รบกวนช่วยให้ความเห็น CPL + ข่าวรัฐบาลตั้งโรงฟอกหนัง
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
รบกวนช่วยให้ความเห็น CPL + ข่าวรัฐบาลตั้งโรงฟอกหนัง
โพสต์ที่ 2
ขอรายละเอียดข่าวนี้ได้ไหมครับ เอามาจากไหนครับ แต่ผมว่ากลับเป็นข่าวดี เพราะปัจจุบันโรงงานฟอกหนังทั่วประเทศมีอยู่แค่ 175 โรง เป็นโรงงานใหญ่แค่ 13 โรงเท่านั้น ในขณะลูกค้าภายในประเทศคือโรงงานทำกระเป๋ากับโรงงานทำรองเท้ามีอยู่กว่า 4000 โรง ซึ่งการที่ผมคิดว่าเป็นข่าวดีเพราะมันทำให้เกิดการผลักดันยอดการผลิตและการส่งออก และทำให้เกิดการพัฒนาขึ้น และการที่รัฐบาลอย่างท่านแม้วจะจัดตั้งย่อมหมายความว่าแกเห็นโอกาสทางธุรกิจในสายนี้ แต่อย่างไรก็ดีผมขอทราบแหล่งข้อมูลได้ไหมครับจะได้ศึกษา
-
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รบกวนช่วยให้ความเห็น CPL + ข่าวรัฐบาลตั้งโรงฟอกหนัง
โพสต์ที่ 3
จากกรุงเทพธุรกิจ 22/7/46
สศช.โอดถูกการเมืองบีบ อนุมัติโรงฟอกหนัง600ล้าน
เล็งจ้างมืออาชีพ บริหารงบกรุงเทพเมืองแฟชั่น
สศช.โอดถูกการเมืองบีบ อนุมัติโครงการก่อสร้างโรงงานฟอกหนัง มูลค่า 600 ล้านบาท ทั้งที่โครงการมีความเป็นไปได้น้อย คาด ครม.พิจารณาวันนี้ ขณะที่ "สมศักดิ์" เสนอทางออกให้รัฐร่วมลงทุนกับเอกชน
ด้าน "สุวิทย์" แจง เอกชน-สศช.มีส่วนร่วมทำแผนโครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น ย้ำเน้นให้น้ำหนักพัฒนาคน
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ในการประชุมเพื่อคัดเลือกโครงการที่จะใช้งบเพิ่มขีดการแข่งขัน 1.6 หมื่นล้านบาท เมื่อเร็วๆ นี้ ปรากฏว่า ได้มีความพยายามจากฝ่ายการเมืองที่จะให้นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการ สศช.อนุมัติโครงการโรงฟอกหนังแต่งสำเร็จ มูลค่า 600 ล้านบาท ของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งจะขอใช้เงินจากงบโครงการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 1.6 หมื่นล้านบาท โดยคาดว่า ครม.จะมีการพิจารณาวันนี้ (22 ก.ค.)
ทั้งๆ ที่จากการวิเคราะห์โครงการของ สศช.ระบุว่า โครงการดังกล่าวควรจะมีการปรับปรุงข้อเสนอของกระทรวงอุตสาหกรรม และมีความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการให้ประสบความสำเร็จน้อยมาก เนื่องจากเป็นโครงการลงทุนที่รัฐเข้ามาแข่งขันกับเอกชน โดยให้องค์การฟอกหนังที่กระทรวงอุตสาหกรรมรับโอนมาจากกระทรวงกลาโหม เป็นผู้บริหาร ซึ่งเชื่อว่าจะไม่สามารถแข่งขันกับเอกชนได้
แหล่งข่าวระบุว่า ก่อนหน้านี้ มีความพยายามจากฝ่ายการเมืองเร่งรัดให้ สศช.ผ่านโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น ที่กระทรวงอุตสาหกรรม เสนอมาทั้งสิ้น 9 โครงการ วงเงิน 1.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่ สศช.วิเคราะห์ว่า เป็นโครงการที่ไม่สมบูรณ์แบบ และต้องปรับปรุงแผนการใช้เงินทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่นที่เสนอขอใช้วงเงินกว่า 3,000 ล้านบาท และต่อมาถูกตัดลดลงเหลือ 1,800 ล้านบาท เช่นเดียวกับแผนงานเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ ที่กระทรวงอุตสาหกรรมพยายามผลักดันเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี แต่ก็ถูกตีกลับให้ตั้งคณะทำงานขึ้นมา เพื่อปรับลดวงเงินที่เสนอขอมาทั้งสิ้น 3.6 พันล้านบาท
