสนา พวกเราต้องคิดดูเอาเอง แต่จะเป็นการผิดอย่างฉกรรจ์หากพวกเราคิดว่าพระองค์ไม่รู้จักการเมือง และไม่ทรงพร่ำสอนให้พุทธบริษัทที่มิใช่พระสงฆ์ให้เข้าใจและเป็นพลังที่ดีทางการเมือง
คำสอนของพระองค์เป็นอกาลิโกยังทันสมัยและเป็นพื้นฐานทางการเมืองมาถึงยุคปัจจุบัน คือ (1) ความเท่าเทียมกันและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตนเอง (2)ทรงเน้นคุณค่าของความร่วมมือกันอย่างแข็งขันในสังคมและชุมชนเหมือนกับ participative democracy ในปัจจุบัน (3)ไม่ทรงตั้งทายาท แต่ส่งเสริมให้ใช้พระธรรมวินัยหรือ Rule of Law เป็นพื้นฐานของการปกครองสงฆ์และสังคม (4)ทรงส่งเสริมการประชุมปรึกษาหารือและการตัดสินปัญหาในที่ประชุมเยี่ยงบัณฑิต ไม่ต่างกับหรือด้อยกว่าสภาผู้แทน
พระพุทธเจ้าไม่ส่งเสริมสงครามหรือการสู้รบด้วยกำลัง แม้แต่ ธรรม-อธรรมสงคราม พระองค์ก็ทรงแนะให้หลีกเลี่ยง เพราะผู้ชนะจะเป็นผู้ก่อกรรมและผู้แพ้จะคุมแค้นทุกข์ทรมาน พระองค์ทรงห้ามทัพและป้องกันสงครามระหว่างขุนศึกด้วยพระองค์เองหลายครั้ง เช่น สงครามระหว่างศากยวงศ์และโกลิยวงศ์ ที่แย่งใช้แม่น้ำโรหิณีกัน ทรงห้ามพระเจ้าอชาตศัตรูมิให้โจมตีแคว้นวัชชี เป็นต้น
พระองค์ทรงแสดงความแตกต่างของรัฐบาลที่กดขี่คดโกงกับรัฐธรรมาภิบาล และทรงบรรยายถึงขบวนการที่รัฐบาลเสื่อมทรามเพราะหัวหน้ารัฐบาลเกิดความโลภและเบียดเบียน พระองค์ตรัสว่า
เมื่อผู้ปกครองประเทศสุจริตและยุติธรรม เสนาบดีก็จะสุจริตและยุติธรรม เมื่อเสนาบดีสุจริตและยุติธรรม ข้าราชการผู้ใหญ่ก็จะสุจริตและยุติธรรม เมื่อข้าราชการผู้ใหญ่สุจริตและยุติธรรม ข้าราชการผู้น้อยก็จะสุจริตและยุติธรรม เมื่อข้าราชการผู้น้อยสุจริตยุติธรรม ราษฏรก็จะสุจริตและยุติธรรม สังคมก็จะเป็นสุข สวัสดี (อังคุตตรนิกาย)
ใน จักรวรรดิ สีหนันทศสูตรพระองค์ทรงอธิบายถึงความเสื่อมศีลธรรมจรรยาอันนำไปสู่โจรกรรม อาสัตย์ การแก่งแย่งชิงดี ความเกลียดขึ้งประสงค์ร้าย ทั้งหมดจะนำบ้านเมือง ไปสู่ความลำบากยากจน ซึ่งไม่สามารถจะแก้ไขได้ด้วยการใช้กำลัง แต่ด้วยธรรม และความเมตตากรุณา และในพระสูตรอื่นๆ ทรงแนะนำการพัฒนาเศรษฐกิจแบบพุทธคล้ายกับเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง และทรงย้ำว่านี่คือวิธีพัฒนาที่แท้จริง ต้องไม่ใช้อำนาจ
ผมจะไม่พูดถึงทศพิธราชธรรมซึ่งเป็นที่รู้ดีอยู่แล้ว และจะข้ามไปตอนที่สนุก ว่าแม้แต่พระพุทธองค์ก็ทรงตระหนักว่า การต่อสู้ระหว่างธรรม กับอธรรมด้วยกำลังนั้นเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงมิได้ เมื่อถึงคราวจำเป็น ผู้มีธรรมก็จะต้องเป็นผู้ที่กล้า
ใน ขุรัปปชาดก เรื่อง ถึงคราวกล้าควรกล้า พระพุทธองค์เสวยชาติเป็นผู้พิทักษ์คาราวานสมบัติ มีโศลกว่าดังนี้
ถาม เมื่อท่านเห็นพวกโจรยิงลูกธนูอันแหลม ถือดาบอันคมกล้า ซึ่งขัดแล้ว ด้วยน้ำมัน เมื่อมรณภัยปรากฏเฉพาะหน้าแล้ว เหตุไฉนหนอ ท่านจึง ไม่มีความครั่นคร้าม.
ตอบ เมื่อเราเห็นพวกโจรยิงลูกธนูอันแหลม ถือดาบอันคมกล้า ซึ่งขัดแล้ว ด้วยน้ำมัน เมื่อมรณภัยปรากฏเฉพาะหน้าแล้ว เรากลับได้ความยินดี และโสมนัสมากยิ่ง.
เรานั้นเกิดความยินดีและโสมนัสแล้ว ก็ครอบงำศัตรูทั้งหลายเสียได้ เพราะว่า ชีวิตของเราๆ ได้สละมาแต่ก่อนแล้ว เราไม่ได้ทำความอาลัยในชีวิต บุคคลผู้กล้าหาญพึงกระทำกิจของคนกล้า ในกาลบางคราว. "
ในมิลินทปัญหา พระพุทธเจ้าเสวยชาติเป็นพระนาคเสน ตอบพระเจ้ามิมิลินท์ว่า
หากบุคคล ขาดคุณสมบัติที่ดี ไร้ความสามารถ ไร้ศีลธรรมจรรยา ไม่เหมาะสม ได้ขึ้นบัลลังก์มาเป็นใหญ่ มีอำนาจมากเพียงใด เขาจะถูกฉีกเนื้อ และลงฑัณฑ์โดยประชาชน เพราะเขามิได้ขึ้นมาและมิได้อยู่ในอำนาจด้วยความชอบธรรม ผู้ปกครองเยี่ยงนี้ เหมือนผู้ปกครองทั้งหลายที่ฝ่าฝืน ทำลายศีลธรรมจรรยา และกฏเกณฑ์ของสังคม ก็จะถูกประชาทัณฑ์ เยี่ยงเดียวกัน โดยพาะอย่างยิ่ง ผู้ปกครองที่ประพฤติตนเหมือนโจรปล้นสมบัติของแผ่นดิน
พระพุทธองค์ทรงเปรียบผู้ปกครองว่า คนพาลผู้สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต ปกครองหมู่คณะ ตกอยู่ในอำนาจจิต ของตนแล้ว พึงนอนตาย เหมือนลิงจ่าฝูง นอนตายอยู่ ฉะนั้น
ผมขอจบด้วยฉากอันระทึก ใน ปลายิชาดก: ว่าด้วยขับไล่ศัตรูแบบสายฟ้าแลบ ดังนี้
เมืองตักกสิลาถูกเขาล้อมไว้ทุกด้านแล้ว ด้วยกองพลช้างตัวประเสริฐ ซึ่งร้องคำรณอยู่ด้านหนึ่ง ด้วยกองพลม้าตัวประเสริฐ ซึ่งคลุมมาลาเครื่อง ครบอยู่ด้านหนึ่ง ด้วยกองพลรถ ดุจคลื่นในมหาสมุทรอันยังฝนคือ ลูกศรให้ตกลงด้านหนึ่ง ด้วยกองพลเดินเท้า ถือธนูมั่นมีฝีมือยิงแม่นอยู่ ด้านหนึ่ง. ท่านทั้งหลายจงรีบรุกเข้าไป และจงรีบบุกเข้าไป จงไสช้างให้หนุนเนื่อง กันเข้าไปเลย จงโห่ร้องให้สนั่นหวั่นไหวในวันนี้ ดุจสายฟ้าอันซ่าน ออกจากกลีบเมฆคำรณอยู่ ฉะนั้น
ธงสำหรับรถของเรามีมากมาย พลพาหนะของเราก็นับไม่ถ้วนแสนยาก ที่ศัตรูจะหาญหักเข้าสู้รบได้ ดุจสาครยากที่ฝูงกาจะบินข้ามให้ถึงฝั่งได้ ฉะนั้น อนึ่ง กองพลของเรานี้ยากที่กองพลอื่นจะหาญเข้าตีหักได้ดุจภูเขา อันลมไม่อาจให้ไหวได้ ฉะนั้น วันนี้ เราประกอบด้วยกองพลเท่านี้ อันกอง พลเช่นนั้นยากที่ศัตรูจะหาญหักเข้ารุกรานได้
ท่านผู้อ่านอย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่า กองทัพอันเกรียงไกรข้างต้นนั้นจะกำชัย เพราะนั่น เป็นกองทัพของรัฐบาลอธรรม
กองทัพที่จะกำชัยคือของทัพธรรมของพระพุทธที่เสวยชาติมาปราบยุคเข็ญต่างหาก พระองค์ตรัสว่า
คนเช่นท่านอย่าพูดเพ้อถึงความที่ตนเป็นคนโง่เขลาไปเลย คนเช่นท่านจะเรียกว่า ผู้สามารถไม่ได้ ท่านถูกความเร่าร้อน คือ ราคะ โทสะ โมหะ และมานะ เผารนอยู่เสมอ ไม่อาจจะกำจัดเราได้เลย จะต้องหนีเราไป กองพล ของเราจักย่ำยีท่านหมดทั้งกองพล ดุจช้างเมามันขยี้ไม้อ้อด้วยเท้า ฉะนั้น.
ท่านที่สนใจโปรดอ่านพระอรรถกถาเอาเอง เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
การล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมในทฤษฎีสัญญาประชาคม
โพสต์ที่ 3
ความชอบธรรมทางการเมือง
โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
ถ้าเราอธิบายความเสื่อมความนิยมของรัฐบาลชุดนี้ว่า "ขาลง" ก็เป็นเพียงปรากฏการณ์ชั่วคราว ซึ่งเมกะโปรเจ็คต์, ประชานิยมลดแลกแจกแถม, เปลี่ยนที่ประชุมพรรค, เปลี่ยนท่าที, ฯลฯ อาจกู้สถานการณ์ให้กลับเป็น "ขาขึ้น" ได้
แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้ามองความเสื่อมความนิยมว่ามาจากเหตุที่ฝังอยู่ใน"ระบบทักษิณ" นั่นก็ไม่ใช่ปรากฏการณ์ชั่วคราว และยากมากที่จะกู้สถานการณ์ได้ เพราะการแก้ระบบทำไม่ได้ง่ายเหมือนการแก้คน (ซึ่งไล่ออกเสียก็ได้ หรือแม้แต่"ตัดตอน"เสียก็ได้)
เพื่อความยุติธรรม ควรกล่าวไว้ด้วยว่า แม้เป็น"ระบบทักษิณ" ก็ไม่ได้มาจากคุณทักษิณ ชินวัตรคนเดียว แต่ที่จริงแล้วมีรากอยู่ในหมู่นักการเมืองไทย, ปัญญาชนไทย, และสังคมไทยโดยรวมอยู่ด้วย ไม่อย่างนั้นคุณทักษิณจะได้รับเลือกตั้งมาด้วยคะแนนเสียงท่วมท้นเช่นนี้ได้อย่างไร
"ระบบทักษิณ"แสวงหาความชอบธรรมทางการเมืองจากความสำเร็จทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า "ระบบทักษิณ"ไม่สนใจความชอบธรรมทางการเมืองเสียเลย ไม่มีระบบปกครองที่ไหนในโลกที่ไม่ใส่ใจต่อความชอบธรรมทางการเมืองเลย แม้แต่สฤษดิ์ ธนะรัชต์ก็ยังต้องอ้างการคุกคามของคอมมิวนิสต์ และความไร้สมรรถภาพของรัฐบาลเก่าเพื่อเถลิงอำนาจ เพียงแต่ว่า"ระบบทักษิณ"ให้ความสำคัญแก่ความชอบธรรมทางการเมืองเฉพาะความหมายตามตัวอักษรในกฎหมายเท่านั้น เช่นคะแนนเสียงในสภา, คำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ, คำวินิจฉัยของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน, ลายเซ็นของสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
ต่ความชอบธรรมทางการเมืองในทุกสังคมมีความหมายเกินตัวอักษรเสมอ เพราะตัวอักษรในกฎหมายไม่สามารถประกันความบริสุทธิ์ใจ, ความซื่อตรง, ความยุติธรรม, ความมีประสิทธิภาพ, ความเมตตากรุณา, มนุษยธรรม ฯลฯ ได้ ปราศจากสิ่งเหล่านี้ ความไว้วางใจจากสาธารณชนก็เกิดขึ้นไม่ได้ และจะหาฐานของอำนาจปกครองอะไรที่สำคัญไปกว่าความไว้วางใจได้เล่า เพราะไม่มีอะไรที่จะทดแทนได้เลย
"ระบบทักษิณ"คิดว่า ความสำเร็จทางเศรษฐกิจจะสามารถทดแทนความไว้วางใจได้ พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความชอบธรรมทางการเมืองที่ลึกเกินกว่าตัวอักษรในกฎหมาย ไม่จำเป็น ตราบเท่าที่สามารถทำให้ประชาชนเชื่อว่ามีความสำเร็จทางเศรษฐกิจ
และด้วยเหตุดังนั้น ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลทักษิณจึงถูกกล่าวหาในเรื่องความชอบธรรมทางการเมืองของตัวตลอดมา เริ่มตั้งแต่การปราบปรามยาเสพติดด้วยวิธีตัดตอน, การปิดบังการระบาดของไข้หวัดนก, การออกพระราชกำหนดที่เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจของบางบริษัท, การสร้างพันธะทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศโดยไม่ผ่านกระบวนการตรวจสอบและมีส่วนร่วม, การแทรกแซงองค์กรอิสระ, การใช้หน่วยงานของรัฐเช่น ปปง.หรือกรมสรรพากรคุกคามศัตรูทางการเมือง, การใช้วิธีการอุ้มฆ่า ฯลฯ
รัฐบาลทักษิณไม่ใส่ใจที่จะแก้ข้อกล่าวหาเหล่านี้ด้วยความโปร่งใส (ตรวจสอบได้) ยังคงยึดติดอยู่กับความชอบธรรมทางการเมืองตามอักษรอยู่อย่างเดียว (คะแนนเสียงในสภา หรือประชาชน 19 ล้านคน)
สิ่งที่น่าคิดก็คือ ความไม่ชอบธรรมทางการเมืองซึ่งอยู่นอกตัวอักษรของกฎหมายเหล่านี้ กลับไปกัดกร่อนความชอบธรรมทางการเมืองซึ่งมีตามอักษรของกฎหมาย เช่นคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญก็ตาม คำวินิจฉัยขององค์กรอิสระต่างๆ ก็ตาม ไม่เพิ่มความชอบธรรมทางการเมืองแต่อย่างใดทั้งสิ้น ถ้าสาธารณชนเชื่อเสียแล้วว่าองค์กรเหล่านั้นเป็นเพียงลิ่วล้อที่ทำตามคำสั่งของรัฐบาล หรือถูก"ซื้อ"ไปเสียแล้ว
วุฒิสภาซึ่งประชาชนเชื่อว่ากว่าครึ่งเป็นเพียงลูกสมุน จะทำให้ตั้วเหี่ยมีความชอบธรรมขึ้นได้อย่างไร
ฉะนั้นในระยะยาว ความไม่ชอบธรรมทางการเมืองจึงกัดกินความชอบธรรมซึ่งมีอยู่น้อยนิดให้หมดไปด้วย
แม้แต่ความสำเร็จทางเศรษฐกิจ (ไม่ว่าจะมีจริงหรือไม่) ก็ไม่อาจช่วยเพิ่มความชอบธรรมทางการเมืองได้ น่าประหลาดที่เราได้พบความย้อนยอก (paradox) ในเรื่องนี้อยู่เสมอ นั่นก็คือเมื่อคนมีเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น แทนที่เขาจะพอใจ เขากลับอยากทำให้เงินนั้นมีเพิ่มมากขึ้นไปอีก จึงเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพที่จะใช้เงินนั้นทำอะไรต่างๆ ที่จะเป็นหนทางให้เงินงอกมากขึ้น ถ้าไม่ได้อย่างที่เรียกร้อง ความพอใจที่มีเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้นกลับหายไปอย่างรวดเร็ว
นั่นคือเหตุผลที่นักธุรกิจจำนวนมาก ซึ่งเคยพอใจรัฐบาลนี้ที่ทำให้เขาเชื่อว่าได้เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์แล้ว กลับเอือมระอากับรัฐบาลชุดเดียวกัน เพราะเขาคิดว่าเขาขาดโอกาสทางธุรกิจที่เท่าเทียมกับบริษัทที่มีสายสัมพันธ์ทางการเมืองกับรัฐบาล
อย่างน้อยในคนกลุ่มนี้ ความสำเร็จทางเศรษฐกิจ (ไม่ว่าจะมีจริงหรือไม่) ไม่อาจทดแทนความชอบธรรมทางการเมืองได้อย่างถาวร
น่าประหลาดที่แม้แต่เงินในกระเป๋าของประชาชนระดับรากหญ้า ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นจากนโยบายประชานิยมในช่วงหนึ่ง ก็ไม่อาจทดแทนความชอบธรรมทางการเมืองที่ขาดหายไปได้ มีงานวิจัย(ที่น่าเชื่อถือกว่างานวิจัยซึ่งทำตามคำสั่งรัฐบาล) ที่ชี้ให้เห็นว่า โครงการประชานิยมบางโครงการ กลับไปต่อยอดให้กับคนที่พอมีกำลังอยู่แล้ว ไม่ได้เพิ่มกำลังให้แก่คนสิ้นไร้ไม้ตอกในระดับรากหญ้า ฉะนั้นในระยะยาว โครงการประชานิยมจึงกลับเพิ่มจำนวนของคนในวงจรผู้เรียกร้องสิทธิเสรีภาพหรือความชอบธรรมทางการเมือง เหมือนนักธุรกิจที่กล่าวข้างต้น
อันที่จริงจะตราเป็นหลักไปเลยยังได้ว่า ความสำเร็จทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวไม่อาจทดแทนความชอบธรรมทางการเมืองได้อย่างถาวร ไม่ว่าที่ไหนในโลก ถ้าสฤษดิ์ ธนะรัชต์ต้องเผชิญกับสื่ออิสระ แม้เพียงครึ่งเดียวของที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน ระบอบสฤษดิ์จะทนอยู่ได้ถึง 2 ปีละหรือ ความชอบธรรมทางการเมืองของระบอบเยี่ยงนั้น ดำรงอยู่ได้ด้วยการกดขี่และการปิดหูปิดตาปิดปากผู้คน ซึ่งในตัวของมันเองยิ่งทำลายความชอบธรรมทางการเมืองซึ่งแทบจะไม่มีอยู่แล้วให้สูญสิ้นไปโดยสิ้นเชิง จนในที่สุด ก็ไม่อาจทำให้รัฐบาลแตกต่างไปจากแก๊งโจรได้ ความชอบธรรมทางการเมืองกลับตกไปอยู่กับฝ่ายต่อต้าน ไม่ว่าจะด้วยวิธีใช้หรือไม่ใช้ความรุนแรง
นอกจากนี้ ความสำเร็จทางเศรษฐกิจที่พอจะยับยั้งการเรียกร้องความชอบธรรมทางการเมืองได้บ้าง จะต้องกระจายความสำเร็จนั้นให้ทั่วถึงพอสมควร เงินที่ประเทศได้เพิ่มขึ้นต้องไม่กระจุกอยู่กับคนจำนวนน้อย แต่กระจายไปถึงคนทั่วไป และอย่างสม่ำเสมอด้วย ดังที่ทำได้ในสิงคโปร์มาหลายทศวรรษ มิฉะนั้นก็จะเกิดเทียน อัน เหมิน ซึ่งถึงแม้ปราบปรามได้ด้วยวิธีนองเลือด ก็จะกระจายออกไปเป็นหลากหลายลักษณะและเงื่อนปม ซึ่งไม่มีทางระงับได้เลย และไม่มีใครรู้ว่าจะลงเอยอย่างไร
ความชอบธรรมทางการเมืองที่อยู่นอกตัวอักษรของกฎหมายนั้น เป็นทรัพยากรที่ต้องสั่งสม ยิ่งมีมากก็ยิ่งสั่งสมได้เร็ว และในทางตรงกันข้าม ยิ่งมีน้อยก็ยิ่งสั่งสมได้ยาก ไม่ว่าใครจะลืออะไรในทางร้ายแก่รัฐบาล ทุกคนก็พร้อมจะเชื่อทันที จะแก้ข่าวลือเหล่านี้โดยปราศจากความชอบธรรมทางการเมืองได้อย่างไร ยิ่งแก้อาจยิ่งทำให้คนเชื่อข่าวลือมากขึ้น ยิ่งเชื่อมากก็ยิ่งลือง่าย
"ระบบทักษิณ" เพราะเป็น"ระบบ"จึงยากมากที่จะพลิกเอาความชอบธรรมทางการเมืองขึ้นมาเป็นสิ่งสำคัญเหนืออื่นใด ไม่ว่าคุณทักษิณในฐานะผู้นำจะเปลี่ยนตัวเองสักเพียงใดก็ตาม เพราะอะไรและใครอื่นๆ อีกมากที่ไม่อาจปรับเปลี่ยนได้ชั่วข้ามคืนอย่างนั้น ความเสื่อมความนิยมจึงเป็นสิ่งที่ประกอบมาใน"ระบบ"มาแต่ต้น ทั้งหมดเป็น"ยถา ตทา" เป็นมาอย่างไร ก็เป็นไปอย่างนั้น
อย่างไรก็ตาม ดังที่กล่าวแล้วว่า การยกย่องความสำเร็จทางเศรษฐกิจไว้เหนือความชอบธรรมทางการเมืองนั้น ไม่ได้เป็นของคุณทักษิณ ชินวัตรเพียงคนเดียว แต่มีรากฐานอยู่กับวัฒนธรรมไทย(ร่วมสมัย)อยู่ด้วย อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จทางเศรษฐกิจต้องเป็นสิ่งที่คนทั่วไปสัมผัสได้ ไม่ใช่เพียงตัวเลข(ที่อาจปั้นแต่งได้)ของหน่วยงานรัฐ และไม่ได้หมายความว่า หลับตาสนิทให้แก่การกระทำที่ฝืนความรู้สึกของคนไทยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการลุแก่อำนาจ การทุจริตที่โจ่งแจ้งเกินไป (คนไทยอาจไม่รังเกียจการทุจริตของอำนาจ แต่ชอบให้ทำแบบกระมิดกระเมี้ยนสักหน่อย) การละเมิดสิ่งที่คนไทยถือว่าศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ
ฉะนั้น ถ้ามีการเลือกตั้งทั่วไปในวันนี้ คุณทักษิณจึงอาจได้รับเลือกกลับเข้ามาด้วยคะแนนเสียงข้างมากก็ได้ เพราะ"ระบบทักษิณ"มีฐานทางวัฒนธรรมรองรับอยู่บ้าง แต่ไม่ว่าจะมีที่นั่งเท่าไรในสภา ไม่ว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่หรือไม่ บรรยากาศการบริหารของรัฐบาลทักษิณจะไม่สะดวกดายอย่างที่เคยเป็นมาอีกแล้ว เพราะขาดความชอบธรรมทางการเมืองเพียงพอที่จะสยบแก๊งก๊วนในพรรคไทยรักไทย สยบสื่อ สยบสังคม ฯลฯ แม้แต่วิธีอันธพาลก็จะไม่ใช่วิธีที่สังคมยอมหลับตาปิดปากอีกต่อไป ในขณะที่หนูทั้งที่เป็นนักการเมืองและข้าราชการพ่อค้า ต่างเตรียมตัวกระโดดลงทะเลก่อนเรือจะอับปาง
ภาระทางการเมืองดังกล่าวจะเพิ่มน้ำหนักมากขึ้นไปเรื่อยๆ เหมือนกับที่เคยทำให้รัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมทางการเมืองทรุดไปหลายแห่งแล้วทั่วโลก
โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
ถ้าเราอธิบายความเสื่อมความนิยมของรัฐบาลชุดนี้ว่า "ขาลง" ก็เป็นเพียงปรากฏการณ์ชั่วคราว ซึ่งเมกะโปรเจ็คต์, ประชานิยมลดแลกแจกแถม, เปลี่ยนที่ประชุมพรรค, เปลี่ยนท่าที, ฯลฯ อาจกู้สถานการณ์ให้กลับเป็น "ขาขึ้น" ได้
แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้ามองความเสื่อมความนิยมว่ามาจากเหตุที่ฝังอยู่ใน"ระบบทักษิณ" นั่นก็ไม่ใช่ปรากฏการณ์ชั่วคราว และยากมากที่จะกู้สถานการณ์ได้ เพราะการแก้ระบบทำไม่ได้ง่ายเหมือนการแก้คน (ซึ่งไล่ออกเสียก็ได้ หรือแม้แต่"ตัดตอน"เสียก็ได้)
เพื่อความยุติธรรม ควรกล่าวไว้ด้วยว่า แม้เป็น"ระบบทักษิณ" ก็ไม่ได้มาจากคุณทักษิณ ชินวัตรคนเดียว แต่ที่จริงแล้วมีรากอยู่ในหมู่นักการเมืองไทย, ปัญญาชนไทย, และสังคมไทยโดยรวมอยู่ด้วย ไม่อย่างนั้นคุณทักษิณจะได้รับเลือกตั้งมาด้วยคะแนนเสียงท่วมท้นเช่นนี้ได้อย่างไร
"ระบบทักษิณ"แสวงหาความชอบธรรมทางการเมืองจากความสำเร็จทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า "ระบบทักษิณ"ไม่สนใจความชอบธรรมทางการเมืองเสียเลย ไม่มีระบบปกครองที่ไหนในโลกที่ไม่ใส่ใจต่อความชอบธรรมทางการเมืองเลย แม้แต่สฤษดิ์ ธนะรัชต์ก็ยังต้องอ้างการคุกคามของคอมมิวนิสต์ และความไร้สมรรถภาพของรัฐบาลเก่าเพื่อเถลิงอำนาจ เพียงแต่ว่า"ระบบทักษิณ"ให้ความสำคัญแก่ความชอบธรรมทางการเมืองเฉพาะความหมายตามตัวอักษรในกฎหมายเท่านั้น เช่นคะแนนเสียงในสภา, คำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ, คำวินิจฉัยของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน, ลายเซ็นของสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
ต่ความชอบธรรมทางการเมืองในทุกสังคมมีความหมายเกินตัวอักษรเสมอ เพราะตัวอักษรในกฎหมายไม่สามารถประกันความบริสุทธิ์ใจ, ความซื่อตรง, ความยุติธรรม, ความมีประสิทธิภาพ, ความเมตตากรุณา, มนุษยธรรม ฯลฯ ได้ ปราศจากสิ่งเหล่านี้ ความไว้วางใจจากสาธารณชนก็เกิดขึ้นไม่ได้ และจะหาฐานของอำนาจปกครองอะไรที่สำคัญไปกว่าความไว้วางใจได้เล่า เพราะไม่มีอะไรที่จะทดแทนได้เลย
"ระบบทักษิณ"คิดว่า ความสำเร็จทางเศรษฐกิจจะสามารถทดแทนความไว้วางใจได้ พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความชอบธรรมทางการเมืองที่ลึกเกินกว่าตัวอักษรในกฎหมาย ไม่จำเป็น ตราบเท่าที่สามารถทำให้ประชาชนเชื่อว่ามีความสำเร็จทางเศรษฐกิจ
และด้วยเหตุดังนั้น ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลทักษิณจึงถูกกล่าวหาในเรื่องความชอบธรรมทางการเมืองของตัวตลอดมา เริ่มตั้งแต่การปราบปรามยาเสพติดด้วยวิธีตัดตอน, การปิดบังการระบาดของไข้หวัดนก, การออกพระราชกำหนดที่เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจของบางบริษัท, การสร้างพันธะทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศโดยไม่ผ่านกระบวนการตรวจสอบและมีส่วนร่วม, การแทรกแซงองค์กรอิสระ, การใช้หน่วยงานของรัฐเช่น ปปง.หรือกรมสรรพากรคุกคามศัตรูทางการเมือง, การใช้วิธีการอุ้มฆ่า ฯลฯ
รัฐบาลทักษิณไม่ใส่ใจที่จะแก้ข้อกล่าวหาเหล่านี้ด้วยความโปร่งใส (ตรวจสอบได้) ยังคงยึดติดอยู่กับความชอบธรรมทางการเมืองตามอักษรอยู่อย่างเดียว (คะแนนเสียงในสภา หรือประชาชน 19 ล้านคน)
สิ่งที่น่าคิดก็คือ ความไม่ชอบธรรมทางการเมืองซึ่งอยู่นอกตัวอักษรของกฎหมายเหล่านี้ กลับไปกัดกร่อนความชอบธรรมทางการเมืองซึ่งมีตามอักษรของกฎหมาย เช่นคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญก็ตาม คำวินิจฉัยขององค์กรอิสระต่างๆ ก็ตาม ไม่เพิ่มความชอบธรรมทางการเมืองแต่อย่างใดทั้งสิ้น ถ้าสาธารณชนเชื่อเสียแล้วว่าองค์กรเหล่านั้นเป็นเพียงลิ่วล้อที่ทำตามคำสั่งของรัฐบาล หรือถูก"ซื้อ"ไปเสียแล้ว
วุฒิสภาซึ่งประชาชนเชื่อว่ากว่าครึ่งเป็นเพียงลูกสมุน จะทำให้ตั้วเหี่ยมีความชอบธรรมขึ้นได้อย่างไร
ฉะนั้นในระยะยาว ความไม่ชอบธรรมทางการเมืองจึงกัดกินความชอบธรรมซึ่งมีอยู่น้อยนิดให้หมดไปด้วย
แม้แต่ความสำเร็จทางเศรษฐกิจ (ไม่ว่าจะมีจริงหรือไม่) ก็ไม่อาจช่วยเพิ่มความชอบธรรมทางการเมืองได้ น่าประหลาดที่เราได้พบความย้อนยอก (paradox) ในเรื่องนี้อยู่เสมอ นั่นก็คือเมื่อคนมีเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น แทนที่เขาจะพอใจ เขากลับอยากทำให้เงินนั้นมีเพิ่มมากขึ้นไปอีก จึงเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพที่จะใช้เงินนั้นทำอะไรต่างๆ ที่จะเป็นหนทางให้เงินงอกมากขึ้น ถ้าไม่ได้อย่างที่เรียกร้อง ความพอใจที่มีเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้นกลับหายไปอย่างรวดเร็ว
นั่นคือเหตุผลที่นักธุรกิจจำนวนมาก ซึ่งเคยพอใจรัฐบาลนี้ที่ทำให้เขาเชื่อว่าได้เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์แล้ว กลับเอือมระอากับรัฐบาลชุดเดียวกัน เพราะเขาคิดว่าเขาขาดโอกาสทางธุรกิจที่เท่าเทียมกับบริษัทที่มีสายสัมพันธ์ทางการเมืองกับรัฐบาล
อย่างน้อยในคนกลุ่มนี้ ความสำเร็จทางเศรษฐกิจ (ไม่ว่าจะมีจริงหรือไม่) ไม่อาจทดแทนความชอบธรรมทางการเมืองได้อย่างถาวร
น่าประหลาดที่แม้แต่เงินในกระเป๋าของประชาชนระดับรากหญ้า ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นจากนโยบายประชานิยมในช่วงหนึ่ง ก็ไม่อาจทดแทนความชอบธรรมทางการเมืองที่ขาดหายไปได้ มีงานวิจัย(ที่น่าเชื่อถือกว่างานวิจัยซึ่งทำตามคำสั่งรัฐบาล) ที่ชี้ให้เห็นว่า โครงการประชานิยมบางโครงการ กลับไปต่อยอดให้กับคนที่พอมีกำลังอยู่แล้ว ไม่ได้เพิ่มกำลังให้แก่คนสิ้นไร้ไม้ตอกในระดับรากหญ้า ฉะนั้นในระยะยาว โครงการประชานิยมจึงกลับเพิ่มจำนวนของคนในวงจรผู้เรียกร้องสิทธิเสรีภาพหรือความชอบธรรมทางการเมือง เหมือนนักธุรกิจที่กล่าวข้างต้น
อันที่จริงจะตราเป็นหลักไปเลยยังได้ว่า ความสำเร็จทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวไม่อาจทดแทนความชอบธรรมทางการเมืองได้อย่างถาวร ไม่ว่าที่ไหนในโลก ถ้าสฤษดิ์ ธนะรัชต์ต้องเผชิญกับสื่ออิสระ แม้เพียงครึ่งเดียวของที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน ระบอบสฤษดิ์จะทนอยู่ได้ถึง 2 ปีละหรือ ความชอบธรรมทางการเมืองของระบอบเยี่ยงนั้น ดำรงอยู่ได้ด้วยการกดขี่และการปิดหูปิดตาปิดปากผู้คน ซึ่งในตัวของมันเองยิ่งทำลายความชอบธรรมทางการเมืองซึ่งแทบจะไม่มีอยู่แล้วให้สูญสิ้นไปโดยสิ้นเชิง จนในที่สุด ก็ไม่อาจทำให้รัฐบาลแตกต่างไปจากแก๊งโจรได้ ความชอบธรรมทางการเมืองกลับตกไปอยู่กับฝ่ายต่อต้าน ไม่ว่าจะด้วยวิธีใช้หรือไม่ใช้ความรุนแรง
นอกจากนี้ ความสำเร็จทางเศรษฐกิจที่พอจะยับยั้งการเรียกร้องความชอบธรรมทางการเมืองได้บ้าง จะต้องกระจายความสำเร็จนั้นให้ทั่วถึงพอสมควร เงินที่ประเทศได้เพิ่มขึ้นต้องไม่กระจุกอยู่กับคนจำนวนน้อย แต่กระจายไปถึงคนทั่วไป และอย่างสม่ำเสมอด้วย ดังที่ทำได้ในสิงคโปร์มาหลายทศวรรษ มิฉะนั้นก็จะเกิดเทียน อัน เหมิน ซึ่งถึงแม้ปราบปรามได้ด้วยวิธีนองเลือด ก็จะกระจายออกไปเป็นหลากหลายลักษณะและเงื่อนปม ซึ่งไม่มีทางระงับได้เลย และไม่มีใครรู้ว่าจะลงเอยอย่างไร
ความชอบธรรมทางการเมืองที่อยู่นอกตัวอักษรของกฎหมายนั้น เป็นทรัพยากรที่ต้องสั่งสม ยิ่งมีมากก็ยิ่งสั่งสมได้เร็ว และในทางตรงกันข้าม ยิ่งมีน้อยก็ยิ่งสั่งสมได้ยาก ไม่ว่าใครจะลืออะไรในทางร้ายแก่รัฐบาล ทุกคนก็พร้อมจะเชื่อทันที จะแก้ข่าวลือเหล่านี้โดยปราศจากความชอบธรรมทางการเมืองได้อย่างไร ยิ่งแก้อาจยิ่งทำให้คนเชื่อข่าวลือมากขึ้น ยิ่งเชื่อมากก็ยิ่งลือง่าย
"ระบบทักษิณ" เพราะเป็น"ระบบ"จึงยากมากที่จะพลิกเอาความชอบธรรมทางการเมืองขึ้นมาเป็นสิ่งสำคัญเหนืออื่นใด ไม่ว่าคุณทักษิณในฐานะผู้นำจะเปลี่ยนตัวเองสักเพียงใดก็ตาม เพราะอะไรและใครอื่นๆ อีกมากที่ไม่อาจปรับเปลี่ยนได้ชั่วข้ามคืนอย่างนั้น ความเสื่อมความนิยมจึงเป็นสิ่งที่ประกอบมาใน"ระบบ"มาแต่ต้น ทั้งหมดเป็น"ยถา ตทา" เป็นมาอย่างไร ก็เป็นไปอย่างนั้น
อย่างไรก็ตาม ดังที่กล่าวแล้วว่า การยกย่องความสำเร็จทางเศรษฐกิจไว้เหนือความชอบธรรมทางการเมืองนั้น ไม่ได้เป็นของคุณทักษิณ ชินวัตรเพียงคนเดียว แต่มีรากฐานอยู่กับวัฒนธรรมไทย(ร่วมสมัย)อยู่ด้วย อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จทางเศรษฐกิจต้องเป็นสิ่งที่คนทั่วไปสัมผัสได้ ไม่ใช่เพียงตัวเลข(ที่อาจปั้นแต่งได้)ของหน่วยงานรัฐ และไม่ได้หมายความว่า หลับตาสนิทให้แก่การกระทำที่ฝืนความรู้สึกของคนไทยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการลุแก่อำนาจ การทุจริตที่โจ่งแจ้งเกินไป (คนไทยอาจไม่รังเกียจการทุจริตของอำนาจ แต่ชอบให้ทำแบบกระมิดกระเมี้ยนสักหน่อย) การละเมิดสิ่งที่คนไทยถือว่าศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ
ฉะนั้น ถ้ามีการเลือกตั้งทั่วไปในวันนี้ คุณทักษิณจึงอาจได้รับเลือกกลับเข้ามาด้วยคะแนนเสียงข้างมากก็ได้ เพราะ"ระบบทักษิณ"มีฐานทางวัฒนธรรมรองรับอยู่บ้าง แต่ไม่ว่าจะมีที่นั่งเท่าไรในสภา ไม่ว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่หรือไม่ บรรยากาศการบริหารของรัฐบาลทักษิณจะไม่สะดวกดายอย่างที่เคยเป็นมาอีกแล้ว เพราะขาดความชอบธรรมทางการเมืองเพียงพอที่จะสยบแก๊งก๊วนในพรรคไทยรักไทย สยบสื่อ สยบสังคม ฯลฯ แม้แต่วิธีอันธพาลก็จะไม่ใช่วิธีที่สังคมยอมหลับตาปิดปากอีกต่อไป ในขณะที่หนูทั้งที่เป็นนักการเมืองและข้าราชการพ่อค้า ต่างเตรียมตัวกระโดดลงทะเลก่อนเรือจะอับปาง
ภาระทางการเมืองดังกล่าวจะเพิ่มน้ำหนักมากขึ้นไปเรื่อยๆ เหมือนกับที่เคยทำให้รัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมทางการเมืองทรุดไปหลายแห่งแล้วทั่วโลก
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
การล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมในทฤษฎีสัญญาประชาคม
โพสต์ที่ 4
จอห์น ล็อค กับสิทธิในการปราบรัฐบาลที่เป็นขบถ
โดย สมบัติ จันทรวงศ์ 25 ธันวาคม 2548
หลักคำสอนทางการเมืองของจอห์น ล็อค ที่ให้แก่ผู้มีศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย มีอยู่สั้นๆ ว่า รัฐบาลที่ชอบธรรมทั้งปวง มีอำนาจที่จำกัด และดำรงอยู่ได้ด้วยความยินยอม (consent) ของผู้อยู่ใต้ปกครอง รากฐานของคำสอนนี้ คือหลักการที่ว่ามนุษย์เกิดมามีเสรี ซึ่งก็อยู่บนหลักการสากลที่ว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกันอีกทีหนึ่ง หลักการของล็อคที่ว่าด้วยความเป็นอิสระและเสมอภาคกันของมนุษย์นี้ ถูกทำให้แพร่หลายไปทั่วโลกโดยโธมาส เจฟเฟอร์สัน ผู้ร่างคำประกาศอิสรภาพของอเมริกา เมื่อสิบสามอาณานิคมเดิมของอังกฤษ ประกาศตัวเป็นเอกราชจากอังกฤษ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776
เจฟเฟอร์สันกล่าวว่า ความจริงที่ว่า มนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาอย่างเท่าเทียมกันนี้ เป็นความจริงที่ประจักษ์แจ้งในตัวเอง (self-evident truth) ซึ่งหมายถึงว่ามันเป็นจริงโดยตัวเอง และโดยไม่จำเป็นว่าจะต้องมีใครยอมรับว่าเป็นความจริงหรือไม่ ความเสมอภาคนี้ หมายความต่อไปด้วยว่า ระหว่างมนุษย์ด้วยกันแล้ว ไม่มีข้อแตกต่างใดๆ โดยธรรมชาติอย่างที่อาจเห็นได้ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ (เช่น ระหว่างคนกับสุนัข) ที่จะทำให้ใครสักคนหนึ่งอ้างตัวเองว่าเหนือกว่าคนอื่นๆ ได้เลย ความเป็นเสรีและความเสมอภาคของมนุษย์นี้ หมายความว่าแท้จริงแล้ว มนุษย์ไม่ได้อยู่ในสังคมที่มีรัฐบาล ที่มีการปกครอง (สังคมการเมือง) โดยธรรมชาติ สภาพธรรมชาติ (state of nature) เป็นสิ่งที่มีมาก่อนสังคมการเมือง ในสภาพธรรมชาติ ไม่มีกฎหมาย ไม่มีการปกครอง ไม่มีรัฐบาล มีแต่กฎแห่งธรรมชาติ มนุษย์ทุกคนมีความเป็นอิสระ และไม่ขึ้นแก่ใครทั้งสิ้น
มนุษย์มีสิทธิ มีอำนาจโดยธรรมชาติ ที่จะกระทำการใดๆ ก็ตาม ที่ตนเห็นว่าเหมาะสมในการปกปักรักษาตนเองและผู้อื่น และมีสิทธิ มีอำนาจที่จะลงโทษการกระทำผิดใดๆ ตามกฎแห่งธรรมชาติ การแปรเปลี่ยนจากสภาพธรรมชาติ ที่มนุษย์ทุกคนมีความเป็นอิสรเสรี และความเท่าเทียมกัน แต่มีความไม่แน่นอนสูง ไปสู่สังคมการเมืองที่มนุษย์จะถูกปกครองโดยผู้อื่น จึงเกิดขึ้นได้ก็เฉพาะแต่โดยความยินยอมของมนุษย์เท่านั้น สัญญาประชาคม (social contract) คือข้อตกลงที่จะถ่ายโอนอำนาจต่างๆ ที่มนุษย์แต่ละคนมีในสภาพธรรมชาติ ให้ไปอยู่ในมือของสังคมการเมืองแทน ด้วยประสงค์ให้เป็นการแก้ไขความไม่แน่นอนและอันตรายของสภาพธรรมชาติ แต่โดยเหตุที่มนุษย์มีความเป็นอิสรเสรีและเสมอภาคกันโดยธรรมชาติ
ความจริงนี้จึงเป็นตัวกำหนดว่าสังคมการเมือง ดำรงอยู่เพื่อวัตถุประสงค์อะไร และโดยหลักการเดียวกัน ความจริงนี้ก็เป็นตัวกำหนดว่า สิทธิหรืออำนาจอะไรบ้าง ที่มนุษย์อาจถ่ายโอนให้กับสังคมการเมืองไป และสิทธิหรืออำนาจอะไรบ้างที่มนุษย์ไม่อาจยินยอมถ่ายโอนออกไปจากตัวได้ (หรือที่เจฟเฟอร์สันเรียกว่าสิทธิอันมิอาจเพิกถอนได้ (unalienable rights)) เช่น สิทธิในชีวิต เสรีภาพและการแสวงหาความสุข กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ อำนาจที่ยุติธรรมในการปกครอง จะต้องมาจากความยินยอมที่รู้แจ้งเห็นจริง (enlightened consent) จากผู้ที่เข้าใจในความเสมอภาคโดยธรรมชาติอย่างถ่องแท้ การยินยอมให้ผู้ปกครองอย่างฮิตเลอร์มีอำนาจโดยไม่จำกัด ไม่อาจเป็นที่ยอมรับได้ว่าเป็นความยินยอมในความหมายนี้ เพราะฉะนั้น หลักการเรื่องความเสมอภาคกันของมนุษย์ จึงเป็นทั้งตัวกำหนดที่มาของอำนาจอันยุติธรรมของรัฐบาล ว่าต้องมาจากความยินยอม และเป็นทั้งตัวกำหนดว่ารัฐบาลที่ชอบธรรม จะต้องเป็นรัฐบาลที่มีอำนาจจำกัด
โดย สมบัติ จันทรวงศ์ 25 ธันวาคม 2548
หลักคำสอนทางการเมืองของจอห์น ล็อค ที่ให้แก่ผู้มีศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย มีอยู่สั้นๆ ว่า รัฐบาลที่ชอบธรรมทั้งปวง มีอำนาจที่จำกัด และดำรงอยู่ได้ด้วยความยินยอม (consent) ของผู้อยู่ใต้ปกครอง รากฐานของคำสอนนี้ คือหลักการที่ว่ามนุษย์เกิดมามีเสรี ซึ่งก็อยู่บนหลักการสากลที่ว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกันอีกทีหนึ่ง หลักการของล็อคที่ว่าด้วยความเป็นอิสระและเสมอภาคกันของมนุษย์นี้ ถูกทำให้แพร่หลายไปทั่วโลกโดยโธมาส เจฟเฟอร์สัน ผู้ร่างคำประกาศอิสรภาพของอเมริกา เมื่อสิบสามอาณานิคมเดิมของอังกฤษ ประกาศตัวเป็นเอกราชจากอังกฤษ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776
เจฟเฟอร์สันกล่าวว่า ความจริงที่ว่า มนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาอย่างเท่าเทียมกันนี้ เป็นความจริงที่ประจักษ์แจ้งในตัวเอง (self-evident truth) ซึ่งหมายถึงว่ามันเป็นจริงโดยตัวเอง และโดยไม่จำเป็นว่าจะต้องมีใครยอมรับว่าเป็นความจริงหรือไม่ ความเสมอภาคนี้ หมายความต่อไปด้วยว่า ระหว่างมนุษย์ด้วยกันแล้ว ไม่มีข้อแตกต่างใดๆ โดยธรรมชาติอย่างที่อาจเห็นได้ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ (เช่น ระหว่างคนกับสุนัข) ที่จะทำให้ใครสักคนหนึ่งอ้างตัวเองว่าเหนือกว่าคนอื่นๆ ได้เลย ความเป็นเสรีและความเสมอภาคของมนุษย์นี้ หมายความว่าแท้จริงแล้ว มนุษย์ไม่ได้อยู่ในสังคมที่มีรัฐบาล ที่มีการปกครอง (สังคมการเมือง) โดยธรรมชาติ สภาพธรรมชาติ (state of nature) เป็นสิ่งที่มีมาก่อนสังคมการเมือง ในสภาพธรรมชาติ ไม่มีกฎหมาย ไม่มีการปกครอง ไม่มีรัฐบาล มีแต่กฎแห่งธรรมชาติ มนุษย์ทุกคนมีความเป็นอิสระ และไม่ขึ้นแก่ใครทั้งสิ้น
มนุษย์มีสิทธิ มีอำนาจโดยธรรมชาติ ที่จะกระทำการใดๆ ก็ตาม ที่ตนเห็นว่าเหมาะสมในการปกปักรักษาตนเองและผู้อื่น และมีสิทธิ มีอำนาจที่จะลงโทษการกระทำผิดใดๆ ตามกฎแห่งธรรมชาติ การแปรเปลี่ยนจากสภาพธรรมชาติ ที่มนุษย์ทุกคนมีความเป็นอิสรเสรี และความเท่าเทียมกัน แต่มีความไม่แน่นอนสูง ไปสู่สังคมการเมืองที่มนุษย์จะถูกปกครองโดยผู้อื่น จึงเกิดขึ้นได้ก็เฉพาะแต่โดยความยินยอมของมนุษย์เท่านั้น สัญญาประชาคม (social contract) คือข้อตกลงที่จะถ่ายโอนอำนาจต่างๆ ที่มนุษย์แต่ละคนมีในสภาพธรรมชาติ ให้ไปอยู่ในมือของสังคมการเมืองแทน ด้วยประสงค์ให้เป็นการแก้ไขความไม่แน่นอนและอันตรายของสภาพธรรมชาติ แต่โดยเหตุที่มนุษย์มีความเป็นอิสรเสรีและเสมอภาคกันโดยธรรมชาติ
ความจริงนี้จึงเป็นตัวกำหนดว่าสังคมการเมือง ดำรงอยู่เพื่อวัตถุประสงค์อะไร และโดยหลักการเดียวกัน ความจริงนี้ก็เป็นตัวกำหนดว่า สิทธิหรืออำนาจอะไรบ้าง ที่มนุษย์อาจถ่ายโอนให้กับสังคมการเมืองไป และสิทธิหรืออำนาจอะไรบ้างที่มนุษย์ไม่อาจยินยอมถ่ายโอนออกไปจากตัวได้ (หรือที่เจฟเฟอร์สันเรียกว่าสิทธิอันมิอาจเพิกถอนได้ (unalienable rights)) เช่น สิทธิในชีวิต เสรีภาพและการแสวงหาความสุข กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ อำนาจที่ยุติธรรมในการปกครอง จะต้องมาจากความยินยอมที่รู้แจ้งเห็นจริง (enlightened consent) จากผู้ที่เข้าใจในความเสมอภาคโดยธรรมชาติอย่างถ่องแท้ การยินยอมให้ผู้ปกครองอย่างฮิตเลอร์มีอำนาจโดยไม่จำกัด ไม่อาจเป็นที่ยอมรับได้ว่าเป็นความยินยอมในความหมายนี้ เพราะฉะนั้น หลักการเรื่องความเสมอภาคกันของมนุษย์ จึงเป็นทั้งตัวกำหนดที่มาของอำนาจอันยุติธรรมของรัฐบาล ว่าต้องมาจากความยินยอม และเป็นทั้งตัวกำหนดว่ารัฐบาลที่ชอบธรรม จะต้องเป็นรัฐบาลที่มีอำนาจจำกัด
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
การล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมในทฤษฎีสัญญาประชาคม
โพสต์ที่ 5
ในทางทฤษฎี การตกลงกันในหมู่มนุษย์ ให้เกิดสังคมการเมือง (เมื่อมนุษย์ออกจากสภาพธรรมชาติ) ย่อมเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการจัดตั้งรัฐบาลที่ชอบธรรม โดยความยินยอมของพลเมือง แต่ในขณะที่การก่อเกิดสังคมการเมืองโดยสัญญาประชาคม ต้องเป็นไปโดยเอกฉันท์ การก่อตั้งรัฐบาล การดำเนินงานต่างๆ ของรัฐบาล ย่อมไม่อาจอาศัยความเป็นเอกฉันท์ได้ เสียงข้างมากในสังคมจึงเป็นผู้ปกครองที่ชอบธรรม ล็อคแยกแยะอย่างชัดเจนระหว่างอำนาจทางการเมืองที่ต้องถือว่ามีอำนาจสูงสุด คือฝ่ายนิติบัญญัติ กับรัฐบาล หรือฝ่ายบริหารที่เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ซึ่งต้องปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย (trust) มาเท่านั้น
ล็อคยอมรับว่า บางครั้ง ในฐานะที่เป็นฝ่ายบริหาร รัฐบาลอาจต้องดำเนินการเหนือกฎหมายหรือนอกกฎหมาย เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหาร ในสภาวะเช่นว่า ลักษณะภายนอกของทรราชและเจ้าผู้ปกครองที่ดี อาจไม่แตกต่างกัน แต่ในขณะที่ทรราชปกครองเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง เจ้าผู้ปกครองที่ดีจะกระทำการเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า ประชาชนจะบอกได้อย่างไรว่า เมื่อใดที่ผู้ปกครองของพวกเขา ปกครองเพื่อตนเอง หรือเพื่อผู้อยู่ใต้ปกครอง คำตอบของล็อคก็คือ ประชาชนจะวินิจฉัยได้เอง มิใช่ด้วยการให้เหตุผลใดๆ แต่ด้วย ความรู้สึก ประชาชนจะรู้สึกได้เองว่าเมื่อใดที่ผู้มีอำนาจทางการเมืองใช้อำนาจดังกล่าวไปในทางที่ตรงกันข้ามกับการมอบหมายของประชาชน
