Investor's practice: สวัสดีทุกท่านครับ ในช่วงที่ COVID-19 ระบาดในไทย ระลอกใหม่ (รอบที่เท่าไรแล้วก็ไม่รู้) แบบนี้ กระผมก็ได้รับคำสั่งให้ Work from home + Self quarantine 14 วัน เรียบร้อยครับ ไม่ได้ออกไปไหนอีกแล้ว 555+
.
ในช่วงที่อยู่บ้านแบบนี้ คงจะไม่ได้ออกไปสำรวจกิจการข้างนอก วันนี้ผมก็เลยจะมาเขียนแชร์เทคนิควิธีการทำ "Online scuttlebutt" หรือการแกะรอยกิจการผ่านโลกออนไลน์ดีกว่า จะเป็นอย่างไร ลองมาดูกันเลย
.
"Scuttlebutt" คือ การแกะรอย สืบหาข้อมูลเชิงลึกของกิจการ เป็นวิธีที่ อาจารย์ปู่ฟิลลิป ฟิชเชอร์ บิดาแห่ง Growth investor เขียนอยู่ในหนังสือ "Common Stocks and Uncommon Profits" สามารถทำได้ ผ่านการออกไปสัมผัส สังเกตกิจการ ทดลองใช้สินค้า/บริการ พูดคุยกับลูกค้าหรือสอบถามพนักงานขายโดยตรง เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึกของกิจการแบบ Real ๆ ซึ่งทำให้นักลงทุนเข้าใจธุรกิจมากขึ้น ได้ข้อมูลที่หาไม่ได้ทั่วไป และทำให้ได้เปรียบในการลงทุนมากกว่า
.
แต่ในยุคปัจจุบัน นอกจากวิธีการออกไปสัมผัสกับกิจการโดยตรงแล้ว ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้คุณได้ข้อมูลที่ดีได้เหมือนกัน นั่นก็ คือ การสังเกตกิจการและพฤติกรรมของลูกค้า ผ่านออนไลน์ ซึ่งคล้ายๆกับที่ในวงการนักวิจัยตลาด เรียกว่าวิธี "Netnography" นั่นแหละครับ
.
สำหรับธุรกิจ Technology ในโลกใหม่ที่ทำธุรกิจผ่านออนไลน์ เช่น พวก Platform ต่างๆ วิธีการนี้คงเป็นวิธีหลักที่นักลงทุนใช้สืบหาข้อมูลอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากิจการที่เราสนใจอาจจะเป็นธุรกิจในโลกเก่า เช่น ธุรกิจผลิตและขายสินค้า วิธีการสืบค้นข้อมูลผ่านออนไลน์ ก็มีข้อดีเหมือนกัน ที่บางครั้งอาจจะได้ข้อมูลที่น่าสนใจก็ได้ วันนี้จะแชร์ 5 เทคนิคง่ายๆ ที่ผมเคยใช้ ลองมาดูกันเลยครับ
.
1. Update ข้อมูลจาก Social media ของบริษัท
สมัยนี้ใครๆก็มี Page Facebook กิจการต่างๆก็เช่นกัน บางบริษัทอาจจะมี IG Twitter หรือ Tiktok คุณสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารต่างๆของบริษัทที่คุณสนใจได้ผ่าน Social media เหล่านี้ เช่น
- การออกสินค้าใหม่
- การให้บริการใหม่ๆ
- การเปิดสาขาใหม่
- การทำ Promotion ต่างๆผ่านออนไลน์
- การได้ลูกค้ารายใหม่
- แม้แต่การทดลองทำ New business model เป็นต้น
สิ่งเหล่านี้บางครั้งอาจจะไม่ได้เผยแพร่ในสื่อการลงทุนกระแสหลัก ซึ่งถ้าคุณรู้ก่อนก็จะได้เปรียบมากกว่า
.
2. อ่าน Comment ของลูกค้า
หลายๆครั้งการแสดงความคิดเห็นผ่านออนไลน์ ก็ได้ข้อมูลที่ตรงไปตรงมา โดยเฉพาะในมุมมองของลูกค้า เช่น
- การอ่าน Comment ของลูกค้าใน Facebook, IG หรือ Youtube ของบริษัท เป็นต้น
- อ่าน Review ของลูกค้าใน Platform ด้านต่างๆ เช่น E-commerce / Wongnai / Booking เป็นต้น
อาจจะมีทั้งชอบ/ไม่ชอบ ซึ่งก็จะได้มุมมองและเหตุผลของลูกค้าที่มีต่อสินค้าและบริการของบริษัท ไม่แน่ว่าคุณอาจจะได้ Customer Insight ที่น่าสนใจขนาดที่สามารถไปแนะนำบริษัทได้ก็ได้ครับ
.
3. ดู Review การใช้สินค้าผ่าน Youtube
นอกจากการอ่าน Comment แล้ว การดู Video รีวิวสินค้าต่างๆของเหล่า Youtuber ทั้งไทยและต่างประเทศ ก็ได้ข้อมูลที่น่าสนใจเช่นกัน ทั้งในส่วนข้อมูลสินค้าและอารมณ์ความรู้สึกจากประสบการณ์การทดลองใช้จริงๆของผู้รีวิว โดย ส่วนตัวผมมักใช้กับบริษัทในต่างประเทศที่ตัวเองไม่เคยใช้สินค้าหรือหาโอกาสทดลองใช้ได้ยาก หรือมุมมองของชาวต่างชาติที่มีต่อสินค้าของบริษัทไทยที่ส่งออกไปขาย เป็นต้น
.
4. ทดลองใช้สินค้า โดย การสั่งผ่านออนไลน์
สำหรับบางสินค้าที่อาจจะหาซื้อได้ยาก การทดลองสั่งซื้อสินค้าจากทางออนไลน์ ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้คุณเข้าถึงได้ และนอกจากที่จะได้สินค้ามาลองใช้แล้ว จะได้สัมผัสกับบริการและประสบการณ์สั่งของผ่าน E-commerce ต่างๆอีกด้วย รวมถึงการสั่งเกตว่าสินค้าไหนที่ขายดีมีรีวิวที่ดี เป็นต้น หรือคุณอาจจะลองเปรียบเทียบระหว่างการซื้อผ่านออฟไลน์และออนไลน์ว่ามีความแตกต่างกันมากแค่ไหน จะทำให้วิเคราะห์ต่อได้ว่ากลยุทธ์ที่บริษัทกำลังไปนั้นถูกทางหรือไม่ครับ
.
5. วิเคราะห์กระแสความนิยมจาก Google trends
สำหรับธุรกิจที่ทำลังอยู่ในกระแส คุณสามารถวิเคราะห์กระแสความนิยมได้ ผ่านเครื่องมือที่ชื่อว่า "Google Trends" https://trends.google.co.th/ โดย สามารถ Search หาคำในหัวข้อที่เราสนใจ เช่น "กัญชง" เป็นต้น Google จะทำการประมวลผลข้อมูลการ Search ของผู้ใช้ และแสดงข้อมูลระดับความสนใจออกมาเป็นกราฟ Trends line รวมถึงสามารถวิเคราะห์เป็นรายพื้นที่และหัวข้อที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย ก็จะช่วยให้เราเห็นแนวโน้มว่ากระแสยังแรงต่อเนื่องหรือไม่ครับ
.
นี่เป็นเพียงบางตัวอย่าง จริงๆคงจะมีวิธีอื่นที่หาข้อมูลผ่านออนไลน์ได้อีกมากมาย จะเห็นได้ว่าการสืบข้อมูลทางออนไลน์ น่าจะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ได้ข้อมูลสำคัญ โดยเฉพาะในด้านสินค้าและลูกค้า แต่ต้องบอกว่าข้อมูลในโลกออนไลน์เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะยังมีคนที่ไม่ได้แสดงความเห็นในโลกออนไลน์อีกมากมาย
.
ดังนั้น นักลงทุนจึงควรใช้ประกอบกับการไปสำรวจกิจการแบบจริงๆ (ในภาวะปกติ) ซึ่งจะทำให้คุณได้ข้อมูลหลายๆด้าน ได้เห็นธุรกิจในหลายมุม จะทำให้เข้าใจกิจการมากขึ้น ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการลงทุนแบบ VI ที่มีแนวคิดในการลงทุนเสมือนร่วมเป็นเจ้าของธุรกิจครับ
.
ทั้งหมดเป็นแค่มุมมองของผมเพียงคนเดียว อาจจะถูกบ้างผิดบ้างนะครับ ใครมีความคิดเห็นอย่างไรสามารถ comment มาคุยกันได้เลยนะครับ : )
Writer: Pocket investor
“Online Scuttlebutt” แชร์เทคนิค การแกะรอยกิจการผ่านโลกออนไลน์! / Pocket investor
- Pocket investor
- Thai VI Partner
- โพสต์: 45
- ผู้ติดตาม: 1