ส่วนเกินทุนจากการตีราคาทรัพย์สิน
- Tongue
- Verified User
- โพสต์: 725
- ผู้ติดตาม: 0
ส่วนเกินทุนจากการตีราคาทรัพย์สิน
โพสต์ที่ 1
ส่วนเกินทุนจากการตีราคาทรัพย์สิน คือ อะไรครับ
ฟังดู แปลกๆ
ฟังดู แปลกๆ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1256
- ผู้ติดตาม: 0
ส่วนเกินทุนจากการตีราคาทรัพย์สิน
โพสต์ที่ 2
ตัวอย่างเช่น บริษัทซื้อที่ดินมาเมื่อ10ปีที่แล้ว ราคา1แสนบาท
ปีนี้มีการประเมินราคาใหม่ มีราคาตลาด1ล้านบาท
บริษัทจึงบันทึกบัญชีเพิ่มในที่ดิน อาคารและอุปกรณ์(สินทรัพย์) และส่วนเกินทุนจากการตีราคาทรัพย์สิน(ส่วนของผู้ถือหุ้น)900,000บาท
ในอนาคต หากที่ดินราคาลดลงจะถูกปรับปรุงในรายการส่วนเกินทุนฯนี้ครับ
ปีนี้มีการประเมินราคาใหม่ มีราคาตลาด1ล้านบาท
บริษัทจึงบันทึกบัญชีเพิ่มในที่ดิน อาคารและอุปกรณ์(สินทรัพย์) และส่วนเกินทุนจากการตีราคาทรัพย์สิน(ส่วนของผู้ถือหุ้น)900,000บาท
ในอนาคต หากที่ดินราคาลดลงจะถูกปรับปรุงในรายการส่วนเกินทุนฯนี้ครับ
"Price is what you pay. Value is what you get."
- Tongue
- Verified User
- โพสต์: 725
- ผู้ติดตาม: 0
ส่วนเกินทุนจากการตีราคาทรัพย์สิน
โพสต์ที่ 3
ขอบคุณครับ
อืม...
ทำให้สินทรัพย์ เพิ่มขึ้น แล้วมันตีกันบ่อยๆ เกือบทุกปี มันจะดีเหรอ
อืม...
ท่านพี่ฉัตรชัย เห็นเป็นไฉน ขอรับ
หากผ่านมาโปรดชี้แนะครับ
อืม...
ทำให้สินทรัพย์ เพิ่มขึ้น แล้วมันตีกันบ่อยๆ เกือบทุกปี มันจะดีเหรอ
อืม...
ท่านพี่ฉัตรชัย เห็นเป็นไฉน ขอรับ
หากผ่านมาโปรดชี้แนะครับ
- ch_army
- Verified User
- โพสต์: 1352
- ผู้ติดตาม: 0
ส่วนเกินทุนจากการตีราคาทรัพย์สิน
โพสต์ที่ 4
เค้าคงตีราคาเป็นระยะๆน่ะครับ แต่ที่จริงแล้วเชื่อถือได้หรือเปล่าก็ไม่รู้นะครับ ต้งดูว่าให้ใครประเมินให้
ผมว่าบันทึกโดยเปรียบเทียบ ราคาทุนกับ ราคาประเมินว่าอะไรต่ำกว่าเืลือกบันทึกอันนั้นน่าจะ อนุรักษ์นิยมกว่านะครับ
ผมว่าบันทึกโดยเปรียบเทียบ ราคาทุนกับ ราคาประเมินว่าอะไรต่ำกว่าเืลือกบันทึกอันนั้นน่าจะ อนุรักษ์นิยมกว่านะครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1256
- ผู้ติดตาม: 0
ส่วนเกินทุนจากการตีราคาทรัพย์สิน
โพสต์ที่ 5
ตามหลักการบัญชีสมัยก่อนจะบันทึกสินทรัพย์ถาวรโดยวิธี LCM (Lower of Cost or Market value) ราคาทุนหรือราคาตลาด แล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่าch_army เขียน:เค้าคงตีราคาเป็นระยะๆน่ะครับ แต่ที่จริงแล้วเชื่อถือได้หรือเปล่าก็ไม่รู้นะครับ ต้งดูว่าให้ใครประเมินให้
ผมว่าบันทึกโดยเปรียบเทียบ ราคาทุนกับ ราคาประเมินว่าอะไรต่ำกว่าเืลือกบันทึกอันนั้นน่าจะ อนุรักษ์นิยมกว่านะครับ
ตอนนี้(ถ้าจำไม่ผิด) ใช้วิธี LCNRV (Lower of Cost or Net Realizable Value) ราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับ แล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า
ส่วนส่าเหตุ(ส่วนหนึ่ง)ที่เดี๋ยวนี้ มีการตีราคาสินทรัพย์ถาวรกันมากขึ้นก็เพราะว่า ตอนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ บริษัทหลายแห่งเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ ทำให้ต้องมีการตีราคาทรัพย์สินใหม่ ไว้ให้สถาบันการเงินทราบว่า สินทรัพย์ถาวรของบริษัท ปัจจุบันมีราคาประเมินอยู่เท่าไรเพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้ (เช่น สถาบันการเงินรับตีโอนทรัพย์สินถาวรเพื่อชำระหนี้ในราคา 70% ของราคาประเมิน เป็นต้น)
สำหรับบริษัทผู้ประเมินราคา จะต้องเป็นบริษัทที่ได้รับการรับรองจาก กลต.ครับ
บริษัทที่ทำการประเมินราคาFixed Assetใหม่ มักเป็นบริษัทที่มีความจำเป็นเท่านั้น เช่น บริษัทที่เกี่ยวข้องกับการ Merger & Acquisition, Debt Restructuring, Negative Net Equity, Being Sell of fixed asset, Taking new loans etc. เพื่อจะได้ทราบราคาประเมินไว้อ้างอิง ในการจำนอง, ตีทรัพย์ชำระหนี้ เป็นต้น
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
ส่วนเกินทุนจากการตีราคาทรัพย์สิน
โพสต์ที่ 6
ตามความเห็นของผมนั้น การลงบันทึกบัญชีในงบดุลหลายรายการเป็นการบันทึกแบบ Conservative ก้เป็นสิ่งที่ดีครับ
แต่บางครั้งก็ทำให้การวิเคราะห์ผิดพลาดกันไป เช่นในการคำนวณ ROA ROE ที่หลายคนมักจะคำนวณกัน
หรือบางครั้งก็ส่งผลกระทบต่อกำไรสุทธิด้วยเช่นกัน เช่น ในช่วงลดค่าเงินบาท โรงงานขนาดใหญ่หลายแห่งมีการบันทึกมูลค่าเป็นสกุลเงินบาท แต่ถ้าเราคำนวณราคาอิงกับค่าเงินเหรียญ มูลค่าสินทรัพย์และส่วนผุ้ถือหุ้นในงบดุลก็จะเพิ่มขึ้นด้วย แต่หลังจากนั้นก็จะต้องมีการหักค่าเสื่อมราคา ทำให้ผลกำไรสุทธิของบริษัทในปีต่อๆไปก็จะลดลงครับ
การที่บริษัทต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นหลักแสนถึงหลายล้านในการทำการประเมิน ทำให้บริษัทที่มีฐานะที่ดี ผู้บริหารไม่สนใจราคาหุ้น ก็ไม่ทำการประเมินราคาให้ใกล้เคียงราคาตลาดครับ
บริษัทที่ทำการประเมินส่วนใหญ่เกิดจากการที่ส่วนผุ้ถือหุ้นเดิมอาจจะติดลบ ซึ่งจะทำให้ถูกเพิกถอนออกจากตลาดครับ จึงมีการประเมินราคาสินทรัพย์ใหม่ เพื่อให้มีส่วนผู้ถือหุ้นเป็นบวก
แต่บางครั้งก็ทำให้การวิเคราะห์ผิดพลาดกันไป เช่นในการคำนวณ ROA ROE ที่หลายคนมักจะคำนวณกัน
หรือบางครั้งก็ส่งผลกระทบต่อกำไรสุทธิด้วยเช่นกัน เช่น ในช่วงลดค่าเงินบาท โรงงานขนาดใหญ่หลายแห่งมีการบันทึกมูลค่าเป็นสกุลเงินบาท แต่ถ้าเราคำนวณราคาอิงกับค่าเงินเหรียญ มูลค่าสินทรัพย์และส่วนผุ้ถือหุ้นในงบดุลก็จะเพิ่มขึ้นด้วย แต่หลังจากนั้นก็จะต้องมีการหักค่าเสื่อมราคา ทำให้ผลกำไรสุทธิของบริษัทในปีต่อๆไปก็จะลดลงครับ
การที่บริษัทต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นหลักแสนถึงหลายล้านในการทำการประเมิน ทำให้บริษัทที่มีฐานะที่ดี ผู้บริหารไม่สนใจราคาหุ้น ก็ไม่ทำการประเมินราคาให้ใกล้เคียงราคาตลาดครับ
บริษัทที่ทำการประเมินส่วนใหญ่เกิดจากการที่ส่วนผุ้ถือหุ้นเดิมอาจจะติดลบ ซึ่งจะทำให้ถูกเพิกถอนออกจากตลาดครับ จึงมีการประเมินราคาสินทรัพย์ใหม่ เพื่อให้มีส่วนผู้ถือหุ้นเป็นบวก