"ฝ่ายการเมืองมีการทวงถามเลขาธิการ สศช.กลางที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยอ้างว่า โครงการที่เสนอให้ สศช.พิจารณาจำนวนมาก เหตุใด สศช.จึงพิจารณาไม่เสร็จ และหลังจากนั้น ได้มีความพยายามในการเร่งรัดผ่านฝ่ายการเมืองอีกหลายครั้ง เพื่อให้ สศช.ผ่านโครงการทั้งหมด" แหล่งข่าวระบุ
"สมศักดิ์"แนะรัฐร่วมทุนเอกชนผุดโรงฟอกหนัง
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า โครงการก่อสร้างโรงงานฟอกหนัง (ฟินิชชิ่ง) ดังกล่าวถูกคณะรัฐมนตรีตีกลับมาหลายครั้งแล้ว และได้มอบให้กระทรวงอุตสาหกรรม กลับไปทบทวนโครงการดังกล่าวมูลค่ารวม 600 ล้านบาทใหม่ เนื่องจากรัฐบาลไม่ต้องการลงทุนเองทั้ง 100% แต่ควรจะให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้เสนอแนวทางใหม่ โดยให้ตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ซึ่งได้เสนอเรื่องกลับไปให้ ครม.พิจารณาความเหมาะสมของสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าว ส่วนจะได้รับการพิจารณาอนุมัติเมื่อไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับสำนักเลขาธิการ ครม.จะบรรจุเข้าวาระพิจารณาของ ครม.เมื่อใด
สุวิทย์ยันเอกชนมีส่วนร่วมกรุงเทพเมืองแฟชั่น
ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ประสานงานและคณะทำงานโครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น ยืนยันว่า โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือของหน่วยงานราชการและภาคเอกชนทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง และจัดทำขึ้นในลักษณะบูรณาการ ไม่ได้เป็นเพียงโครงการของกระทรวงอุตสาหกรรม รวมถึงคณะทำงานจาก สศช.ก็มีส่วนผลักดันและร่างโครงการ
"หลักการที่เราตกลงมาตั้งแต่ต้น คือ ผมถามทุกคนว่า เราพร้อมมั้ยที่จะเป็นศูนย์กลางแฟชั่น ทุกคนบอกว่า พร้อม เพราะเรามีทรัพยากรทุกอย่าง สิ่งที่เราต้องทำมีอะไรบ้าง เราก็วางเป็นแผนออกมา เพราะฉะนั้นทุกฝ่ายเองต้องช่วยกัน
ดร.สุวิทย์ กล่าวอีกว่า การทำงานแบบบูรณาการภายใต้โครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น คือ การรวมของภาคเอกชน 3 ส่วน ได้แก่ สมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม สมาคมเครื่องหนังและสมาคมอัญมณี ซึ่งเมื่อได้รับอนุมัติงบประมาณแล้ว ผู้ประสานงานโครงการจะจัดหามืออาชีพเข้ามาดูแลด้านการบริหารจัดการโครงการ ขณะที่กระทรวงต่างๆ จะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน คอยดูแลโครงการในกิจกรรมที่ต้องขึ้นตรงกับกระทรวงนั้นๆ
เตรียมจ้างมืออาชีพบริหารงบ 1,800 ล้าน
สำหรับการจ้างมืออาชีพเข้ามาผู้ดูแลโครงการ ว่า เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมีผู้อำนวยการโครงการที่มีความชำนาญในการจัดสรรงบประมาณ รวมถึงกำหนดกิจกรรมที่จะทำต่อเนื่องในระยะเวลา 18 เดือน เพราะการบริหารงบประมาณ 1,800 ล้านบาท ภายใน 18 เดือน ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยผู้บริหารโครงการที่มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ในการดำเนินงาน
