KTBST
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
KTBST
โพสต์ที่ 1
*บล.เคทีบีฯ ยื่นไฟลิ่งขาย IPO 16.77 ล้านหุ้นเข้า SET ระดมทุนขยายธุรกิจ-พัฒนาระบบบริการ
Source - IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (Th)
Monday, January 14, 2019 11:43
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (14 ม.ค. 62)--นายสมภพ ศักดิ์พนม ประธานกรรมการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน บล.เคทีบี (ประเทศไทย) (KTBST) เปิดเผยว่า KTBST ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนเป็นครั้งแรกต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และยื่นคำขอให้รับหุ้นสามัญของบริษัทเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้วเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 62
ทั้งนี้ KTBST เตรียมเสนอขายหุ้นสามัญจำนวน 16.77 ล้านหุ้น แบ่งเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ออกโดยบริษัท 11.77 ล้านหุ้น และหุ้นเดิมที่ผู้ถือหุ้นใหญ่เสนอขาย 5 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 10.00 บาท ปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียน 670 ล้านบาท แบ่งเป็นจำนวนหุ้นสามัญ 67 ล้านหุ้น โดยมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 552.25 ล้านบาท แบ่งเป็นจำนวนหุ้นสามัญทั้งสิ้น 55.225 ล้านหุ้น
ด้านนายวิน อุดมรัชตวนิชย์ ประธานกรรมการบริหาร KTBST เปิดเผยว่า วัตถุประสงค์ของการระดมทุนในครั้งนี้ เพื่อขยายธุรกิจควบคู่กับการพัฒนาระบบการให้บริการ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการขยายธุรกิจให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น โดย KTBST มีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นสถาบันการเงินในประเทศไทยที่มีความโดดเด่นในการให้บริการลูกค้าแบบครบวงจร พนักงานมีความสุขและภูมิใจที่ได้ร่วมงานกับองค์กร โดย KTBST มุ่งหวังให้ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ผู้ถือหุ้น ลูกค้า และพนักงาน มีการเติบโตพร้อมกันอย่างยั่งยืน และมีส่วนช่วยสังคมในการพัฒนาตลาดทุน
KTBST ดำเนินธุรกิจ ให้บริการด้านการลงทุนแบบครบวงจร โดยบริษัทได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลังประเภท ก ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ ได้แก่ บริการนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และตราสารอนุพันธ์ การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ กองทุนส่วนบุคคล ตัวแทนซื้อขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวม ธุรกรรมยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ บริการวาณิชธนกิจ ที่ปรึกษาทางการเงิน และการให้บริการออกแบบการลงทุน (Wealth Advice)
และ KTBST ยังได้รับใบอนุญาตเพื่อประกอบธุรกิจซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการแลกเปลี่ยนเงินตราให้กับลูกค้าในการบริการธุรกรรมไปต่างประเทศอีกด้วย
ผลประกอบการของบริษัทย้อนหลัง (ปี 59-60) มีรายได้รวม 615.31 ล้านบาท และ 915.45 ล้านบาท ตามลำดับ และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 8.60 ล้านบาท และ 39.81 ตามลำดับ ในขณะที่งวด 9 เดือนแรกของปี 61 มีรายได้รวมทั้งสิ้น 890.38 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 50.07 ล้านบาท
--อินโฟเควสท์ โดย สมบูรณ์เกียรติ พานิชเจริญ/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
Source - IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (Th)
Monday, January 14, 2019 11:43
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (14 ม.ค. 62)--นายสมภพ ศักดิ์พนม ประธานกรรมการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน บล.เคทีบี (ประเทศไทย) (KTBST) เปิดเผยว่า KTBST ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนเป็นครั้งแรกต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และยื่นคำขอให้รับหุ้นสามัญของบริษัทเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้วเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 62
ทั้งนี้ KTBST เตรียมเสนอขายหุ้นสามัญจำนวน 16.77 ล้านหุ้น แบ่งเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ออกโดยบริษัท 11.77 ล้านหุ้น และหุ้นเดิมที่ผู้ถือหุ้นใหญ่เสนอขาย 5 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 10.00 บาท ปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียน 670 ล้านบาท แบ่งเป็นจำนวนหุ้นสามัญ 67 ล้านหุ้น โดยมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 552.25 ล้านบาท แบ่งเป็นจำนวนหุ้นสามัญทั้งสิ้น 55.225 ล้านหุ้น
ด้านนายวิน อุดมรัชตวนิชย์ ประธานกรรมการบริหาร KTBST เปิดเผยว่า วัตถุประสงค์ของการระดมทุนในครั้งนี้ เพื่อขยายธุรกิจควบคู่กับการพัฒนาระบบการให้บริการ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการขยายธุรกิจให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น โดย KTBST มีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นสถาบันการเงินในประเทศไทยที่มีความโดดเด่นในการให้บริการลูกค้าแบบครบวงจร พนักงานมีความสุขและภูมิใจที่ได้ร่วมงานกับองค์กร โดย KTBST มุ่งหวังให้ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ผู้ถือหุ้น ลูกค้า และพนักงาน มีการเติบโตพร้อมกันอย่างยั่งยืน และมีส่วนช่วยสังคมในการพัฒนาตลาดทุน
KTBST ดำเนินธุรกิจ ให้บริการด้านการลงทุนแบบครบวงจร โดยบริษัทได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลังประเภท ก ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ ได้แก่ บริการนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และตราสารอนุพันธ์ การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ กองทุนส่วนบุคคล ตัวแทนซื้อขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวม ธุรกรรมยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ บริการวาณิชธนกิจ ที่ปรึกษาทางการเงิน และการให้บริการออกแบบการลงทุน (Wealth Advice)
และ KTBST ยังได้รับใบอนุญาตเพื่อประกอบธุรกิจซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการแลกเปลี่ยนเงินตราให้กับลูกค้าในการบริการธุรกรรมไปต่างประเทศอีกด้วย
ผลประกอบการของบริษัทย้อนหลัง (ปี 59-60) มีรายได้รวม 615.31 ล้านบาท และ 915.45 ล้านบาท ตามลำดับ และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 8.60 ล้านบาท และ 39.81 ตามลำดับ ในขณะที่งวด 9 เดือนแรกของปี 61 มีรายได้รวมทั้งสิ้น 890.38 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 50.07 ล้านบาท
--อินโฟเควสท์ โดย สมบูรณ์เกียรติ พานิชเจริญ/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: KTBST
โพสต์ที่ 2
http://market.sec.or.th/public/ipos/IPO ... sID=233252
หนังสือชี้ชวนตราสารทุน
รายละเอียดตราสาร
ผู้ออกหลักทรัพย์ : บริษัท หลักทรัพย์เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ : กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม / บริษัท หลักทรัพย์เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
วันที่ยื่น Filing version แรก : 11/01/2562
วันที่แก้ไข Filing ครั้งล่าสุด (วันที่นับ 1 Filing) : -
วันที่ Filing มีผลบังคับใช้ : -
วันที่เริ่มต้นการเสนอขาย : -
วันที่สิ้นสุดการเสนอขาย : -
ประเภทหลักทรัพย์ : หุ้นสามัญ
ประเภทการเสนอขาย : การเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกต่อประชาชน
ที่ปรึกษาทางการเงิน/ผู้ควบคุม : บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด / นาย สมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร
หนังสือชี้ชวนตราสารทุน
รายละเอียดตราสาร
ผู้ออกหลักทรัพย์ : บริษัท หลักทรัพย์เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ : กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม / บริษัท หลักทรัพย์เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
วันที่ยื่น Filing version แรก : 11/01/2562
วันที่แก้ไข Filing ครั้งล่าสุด (วันที่นับ 1 Filing) : -
วันที่ Filing มีผลบังคับใช้ : -
วันที่เริ่มต้นการเสนอขาย : -
วันที่สิ้นสุดการเสนอขาย : -
ประเภทหลักทรัพย์ : หุ้นสามัญ
ประเภทการเสนอขาย : การเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกต่อประชาชน
ที่ปรึกษาทางการเงิน/ผู้ควบคุม : บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด / นาย สมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: KTBST
โพสต์ที่ 3
KTBST ครบเครื่อง
Source - หุ้นอินไซด์รายเดือน (Th)
Friday, January 18, 2019 14:55
ผมเข้ามาไม่ได้อยากทำธุรกิจโบรกเกอร์ แต่อยากทำแพลตฟอร์มไม่เหมือนคนอื่น อีก5ปีข้างหน้าKTBST สัดส่วนรายได้จากฟีอินคัมจะเพิ่มเป็น50-60%จาก30-40%ในปี62
ดร.วิน อุดมรัชตวนิชย์ กระโดดร่วมงาน บมจ. บล. เคทีบี (ประเทศไทย) KTBST บริษัทสมาชิก หมายเลข 32 ช่วงพฤษภาคม 2017 ไม่ใช่แค่บริหาร แต่เข้ามาลงทุน ด้วยเงินส่วนตัวและกู้ยืมเงินจาก 6 นักลงทุนเสียดอกเบี้ย8% ถือหุ้นKTBST ประมาณ 30-31%
ณ ตอนนี้KTBST มีโครงสร้างที่เปลี่ยนแปลงไป ณ วันที่ 30 กันยายน 2561 โดยKTB Investment & Securities Company Limited (จากประเทศเกาหลีใต้)ถือ60.50% KTB Asset Management Company Limited (จากประเทศเกาหลีใต้) ถือ9.40% นายวินหรือดร.วิน อุดมรัชตวนิชย์ ถือ13.70%
จำนวนหุ้นที่ลดลงนั้น ดร.วิน ได้คืนเงินพร้อมดอกเบี้ยให้ 6 นักลงทุนไปแล้ว พร้อมการเข้าถือหุ้นในKTBST ซึ่งวันที่ยื่นไฟลิ่ง คงได้เห็นโฉมหน้าของบรรดาเหล่านายทุนของดร.วิน ว่า เป็นใคร
ประมาณเดือนมกราคม 2562 บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (Asset Pro Management) หรือ APM ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของKTBST จะยื่นไฟลิ่งเสนอขายหุ้นให้ประชาชนทั่วไปหรือIPO จำนวน 67 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 10 บาท/หุ้น โดยจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
"KTBST มีคุณสมบัติในการเข้าตลาดหุ้น มีทุนชำระแล้ว 670 ล้านบาท แถม มีROE 15% เทียบกับอุตสาหกรรมROE ประมาณอยู่ในระดับ 5-7%"ดร.วินกล่าว
ดร.วิน เล่าย้อนความหลังว่า ผมเข้ามาไม่ได้อยากทำธุรกิจโบรกเกอร์ แต่อยากทำแพลตฟอร์มไม่เหมือนคนอื่น อีก5ปีข้างหน้าKTBST สัดส่วนรายได้จากฟีอินคัมจะเพิ่มเป็น50-60%จาก30-40%ในปี62และปีนี้ บริษัทฯมีโครงสร้างรายได้มาจากธุรกิจหลักทรัพย์ 49% รายได้จากฟีอินคัม 33%และที่เหลือเป็นรายได้อื่นประมาณ10-15%
ปัจจุบัน KTBST มีสาขา 11 แห่ง ประกอบด้วย1.เยาวราช (สำนักงานสาขา)2.ลาดพร้าว 124 (สำนักงานสาขา) 3.ลาดพร้าว 2 (สำนักงานสาขา)4.ขอนแก่น (สำนักงานสาขา)5.ชลบุรี (สำนักงานสาขา)6.เชียงใหม่ (สำนักงานสาขา)7.เบตง (สำนักงานสาขา)8.ยะลา (สำนักงานสาขา)9.หาดใหญ่พลาซ่า (สำนักงานสาขา)10.อุดรธานี (สำนักงานสาขา)และ11.อุบลราชธานี
บอร์ด KTBST ภายใต้การบริหารของดร.วิน อุดมรัชตวนิชย์ ล้วนไม่ธรรมดา 1. นายกิตติรัตน์ ณ ระนองประธานกรรมการบริษัท2. นายวิน อุดมรัชตวนิชย์ ประธานกรรมการบริหาร (มีอำนาจจัดการ) 3. นายจอง คยู คิม กรรมการ (มีอำนาจจัดการ)4. นายณัฐพงศ์ ณ ระนองกรรมการ (มีอำนาจจัดการ) 5. นายแท วู อัน กรรมการ 6. นายวิทูร เลิศพนมวรรณกรรมการ 7. นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการ และประธานกรรมการตรวจสอบ8. นายโด ซุน คิม กรรมการ และกรรมการตรวจสอบและ9. นายดง โฮ โค กรรมการ และกรรมการตรวจสอบ
ดร.วิน โชว์ผลงานปี61 พร้อมแผนปี62
ดร.วิน นำทัพ KTBST โชว์ผลงานปี 2561 ณ สิ้นเดือน พ.ย. มีรายได้เติบโตกว่า 1,000 ล้านบาท และมีผลกำไรก่อนหักภาษีอยู่ที่ 76.7 ล้านบาท เติบโต 122% จากปีก่อนหน้า สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ หลังขยายธุรกิจควบคู่การพัฒนาระบบการให้บริการ ตั้งเป้าปี 2562 นำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ และเดินหน้ารุกธุรกิจ บลจ. และ REIT วางเป้าเติบโตอีกเท่าตัวทำกำไรก่อนหักภาษีแตะ 158 ล้านบาท ในปี 2562 ชูจุดเด่นเป็นสถาบันการเงินที่โดดเด่น และเชี่ยวชาญด้านการลงทุนและมีระบบสร้างธรรมาภิบาลที่โปร่งใส มองเศรษฐกิจไทย 2019 ชะลอลงตามเศรษฐกิจโลก ชูการลงทุนในสินทรัพย์คุณภาพ (Quality investment) ที่มีการจำกัดความเสี่ยงขาลง เช่น กองทุนอสังหาริมทรัพย์และหุ้นกู้อนุพันธ์
ดร.วิน อุดมรัชตวนิชย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KTBST เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทขยายธุรกิจให้บริการที่ครบวงจรมากขึ้นทำให้ในปี 2561 บริษัทมีผลการดำเนินงานที่เติบโตต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา โดย ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2561 บริษัท มีรายได้รวมทั้งสิ้น 1,074.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% และมีกำไรก่อนหักภาษี 76.7 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 122% จากช่วงเดียวกันของปี 2560 ซึ่งเกินกว่าเป้าหมายที่บริษัทวางไว้ โดยสัดส่วนรายได้หลักมาจาก 2 ส่วน คือ ค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ 50% และ ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจบริการอื่นๆ 34% ที่มีการเติบโตขึ้นอย่างมีนัยยะจากธุรกิจที่ปรึกษาการเงิน ธุรกิจธุรกิจตัวแทนซื้อขายหน่วยลงทุน และธุรกิจบริการกองทุนส่วนบุคคล ที่เหลือมาจากรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผล และดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ประมาณ 15%
ด้วยการเติบโตดังกล่าวส่งผลให้ปัจจุบันบริษัทมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ที่ซื้อขายอยู่เป็นประจำจำนวนกว่า 7,000 บัญชีเพิ่มขึ้นมากกว่า 2,000 บัญชี ในปี 2561 ทั้งนี้ ในการดำเนินธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์KTBST จะไม่ได้เน้นขยายส่วนแบ่งการตลาด เนื่องจาก บริษัทเน้นการให้บริการการวางแผนการลงทุนแบบครบวงจรมากกว่าการเทรดหุ้นเพียงอย่างเดียว ขณะที่ด้านธุรกิจการซื้อขายในตลาด TFEX บริษัทมีส่วนแบ่งการตลาด อยู่ที่ 5-10% ติดอันดับ 1-5 ของอุตสาหกรรม ด้านธุรกิจอื่น ๆ ของบริษัทเติบโตขึ้นเช่นกัน โดยธุรกิจบริหารความมั่งคั่งส่วนบุคคล (Private Wealth Management) มีสินทรัพย์ภายใต้คำแนะนำ (AUA) ประมาณ 100,000 ล้านบาท ธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลที่เติบโตขึ้น มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) อยู่ที่ 2,000 ล้านบาท ด้านธุรกิจตัวแทนซื้อขายหน่วยลงทุน (Selling Agent) ปัจจุบัน KTBST มีแพลทฟอร์มการให้บริการแบบ Open-architecture มีกองทุนรวมให้เลือกกว่า 1,000 กองทุน จาก 19 บลจ.ชั้นนำ ด้าน AUA มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องปัจจุบันอยู่ที่ 7,000 ล้านบาท ส่วนด้านธุรกิจวาณิชธนกิจด้านการออกตราสารหนี้ หรือ Corporate finance solution ก็เติบโตต่อเนื่องเช่นเดียวกัน โดยตั้งแต่ปี 2559 ถึงปัจจุบัน บริษัทออกตราสารหนี้ทั้งตั๋วแลกเงิน และหุ้นกู้ เพื่อระดมทุนให้บริษัทชั้นนำต่าง ๆ กว่า 40 บริษัท มูลค่ากว่า 47,000 ล้านบาท
"ปีนี้ บริษัทฯมีกำไรหลังหักภาษี ประมาณ 57 ล้านบาท และปีหน้า บริษัทฯคาดว่าจะมีรายได้รวม 1,343.9 ล้านบาท กำไรก่อนหักภาษี158.1 ล้านบาท เทียบกับปี2561 คาดว่า จะรายได้รวม 1,067.6 ล้านบาท กำไรก่อนหักภาษี74.7 ล้านบาท และ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2561 บริษัทฯมีรายได้รวม 1,074.8 ล้านบาท กำไรก่อนหักภาษี 76.7 ล้านบาท"ดร.วินกล่าว
และในปีนี้ บริษัทได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการวาณิชธนกิจ (Investment Banking ) จากทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อีกครั้งในเดือนกรกฎาคม และได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุน (IPO) ให้กับ บริษัท ไทย อิงเกอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ TIGERในเดือนตุลาคม ซึ่งเข้าซื้อ-ขายวันแรกราคาหุ้นละ 3.65 บาท ปัจจุบันราคาอยู่ที่ระดับสูงกว่า 4 บาท ถือเป็น IPO ตัวแรกที่ประสบความสำเร็จหลังจากบริษัทถูกพักใบอนุญาตไปเป็นเวลา 2 ปี
ทั้งนี้ในปีนี้ จะมีไอพีโอ 4-5 บริษัท มาร์เก็ตแคปไม่เกินหมื่นล้านบาท ซึ่งปีนี้มี 2ตัว นั่นคือบริษัท ไทย อิงเกอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ TIGER และบมจ.สโตนเฮ้นจ์ อินเตอร์ (STI)
ด้านความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ KTBST ได้ขยายโอกาสทางการลงทุนไปต่างประเทศด้วยการจับมือกับบริษัท Unicapital Group จากประเทศฟิลิปปินส์ พร้อมกับลงนามความร่วมมือด้านวาณิชธนกิจและนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ เพื่อสร้างโอกาสที่จะให้นักลงทุนไทยสามารถไปลงทุนต่างประเทศในอนาคต รวมไปถึงในปีนี้ KTBST ได้ส่งเสริมและพัฒนาการออมและลงทุนกับชาวมุสลิมในกรุงเทพมหานคร ด้วยการลงนามความร่วมมือ (MOU) กับสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร เพื่อสนับสนุนชาวมุสลิมในกรุงเทพมหานครให้มีความเข้าใจเรื่องการเงินเพื่อวางแผนการเกษียณอายุตามหลักศาสนาอิสลาม ถือได้ว่าในปีนี้ 2561 KTBST ประสบความสำเร็จทั้งในด้านการพัฒนาบริษัทเพื่อรองรับโอกาสการเติบโตในอนาคตและในด้านการขยายธุรกิจกับพันธมิตรต่างๆทั้งในและต่างประเทศ
ทั้งนี้ในปี 2561 บริษัทได้กับพัฒนาเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ทั้งการพัฒนาระบบชำระเงินออนไลน์ หรือ e-Payment ในการทำธุรกิจกรรมทางการเงินต่าง ๆ มีการพัฒนาระบบ Single Application เพิ่มความสะดวกในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ของลูกค้า โดยลูกค้า KTBST เปิดบัญชีเพียงครั้งเดียวสามารถลงทุนได้ในทุก ๆ สินทรัพย์ ที่บริษัทให้บริการ พร้อมด้วยการพัฒนาระบบ KTBST Single Sign-on คือ บริการออนไลน์ให้ลูกค้ามีเพียง Log in เดียวเพื่อเข้าใช้บริการต่าง ๆ ของ KTBST ทั้ง e-Service, Settrade streaming และ KTBST Trade ทำให้ลูกค้าสามารถ เข้าถึงพอร์ตการลงทุนทุกสินทรัพย์ รายงานการทำธุรกรรมต่าง ๆ กำไรและขาดทุนของพอร์ตการลงทุน รวมถึงการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ด้วย
ด้านใบอนุญาตใหม่ในการประกอบธุรกิจ ปี้นี้บริษัทได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจซื้อ ขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยเป็นบริษัทหลักทรัพย์แห่งแรกที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มอบใบอนุญาตนี้ และได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้ KTBST เป็น "ผู้ให้บริการออกแบบการลงทุน" หรือ Wealth advice ในโครงการ "5 ขั้น มั่นใจลงทุน" เพื่อช่วยในเรื่องการวางแผนทางการเงินแก่ประชาชนทั่วไป ผ่านตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทและนายทะเบียนหลักทรัพย์
นอกจากนี้ บริษัทได้เดินหน้าขยายธุรกิจในเครือ 2 บริษัท โดยขออนุญาตจัดตั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) วี จำกัด ในเดือนพฤษภาคม และได้รับใบอนุญาตจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยมีแผนที่จะเริ่มดำเนินธุรกิจการจัดการกองทุนรวมในต้นปีหน้านี้ พร้อมกันนี้บริษัทได้ดำเนินการขอใบอนุญาตเป็นผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT Management) เพื่อจัดตั้งบริษัท เคทีบีเอสที รีท แมเนจเมนท์ จำกัด (KTBST REIT) ซึ่งคาดว่าจะได้รับอนุมัติให้ดำเนินธุรกิจได้ในเดือนธันวาคม
สำหรับในปี 2562 นั้น ดร. วิน เปิดเผยว่า บริษัทมีแผนธุรกิจที่สำคัญคือ การนำ KTBST เข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการขออนุญาตจากสำนักงานก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ คาดว่าน่าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ได้ในช่วงต้นปี 2562 นอกจากนี้ บริษัทยังได้เตรียมเปิดระบบการให้บริการด้านการลงทุนบน online application ที่อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าเปิดบัญชี Online เพื่อลดการใช้กระดาษในการทำเอกสารต่าง ๆ ลูกค้าจึงเปิดบัญชีเพียงครั้งเดียวแต่สามารถลงทุนซื้อขายได้ทั้ง หุ้น , อนุพันธ์ , การลงทุนต่างประเทศ ทั้งหุ้น , กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) , กองทุนรวมต่าง ๆ จาก 19 บลจ. , กองทุนส่วนบุคคล และกองทุนรวมจาก บลจ. วี อีกด้วย
ทั้งนี้ ด้วยการขยายธุรกิจที่ครบวงจรและการมีบุคคลากรที่มีคุณภาพรวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจที่ดี จึงเชื่อว่าในปี 2562 ในทุกธุรกิจ KTBST จะสามารถเดินหน้าเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าว่าในปี 2562 บริษัทมีกำไรก่อนหักภาษีเติบโตอยู่ที่ 158 ล้านบาท ธุรกิจบริหารความมั่งคั่งส่วนบุคคล ตั้งเป้ามีสินทรัพย์ภายใต้คำแนะนำ (AUA) เติบโตที่ 125,000 ล้านบาท ธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลตั้งเป้า AUM เติบโตแตะ 3,000 ล้านบาท ธุรกิจตัวแทนซื้อขายหน่วยลงทุน ตั้งเป้า AUA ที่ระดับ 10,000 ล้านบาท ขณะที่ บลจ. วี ตั้งเป้าเติบโต 5,000 ล้านบาท และ เคทีบีเอสที รีทส์ แมเนจเม้นท์ เติบโต 3,000 ล้านบาท รวมถึงตั้งเป้ารักษาส่วนแบ่งการตลาดของการซื้อขาย TFEX ให้ติดอันดับ 1 ใน 5 เช่นเดิม
"โดยรวมผมมองว่าในปี 2562 ตลาดเงิน ตลาดทุน อาจได้รับปัจจัยจากต่างประเทศที่ส่งผลให้การลงทุนมีความผันผวนและเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว แต่ด้วย KTBST มีบริการทางการเงินที่ครบวงจรและมีความพร้อมในธุรกิจทางการเงิน จึงเชื่อว่านักลงทุนจะมองหาบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการของตนเองและเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในปี 2562 โดยเฉพาะการมีที่ปรึกษาทางการเงินที่คอยให้คำแนะนำในการเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสม ซึ่ง KTBST ยังเดินหน้าพัฒนาธุรกิจด้วยวิสัยทัศน์ ที่จะเป็นสถาบันการเงินในประเทศไทยที่มีความ "โดดเด่น" ในการให้บริการลูกค้าแบบครบวงจร ที่มีบุคลากรที่เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาด้านการลงทุน และ การมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลายทั้งในและต่างประเทศ และที่สำคัญคือการมีธรรมาภิบาลที่โปร่งใสสามารถตรวจสอบได้" ดร.วิน กล่าว
ด้านมุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2019
นายชาตรี โรจนอาภา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KTBST เปิดเผยว่า ในช่วงปี 2018 อาจกล่าวได้ว่าเป็นปีที่มีความผันผวนในทุกมิติ ทั้งด้านตลาดตราสารหนี้และตลาดตราสารทุน สืบเนื่องจากภาวะความเสี่ยงทางด้านการเมืองระหว่างประเทศที่สูงขึ้นและจากความสัมพันธ์ที่แย่ลงระหว่างสหรัฐฯ กับจีน และท้ายที่สุดนำมาซึ่งสงครามการค้า ดังนั้นมุมมองเศรษฐกิจโลกในปี 2019 ทาง KTBST คาดว่าได้ผ่านจุดสูงสุดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับภาพของเศรษฐกิจและการลงทุนในปี 2019 นั้นจะเคลื่อนไหวภายใต้ 3 ประเด็นใหญ่ (Theme) อันประกอบไปด้วย
1. การเจริญเติบโตในอัตราที่ถดถอยลง (From increasing to diminishing)
2. ภาวะความไม่แน่นอนทางการเมืองอันนำมาซึ่งความเสี่ยงที่แน่นอน (The uncertainty in uncertain)
3. การดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัว (Monetary policy tightening)
โดย IMF ได้มีการปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกปี 2019 สู่ระดับ 3.7% จากผลกระทบของสงครามการค้าที่ดึงให้ดุลการค้าทั่วโลกเริ่มส่งสัญญาณชะลอ ซึ่งการปรับลดประมาณการดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งตลาดพัฒนาแล้วและตลาดเกิดใหม่ นอกจากนี้ปี 2019 จะยังคงเป็นปีที่สภาพคล่องในตลาดโลกนั้นยังคงลดลงในอัตราเร่งตัวเมื่อเทียบกับปี 2018 ประกอบกับการเปลี่ยนทิศทางของการใช้นโยบายการเงินที่มีแนวโน้มเป็นนโยบายหดตัวของประเทศต่าง ๆ ที่มากยิ่งขึ้น
สำหรับภาพรวมของเศรษฐกิจไทยปี 2019 ทาง KTBST ได้มีการปรับประมาณการอัตราการเจริญเติบโตของ GDP จาก 4.25% สู่ระดับ 3.9% โดยสาเหตุในการปรับลดนั้นมาจากการชะลอตัวของอุปสงค์ในตลาดโลก อันนำมาซึ่งการส่งออกที่เริ่มชะลอตัวลง เชื่อว่าภาพดังกล่าวนั้นไม่เพียงแต่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยเท่านั้น แต่จะเกิดขึ้นไปทั่วโลก ซึ่งกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อจากนี้จะมาจากอุปสงค์ในประเทศเป็นหลัก ในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนของไทยเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ คาดว่าจะอยู่ที่ 33.85 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และปี 2020 คาดว่าจะอยู่ที่ 33.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ทาง KTBST คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะเริ่มทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้า 2 ครั้ง โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 2.25%
ส่วนการลงทุนในปี 2019 ควรเพิ่มความระมัดระวังมากกว่าปี 2018 กลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสมจะเป็นการลงทุนผ่านสินทรัพย์ที่มีคุณภาพ (Quality investment) และการเลือกการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงที่การจำกัดการขาดทุนหรือความเสี่ยงด้านขาลง (limited downside risk) เช่น การลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (REIT , Prop fund) การลงทุนในหุ้นที่มีโครงสร้างรายได้ที่ชัดเจน มีการเติบโตที่ยั่งยืน ตลอดจนมีการจ่ายปันผลอย่างสม่ำเสมอ หรืออาจเลือกลงทุนในหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีโครงการจ่ายผลตอบแทนที่มีการจำกัดหรือลดทอนความเสี่ยงไว้ (Structure Note) KTBST คาดว่ากรอบดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ในปี 2019 จะอยู่ที่ 1,700-1,750 จุด หุ้นในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น กลุ่มธนาคาร นิคมอุตสาหกรรมและค้าปลีกคาดว่าจะมีผลการดำเนินการที่ดีกว่าตลาดโดยรวมจากอานิสงค์การเลือกตั้งตลอดจนนโยบายช่วยเหลือภาครัฐฯ
ที่มา: แมกกาซีนหุ้นอินไซด์ ฉบับเดือน ม.ค. 2562
Source - หุ้นอินไซด์รายเดือน (Th)
Friday, January 18, 2019 14:55
ผมเข้ามาไม่ได้อยากทำธุรกิจโบรกเกอร์ แต่อยากทำแพลตฟอร์มไม่เหมือนคนอื่น อีก5ปีข้างหน้าKTBST สัดส่วนรายได้จากฟีอินคัมจะเพิ่มเป็น50-60%จาก30-40%ในปี62
ดร.วิน อุดมรัชตวนิชย์ กระโดดร่วมงาน บมจ. บล. เคทีบี (ประเทศไทย) KTBST บริษัทสมาชิก หมายเลข 32 ช่วงพฤษภาคม 2017 ไม่ใช่แค่บริหาร แต่เข้ามาลงทุน ด้วยเงินส่วนตัวและกู้ยืมเงินจาก 6 นักลงทุนเสียดอกเบี้ย8% ถือหุ้นKTBST ประมาณ 30-31%
ณ ตอนนี้KTBST มีโครงสร้างที่เปลี่ยนแปลงไป ณ วันที่ 30 กันยายน 2561 โดยKTB Investment & Securities Company Limited (จากประเทศเกาหลีใต้)ถือ60.50% KTB Asset Management Company Limited (จากประเทศเกาหลีใต้) ถือ9.40% นายวินหรือดร.วิน อุดมรัชตวนิชย์ ถือ13.70%
จำนวนหุ้นที่ลดลงนั้น ดร.วิน ได้คืนเงินพร้อมดอกเบี้ยให้ 6 นักลงทุนไปแล้ว พร้อมการเข้าถือหุ้นในKTBST ซึ่งวันที่ยื่นไฟลิ่ง คงได้เห็นโฉมหน้าของบรรดาเหล่านายทุนของดร.วิน ว่า เป็นใคร
ประมาณเดือนมกราคม 2562 บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (Asset Pro Management) หรือ APM ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของKTBST จะยื่นไฟลิ่งเสนอขายหุ้นให้ประชาชนทั่วไปหรือIPO จำนวน 67 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 10 บาท/หุ้น โดยจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
"KTBST มีคุณสมบัติในการเข้าตลาดหุ้น มีทุนชำระแล้ว 670 ล้านบาท แถม มีROE 15% เทียบกับอุตสาหกรรมROE ประมาณอยู่ในระดับ 5-7%"ดร.วินกล่าว
ดร.วิน เล่าย้อนความหลังว่า ผมเข้ามาไม่ได้อยากทำธุรกิจโบรกเกอร์ แต่อยากทำแพลตฟอร์มไม่เหมือนคนอื่น อีก5ปีข้างหน้าKTBST สัดส่วนรายได้จากฟีอินคัมจะเพิ่มเป็น50-60%จาก30-40%ในปี62และปีนี้ บริษัทฯมีโครงสร้างรายได้มาจากธุรกิจหลักทรัพย์ 49% รายได้จากฟีอินคัม 33%และที่เหลือเป็นรายได้อื่นประมาณ10-15%
ปัจจุบัน KTBST มีสาขา 11 แห่ง ประกอบด้วย1.เยาวราช (สำนักงานสาขา)2.ลาดพร้าว 124 (สำนักงานสาขา) 3.ลาดพร้าว 2 (สำนักงานสาขา)4.ขอนแก่น (สำนักงานสาขา)5.ชลบุรี (สำนักงานสาขา)6.เชียงใหม่ (สำนักงานสาขา)7.เบตง (สำนักงานสาขา)8.ยะลา (สำนักงานสาขา)9.หาดใหญ่พลาซ่า (สำนักงานสาขา)10.อุดรธานี (สำนักงานสาขา)และ11.อุบลราชธานี
บอร์ด KTBST ภายใต้การบริหารของดร.วิน อุดมรัชตวนิชย์ ล้วนไม่ธรรมดา 1. นายกิตติรัตน์ ณ ระนองประธานกรรมการบริษัท2. นายวิน อุดมรัชตวนิชย์ ประธานกรรมการบริหาร (มีอำนาจจัดการ) 3. นายจอง คยู คิม กรรมการ (มีอำนาจจัดการ)4. นายณัฐพงศ์ ณ ระนองกรรมการ (มีอำนาจจัดการ) 5. นายแท วู อัน กรรมการ 6. นายวิทูร เลิศพนมวรรณกรรมการ 7. นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการ และประธานกรรมการตรวจสอบ8. นายโด ซุน คิม กรรมการ และกรรมการตรวจสอบและ9. นายดง โฮ โค กรรมการ และกรรมการตรวจสอบ
ดร.วิน โชว์ผลงานปี61 พร้อมแผนปี62
ดร.วิน นำทัพ KTBST โชว์ผลงานปี 2561 ณ สิ้นเดือน พ.ย. มีรายได้เติบโตกว่า 1,000 ล้านบาท และมีผลกำไรก่อนหักภาษีอยู่ที่ 76.7 ล้านบาท เติบโต 122% จากปีก่อนหน้า สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ หลังขยายธุรกิจควบคู่การพัฒนาระบบการให้บริการ ตั้งเป้าปี 2562 นำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ และเดินหน้ารุกธุรกิจ บลจ. และ REIT วางเป้าเติบโตอีกเท่าตัวทำกำไรก่อนหักภาษีแตะ 158 ล้านบาท ในปี 2562 ชูจุดเด่นเป็นสถาบันการเงินที่โดดเด่น และเชี่ยวชาญด้านการลงทุนและมีระบบสร้างธรรมาภิบาลที่โปร่งใส มองเศรษฐกิจไทย 2019 ชะลอลงตามเศรษฐกิจโลก ชูการลงทุนในสินทรัพย์คุณภาพ (Quality investment) ที่มีการจำกัดความเสี่ยงขาลง เช่น กองทุนอสังหาริมทรัพย์และหุ้นกู้อนุพันธ์
ดร.วิน อุดมรัชตวนิชย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KTBST เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทขยายธุรกิจให้บริการที่ครบวงจรมากขึ้นทำให้ในปี 2561 บริษัทมีผลการดำเนินงานที่เติบโตต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา โดย ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2561 บริษัท มีรายได้รวมทั้งสิ้น 1,074.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% และมีกำไรก่อนหักภาษี 76.7 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 122% จากช่วงเดียวกันของปี 2560 ซึ่งเกินกว่าเป้าหมายที่บริษัทวางไว้ โดยสัดส่วนรายได้หลักมาจาก 2 ส่วน คือ ค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ 50% และ ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจบริการอื่นๆ 34% ที่มีการเติบโตขึ้นอย่างมีนัยยะจากธุรกิจที่ปรึกษาการเงิน ธุรกิจธุรกิจตัวแทนซื้อขายหน่วยลงทุน และธุรกิจบริการกองทุนส่วนบุคคล ที่เหลือมาจากรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผล และดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ประมาณ 15%
ด้วยการเติบโตดังกล่าวส่งผลให้ปัจจุบันบริษัทมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ที่ซื้อขายอยู่เป็นประจำจำนวนกว่า 7,000 บัญชีเพิ่มขึ้นมากกว่า 2,000 บัญชี ในปี 2561 ทั้งนี้ ในการดำเนินธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์KTBST จะไม่ได้เน้นขยายส่วนแบ่งการตลาด เนื่องจาก บริษัทเน้นการให้บริการการวางแผนการลงทุนแบบครบวงจรมากกว่าการเทรดหุ้นเพียงอย่างเดียว ขณะที่ด้านธุรกิจการซื้อขายในตลาด TFEX บริษัทมีส่วนแบ่งการตลาด อยู่ที่ 5-10% ติดอันดับ 1-5 ของอุตสาหกรรม ด้านธุรกิจอื่น ๆ ของบริษัทเติบโตขึ้นเช่นกัน โดยธุรกิจบริหารความมั่งคั่งส่วนบุคคล (Private Wealth Management) มีสินทรัพย์ภายใต้คำแนะนำ (AUA) ประมาณ 100,000 ล้านบาท ธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลที่เติบโตขึ้น มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) อยู่ที่ 2,000 ล้านบาท ด้านธุรกิจตัวแทนซื้อขายหน่วยลงทุน (Selling Agent) ปัจจุบัน KTBST มีแพลทฟอร์มการให้บริการแบบ Open-architecture มีกองทุนรวมให้เลือกกว่า 1,000 กองทุน จาก 19 บลจ.ชั้นนำ ด้าน AUA มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องปัจจุบันอยู่ที่ 7,000 ล้านบาท ส่วนด้านธุรกิจวาณิชธนกิจด้านการออกตราสารหนี้ หรือ Corporate finance solution ก็เติบโตต่อเนื่องเช่นเดียวกัน โดยตั้งแต่ปี 2559 ถึงปัจจุบัน บริษัทออกตราสารหนี้ทั้งตั๋วแลกเงิน และหุ้นกู้ เพื่อระดมทุนให้บริษัทชั้นนำต่าง ๆ กว่า 40 บริษัท มูลค่ากว่า 47,000 ล้านบาท
"ปีนี้ บริษัทฯมีกำไรหลังหักภาษี ประมาณ 57 ล้านบาท และปีหน้า บริษัทฯคาดว่าจะมีรายได้รวม 1,343.9 ล้านบาท กำไรก่อนหักภาษี158.1 ล้านบาท เทียบกับปี2561 คาดว่า จะรายได้รวม 1,067.6 ล้านบาท กำไรก่อนหักภาษี74.7 ล้านบาท และ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2561 บริษัทฯมีรายได้รวม 1,074.8 ล้านบาท กำไรก่อนหักภาษี 76.7 ล้านบาท"ดร.วินกล่าว
และในปีนี้ บริษัทได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการวาณิชธนกิจ (Investment Banking ) จากทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อีกครั้งในเดือนกรกฎาคม และได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุน (IPO) ให้กับ บริษัท ไทย อิงเกอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ TIGERในเดือนตุลาคม ซึ่งเข้าซื้อ-ขายวันแรกราคาหุ้นละ 3.65 บาท ปัจจุบันราคาอยู่ที่ระดับสูงกว่า 4 บาท ถือเป็น IPO ตัวแรกที่ประสบความสำเร็จหลังจากบริษัทถูกพักใบอนุญาตไปเป็นเวลา 2 ปี
ทั้งนี้ในปีนี้ จะมีไอพีโอ 4-5 บริษัท มาร์เก็ตแคปไม่เกินหมื่นล้านบาท ซึ่งปีนี้มี 2ตัว นั่นคือบริษัท ไทย อิงเกอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ TIGER และบมจ.สโตนเฮ้นจ์ อินเตอร์ (STI)
ด้านความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ KTBST ได้ขยายโอกาสทางการลงทุนไปต่างประเทศด้วยการจับมือกับบริษัท Unicapital Group จากประเทศฟิลิปปินส์ พร้อมกับลงนามความร่วมมือด้านวาณิชธนกิจและนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ เพื่อสร้างโอกาสที่จะให้นักลงทุนไทยสามารถไปลงทุนต่างประเทศในอนาคต รวมไปถึงในปีนี้ KTBST ได้ส่งเสริมและพัฒนาการออมและลงทุนกับชาวมุสลิมในกรุงเทพมหานคร ด้วยการลงนามความร่วมมือ (MOU) กับสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร เพื่อสนับสนุนชาวมุสลิมในกรุงเทพมหานครให้มีความเข้าใจเรื่องการเงินเพื่อวางแผนการเกษียณอายุตามหลักศาสนาอิสลาม ถือได้ว่าในปีนี้ 2561 KTBST ประสบความสำเร็จทั้งในด้านการพัฒนาบริษัทเพื่อรองรับโอกาสการเติบโตในอนาคตและในด้านการขยายธุรกิจกับพันธมิตรต่างๆทั้งในและต่างประเทศ
ทั้งนี้ในปี 2561 บริษัทได้กับพัฒนาเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ทั้งการพัฒนาระบบชำระเงินออนไลน์ หรือ e-Payment ในการทำธุรกิจกรรมทางการเงินต่าง ๆ มีการพัฒนาระบบ Single Application เพิ่มความสะดวกในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ของลูกค้า โดยลูกค้า KTBST เปิดบัญชีเพียงครั้งเดียวสามารถลงทุนได้ในทุก ๆ สินทรัพย์ ที่บริษัทให้บริการ พร้อมด้วยการพัฒนาระบบ KTBST Single Sign-on คือ บริการออนไลน์ให้ลูกค้ามีเพียง Log in เดียวเพื่อเข้าใช้บริการต่าง ๆ ของ KTBST ทั้ง e-Service, Settrade streaming และ KTBST Trade ทำให้ลูกค้าสามารถ เข้าถึงพอร์ตการลงทุนทุกสินทรัพย์ รายงานการทำธุรกรรมต่าง ๆ กำไรและขาดทุนของพอร์ตการลงทุน รวมถึงการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ด้วย
ด้านใบอนุญาตใหม่ในการประกอบธุรกิจ ปี้นี้บริษัทได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจซื้อ ขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยเป็นบริษัทหลักทรัพย์แห่งแรกที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มอบใบอนุญาตนี้ และได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้ KTBST เป็น "ผู้ให้บริการออกแบบการลงทุน" หรือ Wealth advice ในโครงการ "5 ขั้น มั่นใจลงทุน" เพื่อช่วยในเรื่องการวางแผนทางการเงินแก่ประชาชนทั่วไป ผ่านตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทและนายทะเบียนหลักทรัพย์
นอกจากนี้ บริษัทได้เดินหน้าขยายธุรกิจในเครือ 2 บริษัท โดยขออนุญาตจัดตั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) วี จำกัด ในเดือนพฤษภาคม และได้รับใบอนุญาตจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยมีแผนที่จะเริ่มดำเนินธุรกิจการจัดการกองทุนรวมในต้นปีหน้านี้ พร้อมกันนี้บริษัทได้ดำเนินการขอใบอนุญาตเป็นผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT Management) เพื่อจัดตั้งบริษัท เคทีบีเอสที รีท แมเนจเมนท์ จำกัด (KTBST REIT) ซึ่งคาดว่าจะได้รับอนุมัติให้ดำเนินธุรกิจได้ในเดือนธันวาคม
สำหรับในปี 2562 นั้น ดร. วิน เปิดเผยว่า บริษัทมีแผนธุรกิจที่สำคัญคือ การนำ KTBST เข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการขออนุญาตจากสำนักงานก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ คาดว่าน่าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ได้ในช่วงต้นปี 2562 นอกจากนี้ บริษัทยังได้เตรียมเปิดระบบการให้บริการด้านการลงทุนบน online application ที่อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าเปิดบัญชี Online เพื่อลดการใช้กระดาษในการทำเอกสารต่าง ๆ ลูกค้าจึงเปิดบัญชีเพียงครั้งเดียวแต่สามารถลงทุนซื้อขายได้ทั้ง หุ้น , อนุพันธ์ , การลงทุนต่างประเทศ ทั้งหุ้น , กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) , กองทุนรวมต่าง ๆ จาก 19 บลจ. , กองทุนส่วนบุคคล และกองทุนรวมจาก บลจ. วี อีกด้วย
