ออมเงิน อย่างมีวินัย ส่งผลดีต่อ ตนเอง ครอบครัว ประเทศชาติ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
FarmSabuy
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 42
ผู้ติดตาม: 0

ออมเงิน อย่างมีวินัย ส่งผลดีต่อ ตนเอง ครอบครัว ประเทศชาติ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

นักลงทุนเน้นคุณค่า ที่เป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่งได้เคยให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Money Talk ท่านเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีการประหยัดที่น่านำมาเป็น ตัวอย่างอาทิเช่น ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ,ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และนักลงทุนท่านอื่นๆอีกมากมาย

ประโยชน์ของผู้ประหยัดนั้นทำให้ตนเองมีเงินออม ไม่เดือดร้อน มีไว้ใช้ยามจำเป็น สามารถช่วยเหลือ แบ่งเบาภาระครอบครัวได้ มีเหลือเก็บไว้ลงทุนต่อ

พร้อมกับช่วยเหลือผู้อื่นในสังคม ที่ยังขาดโอกาส เหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่ทุกคนควรพึงกระทำ เพื่อส่งต่อความสุข+ความดีร่วมกัน เชื่อมโยงกับผู้คนที่อยู่รอบๆตัวเรา ให้เกิดแรงกระเพื่อมสิ่งดีๆเหล่านี้ต่อไป

อยากจะขอน้อมนำ พระราชดำรัส ของ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ มาเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม โดยมีใจความว่า

“การใช้จ่ายอย่างประหยัดนั้น จะเป็นหลักประกัน ความสมบูรณ์พูนสุข ของผู้ประหยัดเอง และครอบครัว

ช่วยป้องกันความขาดแคลนในวันข้างหน้า

การประหยัดดังกล่าวนี้ จะมีผลดี ไม่เฉพาะแก่ผู้ที่ประหยัดเท่านั้น ยังเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย”

พระราชดำรัสของ ในหลวง ร.๙ เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๒


“เราไม่เป็นประเทศร่ำรวย เรามีพอสมควร พออยู่ได้ แต่ไม่เป็นประเทศที่ก้าวหน้าอย่างมาก

เราไม่อยากจะเป็นประเทศก้าวหน้าอย่างมาก
เพราะถ้าเราเป็นประเทศก้าวหน้าอย่างมาก
ก็จะมีแต่ถอยกลับ

ประเทศเหล่านั้นที่เป็นประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้า จะมีแต่ถอยหลังและถอยหลังอย่างน่ากลัว

แต่ถ้าเรามีการบริหารแบบเรียกว่าแบบคนจน แบบที่ไม่ติดกับตำรามากเกินไป

ทำอย่างมีสามัคคีนี่แหละคือเมตตากัน
จะอยู่ได้ตลอดไป”

พระราชดำรัส เนื่องในโอกาส
วันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๔ 🙏🙏🙏
ส.สลึง
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3653
ผู้ติดตาม: 0

Re: ออมเงิน อย่างมีวินัย ส่งผลดีต่อ ตนเอง ครอบครัว ประเทศชาติ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

สันโดษ คือ ความยินดี ความพอใจ คือความรู้จักพอดี ความรู้จักพอเพียง

มีลักษณะ 3 อย่าง คือ

1) ยินดีพอใจในสิ่งที่มีที่ได้มา ด้วยเรี่ยวแรงของตนในทางชอบธรรม ไม่ดิ้นรนอยากได้จนทำให้เกิดความเดือดร้อนจริงๆ
2) ยินดีพอใจกำลังของตน ใช้กำลังที่มีอยู่ เช่นความรู้ ความสามารถให้เกิดผลเต็มที่ ไม่ย่อหย่อนบกพร่อง
3) ยินดีพอใจแต่ไม่เกินเลย คือรู้จักพอเป็น อิ่มเป็น และแบ่งปันส่วนที่เกินเลยไปเอื้อเฟื้อผู้อื่นตามสมควร

ยินดีพอใจแต่ไม่เกินเลย คือรู้จักพอเป็น อิ่มเป็น และแบ่งปันส่วนที่เกินเลยไปเอื้อเฟื้อผู้อื่นตามสมควร สันโดษ เป็นแนวปฏิบัติเพื่อให้เกิดความพอดีในชีวิตประจำวัน ไม่ฟุ้งเฟ้อเกินไป ไม่เขียมเกินไป ไม่ฟุ้งซ่านจนเกิดเดือดร้อน เป็นต้น เป็นแนวปฏิบัติกลางๆ เพื่อให้ชีวิตมีความอิ่ม ไม่พร่อง อันเป็นเหตุให้มีความสุขดังคำกล่าวที่ว่า "รู้จักพอก่อสุขทุกสถาน"
อ้างอิงจาก
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด

แต่ผมก๊อปมาจาก Wikipedia ขอบคุณครับ
โพสต์โพสต์