ช่วยอธิบายเรื่อง "การรับผิดของผู้ถือหุ้น" หน่อยครั
-
- Verified User
- โพสต์: 5
- ผู้ติดตาม: 0
ช่วยอธิบายเรื่อง "การรับผิดของผู้ถือหุ้น" หน่อยครั
โพสต์ที่ 1
ผมลงเรียนวิชาเลือก บริหารธุรกิจครับ
สอบมิดเทอมพรุ่งนี้แล้วครับช่วยด้วย
บริษัทจำกัด
"........ผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งไม่ครบมูลค่าหุ้นของที่ตนถือ......."
มันมีการชำระไม่ครบด้วยเหรอครับ?
แล้ว ถ้าทุกคนชำระเงินครบแล้ว
ขายบริษัทก็แล้ว เงินยังไม่พอ
จะเอาเงินที่ไหนไปใช้เจ้าหนี้ครับ
บริษัทมหาชน
".....โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ ........."
แปลว่าอะไรหว่า ที่ต้องชำระ ฟังดูเหมือนยังไม่ได้ชำระ?
ขอบคุณครับ
สอบมิดเทอมพรุ่งนี้แล้วครับช่วยด้วย
บริษัทจำกัด
"........ผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งไม่ครบมูลค่าหุ้นของที่ตนถือ......."
มันมีการชำระไม่ครบด้วยเหรอครับ?
แล้ว ถ้าทุกคนชำระเงินครบแล้ว
ขายบริษัทก็แล้ว เงินยังไม่พอ
จะเอาเงินที่ไหนไปใช้เจ้าหนี้ครับ
บริษัทมหาชน
".....โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ ........."
แปลว่าอะไรหว่า ที่ต้องชำระ ฟังดูเหมือนยังไม่ได้ชำระ?
ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 674
- ผู้ติดตาม: 0
ช่วยอธิบายเรื่อง "การรับผิดของผู้ถือหุ้น" หน่อยครั
โพสต์ที่ 2
มีบางกรณีครับที่ผู้ถือหุ้นยังชำระเงินค่าหุ้นไม่ครบ
เช่น บริษัทออกหุ้นให้นาย ก 1,000 หุ้น Par 1,000
แต่นายก็จ่ายเงินให้บริษัทแค่ 500,000 บาท
ยังขาดอีก 500,000 บาท
ถ้าบริษัทล้มละลายไป เจ้าหนี้สามารถมาฟ้องเอาจากนาย ก ได้อีก
ไม่เกิน 500,000 บาทครับ
สำหรับบริษัทในตลาดหุ้นไม่น่าจะมีบริษัทประเภทนี้ครับ
แต่ถ้านาย ก จ่ายเงินไปครบล้านแล้ว นาย ก ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรอีกแล้ว
เว้นแต่จะไปเซ็นค้ำประกันส่วนตัวให้บริษัท
เช่น บริษัทออกหุ้นให้นาย ก 1,000 หุ้น Par 1,000
แต่นายก็จ่ายเงินให้บริษัทแค่ 500,000 บาท
ยังขาดอีก 500,000 บาท
ถ้าบริษัทล้มละลายไป เจ้าหนี้สามารถมาฟ้องเอาจากนาย ก ได้อีก
ไม่เกิน 500,000 บาทครับ
สำหรับบริษัทในตลาดหุ้นไม่น่าจะมีบริษัทประเภทนี้ครับ
แต่ถ้านาย ก จ่ายเงินไปครบล้านแล้ว นาย ก ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรอีกแล้ว
เว้นแต่จะไปเซ็นค้ำประกันส่วนตัวให้บริษัท
-
- Verified User
- โพสต์: 5
- ผู้ติดตาม: 0
ช่วยอธิบายเรื่อง "การรับผิดของผู้ถือหุ้น" หน่อยครั
โพสต์ที่ 3
มันเกี่ยวกับข้อความนี้มั้ยครับ
..........คณะกรรมการจะดำเนินการเรียกหุ้น
บริษัทเอกชน จำกัด กฏหมายกำหนดให้การเรียกหุ้นครั้งแรกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 25
ส่วนบริษัทมหาชน จำกัด ต้องชำระครั้งเดียวครบ และให้ธนาคารเป็นผู้ดำเนินการ.....
หมายถึงว่า คุณ ก
มีหุ้นอยู่ 1 พันหุ้น พาร์ 1 พันบาท
คุณ ก ต้องออกเงินต่ำสุด 250,000 บาท ใช่ไหมครับ
แล้วถ้า บ.ล้มไป คุณ ก. ต้องรับผิดชอบอีกไม่เกิน 750,000
ทีนี้ในกรณีบริษัทในตลาดหุ้นบางบริษัท
มันก็มีกรณีที่ว่า ยังจ่ายเงินค่าเพิ่มทุนไม่ครบ
เช่นการออก Warrant แล้วยังมีบางส่วนไม่ได้รับการแปลง
ไม่ใช่หรือครับ? มันก็ขัดแย้งกับข้อความที่ผมยกมานะสิ?
ขอถามเพิ่มอีกครับ
ในกรณีที่บริษัท ที่คุณ ก. ถือหุ้นอยู่ เป็น บมจ.
คุณ ก ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรแล้วใช่มั้ยครับ?
..........คณะกรรมการจะดำเนินการเรียกหุ้น
บริษัทเอกชน จำกัด กฏหมายกำหนดให้การเรียกหุ้นครั้งแรกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 25
ส่วนบริษัทมหาชน จำกัด ต้องชำระครั้งเดียวครบ และให้ธนาคารเป็นผู้ดำเนินการ.....
หมายถึงว่า คุณ ก
มีหุ้นอยู่ 1 พันหุ้น พาร์ 1 พันบาท
คุณ ก ต้องออกเงินต่ำสุด 250,000 บาท ใช่ไหมครับ
แล้วถ้า บ.ล้มไป คุณ ก. ต้องรับผิดชอบอีกไม่เกิน 750,000
ทีนี้ในกรณีบริษัทในตลาดหุ้นบางบริษัท
มันก็มีกรณีที่ว่า ยังจ่ายเงินค่าเพิ่มทุนไม่ครบ
เช่นการออก Warrant แล้วยังมีบางส่วนไม่ได้รับการแปลง
ไม่ใช่หรือครับ? มันก็ขัดแย้งกับข้อความที่ผมยกมานะสิ?
ขอถามเพิ่มอีกครับ
ในกรณีที่บริษัท ที่คุณ ก. ถือหุ้นอยู่ เป็น บมจ.
คุณ ก ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรแล้วใช่มั้ยครับ?
-
- Verified User
- โพสต์: 674
- ผู้ติดตาม: 0
ช่วยอธิบายเรื่อง "การรับผิดของผู้ถือหุ้น" หน่อยครั
โพสต์ที่ 4
เพิ่มทุนจดทะเบียนไม่จำเป็นต้องออกหุ้นครับ
บริษัทอาจจะมีทุนจดทะเบียน 500 ล้านแต่ออกหุ้นมาแค่ 300 ล้าน
อีก 200 ล้านรองรับการแปลงสภาพของ warrant
ส่วน 200 ล้านนั้นไม่เกี่ยวเพราะยังไม่ใช่หุ้น
ถ้าส่วน 300 ล้านนั้นชำระหมดแล้วก็จบไม่ต้องรับผิดชอบแล้ว
แต่ถ้ายังไม่ชำระก็ต้องชำระตามนั้น
ซึ่งผมยังไม่เคยเห็น บมจ. ทีไหนออกหุ้นให้ใครก่อน แล้วเก็บเงินทีหลัง
(แต่อาจจะมีก็ได้)
บริษัทอาจจะมีทุนจดทะเบียน 500 ล้านแต่ออกหุ้นมาแค่ 300 ล้าน
อีก 200 ล้านรองรับการแปลงสภาพของ warrant
ส่วน 200 ล้านนั้นไม่เกี่ยวเพราะยังไม่ใช่หุ้น
ถ้าส่วน 300 ล้านนั้นชำระหมดแล้วก็จบไม่ต้องรับผิดชอบแล้ว
แต่ถ้ายังไม่ชำระก็ต้องชำระตามนั้น
ซึ่งผมยังไม่เคยเห็น บมจ. ทีไหนออกหุ้นให้ใครก่อน แล้วเก็บเงินทีหลัง
(แต่อาจจะมีก็ได้)
- nana
- Verified User
- โพสต์: 209
- ผู้ติดตาม: 0
ช่วยอธิบายเรื่อง "การรับผิดของผู้ถือหุ้น" หน่อยครั
โพสต์ที่ 5
ลองแยกว่า บริษัทนั้นเป็น บจก. หรือ บมจ. และ บมจ.นั้น มีทั้งที่จดทะเบียนในตลาดคือมีหุ้นซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ และไม่จดทะเบียนในตลาด
ประเด็นคือ ต้องดูว่า หุ้นนั้นต้องมีการชำระค่าหุ้นกันหรือไม่ (เช่น เราได้หุ้นปันผลก็ไม่ต้องชำระค่าหุ้น) ถ้าหากผู้ถือหุ้นต้ีองชำระค่าหุ้น
กรณี บจก.ต้องชำระขั้นต่ำ 25 % ของราคา par
ส่วนที่ยังชำระไม่ครบก็ยังต้องรับผิด
แต่กรณี บมจ.จะต้องชำระเต็มมูลค่า คราวนี้ถ้าบริษัทนั้นเป็น บริษัทจดทะเบียนด้วย
ก็ต้องดู กฎของตลาดหลักทรัพย์ คร่าวๆคือ หุ้นที่ ตลาดจะรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน คือมาซื้อขายกันในตลาด ต้องชำระเต็มมูลค่าหุ้นแล้วเช่นกัน
ถ้าเราไปซื้อหุ้นในตลาดเราก็สบายใจได้ว่าเราไม่ต้องรับผิดหนี้ค่าหุ้นอีก
คราวนี้ถามถึง warrant ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ประเภทหนึ่งเหมือนกัน ตาม พรบ.หลักทรัพย์ แต่มันไม่ใช่หุ้น มันเป็นแค่ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (เมื่อเป็นสิทธิ จะใช้ก็ได้ไม่ใช้ก็ได)้ หากอยากทราบรายละเอียด w คงต้องลองค้นดูกฎของ กลต. กับ ตลาด เอาว่าเค้ามีเกณฑ์อะไรในการเสนอขาย หรือแจก (เค้าคงไม่ออกลึกขนาดนี้มั้ง)

ประเด็นคือ ต้องดูว่า หุ้นนั้นต้องมีการชำระค่าหุ้นกันหรือไม่ (เช่น เราได้หุ้นปันผลก็ไม่ต้องชำระค่าหุ้น) ถ้าหากผู้ถือหุ้นต้ีองชำระค่าหุ้น
กรณี บจก.ต้องชำระขั้นต่ำ 25 % ของราคา par
ส่วนที่ยังชำระไม่ครบก็ยังต้องรับผิด
แต่กรณี บมจ.จะต้องชำระเต็มมูลค่า คราวนี้ถ้าบริษัทนั้นเป็น บริษัทจดทะเบียนด้วย
ก็ต้องดู กฎของตลาดหลักทรัพย์ คร่าวๆคือ หุ้นที่ ตลาดจะรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน คือมาซื้อขายกันในตลาด ต้องชำระเต็มมูลค่าหุ้นแล้วเช่นกัน
ถ้าเราไปซื้อหุ้นในตลาดเราก็สบายใจได้ว่าเราไม่ต้องรับผิดหนี้ค่าหุ้นอีก
คราวนี้ถามถึง warrant ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ประเภทหนึ่งเหมือนกัน ตาม พรบ.หลักทรัพย์ แต่มันไม่ใช่หุ้น มันเป็นแค่ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (เมื่อเป็นสิทธิ จะใช้ก็ได้ไม่ใช้ก็ได)้ หากอยากทราบรายละเอียด w คงต้องลองค้นดูกฎของ กลต. กับ ตลาด เอาว่าเค้ามีเกณฑ์อะไรในการเสนอขาย หรือแจก (เค้าคงไม่ออกลึกขนาดนี้มั้ง)

-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
ช่วยอธิบายเรื่อง "การรับผิดของผู้ถือหุ้น" หน่อยครั
โพสต์ที่ 6
การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน ปรกติก็จะมีการใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน เช่น ที่ดิน อาคารและสิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร สินค้า หรือสิทธิต่างๆเช่น สิทธิการเช่า สิทธิในการเรียกเก็บเงิน ซึ่งโดยทั่วไปก็มักจะมีมูลค่ามากกว่าวงเงินกู้ครับ
แต่นอกจากนั้นสถาบันการเงินก็มักจะให้เจ้าของกิจการค้ำประกันส่วนตัวด้วยครับ
ถ้าเกิดกิจการไม่มีเงินไปชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้น สถาบันการเงินก็จะยึดทรัพย์ที่ค้ำประกันก่อน ถ้าขายแล้วยังไม่พอชำระหนี้ ก็จะฟ้องร้องส่วนที่ขาดจากผู้ที่ค้ำประกันอีกครับ
ถ้าผู้ค้ำประกันไม่มีชำระ ก็จะถูกฟ้องล้มละลายครับ
แต่ถ้าไม่มีการค้ำประกันส่วนตัว สถาบันการเงินก็ฟ้องร้องอะไรไม่ได้ครับ
แต่นอกจากนั้นสถาบันการเงินก็มักจะให้เจ้าของกิจการค้ำประกันส่วนตัวด้วยครับ
ถ้าเกิดกิจการไม่มีเงินไปชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้น สถาบันการเงินก็จะยึดทรัพย์ที่ค้ำประกันก่อน ถ้าขายแล้วยังไม่พอชำระหนี้ ก็จะฟ้องร้องส่วนที่ขาดจากผู้ที่ค้ำประกันอีกครับ
ถ้าผู้ค้ำประกันไม่มีชำระ ก็จะถูกฟ้องล้มละลายครับ
แต่ถ้าไม่มีการค้ำประกันส่วนตัว สถาบันการเงินก็ฟ้องร้องอะไรไม่ได้ครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี