VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

เชิญมาพักผ่อน คลายร้อนนั่งเล่น คุยกันเย็นๆ พร้อมเรื่องกีฬา สัพเพเหระ ทัศนะนานา ชีวิตชีวา สุขภาพทั่วไป บันเทิงขำขัน รอบเรื่องเมืองไทย ชวนเที่ยวที่ไหน อยากไปก็นัดมา ...โย่วๆ
Pekko
Verified User
โพสต์: 671
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 151

โพสต์

ดำ เขียน:ทุกวันนี้ผมใช้เดินจงกรมเพื่อฝึกสติ (เดินสบายๆ แล้วสติคอยรู้) กับนั่งสมาธิโดยใช้อานาฯ เป็นวิหารธรรมครับ
การดูเวทนา คิดว่าตอนนี้คงไม่ไหวครับถ้าจะดูนานๆ เพราะใจไม่สงบเลยเวลาดูความปวด (ปัญหาการนั่งสมาธิหลังตรงๆ)
งั้นคุณดำต้องพยายามเดินให้ช้าที่สุด ถ้ามีดาวเทียมจานดำ ทุกวัน 7-8 โมงเช้าเปิดไปที่ช่องวัดสังฆทาน SBBT มีหลวงพ่อพรจรัญสอนให้เดิน 4 จังหวะ ให้ดูทุกข์ที่อิริยาบทการเดิน แม้ความปวดก็ต้องดูครับ แรกๆ อาจจะสงสัยว่าดูไปทำไม แต่พอดูมากเข้าจะรู้เองว่า ทุกข์ทางกายนั้นเป็นส่วนหนึ่งของพระไตรลักษณ์(ทุกข์ประจำสังขาร หลีกหนีไม่พ้น) ปัญญาทางธรรมก็จะเกิดขึ้น เช่น รู้สึกร่างกายเป็นของหนัก เกิดการเบื่อ(นิพพิทาญาณ)กายขึ้น หรือจิตไม่อยากได้กายแล้ว เห็นกายไม่ใช่ที่พึงพิงอาศัย จะค่อยๆละกายที่เห็นว่าเป็นของตน(สักกายทิฐิ) อีกทั้งความลังเลสงสัยในการดับทุกข์หรือข้อปฏิบัติการดับทุกข์ที่พระพุทธเจ้าประทานไว้(วิจิกิจฉา)หมดลง พร้อมเข้าใจถึงคุณพระรัตนตรัยและคุณของศีล5ที่เป็นข้อห้ามการทำความชั่ว เพื่อเกิดความบริสุทธิ์ทางจิตใจขั้นต้น (สีลัพพตปรามาส)แล้ว

ความเป็นอริยชนก็จะเกิดขึ้นกับทุกๆคน ในไม่ช้าครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
Pekko
Verified User
โพสต์: 671
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 152

โพสต์

ดำ เขียน:เมื่อคืนลองนั่งตามสบาย เอาหมอนมารองหัวเตียงแล้วนั่งขัดสมาธิพิง แต่ตัวค่อนข้างตรงนะครับไม่ได้พิงแบบเอนๆ (มันจะสบายไปหน่อย) รู้สึกโอเคครับ เกิดภาวะใจโล่งๆ สว่างๆ ด้วย ไม่รู้เรียกปีติรึเปล่า แต่ยังฝันอุตลุดเหมือนเดิม แถมนอนนานด้วยครับ
ส่วนความสว่างผมตอบ 100% ไม่ได้ครับ ถ้าให้เดาผมคิดว่าน่าจะเป็นนิมิตครับ แต่อย่าเพิ่งไปติดกับมันปฏิบัติไปจะรู้เอง
อยากให้ทุกท่านที่ปฏิบัติพิจารณาด้านปัญญาด้วยนะครับ แม้เพียงสักเล็กน้อยก็ยังดี โดยเฉพาะด้านกายใช้แนวทางพระไตรลักษณ์ครับ
ผมได้อ่านหนังสือของท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ท่านอธิบายถึงสาเหตุที่ไม่รู้ไม่เห็นพระไตรลักษณ์ มีดังนี้ครับ
1. สันตติ ความสืบเนื่องกัน (เช่น ภาพในทีวี เสียงที่ได้ยิน หรือการประกวดต่างๆประจำปี โอลิมปิค ฟุตบอลโลก)
2. อิริยาบท การเปลี่ยนอิริยาบทเป็นตัวปิดบังทุกข์ (เช่นทรงตัวนานๆไม่ได้ ต้องมีขยับกายตลอดเวลา)-การเดินจงกรมจะเห็นข้อนี้ได้อย่างชัดเจนมากกว่าการนั่งสมาธิ
3. ฆานสัญญา ความเป็นแท่งหรือความเป็นก้อน (เช่น ภูเขา ก้อนน้ำแข็ง หรือรอยแตกร้าวที่กำแพงบ้าน)
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
Pekko
Verified User
โพสต์: 671
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 153

โพสต์

Pekko เขียน: 3. ฆานสัญญา ความเป็นแท่งหรือความเป็นก้อน (เช่น ภูเขา ก้อนน้ำแข็ง หรือรอยแตกร้าวที่กำแพงบ้าน)
ขอแก้ไข เป็นคำว่า ฆนะ ครับ
ขออภัยครับ :cry:
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
ภาพประจำตัวสมาชิก
Segasus_Seiya
Verified User
โพสต์: 105
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 154

โพสต์

ขอบคุณมากครับ สำหรับคำแนะนำเรื่องเงินกู้ดอกเบี้ยแพง

ผมขอทำความเข้าใจและัขอสรุปว่า หาก WIN WIN ทั้งคู่ก็ไม่เป็นบาป
แต่หากทำให้ผู้กู้เดือดร้อน ก็เกิดการเบียดเบียนกัน แบบนี้คงมีผลไม่ดีเท่าไรครับ

ขอบคุณมากครับ

=============
มีคำถามอีกครับ

ปกติผมไม่ค่อยได้นั่งสมาธิื เล่นเนทเพลินๆก็ห้าทุ่ม เที่ยงคืน แล้วก็หลับเลย

ที่นี้มีหลายครั้งที่นอนเที่ยงคืนกว่า แล้วต้องตื่นหกโมงไปทำงานทุกวันครับ
ก็ใช้วิธีกินกาแฟในช่วงเช้าสักตอน 9 โมงเข้า แก้วนึงครับ ทีนี้ผลคือ ช่วงเช้าก็โอเค ไม่ง่วงเพราะฤทธิ์กาเฟอีน แต่ช่วงบ่ายสิครับ ตาแทบจะไม่ จะหลับเสียให้ได้เลย มึน

แต่มีสองสามครั้งที่นอนเที่ยงคืนกว่า แล้วผมลองใช้วิธีหลับตาทำสมาธิ ท่องพุทธ โท ประมาณ 15-20 นาที ระหว่างอยู่บนรถพนักงาน ตอนเช้าก่อนถึงบริษัท ประมาณ 6.40 - 7.00 น่ะครับ ผลคือ
เหมือนความรู้สึกง่วงมันไม่ค่อยมีหรือมีแต่ไม่มาก โดยที่ไม่ได้ดึ่มกาแฟเลย) ทั้งเช้าและบ่ายเลย

แบบนี้เป็นผลเพราะการทำสมาธิหรือเปล่าครับ หรือผมอาจคิดไป อาจมีปัจจัยอื่นๆนอกจากนี้ก็ได้?

แต่ความรู้สึกมันเหมือนเชื่อว่าทำสมาธิ 15-20 นาที ช่วยทำให้ไม่ง่วงได้จริงๆ
หรือเป็นเพราะจะมีอะไรดลใจให้หันมาปฏิบัติสมาธิจริงๆจังๆหรือเปล่า ?
(แต่ยังแพ้กิเลสอยู่ครับ)

ไว้ผมนอนดึก แล้วจะทดลองอีกเพื่อความแน่ใจครับ

ขอบคุณมากครับ
Nice
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 155

โพสต์

Segasus_Seiya เขียน: แบบนี้เป็นผลเพราะการทำสมาธิหรือเปล่าครับ หรือผมอาจคิดไป อาจมีปัจจัยอื่นๆนอกจากนี้ก็ได้?
ในพระบาลีก็มีกล่าวไว้ว่า สมาธิเพียงแค่ "ช้างสบัดหู ไก่กระพือปีก" การทำสมาธิเพียงแค่นี้ มีผลมากกว่าการให้ทานและรักษา
ศีลทั้งปวง เพราะไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น อีกทั้งยังเป็นการใช้ปัญญากำกับสมาธิไปในตัวด้วยครับ

อาการที่คุณ Segasus_Seiya ว่าก็คือ ปีติสุข ที่เกิดจากขณิกสมาธิ ซึ่งนักปฎิบัติทุกท่านจะทราบดี เพราะการที่กำหนดจิตให้
ไปจ่อที่ พุทโธ คือมีพระรัตนไตรเป็นที่ตั้งของจิต ย่อมพบแต่ความสุขสงบ ความสงบเกิดขึ้นจากการละวางความหนักอึ้งทั้ง
หลายทั้งปวง ความเครียด ความไม่สบายกายและใจ เกิดจากการที่เราเอาจิตไปผูกกับเรื่องนั้นๆ ไม่เพียงทำให้จิตเศร้าหมอง
แต่ยังผลต่อทางกายคือสุขภาพแย่ด้วยครับ

ดังนั้นการทำสมาธิเพียงชั่วครู่ ก็คือการกำหนดจิตเพื่อให้เกิดความละวาง ผลที่ได้คือความสุขกายสุขใจ เมื่อเกิดผลดังนั้น
ความห่วงย่อมไม่มีการระลึกถึง เช่นเดียวกับหากเกิดเรื่องดีๆหรือสิ่งที่เราอยากได้ ได้ตามที่คิด ย่อมทำใหเราลืมความทุกข์
ยิ้มได้ทั้งวัน ความเครียดก่อนหน้าไม่รู้ไปอยู่ที่ไหนหมด ความง่วงที่หายไปก็เกิดจากปีติสุขของสมาธิเข้ามาแทนที่เช่นกันครับ


:D
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 156

โพสต์

เพื่อนๆพี่ๆ คงจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับคุณ เจสัน ยัง กันมาบ้างใช่ไหมครับ

ครั้งแรกที่ผมได้ยินนักข่าวไปสัมภาษณ์ หลวงพ่อวิริยังค์ ซึ่งท่านได้กล่าวชื่นชมพระเจสันว่า เป็นผู้มีดวงตาเห็นธรรมและมีสมาธิขั้นสูง
ผมนั่งฟังแล้วรู้สึกขนลุกซู่อย่างบอกไม่ถูกเหมือนกัน ได้แต่อนุโมทนาสาธุในใจและอิ่มบุญไปกับท่านด้วย

ดังที่องค์พระศาสดาตรัสไว้ว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา" จึงเป็นอีกหนึ่งกำลังใจของผู้ปฏิบัติทุกท่าน ที่จะได้สร้างและสะสม
ความเพียรตามกำลังของตนต่อไปครับ


:pray:
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
Pekko
Verified User
โพสต์: 671
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 157

โพสต์

tum_H เขียน:เพื่อนๆพี่ๆ คงจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับคุณ เจสัน ยัง กันมาบ้างใช่ไหมครับ

ครั้งแรกที่ผมได้ยินนักข่าวไปสัมภาษณ์ หลวงพ่อวิริยังค์ ซึ่งท่านได้กล่าวชื่นชมพระเจสันว่า เป็นผู้มีดวงตาเห็นธรรมและมีสมาธิขั้นสูง
ผมนั่งฟังแล้วรู้สึกขนลุกซู่อย่างบอกไม่ถูกเหมือนกัน ได้แต่อนุโมทนาสาธุในใจและอิ่มบุญไปกับท่านด้วย

ดังที่องค์พระศาสดาตรัสไว้ว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา" จึงเป็นอีกหนึ่งกำลังใจของผู้ปฏิบัติทุกท่าน ที่จะได้สร้างและสะสม
ความเพียรตามกำลังของตนต่อไปครับ


:pray:
พระเจสันน่าจะเป็นอริยบุคคลตั้งแต่เป็นฆราวาสนานแล้วครับ ตอนแรกผมคิดว่าท่านเป็นนะแต่ไม่ค่อยแน่ใจนัก มีคุยๆกันกับรุ่นน้องเรื่องนี้นานมาเกือบ 2 ปีแล้ว พอท่านบวชผมบอกเลยว่าท่านไม่น่าจะสึก(แม้ว่ามีคู่หมั้นก็ตาม) เพราะระลึกถึงคำพระพุทธองค์ว่าผู้ใดบรรลุธรรมในครองเพศฆราวาส หากผู้นั้นบวชจะไม่สึก จนมีรุ่นน้องบอกว่าท่านบวชไม่มีกำหนดสึก(ก่อนมีข่าวออกมา)เลยแน่ใจ 100% ครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
Pekko
Verified User
โพสต์: 671
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 158