"หากมีเวลาเหลือ 18 เดือน กับงบ 1,800 ล้านบาท ก็เท่ากับว่า แต่ละเดือนจะต้องบริหารเงินกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งเป็นเรื่องไม่ง่ายนัก จึงจำเป็นต้องจ้าง Project Director ที่เป็นเอกชนเข้ามาช่วยบริหารโครงการ พร้อมทั้งวางโครงสร้างการทำงานตามงบที่ได้รับ เพื่อให้การใช้งบเป็นไปอย่างมีประสิทธิผลสูงที่สุด ดร.สุวิทย์ กล่าว
แนะเอกชนใช้ประโยชน์จากโครงการ
ดร.สุวิทย์ ยังกล่าวว่า สิ่งที่ต้องเร่งสร้างให้เกิด คือ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพไปสู่เจ้าของกิจการ หรือแบรนด์ต่างๆ เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้ามาใช้ประโยชน์จากโครงการนี้ให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการส่งบุคลากรเข้ามาพัฒนาฝีมือในโรงเรียนฝึกด้านแฟชั่น หรือการเปิดตัวสินค้าสู่ตลาดต่างประเทศ
การจัดสรรทรัพยากร และบริหารทรัพยากร จะต้องมี fairness คือ ทุกฝ่ายในอุตสาหกรรมต้องมีส่วนร่วม หรือได้รับผลจากโครงการนี้ด้วย ไม่ใช่แค่ผู้ประกอบการ 3-4 รายเท่านั้นที่จะได้แจ้งเกิด"
นอกจากนี้ เอกชนเองควรสนใจและติดตามข่าว เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการซึ่งในระยะยาวแล้วอุตสาหกรรมแฟชั่นของประเทศจะกลายเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ทำรายได้ให้กับประเทศไม่แพ้เรื่องครัวของโลก
ผมคิดว่าวันนี้เรามาดูเรื่องของกิจกรรมที่จะเข้ามาส่งเสริมกับโครงการนี้ก่อนว่าเราจะทำอะไรบ้าง เราจะมีการพัฒนาบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อมอย่างไร แล้วจึงหันมาดูขั้นตอนที่ 2 คือ เรื่องของการสร้าง country image ซึ่งประเด็นนี้รัฐไม่ได้ตั้งเป้าไว้เป็นนโยบายการทำงานหลักในช่วงแรก เพราะถ้าหากคนยังไม่พร้อมจะไปสร้างภาพให้ชาวโลกเขาเห็นก็คงไม่ได้ ดร.สุวิทย์ กล่าว
ยืนยันทุ่มน้ำหนักพัฒนาคน
ดร.สุวิทย์ ยังยืนยันว่า โครงการต่างๆ เป็นเรื่องที่แต่ละฝ่ายจะตีความว่าเข้าข่ายเป็นงบประมาณด้านใด เพราะบางโครงการเป็นเรื่องที่คาบเกี่ยวกันระหว่างการตลาดกับการพัฒนาบุคลากร หรือการสร้างธุรกิจ และยืนยันว่า คณะทำงานไม่ได้กำหนดกรอบของการใช้งบประมาณ 900 ล้านบาท เพื่อการประชาสัมพันธ์และการตลาดเพียงอย่างเดียว
ถ้าตีความกันว่าโครงการยกระดับศักยภาพมันเป็นการตลาดอย่างหนึ่ง พอรวมๆ หลายกิจกรรมเข้าไปแล้ว 900 ล้านบาท ก็คงได้ แต่คณะทำงานเราจะทุ่มน้ำหนักไปที่การพัฒนาคน จัดตั้งศูนย์เทรนนิ่งมากกว่าเหมือนที่เอกชนตั้งข้อสังเกตไว้ว่าทำไมเราไม่ไปตรงนั้น จริงๆ แล้ว เราสนใจเรื่องคนเป็นอันดับแรก เพราะต้องมีความพร้อม ถ้าไม่พร้อมจะผลิตสินค้าอะไรออกไป" ดร.สุวิทย์ ระบุ
ทั้งนี้ ทางคณะทำงานโครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น จะให้น้ำหนักอยู่ 2 ประเด็น ได้แก่ การสร้างบุคลากรที่มีความคิดสร้างสรรค์ เพราะอุตสาหกรรมแฟชั่นเป็นอุตสาหกรรมที่เน้นขายความคิดเป็นหลัก ส่วนอีกประการหนึ่ง คือ การเน้นให้เกิดอุตสาหกรรมแฟชั่นที่มีนวัตกรรมในทุกด้าน ทั้งการผลิต การออกแบบ และการจัดการ
