ถามเฮีย chatchai ครับ
- ch_army
- Verified User
- โพสต์: 1352
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเฮีย chatchai ครับ
โพสต์ที่ 4
Free Cash Flow ก็คือกระแสเงินสดสุทธิที่กิจการทำได้ใช่ไหมครับในความหมายของตัวมันเอง
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเฮีย chatchai ครับ
โพสต์ที่ 6
ก่อนอื่นผมอยากให้เราเข้าใจก่อนว่า P/FCF เราต้องการคำนวณหาอะไร
เนื่องจาก งบกำไรขาดทุนนั้นไม่ได้แสดงถึงผลตอบแทนจากการลงทุนที่แท้จริง มีการบิดเบือนเนื่องจากกฎเกณฑ์การลงบัญชีที่แตกต่างกันได้ และไม่สอดคล้องกับผลตอบแทนที่ได้รับจริง
การคำนวณผลตอบแทนที่นักลงทุนได้รับจริงนั้น จึงควรคิดคำนวณจากกระแสเงินสดรับและจ่าย
P ก็คือเงินลงทุนที่นักลงทุนได้จ่ายออกไปเพื่อที่จะได้กรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของกิจการ เป็นเจ้าของกระแสเงินสดที่ได้รับของกิจการ
FCF ก็คือกระแสเงินสดที่ได้รับจากกิจการที่ดำเนินงานตามปรกติ ที่หักค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินงานปรกติของกิจการเช่นกัน
ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์ การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร การชำระหนี้เงินกู้ หรือรายการอื่นๆ คงต้องพิจารณาว่าเป็นรายการที่เป็นการดำเนินงานตามปรกติที่จะเกิดขึ้นทุกปีหรือไม่ คงไม่ใช่สูตรสำเร็จให้เราท่องจำเพื่อคำนวณหรอกครับ
เนื่องจาก งบกำไรขาดทุนนั้นไม่ได้แสดงถึงผลตอบแทนจากการลงทุนที่แท้จริง มีการบิดเบือนเนื่องจากกฎเกณฑ์การลงบัญชีที่แตกต่างกันได้ และไม่สอดคล้องกับผลตอบแทนที่ได้รับจริง
การคำนวณผลตอบแทนที่นักลงทุนได้รับจริงนั้น จึงควรคิดคำนวณจากกระแสเงินสดรับและจ่าย
P ก็คือเงินลงทุนที่นักลงทุนได้จ่ายออกไปเพื่อที่จะได้กรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของกิจการ เป็นเจ้าของกระแสเงินสดที่ได้รับของกิจการ
FCF ก็คือกระแสเงินสดที่ได้รับจากกิจการที่ดำเนินงานตามปรกติ ที่หักค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินงานปรกติของกิจการเช่นกัน
ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์ การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร การชำระหนี้เงินกู้ หรือรายการอื่นๆ คงต้องพิจารณาว่าเป็นรายการที่เป็นการดำเนินงานตามปรกติที่จะเกิดขึ้นทุกปีหรือไม่ คงไม่ใช่สูตรสำเร็จให้เราท่องจำเพื่อคำนวณหรอกครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
- ch_army
- Verified User
- โพสต์: 1352
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเฮีย chatchai ครับ
โพสต์ที่ 8
ถ้าอย่างนั้นการคำนวน เจ้า FCF ของพี่เนี่ย ก็ต้องมองเหมือนการวิเคราะห์การลงทุนแบบที่ใช้ cash flow ใช่ไหมครับchatchai เขียน:
ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์ การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร การชำระหนี้เงินกู้ หรือรายการอื่นๆ คงต้องพิจารณาว่าเป็นรายการที่เป็นการดำเนินงานตามปรกติที่จะเกิดขึ้นทุกปีหรือไม่ คงไม่ใช่สูตรสำเร็จให้เราท่องจำเพื่อคำนวณหรอกครับ
คือว่าลงทุนเงินไปเท่าไรได้ผลตอบแทนยังไง มีค่าใช้จ่ายระหว่างนั้นเท่าไร มีค่าลงทุนเพิ่มเติมเท่าไร
ซึ่งก็คือต้องซื้อเครื่องจักรในระหว่างที่เราลงทุนอีกไหม จ่ายหนี้เงินกู้ยังไงและเมื่อไร