โพสต์

Segasus_Seiya เขียน:มีคำถามอีกครับ

ปกติผมไม่ค่อยได้นั่งสมาธิื เล่นเนทเพลินๆก็ห้าทุ่ม เที่ยงคืน แล้วก็หลับเลย

ที่นี้มีหลายครั้งที่นอนเที่ยงคืนกว่า แล้วต้องตื่นหกโมงไปทำงานทุกวันครับ
ก็ใช้วิธีกินกาแฟในช่วงเช้าสักตอน 9 โมงเข้า แก้วนึงครับ ทีนี้ผลคือ ช่วงเช้าก็โอเค ไม่ง่วงเพราะฤทธิ์กาเฟอีน แต่ช่วงบ่ายสิครับ ตาแทบจะไม่ จะหลับเสียให้ได้เลย มึน

แต่มีสองสามครั้งที่นอนเที่ยงคืนกว่า แล้วผมลองใช้วิธีหลับตาทำสมาธิ ท่องพุทธ โท ประมาณ 15-20 นาที ระหว่างอยู่บนรถพนักงาน ตอนเช้าก่อนถึงบริษัท ประมาณ 6.40 - 7.00 น่ะครับ ผลคือ
เหมือนความรู้สึกง่วงมันไม่ค่อยมีหรือมีแต่ไม่มาก โดยที่ไม่ได้ดึ่มกาแฟเลย) ทั้งเช้าและบ่ายเลย

แบบนี้เป็นผลเพราะการทำสมาธิหรือเปล่าครับ หรือผมอาจคิดไป อาจมีปัจจัยอื่นๆนอกจากนี้ก็ได้?

แต่ความรู้สึกมันเหมือนเชื่อว่าทำสมาธิ 15-20 นาที ช่วยทำให้ไม่ง่วงได้จริงๆ
หรือเป็นเพราะจะมีอะไรดลใจให้หันมาปฏิบัติสมาธิจริงๆจังๆหรือเปล่า ?
(แต่ยังแพ้กิเลสอยู่ครับ)

ไว้ผมนอนดึก แล้วจะทดลองอีกเพื่อความแน่ใจครับ

ขอบคุณมากครับ
ความง่วงหงาวหาวนอน หรือที่เรียกว่า ถีนมิทธะ เป็นนิวรณ์ 1 ใน 5 เป็นสังโยชน์เบื้องสูง แม้เป็นพระอนาคามีก็ยังมี สมาธิที่คุณ Segasus_Seiya ทำ ทำให้จิดมีกำลังแช่มชื่น มันจะกดความง่วงได้ชั่วคราว ซึ่งตรงนี้ถ้าเดินปัญญาเข้าไปจะพบว่า กายมันต้องการพัก แต่ความง่วงมันเกิดขึ้นที่จิต(ที่ยังผูกพันกับกาย) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะมีการบริโภคมากเกินไป องค์หลวงตามหาบัวแนะว่าผู้ปฏิบัติหากประสบปัญหาความง่วง ให้ลองลดการบริโภคอาหารลง หรืออดอาหาร (ขึ้นอยู่กับสุขภาพ อายุ กำลังวังชาของแต่ละคน)
ที่คุณ tum_H บอกเป็นขณิกสมาธิ ผมไม่ค่อยแน่ใจนัก คุณ Segasus_Seiya อาจจะเข้าสู่ภาวะใกล้ๆฌานก็เป็นได้เพราะอำนาจสมาธิถ้าเป็นระดับน้องๆฌาน อาจอยู่ได้ถึง 3-4 วัน รู้สึกคึกคัก อันนี้ก็ควรระวังไว้ครับ ส่วนที่มีอะไรมาดลใจหรือปฏิบัติได้ทันที อาจเพราะมีบุญบารมีเก่าสะสมอยู่ ค่อยๆ ทำไปครับ
เพราะการฝึกสมาธิแรกๆ มันต้องมีเหยื่อล่อ เช่นคุณ Segasus_Seiya มีความง่วงลดลง ทำให้กระตุ้นอยากฝึกต่อ หรือสงสัยในสิ่งที่เกิดขึ้น(ทั้งที่ประสบพบเจอทุกวันแต่ไม่เคยสงสัยกันเลย) หันกลับมาศึกษาปฏิบัติธรรม เป็นสิ่งที่น่ายินดีมากครับ

"เมื่อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว สิ่งต่างๆ อะไรที่ไม่เคยรู้ ก็จะได้รู้ สิ่งต่างๆ อะไรที่ไม่เคยเห็น ก็จะได้เห็น สิ่งที่เคยสงสัย ก็จะหายสงสัยไปเอง"- หลวงปู่สังวาลย์ เขมโก พระอาจารย์ของหลวงพ่อสนอง กตปุญโญเจ้าอาวาสวัดสังฆทาน
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
ภาพประจำตัวสมาชิก
oatty
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2444
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 159

โพสต์

การที่จิตได้พัก สิบนาทีหรือยี่สิบนาทีแบบมีสมาธิ ดีกว่านอนทั้งคืนจริงครับ

ลองดูหลายๆ หน แล้วมาเล่าสู่กันฟัง
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 160

โพสต์

อยากรู้จังว่าคุณพี่ เด็กใหม่ไฟแรง มีวิธีการบริหารเวลาและจัดสรรเวลาในการปฏิบัติธรรมอย่างไรบ้างครับ

:D
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 161

โพสต์

รูปภาพ
รูปภาพ


เอาหนังสือที่รวบรวมคำสอนจากพระพุทธเจ้ามาให้ครับ

เป็นคำสอนที่ถูกต้องตรงจริง ไม่จำกัดกาล ผู้ปฏิบัติพึงเห็นผลได้ด้วยตนเองครับ ไม่ต้องใช้ความเชื่อตามๆกันมา

^ _^
ไม่ประมาท
wasan_yu
Verified User
โพสต์: 608
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 162

โพสต์

ผมรบกวนถามเพื่อนๆพี่ๆที่นั่งสมาธิครับ ผมนั่งเเล้วจะรู้สึกว่าตัวเบา เหมือนจะลอยขึ้นได้ครับ ไม่ทราบว่าผิดปกติหรือเปล่าครับ :roll:
เด็กสระบุรี
Pekko
Verified User
โพสต์: 671
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 163

โพสต์

wasan_yu เขียน:ผมรบกวนถามเพื่อนๆพี่ๆที่นั่งสมาธิครับ ผมนั่งเเล้วจะรู้สึกว่าตัวเบา เหมือนจะลอยขึ้นได้ครับ ไม่ทราบว่าผิดปกติหรือเปล่าครับ :roll:
ไม่ผิดปกติครับ เป็นอาการแบบหนึ่งของปีติครับ (ปีติมี 5 แบบ) แต่ควรต้องควบคุมตัวเองให้มีสติ หรือมีอาจารย์คอยแนะนำ จะได้ปฏิบัติตรง ถูกทาง และไม่เสียเวลาครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
ใจใส
Verified User
โพสต์: 183
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 164

โพสต์

ถ้ามีอาการซ่าตั้งแต่ศีรษะลงมา พอรู้สึกตัวก็หาย แล้วก็เป็นอีกสลับกันไป ตลอดเวลาที่นั่งสมาธิ
แบบนี้เรียกว่าปีติ ด้วยหรือเปล่าคะ
wasan_yu
Verified User
โพสต์: 608
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 165

โพสต์

ขอบคุณครับ คุณPekko
เด็กสระบุรี
Pekko
Verified User
โพสต์: 671
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 166

โพสต์

ใจใส เขียน:ถ้ามีอาการซ่าตั้งแต่ศีรษะลงมา พอรู้สึกตัวก็หาย แล้วก็เป็นอีกสลับกันไป ตลอดเวลาที่นั่งสมาธิ
แบบนี้เรียกว่าปีติ ด้วยหรือเปล่าคะ
ใช่ครับ ก็เป็นอาการแบบหนึ่งของปีติเช่นกัน แต่อย่าบังคับรีดออกมามากเกินไปนะครับ (หักโหม โดยสร้างปีติเอง) เพราะมันจะไม่เป็นผลดีในระยะยาว ยกเว้นมีสัมมามรรคที่แน่นหนา ผมเคยรีดปีติจนแย่มาแล้ว
ถ้าปีติเกิดก็ให้รู้ว่าเกิด ถ้าปีติไม่เกิดก็ให้รู้ว่าไม่เกิด อย่าไปหลงยึดติดว่าเพราะเหตุใดหรือทำไมเกิด/ไม่เกิด
เพราะว่าแม้ตัวปีติเอง (หรือสุข ที่เป็นขั้นสูงกว่าปีติ)ก็ยังไม่ใช่แก่น หรือหลักธรรมสำคัญที่แท้จริงของพุทธศาสนาครับ

ที่คุณใจใสบอกมาถือว่าดีมากครับ มีสติสัมปชัญญะดีรู้ตัวว่ามีอาการซ่าเกิดๆ ดับๆ (คนส่วนมากถึงตรงนี้แล้วมักเดินจะไปต่อไม่ถูก) ตรงนี้ให้พิจารณาธรรมหรือสภาวธรรม(อาการซ่าเกิดๆ ดับๆ)ที่เกิด ณ ขณะนั้น โดยเติมปัญญากำหนดเรื่องอนิจจังเข้าไป จะกลายเป็นวิปัสสนาโดยปริยาย เห็นความจริงว่าความต่อเนื่อง(สันตติ)นั้นหลอกเราอยู่

เมื่อปฏิบัตินานๆเข้า (อาจจะหลายๆเดือนหรือหลายๆปี) จะเกิดนิพพิทาญาณความเบื่อหน่ายขึ้น แม้ความปีติก็ยังเบื่อ(แบบมีปัญญา) การวางใจเป็นกลางอุเบกขา และสัมมาสมาธิ และธรรมะของพุทธองค์ จักเกิดขึ้นเองครับ
ค่อยๆ ปฏิบัติ เรียนรู้กันต่อไปครับ

ปล. ผมสมัครสมาชิกสมาคมแล้วครับ คงได้สนทนากันไปเรื่อยๆครับ (ไม่รู้ทุกท่านจะเบื่อผมหรือเปล่า)
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
Pekko
Verified User
โพสต์: 671
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 167

โพสต์

ถ้าคุณ wasan_yu จะปฏิบัติต่อเอง พยายามอย่าเพลิดเพลิน(เล่น)กับปีติมากนะครับ อย่าอยากรู้อยากเห็นอะไรที่แปลกๆ (ถึงมันจะมาปรากฎแว้บแว้บก็ตาม) พยายามคุมสติสัมปชัญญะเข้าไว้ และอย่าพยายามข่มจิตข่มกายกดตัวให้ลง เพราะบางคนตัวลอยเลยคิดกลัวไปไกล ต้องหาหลัก(ธรรม)เกาะแทนไว้ชั่วคราวก่อน

ให้พิจารณาวิปัสสนาอาจใช้อสุภะสัญญา (ความจำได้หมายรู้เรื่องซากสิ่งมีชีวิต) หรือกายานุปัสสนา(พิจารณากาย) หากรู้สึกว่ายังไม่พร้อมวิปัสสนาก็ให้เลิกนั่งชั่วคราว แล้วหันมาเดินจงกรมหรือดูอิริยาบทตามการเคลื่อนไหวให้มากขึ้น พร้อมทั้งรักษาศีลให้บริสุทธิ์และพัฒนาความรู้สึก(เจตสิก)การให้ทานทั้ง 10 ประการ (ไม่ใช่ให้ทานจำนวนมากจนตัวเองเดือนร้อนนะครับ) โดยใช้หลักพรหมวิหาร 4 เข้าช่วยเพิ่มเติม จะเห็นผลปฏิบัติที่ก้าวหน้าขึ้นครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 168

โพสต์

ใจใส เขียน:ถ้ามีอาการซ่าตั้งแต่ศีรษะลงมา พอรู้สึกตัวก็หาย แล้วก็เป็นอีกสลับกันไป ตลอดเวลาที่นั่งสมาธิ
แบบนี้เรียกว่าปีติ ด้วยหรือเปล่าคะ
ใช่ครับ ปิติ เป็นปฐมฌาณ พระตถาคตบอกว่า เพียงแค่ปฐมฌาณ ก็เพียงพอที่จะเข้าวิมุุตติ์หรือนิพพานได้ครับ ถ้าตามเห็นการเกิดดับของขันธ์ห้าในฌาณ เป็นสุขที่ไม่ควรกลัว