นี่หมายความว่า แม้แต่รัฐบาลที่มีที่มาอย่างชอบธรรม คือได้อำนาจอันยุติธรรมมาตามความยินยอมของประชาชน ก็อาจดำเนินการอย่างไม่ยุติธรรม หรืออย่างที่ไม่ได้รับการยอมรับโดยประชาชนในภายหลังก็เป็นได้ (อย่างที่เจฟเฟอร์สันทำให้ปรากฏชัดในคำประณามการกระทำต่างๆ ของรัฐบาลอังกฤษในคำประกาศอิสรภาพอเมริกัน) ถึงแม้ว่าทั้งล็อคและเจฟเฟอร์สันจะเห็นตรงกันว่า ปกติแล้วประชาชนจะมีความอดทนสูง ต่อการใช้อำนาจไปในทางที่ผิดดังกล่าว แต่เมื่อผู้มีอำนาจแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนโดยที่ผู้รับภาระคือประชาชน เมื่อนั้น เขาทำให้ผลประโยชน์ของเขาแปลกแยกออกไปจากผลประโยชน์ของประชาชน ผู้ปกครองเช่นว่า แยกตัวเองออกจากสังคมการเมืองนั้น เขาเอาตัวเองกลับไปสู่สภาพธรรมชาติ และเมื่อเขาใช้กำลังต่อประชาชนโดยไม่มีสิทธิ เมื่อนั้นเขาย่อมอยู่ในสภาพสงครามกับประชาชน ในการทำสงครามกับประชาชนของตนเอง ผู้ปกครองซึ่งกลายเป็นทรราชทำลายล้างรัฐบาลของประชาชนเสียเอง เขาไม่ใช่ผู้ปกครองอีกต่อไปแล้ว ในกรณีเช่นนั้น ประชาชนมีสิทธิโดยธรรมชาติที่จะป้องกันตนเอง
ยิ่งกว่านั้น การขัดขืนต่อการใช้อำนาจของรัฐบาลดังกล่าว ยังเป็นการปกปักรักษาสังคมการเมืองของพวกเขาไว้ด้วย รัฐบาลที่หันมาทำลายสิทธิต่างๆ ที่สังคมการเมืองถูกสร้างขึ้นเพื่อปกปักรักษา คือผู้ที่ก่อการขบถ ไม่ใช่ประชาชน ข้อสำคัญได้แก่การที่ล็อคกล่าวว่าสิทธิที่จะปราบรัฐบาลซึ่งเป็นขบถนั้น ไม่ใช่สิทธิทางการเมือง แต่เป็นสิทธิโดยธรรมชาติที่มาก่อนการเมือง เมื่อวิเคราะห์กันให้ถึงที่สุดแล้ว สิทธิโดยธรรมชาติของประชาชนที่จะแข็งขืนและปราบปรามรัฐบาลที่มุ่งประโยชน์ส่วนตน ยิ่งกว่าประโยชน์ของผู้อยู่ใต้ปกครอง รัฐบาลที่กลายเป็นพิษเป็นภัยแก่เสรีภาพของประชาชน คือเครื่องมืออย่างเดียวที่ทรงประสิทธิภาพสูงสุด ในการจำกัดอำนาจอันไม่ชอบธรรมของรัฐบาล ไม่ใช่ตัวบทกฎหมาย หรือกรอบทางรัฐธรรมนูญใดๆ ทั้งสิ้น (เจฟเฟอร์สันเองถึงกับกล่าวว่า การต่อต้านการใช้อำนาจที่ผิดอย่างรุนแรงจนถึงขนาดเสียเลือดเนื้อเป็นครั้งคราวนั้น เป็นผลดีต่อการปลุกสำนึกในเรื่องเสรีภาพไว้ไม่ให้เฉื่อยชาไป)
โดยสรุป ล็อคเสนอว่า ด้วยปรารถนาที่จะปกปักรักษาชีวิต เสรีภาพของตนไว้ มนุษย์จึงออกจากสภาพธรรมชาติสู่สังคมการเมือง แต่ในสังคมการเมือง เขากลับต้องเผชิญกับภัยอันตรายที่อาจร้ายแรงยิ่งกว่าสภาพสงครามในสภาพธรรมชาติเสียอีก เพราะสงครามที่ระบอบทรราชนำมาสู่ประชาชนนั้น เกือบเป็นสิ่งที่ป้องกันไม่ได้เลย ในภาวะปัจจุบัน เราอาจกล่าวได้ว่า มันเกือบเป็นสิ่งที่ป้องกันไม่ได้เลย ก็เพราะมันเป็นสิ่งที่เกือบมองไม่เห็น หรือบางครั้งก็เป็นสิ่งที่ประชาชนหลงเชื้อเชิญมาเอง เช่น กรณีการยินยอมให้ฮิตเลอร์ขึ้นครองเยอรมัน โดยมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ในแง่นี้ คำสอนของล็อค เรื่องที่มาอันถูกต้องของอำนาจทางการเมืองที่ยุติธรรมและรัฐบาลที่ต้องมีอำนาจจำกัด จึงเป็นสิ่งที่เราสมควรต้องกลับไปพิจารณาอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง
ล็อคยอมรับว่า บางครั้ง ในฐานะที่เป็นฝ่ายบริหาร รัฐบาลอาจต้องดำเนินการเหนือกฎหมายหรือนอกกฎหมาย เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหาร ในสภาวะเช่นว่า ลักษณะภายนอกของทรราชและเจ้าผู้ปกครองที่ดี อาจไม่แตกต่างกัน แต่ในขณะที่ทรราชปกครองเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง เจ้าผู้ปกครองที่ดีจะกระทำการเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า ประชาชนจะบอกได้อย่างไรว่า เมื่อใดที่ผู้ปกครองของพวกเขา ปกครองเพื่อตนเอง หรือเพื่อผู้อยู่ใต้ปกครอง คำตอบของล็อคก็คือ ประชาชนจะวินิจฉัยได้เอง มิใช่ด้วยการให้เหตุผลใดๆ แต่ด้วย ความรู้สึก ประชาชนจะรู้สึกได้เองว่าเมื่อใดที่ผู้มีอำนาจทางการเมืองใช้อำนาจดังกล่าวไปในทางที่ตรงกันข้ามกับการมอบหมายของประชาชน
นี่หมายความว่า แม้แต่รัฐบาลที่มีที่มาอย่างชอบธรรม คือได้อำนาจอันยุติธรรมมาตามความยินยอมของประชาชน ก็อาจดำเนินการอย่างไม่ยุติธรรม หรืออย่างที่ไม่ได้รับการยอมรับโดยประชาชนในภายหลังก็เป็นได้ (อย่างที่เจฟเฟอร์สันทำให้ปรากฏชัดในคำประณามการกระทำต่างๆ ของรัฐบาลอังกฤษในคำประกาศอิสรภาพอเมริกัน) ถึงแม้ว่าทั้งล็อคและเจฟเฟอร์สันจะเห็นตรงกันว่า ปกติแล้วประชาชนจะมีความอดทนสูง ต่อการใช้อำนาจไปในทางที่ผิดดังกล่าว แต่เมื่อผู้มีอำนาจแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนโดยที่ผู้รับภาระคือประชาชน เมื่อนั้น เขาทำให้ผลประโยชน์ของเขาแปลกแยกออกไปจากผลประโยชน์ของประชาชน ผู้ปกครองเช่นว่า แยกตัวเองออกจากสังคมการเมืองนั้น เขาเอาตัวเองกลับไปสู่สภาพธรรมชาติ และเมื่อเขาใช้กำลังต่อประชาชนโดยไม่มีสิทธิ เมื่อนั้นเขาย่อมอยู่ในสภาพสงครามกับประชาชน ในการทำสงครามกับประชาชนของตนเอง ผู้ปกครองซึ่งกลายเป็นทรราชทำลายล้างรัฐบาลของประชาชนเสียเอง เขาไม่ใช่ผู้ปกครองอีกต่อไปแล้ว ในกรณีเช่นนั้น ประชาชนมีสิทธิโดยธรรมชาติที่จะป้องกันตนเอง
ยิ่งกว่านั้น การขัดขืนต่อการใช้อำนาจของรัฐบาลดังกล่าว ยังเป็นการปกปักรักษาสังคมการเมืองของพวกเขาไว้ด้วย รัฐบาลที่หันมาทำลายสิทธิต่างๆ ที่สังคมการเมืองถูกสร้างขึ้นเพื่อปกปักรักษา คือผู้ที่ก่อการขบถ ไม่ใช่ประชาชน ข้อสำคัญได้แก่การที่ล็อคกล่าวว่าสิทธิที่จะปราบรัฐบาลซึ่งเป็นขบถนั้น ไม่ใช่สิทธิทางการเมือง แต่เป็นสิทธิโดยธรรมชาติที่มาก่อนการเมือง เมื่อวิเคราะห์กันให้ถึงที่สุดแล้ว สิทธิโดยธรรมชาติของประชาชนที่จะแข็งขืนและปราบปรามรัฐบาลที่มุ่งประโยชน์ส่วนตน ยิ่งกว่าประโยชน์ของผู้อยู่ใต้ปกครอง รัฐบาลที่กลายเป็นพิษเป็นภัยแก่เสรีภาพของประชาชน คือเครื่องมืออย่างเดียวที่ทรงประสิทธิภาพสูงสุด ในการจำกัดอำนาจอันไม่ชอบธรรมของรัฐบาล ไม่ใช่ตัวบทกฎหมาย หรือกรอบทางรัฐธรรมนูญใดๆ ทั้งสิ้น (เจฟเฟอร์สันเองถึงกับกล่าวว่า การต่อต้านการใช้อำนาจที่ผิดอย่างรุนแรงจนถึงขนาดเสียเลือดเนื้อเป็นครั้งคราวนั้น เป็นผลดีต่อการปลุกสำนึกในเรื่องเสรีภาพไว้ไม่ให้เฉื่อยชาไป)
โดยสรุป ล็อคเสนอว่า ด้วยปรารถนาที่จะปกปักรักษาชีวิต เสรีภาพของตนไว้ มนุษย์จึงออกจากสภาพธรรมชาติสู่สังคมการเมือง แต่ในสังคมการเมือง เขากลับต้องเผชิญกับภัยอันตรายที่อาจร้ายแรงยิ่งกว่าสภาพสงครามในสภาพธรรมชาติเสียอีก เพราะสงครามที่ระบอบทรราชนำมาสู่ประชาชนนั้น เกือบเป็นสิ่งที่ป้องกันไม่ได้เลย ในภาวะปัจจุบัน เราอาจกล่าวได้ว่า มันเกือบเป็นสิ่งที่ป้องกันไม่ได้เลย ก็เพราะมันเป็นสิ่งที่เกือบมองไม่เห็น หรือบางครั้งก็เป็นสิ่งที่ประชาชนหลงเชื้อเชิญมาเอง เช่น กรณีการยินยอมให้ฮิตเลอร์ขึ้นครองเยอรมัน โดยมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ในแง่นี้ คำสอนของล็อค เรื่องที่มาอันถูกต้องของอำนาจทางการเมืองที่ยุติธรรมและรัฐบาลที่ต้องมีอำนาจจำกัด จึงเป็นสิ่งที่เราสมควรต้องกลับไปพิจารณาอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
การล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมในทฤษฎีสัญญาประชาคม
โพสต์ที่ 6
หมายเหตุไม่เกี่ยวกับบทความ
ณ เวลาขณะนี้..พบว่า...
In total there are 85 users online :: 0 Registered, 0 Hidden and 85 Guests
ปกติจะเห็นไม่เกิน 10 ท่าน
ณ เวลาขณะนี้..พบว่า...
In total there are 85 users online :: 0 Registered, 0 Hidden and 85 Guests
ปกติจะเห็นไม่เกิน 10 ท่าน
-
- Verified User
- โพสต์: 424
- ผู้ติดตาม: 0
การล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมในทฤษฎีสัญญาประชาคม
โพสต์ที่ 7
ยาวไป ขี้เกียจอ่าน
ทำไมไม่สร้างอะไรที่มันสมดุลย์ไม่ดีกว่าหรือ
ตอนนี้ปัญหาคือ รัฐบาลอำนาจมาก
แต่การตรวจสอบ หรือการคานอำนาจ กลับตรงข้าม
ผมว่านี่ควรเป็นสิ่งที่เราควรศึกษา และแก้ไขมากกว่า
การล้มล้างและเริ่มใหม่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะมีปัญหาอะไรอีก
สวนตัวไม่เห็นด้วยครับ อยากให้เอาสิ่งที่เป็นปัญหามาแก้ไข
ให้มันดีขึ้น ปรับปรุงให้มันดีขึ้นครับ
ทำไมไม่สร้างอะไรที่มันสมดุลย์ไม่ดีกว่าหรือ
ตอนนี้ปัญหาคือ รัฐบาลอำนาจมาก
แต่การตรวจสอบ หรือการคานอำนาจ กลับตรงข้าม
ผมว่านี่ควรเป็นสิ่งที่เราควรศึกษา และแก้ไขมากกว่า
การล้มล้างและเริ่มใหม่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะมีปัญหาอะไรอีก
สวนตัวไม่เห็นด้วยครับ อยากให้เอาสิ่งที่เป็นปัญหามาแก้ไข
ให้มันดีขึ้น ปรับปรุงให้มันดีขึ้นครับ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
การล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมในทฤษฎีสัญญาประชาคม
โพสต์ที่ 8
ใครไม่เอาประชาธิปไตยที่มีมหากษัตริย์เป็นประมุข?
โดย ปราโมทย์ นาครทรรพ 3 มกราคม 2549
ผมขอถามดังๆว่า "ซ้ายใหม่ไม่เอาประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพราะต้องการรักษา Constitution Monarchy ใช่หรือไม่"
ได้ยินว่า "ซ้ายใหม่"ไม่สนับสนุน "ปรากฏการณ์สนธิ" เพราะนำเอาพระเจ้าอยู่หัวเข้ามาเกี่ยวข้อง บางคนมาบอกผมเองว่า ยังจะคัดค้านอีกด้วย ให้คอยดูบทความต่างๆที่ทยอยกันออกมา
ซ้ายธรรมดาแบบผมเอาประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพราะผมได้ศึกษาและใช้ชีวิตเกือบหนึ่งในสามอยู่หรือเทียวไปมาในประเทศอังกฤษและสแกนดิเนเวีย เห็นตัวอย่าง ประชาธิปไตยกับความเป็นซ้ายบวกกับสถาบันกษัตริย์ เป็นสามเส้าของการปกครองที่อยู่ด้วยกันอย่างยั่งยืนและจำเริญสถาพร
ผมเห็นว่า ระบบปัจจุบันของไทยมิใช่ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพราะยังมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพพื้นฐานหลายอย่างรวมทั้งเสรีภาพของสื่อ มี การคอร์ รัปชั่นอย่างมโหฬาร และรัฐบาลใช้อำนาจตามอำเภอใจ ไม่ยอมให้ท้วงติงหรือตรวจสอบ ทั้ง 3 อย่างนี้ ใครจะต่อสู้ก็ตาม ผมต้องสนับสนุน
นี่คือที่มาของการเสนอบทความชุดการถวายคืนพระราชอำนาจและขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ ที่ผมเขียนตั้งแต่ปี 2514 และ 2528 เพื่อส่งเสริมให้มีการเคลื่อนไหวคัดค้านรสช. เรียกร้องรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย และป้องกันการนองเลือด
ที่พิมพ์ใหม่แก้ไขเล็กน้อยให้เข้ากับปัจจุบัน หาได้แต่งขึ้นใหม่เพื่อสนธิโดยเฉพาะไม่
เมืองไทยยังไม่เคยเป็นประชาธิปไตย และเมืองไทยมีทางจะเป็นประชาธิปไตยได้ง่ายขึ้น ถ้าหากพระมหา กษัตริย์ นักการเมือง และประชาชน ทั้ง 3 ฝ่าย มีส่วนร่วมช่วยกันสร้างรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย การถวายคืนพระราชอำนาจและขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ เป็นหนทางหนึ่ง ทำได้ไม่ยากตามครรลองประชาธิปไตย
มีผู้โทรมาให้ผมอ่านมติชนสุดสัปดาห์เพื่อตอบโต้นิธิ เอียวศรีวงศ์ ผมจะไม่ทำทั้ง 2 อย่าง ผมรักและนับถือนิธิมาก แต่ท่านผู้อ่านจะต้องไม่เชื่อผม หรือเชื่อนิธิ เพราะสักแต่ว่านี่เป็นนิธิ ผมขอทำความเข้าใจกับท่านผู้อ่าน ดังต่อไปนี้
1. การถวายพระราชอำนาจคืน มิใช่การลุกฮือขึ้นขับไล่รัฐบาลหรือล้มล้าง
รัฐธรรมนูญ เพื่อขอนายกพระราชทาน มิใช่การกลับไปสู่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งพ้นสมัย เราไม่สามารถกลับไปสู่จุดเดิมได้อีกแล้ว ในหลวงทรงทราบดีว่าระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเป็นอย่างไร อย่าดูถูกท่าน
2. อย่างไรก็ตาม การลุกฮือขึ้นใช้กำลังล้มล้างรัฐบาลที่สิ้นความชอบธรรม
เป็นสิทธิของประชาชนตามลัทธิประชาธิปไตย บทความของดร.สมบัติ ชี้ว่าใช่เป็นเพียงสิทธิเท่านั้นแต่เป็นหน้าที่เสียด้วยซ้ำ เมื่อรัฐบาลหมดความชอบธรรม รัฐบาลต่างหากที่เป็นกบฏ พลเอกสุจินดาเคยท้าทายว่า ถ้าหากประชาชนไม่ต้องการหรือต้องการอะไรให้เขียนไปรษณียบัตรไปให้ครบล้านฉบับ จะสนองความประสงค์ทุกประการ แต่คนไทยขี้เกียจและเคลื่อนไหวไม่เป็นจึงเกิดนองเลือด
3. การทูลเกล้าถวายฎีกาเป็นสิทธิของประชาชน สอดคล้องกับนิติราชประ
เพณี โบราณแม้แต่ผักบุ้งแพงยังถวายฏีกาได้ เรื่องคอร์รัปชั่นและรัฐบาลเป็นพิษทำไมจะถวายไม่ได้ ก่อนสิ้นสมัยพลเอกเปรม นักวิชาการ 99 คนก็ถวายฎีกาขอให้ในหลวงเตือนเปรมให้เป็นกลางและคืนประชาธิปไตย
4. ผู้ที่ยืนหยัดว่าพระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมือง ขอให้กลับไปอ่านพระราชดำรัสในบทความผมเรื่อง "รัฐธรรมนูญพระราชทาน: โอกาสที่เสียไปยุคสุจินดา" ใน"ผู้จัดการ" วันที่ 17 พฤศจิกายน ผมขอคัดลอกมาเฉพาะคำอธิบายของม.ร.ว.ทองน้อย ทองใหญ่ และพระราชดำรัสบางส่วนดังนี้
"ตามที่พูดกันอยู่ทั่วไปว่า พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมืองนั้น ผมว่า ต้องเข้าใจคำว่าการเมืองให้ถ่องแท้กันเสียก่อนนะครับ ถ้าการเมืองหมายถึงระบบการปกครองโดยทั่ว ๆ ไป อันหมายถึงความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศโดยทั่วไป และการดำเนินการเพื่อการปกครอง คือ บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชน ก็จะพูดว่า พระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมืองไม่ได้ มิฉะนั้น ก็หมดความหมายครับพระมหา กษัตริย์ จะทำอะไร จะมีไว้ทำไม" มิใช่เพียงเท่านั้น พระมหากษัตริย์จะทรงเล่น
การเมืองก็ยังได้ เมื่อถึงคราวจำเป็น "จำไว้ว่า สถาบันจะลงไปเล่นการเมืองอย่างเต็มตัวได้ ก็ต่อเมื่อเกิด void หรือ สุญญากาศทางการเมืองขึ้นจริง ๆ อย่างกรณี 14 ตุลาฯ แต่เมื่อได้ก้าวลงไปจัดการ จนช่องว่างดังกล่าวหมดไปแล้ว สถาบันกษัตริย์จะต้องรีบก้าวกลับขึ้นไปอยู่เหนือการเมืองอย่างเดิมโดยเร็วที่สุด จะได้พร้อมที่จะลงมาช่วยได้อีก ถ้าเกิดสุญญากาศขึ้นมาอีก"(พระราชดำรัสในหลวงในรัชกาลปัจจุบัน) การเล่นการเมืองในกรณีนี้ก็คือการพระราชทานนายกรัฐมนตรี และการอยู่เหนือการเมืองก็คือความเป็นกลางไม่ลำเอียงเข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดพรรคหนึ่งพรรคใดในการจัดตั้งรัฐบาล เท่านั้น
5. เราต้องเข้าใจให้ดีเสียก่อนว่า ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
กับ Constitutional Monarchy ในอังกฤษนั้นเหมือนกันและเป็นอย่างเดียวกัน แต่ของเราไม่ใช่ เพราะรัฐธรรมนูญของเราเกือบทุกฉบับเป็นเผด็จการ นอกจากจะเป็นเผด็จการต่อประชาชนและประเทศชาติแล้ว ยังเป็นเผด็จการต่อพระมหากษัตริย์อีกด้วย ต่อไปนี้ประเทศไทยเลิกพูดถึง Constitutional Monarchy หรือระบอบการปกครองที่พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญและอยู่เหนือการเมืองได้แล้ว เพราะนั่นไม่ใช่ประชาธิปไตย เรามาช่วยสร้างระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขกันดีกว่า ตั้งแต่ปี 2475 เป็นต้นมา อำนาจของกษัตริย์ในฐานะ Sovereign, Crown หรือ King ตามจารีตและลัทธิรัฐธรรมนูญอังกฤษ ที่มีอยู่ 3 ประเภท คือ Usual Powers, Royal Prerogative และ Reserve Powers ถูกมิดเม้มไว้และขโมยไปจากองค์ พระมหา กษัตริย์เกือบทั้งหมด ทั้งนี้โดยทฤษฎี ระบบการเมืองและระบบการศึกษาที่หลอกลวงคนไทยตลอดมา ถ้าพวกเราอ่านพระราชดำรัส 4 ธันวาคม ให้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งปี 2548 นี้ ก็จะทราบว่าตั้งแต่ในหลวงองค์ปัจจุบันเสด็จขึ้นครองราชย์พระองค์ทรงผ่านขวากหนาม
มหันตภัยอะไรมาบ้าง โอกาสที่พระองค์จะทรงใช้พระราชอำนาจที่ชอบธรรมตามครรลองประชา ธิปไตยคงจะไม่สู้มี ถ้ามี อาจจะไม่จำเป็นที่จะมีพระราชดำรัสดังกล่าว
โดย ปราโมทย์ นาครทรรพ 3 มกราคม 2549
ผมขอถามดังๆว่า "ซ้ายใหม่ไม่เอาประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพราะต้องการรักษา Constitution Monarchy ใช่หรือไม่"
ได้ยินว่า "ซ้ายใหม่"ไม่สนับสนุน "ปรากฏการณ์สนธิ" เพราะนำเอาพระเจ้าอยู่หัวเข้ามาเกี่ยวข้อง บางคนมาบอกผมเองว่า ยังจะคัดค้านอีกด้วย ให้คอยดูบทความต่างๆที่ทยอยกันออกมา
ซ้ายธรรมดาแบบผมเอาประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพราะผมได้ศึกษาและใช้ชีวิตเกือบหนึ่งในสามอยู่หรือเทียวไปมาในประเทศอังกฤษและสแกนดิเนเวีย เห็นตัวอย่าง ประชาธิปไตยกับความเป็นซ้ายบวกกับสถาบันกษัตริย์ เป็นสามเส้าของการปกครองที่อยู่ด้วยกันอย่างยั่งยืนและจำเริญสถาพร
ผมเห็นว่า ระบบปัจจุบันของไทยมิใช่ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพราะยังมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพพื้นฐานหลายอย่างรวมทั้งเสรีภาพของสื่อ มี การคอร์ รัปชั่นอย่างมโหฬาร และรัฐบาลใช้อำนาจตามอำเภอใจ ไม่ยอมให้ท้วงติงหรือตรวจสอบ ทั้ง 3 อย่างนี้ ใครจะต่อสู้ก็ตาม ผมต้องสนับสนุน
นี่คือที่มาของการเสนอบทความชุดการถวายคืนพระราชอำนาจและขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ ที่ผมเขียนตั้งแต่ปี 2514 และ 2528 เพื่อส่งเสริมให้มีการเคลื่อนไหวคัดค้านรสช. เรียกร้องรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย และป้องกันการนองเลือด
ที่พิมพ์ใหม่แก้ไขเล็กน้อยให้เข้ากับปัจจุบัน หาได้แต่งขึ้นใหม่เพื่อสนธิโดยเฉพาะไม่
เมืองไทยยังไม่เคยเป็นประชาธิปไตย และเมืองไทยมีทางจะเป็นประชาธิปไตยได้ง่ายขึ้น ถ้าหากพระมหา กษัตริย์ นักการเมือง และประชาชน ทั้ง 3 ฝ่าย มีส่วนร่วมช่วยกันสร้างรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย การถวายคืนพระราชอำนาจและขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ เป็นหนทางหนึ่ง ทำได้ไม่ยากตามครรลองประชาธิปไตย
มีผู้โทรมาให้ผมอ่านมติชนสุดสัปดาห์เพื่อตอบโต้นิธิ เอียวศรีวงศ์ ผมจะไม่ทำทั้ง 2 อย่าง ผมรักและนับถือนิธิมาก แต่ท่านผู้อ่านจะต้องไม่เชื่อผม หรือเชื่อนิธิ เพราะสักแต่ว่านี่เป็นนิธิ ผมขอทำความเข้าใจกับท่านผู้อ่าน ดังต่อไปนี้
1. การถวายพระราชอำนาจคืน มิใช่การลุกฮือขึ้นขับไล่รัฐบาลหรือล้มล้าง
รัฐธรรมนูญ เพื่อขอนายกพระราชทาน มิใช่การกลับไปสู่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งพ้นสมัย เราไม่สามารถกลับไปสู่จุดเดิมได้อีกแล้ว ในหลวงทรงทราบดีว่าระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเป็นอย่างไร อย่าดูถูกท่าน
2. อย่างไรก็ตาม การลุกฮือขึ้นใช้กำลังล้มล้างรัฐบาลที่สิ้นความชอบธรรม
เป็นสิทธิของประชาชนตามลัทธิประชาธิปไตย บทความของดร.สมบัติ ชี้ว่าใช่เป็นเพียงสิทธิเท่านั้นแต่เป็นหน้าที่เสียด้วยซ้ำ เมื่อรัฐบาลหมดความชอบธรรม รัฐบาลต่างหากที่เป็นกบฏ พลเอกสุจินดาเคยท้าทายว่า ถ้าหากประชาชนไม่ต้องการหรือต้องการอะไรให้เขียนไปรษณียบัตรไปให้ครบล้านฉบับ จะสนองความประสงค์ทุกประการ แต่คนไทยขี้เกียจและเคลื่อนไหวไม่เป็นจึงเกิดนองเลือด
3. การทูลเกล้าถวายฎีกาเป็นสิทธิของประชาชน สอดคล้องกับนิติราชประ
เพณี โบราณแม้แต่ผักบุ้งแพงยังถวายฏีกาได้ เรื่องคอร์รัปชั่นและรัฐบาลเป็นพิษทำไมจะถวายไม่ได้ ก่อนสิ้นสมัยพลเอกเปรม นักวิชาการ 99 คนก็ถวายฎีกาขอให้ในหลวงเตือนเปรมให้เป็นกลางและคืนประชาธิปไตย
4. ผู้ที่ยืนหยัดว่าพระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมือง ขอให้กลับไปอ่านพระราชดำรัสในบทความผมเรื่อง "รัฐธรรมนูญพระราชทาน: โอกาสที่เสียไปยุคสุจินดา" ใน"ผู้จัดการ" วันที่ 17 พฤศจิกายน ผมขอคัดลอกมาเฉพาะคำอธิบายของม.ร.ว.ทองน้อย ทองใหญ่ และพระราชดำรัสบางส่วนดังนี้
"ตามที่พูดกันอยู่ทั่วไปว่า พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมืองนั้น ผมว่า ต้องเข้าใจคำว่าการเมืองให้ถ่องแท้กันเสียก่อนนะครับ ถ้าการเมืองหมายถึงระบบการปกครองโดยทั่ว ๆ ไป อันหมายถึงความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศโดยทั่วไป และการดำเนินการเพื่อการปกครอง คือ บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชน ก็จะพูดว่า พระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมืองไม่ได้ มิฉะนั้น ก็หมดความหมายครับพระมหา กษัตริย์ จะทำอะไร จะมีไว้ทำไม" มิใช่เพียงเท่านั้น พระมหากษัตริย์จะทรงเล่น
การเมืองก็ยังได้ เมื่อถึงคราวจำเป็น "จำไว้ว่า สถาบันจะลงไปเล่นการเมืองอย่างเต็มตัวได้ ก็ต่อเมื่อเกิด void หรือ สุญญากาศทางการเมืองขึ้นจริง ๆ อย่างกรณี 14 ตุลาฯ แต่เมื่อได้ก้าวลงไปจัดการ จนช่องว่างดังกล่าวหมดไปแล้ว สถาบันกษัตริย์จะต้องรีบก้าวกลับขึ้นไปอยู่เหนือการเมืองอย่างเดิมโดยเร็วที่สุด จะได้พร้อมที่จะลงมาช่วยได้อีก ถ้าเกิดสุญญากาศขึ้นมาอีก"(พระราชดำรัสในหลวงในรัชกาลปัจจุบัน) การเล่นการเมืองในกรณีนี้ก็คือการพระราชทานนายกรัฐมนตรี และการอยู่เหนือการเมืองก็คือความเป็นกลางไม่ลำเอียงเข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดพรรคหนึ่งพรรคใดในการจัดตั้งรัฐบาล เท่านั้น
5. เราต้องเข้าใจให้ดีเสียก่อนว่า ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
กับ Constitutional Monarchy ในอังกฤษนั้นเหมือนกันและเป็นอย่างเดียวกัน แต่ของเราไม่ใช่ เพราะรัฐธรรมนูญของเราเกือบทุกฉบับเป็นเผด็จการ นอกจากจะเป็นเผด็จการต่อประชาชนและประเทศชาติแล้ว ยังเป็นเผด็จการต่อพระมหากษัตริย์อีกด้วย ต่อไปนี้ประเทศไทยเลิกพูดถึง Constitutional Monarchy หรือระบอบการปกครองที่พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญและอยู่เหนือการเมืองได้แล้ว เพราะนั่นไม่ใช่ประชาธิปไตย เรามาช่วยสร้างระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขกันดีกว่า ตั้งแต่ปี 2475 เป็นต้นมา อำนาจของกษัตริย์ในฐานะ Sovereign, Crown หรือ King ตามจารีตและลัทธิรัฐธรรมนูญอังกฤษ ที่มีอยู่ 3 ประเภท คือ Usual Powers, Royal Prerogative และ Reserve Powers ถูกมิดเม้มไว้และขโมยไปจากองค์ พระมหา กษัตริย์เกือบทั้งหมด ทั้งนี้โดยทฤษฎี ระบบการเมืองและระบบการศึกษาที่หลอกลวงคนไทยตลอดมา ถ้าพวกเราอ่านพระราชดำรัส 4 ธันวาคม ให้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งปี 2548 นี้ ก็จะทราบว่าตั้งแต่ในหลวงองค์ปัจจุบันเสด็จขึ้นครองราชย์พระองค์ทรงผ่านขวากหนาม
มหันตภัยอะไรมาบ้าง โอกาสที่พระองค์จะทรงใช้พระราชอำนาจที่ชอบธรรมตามครรลองประชา ธิปไตยคงจะไม่สู้มี ถ้ามี อาจจะไม่จำเป็นที่จะมีพระราชดำรัสดังกล่าว
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
การล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมในทฤษฎีสัญญาประชาคม
โพสต์ที่ 9
6. ขอยกตัวอย่างการใช้พระราชอำนาจในอังกฤษ เพื่อให้ท่านลองคิดเปรียบ
เทียบกับไทยดู เริ่มด้วยพระราชอำนาจทั่วไปหรือ Usual Powers อันได้แก่อำนาจที่กษัตริย์จะ advise: แนะนำ encourage:ให้กำลังใจ และ warn:เตือนสติรัฐบาลผ่านนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง อำนาจนี้เริ่มใช้อย่างกว้างขวางครอบคลุมประเด็นการเมืองหลายเรื่องตั้งแต่ปี ค.ศ. 1910 เป็นต้นมา ทั้งหมดนี้ถ้าคิดแบบไทยที่อ้างและยึดถือกันสืบมาจนทุกวันนี้ จะหาว่าผิดหลักการเพราะกษัตริย์เข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจทางการเมืองเกินไป แต่การร่วมมือกันอย่างดีเยี่ยมระหว่างกษัตริย์และรัฐบาล โดยกษัตริย์เป็นกลางอย่างเคร่งครัดไม่ลำเอียงเข้าข้างการเมืองฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ทำให้เกิดผลที่เป็นบรรทัดฐานของระบอบและเป็นผลดีต่อการแก้ปัญหาของประเทศตามความจำเป็นแห่งสถานการณ์ เช่น พระเจ้า George V ทรงแนะนำ ให้กำลังใจและท้วงติงพรรคแรงงานชุดแรกที่ได้เป็นรัฐบาลโดยพระราชสาสน์และวิธีอื่นๆว่า ไม่เห็นด้วยกับทัศนะของรัฐบาลที่วิจารณ์พระมหากษัตริย์ ไม่ขอต้อนรับผู้แทนรัฐบาลโซเวียตที่สังหารพระญาติ(คือพระเจ้าซาร์) ไม่เห็นด้วยที่นายกรัฐมนตรีจะควบตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศด้วย และขอร้องให้รัฐบาลพรรคแรงงานเลิกร้องเพลงธงแดง:the Red Flag เป็นต้น ในปี 1924นายกBaldwinได้รับการกระตุ้นอย่างแรงให้เอาจริงกับการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย การว่างงาน อาหารแพง และการศึกษาตกต่ำ พร้อมกับเตือนรัฐบาลอย่าใช้ถ้อยคำขู่เข็ญรุน แรงกับกรรมกรที่ขู่จะสไตรก์หยุดงานใหญ่ ในปี 1944 พระเจ้า George ที่ 6 ก็มีพระราชสาสน์เตือนนายกเชิชชิลถึง 2 ครั้งให้ยกเลิกแผนการอย่างหนึ่งของรัฐบาลในวันยกพลขึ้นบกเสีย ซึ่งท่านนายกก็ยินยอมและมีจดหมายทูลตอบไปว่า " I must defer to Your Majestys Wishes and indeed commands: ข้าฯจะปฏิบัติตามพระราชประสงค์และบัญชาของพระองค์" นอกจากนั้นนายกฯยังต้องถวายรายงานประมาณครึ่งหรือหนึ่งชั่วโมงทุกวันศุกร เป็นการตัวต่อตัว โดยห้ามบันทึกหรือเปิดเผยหัวข้อหรือเนื้อหาของการเข้าเฝ้าเด็ดขาด ส่วนการที่รัฐบาลจะนำสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปปฏิบัติหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาล เพราะรัฐบาลจะต้องรับผิดชอบต่อสภา
7. สมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธ ราชินีอังกฤษเสด็จเยือนเมืองไทย ได้ตรัสข้อความอันเป็นอัศจรรย์ว่า เพิ่งเคยเห็นพระมหากษัตริย์ที่เหมือนพระมหากษัตริย์จริงๆคราวนี้แหละ แต่ในหลวงของเราหาได้มี พระราชอำนาจพิเศษ: Royal Prerogative กับอำนาจสำรอง:Reserve Powers เท่าเทียมกษัตริย์อังกฤษไม่ อำนาจนั้นมีอะไรบ้าง สุดวิสัยที่จะเขียนหมด ขอยกตัวอย่างและอธิบายสั้นๆบางเรื่อง ทั้งๆที่ดำรงพระองค์เป็นกลางอย่างเคร่งครัด พระองค์หลีกเลี่ยงมิได้ที่จะต้องทรงใช้พระราชอำนาจมีส่วนร่วมในการเลือกบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีถึง 2 ครั้งในปี 1957 กับปี 1963 ส่วนอำนาจสำรองก็มีการใช้บ่อย เมื่อกษัตริย์ไม่ทรงยินยอมยุบสภาตามคำขอของนายกรัฐมนตรี หรือโปรดเกล้าฯให้ยุบสภาโดยรัฐบาลมิได้ร้องขอ หรือขอให้รัฐบาลยุบสภาก่อนเพื่อให้สภาใหม่มาผ่านกฎหมายเพิ่มจำนวนสมาชิกสภาขุนนาง เพราะเป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนโครงสร้างรัฐธรรมนูญ และอีกหลายเรื่องๆที่ไม่ลงพระปรมาภิไธยในพ.ร.บ.จนกว่ารัฐบาลจะแก้ไขเสียก่อน เป็นต้น
กษัตริย์กับรัฐบาลย่อมจะมีความเห็นต่างหรือขัดแย้งกันบ้าง แต่ความประณีตของโครงสร้างในการปรึกษาหารือ ความเคารพซึ่งกันและกัน ความสำนึกในหน้าที่และยึดมั่นในหลักประชาธิปไตยของทุกฝ่าย ทำให้การเผชิญหน้าระหว่างสถาบันเบาบาง อังกฤษจึงพัฒนาระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเรื่อยๆมาตั้งแต่ ค.ศ. 1840 จนกระทั่งเข้มแข็งทุกวันนี้ น่าเสียดายที่เราลอกเขามาแต่กระพี้ ผู้มีอำนาจแทนที่จะขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย บุคคลที่นั่งแถวหน้าในวันที่ 4 ธันวาคม 2548 กลับจ้วงจาบว่า "ในหลวงไม่ดี" "ในหลวงทำผิด" เป็นต้น
การถวายคืนพระราชอำนาจเป็นโอกาสที่เราจะสังคายนาการเมืองไทย อย่ากลัวว่าในหลวงจะทรงใช้ผิดครรลองประชาธิปไตย แม้นถวายอำนาจที่ผิดให้ก็จะไม่ทรงรับ ตัวอย่างรัฐธรรมนูญที่ผมร่วมร่าง ให้องคมนตรีลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งวุฒิสมาชิก ทรงส่งคืนพร้อมกับพระราชวินิจฉัยว่าทำไม่ได้ พระมหากษัตริย์ต้องเป็นกลาง
ทำไมซ้ายใหม่จึงคัดค้านถวายคืนพระราชอำนาจ ซ้ายใหม่คือใคร ซ้ายใหม่เกิดในอเมริกาในปี 1960 โดยปัญญาชนและนักศึกษาที่ต่อต้านสงครามเวียดนาม และคัดค้านที่สหรัฐฯไปรุกรานประเทศอื่นด้วยกำลังทหารและทางเศรษฐกิจ ส่วน "ซ้ายใหม่ไทย"มี 3 สายพันธุ์ใหญ่ คือ สายนักเรียนอเมริกายุคค.ศ. 1960-1975 สายนักศึกษาปัญญาชนต่อต้านเผด็จการถนอม-ประภาส และอีกสายเป็นหรือนิยมคอมมิวนิสต์สายจีน
ซ้ายใหม่เป็นคนดีมีอุดมการณ์ แต่บางส่วนมักจะเห็นว่าตนบริสุทธิ์และดีกว่าคนอื่น เป็นพวกไร้เดียงสา และมีความตื้นเขินทางทฤษฎี
ดังนั้น ผมจึงไม่แปลกใจที่ซ้ายใหม่มักจะเป็นแนวร่วมมุมกลับของเผด็จการในเวลาที่บ้านเมืองฉุกเฉิน
บัดนี้ ซ้ายใหม่ทั้งไทยอเมริกันก็แก่เฒ่าเหลาเหย่เกือบสิ้นฤทธิ์หมดไปแล้ว ที่น่ากลัวกว่า ก็คือ "ขวาใหม่-Neo-Cons"ของบุชที่กำลังกลืนโลกกินประเทศเดือดร้อนไปทั่วสากลจักรวาล
ถ้าสนธิเคยเป็นซ้ายใหม่ ก็ขอต้อนรับเข้าขบวนการผู้กลับใจ ขอให้สนธิและท่านผู้อ่านโชคดีในการต่อต้านคอร์รัปชั่น ต่อสู้เพื่อปฏิรูปการเมืองให้เป็นประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างแท้จริง และป้องกันอย่าให้ขวาใหม่มาทำลายบ้านเมืองได้เลย
เทียบกับไทยดู เริ่มด้วยพระราชอำนาจทั่วไปหรือ Usual Powers อันได้แก่อำนาจที่กษัตริย์จะ advise: แนะนำ encourage:ให้กำลังใจ และ warn:เตือนสติรัฐบาลผ่านนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง อำนาจนี้เริ่มใช้อย่างกว้างขวางครอบคลุมประเด็นการเมืองหลายเรื่องตั้งแต่ปี ค.ศ. 1910 เป็นต้นมา ทั้งหมดนี้ถ้าคิดแบบไทยที่อ้างและยึดถือกันสืบมาจนทุกวันนี้ จะหาว่าผิดหลักการเพราะกษัตริย์เข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจทางการเมืองเกินไป แต่การร่วมมือกันอย่างดีเยี่ยมระหว่างกษัตริย์และรัฐบาล โดยกษัตริย์เป็นกลางอย่างเคร่งครัดไม่ลำเอียงเข้าข้างการเมืองฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ทำให้เกิดผลที่เป็นบรรทัดฐานของระบอบและเป็นผลดีต่อการแก้ปัญหาของประเทศตามความจำเป็นแห่งสถานการณ์ เช่น พระเจ้า George V ทรงแนะนำ ให้กำลังใจและท้วงติงพรรคแรงงานชุดแรกที่ได้เป็นรัฐบาลโดยพระราชสาสน์และวิธีอื่นๆว่า ไม่เห็นด้วยกับทัศนะของรัฐบาลที่วิจารณ์พระมหากษัตริย์ ไม่ขอต้อนรับผู้แทนรัฐบาลโซเวียตที่สังหารพระญาติ(คือพระเจ้าซาร์) ไม่เห็นด้วยที่นายกรัฐมนตรีจะควบตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศด้วย และขอร้องให้รัฐบาลพรรคแรงงานเลิกร้องเพลงธงแดง:the Red Flag เป็นต้น ในปี 1924นายกBaldwinได้รับการกระตุ้นอย่างแรงให้เอาจริงกับการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย การว่างงาน อาหารแพง และการศึกษาตกต่ำ พร้อมกับเตือนรัฐบาลอย่าใช้ถ้อยคำขู่เข็ญรุน แรงกับกรรมกรที่ขู่จะสไตรก์หยุดงานใหญ่ ในปี 1944 พระเจ้า George ที่ 6 ก็มีพระราชสาสน์เตือนนายกเชิชชิลถึง 2 ครั้งให้ยกเลิกแผนการอย่างหนึ่งของรัฐบาลในวันยกพลขึ้นบกเสีย ซึ่งท่านนายกก็ยินยอมและมีจดหมายทูลตอบไปว่า " I must defer to Your Majestys Wishes and indeed commands: ข้าฯจะปฏิบัติตามพระราชประสงค์และบัญชาของพระองค์" นอกจากนั้นนายกฯยังต้องถวายรายงานประมาณครึ่งหรือหนึ่งชั่วโมงทุกวันศุกร เป็นการตัวต่อตัว โดยห้ามบันทึกหรือเปิดเผยหัวข้อหรือเนื้อหาของการเข้าเฝ้าเด็ดขาด ส่วนการที่รัฐบาลจะนำสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปปฏิบัติหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาล เพราะรัฐบาลจะต้องรับผิดชอบต่อสภา
7. สมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธ ราชินีอังกฤษเสด็จเยือนเมืองไทย ได้ตรัสข้อความอันเป็นอัศจรรย์ว่า เพิ่งเคยเห็นพระมหากษัตริย์ที่เหมือนพระมหากษัตริย์จริงๆคราวนี้แหละ แต่ในหลวงของเราหาได้มี พระราชอำนาจพิเศษ: Royal Prerogative กับอำนาจสำรอง:Reserve Powers เท่าเทียมกษัตริย์อังกฤษไม่ อำนาจนั้นมีอะไรบ้าง สุดวิสัยที่จะเขียนหมด ขอยกตัวอย่างและอธิบายสั้นๆบางเรื่อง ทั้งๆที่ดำรงพระองค์เป็นกลางอย่างเคร่งครัด พระองค์หลีกเลี่ยงมิได้ที่จะต้องทรงใช้พระราชอำนาจมีส่วนร่วมในการเลือกบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีถึง 2 ครั้งในปี 1957 กับปี 1963 ส่วนอำนาจสำรองก็มีการใช้บ่อย เมื่อกษัตริย์ไม่ทรงยินยอมยุบสภาตามคำขอของนายกรัฐมนตรี หรือโปรดเกล้าฯให้ยุบสภาโดยรัฐบาลมิได้ร้องขอ หรือขอให้รัฐบาลยุบสภาก่อนเพื่อให้สภาใหม่มาผ่านกฎหมายเพิ่มจำนวนสมาชิกสภาขุนนาง เพราะเป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนโครงสร้างรัฐธรรมนูญ และอีกหลายเรื่องๆที่ไม่ลงพระปรมาภิไธยในพ.ร.บ.จนกว่ารัฐบาลจะแก้ไขเสียก่อน เป็นต้น
กษัตริย์กับรัฐบาลย่อมจะมีความเห็นต่างหรือขัดแย้งกันบ้าง แต่ความประณีตของโครงสร้างในการปรึกษาหารือ ความเคารพซึ่งกันและกัน ความสำนึกในหน้าที่และยึดมั่นในหลักประชาธิปไตยของทุกฝ่าย ทำให้การเผชิญหน้าระหว่างสถาบันเบาบาง อังกฤษจึงพัฒนาระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเรื่อยๆมาตั้งแต่ ค.ศ. 1840 จนกระทั่งเข้มแข็งทุกวันนี้ น่าเสียดายที่เราลอกเขามาแต่กระพี้ ผู้มีอำนาจแทนที่จะขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย บุคคลที่นั่งแถวหน้าในวันที่ 4 ธันวาคม 2548 กลับจ้วงจาบว่า "ในหลวงไม่ดี" "ในหลวงทำผิด" เป็นต้น
การถวายคืนพระราชอำนาจเป็นโอกาสที่เราจะสังคายนาการเมืองไทย อย่ากลัวว่าในหลวงจะทรงใช้ผิดครรลองประชาธิปไตย แม้นถวายอำนาจที่ผิดให้ก็จะไม่ทรงรับ ตัวอย่างรัฐธรรมนูญที่ผมร่วมร่าง ให้องคมนตรีลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งวุฒิสมาชิก ทรงส่งคืนพร้อมกับพระราชวินิจฉัยว่าทำไม่ได้ พระมหากษัตริย์ต้องเป็นกลาง
ทำไมซ้ายใหม่จึงคัดค้านถวายคืนพระราชอำนาจ ซ้ายใหม่คือใคร ซ้ายใหม่เกิดในอเมริกาในปี 1960 โดยปัญญาชนและนักศึกษาที่ต่อต้านสงครามเวียดนาม และคัดค้านที่สหรัฐฯไปรุกรานประเทศอื่นด้วยกำลังทหารและทางเศรษฐกิจ ส่วน "ซ้ายใหม่ไทย"มี 3 สายพันธุ์ใหญ่ คือ สายนักเรียนอเมริกายุคค.ศ. 1960-1975 สายนักศึกษาปัญญาชนต่อต้านเผด็จการถนอม-ประภาส และอีกสายเป็นหรือนิยมคอมมิวนิสต์สายจีน
ซ้ายใหม่เป็นคนดีมีอุดมการณ์ แต่บางส่วนมักจะเห็นว่าตนบริสุทธิ์และดีกว่าคนอื่น เป็นพวกไร้เดียงสา และมีความตื้นเขินทางทฤษฎี
ดังนั้น ผมจึงไม่แปลกใจที่ซ้ายใหม่มักจะเป็นแนวร่วมมุมกลับของเผด็จการในเวลาที่บ้านเมืองฉุกเฉิน
บัดนี้ ซ้ายใหม่ทั้งไทยอเมริกันก็แก่เฒ่าเหลาเหย่เกือบสิ้นฤทธิ์หมดไปแล้ว ที่น่ากลัวกว่า ก็คือ "ขวาใหม่-Neo-Cons"ของบุชที่กำลังกลืนโลกกินประเทศเดือดร้อนไปทั่วสากลจักรวาล
ถ้าสนธิเคยเป็นซ้ายใหม่ ก็ขอต้อนรับเข้าขบวนการผู้กลับใจ ขอให้สนธิและท่านผู้อ่านโชคดีในการต่อต้านคอร์รัปชั่น ต่อสู้เพื่อปฏิรูปการเมืองให้เป็นประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างแท้จริง และป้องกันอย่าให้ขวาใหม่มาทำลายบ้านเมืองได้เลย
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
การล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมในทฤษฎีสัญญาประชาคม
โพสต์ที่ 10
การเดินขบวนใหญ่ขับไล่นายกฯ 4 กุมภาพันธ์ กับการคืนพระราชอำนาจ (1)
โดย ปราโมทย์ นาครทรรพ 31 มกราคม 2549 22:36 น.
ผมขอตอบคำที่ผมถูกกระหน่ำถามซ้ำแล้วซ้ำอีกดังต่อไปนี้
1. เรื่องการเดินขบวนขับไล่นายกฯ 4 กุมภาพันธ์นี้
1. ผมจะไปหรือไม่ ผมจะไม่ไปร่วมเดินในวันที่ 4 กุมภาพันธ์นี้ แต่ผมสนับสนุนให้ไปกันมากๆ จนมืดฟ้ามัวดินก็ยิ่งดี ถ้าหากผู้ที่ไปมีความเชื่ออย่างเดียวกับผมคือเชื่อว่าปรากฏการณ์สนธิเป็นการต่อสู้เพื่อ หนึ่ง สิทธิเสรีภาพที่ถูกครอบงำโดยรัฐบาล สอง ต่อต้านคอร์รัปชันที่กระทำ และปกปิดโดยรัฐบาลและพวกพ้องบริวาร สาม ยกระดับพัฒนาการเมืองไทยไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างแท้จริง
2. ทำไมผมจึงไม่ไป หนึ่ง เพราะผมต้องไปต่างจังหวัด เพื่อการศึกษาของลูกหลานตาดำๆ สอง ผมเป็นปัญญาชนอิสระมีหน้าที่ผลิตยา ยาของผมร้านไหนต้องการเอาไปขาย ผมก็ยินดี เช่น ร้านผู้จัดการ ร้านไทยโพสต์ และร้านมติชน ส่วนจะมีใครซื้อยาของผมไปกินหรือไม่ ผมไม่มีหน้าที่ไปกะเกณฑ์ รัฐบาลหรือสนธิก็ไม่ต่างกัน สาม คราวนี้ผมมิใช่หัวขบวนของการถวายพระราชอำนาจตามคำกล่าวหา ผมเรียกร้องเรื่องคืนพระราชอำนาจมาตั้งแต่ ปี 2514, 2528 ทั้งพูดทั้งเขียนทั้งเดินครบทุกอย่างแต่ไม่สำเร็จ คนไทยฆ่ากันเลือดนอง ผมไม่อยากเห็นเช่นนี้อีก จึงเล่าความคิดและประสบการณ์ของผมให้ฟังเผื่อจะเป็นประโยชน์
3. มีผู้ถามที่อายุเกือบ 80 บ้าง เป็นข้าราชการบ้าง เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ
บ้างถามว่าควรไปหรือไม่ เพราะอะไร ตอบในข้อ 1 แล้ว ขอขยายความในข้อ 1 สาม ว่าการยกระดับพัฒนาการเมืองไทย รวมทั้งการรู้จักเดินขบวน การประท้วง การตรวจสอบรัฐบาลทุกรูปแบบ ภายใต้กฎเกณฑ์ประชาธิปไตยที่สงบสันติ ยิ่งทำบ่อยๆ ก็ยิ่งเก่งขึ้น จะเป็นการให้บทเรียนแก่ขบวนการประชาชน และรัฐบาล ตลอดจนผู้นำไปในตัวพร้อมๆ กัน หากผู้นำและรัฐบาลยังไม่สำนึก การประท้วงอาจต้องยกระดับขึ้นไปสู่การไม่เคารพเชื่อฟังคำสั่งรัฐบาล (Civil Disobedience) และการต่อต้านโดยสงบ (Passive Resistance) อันอาจนำไปสู่การหยุดงานทั่วประเทศ ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายของการประท้วงในครรลองประชาธิปไตย ก่อนที่ประชาชนจะลุกฮือขึ้นขับไล่รัฐบาลที่เป็นกบฏต่อประชาชนและประเทศชาติ เพราะการกระทำของผู้นำหรือรัฐบาลล้มล้างความชอบธรรมในการปกครองของตนเองด้วยการกดขี่คดโกง และทำลายผลประโยชน์บ้านเมือง
4. ปรากฏการณ์สนธิไม่น่าจะเกิดถ้าหากเราอยู่ในสังคมประชาธิปไตยที่มีวุฒิภาวะพอ ปรากฏการณ์สนธิเป็นปฏิกิริยาต่อปรากฏการณ์ทักษิณ ซึ่งสร้างความสงสัยในเรื่องทุจริตคดโกงอย่างมโหฬาร แล้วไม่ยอมตอบคำถามซ้ำกลั่นแกล้งกดขี่สื่อ ถ้าไม่มีกรณีดังกล่าว ปรากฏการณ์สนธิน่าจะเป็นเพียง investigative report หรือการรายงานข่าวแบบเจาะลึก เหมือนคดีวอเตอร์เกตของอเมริกา เมื่อสภาและองค์กรต่างๆ ของรัฐและสังคมได้รับทราบแล้วก็พากันรับลูกต่อไปตามครรลองและความรับผิดชอบ ไม่จำเป็นต้องเปิดรายการด่ารายสัปดาห์ ซึ่งใช้ถ้อยคำเผ็ดร้อนรุนแรงเกินกว่าความพอดี และจริยธรรมของการเสนอข่าวในสื่อทั้งประเภทพิมพ์และกระจายเสียงทั่วไป บัดนี้ปรากฏการณ์สนธิได้ใหญ่โตขึ้นจนกลายเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองไปเสียแล้ว
5. มีข้อแนะนำอะไรบ้าง มีข้อแนะนำทั้งฝ่ายประท้วงและฝ่ายรัฐบาล ความจริงได้เขียนมาก่อนแล้วหลายฉบับ แต่ขอย้ำอีกครั้งว่า ผู้ประท้วงต้องยึดหลักอหิงสาของมหาตมะ คานธีอย่างเคร่งครัด ถึงแรงมาก็อย่าแรงตอบ พยายามอย่าตกเป็นเหยื่อของการยั่วยุ หรือตกหลุมพราง ระแวดระวังมือที่สาม แนวที่ห้าหรือพวกผสมโรง สำหรับรัฐบาลขอแนะนำเป็นพิเศษว่าเป็นผู้นำต้องหนักแน่น และเคารพในสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างจริงใจ อย่าจัดม็อบชนม็อบเป็นอันขาด ต้องอำนวยความสะดวกทุกอย่างให้กับผู้ประท้วงแม้แต่น้ำดื่ม ปฐมพยาบาล และที่ปัสสาวะก็ต้องทำ ประเทศที่เจริญเช่น อังกฤษและญี่ปุ่นเขาช่วยยิ่งกว่านี้ ตำรวจที่รัฐบาลส่งไปต้องอยู่ภายใต้คำสั่งและการบังคับบัญชาอย่างเข้มงวด มีบัญชีรายชื่อ ยศและสังกัดที่แน่นอน ที่ขอนแก่นนั้นเป็นตัวอย่างความเลว อย่ากระทำซ้ำอีก และข่าวลือที่ว่าตำรวจจะยั่วยุเพื่อหาโอกาสบดขยี้ให้ทหารแทรกแซงจนกระทั่งเกิดการใช้กำลังประกาศภาวะฉุกเฉินหรือมีปฏิวัติและปฏิวัติซ้อนเพื่อรักษาอำนาจนั้น เพียงแต่คิดก็ขออย่าให้มี
6. ผู้ที่เห็นด้วยกับสนธิแต่ไปไม่ได้จะทำอย่างไร การแสดงออกว่าไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลนั้นทำได้หลายอย่าง หากอยากร่วมพลังกับสนธิ ก็ซื้อโปสการ์ดส่งไป เขียนจดหมายไป โทรศัพท์ไป นัดกันเปิดไฟหน้ารถตอนกลางวัน นัดประชุมย่อย นั่งประท้วง เดินประท้วง ฯลฯ
7. ผู้ที่เชียร์รัฐบาลและคัดค้านสนธิควรทำอย่างไร ก็ทำอย่างเดียวกัน เพราะมีสิทธิและเสรีภาพไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน แต่อย่าเลือกเวลาและสถานที่เดียวกัน อย่าไปป่วนกัน แบบม็อบชนม็อบ เพราะปรากฏการณ์สนธิยังมิใช่ม็อบ หากอยากใช้วิธีการสงเคราะห์อัศวินควายทักษิณแบบคุณหมอเสมเคยทำ ก็ส่งจดหมายไปที่คุณหมอเสม อีกสัก 19 ล้านฉบับ
ทางที่ดีรัฐบาลควรสั่งให้ไปรษณีย์รับและส่งให้ฟรี เหมือนกับรัฐบาลสหรัฐฯ รับและส่งจดหมาย-โทรเลขของผู้ประท้วงสงครามเวียดนามให้ฟรี รัฐบาลจะได้รับรู้ความรู้สึกอันแท้จริงของประชาชน
8. ผมขอย้ำว่า วันที่ 4 กุมภาพันธ์นี้ อย่าห่วงสนธิว่าจะทำอะไร จงห่วงแต่ว่ารัฐบาลจะทำอะไร ถึงแม้สนธิจะประกาศไม่ห่วงตัวเองแล้ว ผมก็ไม่อยากเห็นสนธิเป็นแพะบูชายันต์ ผมว่า รัฐบาลจะทำอะไรกับสนธิ ย่อมสำคัญไม่เท่ากับรัฐบาลทำอะไรกับประชาชนและประเทศชาติทั้งในวันที่ 4 กุมภาพันธ์นี้และตลอด 5 ปีที่ผ่านมา จงอย่าหาเหตุปกปิดความผิดจนเกินกว่าเหตุ จงน้อมเอาพระราชดำรัสในหลวงใส่หัวใส่เกล้าให้จริงจังสักครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่ดำรัสว่า คนที่พยักหน้านี่ไม่ได้แก้ไข นี่ผิดตรงนี้ที่ไม่ได้แก้ไข หลบ..หลบความรับผิดชอบ มันเป็นอย่างนั้น คือ มันในเมืองไทยนี่ คนไหนที่ทำอะไรไม่ค่อยเข้าร่องเข้ารอยก็ลาออก ลาออกแล้ว ไม่ผิดอะไรเลย
ผมไม่มีโอกาสดูทีวี จึงไม่ทราบว่าคนที่พยักหน้ามีกี่คน เป็นใครบ้าง นั่งแถวหน้าหรือแถวหลัง แต่ปรากฏการณ์สนธิได้พยายามบอกว่าใครบ้างที่ทำอะไรไม่ค่อยเข้าร่องเข้ารอย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายกรัฐมนตรี ท่านนายกฯ พยักหน้าหรือเปล่า ถ้ามิได้พยักแล้วทำไมสนธิจึงจะมาเคี่ยวเข็ญให้นายกฯ ลาออก
ฟังดู ได้ยินว่าสนธิรวบรวมคำถามตั้ง 40 คำถาม ซึ่งหนักหนาสากรรจ์กว่าการทำอะไรที่ไม่เข้าร่องเข้ารอยเสียอีก เช่น การกระทำไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง การกดขี่คดโกงและทำลายผลประโยชน์บ้านเมือง นายกฯ กลับปิดปากเงียบไม่ยอมตอบ ซ้ำลูกน้องของนายกฯ หรือลูกน้องของลูกน้องนายกฯ ต่างก็ลุแก่อำนาจพากันมารบกวนข่มเหงการใช้สิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตยของประชาชนมือเปล่าๆ เสียอีก
ด้วยเหตุดังนี้ เขาจึงพากันกู่ตระโกน ออกไป ออกไป ออกไป ซึ่งนายกฯ ไม่จำเป็นจะต้องประสาทหลอน แต่ควรจะมีขันติอดทนฟังที่เขาพูด และตอบกลับอย่างมีเหตุผล ว่าเขาพูดเหลวไหลปั้นน้ำเป็นตัว ไม่ควรเชื่อถืออย่างไร
ถ้านายกฯ ไม่เข้าใจ ถูกโลภะ โมหะ โกรธะ และมานะเข้าสิง ปล่อยให้ลูกน้องสอพลอออกมาครอบงำโต้ตอบด้วยกำลังอำนาจที่ไม่เป็นธรรม บ้านเมืองจะลุกเป็นไฟ (อ่านต่อฉบับวันศุกร์)
โดย ปราโมทย์ นาครทรรพ 31 มกราคม 2549 22:36 น.
ผมขอตอบคำที่ผมถูกกระหน่ำถามซ้ำแล้วซ้ำอีกดังต่อไปนี้
1. เรื่องการเดินขบวนขับไล่นายกฯ 4 กุมภาพันธ์นี้
1. ผมจะไปหรือไม่ ผมจะไม่ไปร่วมเดินในวันที่ 4 กุมภาพันธ์นี้ แต่ผมสนับสนุนให้ไปกันมากๆ จนมืดฟ้ามัวดินก็ยิ่งดี ถ้าหากผู้ที่ไปมีความเชื่ออย่างเดียวกับผมคือเชื่อว่าปรากฏการณ์สนธิเป็นการต่อสู้เพื่อ หนึ่ง สิทธิเสรีภาพที่ถูกครอบงำโดยรัฐบาล สอง ต่อต้านคอร์รัปชันที่กระทำ และปกปิดโดยรัฐบาลและพวกพ้องบริวาร สาม ยกระดับพัฒนาการเมืองไทยไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างแท้จริง
2. ทำไมผมจึงไม่ไป หนึ่ง เพราะผมต้องไปต่างจังหวัด เพื่อการศึกษาของลูกหลานตาดำๆ สอง ผมเป็นปัญญาชนอิสระมีหน้าที่ผลิตยา ยาของผมร้านไหนต้องการเอาไปขาย ผมก็ยินดี เช่น ร้านผู้จัดการ ร้านไทยโพสต์ และร้านมติชน ส่วนจะมีใครซื้อยาของผมไปกินหรือไม่ ผมไม่มีหน้าที่ไปกะเกณฑ์ รัฐบาลหรือสนธิก็ไม่ต่างกัน สาม คราวนี้ผมมิใช่หัวขบวนของการถวายพระราชอำนาจตามคำกล่าวหา ผมเรียกร้องเรื่องคืนพระราชอำนาจมาตั้งแต่ ปี 2514, 2528 ทั้งพูดทั้งเขียนทั้งเดินครบทุกอย่างแต่ไม่สำเร็จ คนไทยฆ่ากันเลือดนอง ผมไม่อยากเห็นเช่นนี้อีก จึงเล่าความคิดและประสบการณ์ของผมให้ฟังเผื่อจะเป็นประโยชน์
3. มีผู้ถามที่อายุเกือบ 80 บ้าง เป็นข้าราชการบ้าง เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ
บ้างถามว่าควรไปหรือไม่ เพราะอะไร ตอบในข้อ 1 แล้ว ขอขยายความในข้อ 1 สาม ว่าการยกระดับพัฒนาการเมืองไทย รวมทั้งการรู้จักเดินขบวน การประท้วง การตรวจสอบรัฐบาลทุกรูปแบบ ภายใต้กฎเกณฑ์ประชาธิปไตยที่สงบสันติ ยิ่งทำบ่อยๆ ก็ยิ่งเก่งขึ้น จะเป็นการให้บทเรียนแก่ขบวนการประชาชน และรัฐบาล ตลอดจนผู้นำไปในตัวพร้อมๆ กัน หากผู้นำและรัฐบาลยังไม่สำนึก การประท้วงอาจต้องยกระดับขึ้นไปสู่การไม่เคารพเชื่อฟังคำสั่งรัฐบาล (Civil Disobedience) และการต่อต้านโดยสงบ (Passive Resistance) อันอาจนำไปสู่การหยุดงานทั่วประเทศ ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายของการประท้วงในครรลองประชาธิปไตย ก่อนที่ประชาชนจะลุกฮือขึ้นขับไล่รัฐบาลที่เป็นกบฏต่อประชาชนและประเทศชาติ เพราะการกระทำของผู้นำหรือรัฐบาลล้มล้างความชอบธรรมในการปกครองของตนเองด้วยการกดขี่คดโกง และทำลายผลประโยชน์บ้านเมือง
4. ปรากฏการณ์สนธิไม่น่าจะเกิดถ้าหากเราอยู่ในสังคมประชาธิปไตยที่มีวุฒิภาวะพอ ปรากฏการณ์สนธิเป็นปฏิกิริยาต่อปรากฏการณ์ทักษิณ ซึ่งสร้างความสงสัยในเรื่องทุจริตคดโกงอย่างมโหฬาร แล้วไม่ยอมตอบคำถามซ้ำกลั่นแกล้งกดขี่สื่อ ถ้าไม่มีกรณีดังกล่าว ปรากฏการณ์สนธิน่าจะเป็นเพียง investigative report หรือการรายงานข่าวแบบเจาะลึก เหมือนคดีวอเตอร์เกตของอเมริกา เมื่อสภาและองค์กรต่างๆ ของรัฐและสังคมได้รับทราบแล้วก็พากันรับลูกต่อไปตามครรลองและความรับผิดชอบ ไม่จำเป็นต้องเปิดรายการด่ารายสัปดาห์ ซึ่งใช้ถ้อยคำเผ็ดร้อนรุนแรงเกินกว่าความพอดี และจริยธรรมของการเสนอข่าวในสื่อทั้งประเภทพิมพ์และกระจายเสียงทั่วไป บัดนี้ปรากฏการณ์สนธิได้ใหญ่โตขึ้นจนกลายเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองไปเสียแล้ว
5. มีข้อแนะนำอะไรบ้าง มีข้อแนะนำทั้งฝ่ายประท้วงและฝ่ายรัฐบาล ความจริงได้เขียนมาก่อนแล้วหลายฉบับ แต่ขอย้ำอีกครั้งว่า ผู้ประท้วงต้องยึดหลักอหิงสาของมหาตมะ คานธีอย่างเคร่งครัด ถึงแรงมาก็อย่าแรงตอบ พยายามอย่าตกเป็นเหยื่อของการยั่วยุ หรือตกหลุมพราง ระแวดระวังมือที่สาม แนวที่ห้าหรือพวกผสมโรง สำหรับรัฐบาลขอแนะนำเป็นพิเศษว่าเป็นผู้นำต้องหนักแน่น และเคารพในสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างจริงใจ อย่าจัดม็อบชนม็อบเป็นอันขาด ต้องอำนวยความสะดวกทุกอย่างให้กับผู้ประท้วงแม้แต่น้ำดื่ม ปฐมพยาบาล และที่ปัสสาวะก็ต้องทำ ประเทศที่เจริญเช่น อังกฤษและญี่ปุ่นเขาช่วยยิ่งกว่านี้ ตำรวจที่รัฐบาลส่งไปต้องอยู่ภายใต้คำสั่งและการบังคับบัญชาอย่างเข้มงวด มีบัญชีรายชื่อ ยศและสังกัดที่แน่นอน ที่ขอนแก่นนั้นเป็นตัวอย่างความเลว อย่ากระทำซ้ำอีก และข่าวลือที่ว่าตำรวจจะยั่วยุเพื่อหาโอกาสบดขยี้ให้ทหารแทรกแซงจนกระทั่งเกิดการใช้กำลังประกาศภาวะฉุกเฉินหรือมีปฏิวัติและปฏิวัติซ้อนเพื่อรักษาอำนาจนั้น เพียงแต่คิดก็ขออย่าให้มี
6. ผู้ที่เห็นด้วยกับสนธิแต่ไปไม่ได้จะทำอย่างไร การแสดงออกว่าไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลนั้นทำได้หลายอย่าง หากอยากร่วมพลังกับสนธิ ก็ซื้อโปสการ์ดส่งไป เขียนจดหมายไป โทรศัพท์ไป นัดกันเปิดไฟหน้ารถตอนกลางวัน นัดประชุมย่อย นั่งประท้วง เดินประท้วง ฯลฯ
7. ผู้ที่เชียร์รัฐบาลและคัดค้านสนธิควรทำอย่างไร ก็ทำอย่างเดียวกัน เพราะมีสิทธิและเสรีภาพไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน แต่อย่าเลือกเวลาและสถานที่เดียวกัน อย่าไปป่วนกัน แบบม็อบชนม็อบ เพราะปรากฏการณ์สนธิยังมิใช่ม็อบ หากอยากใช้วิธีการสงเคราะห์อัศวินควายทักษิณแบบคุณหมอเสมเคยทำ ก็ส่งจดหมายไปที่คุณหมอเสม อีกสัก 19 ล้านฉบับ
ทางที่ดีรัฐบาลควรสั่งให้ไปรษณีย์รับและส่งให้ฟรี เหมือนกับรัฐบาลสหรัฐฯ รับและส่งจดหมาย-โทรเลขของผู้ประท้วงสงครามเวียดนามให้ฟรี รัฐบาลจะได้รับรู้ความรู้สึกอันแท้จริงของประชาชน
8. ผมขอย้ำว่า วันที่ 4 กุมภาพันธ์นี้ อย่าห่วงสนธิว่าจะทำอะไร จงห่วงแต่ว่ารัฐบาลจะทำอะไร ถึงแม้สนธิจะประกาศไม่ห่วงตัวเองแล้ว ผมก็ไม่อยากเห็นสนธิเป็นแพะบูชายันต์ ผมว่า รัฐบาลจะทำอะไรกับสนธิ ย่อมสำคัญไม่เท่ากับรัฐบาลทำอะไรกับประชาชนและประเทศชาติทั้งในวันที่ 4 กุมภาพันธ์นี้และตลอด 5 ปีที่ผ่านมา จงอย่าหาเหตุปกปิดความผิดจนเกินกว่าเหตุ จงน้อมเอาพระราชดำรัสในหลวงใส่หัวใส่เกล้าให้จริงจังสักครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่ดำรัสว่า คนที่พยักหน้านี่ไม่ได้แก้ไข นี่ผิดตรงนี้ที่ไม่ได้แก้ไข หลบ..หลบความรับผิดชอบ มันเป็นอย่างนั้น คือ มันในเมืองไทยนี่ คนไหนที่ทำอะไรไม่ค่อยเข้าร่องเข้ารอยก็ลาออก ลาออกแล้ว ไม่ผิดอะไรเลย
ผมไม่มีโอกาสดูทีวี จึงไม่ทราบว่าคนที่พยักหน้ามีกี่คน เป็นใครบ้าง นั่งแถวหน้าหรือแถวหลัง แต่ปรากฏการณ์สนธิได้พยายามบอกว่าใครบ้างที่ทำอะไรไม่ค่อยเข้าร่องเข้ารอย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายกรัฐมนตรี ท่านนายกฯ พยักหน้าหรือเปล่า ถ้ามิได้พยักแล้วทำไมสนธิจึงจะมาเคี่ยวเข็ญให้นายกฯ ลาออก
ฟังดู ได้ยินว่าสนธิรวบรวมคำถามตั้ง 40 คำถาม ซึ่งหนักหนาสากรรจ์กว่าการทำอะไรที่ไม่เข้าร่องเข้ารอยเสียอีก เช่น การกระทำไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง การกดขี่คดโกงและทำลายผลประโยชน์บ้านเมือง นายกฯ กลับปิดปากเงียบไม่ยอมตอบ ซ้ำลูกน้องของนายกฯ หรือลูกน้องของลูกน้องนายกฯ ต่างก็ลุแก่อำนาจพากันมารบกวนข่มเหงการใช้สิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตยของประชาชนมือเปล่าๆ เสียอีก
ด้วยเหตุดังนี้ เขาจึงพากันกู่ตระโกน ออกไป ออกไป ออกไป ซึ่งนายกฯ ไม่จำเป็นจะต้องประสาทหลอน แต่ควรจะมีขันติอดทนฟังที่เขาพูด และตอบกลับอย่างมีเหตุผล ว่าเขาพูดเหลวไหลปั้นน้ำเป็นตัว ไม่ควรเชื่อถืออย่างไร
ถ้านายกฯ ไม่เข้าใจ ถูกโลภะ โมหะ โกรธะ และมานะเข้าสิง ปล่อยให้ลูกน้องสอพลอออกมาครอบงำโต้ตอบด้วยกำลังอำนาจที่ไม่เป็นธรรม บ้านเมืองจะลุกเป็นไฟ (อ่านต่อฉบับวันศุกร์)
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
การล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมในทฤษฎีสัญญาประชาคม
โพสต์ที่ 11
การเดินขบวนใหญ่ขับไล่นายกฯ 4 กุมภาพันธ์ กับการคืนพระราชอำนาจ (จบ)
โดย ปราโมทย์ นาครทรรพ 2 กุมภาพันธ์ 2549 17:14 น.
2. คืนพระราชอำนาจแปลว่าอะไร เป็นการดึงในหลวงมาเล่นการเมืองหรือไม่
ผมเห็นใจที่คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจผิด และแพร่ความคิดผิดๆ ว่า การถวายพระราชอำนาจคืนคือการเปลี่ยนรัฐบาลด้วยม็อบ และขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เป็นการดึงในหลวงลงมาเล่นการเมือง ผู้ที่เข้าใจผิดเช่นนี้โดยสุจริตใจน่าจะมีมากกว่าผู้ที่เข้าใจผิดเพราะความเขลาและอวิชชา ตกอยู่ใต้ทฤษฎี วิธีคิดและอุดมการณ์บางอย่างอย่างมัวเมา กับทั้งระบบการปกครองและระบบการศึกษาของไทย ได้ปลูกฝังความคิดเรื่องพระมหากษัตริย์ต้องอยู่เหนือการเมืองและอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญจนเข้ากระดูกดำ จึงปล่อยให้พระมหากษัตริย์ของตนเองต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและการเมืองของเผด็จการเป็นเวลาหลายสิบปี เพราะไม่เข้าใจว่ารัฐธรรมนูญของเผด็จการนั้นคือพิมพ์เขียวของการเมืองระบบเผด็จการที่บังคับในหลวง โดยสร้างทฤษฎีที่หลอกลวงว่าในหลวงอยู่เหนือการเมือง มีหน้าที่ลงพระปรมาภิไธยอย่างเดียว อย่างอื่นเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาล
เรื่องนี้ คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิชาการยังไม่ยอมเข้าใจ ทั้งๆ ที่ผมได้อธิบายกรณีของต่างประเทศเปรียบเทียบ และอัญเชิญพระราชดำรัส และคำอธิบายประกอบของรองราชเลขาธิการมาเขียนและพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกระทั่งผมต้องยอมรับว่าผมเขียนภาษาคนไม่เป็น (ถึงผมจะได้รับพระราชทานทุนรางวัลภูมิพล ในการเขียนเรียงความก็ตาม) ผมขอลองอธิบายอีกครั้งดังนี้
1. เรื่องในหลวงอยู่เหนือและไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ในระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุขนั้นตามหลักมีอยู่เรื่องเดียวเท่านั้น คือพระมหากษัตริย์จะไม่ลำเอียง ก้าวก่ายหรือเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดที่แข่งขันต่อสู้แย่งชิงกันจัดตั้งรัฐบาล
2. ม.ร.ว.ทองน้อย ทองใหญ่ อธิบายว่า มิใช่เรื่องเดียวแต่รวมถึงเรื่อง "การดำเนินการปกครองบ้านเมืองอันเป็นหน้าที่ของรัฐบาลโดยตรง" ซึ่ง "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านทรงยึดมั่นอย่างเคร่งครัดว่า ต้องทรงดำรงฐานะอยู่เหนือการเมืองตลอดเวลา" ถ้าหากเข้าไปเกี่ยวข้องจะถูกมองว่าลำเอียงเข้าหรือไม่เข้ากับรัฐบาล
3. เกี่ยวกับเรื่อง 1 และ 2 นี้ ในหลวงรัชกาลปัจจุบันทรงมีพระราชดำรัสว่า "จำไว้ว่าสถาบันจะลงไปเล่นการเมืองเต็มตัวได้ก็ต่อเมื่อเกิดมี Void หรือสุญญากาศทางการเมืองขึ้นจริงๆ อย่างกรณี 14 ตุลาฯ แต่เมื่อได้ก้าวลงไปจัดการ จนช่องว่างดังกล่าวหมดไปแล้ว สถาบันกษัตริย์จะต้องรีบก้าวกลับขึ้นไปอยู่เหนือการเมืองอย่างเดิมให้เร็วที่สุด จะได้พร้อมที่จะลงมาช่วยได้อีก ถ้าเกิดสุญญากาศขึ้นมาอีก"
มีผู้ฉวยโอกาสบิดเบือนแปลพระราชดำรัสว่า สุญญากาศได้แก่การต่อสู้นองเลือด ซึ่งระงับลงเสียได้เพราะพระมหาบารมีหลายคราว ความจริงมิใช่ เช่น ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬในหลวงมิได้ทรงลงมาเล่นการเมือง และมิได้มีสุญญากาศเกิดขึ้น เพราะสภาได้ทูลให้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญในขณะนั้น ต่างกับเหตุการณ์ 14 ตุลาคมที่นายกรัฐมนตรีลาออกหนีไปต่างประเทศ และสภานิติบัญญัติลาออกทั้งคณะ
สุญญากาศทางการเมืองไม่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นเพราะการจลาจลสู้รบ แต่เกิดเพราะองค์กรทางการเมืองต่างๆ หรือทั้งหมดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือสลายไปด้วยเหตุใดๆ ก็ดี เช่น การลาออกทั้งคณะ หรือการไม่สามารถแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งได้ หรือ ส.ส.และ ส.ว.ลาออกจนไม่ครบองค์ หรือพรรคการเมืองบอยคอตประท้วงจนไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ ทั้งหมดนี้คือ สุญญากาศทางการเมืองทั้งสิ้น ส่วนกรณีใดที่พระมหากษัตริย์จะทรงลงมาจัดการก็ขึ้นอยู่กับความเสียหายและพระราชอำนาจตามครรลองประชาธิปไตย
ในกรณีดังกล่าว สามารถนำมาตรา 7 แห่งรัฐธรรมนูญปัจจุบันมาบังคับใช้ดังนี้ "ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข"
ประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
มีตัวอย่างเรื่องพระราชอำนาจและการใช้พระราชอำนาจอยู่มากมายในประเทศเบลเยียม เนเธอร์แลนด์ สแกนดิเนเวีย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อังกฤษ ซึ่งเราอ้างว่าเป็นต้นแบบของไทยพระราชอำนาจของกษัตริย์ประชาธิปไตยมีอยู่ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ พระราชอำนาจทั่วไป (Usual Powers) พระราชอำนาจพิเศษ (Sovereign or Royal Prerogative) และพระราชอำนาจสำรอง (Reserve Powers)
อำนาจทั่วไปได้แก่อำนาจที่จะแนะนำ (advise) ให้กำลังใจ (encourage) และเตือน (warn) รัฐบาลผ่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ส่วนอำนาจพิเศษและอำนาจสำรองนั้นมีมาก เช่น อำนาจในการแต่งตั้งรัฐบาล สมาชิกสภาขุนนาง อำนาจยุบสภาตามคำขอของนายกรัฐมนตรี หรือโดยพระมหากษัตริย์เองโดยไม่ต้องให้นายกรัฐมนตรีร้องขอก็ได้ในหลายๆ กรณี ฯลฯ
ในหลวงรัชกาลปัจจุบันทรงอธิบายเรื่องอำนาจทั่วไปไว้ดังต่อไปนี้
"ก็มีประเพณีเป็นที่ยอมรับกันในนานาประเทศแล้วมิใช่หรือว่า พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยนั้นน่ะสัมพันธ์กับรัฐบาลตามที่ได้ย่อไว้อย่างสั้นเป็นภาษาอังกฤษว่า "to advise and be advised" หมายความว่ารัฐบาลน่ะมีหน้าที่ต้องทูลเกล้าถวายรายงานเป็นประจำถึงสถานะโดยทั่วๆ ไปและเหตุการณ์ที่สำคัญต่อความมั่นคงของประเทศ เช่น ในอังกฤษ นายกฯ ของเขาจะต้องเข้าเฝ้าฯ พระราชินีของเขาทุกวันศุกร์เพื่อถวายรายงาน และไม่ว่าพระราชินีจะเสด็จไปไหน ในประเทศอังกฤษเองหรือต่างประเทศ ก็จะต้องมีที่เรียกว่ากระเป๋าดำตามไปตลอดเวลา ซึ่งรายงานสถานการณ์บ้านเมืองและรายงานข้อสำคัญๆ ที่เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ ในทางกลับกัน ถ้าหากรัฐบาลกราบบังคมทูลขอพระราชทานคำปรึกษาหรือถ้าทรงเห็นว่าพระองค์ควรจะพระราชทานคำปรึกษาเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศชาติและทุกข์สุขของราษฎรไม่ว่าในเรื่องใด พระมหากษัตริย์ก็จำเป็นต้องพระราชทานคำปรึกษานั้นให้กับรัฐบาล"
พระราชอำนาจดังกล่าวนี้ ไม่ปรากฏว่ารัฐบาลได้นำมาใช้ให้เหมาะสมถูกต้อง การนำมาใช้หาจำเป็นต้องเดินขบวนหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ เพียงแต่รัฐบาลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตกำหนดให้มีระเบียบวาระที่มีหมายกำหนดการและพิธีการแน่นอนในการเข้าเฝ้าฯ เป็นประจำ ก็ย่อมจะกระทำได้เลย ดีกว่าเป็นครั้งคราวแบบลำลอง เช่น ไปเล่นกอล์ฟผ่านมาก็ขอเข้าเฝ้าฯ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีวิธีอื่นๆ ที่เหมาะสมควรนำมาปฏิบัติอีกมากมาย
พระราชอำนาจในการแนะนำให้กำลังใจ ตักเตือน พระราชอำนาจพิเศษและสำรองทางการเมืองยังมีอยู่อีกมาก อำนาจดังกล่าวถูกเก็บขึ้นหิ้งบูชา เพราะทฤษฎีและความเข้าใจผิดๆ และความที่สังคมไทยไม่รู้หรือไม่เข้าใจประเพณีประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ในต่างประเทศ เรื่องนี้รองราชเลขาธิการเคยให้อรรถาธิบายว่า
"การที่พูดกันอยู่ทั่วไปว่า พระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมืองนั้น ผมว่าต้องเข้าใจคำวาการเมืองกันให้ถ่องแท้กันเสียก่อนนะครับ ถ้าการเมืองหมายถึงระบบการปกครองโดยทั่วๆ ไป อันหมายถึงความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศโดยทั่วไป และการดำเนินการเพื่อการปกครองคือการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชน ก็จะพูดว่าพระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมืองไม่ได้ มิฉะนั้น ก็หมดความหมายครับ พระมหากษัตริย์จะทำอะไร จะมีไว้ทำไม"
ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มาแล้ว พระราชอำนาจของกษัตริย์ถูก "เม้ม" "เก็บงำ" หรือ "ลิดรอน" มิให้นำมาใช้เพื่อสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริง รัชกาลที่ 7 เคยพระราชทานวินิจฉัยรัฐธรรมนูญ การแต่งตั้งวุฒิสมาชิก และอื่นๆ แต่รัฐบาลก็มิฟัง จนกระทั่งเมื่อสละราชสมบัติ พระองค์ทรงประกาศขอสงวนพระราชอำนาจต่างๆ ที่มีอยู่เดิม (รวมทั้งพระราชอำนาจในระบอบประชาธิปไตย) ไว้กับปวงราษฎร มิให้บุคคล หมู่ใดคณะใดนำเอาไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน
รัฐบาลต่อๆ มาก็มิได้ดีขึ้นนัก แม้แต่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีเชื้อพระวงศ์ที่เป็นนักกฎหมายก็ตาม อาจจะเป็นเพราะส่วนหนึ่งยังเกรงกลัวอำนาจทหาร อีกส่วนหนึ่งยอมรับทฤษฎีกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญเหนือการเมืองอย่างสุดหัวใจ ผู้นำรัฐบาลบางคนกล่าวว่าในหลวง "เป็นคนรุ่นลูกรุ่นหลาน" จวบจนกระทั่งอวสานของรัฐบาลรัฐประหารเดือนกันยายน 2500 รัฐบาลจึงยกเชิดชูในหลวงขึ้น พระองค์ได้เสียสละพระวรกายออกคลุกคลีกับปวงราษฎรจนพระบารมีกระจรกระจาย ถึงกระนั้น พระองค์และปวงราษฎรก็ยังตกอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และการปกครองเผด็จการอย่างยาวนานอยู่ดี
รัฐบาลปัจจุบัน โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีถูกสังคมตั้งข้อกล่าวหาว่าประพฤติไม่สมควรไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง ไม่รู้จักเคารพเชิดชูในหลวงอย่างจริงใจ เท็จจริงเป็นประการใดนายกฯ ไม่ควรโพล่งออกมาว่า "ถ้านายกฯ ไม่จงรักภักดี ผีที่ไหนจะจงรักภักดีวะ" ผมเห็นว่านายกฯ ควรขอพระราชทานอภัยในเรื่องนี้
ในเรื่องอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับพระราชดำรัสปี 2547 และ 48 หากนายกฯ มีสามัญสำนึกและตั้งใจจริงที่จะช่วยสร้างระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข นายกฯ ควรเข้าเฝ้าฯ ขอพึ่งพระบารมีและขอให้พระราชทานคำแนะนำตักเตือน รวมทั้งกราบบังคมทูลอย่างจริงใจถึงความบกพร่องผิดพลาด รวมถึงการที่บุคคลของรัฐบาลได้ล่วงละเมิดต่อพระองค์ ในหลวงมีพระราชดำรัสว่า "แต่ที่เห็นอยู่ข้างหน้านี่ มีคนที่พูด ก็คงรู้ว่าแล้วใครพูด มีคนที่พูดว่าข้าพเจ้าไม่ดี พระเจ้าอยู่หัวฯ ไม่ดี ทำอะไรผิด" ถึงปานนี้ นายกฯ จะยังทำเป็นทองไม่รู้ร้อนอยู่มิได้
การเดินขบวนของสนธิในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ นี้ รัฐบาลต้องงดเว้นการใช้กำลังเข้าปะทะหรือปราบปราม การทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพึ่งพระราชอำนาจและบารมีในหลวงเป็นสิทธิตามระบอบประชาธิปไตยและนิติราชประเพณี เมื่อพระองค์ได้รับเรื่อง ก็แล้วแต่จะทรงโปรดให้รัฐบาลชี้แจง หรือทรงปรารภความเดือดร้อนของผู้ถวายฎีกาผ่าน องคมนตรีหรือราชเลขาธิการอย่างหนึ่งอย่างใด
สำหรับการถวายคืนพระราชอำนาจนั้น กระทำได้ทั้งทางตรงทางอ้อม ไม่จำเป็นจะต้องต่อสู้ฆ่าฟันกันให้เลือดนองแผ่นดิน ทางอ้อมก็คือรัฐบาลกลับคืนสู่ความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงมากขึ้น ทางตรงก็คือรัฐบาลกำหนดมาตรการนำเอาพระราชอำนาจที่ถูกลิดรอนเก็บงำออกมาปฏิบัติตามจารีตประเพณี ตามกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็เท่ากับเป็นการถวายคืน ตัวอย่างเช่น ถ้ามีเหตุขัดข้องตามรัฐธรรมนูญก็แก้ไขเสีย แม้แต่ข้อขัดข้องในมาตราที่ 303-305 เมื่อประชาชนห้าหมื่นคนกล่าวโทษ การไม่มี ป.ป.ช.หรือวุฒิสภาสิ้นสภาพ ก็แก้ไขได้โดยขอพึ่งพระราชอำนาจและนำมาตรา 7 มาใช้ดั่งนี้เป็นต้น
สำนึกและความรักชาติของนายกรัฐมนตรีจะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในเรื่องนี้ พวกเราคงจำวาทะอมตะของประธานาธิบดีเคนเนดี้ได้ ท่านกล่าวว่า "อย่าถามว่าท่านจะได้อะไรจากแผ่นดินบ้าง จงถามว่าท่านจะให้อะไรกับแผ่นดินได้บ้าง"
แผ่นดินนี้ได้ให้นายกฯ ทักษิณกับครอบครัวจนเหลือคณานับแล้ว บัดนี้ถึงเวลาที่นายกฯ จะต้องตอบคำถามท่อนหลัง
เคนเนดี้ได้ชื่อว่าเป็นประธานาธิบดีหัวก้าวหน้า มีคนรักมากกว่าคนชังทั่วโลกมิใช่แต่ในอเมริกา ถึงกระนั้นเคนเนดี้ก็ยังถูกลอบสังหารเพราะคนบางกลุ่มเชื่อว่า 4 ปีเป็นเวลาที่นานเกินรอ
การปิดทางเลือกทางการเมืองนั้นจะทำให้ความโหดร้ายทางการเมืองเพิ่มขึ้น พวกเราคนไทยจงช่วยกันเปิดทางเลือกที่สันติ โดยขอพึ่งพระราชอำนาจ และนำจารีตประชาธิปไตยมาปฏิบัติให้ถึงที่สุดเถิด
โดย ปราโมทย์ นาครทรรพ 2 กุมภาพันธ์ 2549 17:14 น.
2. คืนพระราชอำนาจแปลว่าอะไร เป็นการดึงในหลวงมาเล่นการเมืองหรือไม่
ผมเห็นใจที่คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจผิด และแพร่ความคิดผิดๆ ว่า การถวายพระราชอำนาจคืนคือการเปลี่ยนรัฐบาลด้วยม็อบ และขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เป็นการดึงในหลวงลงมาเล่นการเมือง ผู้ที่เข้าใจผิดเช่นนี้โดยสุจริตใจน่าจะมีมากกว่าผู้ที่เข้าใจผิดเพราะความเขลาและอวิชชา ตกอยู่ใต้ทฤษฎี วิธีคิดและอุดมการณ์บางอย่างอย่างมัวเมา กับทั้งระบบการปกครองและระบบการศึกษาของไทย ได้ปลูกฝังความคิดเรื่องพระมหากษัตริย์ต้องอยู่เหนือการเมืองและอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญจนเข้ากระดูกดำ จึงปล่อยให้พระมหากษัตริย์ของตนเองต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและการเมืองของเผด็จการเป็นเวลาหลายสิบปี เพราะไม่เข้าใจว่ารัฐธรรมนูญของเผด็จการนั้นคือพิมพ์เขียวของการเมืองระบบเผด็จการที่บังคับในหลวง โดยสร้างทฤษฎีที่หลอกลวงว่าในหลวงอยู่เหนือการเมือง มีหน้าที่ลงพระปรมาภิไธยอย่างเดียว อย่างอื่นเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาล
เรื่องนี้ คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิชาการยังไม่ยอมเข้าใจ ทั้งๆ ที่ผมได้อธิบายกรณีของต่างประเทศเปรียบเทียบ และอัญเชิญพระราชดำรัส และคำอธิบายประกอบของรองราชเลขาธิการมาเขียนและพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกระทั่งผมต้องยอมรับว่าผมเขียนภาษาคนไม่เป็น (ถึงผมจะได้รับพระราชทานทุนรางวัลภูมิพล ในการเขียนเรียงความก็ตาม) ผมขอลองอธิบายอีกครั้งดังนี้
1. เรื่องในหลวงอยู่เหนือและไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ในระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุขนั้นตามหลักมีอยู่เรื่องเดียวเท่านั้น คือพระมหากษัตริย์จะไม่ลำเอียง ก้าวก่ายหรือเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดที่แข่งขันต่อสู้แย่งชิงกันจัดตั้งรัฐบาล
2. ม.ร.ว.ทองน้อย ทองใหญ่ อธิบายว่า มิใช่เรื่องเดียวแต่รวมถึงเรื่อง "การดำเนินการปกครองบ้านเมืองอันเป็นหน้าที่ของรัฐบาลโดยตรง" ซึ่ง "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านทรงยึดมั่นอย่างเคร่งครัดว่า ต้องทรงดำรงฐานะอยู่เหนือการเมืองตลอดเวลา" ถ้าหากเข้าไปเกี่ยวข้องจะถูกมองว่าลำเอียงเข้าหรือไม่เข้ากับรัฐบาล
3. เกี่ยวกับเรื่อง 1 และ 2 นี้ ในหลวงรัชกาลปัจจุบันทรงมีพระราชดำรัสว่า "จำไว้ว่าสถาบันจะลงไปเล่นการเมืองเต็มตัวได้ก็ต่อเมื่อเกิดมี Void หรือสุญญากาศทางการเมืองขึ้นจริงๆ อย่างกรณี 14 ตุลาฯ แต่เมื่อได้ก้าวลงไปจัดการ จนช่องว่างดังกล่าวหมดไปแล้ว สถาบันกษัตริย์จะต้องรีบก้าวกลับขึ้นไปอยู่เหนือการเมืองอย่างเดิมให้เร็วที่สุด จะได้พร้อมที่จะลงมาช่วยได้อีก ถ้าเกิดสุญญากาศขึ้นมาอีก"
มีผู้ฉวยโอกาสบิดเบือนแปลพระราชดำรัสว่า สุญญากาศได้แก่การต่อสู้นองเลือด ซึ่งระงับลงเสียได้เพราะพระมหาบารมีหลายคราว ความจริงมิใช่ เช่น ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬในหลวงมิได้ทรงลงมาเล่นการเมือง และมิได้มีสุญญากาศเกิดขึ้น เพราะสภาได้ทูลให้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญในขณะนั้น ต่างกับเหตุการณ์ 14 ตุลาคมที่นายกรัฐมนตรีลาออกหนีไปต่างประเทศ และสภานิติบัญญัติลาออกทั้งคณะ
สุญญากาศทางการเมืองไม่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นเพราะการจลาจลสู้รบ แต่เกิดเพราะองค์กรทางการเมืองต่างๆ หรือทั้งหมดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือสลายไปด้วยเหตุใดๆ ก็ดี เช่น การลาออกทั้งคณะ หรือการไม่สามารถแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งได้ หรือ ส.ส.และ ส.ว.ลาออกจนไม่ครบองค์ หรือพรรคการเมืองบอยคอตประท้วงจนไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ ทั้งหมดนี้คือ สุญญากาศทางการเมืองทั้งสิ้น ส่วนกรณีใดที่พระมหากษัตริย์จะทรงลงมาจัดการก็ขึ้นอยู่กับความเสียหายและพระราชอำนาจตามครรลองประชาธิปไตย
ในกรณีดังกล่าว สามารถนำมาตรา 7 แห่งรัฐธรรมนูญปัจจุบันมาบังคับใช้ดังนี้ "ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข"
ประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
มีตัวอย่างเรื่องพระราชอำนาจและการใช้พระราชอำนาจอยู่มากมายในประเทศเบลเยียม เนเธอร์แลนด์ สแกนดิเนเวีย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อังกฤษ ซึ่งเราอ้างว่าเป็นต้นแบบของไทยพระราชอำนาจของกษัตริย์ประชาธิปไตยมีอยู่ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ พระราชอำนาจทั่วไป (Usual Powers) พระราชอำนาจพิเศษ (Sovereign or Royal Prerogative) และพระราชอำนาจสำรอง (Reserve Powers)
อำนาจทั่วไปได้แก่อำนาจที่จะแนะนำ (advise) ให้กำลังใจ (encourage) และเตือน (warn) รัฐบาลผ่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ส่วนอำนาจพิเศษและอำนาจสำรองนั้นมีมาก เช่น อำนาจในการแต่งตั้งรัฐบาล สมาชิกสภาขุนนาง อำนาจยุบสภาตามคำขอของนายกรัฐมนตรี หรือโดยพระมหากษัตริย์เองโดยไม่ต้องให้นายกรัฐมนตรีร้องขอก็ได้ในหลายๆ กรณี ฯลฯ
ในหลวงรัชกาลปัจจุบันทรงอธิบายเรื่องอำนาจทั่วไปไว้ดังต่อไปนี้
"ก็มีประเพณีเป็นที่ยอมรับกันในนานาประเทศแล้วมิใช่หรือว่า พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยนั้นน่ะสัมพันธ์กับรัฐบาลตามที่ได้ย่อไว้อย่างสั้นเป็นภาษาอังกฤษว่า "to advise and be advised" หมายความว่ารัฐบาลน่ะมีหน้าที่ต้องทูลเกล้าถวายรายงานเป็นประจำถึงสถานะโดยทั่วๆ ไปและเหตุการณ์ที่สำคัญต่อความมั่นคงของประเทศ เช่น ในอังกฤษ นายกฯ ของเขาจะต้องเข้าเฝ้าฯ พระราชินีของเขาทุกวันศุกร์เพื่อถวายรายงาน และไม่ว่าพระราชินีจะเสด็จไปไหน ในประเทศอังกฤษเองหรือต่างประเทศ ก็จะต้องมีที่เรียกว่ากระเป๋าดำตามไปตลอดเวลา ซึ่งรายงานสถานการณ์บ้านเมืองและรายงานข้อสำคัญๆ ที่เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ ในทางกลับกัน ถ้าหากรัฐบาลกราบบังคมทูลขอพระราชทานคำปรึกษาหรือถ้าทรงเห็นว่าพระองค์ควรจะพระราชทานคำปรึกษาเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศชาติและทุกข์สุขของราษฎรไม่ว่าในเรื่องใด พระมหากษัตริย์ก็จำเป็นต้องพระราชทานคำปรึกษานั้นให้กับรัฐบาล"
พระราชอำนาจดังกล่าวนี้ ไม่ปรากฏว่ารัฐบาลได้นำมาใช้ให้เหมาะสมถูกต้อง การนำมาใช้หาจำเป็นต้องเดินขบวนหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ เพียงแต่รัฐบาลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตกำหนดให้มีระเบียบวาระที่มีหมายกำหนดการและพิธีการแน่นอนในการเข้าเฝ้าฯ เป็นประจำ ก็ย่อมจะกระทำได้เลย ดีกว่าเป็นครั้งคราวแบบลำลอง เช่น ไปเล่นกอล์ฟผ่านมาก็ขอเข้าเฝ้าฯ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีวิธีอื่นๆ ที่เหมาะสมควรนำมาปฏิบัติอีกมากมาย
พระราชอำนาจในการแนะนำให้กำลังใจ ตักเตือน พระราชอำนาจพิเศษและสำรองทางการเมืองยังมีอยู่อีกมาก อำนาจดังกล่าวถูกเก็บขึ้นหิ้งบูชา เพราะทฤษฎีและความเข้าใจผิดๆ และความที่สังคมไทยไม่รู้หรือไม่เข้าใจประเพณีประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ในต่างประเทศ เรื่องนี้รองราชเลขาธิการเคยให้อรรถาธิบายว่า
"การที่พูดกันอยู่ทั่วไปว่า พระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมืองนั้น ผมว่าต้องเข้าใจคำวาการเมืองกันให้ถ่องแท้กันเสียก่อนนะครับ ถ้าการเมืองหมายถึงระบบการปกครองโดยทั่วๆ ไป อันหมายถึงความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศโดยทั่วไป และการดำเนินการเพื่อการปกครองคือการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชน ก็จะพูดว่าพระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมืองไม่ได้ มิฉะนั้น ก็หมดความหมายครับ พระมหากษัตริย์จะทำอะไร จะมีไว้ทำไม"
ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มาแล้ว พระราชอำนาจของกษัตริย์ถูก "เม้ม" "เก็บงำ" หรือ "ลิดรอน" มิให้นำมาใช้เพื่อสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริง รัชกาลที่ 7 เคยพระราชทานวินิจฉัยรัฐธรรมนูญ การแต่งตั้งวุฒิสมาชิก และอื่นๆ แต่รัฐบาลก็มิฟัง จนกระทั่งเมื่อสละราชสมบัติ พระองค์ทรงประกาศขอสงวนพระราชอำนาจต่างๆ ที่มีอยู่เดิม (รวมทั้งพระราชอำนาจในระบอบประชาธิปไตย) ไว้กับปวงราษฎร มิให้บุคคล หมู่ใดคณะใดนำเอาไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน
รัฐบาลต่อๆ มาก็มิได้ดีขึ้นนัก แม้แต่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีเชื้อพระวงศ์ที่เป็นนักกฎหมายก็ตาม อาจจะเป็นเพราะส่วนหนึ่งยังเกรงกลัวอำนาจทหาร อีกส่วนหนึ่งยอมรับทฤษฎีกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญเหนือการเมืองอย่างสุดหัวใจ ผู้นำรัฐบาลบางคนกล่าวว่าในหลวง "เป็นคนรุ่นลูกรุ่นหลาน" จวบจนกระทั่งอวสานของรัฐบาลรัฐประหารเดือนกันยายน 2500 รัฐบาลจึงยกเชิดชูในหลวงขึ้น พระองค์ได้เสียสละพระวรกายออกคลุกคลีกับปวงราษฎรจนพระบารมีกระจรกระจาย ถึงกระนั้น พระองค์และปวงราษฎรก็ยังตกอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และการปกครองเผด็จการอย่างยาวนานอยู่ดี
รัฐบาลปัจจุบัน โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีถูกสังคมตั้งข้อกล่าวหาว่าประพฤติไม่สมควรไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง ไม่รู้จักเคารพเชิดชูในหลวงอย่างจริงใจ เท็จจริงเป็นประการใดนายกฯ ไม่ควรโพล่งออกมาว่า "ถ้านายกฯ ไม่จงรักภักดี ผีที่ไหนจะจงรักภักดีวะ" ผมเห็นว่านายกฯ ควรขอพระราชทานอภัยในเรื่องนี้
ในเรื่องอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับพระราชดำรัสปี 2547 และ 48 หากนายกฯ มีสามัญสำนึกและตั้งใจจริงที่จะช่วยสร้างระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข นายกฯ ควรเข้าเฝ้าฯ ขอพึ่งพระบารมีและขอให้พระราชทานคำแนะนำตักเตือน รวมทั้งกราบบังคมทูลอย่างจริงใจถึงความบกพร่องผิดพลาด รวมถึงการที่บุคคลของรัฐบาลได้ล่วงละเมิดต่อพระองค์ ในหลวงมีพระราชดำรัสว่า "แต่ที่เห็นอยู่ข้างหน้านี่ มีคนที่พูด ก็คงรู้ว่าแล้วใครพูด มีคนที่พูดว่าข้าพเจ้าไม่ดี พระเจ้าอยู่หัวฯ ไม่ดี ทำอะไรผิด" ถึงปานนี้ นายกฯ จะยังทำเป็นทองไม่รู้ร้อนอยู่มิได้
การเดินขบวนของสนธิในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ นี้ รัฐบาลต้องงดเว้นการใช้กำลังเข้าปะทะหรือปราบปราม การทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพึ่งพระราชอำนาจและบารมีในหลวงเป็นสิทธิตามระบอบประชาธิปไตยและนิติราชประเพณี เมื่อพระองค์ได้รับเรื่อง ก็แล้วแต่จะทรงโปรดให้รัฐบาลชี้แจง หรือทรงปรารภความเดือดร้อนของผู้ถวายฎีกาผ่าน องคมนตรีหรือราชเลขาธิการอย่างหนึ่งอย่างใด
สำหรับการถวายคืนพระราชอำนาจนั้น กระทำได้ทั้งทางตรงทางอ้อม ไม่จำเป็นจะต้องต่อสู้ฆ่าฟันกันให้เลือดนองแผ่นดิน ทางอ้อมก็คือรัฐบาลกลับคืนสู่ความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงมากขึ้น ทางตรงก็คือรัฐบาลกำหนดมาตรการนำเอาพระราชอำนาจที่ถูกลิดรอนเก็บงำออกมาปฏิบัติตามจารีตประเพณี ตามกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็เท่ากับเป็นการถวายคืน ตัวอย่างเช่น ถ้ามีเหตุขัดข้องตามรัฐธรรมนูญก็แก้ไขเสีย แม้แต่ข้อขัดข้องในมาตราที่ 303-305 เมื่อประชาชนห้าหมื่นคนกล่าวโทษ การไม่มี ป.ป.ช.หรือวุฒิสภาสิ้นสภาพ ก็แก้ไขได้โดยขอพึ่งพระราชอำนาจและนำมาตรา 7 มาใช้ดั่งนี้เป็นต้น
สำนึกและความรักชาติของนายกรัฐมนตรีจะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในเรื่องนี้ พวกเราคงจำวาทะอมตะของประธานาธิบดีเคนเนดี้ได้ ท่านกล่าวว่า "อย่าถามว่าท่านจะได้อะไรจากแผ่นดินบ้าง จงถามว่าท่านจะให้อะไรกับแผ่นดินได้บ้าง"
แผ่นดินนี้ได้ให้นายกฯ ทักษิณกับครอบครัวจนเหลือคณานับแล้ว บัดนี้ถึงเวลาที่นายกฯ จะต้องตอบคำถามท่อนหลัง
เคนเนดี้ได้ชื่อว่าเป็นประธานาธิบดีหัวก้าวหน้า มีคนรักมากกว่าคนชังทั่วโลกมิใช่แต่ในอเมริกา ถึงกระนั้นเคนเนดี้ก็ยังถูกลอบสังหารเพราะคนบางกลุ่มเชื่อว่า 4 ปีเป็นเวลาที่นานเกินรอ
การปิดทางเลือกทางการเมืองนั้นจะทำให้ความโหดร้ายทางการเมืองเพิ่มขึ้น พวกเราคนไทยจงช่วยกันเปิดทางเลือกที่สันติ โดยขอพึ่งพระราชอำนาจ และนำจารีตประชาธิปไตยมาปฏิบัติให้ถึงที่สุดเถิด
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
การล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมในทฤษฎีสัญญาประชาคม
โพสต์ที่ 12
"วาทกรรมถวายพระราชอำนาจคืน"
โดย เกษียร เตชะพีระ
ในย่อหน้าสำคัญทางยุทธศาสตร์ในตำรากฎหมายมหาชน แต่งโดย บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อดีตเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าฯ และเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในปัจจุบัน ผู้แต่งได้ประมวลสรุปทัศนะของเขาว่าด้วย ที่สถิตแห่งอำนาจอธิปไตยในระบอบรัฐธรรมนูญไทยไว้ว่า :-
"...แสดงให้เห็นเอกลักษณ์ประชาธิปไตยไทยว่า อำนาจอธิปไตยนั้นอยู่ที่พระมหากษัตริย์และประชาชน อันต่างจากรัฐธรรมนูญของชาติอื่นที่ถือว่าประชาชนเท่านั้นที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
"เหตุที่รัฐธรรมนูญไทยบัญญัติเช่นนี้ก็เนื่องมาจากสองเหตุหลักคือ เหตุทางประเพณีในสังคมวัฒนธรรมไทยอันเกิดจากการ "สั่งสม" ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของพระมหากษัตริย์กับประชาชนดังกล่าวแล้วเป็นประการแรก
"และประการที่สอง ในทางกฎหมายเองก็ต้องสืบสาวย้อนไปจนถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ก็จะเห็นได้ว่า ก่อนวันนั้น อำนาจอธิปไตยอยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์ ครั้นเมื่อคณะราษฎรทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระมหากษัตริย์ซึ่งทรงอำนาจอธิปไตยอยู่ก็สละพระราชอำนาจนั้นให้ประชาชนทั้งประเทศ ด้วยการพระราชทานรัฐธรรมนูญแล้วลดพระองค์ลงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ แต่ยังทรงใช้อำนาจนั้นแทนปวงชน ซึ่งในทางกฎหมายต้องถือว่า ทั้งพระมหากษัตริย์และประชาชนต่างเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยร่วมกัน
"ด้วยเหตุนี้ ในทางกฎหมายนั้น เมื่อมีการรัฐประหารเลิกรัฐธรรมนูญ ต้องถือว่าอำนาจอธิปไตยที่เคยพระราชทานให้ประชาชนนั้น กลับคืนมายังพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นเจ้าของเดิมมาก่อน 24 มิถุนายน 2475
"ดังนั้น ผลสำคัญประการแรกทางกฎหมายระหว่างประเทศก็คือ รัฐบาลนานาชาติไม่ต้องรับรองรัฐบาลไทยใหม่ เพราะการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นเรื่องระดับภายใน แต่ในระดับสูงสุด คือสถาบันพระมหากษัตริย์ยังดำรงอยู่ และทรงเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่กลับคืนมาเป็นของพระองค์ท่านด้วย ส่วนคณะรัฐประหารนั้นไม่ใช่เจ้าของอำนาจอธิปไตยเลย แต่มีอำนาจปกครองบ้านเมืองในเวลานั้นตามความเป็นจริงเท่านั้น
"หากจะกล่าวง่ายๆ ก็คือ อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นอำนาจทางกฎหมายอยู่ที่พระมหากษัตริย์ แต่อำนาจในความเป็นจริงอยู่ที่คณะรัฐประหาร
"ผลประการที่สองก็คือ เมื่อคณะรัฐประหารประสงค์จะจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ เมื่อจัดทำเสร็จแล้ว ก็ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายเพื่อขอให้ทรงลงพระปรมาภิไธยเพื่อให้รัฐธรรมนูญนี้มีผลเป็นกฎหมายเมื่อลงพระปรมาภิไธย ก็เท่ากับพระมหากษัตริย์สละอำนาจอธิปไตยกลับคืนมาที่ประชาชนอีก
"กล่าวโดยสรุปก็คือ อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นอำนาจตามกฎหมายนั้น ถ้าไม่อยู่ที่พระมหากษัตริย์ก็อยู่ที่พระมหากษัตริย์กับประชาชนเท่านั้น"
(อ้างจากกฎหมายมหาชนเล่ม 2 : การแบ่งแยกกฎหมายมหาชน-เอกชน และพัฒนาการกฎหมายมหาชนในประเทศไทย, 2537, หน้า 189-90 อนึ่ง ผู้เขียนได้จัดย่อหน้าเพิ่มเพื่อแยกแยะประเด็นสำคัญให้ชัดเจน)
โดย เกษียร เตชะพีระ
ในย่อหน้าสำคัญทางยุทธศาสตร์ในตำรากฎหมายมหาชน แต่งโดย บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อดีตเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าฯ และเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในปัจจุบัน ผู้แต่งได้ประมวลสรุปทัศนะของเขาว่าด้วย ที่สถิตแห่งอำนาจอธิปไตยในระบอบรัฐธรรมนูญไทยไว้ว่า :-
"...แสดงให้เห็นเอกลักษณ์ประชาธิปไตยไทยว่า อำนาจอธิปไตยนั้นอยู่ที่พระมหากษัตริย์และประชาชน อันต่างจากรัฐธรรมนูญของชาติอื่นที่ถือว่าประชาชนเท่านั้นที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
"เหตุที่รัฐธรรมนูญไทยบัญญัติเช่นนี้ก็เนื่องมาจากสองเหตุหลักคือ เหตุทางประเพณีในสังคมวัฒนธรรมไทยอันเกิดจากการ "สั่งสม" ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของพระมหากษัตริย์กับประชาชนดังกล่าวแล้วเป็นประการแรก
"และประการที่สอง ในทางกฎหมายเองก็ต้องสืบสาวย้อนไปจนถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ก็จะเห็นได้ว่า ก่อนวันนั้น อำนาจอธิปไตยอยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์ ครั้นเมื่อคณะราษฎรทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระมหากษัตริย์ซึ่งทรงอำนาจอธิปไตยอยู่ก็สละพระราชอำนาจนั้นให้ประชาชนทั้งประเทศ ด้วยการพระราชทานรัฐธรรมนูญแล้วลดพระองค์ลงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ แต่ยังทรงใช้อำนาจนั้นแทนปวงชน ซึ่งในทางกฎหมายต้องถือว่า ทั้งพระมหากษัตริย์และประชาชนต่างเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยร่วมกัน
"ด้วยเหตุนี้ ในทางกฎหมายนั้น เมื่อมีการรัฐประหารเลิกรัฐธรรมนูญ ต้องถือว่าอำนาจอธิปไตยที่เคยพระราชทานให้ประชาชนนั้น กลับคืนมายังพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นเจ้าของเดิมมาก่อน 24 มิถุนายน 2475
"ดังนั้น ผลสำคัญประการแรกทางกฎหมายระหว่างประเทศก็คือ รัฐบาลนานาชาติไม่ต้องรับรองรัฐบาลไทยใหม่ เพราะการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นเรื่องระดับภายใน แต่ในระดับสูงสุด คือสถาบันพระมหากษัตริย์ยังดำรงอยู่ และทรงเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่กลับคืนมาเป็นของพระองค์ท่านด้วย ส่วนคณะรัฐประหารนั้นไม่ใช่เจ้าของอำนาจอธิปไตยเลย แต่มีอำนาจปกครองบ้านเมืองในเวลานั้นตามความเป็นจริงเท่านั้น
"หากจะกล่าวง่ายๆ ก็คือ อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นอำนาจทางกฎหมายอยู่ที่พระมหากษัตริย์ แต่อำนาจในความเป็นจริงอยู่ที่คณะรัฐประหาร
"ผลประการที่สองก็คือ เมื่อคณะรัฐประหารประสงค์จะจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ เมื่อจัดทำเสร็จแล้ว ก็ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายเพื่อขอให้ทรงลงพระปรมาภิไธยเพื่อให้รัฐธรรมนูญนี้มีผลเป็นกฎหมายเมื่อลงพระปรมาภิไธย ก็เท่ากับพระมหากษัตริย์สละอำนาจอธิปไตยกลับคืนมาที่ประชาชนอีก
"กล่าวโดยสรุปก็คือ อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นอำนาจตามกฎหมายนั้น ถ้าไม่อยู่ที่พระมหากษัตริย์ก็อยู่ที่พระมหากษัตริย์กับประชาชนเท่านั้น"
(อ้างจากกฎหมายมหาชนเล่ม 2 : การแบ่งแยกกฎหมายมหาชน-เอกชน และพัฒนาการกฎหมายมหาชนในประเทศไทย, 2537, หน้า 189-90 อนึ่ง ผู้เขียนได้จัดย่อหน้าเพิ่มเพื่อแยกแยะประเด็นสำคัญให้ชัดเจน)
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
การล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมในทฤษฎีสัญญาประชาคม
โพสต์ที่ 13
หากตีความระบอบรัฐธรรมนูญไทยตามทัศนะข้างต้น ก็หมายความว่า :-
- ระบอบรัฐธรรมนูญสยามเกิดจากพระมหากษัตริย์ทรงสละพระราชอำนาจและพระบรมราชานุญาตพระราชทานให้แก่ประชาชน (CHARTER)
- ฉะนั้น พระราชอำนาจจึงมิเพียงสามารถยักย้ายถ่ายโอนคืนไปยังพระมหากษัตริย์ได้เท่านั้น
- หากได้เกิดการถ่ายโอนพระราชอำนาจคืนไปยังพระมหากษัตริย์เช่นนั้นจริงๆ หลายรอบหลายครั้งเมื่อคณะทหารชุดต่างๆ ทำการรัฐประหารแล้วด้วย
- กระทั่งกล่าวได้ว่า ในทางหลักการแล้วพระราชอำนาจมิเคยหลุดพ้นจากพระองค์อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเลยนับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เป็นต้นมา
- และในทางกลับกัน ประชาชนก็มิเคยถือครองอำนาจอธิปไตยด้วยลำพังตัวเองโดยสิทธิ์ขาดเลยนับแต่ 2475 มาเช่นกัน, จะมีก็แต่ประชาชนได้ถือครองอำนาจอธิปไตยร่วมกับพระมหากษัตริย์ หรือมิฉะนั้นก็หลุดมือไปมิได้ถือครองเมื่อคณะทหารทำรัฐประหารเท่านั้น!
การตีความเช่นนี้ทำให้กล่าวได้ว่าในระบอบประชาธิปไตยไทย ประชาชนไทยเสมอเสมือนหนึ่งอยู่ในสภาพไม่บรรลุวุฒิภาวะทางการเมือง (political immaturity) ไปตลอดกาล เพราะไม่อาจถือครองอำนาจอธิปไตยได้ด้วยลำพังตนเอง, ประชาชนจะถือครองอำนาจอธิปไตยได้ก็ต่อเมื่อมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเสมือนผู้ใหญ่คอยช่วยกำกับดูแลทางการเมือง (political tutelage) เท่านั้น
และเมื่อใดประชาชนเผชิญโจทย์ใหญ่ของบ้านเมืองชนิดที่เหลือวิสัยตนจะแก้ไขได้ ก็ย่อมสมเหตุสมผลและเป็นธรรมดาอยู่เองที่จะหันไปหาผู้ใหญ่ และขอร้องให้ทรงช่วยแก้ปัญหาให้ เหมือนเด็กเล็กลูกหลานที่ยังช่วยตัวเองไม่ได้ ปกครองดูแลตัวเองโดยอิสระไม่ได้ทั่วไป ด้วยการถวายพระราชอำนาจคืน
ดังที่ นายสนธิ ลิ้มทองกุล และนางสาวสโรชา พรอุดมศักดิ์ รวมทั้งผู้ชุมนุมที่ร่วมลงชื่อทั้งหลายได้กราบบังคมทูลไว้ท้ายคำยื่นถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ ศกนี้ ความตอนหนึ่งว่า :-
"ปวงข้าพระพุทธเจ้าไม่มีหนทางใดและสถาบันใดจะเป็นที่พึ่งเพื่อแก้ไขปัดเป่าปัญหาของชาติ ที่อุกฉกรรจ์ร้ายแรงหนักหน่วงเช่นนี้ได้ จำต้องขอพระบรมราชานุญาตกราบบังคมทูลขอถวายฎีกาต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท อันเปรียบประดุจดังพระบิดาของปวงชนชาวไทยทั้งชาติ เป็นที่เทิดทูนเคารพเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมของปวงข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยแก้ไขปัญหาวิกฤตของชาติบ้านเมืองมาโดยตลอดในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ยามที่บ้านเมืองมีทุกข์เข็ญ ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินทุกข์ร้อนด้วยอำนาจการปกครองอธรรมและฉ้อราษฎร์บังหลวง
"ปวงข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอกราบบังคมทูลถวายฎีกาต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เพื่อทรงพระกรุณาปัดเป่าทุกข์ยากของอาณาประชาราษฎร์ อันเกิดจากน้ำมือของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สุดแท้แต่พระองค์จะทรงพระกรุณาวินิจฉัย..."
(อ้างจากมติชนรายวัน, 5 ก.พ. 2549, น.2)
โจทย์ใหญ่ ในการพยายามถวายพระราชอำนาจคืนของคุณสนธิ, คุณสโรชา และประชาชนผู้ร่วมลงชื่อครั้งนี้มิใช่จำกัดแคบแค่ตัวบุคคลเพียงคนเดียว หากได้รับอรรถาธิบายขยายความกว้างขวางออกไปในคำสัตย์ปฏิญาณถวายคืนพระราชอำนาจแด่ในหลวง ที่เขากล่าวนำให้ผู้ชมกล่าวตามในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรครั้งที่ 8 ณ เวทีลีลาศ สวนลุมพินี เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ศกก่อน ตอนหนึ่งว่า :-
"...การเมืองใหม่กลายเป็นการเมืองผูกขาดของเงินที่เข้มแข็งที่สุดเท่าที่เคยมีมา ทำให้รัฐบาลที่มาจากพันธมิตรกลุ่มทุนใหม่เป็นรัฐบาลที่เข้มแข็งที่สุดเท่าที่เคยมีมา ทำให้ผู้นำของรัฐบาลใหม่ที่มาจากพันธมิตรของกลุ่มทุนใหม่ เป็นผู้นำที่เต็มไปด้วยความอหังการ มะมังการ เย่อหยิ่ง จองหอง และไม่สนใจขนบประเพณีใดๆ กับทั้งมีพฤติกรรมในลักษณะละเมิดพระราชอำนาจมากที่สุดเท่าที่เคยมีมากลุ่มทุนผูกขาดที่เข้าครองอำนาจรัฐได้ใช้อำนาจรัฐนั้นปกป้องและขยายฐานทางธุรกิจของตนเองด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง และบิดเบือนการใช้อำนาจหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งฉ้อฉลนำทรัพย์สมบัติของแผ่นดินมาแบ่งปันกันในหมู่พวกพ้อง โดยอาศัยนวัตกรรมของลัทธิเสรีนิยมใหม่จนก่อให้เกิดสภาพผูกขาดทางธุรกิจ ที่จะเป็นวัฏจักรนำไปสู่การผูกขาดทางการเมืองให้กระชับแน่นขึ้นอีก..."
(อ้างจาก สนธิ ลิ้มทองกุล และสโรชา พรอุดมศักดิ์, เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรนับถวายคืนพระราชอำนาจ, 2549, หน้า 341)
- ระบอบรัฐธรรมนูญสยามเกิดจากพระมหากษัตริย์ทรงสละพระราชอำนาจและพระบรมราชานุญาตพระราชทานให้แก่ประชาชน (CHARTER)
- ฉะนั้น พระราชอำนาจจึงมิเพียงสามารถยักย้ายถ่ายโอนคืนไปยังพระมหากษัตริย์ได้เท่านั้น
- หากได้เกิดการถ่ายโอนพระราชอำนาจคืนไปยังพระมหากษัตริย์เช่นนั้นจริงๆ หลายรอบหลายครั้งเมื่อคณะทหารชุดต่างๆ ทำการรัฐประหารแล้วด้วย
- กระทั่งกล่าวได้ว่า ในทางหลักการแล้วพระราชอำนาจมิเคยหลุดพ้นจากพระองค์อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเลยนับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เป็นต้นมา
- และในทางกลับกัน ประชาชนก็มิเคยถือครองอำนาจอธิปไตยด้วยลำพังตัวเองโดยสิทธิ์ขาดเลยนับแต่ 2475 มาเช่นกัน, จะมีก็แต่ประชาชนได้ถือครองอำนาจอธิปไตยร่วมกับพระมหากษัตริย์ หรือมิฉะนั้นก็หลุดมือไปมิได้ถือครองเมื่อคณะทหารทำรัฐประหารเท่านั้น!
การตีความเช่นนี้ทำให้กล่าวได้ว่าในระบอบประชาธิปไตยไทย ประชาชนไทยเสมอเสมือนหนึ่งอยู่ในสภาพไม่บรรลุวุฒิภาวะทางการเมือง (political immaturity) ไปตลอดกาล เพราะไม่อาจถือครองอำนาจอธิปไตยได้ด้วยลำพังตนเอง, ประชาชนจะถือครองอำนาจอธิปไตยได้ก็ต่อเมื่อมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเสมือนผู้ใหญ่คอยช่วยกำกับดูแลทางการเมือง (political tutelage) เท่านั้น
และเมื่อใดประชาชนเผชิญโจทย์ใหญ่ของบ้านเมืองชนิดที่เหลือวิสัยตนจะแก้ไขได้ ก็ย่อมสมเหตุสมผลและเป็นธรรมดาอยู่เองที่จะหันไปหาผู้ใหญ่ และขอร้องให้ทรงช่วยแก้ปัญหาให้ เหมือนเด็กเล็กลูกหลานที่ยังช่วยตัวเองไม่ได้ ปกครองดูแลตัวเองโดยอิสระไม่ได้ทั่วไป ด้วยการถวายพระราชอำนาจคืน
ดังที่ นายสนธิ ลิ้มทองกุล และนางสาวสโรชา พรอุดมศักดิ์ รวมทั้งผู้ชุมนุมที่ร่วมลงชื่อทั้งหลายได้กราบบังคมทูลไว้ท้ายคำยื่นถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ ศกนี้ ความตอนหนึ่งว่า :-
"ปวงข้าพระพุทธเจ้าไม่มีหนทางใดและสถาบันใดจะเป็นที่พึ่งเพื่อแก้ไขปัดเป่าปัญหาของชาติ ที่อุกฉกรรจ์ร้ายแรงหนักหน่วงเช่นนี้ได้ จำต้องขอพระบรมราชานุญาตกราบบังคมทูลขอถวายฎีกาต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท อันเปรียบประดุจดังพระบิดาของปวงชนชาวไทยทั้งชาติ เป็นที่เทิดทูนเคารพเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมของปวงข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยแก้ไขปัญหาวิกฤตของชาติบ้านเมืองมาโดยตลอดในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ยามที่บ้านเมืองมีทุกข์เข็ญ ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินทุกข์ร้อนด้วยอำนาจการปกครองอธรรมและฉ้อราษฎร์บังหลวง
"ปวงข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอกราบบังคมทูลถวายฎีกาต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เพื่อทรงพระกรุณาปัดเป่าทุกข์ยากของอาณาประชาราษฎร์ อันเกิดจากน้ำมือของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สุดแท้แต่พระองค์จะทรงพระกรุณาวินิจฉัย..."
(อ้างจากมติชนรายวัน, 5 ก.พ. 2549, น.2)
โจทย์ใหญ่ ในการพยายามถวายพระราชอำนาจคืนของคุณสนธิ, คุณสโรชา และประชาชนผู้ร่วมลงชื่อครั้งนี้มิใช่จำกัดแคบแค่ตัวบุคคลเพียงคนเดียว หากได้รับอรรถาธิบายขยายความกว้างขวางออกไปในคำสัตย์ปฏิญาณถวายคืนพระราชอำนาจแด่ในหลวง ที่เขากล่าวนำให้ผู้ชมกล่าวตามในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรครั้งที่ 8 ณ เวทีลีลาศ สวนลุมพินี เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ศกก่อน ตอนหนึ่งว่า :-
"...การเมืองใหม่กลายเป็นการเมืองผูกขาดของเงินที่เข้มแข็งที่สุดเท่าที่เคยมีมา ทำให้รัฐบาลที่มาจากพันธมิตรกลุ่มทุนใหม่เป็นรัฐบาลที่เข้มแข็งที่สุดเท่าที่เคยมีมา ทำให้ผู้นำของรัฐบาลใหม่ที่มาจากพันธมิตรของกลุ่มทุนใหม่ เป็นผู้นำที่เต็มไปด้วยความอหังการ มะมังการ เย่อหยิ่ง จองหอง และไม่สนใจขนบประเพณีใดๆ กับทั้งมีพฤติกรรมในลักษณะละเมิดพระราชอำนาจมากที่สุดเท่าที่เคยมีมากลุ่มทุนผูกขาดที่เข้าครองอำนาจรัฐได้ใช้อำนาจรัฐนั้นปกป้องและขยายฐานทางธุรกิจของตนเองด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง และบิดเบือนการใช้อำนาจหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งฉ้อฉลนำทรัพย์สมบัติของแผ่นดินมาแบ่งปันกันในหมู่พวกพ้อง โดยอาศัยนวัตกรรมของลัทธิเสรีนิยมใหม่จนก่อให้เกิดสภาพผูกขาดทางธุรกิจ ที่จะเป็นวัฏจักรนำไปสู่การผูกขาดทางการเมืองให้กระชับแน่นขึ้นอีก..."
(อ้างจาก สนธิ ลิ้มทองกุล และสโรชา พรอุดมศักดิ์, เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรนับถวายคืนพระราชอำนาจ, 2549, หน้า 341)
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
การล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมในทฤษฎีสัญญาประชาคม
โพสต์ที่ 14
จึงในปีที่ 60 แห่งรัชกาลปัจจุบัน และในปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาได้ 79 พรรษา เสียงเรียกร้องเคลื่อนไหวให้ "ถวายพระราชอำนาจคืน" ก็กังวานกึกก้องขึ้นอีกครั้ง อันชวนให้หวนระลึกถึงความตอนหนึ่งในพระราชปรารภในหนังสือพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก (2539) ดังขออัญเชิญมาแสดงไว้ในที่นี้ว่า :-
"มาถึงตอนเรื่องต้นมะม่วง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า การที่พระมหาชนกจะเสด็จออกทรงแสวงโมกขธรรม ยังไม่ถึงวาระเวลาอันสมควร เพราะว่าได้ทรงสร้างความเจริญแก่มิถิลายังไม่ครบถ้วน กล่าวคือ ข้าราชบริพาร "นับแต่อุปราชจนถึงคนรักษาช้างคนรักษาม้า และนับแต่คนรักษาม้าจนถึงอุปราช และโดยเฉพาะเหล่าอมาตย์ ล้วนจารึกในโมหภูมิทั้งนั้น ไม่มีความรู้ทั้งทางวิทยาการทั้งทางปัญญา ยังไม่เห็นความสำคัญของผลประโยชน์แท้แม้ของตนเอง จึงต้องตั้งสถานอบรมสั่งสอนให้เบ็ดเสร็จ" อนึ่ง พระมหาชนกยังต้องทรงปรารภเรื่องการอนุบาลต้นมะม่วงตามวิธีสมัยใหม่เก้าวิธีอีกด้วย"
อ้างจากพระราชนิพนธ์ พระมหาชนก, หน้า (7)
ใช่หรือไม่ว่า ที่กำลังดังกังวานอยู่ตอนนี้คือเสียงเรียกร้องหา political tutelage กันอีก อันสะท้อนอาการ political immaturity เรื้อรัง แถมเป็น self-inflicted political immaturity มากกว่าอื่น?
"มาถึงตอนเรื่องต้นมะม่วง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า การที่พระมหาชนกจะเสด็จออกทรงแสวงโมกขธรรม ยังไม่ถึงวาระเวลาอันสมควร เพราะว่าได้ทรงสร้างความเจริญแก่มิถิลายังไม่ครบถ้วน กล่าวคือ ข้าราชบริพาร "นับแต่อุปราชจนถึงคนรักษาช้างคนรักษาม้า และนับแต่คนรักษาม้าจนถึงอุปราช และโดยเฉพาะเหล่าอมาตย์ ล้วนจารึกในโมหภูมิทั้งนั้น ไม่มีความรู้ทั้งทางวิทยาการทั้งทางปัญญา ยังไม่เห็นความสำคัญของผลประโยชน์แท้แม้ของตนเอง จึงต้องตั้งสถานอบรมสั่งสอนให้เบ็ดเสร็จ" อนึ่ง พระมหาชนกยังต้องทรงปรารภเรื่องการอนุบาลต้นมะม่วงตามวิธีสมัยใหม่เก้าวิธีอีกด้วย"
อ้างจากพระราชนิพนธ์ พระมหาชนก, หน้า (7)
ใช่หรือไม่ว่า ที่กำลังดังกังวานอยู่ตอนนี้คือเสียงเรียกร้องหา political tutelage กันอีก อันสะท้อนอาการ political immaturity เรื้อรัง แถมเป็น self-inflicted political immaturity มากกว่าอื่น?
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
การล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมในทฤษฎีสัญญาประชาคม
โพสต์ที่ 15
บทความลำดับถัดไปโดย ศ.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ผู้บังคับการโรงเรียนวชิราวุธ อดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ครรชิต ไพศาล
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4623
- ผู้ติดตาม: 1
การล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมในทฤษฎีสัญญาประชาคม
โพสต์ที่ 16
ความสำคัญมันอยู่ที่ว่า
คนที่เห็นว่า สมควรล้มล้างรัฐบาลที่มาจากระบบประชาธิปไตย
คือ คนส่วนใหญ่ของแผ่นดินของประเทศ หรือเปล่า
ถ้าคนส่วนใหญ่ของแผ่นดินของประเทศ
เขาต้องการให้รัฐบาลบริหารประเทศต่อไป
แล้วมีคนเพียงส่วนน้อยของประเทศบางกลุ่ม
มาสมคบกันล้มล้างรัฐบาลที่มาจากระบบประชาธิปไตย
อย่างนี้เขาเรียกว่า กบฎต่อแผ่นดิน
การปกครอง ระบบประชาธิปไตย คือ
การปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประช่าชน
ก็ต้องฟังเสียงของประชาชนส่วนใหญ่ของแผ่นดินของประเทศ
ว่าเขาเลือกให้ใครเป็นผู้นำ ในแต่ละสมัย วาระ 4 ปี
เมื่อหมดวาระ ประชาชนเขาก็เลือกใหม่
ว่าเขาพอใจหรือไม่พอใจ ผลงาน
จะให้เป็นรัฐบาลบริหารประเทศต่อ ไปหรือไม่
ทำการกติกากันไปอย่างนี้
ก็ไม่มีปัญหาสร้างความวุ่นวายให้บ้านเมือง
คนที่เห็นว่า สมควรล้มล้างรัฐบาลที่มาจากระบบประชาธิปไตย
คือ คนส่วนใหญ่ของแผ่นดินของประเทศ หรือเปล่า
ถ้าคนส่วนใหญ่ของแผ่นดินของประเทศ
เขาต้องการให้รัฐบาลบริหารประเทศต่อไป
แล้วมีคนเพียงส่วนน้อยของประเทศบางกลุ่ม
มาสมคบกันล้มล้างรัฐบาลที่มาจากระบบประชาธิปไตย
อย่างนี้เขาเรียกว่า กบฎต่อแผ่นดิน
การปกครอง ระบบประชาธิปไตย คือ
การปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประช่าชน
ก็ต้องฟังเสียงของประชาชนส่วนใหญ่ของแผ่นดินของประเทศ
ว่าเขาเลือกให้ใครเป็นผู้นำ ในแต่ละสมัย วาระ 4 ปี
เมื่อหมดวาระ ประชาชนเขาก็เลือกใหม่
ว่าเขาพอใจหรือไม่พอใจ ผลงาน
จะให้เป็นรัฐบาลบริหารประเทศต่อ ไปหรือไม่
ทำการกติกากันไปอย่างนี้
ก็ไม่มีปัญหาสร้างความวุ่นวายให้บ้านเมือง
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
การล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมในทฤษฎีสัญญาประชาคม
โพสต์ที่ 17
ได้ทราบแนวคิดของท่านแล้ว เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆมาก...
ขอขอบคุณคับ...
ขอขอบคุณคับ...
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
การล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมในทฤษฎีสัญญาประชาคม
โพสต์ที่ 18
การเรียกร้องให้นายกฯ ลาออกขัดกับหลักประชาธิปไตยตรงไหน
โดย ชัยอนันต์ สมุทวณิช 12 กุมภาพันธ์ 2549
นายกรัฐมนตรี บอกว่าอาจารย์สอนประชาธิปไตย แต่จะมาทำลายประชาธิปไตยเสียเอง
ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์มีว่า ในระบอบประชาธิปไตยนั้น อำนาจสูงสุดมาจากปวงชน การเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกก่อนสิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่ง เป็นการทำลายประชาธิปไตยหรือไม่ คำถามนี้น่าจะเอาไปเป็นข้อสอบวิชาหลักรัฐศาสตร์ที่ผมเคยสอนที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
คำตอบสั้นๆ ก็คือ ไม่เป็น ตรงกันข้ามกลับเป็นการทำให้ประชาธิปไตยมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น เหมือนอย่างที่ประชาชนชาวฟิลิปปินส์ ได้เดินขบวนขับไล่ประธานาธิบดีมาร์กอส ซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนมาแล้ว
อาจารย์มหาวิทยาลัยจัดว่าเป็นบุคคลผู้อยู่ใกล้ชิดการเมือง รับรู้ข้อมูลข่าวสารมากกว่าคนทั่วไป ยิ่งเป็นอาจารย์คณะที่สอนวิชารัฐศาสตร์ด้วยแล้ว ยิ่งต้องมีทั้งความรู้ และความเห็นที่มีการไตร่ตรองดีกว่าคนกลุ่มอื่นๆ
การเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกเป็นการประเมินผลการทำงานของนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่การบ่อนทำลายประชาธิปไตย
การประเมินนั้น มีทั้งด้านการดำเนินนโยบาย การทำงาน การแก้ปัญหา และพฤติกรรมส่วนตัว แต่แสดงในขณะที่เป็นผู้นำประเทศ
อาจารย์มหาวิทยาลัยข้องใจอะไรบ้าง ผมพอจะประมวลได้ดังนี้
1. เห็นว่านายกรัฐมนตรีเป็นผู้ทำลายระบอบประชาธิปไตยเสียเอง ด้วยการเข้าแทรกแซงองค์กรตามรัฐธรรมนูญ จนทำให้ไม่สามารถตรวจสอบถ่วงดุลรัฐบาลได้
2. เห็นว่านายกรัฐมนตรีเป็นผู้ทำลายระบอบประชาธิปไตย ด้วยการปิดกั้นเสรีภาพของสื่อมวลชน
3. เห็นว่านายกรัฐมนตรีเป็นผู้ทำลายความมั่นคงของชาติ ด้วยการดำเนินการปราบปรามประชาชนในสามจังหวัดภาคใต้ ปล่อยให้มีการเก็บชาวมุสลิม และทำให้ชาวมุสลิมที่ถูกจับตายในขณะนำตัวไปควบคุม จึงก่อให้เกิดความไม่สงบ มีการโต้ตอบด้วยความรุนแรงอย่างยากที่จะแก้ไขได้
4. เห็นว่านายกรัฐมนตรีไม่นับถือกลไก และกระบวนการประชาธิปไตย ไม่นำข้อเจรจา FTA ให้รัฐสภาได้รับรู้ แต่ดำเนินการไปโดยไม่ฟังเสียงติติงจากฝ่ายต่างๆ
5. เห็นว่านายกรัฐมนตรี ไม่ดำเนินการปราบปรามการคอร์รัปชันอย่างจริงจัง แต่ใช้กรณีนักการเมืองที่มีส่วนร่วมในการคอร์รัปชันเป็นเครื่องต่อรอง หรือเอาไว้ขู่คนทำผิดให้เกรงกลัว แต่กลับไม่ดำเนินการอย่างจริงจัง บางคนตอนมีตำแหน่งก็ทำผิดได้รับผลประโยชน์ เวลานี้ก็ต้องมาด่าคนต่อต้านไม่เห็นด้วยกับนายกรัฐมนตรี โดยแลกกับการที่จะไม่ถูกสอบสวน กรณีจัดซื้อของๆ ทางราชการ
6. เห็นว่านายกรัฐมนตรีไม่ห้ามวงศาคณาญาติ และรัฐมนตรีให้เลิกยุ่งเกี่ยวกับการค้าขายกับทางราชการ อีกทั้งปล่อยให้ข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจวิ่งเต้นขอตำแหน่งจากภรรยาได้
7. เห็นว่านายกรัฐมนตรีอาศัยตำแหน่งหน้าที่ไปต่อรองกับรัฐบาลต่างประเทศ เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง
8. เห็นว่านายกรัฐมนตรีมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม โดยมีการทำนิติกรรมอำพรางหลายซับหลายซ้อน ในการเลี่ยงการจ่ายภาษีให้กับรัฐ
จากการประเมิน 8 ข้อใหญ่ๆ นี้ เป็นเหตุให้อาจารย์ไม่มีศรัทธาในตัวนายกรัฐมนตรี นอกจากนั้น กรณีข้อสอบรั่วยังมีผลทำให้อาจารย์ทนไม่ได้มานานแล้ว อาจารย์คณะรัฐศาสตร์เป็นปรอทวัดอุณหภูมิการเมืองที่ดี ผมเข้าใจว่านายกรัฐมนตรีหวั่นไหวมาก จึงต้องออกมาต่อว่าอาจารย์ แต่การต่อว่าๆ อาจารย์ไม่เข้าใจประชาธิปไตยนั้น หากผมจะให้คะแนนก็ต้องให้ F เพราะความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยของนายกรัฐมนตรีนั้น มีน้อยมาก
นายกรัฐมนตรีควรทบทวนตัวเองว่า ข้อข้องใจหลักๆ 8 ข้อที่ผมประมวลมานั้น มีความจริงแค่ไหน ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ เอาความเป็นสุภาพบุรุษมาตรวจสอบตนเอง เพราะอาจารย์เหล่านั้น ก็มิได้มีเรื่องเกลียดชังนายกรัฐมนตรีเป็นการส่วนตัว และก็เป็นครั้งแรกในระยะเวลาหลายปีที่เขาออกมาเรียกร้องอย่างนี้
ส่วนผู้ซึ่งออกมาตำหนิครูบาอาจารย์นั้น บางคนก็เป็นวัวสันหลังหวะ บางคนแก่แล้วแต่เคยโกงกินไว้แยะ หากไม่ช่วยด่าคนอื่น เดี๋ยวเขาก็จะไม่ช่วย อาจต้องถูกสอบสวนติดตารางยามแก่ เพราะในอดีตเคยใส่ความคนดีๆ จนถูกศาลตัดสินลงโทษแต่รอการลงอาญามาแล้ว คนพวกนี้ยิ่งออกมาตอบโต้แทนนายกรัฐมนตรี ก็ยิ่งทำให้คนเกลียดชังนายกรัฐมนตรีเพิ่มขึ้น
ข้ออ้างหรือข้อแก้ตัวของนายกรัฐมนตรีที่พูดเหมือนแผ่นเสียงตกร่อง คืออ้างประชาธิปไตยนั้น ฟังไม่ขึ้น ควรหาทางแก้อย่างอื่นจะดีกว่า
ผมอยากให้นายกรัฐมนตรีไทยทำตัวเป็นแบบอย่างให้แก่เด็ก คือเป็นสุภาพบุรุษมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ไม่ใช้อำนาจรัฐป้องกันกีดขวางไม่ให้คนมาชุมนุม
และถ้าแน่จริง มั่นใจจริงแล้ว ต้องกล้าออกมาพูดกับสนธิ โดยให้มีการถ่ายทอดทีวี
หากแน่ใจมั่นใจว่าพฤติกรรมต่างๆ ถูกต้องแล้ว กลัวอะไรกับคนซึ่งนายกรัฐมนตรีเรียกว่า "กุ๊ย"
ลองผู้นำประเทศไม่กล้าเผชิญหน้ากับ "กุ๊ย" แล้ว ก็สมควรแล้วที่ครูบาอาจารย์จะหมดศรัทธา
อย่าไปต่อว่าเขาเลยครับ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
การล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมในทฤษฎีสัญญาประชาคม
โพสต์ที่ 19
บทบรรณาธิการ ไทยรัฐ 13/2/49
ใครสร้างใครทำลาย?
คำกล่าวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่แสดงความเป็นห่วงว่า อาจารย์รัฐศาสตร์ หลายคนขาดสติ ขาดความรู้ และกำลังสนับสนุนการล้มล้างประชาธิปไตย นำไปสู่การถกเถียงกันอีกครั้งหนึ่งว่า ประชาธิปไตยคืออะไร? นายกรัฐมนตรีเห็นว่าคณาจารย์ที่เรียกร้องให้ ตนลาออกเป็นผู้ล้มล้างประชาธิปไตย เพราะตนได้รับเลือกตั้งจากคน 19 ล้านคน ให้บริหารประเทศจนครบ 4 ปี
ศาสตราจารย์ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช อดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ยืนยันว่า การออกมาเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก ไม่ใช่การทำลายประ-ชาธิปไตย แต่เป็นการทำให้ประชาธิปไตยเข้ม แข็งยิ่งขึ้น เหมือนอย่างที่ชาวฟิลิปปินส์เดิน ขบวนขับไล่มาร์กอส หากผมจะให้คะแนนก็ต้องให้เอฟ เพราะความเข้าใจเรื่องประชา-ธิปไตยของนายกรัฐมนตรีมีน้อยมาก
ตามทฤษฎีสัญญาประชาคมที่นายกรัฐมนตรีชอบอ้างอิง เจ้าของทฤษฎีคนหนึ่งคือจอห์น ล็อค นักปราชญ์ชาวอังกฤษ กล่าวว่า มนุษย์ทำสัญญาประชาคม ยินยอมสละสิทธิเสรีภาพบางส่วนและมอบอำนาจให้ผู้ปก ครองไปดำเนินการ เพื่อประโยชน์สุขของประ ชาชน แต่ถ้าผู้ปกครองปฏิบัติการตรงกันข้าม ประชาชนมีสิทธิถอนอำนาจคืน เพราะไม่ได้ มอบอำนาจสิทธิขาดให้ทำอะไรได้ตามใจชอบ
วิธีการที่จะถอนความไว้วางใจ หรือถอนอำนาจคืนจากรัฐบาล ถ้าหากเห็นว่าจงใจใช้อำนาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย รัฐธรรมนูญไทยฉบับปัจจุบันให้ทำได้หลายช่องทาง เช่น การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายก รัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี การยื่นถอดถอนผ่านองค์กรอิสระ และศาลรัฐธรรมนูญ การฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งการเมือง แม้จะยังไม่ครบวาระ 4 ปี
แต่ถ้าองค์กรผู้มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจกลายเป็นง่อย อันอาจจะเนื่องมาจากการถูกอำนาจอื่นแทรกแซง หรือครอบงำ จนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ตามที่ได้รับมอบหมาย ประชา-ชนก็ย่อมมีสิทธิที่จะออกมาแสดงความคิดเห็น ชุมนุม หรือเดินขบวนโดยสงบ และยื่นข้อเรียก ร้อง เพื่อป้องกันไม่ให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยกลายเป็นระบอบทรราชย์
สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งทำ ให้การเมืองไทยเดินมาถึงจุดที่ออกไปเล่นกันตามท้องถนน คือเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับความเป็นง่อยขององค์กรอิสระต่างๆ รวมทั้งสื่อที่ถูกปิดกั้น และแม้แต่ฝ่ายค้านก็ไม่สามารถเปิดอภิปรายนายกรัฐมนตรี ผู้ที่ปฏิเสธว่าไม่มีการแทรกแซงองค์กรใดๆ ขอแนะนำให้กลับไปอ่านคำอภิปรายในวุฒิสภา มีการยอมรับว่า ส.ว. บางส่วนรับเงินเดือนจากพรรคการเมือง
ประชาธิปไตยคืออะไรกันแน่? การออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมือง รวมทั้งการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก เป็นการทำลายประชาธิปไตยหรือไม่? การแทรกแซงองค์กรอิสระต่างๆ รวมทั้งวุฒิสภา ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการใช้อำนาจ เป็นการทำลายหรือสร้างสรรค์ประชาธิปไตย? ใครจะเป็นผู้ตัดสินหรือชี้ขาด ถ้าหากองค์กรผู้มีอำนาจหน้าที่กลายเป็นง่อย.
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
การล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมในทฤษฎีสัญญาประชาคม
โพสต์ที่ 20
กลุ่มนักศึกษา เขาตั้งโต๊ะล่ารายชื่อ และถกกันประเด็นถอดถอนที่นี่คับ
http://board.thaimisc.com/tuthaprajan
ในนี้มีลิงค์เพื่อไปอ่านรัฐธรรมนูญ 2540 ด้วยคับ
http://board.thaimisc.com/tuthaprajan
ในนี้มีลิงค์เพื่อไปอ่านรัฐธรรมนูญ 2540 ด้วยคับ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
การล้มล้างรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมในทฤษฎีสัญญาประชาคม
โพสต์ที่ 21
[/code]การต่อสู้ระหว่างอำนาจเงินกับอำนาจธรรม
โดย ชัยอนันต์ สมุทวริช 23 กุมภาพันธ์ 2549 21:12 น.
ความเข้าใจเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยในสังคมไทยเรายังมีความแตกต่างกัน ผู้แทนราษฎรฝ่ายรัฐบาลเห็นว่าการเคลื่อนไหวนอกสภา เป็นเรื่องที่ไม่ควรกระทำ ความคิดเช่นนี้เป็นการจำกัดขอบเขตของระบอบประชาธิปไตยให้มีวงแคบ มีขอบเขตอยู่เฉพาะการดำเนินงานทางรัฐสภาเท่านั้น
แท้จริงแล้ว ระบอบประชาธิปไตยมีขอบเขตกว้างขวางมากกว่าการดำเนินงานภายในรัฐสภา การมีความเคลื่อนไหวนอกสภามากๆ นั้น เป็นการสะท้อนความเป็นจริงทางการเมืองว่าการเมืองในรัฐสภาไม่สามารถจัดการกับปัญหาของประเทศได้ จึงมีการเมืองนอกสภาขึ้น
การที่รัฐบาลมีเสียงข้างมากเด็ดขาด จึงมีส่วนทำให้สภาฯ ต้องลดบทบาทลง ซ้ำร้ายวุฒิสภาซึ่งตามรัฐธรรมนูญมีเจตนารมณ์ให้มีความเป็นอิสระ ก็ยังถูกครอบงำโดยฝ่ายบริหารอีกด้วย รัฐสภาจึงหมดความหมายไป และไม่อาจทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารได้
การเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชนที่ทำอยู่เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ เราจะเห็นได้ว่าในระยะแรกๆ ของการบริหารงานโดยนายกรัฐมนตรีนั้น ไม่ได้มีการชุมนุมเคลื่อนไหวกันมากเท่านี้ ยิ่งนานวันไป รัฐบาลครอบงำรัฐสภา และองค์กรอิสระมากชึ้น การชุมนุมเคลื่อนไหวก็มีมากขึ้นตามไปด้วย
การชุมนุมเคลื่อนไหวอย่างสงบ ถือว่าเป็นช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชนช่องทางหนึ่ง ประชาชนที่ชุมนุมเคลื่อนไหวมักเป็นผู้ที่รับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองมากกว่าผู้อื่น
โดยปกติแล้ว ประชาชนจะรับรู้ข่าวสารทางการเมืองได้จากสื่อมวลชน และกลไกทางการเมืองต่างๆ กลไกทางการเมือง เช่น พรรคการเมือง และรัฐสภามีหน้าที่กรองข้อมูลข่าวสารแล้วหยิบยกมาเป็นประเด็นทางการเมืองเพื่อพิจารณาแก้ไข แต่ถ้าสถาบันทางการเมืองโดยเฉพาะผู้แทนราษฎรไม่ทำหน้าที่นี้แล้ว ประชาชนที่รวมเป็นกลุ่มเฝ้าติดตามนโยบายด้านต่างๆ ก็จะเป็นฝ่ายทำหน้าที่นี้แทน
การเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่งนั้น ชี้ให้เห็นว่าไม่มีช่องทางในรัฐสภาหรือในองค์กรอิสระที่จะทำบทบาทนี้ได้ การเรียกร้องเช่นนี้อยู่ในขอบเขตของหลักประชาธิปไตยหรือไม่ รัฐธรรมนูญเพียงให้ช่องทางและวิธีการที่ประชาชนสามารถเข้าชื่อกันห้าหมื่นชื่อเพื่อกล่าวหานายกรัฐมนตรีได้ แต่ไม่ได้ให้สิทธิในการเรียกร้องให้ออกจากตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรีเองก็อ้างสิทธิที่ได้มาตามวิถีทางรัฐธรรมนูญว่าได้รับเลือกตั้งเข้ามา จึงมีความชอบธรรม และผู้เรียกร้องก็ได้รับการวิจารณ์ว่า กระทำการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
แต่ในทางทฤษฎีรัฐศาสตร์แล้ว อำนาจที่เป็นของปวงชนนั้น อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ ในหลายประเทศประชาชนลุกฮือขึ้นไล่ผู้นำประเทศ ทั้งๆ ที่ยังมีรัฐธรรมนูญอยู่ ดังนั้น อำนาจอธิปไตยคือที่มาของรัฐธรรมนูญ ประชาชนมีสิทธิเรียกอำนาจนั้นคืนมา
เมื่อมีปัญหาเช่นนี้ รัฐบาลจะทำอย่างไร เท่าที่ปรากฏก็คือ รัฐบาลได้อาศัยกลไกของรัฐไปสนับสนุนให้ประชาชนออกมาสนับสนุนนายกรัฐมนตรี มีประชาชนจำนวนน้อยมากที่จะสมัครใจมาชุมนุมกันเอง
ท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ นายกรัฐมนตรีจะทำอย่างไร จะยุบสภาก็ยากในการหาเหตุผลมาอ้าง เพราะไม่มีข้อขัดแย้งภายในพรรคหรือรัฐสภาถึงขนาดที่จะให้ยุบสภา ดังนั้น ฝ่ายเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่งจึงเป็นฝ่ายรุก
สิ่งที่นายกรัฐมนตรีทำได้ก็คือ ตรวจสอบข้อกล่าวหาของฝ่ายประท้วงไล่เป็นข้อๆ ไปและชี้แจง หรือไม่ก็รีบแก้ไขเสีย แต่นายกรัฐมนตรีปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปจนถึงขีดที่เกิดความไม่เชื่อถือ ไม่ไว้วางใจแพร่ขยายวงกว้างไปเกินกว่าที่จะเยียวยาได้ แม้แต่เด็กนักเรียนก็ยังออกมาขับไล่ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ถ้านายกรัฐมนตรีขัดขืนไม่ยอมลาออก การบริหารงานของรัฐบาลก็จะมีปัญหา การจะดำเนินโครงการใหญ่ๆ ผู้คนก็จะต่อต้าน เพราะปัญหาการคอร์รัปชันในโครงการสุวรรณภูมิยังคาราคาซังอยู่
หากจะมีการปรับคณะรัฐมนตรี สถานการณ์ก็คงจะไม่ดีขึ้น เพราะคนดีมีฝีมือก็ไม่อยากร่วมสังฆกรรมด้วย ถึงขั้นที่ไม่ต้องการเกี่ยวข้อง ไม่เหมือนในระยะแรกๆ ที่มีผู้สนับสนุนหลายคน แต่ก็ค่อยๆ ถอยออกไป
หากนายกรัฐมนตรียังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไป ก็จะมีการหาความผิดของนายกรัฐมนตรี โดยมีข้อมูลมากขึ้น นายกรัฐมนตรีจะตกเป็นเป้าเพียงคนเดียว
รัฐบาลชุดนี้มีคนดีๆ มีความสามารถหลายคน
ผมเองเสียดายหลายคนซึ่งขอไม่เอ่ยชื่อ เพราะจะเกิดความอึดอัด คนเหล่านี้บางคนก็เคยแสดงความวิตกกังวลกับผม แต่การร่วมรัฐบาลเดียวกัน ก็ทำให้พูดไม่ออก จะเตือนนายกรัฐมนตรีก็ไม่ได้ เพราะนายกรัฐมนตรีไม่ได้ทำตัวให้ผู้คนวิจารณ์หรือตักเตือนได้
คนหลายคนซึ่งบางคนเป็นลูกศิษย์ผม เคยพบกับปัญหาที่ผู้มีอำนาจหลงอำนาจมาแล้ว ผมเคยหวังว่า เมื่อคนเหล่านี้ได้ไปมีอำนาจบ้าง ก็คงจะมีความสำนึกดีกว่าคนในสมัยก่อน แต่ก็ไม่จริง บางคนก็ใจอ่อนไม่สามารถตัดสินใจปลีกตัวออกมาจากรัฐบาลได้
คนที่ผมกล่าวถึงนี้ ไปๆ มาๆ กลับมาตำหนิประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหว ทั้งๆ ที่สมัยก่อนพวกเขาเป็นฝ่ายเคลื่อนไหวเองด้วย ดังนั้น จึงกลายเป็นว่า มิตรร่วมเหตุการณ์ 14 ตุลา 6 ตุลา และพฤษภาทมิฬ ต้องมาอยู่ฝ่ายตรงกันข้าม กลับเป็นพันธมิตรกับสมัคร สุนทรเวช ได้อย่างน่าอัศจรรย์
การประท้วงนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ จึงต่างกับเหตุการณ์ทั้งสามที่กล่าวมาแล้ว แต่ก่อนพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยเป็นคนกลุ่มเดียวกัน บัดนี้มีสองฝ่าย แต่ละฝ่ายก็หากลวิธีต่อสู้และแก้เกมกันเอง
อย่างไรก็ตาม ผมดีใจที่การเมืองไทยมีการพัฒนาไปอีกระดับหนึ่ง คนอายุ 60 ขึ้นไป และ 20 ลงมาเกิดความตื่นตัวมากขึ้น คนชั้นสูงกว่าคนชั้นกลางสนใจการเมืองมากขึ้น แต่ที่น่าสังเกตก็คือ ส่วนมากไม่ชอบนายกรัฐมนตรี
คนไทยยังถือว่าตำแหน่งผู้นำประเทศนั้น ควรเป็นอะไรที่มากไปกว่าพ่อค้า อาจเป็นอิทธิพลจากแนวคิดเกี่ยวกับผู้ปกครองในสังคมพุทธ ที่ถือว่าผู้ปกครองต้องมีธรรม รวมถึงจริยธรรม ต้องเสียสละ ไม่ติดยึดกับทรัพย์ศฤงคาร แต่ก็ต้องเป็นคนฉลาดมีปัญญา คนไทยไม่ยอมรับคนฉลาด เก่ง รวย ที่ขาดความสำนึกทางจริยธรรม
ในแง่นี้ พ.ต.ท.ทักษิณ จึงเป็นผู้นำในระบอบประชาธิปไตยได้ แต่ไม่สามารถเป็นผู้นำของสังคมไทยได้ เพราะผู้นำนั้นต้องเป็นอะไรมากกว่า พ่อค้าที่มีอำนาจทางการเมือง
เวลานี้สังคมไทยกำลังมีการต่อสู้ระหว่างอำนาจเงินกับคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม น่าเสียดายที่ พ.ต.ท.ทักษิณมีโอกาสที่จะพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีอำนาจทางคุณธรรมได้ แต่ก็ไม่ได้ใช้โอกาสนั้น
น่าเฝ้าดูว่าระหว่างธนาธิปไตยกับธรรมาธิปไตยนั้น ฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายชนะ