Clubhouse Xiaomi by Bottomliner

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Clubhouse Xiaomi by Bottomliner

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สรุป Clubhouse Xiaomi Talkของทีม BottomLiner
.
เริ่มต้นเป็นช่วงเล่างบที่พึ่งประกาศ
.
รายได้รวม Xiaomi เติบโต +24% YoY ซึ่งธุรกิจที่โตแรงที่สุดยังมาจากการขายมือถือทั้งจากแบรนด์ Mi และ Redmi ที่จำนวนเครื่องขายได้มากขึ้น 31% YoY (รวมขายได้ 43.4 ล้านเครื่อง) เป็นแบรนด์จีนเบอร์ 1 ไปแล้ว ไล่ตาม Apple, Samsung ใกล้ขึ้นเรื่อยๆ
.
และที่น่าสนใจคือตลาดในจีน Xiaomi สามารถพลิกกลับมาเติบโตได้แล้ว ซึ่งในช่วงเทศกาล 11.11 Single day มียอดขายอันดับ 2 เป็นรองเพียง iPhone เท่านั้น
.
ผู้บริหารให้ความสำคัญกับตลาด Premium มากขึ้น (มือถือราคาเกิน 12,000 บาท) โดยจากตัวเลขในปี 2020 สามารถขายมือถือกลุ่มนี้ได้ 10 ล้านเครื่อง เป็นตัวช่วยเพิ่มราคาขายเฉลี่ยต่อเครื่องได้อย่างมาก พา Gross margin เพิ่มไปด้วย
.
จากการเก็บข้อมูลยอด Search ใน WeChat ช่วงเปิดตัวมือถือ Mi 11 พบว่ามีการค้นหามากกว่า 200 ล้านครั้งภายในวันเดียว แสดงให้เห็นว่าแบรนด์ Xiaomi เริ่มติดกระแสในจีน
.
เริ่มบุกตลาดขาย Offline ในจีนมากขึ้นด้วยการเร่งเปิด Mi Store เพิ่มขึ้น 2,200 สาขาภายในเวลาเพียงแค่ 3 เดือน ซึ่งเป้าหมายคือจะต้องมี Mi Store ทุกเมืองในจีน แต่ความลับคือบริษัทใช้การ Partner ให้บริษัทอื่นลงทุนสร้างสาขา ส่วน Xiaomi จะเป็นผู้ควบคุมเทคโนโลยีในสาขาให้สามารถ operate ได้มีประสิทธิภาพ (ได้เงินลงทุนใหม่ฟรีๆ)
.
ขณะที่การขายในต่างประเทศก็สามารถโตได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดยุโรปตะวันตกที่คนมีกำลังซื้อสูง ปัจจุบันมี Market share อยู่อันดับที่ 3 แล้ว และมือถือที่ขายได้เยอะในโซนนี้คือแบรนด์ Premium ที่มี Gross margin สูง
.
ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าการที่ Huawei ถูกแบนเป็นตัวช่วยให้ Xiaomi แย่งตลาดตรงนี้มาได้เยอะมาก
.
ธุรกิจที่ค่อนข้างโตช้าคือ IoT ยอดขายเพิ่มเพียง 8% YoY ชะลอจากปีก่อนมาก แต่สินค้าที่มีแนวโน้มจะสร้างประโยชน์ให้บริษัทได้มากอย่าง Smart TV ยังคงครองแชมป์ market share อันดับ 1 ในจีนเป็นปีที่สองติดต่อกัน เนื่องจากระบบ Smart TV และ Mi box (กล่องทีวี) สามารถเป็นตัวคุมช่องทางโฆษณา connect TV ได้ในอนาคต ซึ่งปัจจุบันมี MAU (Monthly active user) 41 ล้านคน เป็นน้องๆ Roku ของฝั่งสหรัฐเลย (นักวิเคราะห์ยังแทบไม่พูดถึงเรื่องนี้)
.
ธุรกิจส่วนสุดท้าย Internet Services ได้ประโยชน์จากการที่ยอดขายมือถือเพิ่มขึ้นหนุนรายได้จากโฆษณาให้โต 23% YoY ดัน Gross margin รวมของธุรกิจนี้ขึ้นมาเป็น 68% และเริ่มมีสัดส่วนใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
.
Gross margin รวมทั้งบริษัทอยู่ในช่วงขาขึ้นทีเดียว ล่าสุดเพิ่มมาเป็น 16% ส่วนใหญ่มาจากการขายมือถือราคาแพงได้มากขึ้น และรายได้จากโฆษณาเพิ่มขึ้น
.
Xiaomi ลงทุนในบริษัทอื่นรวม 310 บริษัท เน้นที่บริษัทสัญชาติจีน ซึ่งเมื่อปีที่แล้วลูกๆเหล่านี้มีตัวดังที่เข้า IPO แล้วด้วย เช่น Roborock, Kingsoft Cloud, Xpeng และการที่ตลาดหุ้นจีนกับฮ่องกงพุ่งแรงในไตรมาส 4 ช่วยให้เงินลงทุนของ Xiaomi เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลดีต่อราคาหุ้นด้วย (แต่ตอนนี้หุ้นจีน, ฮ่องกงก็ถล่มลงมาค่อนข้างเยอะ)
.
สถานการณ์คำสั่งแบนเป็นอย่างที่รู้กันคือ ศาลสหรัฐปลดแบนให้ Xiaomi ชั่วคราว และบริษัทกำลังพยายามยื่นเรื่องให้เป็นคำสั่งถาวร
.
ปัญหาหลักในช่วง 3 เดือนนี้เป็นเรื่องชิปขาดแคลน ซึ่งกระทบทั้งอุตสาหกรรมมือถือ แบรนด์ดังทุกเจ้าทั้ง Apple, Xiaomi, Oppo, Vivo ต่างมีสินค้ามาขายลดลง แต่แน่นอนเรื่องนี้มีคนได้ประโยชน์ถ้าเราหาเจอ 🧐🧐
.
.
ช่วง Q&A
.
.
Question: การแข่งขันจากเครือ BBK Electronics (เจ้าของ Oppo, Vivo, Realme, Oneplus) มองยังไงบ้าง ?
.
Answer: ตลาดมือถือคงแบ่งๆ กันไป แต่ Xiaomi ได้เปรียบในกลุ่มมือถือราคาแพงพอสมควร เพราะวางตัวแบรนด์ให้เด่นในตลาดนี้ตั้งแต่ Huawei โดนแบน เช่นเดียวกับ IoT ที่มี partner เยอะกว่าแบรนด์อื่น
.
Question: ชิปขาดตลาดแล้วผู้บริหาร Xiaomi บอกว่าส่วนต้นทุนที่ขึ้นมาจะผลักภาระให้ผู้บริโภคจะทำได้ไหม ?
.
Answer: คิดว่าได้บางส่วนแต่ต้องยอมรับว่าตลาดแข่งขันกันหนัก ราคาอาจขึ้นได้ไม่เยอะ (แต่หลังจาก BottomLiner มาทบทวนเพิ่ม คิดว่ามีโอกาสที่ Xiaomi จะฉวยโอกาสเปิดตัวมือถือราคาแพงช่วงนี้ อาศัยจังหวะที่ตลาดมือถือผลิตไม่ทันทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกไม่มากนัก)
.
หลังจากนี้มีการถามไปถึงหุ้น Intel, Twitter, หุ้นจีน ซึ่งมีผู้รู้ท่านอื่นเข้ามาช่วยตอบด้วย เพจ BottomLiner ต้องขอขอบคุณสังคมนักลงทุนดีๆ แบบนี้ด้วยนะครับ
.
BottomLiner
โพสต์โพสต์