มีท่านใดลงทุนในตลาดหุ้น ด้วย DCF แล้วประสบความสำเร็จบ้างไหมครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
nnopp
Verified User
โพสต์: 23
ผู้ติดตาม: 0

มีท่านใดลงทุนในตลาดหุ้น ด้วย DCF แล้วประสบความสำเร็จบ้างไหมครับ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สวัสดีครับ

ผมเพิ่งจะเริ่มลงทุนใน SET เมื่อช่วงกลางปี 2020 ที่ผ่านมา โดยเลือกหุ้นด้วยวิธี P/E และ ROE เป็นหลัก
ตอนนี้ขายหุ้นเหล่านั้นเพื่อทำกำไรไปหมดแล้ว โดยรวมได้รับผลตอบแทนประมาณ 30%

ตอนนี้อยากจะกลับมาซื้อหุ้นเพื่อลงทุนระยะยาว(รู้สึกว่าตัวเองขายของดีไปเสียแล้ว)
ด้วยหลักการเดิม แต่พบว่าหุ้นต่างๆมี P/E สูงขึ้นเป็นอย่างมาก
บริษัทที่มี P/E ถูกในตอนนี้ก็ไม่ใช่บริษัทที่ตัวเองสนใจ

เมื่อวานผมได้อ่านโพสต์ใน ThaiVI เกี่ยวกับการใช้ DCF ซึ่งดูจะมีส่วนที่น่าสนใจ เช่น เป็นการคาดการณ์มูลค่าของกิจการจริงๆ ไม่ได้เป็นการวัดจาก EPS ที่เกิดขึ้นในปีนี้ หรือปีหน้าเพียงอย่างเดียว, สามารถซื้อหุ้นที่ต่ำกว่ามูลค่าได้แม้ว่าภาพรวมของตลาดจะมี P/E ที่สูงเพราะเรารู้มูลค่าที่แท้จริง

จึงอยากสอบถามพี่ๆในบอร์ดแห่งนี้ว่ามีท่านใดที่ใช้หลักการ DCF ในการประเมินมูลค่าหุ้นเพื่อลงทุน แล้วประสบผลสำเร็จบ้างไหมครับ ถ้าท่านใดพอจะมี template ในการประเมินขอกราบขอบคุณไว้ล่วงหน้าเลยครับ
นักลงทุนมือใหม่ ขอเรียนจากทุกคนหน่อยนะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
odin
Verified User
โพสต์: 84
ผู้ติดตาม: 0

Re: มีท่านใดลงทุนในตลาดหุ้น ด้วย DCF แล้วประสบความสำเร็จบ้างไหมครับ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ผมคนนึงครับ ที่ไม่ได้ใช้DCF เพราะมันยากเกินไป

ยากเกินไปในที่นี้ คือ หาหุ้นยากครับ

ต้องเป็นหุ้นที่คาดการณ์เงินสดอิสระได้ง่าย

และควรใช้เวลาอย่างน้อย10ปี ในการสร้างสมมุติฐาน

ฉะนั้น การหาหุ้นที่คาดการณ์ง่ายๆ มันหมายถึงหุ้นที่เปลี่ยนแปลงช้า

หุ้นเหล่านั้นต้องทำธุรกิจเรียบง่ายไม่ซับซ้อน
อย่างที่ปู่วอเรน บัฟเฟตต์ ใช้หามูลค่า

ทีนี้ถามว่าปัจจุบัน มีธุรกิจอะไรที่คาดการณ์ง่ายบ้าง ว่าอีก10ปีข้างหน้าจะยังดีแบบนี้อยู่ไหม

คำตอบคือ หายากมากครับ หุ้นTech ยิ่งไม่ต้องพูดถึง แค่5ปียังไม่รู้เลยว่าจะเปลี่ยนเร็วแค่ไหน

ถ้าช่วงนี้หุ้นตัวไหนแพง เราก้ออย่าไปทำให้มันดูเหมือนถูกเลยครับ

แพงก็รอ จนกว่าราคาที่เข้าซื้อน่าสนใจ
“Compound interest is the eighth wonder of the world. He who understands it, earn it ; he who doesn’t, pays it.”
zirkanat
Verified User
โพสต์: 65
ผู้ติดตาม: 0

Re: มีท่านใดลงทุนในตลาดหุ้น ด้วย DCF แล้วประสบความสำเร็จบ้างไหมครับ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ผมคิดว่าการใช้ dcf นั้นใช้ได้ดีกับกิจการที่มีเงินสดอิสระ กำไรค่อนข้างนิ่งไม่ผันผวน เพราะแค่เปลี่ยนตัวเลขแค่เล็กน้อยในสมมติฐาน หรือเปลี่ยนตัวเลขตามการคาดการณ์ของแต่ละคน ตัวเลขผลลัพธ์ที่ได้ก็ต่างกันแล้วครับ โดยส่วนตัวผมว่าวิธีที่ดูจะสมถะและเรียบง่ายกลับให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด อย่าง pe และไปดูส่วนปัจจัยเชิงคุณภาพร่วมด้วย
20 yrs game, stay focus, stay invest.
max888
Verified User
โพสต์: 1030
ผู้ติดตาม: 1

Re: มีท่านใดลงทุนในตลาดหุ้น ด้วย DCF แล้วประสบความสำเร็จบ้างไหมครับ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ผมใช้ DCF ประกอบการตัดสินใจครับ สำหรับผม DCF มีประโยชน์ในมุมที่ทำให้ผมสามารถประเมินมูลค่ากิจการได้ภาพที่ครบถ้วนมากขึ้น และเป็นมุมมองที่สถาบันก็น่าจะใช้ประกอบการตัดสินใจ

สาเหตุที่อาจจะทำให้คนไม่อยากใช้ DCF คือ ความซับซ้อนของวิธีการ โดยเฉพาะที่มาของ Free cash flow การเลือกใช้ discount rate ซึ่งใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์ที่ค่อนข้างซับซ้อน บางคนอาจจะรู้สึกว่าด้วยความที่มันมีหลายตัวแปร ทำให้การใช้งานสำหรับคนทั่วไปจะค่อนข้างยาก ซึ่งก็จริงครับ แต่ PE เอง คนที่จะใช้ก็ต้องเข้าใจถึงพื้นฐานที่มาและข้อจำกัดของ PE ก็มีในแบบของมัน ยกตัวอย่างเช่น WACC เวลาเปลี่ยนที ก็จะมีผลกับ valuation แต่ก็จะมีผลเป็นช่วง ในมุมของ PE ก็เหมือนกัน ไม่ได้ตายตัวว่าจะต้อง PE เท่านั้นเท่านี้ หรือแม้แต่ PE ก็มีการขยับไประหว่างทางได้ ซึ่งนักวิเคราะห์มักจะชอบใช้คำว่า rerate หรือ derate ในมุมของ DCF หรือ มันก็คือการเปลี่ยนแปลงของ risk premium ที่อาจจะเปลี่ยนไป สำหรับผมแล้ว DCF มันช่วยทำให้ผมเห็นภาพชัดขึ้นว่า บริษัทนี้ ธุรกิจแบบนี้ ความเสี่ยงแบบนี้ ตลาดจะให้ PE มันซักเท่าไหร่ครับ เหมือนเวลาถามว่าราคา warrant ควรจะเป็นเท่าไหร่ ไม่ต้องเข้าใจว่า black-scholes model คืออะไรก็ใช้ได้ครับ ประเมินจากความ in-the-money ของมัน คล้ายๆกับคุณไม่ต้องเข้าใจว่าทำไม E=Mc2 ก็เอามันไปใช้ทั้งยั้งงั้นแหละ ไม่ต้องพยายามทำความเข้าใจ theory of relativity ก็ได้เหมือนกัน

โดยสรุปผมคิดว่าสองวิธีนี้ไม่ว่าจะ PE หรือ DCF มันให้ผลไม่ต่างกันครับ ต่างกันเรื่องวิธีการกับมุมมอง ไม่จำเป็นต้องเป็นกิจการที่ predictable ก็ได้ครับ ผมคิดว่าถ้าเราเข้าใจวิธีการอย่างถ่องแท้ ไม่ว่าจะวิธีไหน ผมคิดว่าก็ใช้ได้ทั้งคู่ครับ ถ้าเข้าใจทั้งหลายๆวิธีประกอบกัน ก็จะเห็นภาพชัดขึ้นครับ

ลองอ่านหัวข้อเรื่องการประเมินมูลค่าบริษัทที่ขาดทุนที่พี่ Picatos เคยเขียนไว้ตามนี้ดูเพิ่มเติมได้ครับ
https://board.thaivi.org/viewtopic.php? ... 5#p1899055
ภาพประจำตัวสมาชิก
nnopp
Verified User
โพสต์: 23
ผู้ติดตาม: 0

Re: มีท่านใดลงทุนในตลาดหุ้น ด้วย DCF แล้วประสบความสำเร็จบ้างไหมครับ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

max888 เขียน:
อังคาร พ.ค. 11, 2021 12:45 pm
ผมใช้ DCF ประกอบการตัดสินใจครับ สำหรับผม DCF มีประโยชน์ในมุมที่ทำให้ผมสามารถประเมินมูลค่ากิจการได้ภาพที่ครบถ้วนมากขึ้น และเป็นมุมมองที่สถาบันก็น่าจะใช้ประกอบการตัดสินใจ
ขอบคุณมากเลยครับ
ก่อนผมโพสต์กระทู้นี้คือผมไปอ่านของคุณ Picatos นี่แหละครับ แล้วผมก็อยากรู้ว่าเราสามารถใช้วิธีการ(หรือ Template) ของอาจารย์ Aswath Damodaran มาใช้กับหุ้นไทยได้ไหม
คุณ max888 พอจะมีตัวอย่างที่ทำไว้สำหรับหุ้นไทยสักตัวไหมครับ อยากลองขอเอามาศึกษาครับ
นักลงทุนมือใหม่ ขอเรียนจากทุกคนหน่อยนะครับ
max888
Verified User
โพสต์: 1030
ผู้ติดตาม: 1

Re: มีท่านใดลงทุนในตลาดหุ้น ด้วย DCF แล้วประสบความสำเร็จบ้างไหมครับ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

nnopp เขียน:
อังคาร พ.ค. 11, 2021 1:31 pm
ขอบคุณมากเลยครับ
ก่อนผมโพสต์กระทู้นี้คือผมไปอ่านของคุณ Picatos นี่แหละครับ แล้วผมก็อยากรู้ว่าเราสามารถใช้วิธีการ(หรือ Template) ของอาจารย์ Aswath Damodaran มาใช้กับหุ้นไทยได้ไหม
คุณ max888 พอจะมีตัวอย่างที่ทำไว้สำหรับหุ้นไทยสักตัวไหมครับ อยากลองขอเอามาศึกษาครับ
Concept เป็นสากลครับ ส่วนที่จะต่างคือ required return ของตลาด หรือ terminal growth ส่วน projection assumption เป็น company specific อยู่แล้ว ไม่ว่าคุณจะทำ DCF หรือ PE ถ้าถามว่าทำได้ไหม คำตอบคือทำได้ครับ ส่วน template ผมคุ้นๆว่าอาจารย์ Damodaran แกเคย post ตัวที่แกเคยทำไว้เหมือนกัน ลองเอาไปศึกษาดูได้ครับ
max888
Verified User
โพสต์: 1030
ผู้ติดตาม: 1

Re: มีท่านใดลงทุนในตลาดหุ้น ด้วย DCF แล้วประสบความสำเร็จบ้างไหมครับ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

max888 เขียน:
อังคาร พ.ค. 11, 2021 12:45 pm
ผมใช้ DCF ประกอบการตัดสินใจครับ สำหรับผม DCF มีประโยชน์ในมุมที่ทำให้ผมสามารถประเมินมูลค่ากิจการได้ภาพที่ครบถ้วนมากขึ้น และเป็นมุมมองที่สถาบันก็น่าจะใช้ประกอบการตัดสินใจ

สาเหตุที่อาจจะทำให้คนไม่อยากใช้ DCF คือ ความซับซ้อนของวิธีการ โดยเฉพาะที่มาของ Free cash flow การเลือกใช้ discount rate ซึ่งใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์ที่ค่อนข้างซับซ้อน บางคนอาจจะรู้สึกว่าด้วยความที่มันมีหลายตัวแปร ทำให้การใช้งานสำหรับคนทั่วไปจะค่อนข้างยาก ซึ่งก็จริงครับ แต่ PE เอง คนที่จะใช้ก็ต้องเข้าใจถึงพื้นฐานที่มาและข้อจำกัดของ PE ก็มีในแบบของมัน ยกตัวอย่างเช่น WACC เวลาเปลี่ยนที ก็จะมีผลกับ valuation แต่ก็จะมีผลเป็นช่วง ในมุมของ PE ก็เหมือนกัน ไม่ได้ตายตัวว่าจะต้อง PE เท่านั้นเท่านี้ หรือแม้แต่ PE ก็มีการขยับไประหว่างทางได้ ซึ่งนักวิเคราะห์มักจะชอบใช้คำว่า rerate หรือ derate ในมุมของ DCF หรือ มันก็คือการเปลี่ยนแปลงของ risk premium ที่อาจจะเปลี่ยนไป สำหรับผมแล้ว DCF มันช่วยทำให้ผมเห็นภาพชัดขึ้นว่า บริษัทนี้ ธุรกิจแบบนี้ ความเสี่ยงแบบนี้ ตลาดจะให้ PE มันซักเท่าไหร่ครับ เหมือนเวลาถามว่าราคา warrant ควรจะเป็นเท่าไหร่ ไม่ต้องเข้าใจว่า black-scholes model คืออะไรก็ใช้ได้ครับ ประเมินจากความ in-the-money ของมัน คล้ายๆกับคุณไม่ต้องเข้าใจว่าทำไม E=Mc2 ก็เอามันไปใช้ทั้งยั้งงั้นแหละ ไม่ต้องพยายามทำความเข้าใจ theory of relativity ก็ได้เหมือนกัน

โดยสรุปผมคิดว่าสองวิธีนี้ไม่ว่าจะ PE หรือ DCF มันให้ผลไม่ต่างกันครับ ต่างกันเรื่องวิธีการกับมุมมอง ไม่จำเป็นต้องเป็นกิจการที่ predictable ก็ได้ครับ ผมคิดว่าถ้าเราเข้าใจวิธีการอย่างถ่องแท้ ไม่ว่าจะวิธีไหน ผมคิดว่าก็ใช้ได้ทั้งคู่ครับ ถ้าเข้าใจทั้งหลายๆวิธีประกอบกัน ก็จะเห็นภาพชัดขึ้นครับ

ลองอ่านหัวข้อเรื่องการประเมินมูลค่าบริษัทที่ขาดทุนที่พี่ Picatos เคยเขียนไว้ตามนี้ดูเพิ่มเติมได้ครับ
https://board.thaivi.org/viewtopic.php? ... 5#p1899055
สำหรับบริบทของตลาดหุ้นไทย ผมคิดว่า PE เพียงพอครับ หุ้นไทยหลายตัวใช้วิธีนี้ก็สามารถสร้างผลตอบแทนที่น่าพอใจได้แล้ว แต่ถ้าจะไปท่ายาก ประเมินมูลค่าหุ้น Tech หรือหุ้นที่ยังขาดทุน กำไรยังไม่มา ซึ่งหุ้นในตลาด US หรือ China เป็นแบบนี้เยอะ การใช้ DCF จะช่วยให้คุณเห็นมูลค่าของบริษัทกลุ่มนี้ได้ชัดขึ้นครับ ทำไมหุ้นบางตัว PE100 กลายเป็นหุ้นถูก หุ้น PE12 ดูแพง หรือควรซื้อที่ PE 100 หรือ 120 อันไหนเหมาะสมกว่า ผมอาจจะกล้าซื้อหุ้นที่ PE120 ก็ได้ถ้ามูลค่ามันอยู่ตรงนั้นจริงๆ โดยมองจากหลายๆวิธีอย่างรอบด้านแล้ว เป็นต้นครับ
โพสต์โพสต์