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
- Tongue
- Verified User
- โพสต์: 725
- ผู้ติดตาม: 0
ส่วนเกินทุนจากการตีราคาทรัพย์สิน
โพสต์ที่ 7
ใช่เลยครับ พี่ chatchai และ คุณ Kao
ส่วนใหญ่เจอแต่ในบริษัทแปลกๆ ที่ผมไม่ค่อยชอบอยู่แล้ว
แล้วอย่างนี้ ถ้าผมให้ 30% off พี่ว่า เหมาะสมไหมครับ
ส่วนใหญ่เจอแต่ในบริษัทแปลกๆ ที่ผมไม่ค่อยชอบอยู่แล้ว
แล้วอย่างนี้ ถ้าผมให้ 30% off พี่ว่า เหมาะสมไหมครับ
- ch_army
- Verified User
- โพสต์: 1352
- ผู้ติดตาม: 0
ส่วนเกินทุนจากการตีราคาทรัพย์สิน
โพสต์ที่ 8
เอพอตีราคาใหม่แล้วส่วน asset สูงขึ้นแล้ว อีกฝั่งจะไปเพิ่มที่ไหนครับ ส่วนของผู้ถือหุ้นหรือเปล่าครับ
แล้วอย่างนี้คือไปบันทึกเป็นกำไรรายการพิเศษด้วยหรือเปล่าครับ
แล้วอย่างนี้คือไปบันทึกเป็นกำไรรายการพิเศษด้วยหรือเปล่าครับ
- Tongue
- Verified User
- โพสต์: 725
- ผู้ติดตาม: 0
ส่วนเกินทุนจากการตีราคาทรัพย์สิน
โพสต์ที่ 9
อืม... คงแล้วแต่ที่มังครับ
แต่กลุ่มเหล็ก ที่ เพิ่งเข้ามา ลง ว่า ส่วนเกินทุนจากการตีราคาทรัพย์สินสามัญ ครับ
แต่กลุ่มเหล็ก ที่ เพิ่งเข้ามา ลง ว่า ส่วนเกินทุนจากการตีราคาทรัพย์สินสามัญ ครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1256
- ผู้ติดตาม: 0
ส่วนเกินทุนจากการตีราคาทรัพย์สิน
โพสต์ที่ 10
อีกฝั่งลงเป็นส่วนเกินทุนจากการตีราคาทรัพย์สินซึ่งอยู่ในส่วนของผู้ถือหุ้นครับch_army เขียน:เอพอตีราคาใหม่แล้วส่วน asset สูงขึ้นแล้ว อีกฝั่งจะไปเพิ่มที่ไหนครับ ส่วนของผู้ถือหุ้นหรือเปล่าครับ
แล้วอย่างนี้คือไปบันทึกเป็นกำไรรายการพิเศษด้วยหรือเปล่าครับ
เหตุผลนึงที่บันทึกทึกในส่วนของผู้ถือหุ้น แทนที่จะบันทึกเป็นกำไรจากรายการพิเศษ ก็เนื่องมาจาก จะได้ไม่กระทบกับกำไรสุทธิ เพราะหากในอนาคตถ้าราคาประเมินมีราคาลดลง จะหักออกจากส่วนเกินทุนฯในส่วนของผู้ถือหุ้น (ไม่งั้นปีใดราคาสูงขึ้น บริษัทมีกำไรจากรายการพิเศษ ปีใดราคาลดลง บริษัทมีขาดทุนจากรายการพิเศษ ทำให้กำไรสุทธิไม่สะท้อนภาพที่แท้จริงยิ่งขึ้น)
- ch_army
- Verified User
- โพสต์: 1352
- ผู้ติดตาม: 0
ส่วนเกินทุนจากการตีราคาทรัพย์สิน
โพสต์ที่ 11
งั้นก็ต้องดูการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นให้ดีด้วยใช่ไหมครับ เพราะ ก็เคยอ่านมาว่าส่นนี้คนอาจไม่ค่อยดูกันและรายการปรับปรุงย้อนหลังก็มาลงที่รายการนี้ซะส่วนใหญ่
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1256
- ผู้ติดตาม: 0
ส่วนเกินทุนจากการตีราคาทรัพย์สิน
โพสต์ที่ 12
ใช่แล้วครับ เวลาAuditorมีรายการปรับปรุงบัญชีที่กระทบกำไรสุทธิของงวดบัญชีก่อนๆ ก็จะปรับปรุงในรายการกำไรสะสม (กำไรสุทธิหลังจากจ่ายเงินปันผลแล้วจะถูกสะสมไว้ในกำไรสะสม) ซึ่งอยู่ในส่วนของผู้ถือหุ้นครับch_army เขียน:งั้นก็ต้องดูการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นให้ดีด้วยใช่ไหมครับ เพราะ ก็เคยอ่านมาว่าส่นนี้คนอาจไม่ค่อยดูกันและรายการปรับปรุงย้อนหลังก็มาลงที่รายการนี้ซะส่วนใหญ่