ดร.กิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการวิจัยและคำปรึกษาระหว่างประเทศสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ )เปิดเผยในงานHow to รอด รอดอย่างไรในสถานการณ์ เศรษฐกิจร้อน การเมืองแรง ว่า
ปีนี้ มีความผันผวนมากอีกปีนึง เริ่มจากทรัมป์ส่งโดรนไปถล่มอิหร่าน ต่อมาก็มีการเจรจาสงครามการค้าเฟสหนึ่ง
เรียบร้อย และเริ่มมีไวรัสโคโลน่าระบาด ดังนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ ถึงแม้จะวิเคราะห์ตอนนี้ไปแล้ว อาจเปลี่ยนแปลงได้ ตอนนี้มีข่าวดีและข่าวร้ายจะมาบอก
เริ่มที่ข่าวดีก่อน
1.การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกยังเป็นบวกอยู่ จากตัวเลขการคาดการณ์จาก IMF,World Bank ประมาณ 2%ขึ้นไป
ดังนั้นไม่น่าเกิดวิกฤต และ ไทยก็ไม่น่าจะเจอวิกฤต เพราะเศรษฐกิจไม่หดตัวจากปีที่แล้ว แต่ยังไม่รวมไวรัสที่พึ่งเกิดขึ้น
2.ราคาน้ำมันปีนี้ยังลดต่อเนื่อง หลังจากลดมา2-3ปี demandไม่เพิ่ม และ มีsupplyจากUSมาเติม ปีนี้น่าจะลดอีก 5$
3.ค่าเงินบาทอ่อนตัวถึง 31.2 บาทต่อ$ หลังเกิดเชื้อไวรัส โคโลน่า
แต่ข่าวร้ายมากกว่าข่าวดี ก็คือ
1.ทีดีอาร์ไอประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย(จีดีพี)ทั้งปีนี้ไว้ที่ 2.8% ต่อปี แต่พอมีปัจจัยจากเชื้อไวรัสเข้ามา เบื้องต้น คาดว่าเชื้อไวรัสจะสามารถควบคุมได้ภายในระยะเวลา 3 เดือนซึ่งเฉพาะปัจจัยเชื้อไวรัสจะส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวจีนและนักท่องเที่ยวประเทศอื่นๆอาจหายไปประมาณ2.8แสนล้านคนคิดเป็นอัตรา0.7%ของจีดีพี ดังนั้นเฉพาะผลกระทบจากเชื้อไวรัสอย่างเดียวอาจทำให้จีดีพีลดเหลือประมาณ 2.00%
2.ยังมีปัจจัยเสี่ยงด้านลบอื่นๆอาทิ ความล่าช้าต่อการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2563 และปัญหาภัยแล้ง
3.ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก เช่น สงครามการค้า ซึ่งไว้ใจไม่ได้
เพราะทรัมป์มีการเลือกตั้งปลายปีนี้
ทำทุกอย่างให้คะแนนเสียงเพิ่มขึ้น ส่วนสงครามจริงเช่น รบกับ อิหร่าน ก็ต้องจับตามอง
เศรษฐกิจสหรัฐโตช้า ดอกเบี้ยมีทิศทางลด ดอกเบี้ยโลกก็เป็นขาลง ดอกเบี้ยไทยน่าจะลดอีกสักครั้ง
อย่างไรก็ตามปัจจัยความล่าช้าการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีนั้น เป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 18 ปีก่อนซึ่งเห็นได้ว่าเมื่องบประมาณผ่านสภาฯในเดือนกุมภาพันธ์จะเห็นตัวเลขการเบิกใช้เงินงบประมาณพุ่งขึ้นอย่างมากแต่หลังจากนั้นการเบิกใช้งบประมาณก็ปรับลดลง
"ปีงบประมาณนี้จึงอยากให้เน้นโครงการลงทุนที่มีความเป็นไปได้จริงและเร่งการเบิกจ่ายจริงให้ได้70-75% สิ่งสำคัญรัฐบาลต้องสร้างความมั่นใจกับภาคเอกชนเพื่อเพิ่มการจับจ่ายใช้สอย"
ด้านปัจจัยภัยแล้งมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นทำให้ภาคเกษตรไม่ได้รับ จากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากกำลังการผลิตสินค้าลดลงทั้งนี้หากรัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลืออาจช่วยบรรเทาด้านรายได้ภาคเกษตร นอกจากนี้ยังมีหลายปัจจัยที่ต้องติดตามสถานการณ์ไม่ว่า สงครามทางการค้าหรือความผันผวนจากเศรษฐกิจโลกที่ยังมีอยู่อีกมาก ส่วนแนวโน้ม ทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐที่อยู่ในขาลงจะส่งผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งมีแนวโน้มอาจจะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงในอัตรา 0.25% ในปีนี้
ขอบคุณ บสส9ที่จัดงานนี้