แกะวิกฤติ หาทางรอด COVID-19 : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
-
- Verified User
- โพสต์: 1414
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แกะวิกฤติ หาทางรอด COVID-19 : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 2
COVID-19: อาหารเสริมช่วยได้หรือไม่?
ไวรัสนั้นมีชีวิตอยู่ด้วยตัวเองไม่ได้ แต่จะต้องบุกรุกเข้าไปในเซลล์ของมนุษย์หรือสัตว์ ไวรัสจะ "มีชีวิต" ได้ก็ต้องมี "เจ้าภาพ" (host)
ไวรัสจึงจะสามารถนำเอาทรัพยากรที่อยู่ในเซลล์ของเจ้าภาพไปใช้แบ่งตัวและแพร่ขยายตัวเองได้
ทั้งนี้ การจะบุกรุกเข้ามาไวรัสนั้นจะต้องมี "กุญแจ" ที่เปิดประตูเข้ามา แล้วทำตัวเป็นเสมือนกับผีที่เข้ามา "สิง" เซลล์ของตัวเรา ดังนั้นไวรัสจึงเป็นอันตรายต่อตัวเราในเกือบทุกกรณีและการรักษาจึงจะต้องฆ่าเซลล์ทุกเซลล์ที่ถูก "สิง" ให้หมดไป แต่ไม่สามารถใช้วิธีการไล่ไวรัสออกไปจากเซลล์ได้
ไวรัสแตกต่างจากแบคทีเรียซึ่งเป็นเซลล์ที่มีชีวิตและส่วนใหญ่กว่า 90% เป็นมิตรกับร่างกายของมนุษย์และสัตว์ เช่นแบคทีเรียในลำไส้ของเรา ซึ่งเป็นประโยชน์เพราะช่วยย่อยอาหาร ในกรณีแบคทีเรียที่เป็นภัยอันตรายต่อมนุษย์ เช่น กาฬโรคหรือ The Black Death ที่ระบาดจากแบคทีเรียในหนูที่ชื่อว่า Yersinia pestisis และทำให้มนุษย์ล้มตายไปหลายสิบล้านคน เมื่อเกือบ 700 ปีที่ผ่านมานั้น ปัจจุบันยังไม่ได้หายไปไหน แต่มนุษย์สามารถฆ่าแบคทีเรียดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยยาปฏิชีวนะ (antibiotics) แม้จะมีปัจจัยเสี่ยงที่แบคทีเรียจะกลายพันธุ์และดื้อยาได้ หากเรากินยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อและในปริมาณที่ไม่เหมาะสม
สิ่งที่ต้องการชี้ให้เห็นคือการกินยาหรืออาหารเสริมเพื่อให้ไปฆ่าไวรัสและรักษาโรคที่เกิดจากไวรัสนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยากมาก เพราะไวรัสไม่ใช่แบคทีเรียที่มีชีวิตเป็นเอกเทศจากเซลล์ของเราที่จะสามารถจัดการได้โดยง่าย ในวันนี้จึงตอบได้เลยว่าไม่มียาหรืออาหารเสริมใดที่พิสูจน์ได้อย่างแน่ชัดว่าช่วยปราบไวรัสได้
ชาผู่เอ๋อร์และชาดำอาจมีประโยชน์
หลังจากที่โรค SARS ระบาดในปี 2003 ก็ได้มีการทำงานวิจัยมากมายเกี่ยวกับยาและอาหารเสริมที่อาจจะนำมาบรรเทาอาการของโรคร้ายนี้ได้ ซึ่งผมค้นพบงานวิจัยงานหนึ่งจัดทำโดยทีมนักวิจัยที่ไต้หวันและตีพิมพ์ในวารสาร Evidence Based Complement Alternative Medicine ในเดือน มิ.ย.2005 ซึ่งนักวิจัยพบว่าโปรตีน 3C-like Protease (3CL (Pro)) มีบทบาทสำคัญในการทำให้ไวรัส SARS-COV (ที่ทำให้เกิดโรค SARS) สามารถแบ่งตัวและเติบโต
ดังนั้น ทีมวิจัยจึงไปคัดเลือกสารธรรมชาติรวมทั้งสิ้น 720 ชนิดมาทดลองกับ 3CL (Pro) และพบว่ามีสาร 2 ชนิดที่สามารถยับยั้ง 3CL (Pro) และด้วยเหตุนั้นจึงช่วยยับยั้งการแบ่งตัวและเติบโตของไวรัส SAR-COV ได้ คือกรดแทนนิค และ Theaflavin ซึ่งสารดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มโพลีฟินอล (polyphenols) ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านอื่นๆ อยู่แล้ว และพบมากในชาผู่เอ๋อร์และชาดำ และมีอยู่บ้างในชาเขียวและชาอู่หลง
เนื่องจากการดื่มชานั้นเป็นที่แพร่หลายอยู่แล้วและมีงานวิจัยมากมายที่พิสูจน์ว่าการกินชาเป็นประโยชน์ต่อร่างกายในหลายด้าน (แต่ก็ควรระวังไม่ให้กินกาเฟอีนเข้าไปจนเกินขนาด และต้องระวังไม่ให้ใบชามีสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ) ดังนั้น หากชาผู่เอ๋อร์และชาดำอาจมีประโยชน์ในการช่วยยับยั้งการขยายแพร่พันธุ์ของไวรัส SARS-COV ได้ ก็อาจจะให้ผลในทำนองเดียวกันกับไวรัส SARS-COV2 ที่ทำให้ป่วยเป็น COVID-19 ได้เช่นกัน แต่ตรงนี้ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของท่านผู้อ่าน
ฟ้าทะลายโจร
เมื่อวันที่ 10 ก.พ.2020 สำนักข่าว AFP รายงานว่า บทความในหนังสือพิมพ์ไทยฉบับหนึ่งที่อ้างว่า “ฟ้าทะลายโจร” มีสรรพคุณในการป้องกัน (prevent) และบรรเทา (relieve) อาการของ COVID-19 นั้นเป็นการกล่าวอ้างที่ทำให้เข้าใจผิด (misleading) เพราะปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานว่าฟ้าทะลายโจรมีสรรพคุณดังกล่าว
ฟ้าทะลายโจรนั้นมองได้ว่าเป็นสมุนไพรที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมานานกว่า 2,000 ปีแล้วในทวีปเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยถูกนำเอาไปรักษาโรคหลายโรค เช่น มะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเรื้อน ปอดบวม ท้องเสีย ฯลฯ แต่งานวิจัยทางวิชาการที่เป็นที่ยอมรับเพราะเป็นการวิจัยที่เรียกว่า double-blind, placebo-controlled (แบ่งคนที่ทดลองยาเป็น 2 กลุ่ม โดยหนึ่งกลุ่มกินยาเทียมและทั้งผู้แจกยาและผู้กินยาไม่มีใครทราบว่าใครกินยาแท้หรือยาเทียม)
พบว่าฟ้าทะลายโจรสามารถช่วยบรรเทาอาการจากการเป็นไข้หวัดได้จริง และยังช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นไข้หวัดลงไปครึ่งหนึ่ง เนื่องจากไข้หวัดก็เกิดจากไวรัส ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ (แต่ยังไม่เคยมีการทำการทดลอง) ว่าฟ้าทะลายโจรจะเป็นประโยชน์ในการป้องกันหรือบรรเทาอาการจากการติดเชื้อ SARS-COV หรือ SARS-COV2 ได้บ้าง
นอกจากนั้นก็ยังมีงานวิจัยที่พยายามศึกษาถึงศักยภาพของฟ้าทะลายโจร (ชื่อภาษาอังกฤษคือ Andrographis Paniculata) ในการต่อต้านไวรัสที่ทำให้เกิดโรคบางชนิด เช่น ไข้หวัดใหญ่ เอดส์และเริม (herpes) ทั้งนี้สารสำคัญที่สกัดจากฟ้าทะลายโจรที่มีสรรพคุณในการยับยั้งการแบ่งตัวและขยายพันธุ์ของไวรัสคือ Andrographolide
ข้อสรุปคือฟ้าทะลายโจร อาจมีสรรพคุณในการต่อต้านการแบ่งตัวของไวรัสบางชนิด ซึ่งอาจจะรวมถึงไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ แต่ยังไม่มีงานวิจัยเพื่อพิสูจน์เรื่องนี้ อย่างไรก็ดี การชะลอการแบ่งตัวของไวรัสนั้นย่อมจะเป็นประโยชน์ในการบรรเทาอาการของโรคและให้เวลากับระบบ
ไวรัสนั้นมีชีวิตอยู่ด้วยตัวเองไม่ได้ แต่จะต้องบุกรุกเข้าไปในเซลล์ของมนุษย์หรือสัตว์ ไวรัสจะ "มีชีวิต" ได้ก็ต้องมี "เจ้าภาพ" (host)
ไวรัสจึงจะสามารถนำเอาทรัพยากรที่อยู่ในเซลล์ของเจ้าภาพไปใช้แบ่งตัวและแพร่ขยายตัวเองได้
ทั้งนี้ การจะบุกรุกเข้ามาไวรัสนั้นจะต้องมี "กุญแจ" ที่เปิดประตูเข้ามา แล้วทำตัวเป็นเสมือนกับผีที่เข้ามา "สิง" เซลล์ของตัวเรา ดังนั้นไวรัสจึงเป็นอันตรายต่อตัวเราในเกือบทุกกรณีและการรักษาจึงจะต้องฆ่าเซลล์ทุกเซลล์ที่ถูก "สิง" ให้หมดไป แต่ไม่สามารถใช้วิธีการไล่ไวรัสออกไปจากเซลล์ได้
ไวรัสแตกต่างจากแบคทีเรียซึ่งเป็นเซลล์ที่มีชีวิตและส่วนใหญ่กว่า 90% เป็นมิตรกับร่างกายของมนุษย์และสัตว์ เช่นแบคทีเรียในลำไส้ของเรา ซึ่งเป็นประโยชน์เพราะช่วยย่อยอาหาร ในกรณีแบคทีเรียที่เป็นภัยอันตรายต่อมนุษย์ เช่น กาฬโรคหรือ The Black Death ที่ระบาดจากแบคทีเรียในหนูที่ชื่อว่า Yersinia pestisis และทำให้มนุษย์ล้มตายไปหลายสิบล้านคน เมื่อเกือบ 700 ปีที่ผ่านมานั้น ปัจจุบันยังไม่ได้หายไปไหน แต่มนุษย์สามารถฆ่าแบคทีเรียดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยยาปฏิชีวนะ (antibiotics) แม้จะมีปัจจัยเสี่ยงที่แบคทีเรียจะกลายพันธุ์และดื้อยาได้ หากเรากินยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อและในปริมาณที่ไม่เหมาะสม
สิ่งที่ต้องการชี้ให้เห็นคือการกินยาหรืออาหารเสริมเพื่อให้ไปฆ่าไวรัสและรักษาโรคที่เกิดจากไวรัสนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยากมาก เพราะไวรัสไม่ใช่แบคทีเรียที่มีชีวิตเป็นเอกเทศจากเซลล์ของเราที่จะสามารถจัดการได้โดยง่าย ในวันนี้จึงตอบได้เลยว่าไม่มียาหรืออาหารเสริมใดที่พิสูจน์ได้อย่างแน่ชัดว่าช่วยปราบไวรัสได้
ชาผู่เอ๋อร์และชาดำอาจมีประโยชน์
หลังจากที่โรค SARS ระบาดในปี 2003 ก็ได้มีการทำงานวิจัยมากมายเกี่ยวกับยาและอาหารเสริมที่อาจจะนำมาบรรเทาอาการของโรคร้ายนี้ได้ ซึ่งผมค้นพบงานวิจัยงานหนึ่งจัดทำโดยทีมนักวิจัยที่ไต้หวันและตีพิมพ์ในวารสาร Evidence Based Complement Alternative Medicine ในเดือน มิ.ย.2005 ซึ่งนักวิจัยพบว่าโปรตีน 3C-like Protease (3CL (Pro)) มีบทบาทสำคัญในการทำให้ไวรัส SARS-COV (ที่ทำให้เกิดโรค SARS) สามารถแบ่งตัวและเติบโต
ดังนั้น ทีมวิจัยจึงไปคัดเลือกสารธรรมชาติรวมทั้งสิ้น 720 ชนิดมาทดลองกับ 3CL (Pro) และพบว่ามีสาร 2 ชนิดที่สามารถยับยั้ง 3CL (Pro) และด้วยเหตุนั้นจึงช่วยยับยั้งการแบ่งตัวและเติบโตของไวรัส SAR-COV ได้ คือกรดแทนนิค และ Theaflavin ซึ่งสารดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มโพลีฟินอล (polyphenols) ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านอื่นๆ อยู่แล้ว และพบมากในชาผู่เอ๋อร์และชาดำ และมีอยู่บ้างในชาเขียวและชาอู่หลง
เนื่องจากการดื่มชานั้นเป็นที่แพร่หลายอยู่แล้วและมีงานวิจัยมากมายที่พิสูจน์ว่าการกินชาเป็นประโยชน์ต่อร่างกายในหลายด้าน (แต่ก็ควรระวังไม่ให้กินกาเฟอีนเข้าไปจนเกินขนาด และต้องระวังไม่ให้ใบชามีสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ) ดังนั้น หากชาผู่เอ๋อร์และชาดำอาจมีประโยชน์ในการช่วยยับยั้งการขยายแพร่พันธุ์ของไวรัส SARS-COV ได้ ก็อาจจะให้ผลในทำนองเดียวกันกับไวรัส SARS-COV2 ที่ทำให้ป่วยเป็น COVID-19 ได้เช่นกัน แต่ตรงนี้ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของท่านผู้อ่าน
ฟ้าทะลายโจร
เมื่อวันที่ 10 ก.พ.2020 สำนักข่าว AFP รายงานว่า บทความในหนังสือพิมพ์ไทยฉบับหนึ่งที่อ้างว่า “ฟ้าทะลายโจร” มีสรรพคุณในการป้องกัน (prevent) และบรรเทา (relieve) อาการของ COVID-19 นั้นเป็นการกล่าวอ้างที่ทำให้เข้าใจผิด (misleading) เพราะปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานว่าฟ้าทะลายโจรมีสรรพคุณดังกล่าว
ฟ้าทะลายโจรนั้นมองได้ว่าเป็นสมุนไพรที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมานานกว่า 2,000 ปีแล้วในทวีปเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยถูกนำเอาไปรักษาโรคหลายโรค เช่น มะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเรื้อน ปอดบวม ท้องเสีย ฯลฯ แต่งานวิจัยทางวิชาการที่เป็นที่ยอมรับเพราะเป็นการวิจัยที่เรียกว่า double-blind, placebo-controlled (แบ่งคนที่ทดลองยาเป็น 2 กลุ่ม โดยหนึ่งกลุ่มกินยาเทียมและทั้งผู้แจกยาและผู้กินยาไม่มีใครทราบว่าใครกินยาแท้หรือยาเทียม)
พบว่าฟ้าทะลายโจรสามารถช่วยบรรเทาอาการจากการเป็นไข้หวัดได้จริง และยังช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นไข้หวัดลงไปครึ่งหนึ่ง เนื่องจากไข้หวัดก็เกิดจากไวรัส ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ (แต่ยังไม่เคยมีการทำการทดลอง) ว่าฟ้าทะลายโจรจะเป็นประโยชน์ในการป้องกันหรือบรรเทาอาการจากการติดเชื้อ SARS-COV หรือ SARS-COV2 ได้บ้าง
นอกจากนั้นก็ยังมีงานวิจัยที่พยายามศึกษาถึงศักยภาพของฟ้าทะลายโจร (ชื่อภาษาอังกฤษคือ Andrographis Paniculata) ในการต่อต้านไวรัสที่ทำให้เกิดโรคบางชนิด เช่น ไข้หวัดใหญ่ เอดส์และเริม (herpes) ทั้งนี้สารสำคัญที่สกัดจากฟ้าทะลายโจรที่มีสรรพคุณในการยับยั้งการแบ่งตัวและขยายพันธุ์ของไวรัสคือ Andrographolide
ข้อสรุปคือฟ้าทะลายโจร อาจมีสรรพคุณในการต่อต้านการแบ่งตัวของไวรัสบางชนิด ซึ่งอาจจะรวมถึงไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ แต่ยังไม่มีงานวิจัยเพื่อพิสูจน์เรื่องนี้ อย่างไรก็ดี การชะลอการแบ่งตัวของไวรัสนั้นย่อมจะเป็นประโยชน์ในการบรรเทาอาการของโรคและให้เวลากับระบบ
-
- Verified User
- โพสต์: 1414
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แกะวิกฤติ หาทางรอด COVID-19 : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 3
ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ทำอะไรกับร่างกายของเรา ?
คอลัมน์ Healthy Aging
ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
บทความนี้อาศัยข้อมูลขององค์การอนามัยโลก และบทความชื่อ Here’s what coronavirus does to the body ของนิตยสาร National Geographic เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2020 ที่ถอดบทเรียนจาก SARS และ MERS ที่มีพันธุกรรมที่คล้ายคลึงอย่างมากกับ SARS-CoV-2 โดยต่างเป็นไวรัสที่เข้าไปรุกรานเซลล์ในปอดของเราเป็นเป้าหมายหลัก
องค์การอนามัยโลก อธิบายว่า การรุกรานปอดโดย SARS-CoV-2 นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 เป็นช่วงที่ไวรัสแบ่งตัวและขยายพันธุ์ในปอด ขั้นตอนที่ 2 คือช่วงที่ระบบภูมิคุ้มกัเดินเครื่องปฏิบัติการตอบโต้อย่างรุนแรง (hyperreactivity) และขั้นตอนที่ 3 คือผลที่ตามมา ได้แก่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับปอดของเรา
ทั้งนี้ ในกรณีที่รุนแรงมากที่สุดนั้น การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่เกินขอบเขตจะลามไปทำความเสียหายให้กับอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกายด้วย อย่างไรก็ดี มีเพียง 20% ของผู้ที่ติดเชื้อ SARS-CoVs ที่จะป่วยจนอาการทรุดหนักครบทั้ง 3 ช่วงที่กล่าวถึง หมายความว่าหากระบบภูมิคุ้มกันของเราทำงานได้อย่างว่องไวและมีประสิทธิผล ก็จะสามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้อย่างราบคาบตั้งแต่ช่วงแรกและช่วงที่ 2 ไม่ต้องลามไปถึงช่วงที่ 3
ขั้นตอนที่ 1 : การเข้าไปรุกรานเซลล์โดยไวรัสโคโรน่า
ในช่วงแรกนั้นไวรัสจะเข้าไปรุกรานเซลล์ หมายความว่า ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ได้กลายพันธุ์ (mutate) จนกระทั่งมี “ลูกกุญแจ” ที่จะเปิดประตูเข้าไปสิงในเซลล์ของเราได้แล้ว โดยงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Texas at Austin พบว่าลูกกุญแจของ SARS-CoV-2 คือโปรตีนที่เรียกว่า spike protein หรือ S-protein และต่อมาในวันที่ 4 มีนาคม มหาวิทยาลัย Westlake ในเมืองหางโจว ประเทศจีน ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสาร Science โดยพบว่า “แม่กุญแจ” ของเซลล์มนุษย์ที่เปิดให้ SARS-CoV-2 บุกเข้าไปในเซลล์ปอดของเราได้ คือ angiotensin-converting enzyme 2 หรือ ACE2 การค้นพบทั้งแม่กุญแจและลูกกุญแจในเวลาที่รวดเร็วมาก ย่อมช่วยให้การพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกัน SARS-CoV-2 มีได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยในหลักการนั้นเราควรจะสามารถพัฒนาวัคซีนที่สอนให้ระบบภูมิคุ้มกันของเรามองเห็นแล้วรีบจัดการกับ SARS-CoV-2 ก่อนที่มันจะสามารถบุกเข้าไปในเซลล์ได้
แต่ในกรณีที่ SARS-CoV-2 เข้าไปในเซลล์ได้แล้ว ไวรัสก็จะใช้ทรัพยากรในเซลล์ของเราเพื่อแบ่งแยกและขยายพันธุ์ตัวมันเอง และทำลายนิวเคลียร์ของเซลล์เรา ซึ่งเปรียบเทียบได้ว่า เมื่อเซลล์ของเราถูกวิญญาณของไวรัสเข้า “สิง” แล้ว มันจะเกาะกินทุกอย่างจนหมด แล้วก็จะขยายพันธุ์และบุกไป “สิง” เซลล์อื่น ๆ ในปอดต่อไป ทั้งนี้ SARS-CoV-2 ชอบที่จะเข้าสิงเซลล์ของปอดประเภท cilia ที่มีลักษณะเป็นขนที่พัดไปพัดมาเพื่อปกป้องปอดจากสิ่งแปลกปลอมเข้ามา และพัดให้น้ำมูก (mucus) ที่มีหน้าที่ชำระล้างปอดพาของเสียให้ถ่ายเทออกไปจากปอด
ดังนั้น เมื่อ SARS-CoV-2 เข้าไปทำลายเซลล์ประเภท cilia เป็นจำนวนมาก ทำให้ระบบการระบายของเสียชำรุดลง จึงเป็นผลเกิดอาการปอดบวมทั้งสองข้าง พร้อมกับทำให้หายใจได้ลำบากขึ้น
ขั้นตอนที่ 2 : ระบบภูมิคุ้มกันทำงานปราบปรามเชื้อไวรัส
เมื่อระบบภูมิคุ้มกันรับรู้ว่ามีการบุกรุกเกิดขึ้นแล้ว ในที่สุดมันจะ “ยกทัพ” มาต่อสู้กับผู้บุกรุก โดยฆ่าเซลล์ที่ถูกบุกรุกให้หมดสิ้น จากนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเซลล์ปอดที่จะเข้ามาซ่อมแซมความเสียหายในกรณีที่ทุกอย่างเป็นไปด้วยดี ระบบภูมิคุ้มกันจะรีบมาจัดการกับผู้บุกรุกที่ยังมีอยู่ในจำนวนจำกัดในบริเวณที่จำกัดอย่างรวดเร็ว
แต่ในบางกรณีระบบภูมิคุ้มกันทำงานช้า ปล่อยให้ผู้บุกรุกขยายตัวไปได้มาก นอกจากนั้น ยังทำงานบกพร่องและทำการกวาดล้างอย่างไร้สติ (goes haywire) โดยเซลล์ของภูมิคุ้มกันเข้าไปฆ่าเซลล์ไม่เลือกหน้า ไม่ว่าเซลล์ที่ถูกไวรัสบุกรุก และเซลล์ปกติ ดังนั้น จึงเกิดความเสียหายกับปอดเพิ่มมากขึ้น และทำให้มีเศษเซลล์อุดตันปอดมากขึ้น อันจะนำมาซึ่งอาการปอดบวมรุนแรงยิ่งขึ้น
ช่วงที่ 3 : ปอดถูกทำลายทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและอาจลามไปอีก
ในช่วงนี้ที่ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดพลาดอย่างมาก และระบบหายใจล้มเหลว หากรอดชีวิตได้ในที่สุดก็จะทำให้ปอดได้รับความเสียหายอย่างถาวร (permanent lung damage) โดยองค์การอนามัยโลก อธิบายว่า ปอดอาจมีรูมากมายทำให้ปอดมีแผลเป็นจำนวนมาก และมีลักษณะเหมือนรังผึ้ง
นอกจากนั้น ใน 25% ของผู้ที่เป็นโควิด-19 ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสียอีกด้วย โดย SARS-CoV-2 อาจใช้กุญแจเดียวกันในการบุกรุกเซลล์ลำไส้ของเรา นอกจากนั้น ในกรณีที่ร่างกายติดเชื้อ SARS-CoV MERS และ SARS-CoV-2 พบว่าตับจะถูกกระทบ และจำนวนเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดก็ลดลง ตลอดจนการทำให้ความดันโลหิตลดลง ในบางกรณีการติดเชื้อยังทำให้มีอาการไตวายและหัวใจหยุดเต้นอีกด้วย
มีการคาดการณ์ในเชิงวิชาการว่า การลามของไวรัสไปยังอวัยวะและระบบอื่น ๆ ของร่างกายนั้น อาจเป็นเพราะไวรัสโคโรน่ากระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ผลิตโปรตีน ที่เรียกว่า cytokines เป็นจำนวนมาก ซึ่งโปรตีน cytokines นั้นทำหน้าที่เตือนภัยและเกณฑ์เซลล์ภูมิคุ้มกันให้มารวมพลเพื่อร่วมกันโจมตีเซลล์ที่ถูกไวรัสบุกรุก แต่กลับทำเกินเลยโดยเปรียบเทียบว่า แทนที่ระบบภูมิคุ้มกันจะยิงข้าศึกด้วยกระสุนปืน ก็ไปใช้จรวดยิงทำให้ตึกรามบ้านช่อง (อวัยวะ) ถูกทำลายพร้อมกันไปด้วย
เช่น cytokines อาจสั่งการให้เซลล์ภูมิคุ้มกันโจมตีอวัยวะอื่น ๆ เช่น ระบบเส้นเลือดไปพร้อมกันในระหว่างพยายามกำจัดเซลล์ผิดปกติที่ปอด ทำให้นอกจากปอดรั่วแล้วก็ยังอาจทำให้เส้นเลือดรั่วได้อีกด้วย จึงส่งผลต่อเนื่องให้อวัยวะอื่น ๆ เช่น ตับ ไต พลอยได้รับความเสียหาย
