888
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
888
โพสต์ที่ 2
ดูแล้วก็ทะแม่งจริงๆ แต่โดยส่วนตัว เรื่องค่าเงิน ที่ต่างชาติ ( กองทุน เมกา ) เมื่อค่าเงินเป็นแบบนี้ โดยเปรียบเทียบ การโยกเงินมาซื้อหุ้นไทย แล้วได้กำไร สองต่อ คือ กำไรค่าเงิน และกำไรเนื่องจาก PE ต่ำเมื่อเทียบกับเมกา น่าจะทำให้หุ้นไทยยังขึ้นต่อ
ซึ่งปัญหาต่างๆเหล่านี้ เป็นปัญหาจริง อย่างที่ท่าน LOSO วิเคราะห์ไว้ เพียงแต่หุ้นที่เมกา มันสูงเกิน ในขณะที่ดอลล่าก็สูงเกิน
ตอนไปเที่ยวอ่านข่าว usa today ซึ่งพาดหัวข่าวเกี่ยวกับ ค่าเงิน เมกา อ่อนตัวเมื่อเทียบกับเงิน แคนาดา ในรอบ 2 ปี ถึง 30 % ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมต่างๆของ แคนาดา ต้องปรับตัวขนานใหญ่ เนื่องจากส่งออกไปเมกา ลดลงไปมาก ทำให้บริษัทแคนาดา ปลดคนงานไปมาก แต่อย่างไรก็ตาม บทความวิเคราะห์ข้อดีไว้ข้อหนึ่ง คือการซื้อ เทคโนเลยี่ ในช่วงนี้จะได้ราคาถูกมาก เพราะค่าเงิน
ซึ่งปัญหาต่างๆเหล่านี้ เป็นปัญหาจริง อย่างที่ท่าน LOSO วิเคราะห์ไว้ เพียงแต่หุ้นที่เมกา มันสูงเกิน ในขณะที่ดอลล่าก็สูงเกิน
ตอนไปเที่ยวอ่านข่าว usa today ซึ่งพาดหัวข่าวเกี่ยวกับ ค่าเงิน เมกา อ่อนตัวเมื่อเทียบกับเงิน แคนาดา ในรอบ 2 ปี ถึง 30 % ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมต่างๆของ แคนาดา ต้องปรับตัวขนานใหญ่ เนื่องจากส่งออกไปเมกา ลดลงไปมาก ทำให้บริษัทแคนาดา ปลดคนงานไปมาก แต่อย่างไรก็ตาม บทความวิเคราะห์ข้อดีไว้ข้อหนึ่ง คือการซื้อ เทคโนเลยี่ ในช่วงนี้จะได้ราคาถูกมาก เพราะค่าเงิน
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
888
โพสต์ที่ 3
555 ... ขอบคุณครับท่าน .. ตามคาดครับ อย่างที่เราเคยคุยกันไว้เลยครับท่าน... ไม่รู้ว่าจะเป็นต่อเนื่องหรือเปล่า ถ้าต่อเนื่องต้องระวังแล้วครับ
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
-
- Verified User
- โพสต์: 6853
- ผู้ติดตาม: 0
888
โพสต์ที่ 4
ผมว่าคงเป็นเรื่องปกติ สาเหตุที่เฟดที่ยังคิดดอกเบี้ยไม่หยุด เพื่อที่จะทำให้
เงินที่ไหลออกจากตลาดหุ้นอเมริกาน้อยลง การที่ตลาดดาวยังคงไม่ลงมาก
เป็นความพยายามหนึ่งเหมือนรออะไร
มีใครมีความรู้เรื่องสนธิสัญญามาเชลบ้างคับ
เห็นคนบอกว่าอเมริกายิ่งใหญ่ได้ทุกวันนี้เพราะสนธิสัญญาที่ว่า
เงินที่ไหลออกจากตลาดหุ้นอเมริกาน้อยลง การที่ตลาดดาวยังคงไม่ลงมาก
เป็นความพยายามหนึ่งเหมือนรออะไร
มีใครมีความรู้เรื่องสนธิสัญญามาเชลบ้างคับ
เห็นคนบอกว่าอเมริกายิ่งใหญ่ได้ทุกวันนี้เพราะสนธิสัญญาที่ว่า
-
- Verified User
- โพสต์: 2509
- ผู้ติดตาม: 0
888
โพสต์ที่ 6
สงสัยกว่าจะครบอีกเดือน จะเหลือแต่มุมแดงเจ้าบ้านนะสิครับ
วันนี้มุมน้ำเงินผู้มาเยือนก็แอบหนีไปหลายคนแล้วนะ
วันนี้มุมน้ำเงินผู้มาเยือนก็แอบหนีไปหลายคนแล้วนะ
- คนขายของ
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 788
- ผู้ติดตาม: 0
888
โพสต์ที่ 8
กุมภา ผมว่าไม่ต่างครับ เพราะการลงทุนใหญ่ๆ (FDI) รอผลเลือกตั้งกว่าจะเอาจริงก็รอ ครม ใหม่ก่อน
แถม ค่าเงินก็แข็ง ในเดือนกุมภา น้ำมันก็เริ่มแพง
ช่วงนี้ก็แล้ง เดี๋ยวก็ร้อนแล้ว
เมฆเริ่มตั้งเค้า
ไปพักผ่อนสักระยะดีกว่า......................
แถม ค่าเงินก็แข็ง ในเดือนกุมภา น้ำมันก็เริ่มแพง
ช่วงนี้ก็แล้ง เดี๋ยวก็ร้อนแล้ว
เมฆเริ่มตั้งเค้า
ไปพักผ่อนสักระยะดีกว่า......................
อดทนไว้ กำไรยั่งยืน
- มือเก่าหัดขับ
- Verified User
- โพสต์: 1112
- ผู้ติดตาม: 0
888
โพสต์ที่ 11
ขอให้ระบบลอยตัวมันแก้ไขตัวเองได้เถิดครับ
แล้วก็ ขอให้รัฐมองหาจุดสมดุลของการเข้าไป "Manage" ค่าเงินได้พอดี...
ต้องลุ้นเหนื่อยอีกแล้ว
แล้วก็ ขอให้รัฐมองหาจุดสมดุลของการเข้าไป "Manage" ค่าเงินได้พอดี...
ต้องลุ้นเหนื่อยอีกแล้ว
คนอื่นเขาสะสมอย่างอื่น เราขอสะสมความดี, ความรู้, ประสบการณ์, เงินทอง, กับหุ้นก็แล้วกัน
http://www.muegao.blogspot.com หุ้น การเงิน การลงทุน ธุรกิจ
http://www.muegao.blogspot.com หุ้น การเงิน การลงทุน ธุรกิจ
-
- Verified User
- โพสต์: 185
- ผู้ติดตาม: 0
888
โพสต์ที่ 12
อัตราแลกเปลี่ยนคงไม่ใช่คําตอบสุดท้ายและดีที่สุดในการแก้ปัญหาครับ
- Eak71
- Verified User
- โพสต์: 344
- ผู้ติดตาม: 0
888
โพสต์ที่ 13
ผมไม่ค่อยรู้เรื่องเศรษฐกิจเท่าไร่ คือวิแคะไม่ค่อยเป็นแต่อาศัยความรู้สึกที่ว่าช่วงนี้รู้สึก หวิวๆ เวียนหัวเหมือนกำลังจะติดอยู่ที่สูง ก็เลยเปลี่ยนมาถือ cash เกือบ 90% ของ ปอด ตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้ว รอไว้แล้วครับ ที่เหลือ10%เป็นหุ้นประเภทกึ่งเน่าที่พอมีกำไรบ้าง เพื่อเอาไว้เป็น case study ไว้ว่าครั้งหนึ่งเคยโง่ ไม่เคยคิดเอง เป็นนักลงทุนประเภท ข.(ขอให้บอก ใครบอกก็ซื้อตาม)แบบเต็มตัว แทบเอาตัวไม่รอด หุ้นที่ขายออกไปก็ไม่ใช้หุ้นดีอะไรแต่เลือกถูกตัวถูกเวลาก็เลยโชคดีไป(ตอนแรกๆ ก็เกือบตายเหมือนกัน พอดีใช้วิชาเฉลี่ยซื้อตอนลง ตามที่พวกจอมยุทธทั้งหลายในที่นี่สอนไว้ เลยพอมีกำไรบ้างตอนท้ายๆ)
รอโอกาสคราวนี้คงจะได้หัดเป็น VI หรือ VSOP กับเขาบ้าง
รอโอกาสคราวนี้คงจะได้หัดเป็น VI หรือ VSOP กับเขาบ้าง
ฅนนอกกะลา&ตาสว่าง
-
- Verified User
- โพสต์: 2509
- ผู้ติดตาม: 0
888
โพสต์ที่ 14
ใช่ครับ ถึงตอนนั้น Mass ก็มั่นใจแล้วว่าตลาดไม่ดีต้องลงต่อแน่ แล้วต่างชาติก็มาซุ่มซื้อหุ้นกลับไปสร้างข่าวดีใหม่harry เขียน:แต่ถ้าขาดดุลเริ่มนานจนเป็นปี นี่แย่แน่ๆครับ
- tummeng
- Verified User
- โพสต์: 3665
- ผู้ติดตาม: 0
888
โพสต์ที่ 16
ไปเจออีกข่าว ละเอียดดีครับ
------------------------------
ดุลการค้า-ดุลฯเดินสะพัดทรุด 'น้ำมัน-สึนามิ' ฉุดศก.ร่วงรับปี48
การประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ) เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ถึงจะเป็นเพียงแค่ตัวเลขทางเศรษฐกิจเดือนแรกของปี 2548 แต่เห็นสัญญาณทางเศรษฐกิจที่ต้อง "ระวัง "แล้ว เพราะดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด ขาดดุลในระดับสูง
แม้ว่าจะเป็นที่คาดการณ์มาบ้างว่า ภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปี 2548 (มกราคม-มีนาคม 2548) อาจถูกกระทบหนัก จากทั้งปัญหาราคาน้ำมัน การนำเข้าน้ำมัน และผลกระทบจาก "สึนามิ" ต่อรายได้จากการท่องเที่ยว แต่ตัวเลขที่ปรากฎทำให้ต้องเตรียมรับมืออย่างจริงจัง
ถึงแม้หลายหน่วยงานจะประเมินภาพเศรษฐกิจไทยในปีนี้ โดยมีความเห็นตรงกันว่า เศรษฐกิจไทยหนีไม่พ้นภาวะขาดดุลการค้าอย่างแน่นอน แต่ขาดดุลการค้าเดือนแรกเพียงเดือนเดียว สูงเหนือคาดการณ์ !
ในขณะที่แต่ละค่ายประมาณการขาดดุลการค้าแตกต่างกันไปตามสมมติฐาน เช่น สศค.ประมาณการขาดดุลการค้าทั้งปี 1,600 ล้านดอลลาร์ แบงก์ชาติ 500 ล้านดอลลาร์ ม.หอการค้าไทย 1,000 ล้านดอลลาร์ สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ฯ คาดขาดดุลการค้าทั้งปี 400 ล้านดอลลาร์ บล.ภัทร 1,700 ล้านดอลลาร์ เป็นต้น
ตัวเลขขาดดุลการค้าที่สูงถึง 1,475 ล้านดอลลาร์ในเดือนม.ค.48 เป็นผลจากมูลค่าการนำเข้าที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 9,170 ล้านดอลลาร์ หรือขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 33.6 % ขณะที่มูลค่าส่งออกมีมูลค่า 7,695 ล้านดอลลาร์ หรือขยายตัว 11.6 % จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งดูเหมือนแบงก์ชาติเองยังไม่กังวลต่อแนวโน้มการขาดดุลการค้ามากนัก
ก่อนหน้านี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการแบงก์ชาติ ยืนยันมาโดยตลอดว่า ถึงแม้แนว
โน้มดุลการค้าในปีนี้จะขาดดุลเล็กน้อย แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งปียังเป็นบวกอยู่ โดยประมาณการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด 2,000-3,000 ล้านดอลลาร์
"ถึงไทยจะขาดดุลการค้าก็ไม่น่ากังวล เพราะปีนี้ยังเกินดุลบัญชีเดินสะพัด และตามหลักการแล้วประเทศที่พึ่งรายได้จากท่องเที่ยวจำนวนมาก ก็ควรที่จะพิจารณาจากตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นสำคัญ" ผู้ว่าการแบงก์ชาติให้ความเห็น
ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์เอง เห็นว่าขาดดุลการค้า เป็นเรื่องปกติของประเทศที่กำลังมีการขยายตัวของเศรษฐกิจ เพราะต้องมีการนำเข้าสินค้าประเภททุนมาก เพื่อรองรับการเพิ่มกำลังการผลิต ประกอบกับประเทศไทยหยุดลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมานานแล้ว จึงถึงจุดที่ควรจะต้องมีการลงทุนในโครงการที่จำเป็นอีกครั้งหนึ่ง ภายใต้เมกกะโปรเจ็กส์ 1.5 -2 ล้านล้านบาทในช่วงเวลา 5-10 ปีนี้
แต่ก็มีข้อต้องระวังถึงการกระจายการลงทุนดังกล่าวในระยะเวลาที่เหมาะสม เพราะหากกระจุกตัว อาจกระทบต่อการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้เช่นกัน แม้ว่าการลงทุนดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมของเศรษฐกิจในอนาคต แต่อาจเป็นประเด็นทปัญหาต่อเศรษฐกิจในระยะสั้น โดยเฉพาะการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเร็วขึ้นกว่าคาดการณ์
แบงก์ชาติประมาณการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย ยังเกินดุลไปได้อีก 2-3 ปี แต่ก็ไม่ปฎิเสธสัญญาณการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ลดลงเรื่อยๆ โดยประเมินว่าการนำเข้าสินค้าและบริการในปีนี้ จะขยายตัวในอัตราที่เร่งกว่าเดิม ปัจจัยหลักคือ การนำเข้าสินค้าทุน ประเภทเครื่องจักร อุปกรณ์ ตามภาวะการลงทุนที่ขยายตัว การลงทุนเพื่อฟื้นฟูกิจการที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ รวมทั้งการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตเพื่อส่งออก ขณะที่ราคานำเข้ามีแนวโน้มสูงขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก โดยเฉพาะน้ำมันดิบ ซึ่งการนำเข้าสินค้าและบริการที่เร่งตัวสูงกว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการ กดดันให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงในระยะต่อไป
และยิ่งน่าจับตามอง เมื่อตัวเลขขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ม.ค.48 ปรากฎขาดดุลสูงถึง 942 ล้านดอลลาร์ !
ถือเป็นการขาดดุลที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2540 เป็นต้นมา ( ขาดดุลสูงสุดในรอบ 7 ปี 8 เดือน โดยในปี 2547 ไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดครั้งล่าสุดในเดือนเมษายน 2547 แต่เป็นการขาดดุลเพียง 19 ล้านดอลลาร์เท่านั้น)
"การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นผลจากการขาดดุลการค้า ขณะที่ดุลบริการนั้น รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงไป เนื่องจากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน แต่เชื่อว่าในปี 2548 ดุลบัญชีเดินสะพัดจะยังเกินดุล หากราคาน้ำมันยังอยู่ในประมาณการ ซึ่งแบงก์ชาติประมาณการราคาน้ำมันดิบดูไบไว้ที่ 36 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นจากราคาเฉลี่ยปีที่แล้วที่ระดับ 33 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และเชื่อว่าในไตรมาสที่ 4 ธุรกิจท่องเที่ยวจะฟื้นตัว" นางสุชาดา กิระกุล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ให้ความเห็น
ผลกระทบจากปัจจัยด้านน้ำมันและรายได้ท่องเที่ยวจากเหตุการณ์ "สึนามิ" เป็นปัจจัยหลักที่กระทบการขาดดุลการค้าและขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนแรกของปีนี้ โดยเฉพาะตัวเลขมูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นสูง ซึ่งเกิดจากการนำเข้าน้ำมันมูลค่ากว่า 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 13 % ของการนำเข้าทั้งหมด การนำเข้าทองคำเพิ่มขึ้นถึง 438.5 % เนื่องจากมีการนำทองคำมาใช้ในธุรกิจอัญมณี การนำเข้าเหล็กที่สูงขึ้น 16 % เนื่องจากผู้ประกอบการมีการปิดซ่อมและขยายกำลังการผลิตทำให้มีการนำเข้าทดแทน รวมทั้งการนำเข้าเพื่อการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน
ส่วนผลกระทบจากการขึ้นราคาน้ำมันดีเซล ซึ่งภาครัฐปรับราคาขึ้นเร็วกว่าที่ประมาณการไว้ 1 เดือน ถือว่ายังอยู่ในประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจของแบงก์ชาติ ที่คาดว่าจะทำให้จีดีพีปี 48 ขยายตัวได้ที่ระดับ 5.3-6.3 %
แบงก์ชาติแจงประเภทของสินค้านำเข้าที่มีอัตราการขยายตัวสูงในเดือนม.ค.48 ประกอบด้วย สินค้าทุน ขยายตัว 21.1 % เทียบกับปี 47 ขยายตัว 20.8 % สินค้าประเภทวัตถุดิบ ขยายตัว 28.7 % เทียบทั้งปี 47 ขยายตัว 32.6 % โดยเฉพาะการนำเข้าน้ำมันในเดือนแรกของปี 48 เห็นอัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เพราะเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งด้านราคาและปริมาณ โดยมีอัตราการขยายตัว 78.8 % เทียบกับปี 47 ทั้งปีที่อัตราการขยายตัวของการนำเข้าน้ำมันอยู่ที่ 48 %
นอกจากมูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มสูงจนกระทบขาดดุลการค้าแล้ว ผลกระทบต่อแนวโน้มดุลบริการหรือรายได้จากนักท่องเที่ยว มีโอกาสถูกกระทบสูงในไตรมาสแรกของปี เห็นได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวในเดือนม.ค.48 ที่เหลือเพียง 890,000 คน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 26.9 % ถึงแม้ว่าจะทำให้ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ในเดือนม.ค.48 ยังเกินดุล 533 ล้านดอลลาร์ แต่แบงก์ชาติประเมินไว้แล้วว่าภาคการท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะในไตรมาสแรกของปี 2548 ซึ่งเป็นช่วงฤดูท่องเที่ยวและการบูรณะซ่อมแซมต่างๆคงยังไม่แล้วเสร็จ โดยแบงก์ชาติประเมินว่าจากจำนวนนักท่องเที่ยวปี 2548 จากที่เคยประมาณการไว้ที่ 12.5 ล้านคนนั้น จะลดลง 1.2 ล้านคน โดยเหลือเพียง 11.2 ล้านคน และรายได้จากภาคท่องเที่ยวจะลดลงจากประมาณการเดิมประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์
ในขณะเดียวกันแนวโน้มการส่งออกที่ขยายตัวลดลง เป็นประเด็นที่น่าห่วง หากยังเห็นการขยายตัวของการส่งออกที่ลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ในเดือนต่อๆไป เพราะภาคส่งออกเป็นภาคที่ดึงรายได้เข้าประเทศ ดังนั้นการขยายตัวที่ลดลงจะยิ่งเป็นการทับถมให้การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลง
"ตัวเลขขาดดุลการค้าในเดือนม.ค. ถือว่าเยอะมาก ซึ่งคิดว่าแนวโน้มของการขาดดุลการค้าจะยังอยู่ต่อเนื่อง เพราะการลงทุนเริ่มกลับมา ทำให้ต้องมีการนำเข้าสินค้า แต่การขาดดุลอาจจะไม่มากเหมือนในเดือนแรกแล้ว อย่างไรก็ตาม หากแนวโน้มการขาดดุลการค้ายังสูงอยู่ ก็จะมีผลกระทบให้จีดีพีปีนี้หด โดยหลังจากนี้มีประเด็นที่สำคัญที่ต้องติดตามดูว่าภาคส่งออก " นางสาวถนอมศรี ฟองอรุณรุ่ง นักเศรษฐศาสตร์บล.ภัทรให้ความเห็น
สัญญาณทางเศรษฐกิจที่ต้องระวัง จากการขาดดุลการค้าและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เป็นประเด็นที่ต้องถูกทบทวนอย่างหนัก ทั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวที่จะช่วยดึงดุลบริการ และปัจจัยภายนอก เช่น การเร่งตัวของการนำเข้า และภาคส่งออกที่ออกอาการขยายตัวลดลง เพราะประเด็นเหล่านี้จะเป็นตัวชี้ว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถรักษาทิศทางเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในอีก 2-3 ปีข้างหน้าได้หรือไม่ ?
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1988 03 มี.ค. - 05 มี.ค. 2548
------------------------------
ดุลการค้า-ดุลฯเดินสะพัดทรุด 'น้ำมัน-สึนามิ' ฉุดศก.ร่วงรับปี48
การประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ) เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ถึงจะเป็นเพียงแค่ตัวเลขทางเศรษฐกิจเดือนแรกของปี 2548 แต่เห็นสัญญาณทางเศรษฐกิจที่ต้อง "ระวัง "แล้ว เพราะดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด ขาดดุลในระดับสูง
แม้ว่าจะเป็นที่คาดการณ์มาบ้างว่า ภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปี 2548 (มกราคม-มีนาคม 2548) อาจถูกกระทบหนัก จากทั้งปัญหาราคาน้ำมัน การนำเข้าน้ำมัน และผลกระทบจาก "สึนามิ" ต่อรายได้จากการท่องเที่ยว แต่ตัวเลขที่ปรากฎทำให้ต้องเตรียมรับมืออย่างจริงจัง
ถึงแม้หลายหน่วยงานจะประเมินภาพเศรษฐกิจไทยในปีนี้ โดยมีความเห็นตรงกันว่า เศรษฐกิจไทยหนีไม่พ้นภาวะขาดดุลการค้าอย่างแน่นอน แต่ขาดดุลการค้าเดือนแรกเพียงเดือนเดียว สูงเหนือคาดการณ์ !
ในขณะที่แต่ละค่ายประมาณการขาดดุลการค้าแตกต่างกันไปตามสมมติฐาน เช่น สศค.ประมาณการขาดดุลการค้าทั้งปี 1,600 ล้านดอลลาร์ แบงก์ชาติ 500 ล้านดอลลาร์ ม.หอการค้าไทย 1,000 ล้านดอลลาร์ สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ฯ คาดขาดดุลการค้าทั้งปี 400 ล้านดอลลาร์ บล.ภัทร 1,700 ล้านดอลลาร์ เป็นต้น
ตัวเลขขาดดุลการค้าที่สูงถึง 1,475 ล้านดอลลาร์ในเดือนม.ค.48 เป็นผลจากมูลค่าการนำเข้าที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 9,170 ล้านดอลลาร์ หรือขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 33.6 % ขณะที่มูลค่าส่งออกมีมูลค่า 7,695 ล้านดอลลาร์ หรือขยายตัว 11.6 % จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งดูเหมือนแบงก์ชาติเองยังไม่กังวลต่อแนวโน้มการขาดดุลการค้ามากนัก
ก่อนหน้านี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการแบงก์ชาติ ยืนยันมาโดยตลอดว่า ถึงแม้แนว
โน้มดุลการค้าในปีนี้จะขาดดุลเล็กน้อย แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งปียังเป็นบวกอยู่ โดยประมาณการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด 2,000-3,000 ล้านดอลลาร์
"ถึงไทยจะขาดดุลการค้าก็ไม่น่ากังวล เพราะปีนี้ยังเกินดุลบัญชีเดินสะพัด และตามหลักการแล้วประเทศที่พึ่งรายได้จากท่องเที่ยวจำนวนมาก ก็ควรที่จะพิจารณาจากตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นสำคัญ" ผู้ว่าการแบงก์ชาติให้ความเห็น
ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์เอง เห็นว่าขาดดุลการค้า เป็นเรื่องปกติของประเทศที่กำลังมีการขยายตัวของเศรษฐกิจ เพราะต้องมีการนำเข้าสินค้าประเภททุนมาก เพื่อรองรับการเพิ่มกำลังการผลิต ประกอบกับประเทศไทยหยุดลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมานานแล้ว จึงถึงจุดที่ควรจะต้องมีการลงทุนในโครงการที่จำเป็นอีกครั้งหนึ่ง ภายใต้เมกกะโปรเจ็กส์ 1.5 -2 ล้านล้านบาทในช่วงเวลา 5-10 ปีนี้
แต่ก็มีข้อต้องระวังถึงการกระจายการลงทุนดังกล่าวในระยะเวลาที่เหมาะสม เพราะหากกระจุกตัว อาจกระทบต่อการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้เช่นกัน แม้ว่าการลงทุนดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมของเศรษฐกิจในอนาคต แต่อาจเป็นประเด็นทปัญหาต่อเศรษฐกิจในระยะสั้น โดยเฉพาะการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเร็วขึ้นกว่าคาดการณ์
แบงก์ชาติประมาณการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย ยังเกินดุลไปได้อีก 2-3 ปี แต่ก็ไม่ปฎิเสธสัญญาณการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ลดลงเรื่อยๆ โดยประเมินว่าการนำเข้าสินค้าและบริการในปีนี้ จะขยายตัวในอัตราที่เร่งกว่าเดิม ปัจจัยหลักคือ การนำเข้าสินค้าทุน ประเภทเครื่องจักร อุปกรณ์ ตามภาวะการลงทุนที่ขยายตัว การลงทุนเพื่อฟื้นฟูกิจการที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ รวมทั้งการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตเพื่อส่งออก ขณะที่ราคานำเข้ามีแนวโน้มสูงขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก โดยเฉพาะน้ำมันดิบ ซึ่งการนำเข้าสินค้าและบริการที่เร่งตัวสูงกว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการ กดดันให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงในระยะต่อไป
และยิ่งน่าจับตามอง เมื่อตัวเลขขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ม.ค.48 ปรากฎขาดดุลสูงถึง 942 ล้านดอลลาร์ !
ถือเป็นการขาดดุลที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2540 เป็นต้นมา ( ขาดดุลสูงสุดในรอบ 7 ปี 8 เดือน โดยในปี 2547 ไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดครั้งล่าสุดในเดือนเมษายน 2547 แต่เป็นการขาดดุลเพียง 19 ล้านดอลลาร์เท่านั้น)
"การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นผลจากการขาดดุลการค้า ขณะที่ดุลบริการนั้น รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงไป เนื่องจากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน แต่เชื่อว่าในปี 2548 ดุลบัญชีเดินสะพัดจะยังเกินดุล หากราคาน้ำมันยังอยู่ในประมาณการ ซึ่งแบงก์ชาติประมาณการราคาน้ำมันดิบดูไบไว้ที่ 36 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นจากราคาเฉลี่ยปีที่แล้วที่ระดับ 33 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และเชื่อว่าในไตรมาสที่ 4 ธุรกิจท่องเที่ยวจะฟื้นตัว" นางสุชาดา กิระกุล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ให้ความเห็น
ผลกระทบจากปัจจัยด้านน้ำมันและรายได้ท่องเที่ยวจากเหตุการณ์ "สึนามิ" เป็นปัจจัยหลักที่กระทบการขาดดุลการค้าและขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนแรกของปีนี้ โดยเฉพาะตัวเลขมูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นสูง ซึ่งเกิดจากการนำเข้าน้ำมันมูลค่ากว่า 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 13 % ของการนำเข้าทั้งหมด การนำเข้าทองคำเพิ่มขึ้นถึง 438.5 % เนื่องจากมีการนำทองคำมาใช้ในธุรกิจอัญมณี การนำเข้าเหล็กที่สูงขึ้น 16 % เนื่องจากผู้ประกอบการมีการปิดซ่อมและขยายกำลังการผลิตทำให้มีการนำเข้าทดแทน รวมทั้งการนำเข้าเพื่อการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน
ส่วนผลกระทบจากการขึ้นราคาน้ำมันดีเซล ซึ่งภาครัฐปรับราคาขึ้นเร็วกว่าที่ประมาณการไว้ 1 เดือน ถือว่ายังอยู่ในประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจของแบงก์ชาติ ที่คาดว่าจะทำให้จีดีพีปี 48 ขยายตัวได้ที่ระดับ 5.3-6.3 %
แบงก์ชาติแจงประเภทของสินค้านำเข้าที่มีอัตราการขยายตัวสูงในเดือนม.ค.48 ประกอบด้วย สินค้าทุน ขยายตัว 21.1 % เทียบกับปี 47 ขยายตัว 20.8 % สินค้าประเภทวัตถุดิบ ขยายตัว 28.7 % เทียบทั้งปี 47 ขยายตัว 32.6 % โดยเฉพาะการนำเข้าน้ำมันในเดือนแรกของปี 48 เห็นอัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เพราะเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งด้านราคาและปริมาณ โดยมีอัตราการขยายตัว 78.8 % เทียบกับปี 47 ทั้งปีที่อัตราการขยายตัวของการนำเข้าน้ำมันอยู่ที่ 48 %
นอกจากมูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มสูงจนกระทบขาดดุลการค้าแล้ว ผลกระทบต่อแนวโน้มดุลบริการหรือรายได้จากนักท่องเที่ยว มีโอกาสถูกกระทบสูงในไตรมาสแรกของปี เห็นได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวในเดือนม.ค.48 ที่เหลือเพียง 890,000 คน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 26.9 % ถึงแม้ว่าจะทำให้ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ในเดือนม.ค.48 ยังเกินดุล 533 ล้านดอลลาร์ แต่แบงก์ชาติประเมินไว้แล้วว่าภาคการท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะในไตรมาสแรกของปี 2548 ซึ่งเป็นช่วงฤดูท่องเที่ยวและการบูรณะซ่อมแซมต่างๆคงยังไม่แล้วเสร็จ โดยแบงก์ชาติประเมินว่าจากจำนวนนักท่องเที่ยวปี 2548 จากที่เคยประมาณการไว้ที่ 12.5 ล้านคนนั้น จะลดลง 1.2 ล้านคน โดยเหลือเพียง 11.2 ล้านคน และรายได้จากภาคท่องเที่ยวจะลดลงจากประมาณการเดิมประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์
ในขณะเดียวกันแนวโน้มการส่งออกที่ขยายตัวลดลง เป็นประเด็นที่น่าห่วง หากยังเห็นการขยายตัวของการส่งออกที่ลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ในเดือนต่อๆไป เพราะภาคส่งออกเป็นภาคที่ดึงรายได้เข้าประเทศ ดังนั้นการขยายตัวที่ลดลงจะยิ่งเป็นการทับถมให้การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลง
"ตัวเลขขาดดุลการค้าในเดือนม.ค. ถือว่าเยอะมาก ซึ่งคิดว่าแนวโน้มของการขาดดุลการค้าจะยังอยู่ต่อเนื่อง เพราะการลงทุนเริ่มกลับมา ทำให้ต้องมีการนำเข้าสินค้า แต่การขาดดุลอาจจะไม่มากเหมือนในเดือนแรกแล้ว อย่างไรก็ตาม หากแนวโน้มการขาดดุลการค้ายังสูงอยู่ ก็จะมีผลกระทบให้จีดีพีปีนี้หด โดยหลังจากนี้มีประเด็นที่สำคัญที่ต้องติดตามดูว่าภาคส่งออก " นางสาวถนอมศรี ฟองอรุณรุ่ง นักเศรษฐศาสตร์บล.ภัทรให้ความเห็น
สัญญาณทางเศรษฐกิจที่ต้องระวัง จากการขาดดุลการค้าและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เป็นประเด็นที่ต้องถูกทบทวนอย่างหนัก ทั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวที่จะช่วยดึงดุลบริการ และปัจจัยภายนอก เช่น การเร่งตัวของการนำเข้า และภาคส่งออกที่ออกอาการขยายตัวลดลง เพราะประเด็นเหล่านี้จะเป็นตัวชี้ว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถรักษาทิศทางเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในอีก 2-3 ปีข้างหน้าได้หรือไม่ ?
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1988 03 มี.ค. - 05 มี.ค. 2548
Price is what you pay. Value is what you get...
- เพื่อน
- Verified User
- โพสต์: 1826
- ผู้ติดตาม: 0
888
โพสต์ที่ 17
.....จุ จุ จุ.....ระวังข่าวโรคระบาดตามมาติดๆด้วยนะครับ
ตอนนี้ยังยืนยันไม่ได้..เลยยังปิดข่าวกันอยู่....แต่อาจจะไม่ลุกลามเหมือนเมื่อก่อน เพราะเริ่มคุ้นเคยกันบ้างแล้ว มันเลยอาจจะ...ซาร์...ซาร์...ไปบ้าง
ยังไงก็ระวังๆกันไว้ก่อนนะครับ ด้วยความหวังดีจริงๆครับ (ลองถามบรรดาคุณหมอ-สาธารณะสุข เพื่อเช็คข่าวกันดูก็ดีนะครับ)
ตอนนี้ยังยืนยันไม่ได้..เลยยังปิดข่าวกันอยู่....แต่อาจจะไม่ลุกลามเหมือนเมื่อก่อน เพราะเริ่มคุ้นเคยกันบ้างแล้ว มันเลยอาจจะ...ซาร์...ซาร์...ไปบ้าง
ยังไงก็ระวังๆกันไว้ก่อนนะครับ ด้วยความหวังดีจริงๆครับ (ลองถามบรรดาคุณหมอ-สาธารณะสุข เพื่อเช็คข่าวกันดูก็ดีนะครับ)
- เพื่อน
- Verified User
- โพสต์: 1826
- ผู้ติดตาม: 0
888
โพสต์ที่ 22
คุณๆทั้งหลายที่เคยคิดว่าไทยเก่ง..คืนเงิน IMF 3-4 แสนล้านได้หมดก่อนเวลา...คุณคิดว่าเอาเงินมาจากไหนได้เร็วและมากขนาดนั้น
ตอนนี้ขาดดุลเดินสะพัด ยังไม่ได้เศษของหนี้ IMF เลยครับ...หืดเริ่มขึ้นคอกันแล้วครับ
เคยได้ยินจากผู้คลุกคลีในแวดวงการเงินมาว่า ตอนนั้นที่จริงไทยยังเป็นหนี้อยู่อีกประมาณ3แสนล้าน(จนถึงปัจจุบัน) แต่หันไปหาแหล่งเงินกู้อื่น ยอมจ่ายดอกแพงกว่า มาโปะ IMFเพื่อสร้างภาพทางจิตวิทยา และความสะดวกในการโยกย้ายจับจ่ายเงินโดยไม่ต้องรายงาน IMF ตามขั้นตอนที่ต้องโปร่งใส(มันทำอะไรไม่สะดวกหนะ ถ้าเป็นลูกหนี้ IMF)
อ้อ...แล้วก็ หวัดนก น่ากลัวกว่าที่เรารับรู้ข่าวกันนะครับ....สังเกตุให้ดีว่าตอนนี้เริ่มมีการเตรียมวัคซีน และซักซ้อมเตรียมความพร้อมในการรับมือกันเป็นข่าวออกมาเรื่อยๆ ทั้งจากWHO และประเทศต่างๆทางแถบเอเชีย....แต่ไทยไม่พบใข้หวัดนก เป็นไปได้ไง....น่าแปลกใจ
ที่จริงไม่อยากจะมาโพสข่าวแง่ลบเลยนะครับ(ผมเองก็ถือหุ้นอยู่เยอะ) แต่ระวังกันไว้ก่อนก็น่าจะดี ....ข่าวทะแม่งๆมาเรื่อยๆครับช่วงนี้
ตอนนี้ขาดดุลเดินสะพัด ยังไม่ได้เศษของหนี้ IMF เลยครับ...หืดเริ่มขึ้นคอกันแล้วครับ
เคยได้ยินจากผู้คลุกคลีในแวดวงการเงินมาว่า ตอนนั้นที่จริงไทยยังเป็นหนี้อยู่อีกประมาณ3แสนล้าน(จนถึงปัจจุบัน) แต่หันไปหาแหล่งเงินกู้อื่น ยอมจ่ายดอกแพงกว่า มาโปะ IMFเพื่อสร้างภาพทางจิตวิทยา และความสะดวกในการโยกย้ายจับจ่ายเงินโดยไม่ต้องรายงาน IMF ตามขั้นตอนที่ต้องโปร่งใส(มันทำอะไรไม่สะดวกหนะ ถ้าเป็นลูกหนี้ IMF)
อ้อ...แล้วก็ หวัดนก น่ากลัวกว่าที่เรารับรู้ข่าวกันนะครับ....สังเกตุให้ดีว่าตอนนี้เริ่มมีการเตรียมวัคซีน และซักซ้อมเตรียมความพร้อมในการรับมือกันเป็นข่าวออกมาเรื่อยๆ ทั้งจากWHO และประเทศต่างๆทางแถบเอเชีย....แต่ไทยไม่พบใข้หวัดนก เป็นไปได้ไง....น่าแปลกใจ
ที่จริงไม่อยากจะมาโพสข่าวแง่ลบเลยนะครับ(ผมเองก็ถือหุ้นอยู่เยอะ) แต่ระวังกันไว้ก่อนก็น่าจะดี ....ข่าวทะแม่งๆมาเรื่อยๆครับช่วงนี้