ทั้งนี้ ด้วยการขยายธุรกิจที่ครบวงจรและการมีบุคคลากรที่มีคุณภาพรวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจที่ดี จึงเชื่อว่าในปี 2562 ในทุกธุรกิจ KTBST จะสามารถเดินหน้าเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าว่าในปี 2562 บริษัทมีกำไรก่อนหักภาษีเติบโตอยู่ที่ 158 ล้านบาท ธุรกิจบริหารความมั่งคั่งส่วนบุคคล ตั้งเป้ามีสินทรัพย์ภายใต้คำแนะนำ (AUA) เติบโตที่ 125,000 ล้านบาท ธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลตั้งเป้า AUM เติบโตแตะ 3,000 ล้านบาท ธุรกิจตัวแทนซื้อขายหน่วยลงทุน ตั้งเป้า AUA ที่ระดับ 10,000 ล้านบาท ขณะที่ บลจ. วี ตั้งเป้าเติบโต 5,000 ล้านบาท และ เคทีบีเอสที รีทส์ แมเนจเม้นท์ เติบโต 3,000 ล้านบาท รวมถึงตั้งเป้ารักษาส่วนแบ่งการตลาดของการซื้อขาย TFEX ให้ติดอันดับ 1 ใน 5 เช่นเดิม
"โดยรวมผมมองว่าในปี 2562 ตลาดเงิน ตลาดทุน อาจได้รับปัจจัยจากต่างประเทศที่ส่งผลให้การลงทุนมีความผันผวนและเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว แต่ด้วย KTBST มีบริการทางการเงินที่ครบวงจรและมีความพร้อมในธุรกิจทางการเงิน จึงเชื่อว่านักลงทุนจะมองหาบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการของตนเองและเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในปี 2562 โดยเฉพาะการมีที่ปรึกษาทางการเงินที่คอยให้คำแนะนำในการเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสม ซึ่ง KTBST ยังเดินหน้าพัฒนาธุรกิจด้วยวิสัยทัศน์ ที่จะเป็นสถาบันการเงินในประเทศไทยที่มีความ "โดดเด่น" ในการให้บริการลูกค้าแบบครบวงจร ที่มีบุคลากรที่เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาด้านการลงทุน และ การมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลายทั้งในและต่างประเทศ และที่สำคัญคือการมีธรรมาภิบาลที่โปร่งใสสามารถตรวจสอบได้" ดร.วิน กล่าว
ด้านมุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนปี 2019
นายชาตรี โรจนอาภา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KTBST เปิดเผยว่า ในช่วงปี 2018 อาจกล่าวได้ว่าเป็นปีที่มีความผันผวนในทุกมิติ ทั้งด้านตลาดตราสารหนี้และตลาดตราสารทุน สืบเนื่องจากภาวะความเสี่ยงทางด้านการเมืองระหว่างประเทศที่สูงขึ้นและจากความสัมพันธ์ที่แย่ลงระหว่างสหรัฐฯ กับจีน และท้ายที่สุดนำมาซึ่งสงครามการค้า ดังนั้นมุมมองเศรษฐกิจโลกในปี 2019 ทาง KTBST คาดว่าได้ผ่านจุดสูงสุดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับภาพของเศรษฐกิจและการลงทุนในปี 2019 นั้นจะเคลื่อนไหวภายใต้ 3 ประเด็นใหญ่ (Theme) อันประกอบไปด้วย
1. การเจริญเติบโตในอัตราที่ถดถอยลง (From increasing to diminishing)
2. ภาวะความไม่แน่นอนทางการเมืองอันนำมาซึ่งความเสี่ยงที่แน่นอน (The uncertainty in uncertain)
3. การดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัว (Monetary policy tightening)
โดย IMF ได้มีการปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกปี 2019 สู่ระดับ 3.7% จากผลกระทบของสงครามการค้าที่ดึงให้ดุลการค้าทั่วโลกเริ่มส่งสัญญาณชะลอ ซึ่งการปรับลดประมาณการดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งตลาดพัฒนาแล้วและตลาดเกิดใหม่ นอกจากนี้ปี 2019 จะยังคงเป็นปีที่สภาพคล่องในตลาดโลกนั้นยังคงลดลงในอัตราเร่งตัวเมื่อเทียบกับปี 2018 ประกอบกับการเปลี่ยนทิศทางของการใช้นโยบายการเงินที่มีแนวโน้มเป็นนโยบายหดตัวของประเทศต่าง ๆ ที่มากยิ่งขึ้น
สำหรับภาพรวมของเศรษฐกิจไทยปี 2019 ทาง KTBST ได้มีการปรับประมาณการอัตราการเจริญเติบโตของ GDP จาก 4.25% สู่ระดับ 3.9% โดยสาเหตุในการปรับลดนั้นมาจากการชะลอตัวของอุปสงค์ในตลาดโลก อันนำมาซึ่งการส่งออกที่เริ่มชะลอตัวลง เชื่อว่าภาพดังกล่าวนั้นไม่เพียงแต่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยเท่านั้น แต่จะเกิดขึ้นไปทั่วโลก ซึ่งกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อจากนี้จะมาจากอุปสงค์ในประเทศเป็นหลัก ในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนของไทยเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ คาดว่าจะอยู่ที่ 33.85 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และปี 2020 คาดว่าจะอยู่ที่ 33.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ทาง KTBST คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะเริ่มทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้า 2 ครั้ง โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 2.25%
ส่วนการลงทุนในปี 2019 ควรเพิ่มความระมัดระวังมากกว่าปี 2018 กลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสมจะเป็นการลงทุนผ่านสินทรัพย์ที่มีคุณภาพ (Quality investment) และการเลือกการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงที่การจำกัดการขาดทุนหรือความเสี่ยงด้านขาลง (limited downside risk) เช่น การลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (REIT , Prop fund) การลงทุนในหุ้นที่มีโครงสร้างรายได้ที่ชัดเจน มีการเติบโตที่ยั่งยืน ตลอดจนมีการจ่ายปันผลอย่างสม่ำเสมอ หรืออาจเลือกลงทุนในหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีโครงการจ่ายผลตอบแทนที่มีการจำกัดหรือลดทอนความเสี่ยงไว้ (Structure Note) KTBST คาดว่ากรอบดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ในปี 2019 จะอยู่ที่ 1,700-1,750 จุด หุ้นในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น กลุ่มธนาคาร นิคมอุตสาหกรรมและค้าปลีกคาดว่าจะมีผลการดำเนินการที่ดีกว่าตลาดโดยรวมจากอานิสงค์การเลือกตั้งตลอดจนนโยบายช่วยเหลือภาครัฐฯ
ที่มา: แมกกาซีนหุ้นอินไซด์ ฉบับเดือน ม.ค. 2562
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: KTBST
โพสต์ที่ 4
KTBST : บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ประเภทธุรกิจ
ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ บริการบริหารจัดการทางการเงิน บริหารจัดการการลงทุน การควบรวมกิจการ และบริการที่ปรึกษาทางการเงินอื่นๆ โดยได้รับอนุญาตและความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. (โบรกเกอร์ หมายเลข 32)
ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
กลุ่มอุตสาหกรรม ธุรกิจการเงิน
สถานะ Filing
จำนวนหุ้นที่ IPO จำนวนรวม 16,775,000 หุ้น คิดเป็น 25.04% ของหุ้นทั้งหมดหลัง IPO ประกอบด้วย
(1) หุ้นเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทจำนวน 11,775,000 หุ้น (คิดเป็น 17.57% ของหุ้นทั้งหมดหลัง IPO)
(2) หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย KTB Investment & Securities Company Limited จำนวน 5,000,000 หุ้น (คิดเป็น 7.46% ของหุ้นทั้งหมดหลัง IPO)
ระยะเวลาเสนอขายหุ้น n/a
ราคา IPO n/a
ราคา PAR 10.00 บาท
วันที่เริ่มซื้อขาย n/a
ที่ปรึกษาทางการเงิน
บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด
ข้อมูล Filing www.ktbst.co.th
ประเภทธุรกิจ
ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ บริการบริหารจัดการทางการเงิน บริหารจัดการการลงทุน การควบรวมกิจการ และบริการที่ปรึกษาทางการเงินอื่นๆ โดยได้รับอนุญาตและความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. (โบรกเกอร์ หมายเลข 32)
ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
กลุ่มอุตสาหกรรม ธุรกิจการเงิน
สถานะ Filing
จำนวนหุ้นที่ IPO จำนวนรวม 16,775,000 หุ้น คิดเป็น 25.04% ของหุ้นทั้งหมดหลัง IPO ประกอบด้วย