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าการพัฒนาวัคซีนเพื่อสอนให้ระบบภูมิคุ้มกันรู้จักไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่อย่างรวดเร็ว น่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ซึ่งในเรื่องนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดของสหรัฐอเมริกาประเมินให้รัฐสภาของสหรัฐทราบเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ว่า การพัฒนาวัคซีนนั้นน่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 18 เดือนเป็นอย่างต่ำจึงจะสามารถนำไปใช้ป้องกันการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ได้อย่างแพร่หลาย
คอลัมน์ Healthy Aging
ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
บทความนี้อาศัยข้อมูลขององค์การอนามัยโลก และบทความชื่อ Here’s what coronavirus does to the body ของนิตยสาร National Geographic เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2020 ที่ถอดบทเรียนจาก SARS และ MERS ที่มีพันธุกรรมที่คล้ายคลึงอย่างมากกับ SARS-CoV-2 โดยต่างเป็นไวรัสที่เข้าไปรุกรานเซลล์ในปอดของเราเป็นเป้าหมายหลัก
องค์การอนามัยโลก อธิบายว่า การรุกรานปอดโดย SARS-CoV-2 นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 เป็นช่วงที่ไวรัสแบ่งตัวและขยายพันธุ์ในปอด ขั้นตอนที่ 2 คือช่วงที่ระบบภูมิคุ้มกัเดินเครื่องปฏิบัติการตอบโต้อย่างรุนแรง (hyperreactivity) และขั้นตอนที่ 3 คือผลที่ตามมา ได้แก่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับปอดของเรา
ทั้งนี้ ในกรณีที่รุนแรงมากที่สุดนั้น การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่เกินขอบเขตจะลามไปทำความเสียหายให้กับอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกายด้วย อย่างไรก็ดี มีเพียง 20% ของผู้ที่ติดเชื้อ SARS-CoVs ที่จะป่วยจนอาการทรุดหนักครบทั้ง 3 ช่วงที่กล่าวถึง หมายความว่าหากระบบภูมิคุ้มกันของเราทำงานได้อย่างว่องไวและมีประสิทธิผล ก็จะสามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้อย่างราบคาบตั้งแต่ช่วงแรกและช่วงที่ 2 ไม่ต้องลามไปถึงช่วงที่ 3
ขั้นตอนที่ 1 : การเข้าไปรุกรานเซลล์โดยไวรัสโคโรน่า
ในช่วงแรกนั้นไวรัสจะเข้าไปรุกรานเซลล์ หมายความว่า ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ได้กลายพันธุ์ (mutate) จนกระทั่งมี “ลูกกุญแจ” ที่จะเปิดประตูเข้าไปสิงในเซลล์ของเราได้แล้ว โดยงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Texas at Austin พบว่าลูกกุญแจของ SARS-CoV-2 คือโปรตีนที่เรียกว่า spike protein หรือ S-protein และต่อมาในวันที่ 4 มีนาคม มหาวิทยาลัย Westlake ในเมืองหางโจว ประเทศจีน ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสาร Science โดยพบว่า “แม่กุญแจ” ของเซลล์มนุษย์ที่เปิดให้ SARS-CoV-2 บุกเข้าไปในเซลล์ปอดของเราได้ คือ angiotensin-converting enzyme 2 หรือ ACE2 การค้นพบทั้งแม่กุญแจและลูกกุญแจในเวลาที่รวดเร็วมาก ย่อมช่วยให้การพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกัน SARS-CoV-2 มีได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยในหลักการนั้นเราควรจะสามารถพัฒนาวัคซีนที่สอนให้ระบบภูมิคุ้มกันของเรามองเห็นแล้วรีบจัดการกับ SARS-CoV-2 ก่อนที่มันจะสามารถบุกเข้าไปในเซลล์ได้
แต่ในกรณีที่ SARS-CoV-2 เข้าไปในเซลล์ได้แล้ว ไวรัสก็จะใช้ทรัพยากรในเซลล์ของเราเพื่อแบ่งแยกและขยายพันธุ์ตัวมันเอง และทำลายนิวเคลียร์ของเซลล์เรา ซึ่งเปรียบเทียบได้ว่า เมื่อเซลล์ของเราถูกวิญญาณของไวรัสเข้า “สิง” แล้ว มันจะเกาะกินทุกอย่างจนหมด แล้วก็จะขยายพันธุ์และบุกไป “สิง” เซลล์อื่น ๆ ในปอดต่อไป ทั้งนี้ SARS-CoV-2 ชอบที่จะเข้าสิงเซลล์ของปอดประเภท cilia ที่มีลักษณะเป็นขนที่พัดไปพัดมาเพื่อปกป้องปอดจากสิ่งแปลกปลอมเข้ามา และพัดให้น้ำมูก (mucus) ที่มีหน้าที่ชำระล้างปอดพาของเสียให้ถ่ายเทออกไปจากปอด
ดังนั้น เมื่อ SARS-CoV-2 เข้าไปทำลายเซลล์ประเภท cilia เป็นจำนวนมาก ทำให้ระบบการระบายของเสียชำรุดลง จึงเป็นผลเกิดอาการปอดบวมทั้งสองข้าง พร้อมกับทำให้หายใจได้ลำบากขึ้น
ขั้นตอนที่ 2 : ระบบภูมิคุ้มกันทำงานปราบปรามเชื้อไวรัส
เมื่อระบบภูมิคุ้มกันรับรู้ว่ามีการบุกรุกเกิดขึ้นแล้ว ในที่สุดมันจะ “ยกทัพ” มาต่อสู้กับผู้บุกรุก โดยฆ่าเซลล์ที่ถูกบุกรุกให้หมดสิ้น จากนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเซลล์ปอดที่จะเข้ามาซ่อมแซมความเสียหายในกรณีที่ทุกอย่างเป็นไปด้วยดี ระบบภูมิคุ้มกันจะรีบมาจัดการกับผู้บุกรุกที่ยังมีอยู่ในจำนวนจำกัดในบริเวณที่จำกัดอย่างรวดเร็ว
แต่ในบางกรณีระบบภูมิคุ้มกันทำงานช้า ปล่อยให้ผู้บุกรุกขยายตัวไปได้มาก นอกจากนั้น ยังทำงานบกพร่องและทำการกวาดล้างอย่างไร้สติ (goes haywire) โดยเซลล์ของภูมิคุ้มกันเข้าไปฆ่าเซลล์ไม่เลือกหน้า ไม่ว่าเซลล์ที่ถูกไวรัสบุกรุก และเซลล์ปกติ ดังนั้น จึงเกิดความเสียหายกับปอดเพิ่มมากขึ้น และทำให้มีเศษเซลล์อุดตันปอดมากขึ้น อันจะนำมาซึ่งอาการปอดบวมรุนแรงยิ่งขึ้น
ช่วงที่ 3 : ปอดถูกทำลายทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและอาจลามไปอีก
ในช่วงนี้ที่ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดพลาดอย่างมาก และระบบหายใจล้มเหลว หากรอดชีวิตได้ในที่สุดก็จะทำให้ปอดได้รับความเสียหายอย่างถาวร (permanent lung damage) โดยองค์การอนามัยโลก อธิบายว่า ปอดอาจมีรูมากมายทำให้ปอดมีแผลเป็นจำนวนมาก และมีลักษณะเหมือนรังผึ้ง
นอกจากนั้น ใน 25% ของผู้ที่เป็นโควิด-19 ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสียอีกด้วย โดย SARS-CoV-2 อาจใช้กุญแจเดียวกันในการบุกรุกเซลล์ลำไส้ของเรา นอกจากนั้น ในกรณีที่ร่างกายติดเชื้อ SARS-CoV MERS และ SARS-CoV-2 พบว่าตับจะถูกกระทบ และจำนวนเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดก็ลดลง ตลอดจนการทำให้ความดันโลหิตลดลง ในบางกรณีการติดเชื้อยังทำให้มีอาการไตวายและหัวใจหยุดเต้นอีกด้วย
มีการคาดการณ์ในเชิงวิชาการว่า การลามของไวรัสไปยังอวัยวะและระบบอื่น ๆ ของร่างกายนั้น อาจเป็นเพราะไวรัสโคโรน่ากระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ผลิตโปรตีน ที่เรียกว่า cytokines เป็นจำนวนมาก ซึ่งโปรตีน cytokines นั้นทำหน้าที่เตือนภัยและเกณฑ์เซลล์ภูมิคุ้มกันให้มารวมพลเพื่อร่วมกันโจมตีเซลล์ที่ถูกไวรัสบุกรุก แต่กลับทำเกินเลยโดยเปรียบเทียบว่า แทนที่ระบบภูมิคุ้มกันจะยิงข้าศึกด้วยกระสุนปืน ก็ไปใช้จรวดยิงทำให้ตึกรามบ้านช่อง (อวัยวะ) ถูกทำลายพร้อมกันไปด้วย
เช่น cytokines อาจสั่งการให้เซลล์ภูมิคุ้มกันโจมตีอวัยวะอื่น ๆ เช่น ระบบเส้นเลือดไปพร้อมกันในระหว่างพยายามกำจัดเซลล์ผิดปกติที่ปอด ทำให้นอกจากปอดรั่วแล้วก็ยังอาจทำให้เส้นเลือดรั่วได้อีกด้วย จึงส่งผลต่อเนื่องให้อวัยวะอื่น ๆ เช่น ตับ ไต พลอยได้รับความเสียหาย
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าการพัฒนาวัคซีนเพื่อสอนให้ระบบภูมิคุ้มกันรู้จักไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่อย่างรวดเร็ว น่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ซึ่งในเรื่องนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดของสหรัฐอเมริกาประเมินให้รัฐสภาของสหรัฐทราบเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ว่า การพัฒนาวัคซีนนั้นน่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 18 เดือนเป็นอย่างต่ำจึงจะสามารถนำไปใช้ป้องกันการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ได้อย่างแพร่หลาย
-
- Verified User
- โพสต์: 1414
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แกะวิกฤติ หาทางรอด COVID-19 : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 4
COVID-19: บทเรียนจากจีน
ในเดือน ก.พ.2020 องค์การอนามัยโลก : WHO ได้ส่งทีมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติรวม 25 คนเข้าไปในจีนเพื่อประเมินการระบาดของ COVID-19 เป็นเวลา 9 วัน
และทำเป็นรายงานที่มีข้อมูลเป็นประโยชน์อย่างยิ่งออกมา ซึ่งต่อมา ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ แห่งฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้นำมาสรุปเป็นภาษาไทย
เนื้อหาของรายงานดังกล่าวประกอบกับคำสัมภาษณ์ของนาย Bruce Aylward หัวหน้าทีมขององค์การอนามัยโลกเมื่อวันที่ 3 มี.ค.2020 คือสิ่งที่จะขอนำเสนอในบทความนี้ เพราะ ณ วันนี้พอจะเป็นที่ประจักษ์แล้วว่ารัฐบาลจีนประสบผลสำเร็จในการควบคุมการระบาดของ COVID-19 ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นข้อมูลและประสบการณ์ของจีนจึงเป็นเรื่องที่ควรศึกษาและทำความเข้าใจเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ
การติดต่อของ COVID-19
กรณีส่วนใหญ่ (78-85%) เกิดจากการติดต่อกันในครอบครัวจาก "ละอองเสมหะ" (droplet) ไม่ใช่จาก "ละอองลอย" (aerosol) ดังนั้นการไม่เข้าไปอยู่รวมกันในที่แออัด ไม่หายใจรดกัน หรือถูกละอองจากการไอหรือจามจึงเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ ข้อสรุปสำคัญของรายงานส่วนนี้คือเมื่อทางการจีนสั่งให้ยุติทุกกิจกรรมที่ต้องมีการรวมตัวหรือการชุมนุมอย่างเคร่งครัดแล้ว การแพร่ขยายของ COVID-19 ย่อมจะเหลืออยู่เพียงแนวทางเดียว คือการติดต่อกันระหว่างคนในครอบครัวเป็นหลัก เมื่อเป็นเช่นนั้นการติดตามและแยกตัวผู้ป่วยและผู้ที่มีโอกาสติดเชื้อไม่ให้แพร่ขยายออกไปในวงกว้างจึงสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
ช่วงเวลาฟักตัวของ COVID-19 นั้นได้มีการวิจัยอย่างละเอียด โดยมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ ซึ่งผลการวิจัยที่ตีพิมพ์เมื่อ 9 มี.ค.2020 สรุปว่าใช้เวลาเฉลี่ย 5.1 วัน โดยประมาณ 97% ของผู้ที่ติดเชื้อจะแสดงอาการภายในเวลา 14 วัน ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงช่วยยืนยันความสำคัญของการกักตัวเอาไว้เป็นเวลา 14 วันเพื่อดูอาการ โดยผู้ที่ป่วยเป็น COVID-19 นั้น 80% จะป่วยไม่มากและไม่ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล แต่จะมีอีก 15% ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลและต้องมีการใช้เครื่องช่วยเพิ่มออกซิเจน และอีก 5% ที่จะมีอาการหนักมากถึงขนาดต้องเข้ารับการรักษาในห้องไอซียู อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย COVID-19 ของเมืองอู่ฮั่นนั้นสูงถึง 4% แต่ในเมืองอื่นๆ ของจีน อัตราการเสียชีวิตจะต่ำกว่ามากคือไม่ถึง 1% โดยอัตราการเสียชีวิตจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการที่จะกล่าวถึงในบทต่อไป
อาการของ COVID-19 และการฟื้นตัว
อาการที่พบบ่อยที่สุด 2 อาการคือการมีไข้ (88%) และการไอแห้งๆ (68%) อาการที่ไม่ใช่สัญญาณของ COVID-19 คือน้ำมูกไหล นอกจากนั้นผู้ที่เป็น COVID-19 ยังจะมีอาการอ่อนแรง (38%) ไอแบบมีเสมหะ (33%) หายใจลำบาก (18%) เจ็บคอ (14%) ปวดหัว (14%) ปวดกล้ามเนื้อ (14%) และหนาวสั่น (11%) ช่วงระยะฟื้นตัวโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3-6 สัปดาห์สำหรับผู้ที่อาการหนัก และ 2 สัปดาห์สำหรับผู้ที่ป่วยไม่มาก
ปัจจัยสำเร็จของจีน
นาย Aylward บอกว่าปัจจัยสำคัญคือความรวดเร็ว (speed) ได้แก่ความรวดเร็วในการตรวจพบผู้ติดเชื้อ (find) การกักกันผู้ที่ติดเชื้อ (isolate) และการติดตามตรวจผู้ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อทั้งหมด (track their contacts) ซึ่งนาย Aylward ย้ำว่าการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพดังกล่าวในทุกๆ มณฑลของจีนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของ COVID-19 กล่าวคือ ไม่ใช่การ "ปิดเมือง"(lockdown) อู่ฮั่นและเมืองใกล้เคียงเพียงอย่างเดียว ซึ่งกระทบกับประชาชนประมาณ 50 ล้านคน แต่เป็นการใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างเข้มข้นในลักษณะนี้ไปทั่วประเทศ และมี “การสร้างความรู้ ความเข้าใจและการยอมรับมาตรการในระดับสูงอย่างไม่น่าเชื่อในหมู่ประชากร”
คำถามต่อมาคือ มาตรการที่เข้มข้นของจีนนั้นจะนำมาใช้กับประเทศต่างๆ ได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งในส่วนนี้รายงานขององค์การอนามัยโลกสรุปว่า “ชุมชนส่วนใหญ่ในโลกยังไม่พร้อมรับมือกับเรื่องนี้ ไม่ว่าในแง่ของวิธีคิดหรือในแง่ของเครื่องมือใช้สอย ไม่พร้อมที่จะใช้มาตรการแบบที่ใช้ควบคุม COVID-19 ในจีน”
ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นการระบาดอย่างรวดเร็วของ COVID-19 ไปยังประเทศอื่นๆ และการควบคุมการระบาดนั้นยังไม่สามารถทำได้ ซึ่งกำลังส่งผลกระทบอย่างรุนแรง เพราะมาตรการปิดเมืองปิดประเทศนั้นเปรียบเสมือนกับการเป็นอัมพาตทางเศรษฐกิจในประเทศชั้นนำของโลกอย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อนครับ
ในเดือน ก.พ.2020 องค์การอนามัยโลก : WHO ได้ส่งทีมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติรวม 25 คนเข้าไปในจีนเพื่อประเมินการระบาดของ COVID-19 เป็นเวลา 9 วัน
และทำเป็นรายงานที่มีข้อมูลเป็นประโยชน์อย่างยิ่งออกมา ซึ่งต่อมา ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ แห่งฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้นำมาสรุปเป็นภาษาไทย
เนื้อหาของรายงานดังกล่าวประกอบกับคำสัมภาษณ์ของนาย Bruce Aylward หัวหน้าทีมขององค์การอนามัยโลกเมื่อวันที่ 3 มี.ค.2020 คือสิ่งที่จะขอนำเสนอในบทความนี้ เพราะ ณ วันนี้พอจะเป็นที่ประจักษ์แล้วว่ารัฐบาลจีนประสบผลสำเร็จในการควบคุมการระบาดของ COVID-19 ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นข้อมูลและประสบการณ์ของจีนจึงเป็นเรื่องที่ควรศึกษาและทำความเข้าใจเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ
การติดต่อของ COVID-19
กรณีส่วนใหญ่ (78-85%) เกิดจากการติดต่อกันในครอบครัวจาก "ละอองเสมหะ" (droplet) ไม่ใช่จาก "ละอองลอย" (aerosol) ดังนั้นการไม่เข้าไปอยู่รวมกันในที่แออัด ไม่หายใจรดกัน หรือถูกละอองจากการไอหรือจามจึงเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ ข้อสรุปสำคัญของรายงานส่วนนี้คือเมื่อทางการจีนสั่งให้ยุติทุกกิจกรรมที่ต้องมีการรวมตัวหรือการชุมนุมอย่างเคร่งครัดแล้ว การแพร่ขยายของ COVID-19 ย่อมจะเหลืออยู่เพียงแนวทางเดียว คือการติดต่อกันระหว่างคนในครอบครัวเป็นหลัก เมื่อเป็นเช่นนั้นการติดตามและแยกตัวผู้ป่วยและผู้ที่มีโอกาสติดเชื้อไม่ให้แพร่ขยายออกไปในวงกว้างจึงสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
ช่วงเวลาฟักตัวของ COVID-19 นั้นได้มีการวิจัยอย่างละเอียด โดยมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ ซึ่งผลการวิจัยที่ตีพิมพ์เมื่อ 9 มี.ค.2020 สรุปว่าใช้เวลาเฉลี่ย 5.1 วัน โดยประมาณ 97% ของผู้ที่ติดเชื้อจะแสดงอาการภายในเวลา 14 วัน ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงช่วยยืนยันความสำคัญของการกักตัวเอาไว้เป็นเวลา 14 วันเพื่อดูอาการ โดยผู้ที่ป่วยเป็น COVID-19 นั้น 80% จะป่วยไม่มากและไม่ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล แต่จะมีอีก 15% ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลและต้องมีการใช้เครื่องช่วยเพิ่มออกซิเจน และอีก 5% ที่จะมีอาการหนักมากถึงขนาดต้องเข้ารับการรักษาในห้องไอซียู อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย COVID-19 ของเมืองอู่ฮั่นนั้นสูงถึง 4% แต่ในเมืองอื่นๆ ของจีน อัตราการเสียชีวิตจะต่ำกว่ามากคือไม่ถึง 1% โดยอัตราการเสียชีวิตจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการที่จะกล่าวถึงในบทต่อไป
อาการของ COVID-19 และการฟื้นตัว
อาการที่พบบ่อยที่สุด 2 อาการคือการมีไข้ (88%) และการไอแห้งๆ (68%) อาการที่ไม่ใช่สัญญาณของ COVID-19 คือน้ำมูกไหล นอกจากนั้นผู้ที่เป็น COVID-19 ยังจะมีอาการอ่อนแรง (38%) ไอแบบมีเสมหะ (33%) หายใจลำบาก (18%) เจ็บคอ (14%) ปวดหัว (14%) ปวดกล้ามเนื้อ (14%) และหนาวสั่น (11%) ช่วงระยะฟื้นตัวโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3-6 สัปดาห์สำหรับผู้ที่อาการหนัก และ 2 สัปดาห์สำหรับผู้ที่ป่วยไม่มาก
ปัจจัยสำเร็จของจีน
นาย Aylward บอกว่าปัจจัยสำคัญคือความรวดเร็ว (speed) ได้แก่ความรวดเร็วในการตรวจพบผู้ติดเชื้อ (find) การกักกันผู้ที่ติดเชื้อ (isolate) และการติดตามตรวจผู้ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อทั้งหมด (track their contacts) ซึ่งนาย Aylward ย้ำว่าการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพดังกล่าวในทุกๆ มณฑลของจีนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของ COVID-19 กล่าวคือ ไม่ใช่การ "ปิดเมือง"(lockdown) อู่ฮั่นและเมืองใกล้เคียงเพียงอย่างเดียว ซึ่งกระทบกับประชาชนประมาณ 50 ล้านคน แต่เป็นการใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างเข้มข้นในลักษณะนี้ไปทั่วประเทศ และมี “การสร้างความรู้ ความเข้าใจและการยอมรับมาตรการในระดับสูงอย่างไม่น่าเชื่อในหมู่ประชากร”
คำถามต่อมาคือ มาตรการที่เข้มข้นของจีนนั้นจะนำมาใช้กับประเทศต่างๆ ได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งในส่วนนี้รายงานขององค์การอนามัยโลกสรุปว่า “ชุมชนส่วนใหญ่ในโลกยังไม่พร้อมรับมือกับเรื่องนี้ ไม่ว่าในแง่ของวิธีคิดหรือในแง่ของเครื่องมือใช้สอย ไม่พร้อมที่จะใช้มาตรการแบบที่ใช้ควบคุม COVID-19 ในจีน”
ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นการระบาดอย่างรวดเร็วของ COVID-19 ไปยังประเทศอื่นๆ และการควบคุมการระบาดนั้นยังไม่สามารถทำได้ ซึ่งกำลังส่งผลกระทบอย่างรุนแรง เพราะมาตรการปิดเมืองปิดประเทศนั้นเปรียบเสมือนกับการเป็นอัมพาตทางเศรษฐกิจในประเทศชั้นนำของโลกอย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อนครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1414
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แกะวิกฤติ หาทางรอด COVID-19 : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 5
อยู่กับหรือเอาชนะCOVID-19?
ผมเชื่อว่าความเข้าใจของคนส่วนใหญ่คือเราต้องเอาชนะ COVID-19 และผมก็ต้องการเช่นนั้น แต่ปัจจุบันยังต้องยอมรับว่า
1.ยังไม่มียารักษาหรือวัคซีนป้องกัน COVID-19 ยาที่กำลังทำการทดลองอยู่ในขณะนี้ ทุกตำรับเข้าใจว่ามีผลในการชะลอการแพร่ขยายและแบ่งตัวของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของเรามีเวลาจัดการกับไวรัสให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จในภายหลัง ส่วนการพัฒนาวัคซีนนั้นแม้ว่าบริษัท Johnson and Johnson จะได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลสหรัฐให้เร่งรัดการทดลองกับมนุษย์ในขั้นที่ 1 ที่เริ่มไปแล้ว แต่กว่าจะพัฒนาออกมาเป็นวัคซีนที่ใช้ได้ก็จะต้องรอถึงเดือน พ.ค.หรือ มิ.ย.2564 เป็นอย่างเร็ว
2.ปัจจุบันอาศัยมาตรการ “ปิดเศรษฐกิจ” เพื่อชะลอการระบาดของ COVID-19 กล่าวคือการปิดโรงเรียน ปิดร้านอาหาร/โรงแรม ห้ามการจัดกีฬา ห้ามการจำหน่ายสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าและจำกัดการเดินทาง/curfew มาตรการดังกล่าวนี้ทำให้เศรษฐกิจชะงักงัน เป็นมาตรการที่มีราคาแพงมากเพื่อซื้อเวลาให้การระบาดชะลอตัวลง เพื่อให้สามารถใช้เวลาที่มีค่าดังกล่าวจัดทำระบบทดสอบผู้ที่สงสัยว่าจะติดเชื้อ (Test) ติดตามคัดกรองผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ (Trace) แบ่งแยกผู้ที่อยู่ในข่ายดังกล่าวออกมา (Isolate) และเร่งขยายศักยภาพในการดูแลบำบัดผู้ที่ป่วยและมีอาการหนัก (Treat) อย่าลืมว่าจนทุกวันนี้ก็ยังไม่มียาขนานใดเลยที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานอาหารและยาของประเทศใดเพื่อมาใช้ในการ “รักษา” COVID-19
3.ดังนั้นสิ่งที่คาดหวังคือเมื่อลดทอนมาตรการปิดเศรษฐกิจแล้ว จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่จะเพิ่มขึ้นไม่มาก หมายความว่ายิ่งปิดเศรษฐกิจนานเท่าใด ความเสียหายก็จะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ เช่น ปัจจุบันมีการพูดกันที่สหรัฐว่าจะมีผู้ตกงานมากถึง 15-25 ล้านคน ซึ่งไม่ใช่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (recession) แต่เป็นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง (depression) ดังที่สหรัฐและทั่วโลกประสบมาแล้วเมื่อ 90 ปีก่อน กล่าวคือผมเชื่อว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งหลายประเทศก็จะต้องพยายาม “เปิด” เศรษฐกิจไม่มากก็น้อย และคาดหวังว่าเมื่อผ่อนปรนมาตรการ lockdown ต่างๆ แล้วจำนวนผู้ที่ติดเชื้อ COVID-19 จะไม่ปรับตัวสูงขึ้นมาอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนาที่ระบบสาธารณสุขยังมีความแข็งแรงไม่มากนัก
ดังนั้นประเด็นสำคัญนอกเหนือไปจากการมีมาตรการฉุกเฉินทางการคลังและการเงินเพื่อเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการ “ปิด” เศรษฐกิจให้เพียงพอ ก็คือการมีระบบ Test, Trace, Isolate และ Treat ที่ทำให้มั่นใจได้ว่าเมื่อ “เปิด” เศรษฐกิจมาได้ระดับหนึ่งแล้ว จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่จะเพิ่มขึ้นไม่มากและจะมีระบบติดตาม คัดกรองและแยกตัวผู้ที่ติดเชื้อและผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อที่รัดกุมและทันท่วงที ทำให้ระบบสาธารณสุขสามารถรับมือกับผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาที่เพิ่มขึ้นในจำนวนที่ไม่มากในหลายเดือนข้างหน้าที่ต้องรอยาและวัคซีน
ทั้งนี้หากติดตามการให้สัมภาษณ์ของผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อของสหรัฐก็จะได้ใจความว่า ทางสหรัฐคาดว่าจะต้องทำการ “ปิด” เศรษฐกิจไปถึงปลายเดือน เม.ย.หรือปลายเดือน พ.ค.โดยอัตราการติดเชื้อและเสียชีวิตที่ปัจจุบันอยู่ที่ระดับใกล้สูงสุดแล้วจะค่อยๆ ลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำภายในเดือน มิ.ย.-ส.ค. ซึ่งตรงกับฤดูร้อนและการปิดภาคเรียนพอดี ดังนั้นสหรัฐจึงต้องควบคุมการระบาดของ COVID-19 ให้ได้ภายในปลายไตรมาส 3 จึงจะสามารถรับมือกับการระบาดใหม่ที่อาจเกิดขึ้นอีกเมื่อต้องหันมาเปิดเศรษฐกิจและเมื่อฤดูหนาวกลับมาอีกในเดือน พ.ย.
ดังนั้นเรื่องของ COVID-19 นี้อาจเป็น “หนังยาว” ที่ยืดเยื้อและมีหลายภาคเป็น series จนกระทั่งมนุษย์สามารถค้นพบวัคซีนเพื่อจัดการกับ COVID-19 ให้เบ็ดเสร็จ แต่เรื่องนี้อาจไม่เกิดขึ้นก็ได้เพราะโคโรนาไวรัสที่ทำให้มนุษย์เจ็บป่วยนั้น ปัจจุบันมีอยู่ 7 ชนิดโดย 4 ชนิดที่ทำให้เป็นไข้หวัด (ซึ่งยังไม่มีวัคซีนป้องกันเพราะไม่ทำให้ป่วยรุนแรง) และอีก 3 ชนิดที่ทำให้ป่วยรุนแรงคือ SARS, MERS และ COVID-19 ที่ปัจจุบันยังไม่มียารักษาหรือวัคซีนป้องกัน
หมายความว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ประเมินว่าเศรษฐกิจจะทรุดตัวลงถึงกลางปีนี้แล้วจะสามารถฟื้นตัวได้อย่างค่อยเป็นค่อยไปนั้น อาจเป็นการคาดการณ์ที่ดีเกินจริงก็ได้ และมาตรการ “กระตุ้น” เศรษฐกิจที่กล่าวถึงกันนั้น ผมต้องขอย้ำว่าไม่ใช่การกระตุ้นเศรษฐกิจแต่เป็นมาตรการฉุกเฉินที่นำมารองรับการปิดตัวของเศรษฐกิจไม่ให้ได้รับความเสียหายอย่างมากมายและกว้างขวาง
การปิดเศรษฐกิจเพื่อชะลอการระบาดของ COVID-19 และให้จัดระบบสาธารณสุขเพื่อควบคุมการระบาดของโรคนี้นั้น ผมมีความเห็นว่าควรจะเปรียบเทียบการปิดเศรษฐกิจว่าเหมือนกับการ “กลั้นลมหายใจ” ซึ่งเป็นสิ่งที่เศรษฐกิจจะทำนานมากเกินไปไม่ได้ เพราะจะส่งผลกระทบที่ร้ายแรงอย่างยิ่ง
แต่ในขณะเดียวกันก็มีความจำเป็นในการให้ความร่วมมือและสนับสนุนฝ่ายการแพทย์และสาธารณสุขที่ต้องทำงานกันอย่างทุ่มเทเพื่อช่วยปกป้องพวกเราทุกคน จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายอนาคตประเทศไทยอย่างมากเพราะประเทศไทยนั้นนอกจากจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงในขณะนี้และจะต้องเผชิญมรสุมใน 2-3 เดือนข้างหน้าแล้ว เศรษฐกิจของไทยเริ่มต้นด้วยความอ่อนแอมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้วและได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกในไตรมาส 1
ดังนั้นจึงสามารถพูดได้ว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะตกต่ำติดต่อกันมานานกว่า 3 ไตรมาสแล้ว ก่อนที่จะต้องเผชิญกับ COVID-19 และจะยังต้องเผชิญกับสภาวะตกต่ำไปอีกอย่างน้อย 2 ไตรมาสข้างหน้าครับ
ผมเชื่อว่าความเข้าใจของคนส่วนใหญ่คือเราต้องเอาชนะ COVID-19 และผมก็ต้องการเช่นนั้น แต่ปัจจุบันยังต้องยอมรับว่า
1.ยังไม่มียารักษาหรือวัคซีนป้องกัน COVID-19 ยาที่กำลังทำการทดลองอยู่ในขณะนี้ ทุกตำรับเข้าใจว่ามีผลในการชะลอการแพร่ขยายและแบ่งตัวของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของเรามีเวลาจัดการกับไวรัสให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จในภายหลัง ส่วนการพัฒนาวัคซีนนั้นแม้ว่าบริษัท Johnson and Johnson จะได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลสหรัฐให้เร่งรัดการทดลองกับมนุษย์ในขั้นที่ 1 ที่เริ่มไปแล้ว แต่กว่าจะพัฒนาออกมาเป็นวัคซีนที่ใช้ได้ก็จะต้องรอถึงเดือน พ.ค.หรือ มิ.ย.2564 เป็นอย่างเร็ว
2.ปัจจุบันอาศัยมาตรการ “ปิดเศรษฐกิจ” เพื่อชะลอการระบาดของ COVID-19 กล่าวคือการปิดโรงเรียน ปิดร้านอาหาร/โรงแรม ห้ามการจัดกีฬา ห้ามการจำหน่ายสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าและจำกัดการเดินทาง/curfew มาตรการดังกล่าวนี้ทำให้เศรษฐกิจชะงักงัน เป็นมาตรการที่มีราคาแพงมากเพื่อซื้อเวลาให้การระบาดชะลอตัวลง เพื่อให้สามารถใช้เวลาที่มีค่าดังกล่าวจัดทำระบบทดสอบผู้ที่สงสัยว่าจะติดเชื้อ (Test) ติดตามคัดกรองผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ (Trace) แบ่งแยกผู้ที่อยู่ในข่ายดังกล่าวออกมา (Isolate) และเร่งขยายศักยภาพในการดูแลบำบัดผู้ที่ป่วยและมีอาการหนัก (Treat) อย่าลืมว่าจนทุกวันนี้ก็ยังไม่มียาขนานใดเลยที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานอาหารและยาของประเทศใดเพื่อมาใช้ในการ “รักษา” COVID-19
3.ดังนั้นสิ่งที่คาดหวังคือเมื่อลดทอนมาตรการปิดเศรษฐกิจแล้ว จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่จะเพิ่มขึ้นไม่มาก หมายความว่ายิ่งปิดเศรษฐกิจนานเท่าใด ความเสียหายก็จะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ เช่น ปัจจุบันมีการพูดกันที่สหรัฐว่าจะมีผู้ตกงานมากถึง 15-25 ล้านคน ซึ่งไม่ใช่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (recession) แต่เป็นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง (depression) ดังที่สหรัฐและทั่วโลกประสบมาแล้วเมื่อ 90 ปีก่อน กล่าวคือผมเชื่อว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งหลายประเทศก็จะต้องพยายาม “เปิด” เศรษฐกิจไม่มากก็น้อย และคาดหวังว่าเมื่อผ่อนปรนมาตรการ lockdown ต่างๆ แล้วจำนวนผู้ที่ติดเชื้อ COVID-19 จะไม่ปรับตัวสูงขึ้นมาอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนาที่ระบบสาธารณสุขยังมีความแข็งแรงไม่มากนัก
ดังนั้นประเด็นสำคัญนอกเหนือไปจากการมีมาตรการฉุกเฉินทางการคลังและการเงินเพื่อเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการ “ปิด” เศรษฐกิจให้เพียงพอ ก็คือการมีระบบ Test, Trace, Isolate และ Treat ที่ทำให้มั่นใจได้ว่าเมื่อ “เปิด” เศรษฐกิจมาได้ระดับหนึ่งแล้ว จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่จะเพิ่มขึ้นไม่มากและจะมีระบบติดตาม คัดกรองและแยกตัวผู้ที่ติดเชื้อและผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อที่รัดกุมและทันท่วงที ทำให้ระบบสาธารณสุขสามารถรับมือกับผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาที่เพิ่มขึ้นในจำนวนที่ไม่มากในหลายเดือนข้างหน้าที่ต้องรอยาและวัคซีน
ทั้งนี้หากติดตามการให้สัมภาษณ์ของผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อของสหรัฐก็จะได้ใจความว่า ทางสหรัฐคาดว่าจะต้องทำการ “ปิด” เศรษฐกิจไปถึงปลายเดือน เม.ย.หรือปลายเดือน พ.ค.โดยอัตราการติดเชื้อและเสียชีวิตที่ปัจจุบันอยู่ที่ระดับใกล้สูงสุดแล้วจะค่อยๆ ลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำภายในเดือน มิ.ย.-ส.ค. ซึ่งตรงกับฤดูร้อนและการปิดภาคเรียนพอดี ดังนั้นสหรัฐจึงต้องควบคุมการระบาดของ COVID-19 ให้ได้ภายในปลายไตรมาส 3 จึงจะสามารถรับมือกับการระบาดใหม่ที่อาจเกิดขึ้นอีกเมื่อต้องหันมาเปิดเศรษฐกิจและเมื่อฤดูหนาวกลับมาอีกในเดือน พ.ย.
ดังนั้นเรื่องของ COVID-19 นี้อาจเป็น “หนังยาว” ที่ยืดเยื้อและมีหลายภาคเป็น series จนกระทั่งมนุษย์สามารถค้นพบวัคซีนเพื่อจัดการกับ COVID-19 ให้เบ็ดเสร็จ แต่เรื่องนี้อาจไม่เกิดขึ้นก็ได้เพราะโคโรนาไวรัสที่ทำให้มนุษย์เจ็บป่วยนั้น ปัจจุบันมีอยู่ 7 ชนิดโดย 4 ชนิดที่ทำให้เป็นไข้หวัด (ซึ่งยังไม่มีวัคซีนป้องกันเพราะไม่ทำให้ป่วยรุนแรง) และอีก 3 ชนิดที่ทำให้ป่วยรุนแรงคือ SARS, MERS และ COVID-19 ที่ปัจจุบันยังไม่มียารักษาหรือวัคซีนป้องกัน
หมายความว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ประเมินว่าเศรษฐกิจจะทรุดตัวลงถึงกลางปีนี้แล้วจะสามารถฟื้นตัวได้อย่างค่อยเป็นค่อยไปนั้น อาจเป็นการคาดการณ์ที่ดีเกินจริงก็ได้ และมาตรการ “กระตุ้น” เศรษฐกิจที่กล่าวถึงกันนั้น ผมต้องขอย้ำว่าไม่ใช่การกระตุ้นเศรษฐกิจแต่เป็นมาตรการฉุกเฉินที่นำมารองรับการปิดตัวของเศรษฐกิจไม่ให้ได้รับความเสียหายอย่างมากมายและกว้างขวาง
การปิดเศรษฐกิจเพื่อชะลอการระบาดของ COVID-19 และให้จัดระบบสาธารณสุขเพื่อควบคุมการระบาดของโรคนี้นั้น ผมมีความเห็นว่าควรจะเปรียบเทียบการปิดเศรษฐกิจว่าเหมือนกับการ “กลั้นลมหายใจ” ซึ่งเป็นสิ่งที่เศรษฐกิจจะทำนานมากเกินไปไม่ได้ เพราะจะส่งผลกระทบที่ร้ายแรงอย่างยิ่ง
แต่ในขณะเดียวกันก็มีความจำเป็นในการให้ความร่วมมือและสนับสนุนฝ่ายการแพทย์และสาธารณสุขที่ต้องทำงานกันอย่างทุ่มเทเพื่อช่วยปกป้องพวกเราทุกคน จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายอนาคตประเทศไทยอย่างมากเพราะประเทศไทยนั้นนอกจากจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงในขณะนี้และจะต้องเผชิญมรสุมใน 2-3 เดือนข้างหน้าแล้ว เศรษฐกิจของไทยเริ่มต้นด้วยความอ่อนแอมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้วและได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกในไตรมาส 1
ดังนั้นจึงสามารถพูดได้ว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะตกต่ำติดต่อกันมานานกว่า 3 ไตรมาสแล้ว ก่อนที่จะต้องเผชิญกับ COVID-19 และจะยังต้องเผชิญกับสภาวะตกต่ำไปอีกอย่างน้อย 2 ไตรมาสข้างหน้าครับ