Exclusive Interview The Standard | มองผ่านเลนส์ ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ลงทุนอย่างไรหลังโควิด
มองผ่านเลนส์ ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ลงทุนอย่างไรหลังโควิด
-
- Verified User
- โพสต์: 1414
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองผ่านเลนส์ ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ลงทุนอย่างไรหลังโควิด
โพสต์ที่ 2
มองผ่านเลนส์ ‘ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ’ กับการลงทุนหุ้นไทย-หุ้นโลกช่วงวิกฤตโควิด-19
วิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อหลายธุรกิจ เช่น ธุรกิจสายการบิน ท่องเที่ยว โรงแรม และภาคธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ส่งผลให้หุ้นหลายตัวที่น่าสนใจราคาปรับลดลงค่อนข้างมาก แต่การซื้อหุ้นในช่วงวิกฤตเป็นเรื่องที่ต้องคิดทั้งเรื่องความเสี่ยงและภาพรวมธุรกิจที่จะเปลี่ยนไปหลังโควิด-19 ด้วย
ซื้อหุ้นช่วงวิกฤตถือเป็นช่วงวัดใจ เพราะถือเงินสดรอวิกฤตจบก็อาจจะไม่ได้อะไร บล.เอเซีย พลัส ชี้คนพร้อมเสี่ยงแนะรายชื่อหุ้นน่าลงทุนใน 3 ประเทศ (ไทย-สหรัฐฯ-จีน) โดยมี 3 กลุ่มหุ้นที่หลังโควิด-19 ก็ยังรุ่งคือ กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มออนไลน์ และ Health care
การแพร่ระบาดของโควิด-19 กระทบต่อประชาชนและภาคธุรกิจ ส่งผลต่อเนื่องไปถึงเศรษฐกิจไทย แม้ว่าระยะนี้ภาพรวมการแพร่ระบาดจะคลี่คลายลง แต่ตลาดทุน ตลาดหุ้นไทย น่ากลับเข้าไปลงทุนหรือยัง?
วิกฤตเป็นโอกาสทองการลงทุน จะถือเงินสดรอวิกฤตจบคงไม่ได้อะไร
ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด เปิดเผยกับ THE STANDARD ว่า ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อหลายธุรกิจ เช่น ธุรกิจสายการบิน ท่องเที่ยว โรงแรม และภาคธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ส่งผลให้หุ้นหลายตัวที่น่าสนใจราคาปรับลดลงค่อนข้างมาก แต่การซื้อหุ้นในช่วงวิกฤตเป็นเรื่องที่ต้องคิดทั้งเรื่องความเสี่ยงและภาพรวมธุรกิจที่จะเปลี่ยนไปหลังโควิด-19 ด้วย
“ถ้ารอวิกฤตจบคงไม่ได้อะไร เวลามีเงินสดถ้าคนที่กล้าไปซื้อตอนหุ้นตกเยอะๆ วัดใจกันตรงนั้น ไม่ใช่ถือเงินสดเยอะๆ แต่ไม่ทำอะไรเลย พอพ้นวิกฤตไปแล้วเขาจะไม่ได้อะไรเลย ช่วงที่นักวิเคราะห์บอกหุ้นถูก ทุกอย่างถูก คือจุดที่อาจจะต้องค่อยๆ ซื้อหุ้นหรือเปล่า ต้องถามตัวเอง ช่วงที่น่ากลัวที่สุดก็คือเป็นช่วงที่น่าสนใจที่สุด เป็นเรื่องปกติวัดกันที่ใจมากกว่า”
ปัจจุบันหุ้นไทยเริ่มทยอยกลับมา (ปรับตัวดีขึ้น) บ้างแล้ว แต่ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก เพราะผลประกอบการธุรกิจไทยย่ำแย่ติดต่อกันมาหลายปี ซึ่งเป็นมาตั้งแต่ก่อนวิกฤตโควิด-19 ดังนั้นช่วงที่ผ่านมา ทาง บล. เอเซีย พลัส แนะนำให้การกระจายลงทุนไปในต่างประเทศเพื่อเพิ่มผลตอบแทนและกระจายความเสี่ยง
อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าปี 2563 นี้ดัชนีหุ้นไทยยังจะติดลบเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนจึงต้องมองไปที่แต่ละบริษัท จะมองเป็นภาพรวมทั้งอุตสาหกรรมเหมือนในอดีตไม่ได้แล้ว
“ต้องยอมรับว่าหุ้นไทยไม่ได้กลับมาง่าย เพราะภาพรวมของตลาดหุ้นโลกก็ยังปรับลดลง ไทยก็ยังมีความท้าทายอีกหลายด้าน ดังนั้นปีนี้การลงทุนอาจจะว่างเว้นไปก่อน
แต่หากรับความเสี่ยงได้ ก็ยังลงทุนในธุรกิจที่ยังไปได้ดี เช่น IT ออนไลน์ Payment Health Care ค้าปลีก Convenience Store โมเดิร์นเทรด ฯลฯ”
‘Tech-Online-Health Care’ 3 เทรนด์ธุรกิจยังรุ่งหลังวิกฤตโควิด-19
ดร.ก้องเกียรติ เล่าว่า หลังโควิด-19 การใช้ชีวิตของคนจะเปลี่ยนไป ภาคธุรกิจต้องปรับตัวตามไปด้วย เช่น ค้าปลีก การส่งของ อสังหาริมทรัพย์ อย่างออฟฟิศหรือ คอนโดมิเนียม ต้องปรับรูปแบบการให้บริการหรือพื้นที่ตามนโยบาย Social Distancing ในแง่ของนักลงทุนยิ่งต้องเรียนรู้ทั้งข่าวสาร บทวิจัยต่างๆ เพื่อหาโอกาสการลงทุนที่สอดคล้องกับสถานการณ์
ทั้งนี้ธุรกิจและกลุ่มหุ้นที่น่าสนใจ ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยี เพราะหลังวิกฤตโควิด-19 จะมีความสำคัญมากขึ้น ทั้งพฤติกรรมของคนที่ใช้ชีวิตไปทางออนไลน์มากขึ้น การบริการต้องปรับใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้น
กลุ่มธุรกิจออนไลน์ เช่น การส่งของออนไลน์ ค้าปลีก อุตสาหกรรมบันเทิง รวมถึงธุรกิจใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นให้สอดคล้องกับชีวิตและวิถีชีวิตประจำวันของคนจะมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง หุ้นที่น่าสนใจ เช่น Tencent netflix ฯลฯ
กลุ่ม Health care ถือเป็นเทรนด์ลงทุนที่คนนิยมอยู่ โดยเฉพาะระยะนี้คนมุ่งลงทุนในบริษัทยาให้สอดรับกับสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในหุ้นทุกกลุ่มต้องดูเรื่อง Cash Flow และอนาคตของตัวธุรกิจ รวมถึงการอ่านงบการเงินให้รอบคอบ อย่างจีนเป็นประเทศที่น่าลงทุน เพราะนโยบายที่ชัดเจน มีการเติบโตทั้งหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่ง 4-5 ปีมานี้หุ้นจีนตกลงมาเยอะ แต่หุ้นบางตัวมีข่าวการตบแต่งบัญชีเพิ่มยอมขายอย่าง Luckin Coffee ซึ่งทำให้ราคาหุ้นตกลงมาก ดังนั้นก่อนลงทุนหุ้นต่างประเทศต้องศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน
ไทย-สหรัฐฯ-จีน: หุ้นตัวไหนที่ยังลงทุนได้
แม้ว่าตลาดทุนยังมีความผันผวน แต่ถ้านักลงทุนรับความเสี่ยงได้และมองการลงทุนระยะยาว ยังมีกลุ่มหุ้นที่น่าสนใจใน 3 ประเทศ (ไทย สหรัฐฯ และจีน) ได้แก่
ตลาดหุ้นไทย เช่น
– ธนาคารกรุงเทพ (BBL) (Fair Value 154) ซึ่งปัจจุบันราคาหุ้นปรับตัวลงตามภาพเศรษฐกิจที่คาดว่าจะชะลอตัวรุนแรง ทำให้ปัจจุบันมีค่า P/BV ต่ำเพียง 0.41 เท่า และให้ Divided Yield สูงถึง 6.5% แต่ยังมีปัจจัยบวกจากภาวะตลาดตราสารหนี้ที่ไม่คล่องตัวเหมือนในอดีต อาจทำให้ช่องทางการจัดหาเงินทุนผ่านระบบธนาคารพาณิชย์กลับมามีสัดส่วนที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันโครงสร้างพอร์ตสินเชื่อชอง BBL ส่วนใหญ่เป็นกิจการขนาดใหญ่จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดหนี้เสียน้อยกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม
– บริษัท ไดนาสตี้ เซรามิค จำกัด (มหาชน) (DCC) (Fair Value 2.28) โดยผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2563 เติบโต 20% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแนวโน้มกำไรยังดีต่อเนื่องจากต้นทุนการผลิตหลักลดต่ำลงตามแนวโน้มราคาก๊าซธรรมชาติ โดยอัตราเงินปันผลสูงกว่า 6.8% ต่อปี
ตลาดหุ้นสหรัฐ เช่น
– Microsoft (MSFT US) โดยธุรกิจ Cloud ของบริษัทเติบโตสูงเฉลี่ยที่ 80-90% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน และยังเติบโตกว่า ธุรกิจของฝั่ง Amazon ที่โตเฉลี่ย 45% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจุบันธุรกิจ Cloud Service ของ MSFT ใหญ่เป็นลำดับ 2 ของโลก โดยมีส่วนแบ่งการตลาดที่อยู่ 16.8% (รองจาก Amazon ที่ 31.7%)จึงมองว่า MSFT เป็นหุ้นเหมาะกับการลงทุนยาวและไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เนื่องจากมีการกระจายรายได้สูง ทั้ง Software Hardware และ Cloud Service– Disney (DIS US) แม้รายได้ในระยะสั้นจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรการล็อกดาวน์ทั่วโลก โดยไตรมาส 1 ปี 2563 รายได้จากสวนสนุกซึ่งมีสัดส่วน 28% ของรายได้รวมกลับติดลบ 10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และคาดว่ารายได้ทั้งปีนี้จะหดตัว แต่มองว่า Downside ของหุ้นเริ่มมีค่อนข้างจำกัด เพราะหุ้นปรับตัวลงมาจากจุดสูงสุด (ณ 26 พฤศจิกายน 2562) มาแล้ว 33.5%
ซึ่งหุ้น Disney เหมาะสำหรับการลงทุนยาว รายได้สามารถฟื้นตัวได้ เนื่องจากเป็นหุ้นขนาดใหญ่และเป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่งระดับโลก ขณะเดียวกันยังมีการกระจายตัวในหลายธุรกิจ เช่น สวนสนุก มีเดีย และสตรีมมิงเซอร์วิส (Disney+)
ตลาดหุ้นจีน เช่น
– Xiaomi (1810 HK) แม้ว่ายอดส่งมือถือสมาร์ทโฟนทั่วโลกในไตรมาส 1 ปี 2563 จะลดลง 11% แต่ยอดส่งของ Xiaomi ยังเติบโต 6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และยังมีส่วนแบ่งการตลาดสินค้ามือถือทั่วโลกอยู่ที่ 10.7% (ณ Q1/63) เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ที่อยู่ 7.3% ขณะเดียวกันคาดว่าความต้องการซื้อสมาร์ทโฟนของจีนจะเพิ่มขึ้นช่วงปลายเดือนมีนาคม 2563 จากช่วงโควิด-19 ที่คนชะลอการซื้อไปทั้งนี้รายได้หลักของ Xiaomi ราว 60% มาจากการขายสมาร์ทโฟน โดย Margin ของธุรกิจนี้เพิ่มขึ้นจาก 6.2% ในปี 2561 เป็น 7.2% ในปี 2562 อย่างไรก็ตาม Xiaomi เปิด IPO หุ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม 2561 ที่ราคา 17 ดอลลาร์ฮ่องกง และราคาลดลงต่อเนื่องจนมาทำจุดต่ำสุดที่ 8.35 ดอลลาร์ฮ่องกง (ช่วงกันยายน 2562) และกลับมาฟื้นตัวราว 26% โดยปัจจุบันราคาอยู่ที่ 10.52 ดอลลาร์ฮ่องกง ซึ่งยังคงต่ำกว่าราคา IPO ถึง 38%