เช่น การ engineering คือ การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์ที่มีผลต่อแฟชั่น นอกจากนี้ ก็มีเรื่องการสร้างดีไซน์ที่เป็นของตัวเอง และการวางระบบการบริหารจัดการให้ดี นี่คือ หัวใจในการทำงานของกรุงเทพเมืองแฟชั่น เขากล่าว
เอกชนยอมรับงบโปรโมทสร้างตลาด
ด้าน นายคำภีร์ จองธุรกิจ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้า สอท.กล่าวเห็นด้วยกับการตั้งงบประมาณกรุงเทพเมืองแฟชั่น โดยเน้นการประชาสัมพันธ์ เพราะจะช่วยสร้างตลาดให้กับธุรกิจขึ้นมาได้ ทั้งในเรื่องที่จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการซื้อสินค้าแฟชั่นในประเทศไทย รวมทั้งยังจะช่วยโปรโมทศูนย์การค้าแฟชั่นเดิม เช่น โบ๊เบ๊ ใบหยก ให้กลับมาได้รับความนิยม ซึ่งจะทำให้สินค้าแฟชั่นต่างๆ ทั้งในระดับบน และในระดับล่าง กลับมาคึกคักได้อีกครั้ง ส่งผลให้เม็ดเงินไหลเข้าประเทศได้อย่างรวดเร็ว
ในส่วนการสร้างธุรกิจนั้น ควรเน้นการวิจัยและพัฒนาสินค้าของไทย ซึ่งขณะนี้ทางสมาคมธุรกิจฟอกหนัง ได้ดำเนินการเพื่อที่จะของบประมาณตั้งศูนย์วิจัย จำนวน 600 ล้านบาท ในการพัฒนาอุตสาหกรรมต้นน้ำ ซึ่งเป็นคนละส่วนกับงบประมาณ 1.8 พันล้านบาทของกรุงเทพเมืองแฟชั่น
สศช.โอดถูกการเมืองบีบ อนุมัติโรงฟอกหนัง600ล้าน
เล็งจ้างมืออาชีพ บริหารงบกรุงเทพเมืองแฟชั่น
สศช.โอดถูกการเมืองบีบ อนุมัติโครงการก่อสร้างโรงงานฟอกหนัง มูลค่า 600 ล้านบาท ทั้งที่โครงการมีความเป็นไปได้น้อย คาด ครม.พิจารณาวันนี้ ขณะที่ "สมศักดิ์" เสนอทางออกให้รัฐร่วมลงทุนกับเอกชน
ด้าน "สุวิทย์" แจง เอกชน-สศช.มีส่วนร่วมทำแผนโครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น ย้ำเน้นให้น้ำหนักพัฒนาคน
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ในการประชุมเพื่อคัดเลือกโครงการที่จะใช้งบเพิ่มขีดการแข่งขัน 1.6 หมื่นล้านบาท เมื่อเร็วๆ นี้ ปรากฏว่า ได้มีความพยายามจากฝ่ายการเมืองที่จะให้นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการ สศช.อนุมัติโครงการโรงฟอกหนังแต่งสำเร็จ มูลค่า 600 ล้านบาท ของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งจะขอใช้เงินจากงบโครงการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 1.6 หมื่นล้านบาท โดยคาดว่า ครม.จะมีการพิจารณาวันนี้ (22 ก.ค.)
ทั้งๆ ที่จากการวิเคราะห์โครงการของ สศช.ระบุว่า โครงการดังกล่าวควรจะมีการปรับปรุงข้อเสนอของกระทรวงอุตสาหกรรม และมีความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการให้ประสบความสำเร็จน้อยมาก เนื่องจากเป็นโครงการลงทุนที่รัฐเข้ามาแข่งขันกับเอกชน โดยให้องค์การฟอกหนังที่กระทรวงอุตสาหกรรมรับโอนมาจากกระทรวงกลาโหม เป็นผู้บริหาร ซึ่งเชื่อว่าจะไม่สามารถแข่งขันกับเอกชนได้
แหล่งข่าวระบุว่า ก่อนหน้านี้ มีความพยายามจากฝ่ายการเมืองเร่งรัดให้ สศช.ผ่านโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น ที่กระทรวงอุตสาหกรรม เสนอมาทั้งสิ้น 9 โครงการ วงเงิน 1.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่ สศช.วิเคราะห์ว่า เป็นโครงการที่ไม่สมบูรณ์แบบ และต้องปรับปรุงแผนการใช้เงินทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่นที่เสนอขอใช้วงเงินกว่า 3,000 ล้านบาท และต่อมาถูกตัดลดลงเหลือ 1,800 ล้านบาท เช่นเดียวกับแผนงานเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ ที่กระทรวงอุตสาหกรรมพยายามผลักดันเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี แต่ก็ถูกตีกลับให้ตั้งคณะทำงานขึ้นมา เพื่อปรับลดวงเงินที่เสนอขอมาทั้งสิ้น 3.6 พันล้านบาท
"ฝ่ายการเมืองมีการทวงถามเลขาธิการ สศช.กลางที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยอ้างว่า โครงการที่เสนอให้ สศช.พิจารณาจำนวนมาก เหตุใด สศช.จึงพิจารณาไม่เสร็จ และหลังจากนั้น ได้มีความพยายามในการเร่งรัดผ่านฝ่ายการเมืองอีกหลายครั้ง เพื่อให้ สศช.ผ่านโครงการทั้งหมด" แหล่งข่าวระบุ
"สมศักดิ์"แนะรัฐร่วมทุนเอกชนผุดโรงฟอกหนัง
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า โครงการก่อสร้างโรงงานฟอกหนัง (ฟินิชชิ่ง) ดังกล่าวถูกคณะรัฐมนตรีตีกลับมาหลายครั้งแล้ว และได้มอบให้กระทรวงอุตสาหกรรม กลับไปทบทวนโครงการดังกล่าวมูลค่ารวม 600 ล้านบาทใหม่ เนื่องจากรัฐบาลไม่ต้องการลงทุนเองทั้ง 100% แต่ควรจะให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้เสนอแนวทางใหม่ โดยให้ตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ซึ่งได้เสนอเรื่องกลับไปให้ ครม.พิจารณาความเหมาะสมของสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าว ส่วนจะได้รับการพิจารณาอนุมัติเมื่อไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับสำนักเลขาธิการ ครม.จะบรรจุเข้าวาระพิจารณาของ ครม.เมื่อใด
สุวิทย์ยันเอกชนมีส่วนร่วมกรุงเทพเมืองแฟชั่น
ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ประสานงานและคณะทำงานโครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น ยืนยันว่า โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือของหน่วยงานราชการและภาคเอกชนทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง และจัดทำขึ้นในลักษณะบูรณาการ ไม่ได้เป็นเพียงโครงการของกระทรวงอุตสาหกรรม รวมถึงคณะทำงานจาก สศช.ก็มีส่วนผลักดันและร่างโครงการ
"หลักการที่เราตกลงมาตั้งแต่ต้น คือ ผมถามทุกคนว่า เราพร้อมมั้ยที่จะเป็นศูนย์กลางแฟชั่น ทุกคนบอกว่า พร้อม เพราะเรามีทรัพยากรทุกอย่าง สิ่งที่เราต้องทำมีอะไรบ้าง เราก็วางเป็นแผนออกมา เพราะฉะนั้นทุกฝ่ายเองต้องช่วยกัน
ดร.สุวิทย์ กล่าวอีกว่า การทำงานแบบบูรณาการภายใต้โครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น คือ การรวมของภาคเอกชน 3 ส่วน ได้แก่ สมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม สมาคมเครื่องหนังและสมาคมอัญมณี ซึ่งเมื่อได้รับอนุมัติงบประมาณแล้ว ผู้ประสานงานโครงการจะจัดหามืออาชีพเข้ามาดูแลด้านการบริหารจัดการโครงการ ขณะที่กระทรวงต่างๆ จะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน คอยดูแลโครงการในกิจกรรมที่ต้องขึ้นตรงกับกระทรวงนั้นๆ
เตรียมจ้างมืออาชีพบริหารงบ 1,800 ล้าน
สำหรับการจ้างมืออาชีพเข้ามาผู้ดูแลโครงการ ว่า เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมีผู้อำนวยการโครงการที่มีความชำนาญในการจัดสรรงบประมาณ รวมถึงกำหนดกิจกรรมที่จะทำต่อเนื่องในระยะเวลา 18 เดือน เพราะการบริหารงบประมาณ 1,800 ล้านบาท ภายใน 18 เดือน ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยผู้บริหารโครงการที่มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ในการดำเนินงาน
"หากมีเวลาเหลือ 18 เดือน กับงบ 1,800 ล้านบาท ก็เท่ากับว่า แต่ละเดือนจะต้องบริหารเงินกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งเป็นเรื่องไม่ง่ายนัก จึงจำเป็นต้องจ้าง Project Director ที่เป็นเอกชนเข้ามาช่วยบริหารโครงการ พร้อมทั้งวางโครงสร้างการทำงานตามงบที่ได้รับ เพื่อให้การใช้งบเป็นไปอย่างมีประสิทธิผลสูงที่สุด ดร.สุวิทย์ กล่าว
แนะเอกชนใช้ประโยชน์จากโครงการ
ดร.สุวิทย์ ยังกล่าวว่า สิ่งที่ต้องเร่งสร้างให้เกิด คือ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพไปสู่เจ้าของกิจการ หรือแบรนด์ต่างๆ เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้ามาใช้ประโยชน์จากโครงการนี้ให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการส่งบุคลากรเข้ามาพัฒนาฝีมือในโรงเรียนฝึกด้านแฟชั่น หรือการเปิดตัวสินค้าสู่ตลาดต่างประเทศ
การจัดสรรทรัพยากร และบริหารทรัพยากร จะต้องมี fairness คือ ทุกฝ่ายในอุตสาหกรรมต้องมีส่วนร่วม หรือได้รับผลจากโครงการนี้ด้วย ไม่ใช่แค่ผู้ประกอบการ 3-4 รายเท่านั้นที่จะได้แจ้งเกิด"
นอกจากนี้ เอกชนเองควรสนใจและติดตามข่าว เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการซึ่งในระยะยาวแล้วอุตสาหกรรมแฟชั่นของประเทศจะกลายเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ทำรายได้ให้กับประเทศไม่แพ้เรื่องครัวของโลก
ผมคิดว่าวันนี้เรามาดูเรื่องของกิจกรรมที่จะเข้ามาส่งเสริมกับโครงการนี้ก่อนว่าเราจะทำอะไรบ้าง เราจะมีการพัฒนาบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อมอย่างไร แล้วจึงหันมาดูขั้นตอนที่ 2 คือ เรื่องของการสร้าง country image ซึ่งประเด็นนี้รัฐไม่ได้ตั้งเป้าไว้เป็นนโยบายการทำงานหลักในช่วงแรก เพราะถ้าหากคนยังไม่พร้อมจะไปสร้างภาพให้ชาวโลกเขาเห็นก็คงไม่ได้ ดร.สุวิทย์ กล่าว
ยืนยันทุ่มน้ำหนักพัฒนาคน
ดร.สุวิทย์ ยังยืนยันว่า โครงการต่างๆ เป็นเรื่องที่แต่ละฝ่ายจะตีความว่าเข้าข่ายเป็นงบประมาณด้านใด เพราะบางโครงการเป็นเรื่องที่คาบเกี่ยวกันระหว่างการตลาดกับการพัฒนาบุคลากร หรือการสร้างธุรกิจ และยืนยันว่า คณะทำงานไม่ได้กำหนดกรอบของการใช้งบประมาณ 900 ล้านบาท เพื่อการประชาสัมพันธ์และการตลาดเพียงอย่างเดียว
ถ้าตีความกันว่าโครงการยกระดับศักยภาพมันเป็นการตลาดอย่างหนึ่ง พอรวมๆ หลายกิจกรรมเข้าไปแล้ว 900 ล้านบาท ก็คงได้ แต่คณะทำงานเราจะทุ่มน้ำหนักไปที่การพัฒนาคน จัดตั้งศูนย์เทรนนิ่งมากกว่าเหมือนที่เอกชนตั้งข้อสังเกตไว้ว่าทำไมเราไม่ไปตรงนั้น จริงๆ แล้ว เราสนใจเรื่องคนเป็นอันดับแรก เพราะต้องมีความพร้อม ถ้าไม่พร้อมจะผลิตสินค้าอะไรออกไป" ดร.สุวิทย์ ระบุ
ทั้งนี้ ทางคณะทำงานโครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น จะให้น้ำหนักอยู่ 2 ประเด็น ได้แก่ การสร้างบุคลากรที่มีความคิดสร้างสรรค์ เพราะอุตสาหกรรมแฟชั่นเป็นอุตสาหกรรมที่เน้นขายความคิดเป็นหลัก ส่วนอีกประการหนึ่ง คือ การเน้นให้เกิดอุตสาหกรรมแฟชั่นที่มีนวัตกรรมในทุกด้าน ทั้งการผลิต การออกแบบ และการจัดการ
เช่น การ engineering คือ การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์ที่มีผลต่อแฟชั่น นอกจากนี้ ก็มีเรื่องการสร้างดีไซน์ที่เป็นของตัวเอง และการวางระบบการบริหารจัดการให้ดี นี่คือ หัวใจในการทำงานของกรุงเทพเมืองแฟชั่น เขากล่าว
เอกชนยอมรับงบโปรโมทสร้างตลาด
ด้าน นายคำภีร์ จองธุรกิจ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้า สอท.กล่าวเห็นด้วยกับการตั้งงบประมาณกรุงเทพเมืองแฟชั่น โดยเน้นการประชาสัมพันธ์ เพราะจะช่วยสร้างตลาดให้กับธุรกิจขึ้นมาได้ ทั้งในเรื่องที่จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการซื้อสินค้าแฟชั่นในประเทศไทย รวมทั้งยังจะช่วยโปรโมทศูนย์การค้าแฟชั่นเดิม เช่น โบ๊เบ๊ ใบหยก ให้กลับมาได้รับความนิยม ซึ่งจะทำให้สินค้าแฟชั่นต่างๆ ทั้งในระดับบน และในระดับล่าง กลับมาคึกคักได้อีกครั้ง ส่งผลให้เม็ดเงินไหลเข้าประเทศได้อย่างรวดเร็ว
ในส่วนการสร้างธุรกิจนั้น ควรเน้นการวิจัยและพัฒนาสินค้าของไทย ซึ่งขณะนี้ทางสมาคมธุรกิจฟอกหนัง ได้ดำเนินการเพื่อที่จะของบประมาณตั้งศูนย์วิจัย จำนวน 600 ล้านบาท ในการพัฒนาอุตสาหกรรมต้นน้ำ ซึ่งเป็นคนละส่วนกับงบประมาณ 1.8 พันล้านบาทของกรุงเทพเมืองแฟชั่น
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
รบกวนช่วยให้ความเห็น CPL + ข่าวรัฐบาลตั้งโรงฟอกหนัง
โพสต์ที่ 4
ในความเห็น(ย้ำว่าส่วนตัว)ของผมนั้น หากเราไม่นับรวมเรื่องจุกจิกในส่วนของงบประมาณหรือขั้นตอนทางราชการแล้ว ผมกลับมองเห็นว่าทำให้อุตสาหกรรมนี้ดีขึ้น และจะส่งผลดีต่อCPLด้วยซ้ำ เนื่องจาก
1.แนวโน้มการเกิดน่าจะเป็นในลักษณะร่วมทุนกับเอกชน ซึ่งบริษัทเอกชนที่มีศักยภาพเพียงพอมีไม่มากนัก แต่CPLเป็นหนึ่งที่มีศักยภาพสูง
2.ต้นทุนในR&Dน่าจะลดลง เนื่องจากพิจารณาจากโครงสร้างโครงการแล้ว ลักษณะดูเหมือนจะเป็นการสนับสนุนการวิจัยเพื่อที่จะได้หนังฟอกที่มีคุณภาพสูงขึ้น ซึ่งหนังฟอกคุณภาพสูงในปัจจุบันยังนับว่าขาดตลาดและต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
3.หากต้องการที่จะเป็นเมืองแฟชั่น ยิ่งต้องเอาใจใส่ในอุตสาหกรรมต้นน้ำยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การสนับสนุนเรื่องปศุสัตว์อันเป็นวัตถุดิบหลักของหนังฟอกด้วย
นี่คือเหตุผลส่วนตัวที่ผมคืดว่าน่าจะเป็นผลดี แต่อาจเป็นไปได้ว่าผมอาจมองแง่ดีเกินไป ผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญานด้วยครับ
1.แนวโน้มการเกิดน่าจะเป็นในลักษณะร่วมทุนกับเอกชน ซึ่งบริษัทเอกชนที่มีศักยภาพเพียงพอมีไม่มากนัก แต่CPLเป็นหนึ่งที่มีศักยภาพสูง
2.ต้นทุนในR&Dน่าจะลดลง เนื่องจากพิจารณาจากโครงสร้างโครงการแล้ว ลักษณะดูเหมือนจะเป็นการสนับสนุนการวิจัยเพื่อที่จะได้หนังฟอกที่มีคุณภาพสูงขึ้น ซึ่งหนังฟอกคุณภาพสูงในปัจจุบันยังนับว่าขาดตลาดและต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
3.หากต้องการที่จะเป็นเมืองแฟชั่น ยิ่งต้องเอาใจใส่ในอุตสาหกรรมต้นน้ำยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การสนับสนุนเรื่องปศุสัตว์อันเป็นวัตถุดิบหลักของหนังฟอกด้วย
นี่คือเหตุผลส่วนตัวที่ผมคืดว่าน่าจะเป็นผลดี แต่อาจเป็นไปได้ว่าผมอาจมองแง่ดีเกินไป ผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญานด้วยครับ
- เอก
- Verified User
- โพสต์: 329
- ผู้ติดตาม: 0
รบกวนช่วยให้ความเห็น CPL + ข่าวรัฐบาลตั้งโรงฟอกหนัง
โพสต์ที่ 5
ขอบคุณที่ให้ความเห้นและขอโทษที่ไม่ได้ให้รายละเอียดคุณสุรพลเลยต้องให้แทน โดยความเห็นผมก็ว่าน่าจะเป็นผลดีมากกว่า แต่กังวลเรื่องคู่แข่งที่เป็นรัฐบาลที่จะได้เปรียบเอกชนในเรื่องของการรู้ข้อมูลหรือนโยบายครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 143
- ผู้ติดตาม: 0
รบกวนช่วยให้ความเห็น CPL + ข่าวรัฐบาลตั้งโรงฟอกหนัง
โพสต์ที่ 7
ตัวนี้ผมเคยซื้อตั้งแต่ปี 01 เพราะเห็นว่ากำไรดีน่าจะจ่ายปันผลเยอะ ตอนซื้อราคาแค่ 27 บาทเอง ปรากฏว่าจ่ายปันผลแค่ 2 บาท ก็เลยขายหมูไปได้กำไรนิดหน่อย ตอนหลังถึงรู้ว่าที่จ่ายปันผลน้อยเพราะเอาเงินไปเก็บสต๊อกวัตถุดิบไว้หมด เพราะช่วงนั้นราคาถูก พอปี 02 ก็เลยขายได้กำไรเยอะแถมได้เงินสดเยอะด้วย เพราะเอาสต๊อกออกมาเปลี่ยนเป็นเงินได้หมด เลยจ่ายปันผลได้ตั้ง 4 บาท ราคาเลยวิ่งมาตั้งเกือบ 40 บาท ซื้อไม่ทันได้แต่มองอย่างเดียว
ปีนี้ผมว่าไม่น่าจะจ่ายปันผลได้มากกว่าปีที่แล้ว อาจจะน้อยกว่าด้วยซ้ำ ดังนั้นผมไม่คิดว่าราคานี้จะยืนได้นาน เมื่อตัวเลขเริ่มออกมาชัดเจนขึ้น ราคาน่าจะอ่อนตัวลง
ปีนี้ผมว่าไม่น่าจะจ่ายปันผลได้มากกว่าปีที่แล้ว อาจจะน้อยกว่าด้วยซ้ำ ดังนั้นผมไม่คิดว่าราคานี้จะยืนได้นาน เมื่อตัวเลขเริ่มออกมาชัดเจนขึ้น ราคาน่าจะอ่อนตัวลง
-
- Verified User
- โพสต์: 143
- ผู้ติดตาม: 0
รบกวนช่วยให้ความเห็น CPL + ข่าวรัฐบาลตั้งโรงฟอกหนัง
โพสต์ที่ 8
ตัวนี้ผมเคยซื้อตั้งแต่ปี 01 เพราะเห็นว่ากำไรดีน่าจะจ่ายปันผลเยอะ ตอนซื้อราคาแค่ 27 บาทเอง ปรากฏว่าจ่ายปันผลแค่ 2 บาท ก็เลยขายหมูไปได้กำไรนิดหน่อย ตอนหลังถึงรู้ว่าที่จ่ายปันผลน้อยเพราะเอาเงินไปเก็บสต๊อกวัตถุดิบไว้หมด เพราะช่วงนั้นราคาถูก พอปี 02 ก็เลยขายได้กำไรเยอะแถมได้เงินสดเยอะด้วย เพราะเอาสต๊อกออกมาเปลี่ยนเป็นเงินได้หมด เลยจ่ายปันผลได้ตั้ง 4 บาท ราคาเลยวิ่งมาตั้งเกือบ 40 บาท ซื้อไม่ทันได้แต่มองอย่างเดียว
ปีนี้ผมว่าไม่น่าจะจ่ายปันผลได้มากกว่าปีที่แล้ว อาจจะน้อยกว่าด้วยซ้ำ ดังนั้นผมไม่คิดว่าราคานี้จะยืนได้นาน เมื่อตัวเลขเริ่มออกมาชัดเจนขึ้น ราคาน่าจะอ่อนตัวลง
ปีนี้ผมว่าไม่น่าจะจ่ายปันผลได้มากกว่าปีที่แล้ว อาจจะน้อยกว่าด้วยซ้ำ ดังนั้นผมไม่คิดว่าราคานี้จะยืนได้นาน เมื่อตัวเลขเริ่มออกมาชัดเจนขึ้น ราคาน่าจะอ่อนตัวลง