ภิกษุ ท ! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ เพราะอาศัยปฐมฌาณบ้าง ; เพราะอาศัย
ทุติยฌาณบ้าง ; เพราะอาศัยตติฌาณบ้าง ; เพราะอาศัยจตุตถฌาณบ้าง ; เพราะอาศัย
อากาสานัญจายตนะบ้าง ; เพราะอาศัยวิญญาณณัญจายตนะบ้าง ; เพราะอาศัยอา
กิญจัญญายตนะบ้าง ; เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะบ้าง๑

ภิกษุ ท ! คำที่เรากล่าวแล้วว่า “ภิกษุ ท ! เรากล่าวความสิ้น อาสวะ เพราะ
อาศัย ปฐมฌานบ้าง” ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า? ภิกษุ ท ! ในกรณีนี้ ภิกษุ
สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปิติและสุขอัน
เกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่. ในปฐมฌานนั้นมีธรรมคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ ; เธอนั้นตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่
เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็น
อาพาธ เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา) เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน.

เธอดำรงจิตด้วยธรรม(คือขันธ์ทั้งห้า) เหล่านั้น แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพาน) ด้วยการกำหนดว่า "นั่นสงบ
ระงับนั่นประณีต : นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัด
คืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็น
นิพพาน" ดังนี้. เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีปฐมฌาณเป็นบาทนั้น ย่อมถึง ความ
สิ้นไปแห่งอาสวะ
; ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็นโอปปาติกะอนาคามีผู้
ปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดาเพราะความสิ้นไป
แห่งสังโยชน์มีในเบื้องต่ำห้าประการ และเพราะอำนาจแห่ง ธัมมราคะ ธัมมนันทิ (อัน
เกิดจากการกำหนดจิตในอมตธาตุ) นั้นๆ นั่นเอง.
ไม่ประมาท
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 169

โพสต์

การวัดความก้าวหน้าในการ ภาวนา ทำอย่างไร

อานนท์ ! อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ ในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! ในกรณีนี้
อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ – ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุเพราะเห็นรูปด้วยตา.
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
“อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต)
เป็นของหยาบ ๆ (โอฬาริก)
เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน);
แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา” ดังนี้.
(เมื่อรู้ชัดอย่างนี้)
อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป, อุเบกขายังคงดำรงอยู่.
อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจ และไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป เร็วเหมือนการกระพริบตาของคน อุเบกขายังคงดำรงอยู่.
อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย
ในกรณีแห่ง รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ.
(ในกรณีแห่ง เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสตะ กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ รสที่รู้แจ้งด้วยชิวหา
โผฎฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยผิวกาย และ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ ทรงตรัสอย่างเดียวกัน
ต่างกันแต่อุปมาแห่งความเร็วในการดับแห่งอารมณ์นั้น ๆ, คือ
กรณีเสียง เปรียบด้วยความเร็วแห่งการดีดนิ้วมือ,
กรณีกลิ่น เปรียบด้วยความเร็วแห่งหยดน้ำตกจากใบบัว,
กรณีรส เปรียบด้วยความเร็วแห่งน้ำลายที่ถ่มจากปลายลิ้นของคนแข็งแรง,
กรณีโผฏฐัพพะ เปรียบด้วยความเร็วแห่งการเหยียดแขนพับแขนของคนแข็งแรง,
กรณีธรรมารมณ์ เปรียบด้วยความเร็วแห่งการแห้งของหยดน้ำบนกระทะเหล็ก ที่ร้อนแดงอยู่ตลอดวัน)

http://buddhaoat.blogspot.com/2011/07/b ... _3784.html
ไม่ประมาท
Pekko
Verified User
โพสต์: 671
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 170

โพสต์

peerawit เขียน:
ใจใส เขียน:ถ้ามีอาการซ่าตั้งแต่ศีรษะลงมา พอรู้สึกตัวก็หาย แล้วก็เป็นอีกสลับกันไป ตลอดเวลาที่นั่งสมาธิ
แบบนี้เรียกว่าปีติ ด้วยหรือเปล่าคะ
ใช่ครับ ปิติ เป็นปฐมฌาณ พระตถาคตบอกว่า เพียงแค่ปฐมฌาณ ก็เพียงพอที่จะเข้าวิมุุตติ์หรือนิพพานได้ครับ ถ้าตามเห็นการเกิดดับของขันธ์ห้าในฌาณ เป็นสุขที่ไม่ควรกลัว
เห็นด้วยและขอบคุณคุณ peerawit ครับ แต่คุณใจใสจะถึงขั้นฌาณ(อัปปนาสมาธิ)หรือเปล่านั้น ผมไม่รู้ เพราะขณิกและอุปจารสมาธิก็อาจมีปีติเล็กได้เหมือนกัน แต่ถ้าถึงฌาณจริงๆ แล้วรู้สึกว่าปีติเด่นขึ้นมากกว่าอื่นนั้น นั่นคือทุติยฌาณครับ
(องค์ประกอบของฌาณ ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกคัตตา)

แต่อย่าสนใจฌาณมากเกินไปครับ ทำเหมือนที่คุณ peerawit บอก คือเดินวิปัสสนาไปด้วย ใช้ปัญญาเห็นการเกิดดับขันธ์ห้า เห็นขันธ์ไหนชัดเอาขันธ์นั้นก่อนครับ มิฉะนั้นจะถึงทางตัน ไม่เกิดประโยชน์ในระยะยาวครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 171

โพสต์

คุณ Pekko มีประสบการณ์เยอะครับ :)

ผมเอาวิธีตรวจสอบ ฌาณ และ สมาธิ มาฝากครับ

พระตถาคตตรัส สัมมาสมาธิ ไว้สี่แบบครับ
นอกจากนั้นก็เป็นอรูปสัญญา และ สัญญาเวทยิตนิโรธ

สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะ
วิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมี
อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน
ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส
โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมา-
*สมาธิ ฯ

๓๙๒] ดูกรภิกษุ ก็ลำดับนั้นแล เรากล่าวความดับสนิทแห่งสังขาร
ทั้งหลายโดยลำดับ คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ เมื่อเข้าทุติยฌาน
วิตกวิจารย่อมดับ เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติย่อมดับ เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะ
ปัสสาสะย่อมดับ เมื่อเข้าอากาสานัญจายตนฌาน รูปสัญญาย่อมดับ เมื่อเข้า
วิญญาณัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมดับ เมื่อเข้าอากิญจัญญายตน
ฌาน วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับ เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับ เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนา
ย่อมดับ ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุผู้สิ้นอาสวะ ย่อมดับ ฯ



[๓๙๓] ดูกรภิกษุ ลำดับนั้นแล เรากล่าวความสงบแห่งสังขารทั้งหลาย
โดยลำดับ คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมสงบ เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจาร
ย่อมสงบ ฯลฯ เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมสงบ ราคะ
โทสะ โมหะของภิกษุผู้สิ้นอาสวะ ย่อมสงบ ฯ

[๓๙๔] ดูกรภิกษุ ปัสสัทธิ ๖ อย่างนี้ คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน
วาจาย่อมระงับ
เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารย่อมระงับ เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติย่อม
ระงับ เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะปัสสาสะย่อมระงับ เมื่อเข้าสัญญาเวท-
*ยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมระงับ ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุขีณาสพย่อม
ระงับ ฯ


เหมือนวิทยุตัวน้อยๆที่พูดในใจเราตลอด ตอนนี้ก็ยังได้ยิน ถ้าเราเข้า ปฐมฌาน วาจาย่อมระงับ :D
ไม่ประมาท
Pekko
Verified User
โพสต์: 671
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 172

โพสต์

peerawit เขียน:คุณ Pekko มีประสบการณ์เยอะครับ :)
ขอบคุณครับ แต่มีประสบการณ์เยอะใช่จะเก่งหรือถูกทางนะครับ
ที่ Post ก่อนก่อนหน้า อยากให้ทุกท่านสนใจปฏิบัติ หากมีปัญหาก็สอบถาม คำตอบที่ผมตอบไปอาจดูเยอะ เป็นแนวบรรยาย(เยิ่นเย้อ)มากก็ขออภัยทุกท่านด้วย เพราะธรรมะผู้ที่แสดงชัดเจนละเอียดละออมากที่สุด คือ พระพุทธองค์

และคำตอบของผม ท่านผู้ปฏิบัติหรือผู้อ่านท่านอื่นๆอย่าเพิ่งเชื่อ ลองนำไปประพฤติปฏิบัติดู ถ้ารู้สึกว่าดีใช้ได้ตรงตามอริยมรรคก็ทำต่อไป แต่หากสวนทางกับแนวทางพุทธศาสนาก็โยนทิ้งเสีย ผมย้ำมาเสมอว่าเคยทำผิดทางเกือบเอาชีวิตไม่รอดมา 2 ครั้งแล้ว เวลาผิดทางทรมานมากไม่มีใครช่วยเหลือเราได้ ยกเว้นตัวเราเองเท่านั้นครับ

ก็เหมือนลงทุนหุ้นใหม่ๆครับ แรกๆ อาจลอกตามคนนั้น ติดตามคนนี้ เราก็ทำไป ควบคู่กับการแสวงหาความรู้การลงทุนที่ถูกต้อง เพราะท้ายที่สุดความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องพึ่งพาตัวเองเท่านั้น และเมื่อเรารู้สึกหรือคิดว่าเราถูกทาง เอาตัวรอดได้แล้วก็ควรแบ่งปันผู้อื่นต่อๆไปครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
Pekko
Verified User
โพสต์: 671
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 173

โพสต์

ขอสอบถามวิธีการหรือขั้นตอนการเข้าอรูปฌาณครับว่าทำอย่างไร เมื่อตอนปฏิบัติผิดทาง ผมคิดเองว่าน่าเคยเข้าถึงจตุตถฌาน (รู้ตัวว่าไม่มีลมหายใจ และมีความสว่างจ้ามาก)ประมาณ 2 ครั้ง เลยกำหนดน่าจะเป็นอากาสานัญจายตนะเอง (อากาศหาที่สิ้นสุดมิได้) ทำได้แป๊บเดียวแล้วพังเลยครับงงไปต่อไม่ได้ :vm:

ขออนุญาตเล่าประสบการณ์ตอนที่ปฏิบัติใหม่ที่ผิดทางด้วยความไม่รู้ ผมเพ่งมันทุกอย่าง เพ่งกระดานไม้บ้าง เพ่งดวงอาทิตย์บ้าง(ห้ามทำโดยเด็ดขาด) เพ่งแสงสีต่างๆ ตามท้ายรถ และแม้กระทั่งเพ่งเปลวเทียน พอหลับตาลงเห็นจุดแดงเหมือน laser pointer เลยครับ(อันนี้ก็ห้ามทำโดยเด็ดขาด) หรืออานาปานสติภาวนาที่ว่าปลอดภัย ผมก็ยังแย่แทบเอาชีวิตไม่รอดเลยครับ (หายใจแรงๆ ขย่มตัวเหมือนคนเข้าทรงไร้สติ)

จนพระท่านที่ผมนับถือตวาดและตำหนิว่าผมปฏิบัติจริงจังมากเกินไป ท่านกล่าวว่าคนส่วนใหญ่มักไม่สำเร็จเพราะหย่อนไป แต่นี่ผมจัดเป็นประเภทตึงไป(สุดโต่ง) ได้ฟังแค่นั้นรู้สึกเสียใจมาก เพราะผ่านมาปีครึ่งเหมือนขาดทุน เริ่มได้สติสำนึกตัวได้ กลับบ้านแทบจะโยนตำราทิ้งเกือบหมด เพราะศึกษาปริยัติควบคู่กันมากเกินไป

แต่ปณิธานที่มีไม่ได้ลดลง มันกลับเพิ่มมากขึ้น ฮึดลุกขึ้นสู้ใหม่ พอกลับมาปฏิบัติอีกครั้ง(ตามทางสายกลาง) สัก 4-5 เดือนก็ดีขึ้น และค่อนข้างแน่ใจว่าเดินทางถูกแล้วครับ เลยกลับไปถามพระท่านอีกครั้ง ท่านยิ้มๆ บอกว่าผมหน้าตาดีขึ้น ถ้าฝึกแล้วเหมาะกับตนก็ถูกล่ะ หากมีปัญหาทางปริยัติก็ปรึกษาได้(ท่านออกตัวไม่เก่งปฏิบัติ) และควรพึ่งพาตัวเองได้แล้ว หลังจากนั้นมาการประพฤติปฏิบัติก็ก้าวหน้าขึ้นเป็นที่พอใจ ก็จะมีบ้างในพักหลังๆที่หย่อนยานลง เพราะยุ่งกับการงานมากเกินไปครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 174

โพสต์

เท่าที่ผมเข้าใจคือ พอวิญญาณ เกาะกับ รูปสัญญา ตาม ฌาณที่ 1,2,3,4 เลยไปเกาะกับสิ่งที่ละเอียดไปเรื่อยๆ ก็จะเริ่มไต่ระดับไปเรื่อยๆครับจนเกาะรูปไม่อยู่เท่าที่สัมผัสก็ไม่ชัวร์เรื่อง อรูปเหมือนกันว่ามันจะเป็นยังไงเหมือนกัน :wall: ผมอธิบายผิดๆถูกๆนะครับ อย่าไปสนใจ สนด้านล่างนี้ดีกว่า

อันนี้ผมหามาให้จาก google นะคับ สำหรับ อากาสานัญจายตนะ ที่พระตถาคตได้บอก ได้แสดง พระตถาคตได้ตรัสไว้ว่า

[๖๕] ดูกรอานนท์ วิญญาณฐิติ ๗ อายตนะ ๒ เหล่านี้ วิญญาณฐิติ ๗
เป็นไฉน คือ-
๑. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกมนุษย์ และพวกเทพ
บางพวก พวกวินิบาตบางพวก นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑
๒. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพผู้นับเนื่อง
ในชั้นพรหมผู้บังเกิดด้วยปฐมฌาน และสัตว์ผู้เกิดในอบาย ๔ นี้เป็นวิญญาณ
ฐิติที่ ๒
๓. สัตว์มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกเทพชั้นอาภัสสร
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓
๔. สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพ
ชั้นสุภกิณหะ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔
๕. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุด
มิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆะสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕

๖. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุด
มิได้ เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖
๗. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร
เพราะล่วงชั้นวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๗
ส่วนอายตนะอีก ๒ คือ อสัญญีสัตตายตนะ (ข้อที่ ๑) และข้อที่ ๒
คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ดูกรอานนท์ บรรดาวิญญาณฐิติทั้ง ๗ ประการนั้น วิญญาณฐิติข้อที่ ๑ มี
ว่า สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกมนุษย์และพวกเทพบางพวก
พวกวินิบาตบางพวก ผู้ที่รู้ชัดวิญญาณฐิติข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณ
และโทษ แห่งวิญญาณฐิติข้อนั้น และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติ
ข้อนั้น เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินวิญญาณฐิตินั้นอีกหรือ ฯ

ปฏิฆสัญญา เป็นไฉน
รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา
เหล่านี้เรียกว่า ปฏิฆสัญญา ปฏิฆสัญญาเหล่านี้ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป
ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี ถูกทำให้
เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุดปราศไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น
จึงเรียกว่า เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา


นานัตตสัญญา เป็นไฉน
การจำ กิริยาที่จำ ความจำ ของบุคคลผู้ไม่เข้าสมาบัติ พรั่งพร้อมด้วย
มโนธาตุ หรือพรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณธาตุ เหล่านี้ เรียกว่า นานัตตสัญญา
ภิกษุย่อมไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา เหล่านี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เพราะ
ไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา

ใครเจอพระสูตรที่รับกับพระสูตรนี้ช่วยหาด้วยคับ ขอบคุณครับ
ไม่ประมาท
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 175

โพสต์

อันนี้ทางเข้าคับ อานาปานสติ ตามที่หามาเจอ

[๑๓๓๗] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ
ปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละ
ให้ดี.
[๑๓๓๘] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตใน
ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแก่
สมาธิอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
[๑๓๓๙] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
[๑๓๔๐] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุจตุถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะ
ละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ก็พึง
มนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.

[๑๓๔๑] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า
อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่
มนสิการถึงนานัตตสัญญา ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
[๑๓๔๒] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า
วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการอานาปาน-
*สติสมาธินี้แหละให้ดี.
[๑๓๔๓] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า
ไม่มีอะไรน้อยหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการอานาปาน-
*สติสมาธินี้แหละให้ดี.
[๑๓๔๔] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะ
ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
[๑๓๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แหละ ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุ
สัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการ
อานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
ไม่ประมาท
ใจใส
Verified User
โพสต์: 183
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 176

โพสต์

อาการซ่าที่บอกเป็นแรงมากค่ะ นั่งสมาธิ 1 ชม.เหมือน 10 นาที เกิดตอนไปฝึกที่ศูนย์ท่านโกเอนก้า คราวน้ำท่วม
ถามอาจารย์ที่สอนเค้าบอกว่าเป็นปกติ แต่ก็ไม่ได้อธิบายอะไรมากนัก
พอมาทำเองก็เป็นเล็กๆน้อยๆ และฟุ้งไปมั่งตามอารมณ์

ยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องการทำสามาธิเท่าไหร่ ค่ะ
รู้แต่ว่า รู้สึกตัว เดินเท้าซ้าย ขวา หยิบจับอะไรทำนองนี้่ค่ะ ความคิดเปลี่ยนไป เข้าใจสิ่งรอบตัวได้ดีขึ้น
ก่อนจะพูดหรือ ตอบโต้อะไร ก็เหมือนว่าคิดดีหรือยัง ใครว่าอะไรก็เฉยๆ อ่ะค่ะ

แต่พอห่างหายการทำสมาธิก็ เหมือนเดิมค่ะ รู้ตัวน้อยลง

ขอบคุณคุณ Pekko และคุณ peerawit มากค่ะ ที่ช่วยหาคำตอบและอธิบายให้ฟัง
ต้องขอคาระวะเป็นอาจารย์แล้วล่ะค่ะ
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 177

โพสต์

ใจใส เขียน:อาการซ่าที่บอกเป็นแรงมากค่ะ นั่งสมาธิ 1 ชม.เหมือน 10 นาที เกิดตอนไปฝึกที่ศูนย์ท่านโกเอนก้า คราวน้ำท่วม
ถามอาจารย์ที่สอนเค้าบอกว่าเป็นปกติ แต่ก็ไม่ได้อธิบายอะไรมากนัก
พอมาทำเองก็เป็นเล็กๆน้อยๆ และฟุ้งไปมั่งตามอารมณ์

ยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องการทำสามาธิเท่าไหร่ ค่ะ
รู้แต่ว่า รู้สึกตัว เดินเท้าซ้าย ขวา หยิบจับอะไรทำนองนี้่ค่ะ ความคิดเปลี่ยนไป เข้าใจสิ่งรอบตัวได้ดีขึ้น
ก่อนจะพูดหรือ ตอบโต้อะไร ก็เหมือนว่าคิดดีหรือยัง ใครว่าอะไรก็เฉยๆ อ่ะค่ะ

แต่พอห่างหายการทำสมาธิก็ เหมือนเดิมค่ะ รู้ตัวน้อยลง

ขอบคุณคุณ Pekko และคุณ peerawit มากค่ะ ที่ช่วยหาคำตอบและอธิบายให้ฟัง
ต้องขอคาระวะเป็นอาจารย์แล้วล่ะค่ะ
ผมก็ขอขอบคุณคุณ Pekko ครับ ได้ความรู้ใหม่ๆดีดีเยอะครับผม
ผมขอออกตัวว่าเป็นผู้ใหม่ในธรรมวินัยนี้ครับ แต่ชอบฟังธรรม และมีศรัทธา ประสบการณ์ยังไม่เยอะครับ :D

การที่รู้ตัวน้อยลงลองอ่านข้างล่างนี้ดูนะคับผม

การที่รู้สึกตัวนั้น เป็นอาการระลึกได้ ให้นำจิตมาอยู่กับ สติปัฏฐาน 4 คือ กาย เวทนา จิต ธรรม
พระตถาคตตรัสถึง สติ โดยใช้ สติปัฏฐาน 4 ครับ


สัมมาสติ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณา
เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ ฯ


ที่พระตถาคต สอนบ่อยและบอกอานิสงส์ไว้มาก คือ ละความเพลิน ,กายคตาสติ และ อานาปานสติครับ

คุณใจใสได้ละความเพลิน กลับ มาอยู่กับ กายคตาสติ ถ้าทำบ่อยๆจะละอารมณ์ได้เร็วขึ้น เร็วขึ้นขนาดอริยะคือ


อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจ และไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป เร็วเหมือนการกระพริบตาของคน อุเบกขายังคงดำรงอยู่.
อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย


สติที่ต่อเนื่องยาวนานก็คือสมาธิครับ

ส่วน กายคตาสติทำอย่างไร พระตถาคต ได้ตรัสสอนไว้ตามลิ้งค์ด้านล่างนี้ครับ แบบ พิศดารบริบูรณ์ครับ ขอยกมาให้บางส่วนที่สอดคล้องกับอาการของคุณใจใสนะครับ แสดงว่าที่ทำมานั้นถูกต้องแล้วเป็นสัมมาสมาธิครับผม เป็นปฐมฌานครับ ขออนุโมทนาคับ


http://www.polyboon.com/dhumma/14_019.php

...
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กายคตาสติอัน ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่าง ก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจ เข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจ เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกาย สังขาร หายใจเข้า เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้น ได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่า กำลังเดิน หรือยืนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังยืน หรือนั่งอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนั่ง หรือ นอนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนอน หรือเธอทรงกายโดยอาการใดๆ อยู่ ก็รู้ชัดว่า กำลังทรงกายโดยอาการนั้นๆ เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปใน ธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริ พล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้ทำความ รู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับ ในเวลาแลดู และเหลียวดู ในเวลางอแขน และเหยียดแขน ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในเวลา ฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม ในเวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ในเวลา เดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไป ในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริ พล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
....

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุสงัดจากกาม สงัด จากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอ ยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ไม่มี เอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือของพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด โรยจุณสำหรับสรงสนานลงในภาชนะสำริดแล้ว เคล้าด้วยน้ำให้ เป็นก้อนๆ ก้อนจุณสำหรับสรงสนานนั้น มียางซึม เคลือบ จึงจับกันทั้งข้างใน ข้างนอก และกลายเป็นผลึกด้วยยาง ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือน กันแล ภิกษุย่อมยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุข เกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวก จะไม่ถูกต้อง เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอัน เป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

.....................
ไม่ประมาท
Pekko
Verified User
โพสต์: 671
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 178

โพสต์

ขอบคุณทุกท่านเช่นกันครับ แต่อย่าให้ผมเป็นถึงอาจารย์เลยครับ ยังปฏิบัติไปได้ไม่ถึงไหนเหมือนกัน
สำหรับคนที่ฝึกสติปัฎฐาน 4 ถูกทาง จะฝึกปฏิบัติได้ง่ายมาก คือ ให้สติเวียนจับสลับให้ครบ 4 คือ ให้พึงระลึกกายบ้าง(ลมหายใจ) พึงระลึกเวทนาบ้าง(เช่น ปีติ สุข ทุกข์ ปวดเมื่อย หิว) พึงระลึกจิตบ้าง(ผมไม่ขอเรียกว่าดูจิต) พึงระลึกธรรมบ้าง(พระไตรลักษณ์)
โดยจุดประสงค์หลัก คือ ทำอย่างไรก็ได้ไม่ให้จิตไหลไปสู่ภายนอกโดยขาดสติ และการที่ทำสติปัฎฐานครบทั้ง 4 จะทำให้ไม่รู้สึกถึงการเบื่อหน่ายเวลาฝึกปฏิบัติครับ

จากหนังสือหายใจให้เป็นสุข สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน หน้า 54
"...คือ ตั้งสติกำหนดดูกาย ยกเอากายคือลมหายใจเข้าออกนี่เป็นที่ตั้ง แล้วอีก 3 ข้อก็จะรวมเข้ามาเอง เพราะว่าเป็นก้อนเดียวกัน เหมือนอย่างเก้าอี้ที่มีสี่ขา ในการจะยกเก้าอี้นั้น ยกขึ้นเพียงขาเดียว อันหมายความว่า เก้าอี้ที่พอจะยกได้ด้วยมือข้างเดียว จับที่ขาเดียวยกขึ้นมา อีก 3 ขาก็ติดขึ้นมาด้วย เป็นเก้าอี้ทั้งหมด คือเป็นอันว่ายกเก้าอี้ทั้งหมด"
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
khunsa
Verified User
โพสต์: 62
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 179

โพสต์

http://www.sa-ngob.com/


http://www.luangta.com/

web ข้างต้นมี file เสียงของครูบาอาจารย์ครับ

ลองเปิดฟังกันอยู่ตามแต่จริตของแต่ละท่าน จะได้แนวทางที่ถูกต้องครับ
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 180

โพสต์

ถามหน่อยคับ

นิพพิททา กับ เบื่อธรรมดาต่างกันอย่างไรครับ
ไม่ประมาท