– JD.com (JD US) บริษัทอีคอมเมิร์ซใหญ่ในจีนซึ่งมี Tencent เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ 18% โดย JD มีส่วนแบ่งการตลาดในอีคอมเมิร์ซจีนที่ 25.2% (รองจาก Alibaba ที่มีส่วนแบ่งที่ 55%) จึงมองว่ามีโอกาสเติบโตได้อีก ขณะเดียวกันทางบริษัทยังมีแผนเตรียมจดทะเบียนในตลาดฮ่องกง ช่วงเดือนมิถุนายน เป็นตลาดที่ 2 (ตามรอย Alibaba) ในมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ภาคธุรกิจไทยต้องปรับตัวหลังโควิด-19 อย่างไร
ในส่วนของภาคธุรกิจต้องปรับตัวหลังโควิด-19 ผู้ประกอบการต้องปรับเปลี่ยนวิธีการนำเสนอการขาย รวมถึงการเจาะตลาดใหม่เพื่อเพิ่มธุรกิจให้รอดหลังจากช่วงวิกฤตโควิด-19 เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหารจะมีการปิดไปบ้าง แต่เราเห็นการปรับตัวและคนยังต้องใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง จึงต้องกลับมาคิดเรื่องต้นทุน จุดขาย และการผสานกับดิจิทัลเพื่อให้ธุรกิจฟื้นตัวและกลับมาเติบโตได้
ทั้งนี้ธุรกิจที่น่าจะเติบโตหลังโควิด-19 ยังมีหลายด้าน ทั้งการซื้อของออนไลน์ ระบบ Payment ที่คนจะเลี่ยงการใช้เงินสดให้สอดคล้องไปกับ Social Distancing และด้านการแพทย์ในไทยอาจพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เช่น Telemedicine หรือการคุย VDO Conference กับหมอในการรักษา หรือด้านเทคโนโลยี เช่น ธุรกิจการสอน Coding ที่จะทำให้คนสามารถต่อยอดและทำธุรกิจได้มากขึ้น รวมถึง Cyber Security
อย่างไรก็ตาม แนะนำว่าภาครัฐจะต้องให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น โดยการปรับ Ecosystem ทั้งระบบให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งเรื่อง Ease of Doing Business, เทคโนโลยีการเกษตร, โครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการแก้ปัญหาระยะยาวอย่างการศึกษา เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันให้ประเทศ
วิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อหลายธุรกิจ เช่น ธุรกิจสายการบิน ท่องเที่ยว โรงแรม และภาคธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ส่งผลให้หุ้นหลายตัวที่น่าสนใจราคาปรับลดลงค่อนข้างมาก แต่การซื้อหุ้นในช่วงวิกฤตเป็นเรื่องที่ต้องคิดทั้งเรื่องความเสี่ยงและภาพรวมธุรกิจที่จะเปลี่ยนไปหลังโควิด-19 ด้วย
ซื้อหุ้นช่วงวิกฤตถือเป็นช่วงวัดใจ เพราะถือเงินสดรอวิกฤตจบก็อาจจะไม่ได้อะไร บล.เอเซีย พลัส ชี้คนพร้อมเสี่ยงแนะรายชื่อหุ้นน่าลงทุนใน 3 ประเทศ (ไทย-สหรัฐฯ-จีน) โดยมี 3 กลุ่มหุ้นที่หลังโควิด-19 ก็ยังรุ่งคือ กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มออนไลน์ และ Health care
การแพร่ระบาดของโควิด-19 กระทบต่อประชาชนและภาคธุรกิจ ส่งผลต่อเนื่องไปถึงเศรษฐกิจไทย แม้ว่าระยะนี้ภาพรวมการแพร่ระบาดจะคลี่คลายลง แต่ตลาดทุน ตลาดหุ้นไทย น่ากลับเข้าไปลงทุนหรือยัง?
วิกฤตเป็นโอกาสทองการลงทุน จะถือเงินสดรอวิกฤตจบคงไม่ได้อะไร
ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด เปิดเผยกับ THE STANDARD ว่า ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อหลายธุรกิจ เช่น ธุรกิจสายการบิน ท่องเที่ยว โรงแรม และภาคธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ส่งผลให้หุ้นหลายตัวที่น่าสนใจราคาปรับลดลงค่อนข้างมาก แต่การซื้อหุ้นในช่วงวิกฤตเป็นเรื่องที่ต้องคิดทั้งเรื่องความเสี่ยงและภาพรวมธุรกิจที่จะเปลี่ยนไปหลังโควิด-19 ด้วย
“ถ้ารอวิกฤตจบคงไม่ได้อะไร เวลามีเงินสดถ้าคนที่กล้าไปซื้อตอนหุ้นตกเยอะๆ วัดใจกันตรงนั้น ไม่ใช่ถือเงินสดเยอะๆ แต่ไม่ทำอะไรเลย พอพ้นวิกฤตไปแล้วเขาจะไม่ได้อะไรเลย ช่วงที่นักวิเคราะห์บอกหุ้นถูก ทุกอย่างถูก คือจุดที่อาจจะต้องค่อยๆ ซื้อหุ้นหรือเปล่า ต้องถามตัวเอง ช่วงที่น่ากลัวที่สุดก็คือเป็นช่วงที่น่าสนใจที่สุด เป็นเรื่องปกติวัดกันที่ใจมากกว่า”
ปัจจุบันหุ้นไทยเริ่มทยอยกลับมา (ปรับตัวดีขึ้น) บ้างแล้ว แต่ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก เพราะผลประกอบการธุรกิจไทยย่ำแย่ติดต่อกันมาหลายปี ซึ่งเป็นมาตั้งแต่ก่อนวิกฤตโควิด-19 ดังนั้นช่วงที่ผ่านมา ทาง บล. เอเซีย พลัส แนะนำให้การกระจายลงทุนไปในต่างประเทศเพื่อเพิ่มผลตอบแทนและกระจายความเสี่ยง
อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าปี 2563 นี้ดัชนีหุ้นไทยยังจะติดลบเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนจึงต้องมองไปที่แต่ละบริษัท จะมองเป็นภาพรวมทั้งอุตสาหกรรมเหมือนในอดีตไม่ได้แล้ว
“ต้องยอมรับว่าหุ้นไทยไม่ได้กลับมาง่าย เพราะภาพรวมของตลาดหุ้นโลกก็ยังปรับลดลง ไทยก็ยังมีความท้าทายอีกหลายด้าน ดังนั้นปีนี้การลงทุนอาจจะว่างเว้นไปก่อน
แต่หากรับความเสี่ยงได้ ก็ยังลงทุนในธุรกิจที่ยังไปได้ดี เช่น IT ออนไลน์ Payment Health Care ค้าปลีก Convenience Store โมเดิร์นเทรด ฯลฯ”
‘Tech-Online-Health Care’ 3 เทรนด์ธุรกิจยังรุ่งหลังวิกฤตโควิด-19
ดร.ก้องเกียรติ เล่าว่า หลังโควิด-19 การใช้ชีวิตของคนจะเปลี่ยนไป ภาคธุรกิจต้องปรับตัวตามไปด้วย เช่น ค้าปลีก การส่งของ อสังหาริมทรัพย์ อย่างออฟฟิศหรือ คอนโดมิเนียม ต้องปรับรูปแบบการให้บริการหรือพื้นที่ตามนโยบาย Social Distancing ในแง่ของนักลงทุนยิ่งต้องเรียนรู้ทั้งข่าวสาร บทวิจัยต่างๆ เพื่อหาโอกาสการลงทุนที่สอดคล้องกับสถานการณ์
ทั้งนี้ธุรกิจและกลุ่มหุ้นที่น่าสนใจ ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยี เพราะหลังวิกฤตโควิด-19 จะมีความสำคัญมากขึ้น ทั้งพฤติกรรมของคนที่ใช้ชีวิตไปทางออนไลน์มากขึ้น การบริการต้องปรับใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้น
กลุ่มธุรกิจออนไลน์ เช่น การส่งของออนไลน์ ค้าปลีก อุตสาหกรรมบันเทิง รวมถึงธุรกิจใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นให้สอดคล้องกับชีวิตและวิถีชีวิตประจำวันของคนจะมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง หุ้นที่น่าสนใจ เช่น Tencent netflix ฯลฯ
กลุ่ม Health care ถือเป็นเทรนด์ลงทุนที่คนนิยมอยู่ โดยเฉพาะระยะนี้คนมุ่งลงทุนในบริษัทยาให้สอดรับกับสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในหุ้นทุกกลุ่มต้องดูเรื่อง Cash Flow และอนาคตของตัวธุรกิจ รวมถึงการอ่านงบการเงินให้รอบคอบ อย่างจีนเป็นประเทศที่น่าลงทุน เพราะนโยบายที่ชัดเจน มีการเติบโตทั้งหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่ง 4-5 ปีมานี้หุ้นจีนตกลงมาเยอะ แต่หุ้นบางตัวมีข่าวการตบแต่งบัญชีเพิ่มยอมขายอย่าง Luckin Coffee ซึ่งทำให้ราคาหุ้นตกลงมาก ดังนั้นก่อนลงทุนหุ้นต่างประเทศต้องศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน
ไทย-สหรัฐฯ-จีน: หุ้นตัวไหนที่ยังลงทุนได้
แม้ว่าตลาดทุนยังมีความผันผวน แต่ถ้านักลงทุนรับความเสี่ยงได้และมองการลงทุนระยะยาว ยังมีกลุ่มหุ้นที่น่าสนใจใน 3 ประเทศ (ไทย สหรัฐฯ และจีน) ได้แก่
ตลาดหุ้นไทย เช่น
– ธนาคารกรุงเทพ (BBL) (Fair Value 154) ซึ่งปัจจุบันราคาหุ้นปรับตัวลงตามภาพเศรษฐกิจที่คาดว่าจะชะลอตัวรุนแรง ทำให้ปัจจุบันมีค่า P/BV ต่ำเพียง 0.41 เท่า และให้ Divided Yield สูงถึง 6.5% แต่ยังมีปัจจัยบวกจากภาวะตลาดตราสารหนี้ที่ไม่คล่องตัวเหมือนในอดีต อาจทำให้ช่องทางการจัดหาเงินทุนผ่านระบบธนาคารพาณิชย์กลับมามีสัดส่วนที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันโครงสร้างพอร์ตสินเชื่อชอง BBL ส่วนใหญ่เป็นกิจการขนาดใหญ่จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดหนี้เสียน้อยกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม
– บริษัท ไดนาสตี้ เซรามิค จำกัด (มหาชน) (DCC) (Fair Value 2.28) โดยผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2563 เติบโต 20% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแนวโน้มกำไรยังดีต่อเนื่องจากต้นทุนการผลิตหลักลดต่ำลงตามแนวโน้มราคาก๊าซธรรมชาติ โดยอัตราเงินปันผลสูงกว่า 6.8% ต่อปี
ตลาดหุ้นสหรัฐ เช่น
– Microsoft (MSFT US) โดยธุรกิจ Cloud ของบริษัทเติบโตสูงเฉลี่ยที่ 80-90% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน และยังเติบโตกว่า ธุรกิจของฝั่ง Amazon ที่โตเฉลี่ย 45% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจุบันธุรกิจ Cloud Service ของ MSFT ใหญ่เป็นลำดับ 2 ของโลก โดยมีส่วนแบ่งการตลาดที่อยู่ 16.8% (รองจาก Amazon ที่ 31.7%)จึงมองว่า MSFT เป็นหุ้นเหมาะกับการลงทุนยาวและไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เนื่องจากมีการกระจายรายได้สูง ทั้ง Software Hardware และ Cloud Service– Disney (DIS US) แม้รายได้ในระยะสั้นจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรการล็อกดาวน์ทั่วโลก โดยไตรมาส 1 ปี 2563 รายได้จากสวนสนุกซึ่งมีสัดส่วน 28% ของรายได้รวมกลับติดลบ 10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และคาดว่ารายได้ทั้งปีนี้จะหดตัว แต่มองว่า Downside ของหุ้นเริ่มมีค่อนข้างจำกัด เพราะหุ้นปรับตัวลงมาจากจุดสูงสุด (ณ 26 พฤศจิกายน 2562) มาแล้ว 33.5%
ซึ่งหุ้น Disney เหมาะสำหรับการลงทุนยาว รายได้สามารถฟื้นตัวได้ เนื่องจากเป็นหุ้นขนาดใหญ่และเป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่งระดับโลก ขณะเดียวกันยังมีการกระจายตัวในหลายธุรกิจ เช่น สวนสนุก มีเดีย และสตรีมมิงเซอร์วิส (Disney+)
ตลาดหุ้นจีน เช่น
– Xiaomi (1810 HK) แม้ว่ายอดส่งมือถือสมาร์ทโฟนทั่วโลกในไตรมาส 1 ปี 2563 จะลดลง 11% แต่ยอดส่งของ Xiaomi ยังเติบโต 6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และยังมีส่วนแบ่งการตลาดสินค้ามือถือทั่วโลกอยู่ที่ 10.7% (ณ Q1/63) เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ที่อยู่ 7.3% ขณะเดียวกันคาดว่าความต้องการซื้อสมาร์ทโฟนของจีนจะเพิ่มขึ้นช่วงปลายเดือนมีนาคม 2563 จากช่วงโควิด-19 ที่คนชะลอการซื้อไปทั้งนี้รายได้หลักของ Xiaomi ราว 60% มาจากการขายสมาร์ทโฟน โดย Margin ของธุรกิจนี้เพิ่มขึ้นจาก 6.2% ในปี 2561 เป็น 7.2% ในปี 2562 อย่างไรก็ตาม Xiaomi เปิด IPO หุ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม 2561 ที่ราคา 17 ดอลลาร์ฮ่องกง และราคาลดลงต่อเนื่องจนมาทำจุดต่ำสุดที่ 8.35 ดอลลาร์ฮ่องกง (ช่วงกันยายน 2562) และกลับมาฟื้นตัวราว 26% โดยปัจจุบันราคาอยู่ที่ 10.52 ดอลลาร์ฮ่องกง ซึ่งยังคงต่ำกว่าราคา IPO ถึง 38%
– JD.com (JD US) บริษัทอีคอมเมิร์ซใหญ่ในจีนซึ่งมี Tencent เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ 18% โดย JD มีส่วนแบ่งการตลาดในอีคอมเมิร์ซจีนที่ 25.2% (รองจาก Alibaba ที่มีส่วนแบ่งที่ 55%) จึงมองว่ามีโอกาสเติบโตได้อีก ขณะเดียวกันทางบริษัทยังมีแผนเตรียมจดทะเบียนในตลาดฮ่องกง ช่วงเดือนมิถุนายน เป็นตลาดที่ 2 (ตามรอย Alibaba) ในมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ภาคธุรกิจไทยต้องปรับตัวหลังโควิด-19 อย่างไร
ในส่วนของภาคธุรกิจต้องปรับตัวหลังโควิด-19 ผู้ประกอบการต้องปรับเปลี่ยนวิธีการนำเสนอการขาย รวมถึงการเจาะตลาดใหม่เพื่อเพิ่มธุรกิจให้รอดหลังจากช่วงวิกฤตโควิด-19 เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหารจะมีการปิดไปบ้าง แต่เราเห็นการปรับตัวและคนยังต้องใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง จึงต้องกลับมาคิดเรื่องต้นทุน จุดขาย และการผสานกับดิจิทัลเพื่อให้ธุรกิจฟื้นตัวและกลับมาเติบโตได้
ทั้งนี้ธุรกิจที่น่าจะเติบโตหลังโควิด-19 ยังมีหลายด้าน ทั้งการซื้อของออนไลน์ ระบบ Payment ที่คนจะเลี่ยงการใช้เงินสดให้สอดคล้องไปกับ Social Distancing และด้านการแพทย์ในไทยอาจพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เช่น Telemedicine หรือการคุย VDO Conference กับหมอในการรักษา หรือด้านเทคโนโลยี เช่น ธุรกิจการสอน Coding ที่จะทำให้คนสามารถต่อยอดและทำธุรกิจได้มากขึ้น รวมถึง Cyber Security
อย่างไรก็ตาม แนะนำว่าภาครัฐจะต้องให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น โดยการปรับ Ecosystem ทั้งระบบให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งเรื่อง Ease of Doing Business, เทคโนโลยีการเกษตร, โครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการแก้ปัญหาระยะยาวอย่างการศึกษา เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันให้ประเทศ