ถ้าเป็นอย้างนั้นเราต้องทำนายวิธีการบริหารเงินของผู้บริหารด้วยหรือเปล่าครับ หรือว่าพี่ใช้ความรู้จากที่เรียนมาบวกกับประสบการณ์ในการทำงานแบงค์มา หรือควรเน้นไปที่การเข้าใจธุรกิจ และการใช้เงินของเค้า
ไม่ทราบว่าตอนนี้พี่เน้นอย่างไหนมากกว่ากันครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเฮีย chatchai ครับ
โพสต์ที่ 9
ความรู้และประสบการณ์ในการทำสินเชื่อทำให้สามารถเข้าธรรมชาติของแต่ละธุรกิจมากขึ้น ง่ายขึ้น
การบริหารเงินของผู้บริหารนั้นถ้าบริหารตามหลักการที่ดี เราก็พอจะคาดการณ์ได้ ยิ่งถ้าได้บริษัทที่มีงบการเงินและธุรกิจที่ไม่ซับซ้อนก็ยิ่งดี และการศึกษางบการเงินย้อนหลัง เราก็พอจะทราบถึงแนวทางการบริหารครับ
การบริหารเงินของผู้บริหารนั้นถ้าบริหารตามหลักการที่ดี เราก็พอจะคาดการณ์ได้ ยิ่งถ้าได้บริษัทที่มีงบการเงินและธุรกิจที่ไม่ซับซ้อนก็ยิ่งดี และการศึกษางบการเงินย้อนหลัง เราก็พอจะทราบถึงแนวทางการบริหารครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
- tenkafubu
- Verified User
- โพสต์: 224
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเฮีย chatchai ครับ
โพสต์ที่ 10
ถมเฮีย ต่อครับ ...ในส่วนงบกระแสเงินสดเพิ่มเติม..
ที่ระบุ การจ่ายออกไประหว่างปี เช่น
จ่ายภาษีเงินได้ระหว่างปี XXXX นั้น หมายความว่าอย่างไรครับ..
ต้องไปหักลบออกจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงานไหมครับ??
ที่ระบุ การจ่ายออกไประหว่างปี เช่น
จ่ายภาษีเงินได้ระหว่างปี XXXX นั้น หมายความว่าอย่างไรครับ..
ต้องไปหักลบออกจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงานไหมครับ??
3M Only...
Market Cap.
Market Cap.
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเฮีย chatchai ครับ
โพสต์ที่ 11
จริงๆแล้ว งบกระแสเงินสดของบางบริษัทก็ยังไม่ได้ปรับรายการที่ไม่ใช่รายการเงินสดครับ คือ ดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้
รายการดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ในงบกำไรขาดทุนนั้นคิดตามระยะเวลาในรอบปี แต่เวลาจ่ายเงินสดออกไปจริงนั้น อาจจะข้ามงวด ดังเช่น ภาษีเงินได้ในปี 2547 แน่นอนว่าต้องรอปิดงบก่อนจึงจะทราบ ซึ่งก็ข้ามปีไปแล้วจึงจะจ่ายเงินสดออกไปจริง
งบกระแสเงินสดบางบริษัทจึงมีการปรับรายการทั้งสองในงบด้วย คือบวกดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ในงบกำไรขาดทุนกลับเข้าไปก่อน แล้วจึงหักจำนวนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ที่จ่ายเป็นเงินสดจริงในงวดนั้นอีกครั้งครับ
รายการดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ในงบกำไรขาดทุนนั้นคิดตามระยะเวลาในรอบปี แต่เวลาจ่ายเงินสดออกไปจริงนั้น อาจจะข้ามงวด ดังเช่น ภาษีเงินได้ในปี 2547 แน่นอนว่าต้องรอปิดงบก่อนจึงจะทราบ ซึ่งก็ข้ามปีไปแล้วจึงจะจ่ายเงินสดออกไปจริง
งบกระแสเงินสดบางบริษัทจึงมีการปรับรายการทั้งสองในงบด้วย คือบวกดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ในงบกำไรขาดทุนกลับเข้าไปก่อน แล้วจึงหักจำนวนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ที่จ่ายเป็นเงินสดจริงในงวดนั้นอีกครั้งครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี