888
- วัวแดง
- Verified User
- โพสต์: 1429
- ผู้ติดตาม: 0
888
โพสต์ที่ 7
นี่เพิ่งเริ่มนะครับ..................
อีกตั้ง3เดือน.................
สงสารพี่น้องส่วนใหญ่จริงๆๆ...................
อีกตั้ง3เดือน.................
สงสารพี่น้องส่วนใหญ่จริงๆๆ...................
ถ้าผมคิดเหมือนคนทั่วๆไป ผลตอบแทนผมก็เหมือนคนทั่วๆไป
ใจผมคงละลาย ถ้าผมคิดตามคนอื่น
ผู้ชนะไม่แน่ว่าจะต้องเป็นคนที่วิ่งเร็วที่สุด...แต่เป็นผู้ที่อดทนที่สุดต่างหาก
ใจผมคงละลาย ถ้าผมคิดตามคนอื่น
ผู้ชนะไม่แน่ว่าจะต้องเป็นคนที่วิ่งเร็วที่สุด...แต่เป็นผู้ที่อดทนที่สุดต่างหาก
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
888
โพสต์ที่ 8
ย้อนไป 1 ปีมานี้ เมืองไทย โดนไรไปบ้างแล้วครับ .. ไล่ดูก็ ..
.......... หวัดนก .......... ทุกวันนี้ ยังไม่จบ .............
.......... ไฟใต้ ... ไม่จบสั้นๆหรอก หึหึ ..................
.......... ดอกเบี้ยเริ่มขึ้น .... แล้วก็คงขึ้นอีก ...........
.......... บาทแข็ง ดอลล่าอ่อน ... ส่งออกจะเป็นยังไงบ้าง ........
.......... น้ำมันขึ้น .... ไทยก็ไม่ปล่อยน้ำมันตามกลไกตลาด ......
......... แล้วก็ ซูนามิ ........... แล้วการท่องเที่ยวปีนี้ละ ? ..........
.......... แล้วก็ลอยตัวดีเซล .... ทีละ 60 สต ..........................
.......... เงินก็เฟ้อ ..... หรือเปล่านะ ? ...................................
.......... อ้าว เวรกรรม .... ภัยแล้งรุนแรงอีกปีนี้ ... รากหญ้าท่าจะแย่ ....
..
..
.......... แล้วกำลังซื้อ ละ? ...........................
......ชาวนา ชาวสวน ไม่มีเงินจากภัยแล้ง ......
......คนทำท่องเที่ยว ก็ไม่มีเงินจากซูนามิ ......
..... แล้วคนขายของ จะขายดีไหมหนอ ........?
..
..
.. ... แล้วตัวเลขเศรษฐกิจจะออกมายังไงหนอ ....
..................................แล้วตลาดหุ้นละหนอ ....
.......... หวัดนก .......... ทุกวันนี้ ยังไม่จบ .............
.......... ไฟใต้ ... ไม่จบสั้นๆหรอก หึหึ ..................
.......... ดอกเบี้ยเริ่มขึ้น .... แล้วก็คงขึ้นอีก ...........
.......... บาทแข็ง ดอลล่าอ่อน ... ส่งออกจะเป็นยังไงบ้าง ........
.......... น้ำมันขึ้น .... ไทยก็ไม่ปล่อยน้ำมันตามกลไกตลาด ......
......... แล้วก็ ซูนามิ ........... แล้วการท่องเที่ยวปีนี้ละ ? ..........
.......... แล้วก็ลอยตัวดีเซล .... ทีละ 60 สต ..........................
.......... เงินก็เฟ้อ ..... หรือเปล่านะ ? ...................................
.......... อ้าว เวรกรรม .... ภัยแล้งรุนแรงอีกปีนี้ ... รากหญ้าท่าจะแย่ ....
..
..
.......... แล้วกำลังซื้อ ละ? ...........................
......ชาวนา ชาวสวน ไม่มีเงินจากภัยแล้ง ......
......คนทำท่องเที่ยว ก็ไม่มีเงินจากซูนามิ ......
..... แล้วคนขายของ จะขายดีไหมหนอ ........?
..
..
.. ... แล้วตัวเลขเศรษฐกิจจะออกมายังไงหนอ ....
..................................แล้วตลาดหุ้นละหนอ ....
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
-
- Verified User
- โพสต์: 7
- ผู้ติดตาม: 0
888
โพสต์ที่ 13
ตามไปดูสถานการณ์ภัยแล้งได้ที่ เกาะสถานการณ์ ของ ThaiQuest Website ได้เลยครับ มีการรวบรวมประเด็นนี้จากหนังสือพิมพ์หลายๆฉบับเลย
ThaiQuest Website
http://www.thaiquest.com/news
หรือทำเป็น Link มาให้สำหรับภัยแล้ง Click ที่นี่ก็ได้ครับ
http://www.thaiquest.com/news/hotissues ... 1%c5%e9%a7
ThaiQuest Website
http://www.thaiquest.com/news
หรือทำเป็น Link มาให้สำหรับภัยแล้ง Click ที่นี่ก็ได้ครับ
http://www.thaiquest.com/news/hotissues ... 1%c5%e9%a7
- ม้าเฉียว
- Verified User
- โพสต์: 350
- ผู้ติดตาม: 0
888
โพสต์ที่ 14
2 ทศวรรษมาแล้วที่เราต้องเจอผลกระทบจากปรากฎการณ์ El Nino ซึ่งก็คงจะเกิดอีก จนอาจจะเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้วก็ได้ ทุกครั้งทึ่ El Nino กลับมา ความแห้งแล้งอาจจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ปัญหาการแย่งชิงน้ำก็จะรุนแรงขึ้น ระหว่างคนต้นน้ำ และคนปลายน้ำ ระหว่างนายทุน(โดยเฉพาะเจ้าของสนามกอล์ฟ รีสอร์ท ฟาร์มขนาดใหญ่) กับชาวบ้าน วันหนึ่งอาจถึงจุดที่เราต้องสร้าง "ตลาด" สำหรับการใช้น้ำขึ้นมา โดยที่เราจะต้อง จัดลำดับความสำคัญของการใช้น้ำเป็นขั้นๆเสียก่อนเช่น น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในส่วนของน้ำเพื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจนั้น เราอาจจะสร้างตลาดให้กับมัน ด้วยการให้สิทธิการใช้น้ำเพื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยสิทธินี้สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้ คนที่ต้องการใช้น้ำมาก เช่น สนามกอล์ฟ ก็ต้องไปซื้อสิทธิการใช้น้ำมา ยิ่งต้องการมากเท่าไหร่ก็ต้องจ่ายแพงมากเท่านั้น ทำให้การใช้น้ำมีต้นทุนสูงขึ้น การใช้น้ำก็จะเป็นไปอย่างประหยัด
"ตลาดน้ำ" ดังกล่าวจึงส่งผลดีในแง่ของ ประสิทธิภาพการใช้น้ำ เพราะการใช้น้ำมีต้นทุนสูงขึ้น จากที่ในปัจจุบันแทบจะไม่มีต้นทุนเลย และทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยเสรี การใช้น้ำอย่างไม่รู้คุณค่าจึงพบเห็นได้ทั่วไป และยิ่งน้ำขาดแคลน การแย่งชิงน้ำก็จะรุนแรงขึ้น
และถ้ารัฐต้องการสร้างความเป็นธรรมด้วย ก็จะต้องลำดับความสำคัญให้ดีว่า คนแต่ละกลุ่มควรจะได้รับการจัดสรรสิทธิการใช้น้ำในครั้งแรกอย่างไร เช่น ชาวนา ควรได้รับสิทธิการใช้น้ำเพื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ มากกว่านายทุนสนามกอล์ฟ อย่างนี้เป็นต้น
สมมติว่าชาวนาคนหนึ่งได้รับการจัดสรรสิทธิการใช้น้ำ 10 หน่วย จากเดิมที่เวลาเค้าทำนาต้องใช้น้ำ 10 หน่วย เค้าก็จะพยายามใช้น้ำให้ประหยัดขึ้น คุ้มค่ามากขึ้น อาจจะลดการใช้น้ำให้เหลือเพียง 5 เพื่อที่เค้าจะได้มีโอกาสขายสิทธิการใช้น้ำที่เหลืออีก 5 หน่วยให้นายทุน ก็จะได้ผลทั้งเรื่อง "ประสิทธิภาพ" และ "ความเป็นธรรม"
"ตลาดน้ำ" ดังกล่าวจึงส่งผลดีในแง่ของ ประสิทธิภาพการใช้น้ำ เพราะการใช้น้ำมีต้นทุนสูงขึ้น จากที่ในปัจจุบันแทบจะไม่มีต้นทุนเลย และทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยเสรี การใช้น้ำอย่างไม่รู้คุณค่าจึงพบเห็นได้ทั่วไป และยิ่งน้ำขาดแคลน การแย่งชิงน้ำก็จะรุนแรงขึ้น
และถ้ารัฐต้องการสร้างความเป็นธรรมด้วย ก็จะต้องลำดับความสำคัญให้ดีว่า คนแต่ละกลุ่มควรจะได้รับการจัดสรรสิทธิการใช้น้ำในครั้งแรกอย่างไร เช่น ชาวนา ควรได้รับสิทธิการใช้น้ำเพื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ มากกว่านายทุนสนามกอล์ฟ อย่างนี้เป็นต้น
สมมติว่าชาวนาคนหนึ่งได้รับการจัดสรรสิทธิการใช้น้ำ 10 หน่วย จากเดิมที่เวลาเค้าทำนาต้องใช้น้ำ 10 หน่วย เค้าก็จะพยายามใช้น้ำให้ประหยัดขึ้น คุ้มค่ามากขึ้น อาจจะลดการใช้น้ำให้เหลือเพียง 5 เพื่อที่เค้าจะได้มีโอกาสขายสิทธิการใช้น้ำที่เหลืออีก 5 หน่วยให้นายทุน ก็จะได้ผลทั้งเรื่อง "ประสิทธิภาพ" และ "ความเป็นธรรม"
-
- Verified User
- โพสต์: 4596
- ผู้ติดตาม: 0
888
โพสต์ที่ 16
รุนแรงขึ้นแน่ๆ ครับ
ทรัพยากร ต้นน้ำ ทั้งหลายถูกทำลายไปหมดแล้วครับ
สร้างเขื่อนมาก็ไม่มีน้ำให้เก็บครับ
เก็บได้ก็ได้แต่ดินที่ไหลมากับน้ำที่ถูกทำลาย
ปริมาณการตกตะกอนและการสะสมของดินหน้าเขื่อนเพิ่มขึ้นทุกปี
เขื่อนต่อไปก็คงจะกลายเป็นที่เก็บดินแทนน้ำ
ชาวบ้าน เกษตรกร เดือนร้อนมากๆครับ
แต่คนในเมืองก็เฉยๆ อยู่ ปริมาณการใช้ก็ยังมากเหมือนเดิม
ตราบใดที่น้ำประปายังไม่หยุดไหล หรือกำหนดเวลาปิดเปิด
ได้เปรียบอยู่วันยังค่ำ
ทรัพยากร ต้นน้ำ ทั้งหลายถูกทำลายไปหมดแล้วครับ
สร้างเขื่อนมาก็ไม่มีน้ำให้เก็บครับ
เก็บได้ก็ได้แต่ดินที่ไหลมากับน้ำที่ถูกทำลาย
ปริมาณการตกตะกอนและการสะสมของดินหน้าเขื่อนเพิ่มขึ้นทุกปี
เขื่อนต่อไปก็คงจะกลายเป็นที่เก็บดินแทนน้ำ
ชาวบ้าน เกษตรกร เดือนร้อนมากๆครับ
แต่คนในเมืองก็เฉยๆ อยู่ ปริมาณการใช้ก็ยังมากเหมือนเดิม
ตราบใดที่น้ำประปายังไม่หยุดไหล หรือกำหนดเวลาปิดเปิด
ได้เปรียบอยู่วันยังค่ำ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
888
โพสต์ที่ 17
การจัดสรรน้ำเพื่อประปาก่อนการเกษตรเป็นสิ่งที่เป็นปกติวิสัยอยู่แล้วครับ น้ำเป็นทั้งทรัพยากรการผลิตและการบริโภค กว่าครึ่งของประปาใช้เพื่อการบริโภค ในขณะที่ใช้ในการผลิตทางอุตสาหกรรมเพียง 16.xx%(จำไม่ได้ ) ของประปาทั้งหมด ดังนั้นการจัดสรรน้ำดิบจะต้องจัดสรรให้การประปาก่อนการเกษตรอยู่แล้ว เพราะการขาดแคลนด้านประปาก่อเกิดปัญหาด้านสังคมในขณะที่น้ำด้านเกษตรเกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจซึ่งสามารถบรรเทาได้โดยการสนับสนุนจากภาครัฐ ตอนนี้ที่ศูนย์ฯกำลังทำวิจัยผลกระทบจากภัยแล้งอยู่ จะแถลงข่าววันอังคารครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
888
โพสต์ที่ 18
หอการค้าประเมิน ภัยแล้งปีนี้อ่วมหนัก ซ้ำเจอพิษน้ำมันพุ่ง หั่นจีดีพีเหลือ4.7%
Source - ข่าวหุ้น (Th)
Wednesday, March 23, 2005 04:05
41391 XTHAI XECON XFINSEC ZSTOCK V%PAPERL P%KHD
กรุงเทพฯ--23 มี.ค.--ข่าวหุ้น
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ประเมินผลกระทบภัยแล้งลามจีดีพีปี 48 ที่ 0.3% ส่งผลต้องปรับเป้าหมายทั้งปีเหลือ 4.7-5.2% จากเดิม 5.5-6.0% หลังรัฐบาลผสมโรง ดันราคาดีเซลเพิ่มลิตรละ 3 บาท ยอมรับอาจเหลือไม่ถึง 4.0% หากอั้นไม่ไหวจนต้องปล่อยลอยตัว
ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงผลการสำรวจประเมินสถานการณ์ภัยแล้งที่กระทบต่อเศรษฐกิจว่า ผลกระทบภาคอุตสาหกรรมตั้งแต่เดือนเมษายน มีมูลค่าประมาณ 4,812.82 ล้าบาท แบ่งเป็นกระทบอุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ย ยาฆ่าแมลง 2,196.81 ล้านบาท อุตสาหกรรมเคมีพื้นฐาน766.57 ล้านบาท อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรทางการเกษตร 192.25 ล้านบาทอุตสาหกรรมไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ 180 ล้านบาท
อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือการเกษตร 107.15 ล้านบาท อุตสาหกรรมฟอกย้อม86.64 ล้านบาท อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์กระดาษ 77.36 ล้านบาท และอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 59.75 ล้านบาท
ส่วนผลกระทบด้านบริการ มีมูลค่า 3,840.73 ล้านบาท ภาคการค้า 3,214ล้านบาท สถาบันการเงิน 425.37 ล้านบาท และการขนส่ง 38.33 ล้านบาท
"สถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง ซึ่งแม้จะส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น แต่ก็ทำให้เกิดความเสียจากการที่ยอดขายลดลง รวมถึงภาคบริการในส่วนสถาบันการเงินที่ได้รับผลกระทบรองลงมา เนื่องจากเป็นแหล่งเงินกู้ยืมของเกษตรกร เมื่อเกษตรกรได้รับความเดือนร้อนจากการที่เพาะปลูกไม่ได้ จึงทำให้รายได้ทั้งในการใช้จ่ายเพื่ออุปโภคและบริโภคลดลง และทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดลงไปด้วย"ดร.ธนวรรธน์ กล่าว
ทั้งนี้คาดว่าผลกระทบภัยแล้งจะสิ้นสุดหลังเดือนกรกฎาคม ทำให้ประเมินว่า จะเกิดความเสียหายรวมทั้งสิ้น 37,320.47 ล้านบาท หรือประมาณ 0.37% ของจีดีพี ส่งผลให้ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมีการปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปีนี้ ลงเหลือ 4.7-5.2% จากเดิมที่ 5.5-6.0%
โดยเป็นผลกระทบจากภัยแล้ง 0.3% เหตุการณ์สึนามิ 0.3% และราคาน้ำมัน 0.7%ซึ่งหากอนาคตรัฐบาลมีการประกาศลอยตัวดีเซล ก็อาจจำเป็นต้องมีการประกาศปรับลดการขยายตัวของเศรษฐกิจลงอีกคืออาจเหลือไม่ถึง 4.0%
"สิ่งที่รัฐบาลควรเร่งดำเนินการในขณะนี้คือการหาแหล่งน้ำ การทำฝนหลวง เพื่อให้สถานการณ์ภัยแล้งคลี่คลายลง รวมทั้งควรที่จะเร่งจ่ายเงินชดเชยความเสียหายให้กับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ เพื่อทำให้เกิดเงินหมุนเวียนและกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยขณะที่โครง แม้การลงทุนเมกะโปรเจกต์และการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลอาจจะช่วยฟื้นฟูสถานการณ์ได้บ้างในช่วงไตรมาส 3-4 ของปีนี้"ดร.ธนวรรธน์ กล่าว--จบ--
Source - ข่าวหุ้น (Th)
Wednesday, March 23, 2005 04:05
41391 XTHAI XECON XFINSEC ZSTOCK V%PAPERL P%KHD
กรุงเทพฯ--23 มี.ค.--ข่าวหุ้น
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ประเมินผลกระทบภัยแล้งลามจีดีพีปี 48 ที่ 0.3% ส่งผลต้องปรับเป้าหมายทั้งปีเหลือ 4.7-5.2% จากเดิม 5.5-6.0% หลังรัฐบาลผสมโรง ดันราคาดีเซลเพิ่มลิตรละ 3 บาท ยอมรับอาจเหลือไม่ถึง 4.0% หากอั้นไม่ไหวจนต้องปล่อยลอยตัว
ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงผลการสำรวจประเมินสถานการณ์ภัยแล้งที่กระทบต่อเศรษฐกิจว่า ผลกระทบภาคอุตสาหกรรมตั้งแต่เดือนเมษายน มีมูลค่าประมาณ 4,812.82 ล้าบาท แบ่งเป็นกระทบอุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ย ยาฆ่าแมลง 2,196.81 ล้านบาท อุตสาหกรรมเคมีพื้นฐาน766.57 ล้านบาท อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรทางการเกษตร 192.25 ล้านบาทอุตสาหกรรมไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ 180 ล้านบาท
อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือการเกษตร 107.15 ล้านบาท อุตสาหกรรมฟอกย้อม86.64 ล้านบาท อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์กระดาษ 77.36 ล้านบาท และอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 59.75 ล้านบาท
ส่วนผลกระทบด้านบริการ มีมูลค่า 3,840.73 ล้านบาท ภาคการค้า 3,214ล้านบาท สถาบันการเงิน 425.37 ล้านบาท และการขนส่ง 38.33 ล้านบาท
"สถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง ซึ่งแม้จะส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น แต่ก็ทำให้เกิดความเสียจากการที่ยอดขายลดลง รวมถึงภาคบริการในส่วนสถาบันการเงินที่ได้รับผลกระทบรองลงมา เนื่องจากเป็นแหล่งเงินกู้ยืมของเกษตรกร เมื่อเกษตรกรได้รับความเดือนร้อนจากการที่เพาะปลูกไม่ได้ จึงทำให้รายได้ทั้งในการใช้จ่ายเพื่ออุปโภคและบริโภคลดลง และทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดลงไปด้วย"ดร.ธนวรรธน์ กล่าว
ทั้งนี้คาดว่าผลกระทบภัยแล้งจะสิ้นสุดหลังเดือนกรกฎาคม ทำให้ประเมินว่า จะเกิดความเสียหายรวมทั้งสิ้น 37,320.47 ล้านบาท หรือประมาณ 0.37% ของจีดีพี ส่งผลให้ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมีการปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปีนี้ ลงเหลือ 4.7-5.2% จากเดิมที่ 5.5-6.0%
โดยเป็นผลกระทบจากภัยแล้ง 0.3% เหตุการณ์สึนามิ 0.3% และราคาน้ำมัน 0.7%ซึ่งหากอนาคตรัฐบาลมีการประกาศลอยตัวดีเซล ก็อาจจำเป็นต้องมีการประกาศปรับลดการขยายตัวของเศรษฐกิจลงอีกคืออาจเหลือไม่ถึง 4.0%
"สิ่งที่รัฐบาลควรเร่งดำเนินการในขณะนี้คือการหาแหล่งน้ำ การทำฝนหลวง เพื่อให้สถานการณ์ภัยแล้งคลี่คลายลง รวมทั้งควรที่จะเร่งจ่ายเงินชดเชยความเสียหายให้กับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ เพื่อทำให้เกิดเงินหมุนเวียนและกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยขณะที่โครง แม้การลงทุนเมกะโปรเจกต์และการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลอาจจะช่วยฟื้นฟูสถานการณ์ได้บ้างในช่วงไตรมาส 3-4 ของปีนี้"ดร.ธนวรรธน์ กล่าว--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0