(1) หุ้นเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทจำนวน 11,775,000 หุ้น (คิดเป็น 17.57% ของหุ้นทั้งหมดหลัง IPO)
(2) หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย KTB Investment & Securities Company Limited จำนวน 5,000,000 หุ้น (คิดเป็น 7.46% ของหุ้นทั้งหมดหลัง IPO)
ระยะเวลาเสนอขายหุ้น n/a
ราคา IPO n/a
ราคา PAR 10.00 บาท
วันที่เริ่มซื้อขาย n/a
ที่ปรึกษาทางการเงิน
บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด
ข้อมูล Filing www.ktbst.co.th
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: KTBST
โพสต์ที่ 5
KTBST เปิดตัว บลจ.วี ประเดิมเสนอขาย 2 กองทุนตราสารหนี้ช่วงครึ่งหลังของ มี.ค.62
Source - IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (Th)
Monday, March 18, 2019 12:11
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (18 มี.ค. 62)--นายอิศรา พุฒตาลศรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บลจ.วี เปิดเผยว่า บริษัทซึ่งถือหุ้นใหญ่ โดย บล.เคทีบี (ประเทศไทย) (KTBST) เริ่มดำเนินธุรกิจอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 6 มี.ค.62 โดยในช่วงแรกพร้อมให้บริการด้านกองทุนรวมให้กับนักลงทุนผ่านช่องทางการขาย คือ ตัวแทนซื้อขายหน่วยลงทุน (Selling agent) ของ KTBST
ทั้งนี้ บลจ.วี พร้อมเสนอขาย กองทุนตลาดเงินและกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น ได้แก่ กองทุนเปิด วี มันนี่ มาร์เก็ต (WE-MONEY) กองทุนตลาดเงินเหมาะสำหรับการบริหารสภาพคล่องระยะสั้นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีแก่ผู้ลงทุน มีความเสี่ยงต่ำ ลงทุนในเงินฝาก ตราสารภาครัฐ ตราสารหนี้เอกชนระยะสั้นที่มีความแข็งแกร่งทางการเงิน โดยสามารถซื้อขายได้ทุกวันทำการและเปิดเสนอขายครั้งแรก (IPO) ตั้งแต่วันที่ 18-19 มี.ค.62
หลังจากนั้น จะออกกองทุนเปิด วี ฟิกซ์ อินคัม ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (WE-INCOME) มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในอันดับที่ลงทุนได้ (Investment Grade) เป็นหลัก และกระจายการลงทุนบางส่วนลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าที่สามารถลงทุนได้ (Non– Investment Grade) และตราสารหนี้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated Securities) ระยะสั้นที่มีฐานะทางการเงินและมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้น เหมาะกับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้มากขึ้น โดยสามารถซื้อขายได้ทุกวันทำการ และจะเปิดขาย IPO ในช่วงวันที่ 21-22 มี.ค.62 ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติจากสำนักงาน ก.ล.ต.
นอกจากนี้ บริษัทเตรียมออกกองทุนใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องในปีนี้เพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้า เช่น กองทุนประเภทคอมเพล็กรีเทิร์น , กองทุนประเภททริกเกอร์ฟันด์ และกองทุนต่างประเทศ โดยบริษัทเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์กองทุนรวมที่สร้างผลการดำเนินงานของกองทุนที่ดีอย่างสม่ำเสมอ พร้อมด้วยความหลากหลายด้านนวัตกรรมทางการเงิน และมุ่งที่จะออกแบบกองทุนรวมที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกันเพื่อความมั่งคั่งของลูกค้า ภายใต้แนวคิด "We design your wealth .. We grow together"
นายอิศรา กล่าวเพิ่มเติมว่า ด้วยมุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนในปี 62 ซึ่งประเมินว่า ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกยังสามารถเติบโตได้ในปีนี้ แม้จะมีการคาดการณ์ว่าจะชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยที่เศรษฐกิจสหรัฐยังสามารถเติบโตได้ดีที่ระดับ 2.3-2.5% ในปีนี้ แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาส 1/62 อาจจะชะลอตัวลงบ้าง เนื่องจากผลกระทบจากเรื่องสงครามการค้า แต่คาดว่าตัวเลขเศรษฐกิจจะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นในปลายไตรมาส 2/62 ดังนั้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในภาพรวมยังเป็นการเติบโตที่ดี นอกจากนี้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีแนวโน้มที่จะชะลอการขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้จะเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนตลาดหุ้นต่อไป
ขณะที่เศรษฐกิจไทยด้วยปัจจัยพื้นฐานที่ยังแข็งแกร่ง ภาพรวมของเศรษฐกิจที่สามารถเติบโตได้ที่ระดับ 3.5-4% ในปีนี้ ดังนั้น บลจ.วี จึงมีแผนจะนำเสนอกองทุนใหม่ที่มีนโยบายลงทุนทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับนักลงทุนที่กำลังมองการลงทุนที่สร้างผลตอบแทนที่ดี
นางสาวนิตยา เลิศแสงเพชร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารผลิตภัณฑ์และช่องทางบริการ บลจ. วี กล่าวว่า ในช่วงแรก บลจ.วี จะเสนอขายกองทุนตราสารหนี้ 2 กองทุนที่สร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่จูงใจเมื่อเทียบกับผลตอบแทนจากตลาดเงินในปัจจุบัน จึงคาดว่าจะได้รับผลตอบรับที่จากช่องทางการขายของ KTBST ที่มีฐานลูกค้าบุคคลธรรมดารายใหญ่ (High Net Worth) ซึ่งต้องการหาผลิตภัณฑ์การลงทุนที่สามารถให้ผลตอบแทนส่วนเพิ่มจากเงินฝากธนาคารในภาวะที่ดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับต่ำ จากการลงทุนในตราสารหนี้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
--อินโฟเควสท์ โดย ศศิธร ซิมาภรณ์ โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
Source - IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (Th)
Monday, March 18, 2019 12:11
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (18 มี.ค. 62)--นายอิศรา พุฒตาลศรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บลจ.วี เปิดเผยว่า บริษัทซึ่งถือหุ้นใหญ่ โดย บล.เคทีบี (ประเทศไทย) (KTBST) เริ่มดำเนินธุรกิจอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 6 มี.ค.62 โดยในช่วงแรกพร้อมให้บริการด้านกองทุนรวมให้กับนักลงทุนผ่านช่องทางการขาย คือ ตัวแทนซื้อขายหน่วยลงทุน (Selling agent) ของ KTBST
ทั้งนี้ บลจ.วี พร้อมเสนอขาย กองทุนตลาดเงินและกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น ได้แก่ กองทุนเปิด วี มันนี่ มาร์เก็ต (WE-MONEY) กองทุนตลาดเงินเหมาะสำหรับการบริหารสภาพคล่องระยะสั้นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีแก่ผู้ลงทุน มีความเสี่ยงต่ำ ลงทุนในเงินฝาก ตราสารภาครัฐ ตราสารหนี้เอกชนระยะสั้นที่มีความแข็งแกร่งทางการเงิน โดยสามารถซื้อขายได้ทุกวันทำการและเปิดเสนอขายครั้งแรก (IPO) ตั้งแต่วันที่ 18-19 มี.ค.62
หลังจากนั้น จะออกกองทุนเปิด วี ฟิกซ์ อินคัม ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (WE-INCOME) มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในอันดับที่ลงทุนได้ (Investment Grade) เป็นหลัก และกระจายการลงทุนบางส่วนลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าที่สามารถลงทุนได้ (Non– Investment Grade) และตราสารหนี้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated Securities) ระยะสั้นที่มีฐานะทางการเงินและมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้น เหมาะกับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้มากขึ้น โดยสามารถซื้อขายได้ทุกวันทำการ และจะเปิดขาย IPO ในช่วงวันที่ 21-22 มี.ค.62 ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติจากสำนักงาน ก.ล.ต.
นอกจากนี้ บริษัทเตรียมออกกองทุนใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องในปีนี้เพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้า เช่น กองทุนประเภทคอมเพล็กรีเทิร์น , กองทุนประเภททริกเกอร์ฟันด์ และกองทุนต่างประเทศ โดยบริษัทเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์กองทุนรวมที่สร้างผลการดำเนินงานของกองทุนที่ดีอย่างสม่ำเสมอ พร้อมด้วยความหลากหลายด้านนวัตกรรมทางการเงิน และมุ่งที่จะออกแบบกองทุนรวมที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกันเพื่อความมั่งคั่งของลูกค้า ภายใต้แนวคิด "We design your wealth .. We grow together"
นายอิศรา กล่าวเพิ่มเติมว่า ด้วยมุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนในปี 62 ซึ่งประเมินว่า ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกยังสามารถเติบโตได้ในปีนี้ แม้จะมีการคาดการณ์ว่าจะชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยที่เศรษฐกิจสหรัฐยังสามารถเติบโตได้ดีที่ระดับ 2.3-2.5% ในปีนี้ แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาส 1/62 อาจจะชะลอตัวลงบ้าง เนื่องจากผลกระทบจากเรื่องสงครามการค้า แต่คาดว่าตัวเลขเศรษฐกิจจะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นในปลายไตรมาส 2/62 ดังนั้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในภาพรวมยังเป็นการเติบโตที่ดี นอกจากนี้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีแนวโน้มที่จะชะลอการขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้จะเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนตลาดหุ้นต่อไป
ขณะที่เศรษฐกิจไทยด้วยปัจจัยพื้นฐานที่ยังแข็งแกร่ง ภาพรวมของเศรษฐกิจที่สามารถเติบโตได้ที่ระดับ 3.5-4% ในปีนี้ ดังนั้น บลจ.วี จึงมีแผนจะนำเสนอกองทุนใหม่ที่มีนโยบายลงทุนทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับนักลงทุนที่กำลังมองการลงทุนที่สร้างผลตอบแทนที่ดี
นางสาวนิตยา เลิศแสงเพชร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารผลิตภัณฑ์และช่องทางบริการ บลจ. วี กล่าวว่า ในช่วงแรก บลจ.วี จะเสนอขายกองทุนตราสารหนี้ 2 กองทุนที่สร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่จูงใจเมื่อเทียบกับผลตอบแทนจากตลาดเงินในปัจจุบัน จึงคาดว่าจะได้รับผลตอบรับที่จากช่องทางการขายของ KTBST ที่มีฐานลูกค้าบุคคลธรรมดารายใหญ่ (High Net Worth) ซึ่งต้องการหาผลิตภัณฑ์การลงทุนที่สามารถให้ผลตอบแทนส่วนเพิ่มจากเงินฝากธนาคารในภาวะที่ดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับต่ำ จากการลงทุนในตราสารหนี้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
--อินโฟเควสท์ โดย ศศิธร ซิมาภรณ์ โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: KTBST
โพสต์ที่ 6
KTBST ปัดฝุ่นแผนเดินหน้าเข้าตลาดหุ้น ดีลพันธมิตรต่างชาติรุกธุรกิจใหม่คาดชัดเจนปลายปีนี้
Source - IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (Th)
Tuesday, June 25, 2019 15:09
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (25 มิ.ย. 62)--นายวิน อุดมรัชตวนิชย์ ประธานกรรมการบริหาร บล.เคทีบี (ประเทศไทย) (KTBST) เปิดเผยว่า บริษัทอยู่ระหว่างเตรียมยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อขออนุญาตเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป (IPO) รอบใหม่ จากเดิมที่เคยวางแผนจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯในช่วงต้นปีนี้
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบริษัทจะเลื่อนเวลาในการขายหุ้น IPO แต่ไม่ได้กระทบกับเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ขยายธุรกิจหลักทรัพย์ เนื่องจากมีสถาบันทางการเงินหลายแห่งเข้ามาปล่อยสินเชื่อ และบริษัทระดมทุนได้ด้วยการหุ้นกู้ ซึ่งมีต้นทุนดอกเบี้ยต่ำ ทำให้ความจำเป็นในการใช้เงินทุนลดลง
แต่การที่บริษัทยังคงเป้าหมายเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯเพื่อต้องการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร และเปิดโอกาสสร้างเติบโตในระยะยาว นอกจากนี้ ยังเตรียมความพร้อมจัดตั้งธุรกิจใหม่ในลักษณะการร่วมลงทุนกับพันธมิตรต่างชาติ ช่วยผลักดันผลประกอบการเติบโตต่อเนื่อง คาดเห็นความชัดเจนภายในไตรมาส 4/62 หรืออย่างช้าในไตรมาส 1/63
สำหรับธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์คาดว่ารายได้จะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นในครึ่งปีหลัง ตามปริมาณและมูลค่าซื้อขายกลุ่มผู้ลงทุนเพิ่มขึ้นตามความเชื่อมั่นในปัจจัยการเมืองภายในประเทศ หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่คาดว่าเห็นความชัดเจนในเดือน ก.ค.นี้ ส่งผลให้คาดว่าโครงสร้างรายได้รวมธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์จะเพิ่มเป็น 40% จากครึ่งปีแรกมีสัดส่วน 35% ของรายได้รวม
นายวิน กล่าวต่อว่า บริษัทมุ่งเน้นขยายธุรกิจให้มีความหลากหลาย โดยตั้งตั้งเป้าหมายรายได้ในปี 62 ที่ราว 1,300-1,400 ล้านบาท เติบโต 26% จากปีก่อน ประกอบด้วย ธุรกิจการบริหารความมั่งคั่งส่วนบุคคลมีสินทรัพย์ภายใต้คำแนะนำ (AUA) มุ่งเติบโตเป็น 80,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33.33% จากปี 61 ที่ 60,000 ล้านบาท ธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลตั้งเป้าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM) เติบโตเป็น 3,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 50% ที่ 2,000 ล้านบาท
ธุรกิจตัวแทนซื้อขายหน่วยลงทุนตั้งเป้า AUA ที่ระดับ 20,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 100% ที่ราว 10,000 ล้านบาท ขณะที่ธุรกิจบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุนภายใต้ บลจ.วี ตั้งเป้า AUM เพิ่มเป็น 6,000 ล้านบาท จากปัจจุบันอยู่ที่ 2,800 ล้านบาท และเคทีบีเอสที รีทส์ แมเนจเม้นท์ มีแผนตั้งกองรีทจำนวน 3 กองทุน ขนาดรวมกันประมาณ 6,000 ล้านบาท คาดเห็นความชัดเจนการเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้ง 2 กองทุนภายในปีนี้
ขณะที่ KTBST ตั้งเป้ารักษาส่วนแบ่งการตลาดของการซื้อขาย TFEX ให้ติดอันดับ 1 ใน 5 ของอุตสาหกรรม
"ทิศทางผลประกอบการไตรมาส 2/62 เชื่อมั่นว่าจะสามารถรักษาระดับการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่ารายได้ธุรกิจให้บริการนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์น่าจะได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์รวมที่ลดลง แต่บริษัทจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากค่าธรรมเนียมธุรกิจบริการอื่น ๆ เช่น งานวาณิชธนกิจ งานตัวแทนซื้อขายหน่วยลงทุน งานบริการทางการเงิน อีกทั้ง บลจ.วี ในเครือ KTBST ได้เปิดดำเนินการเต็มรูปแบบในไตรมาส 2 ที่มีนโยบายมุ่งสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย ตามสภาวะการลงทุนแต่ละช่วง ปัจจุบันได้เสนอขายกองทุนกองทุนประเภททริกเกอร์ฟันด์ต่างประเทศ อาทิ ลงทุนในสหรัฐฯ,จีน,อินเดีย และหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยี เป็นต้น ซึ่งลูกค้าให้การตอบรับอย่างดี ล่าสุดอยู่ระหว่างศึกษาโอกาสในการลงทุนอื่นๆเพิ่มเติมด้วย"นายวิน กล่าว
ทั้งนี้ ในไตรมาส 1/62 บริษัทมีรายได้รวม 322.4 ล้านบาท และกำไรสุทธิอยู่ที่ 23.7 ล้านบาท โดยมีรายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจบริการ เพิ่มขึ้นมาเป็น 50-60% จากสิ้นปี 61 ที่มีสัดส่วน 40% ขณะที่สัดส่วนรายได้ธุรกิจให้บริการนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ลดลงเหลือ 30-40% จากสิ้นปี 61 ที่มีสัดส่วน 50%
นายชาตรี โรจนอาภา รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ KTBST กล่าวถึงมุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนในปี 62 ว่า ช่วงที่ผ่านมามีความผันผวนสูง จากภาวะสงครามการค้าที่กดดันเศรษฐกิจไปทั่วทั้งโลก ซึ่งคาดว่าจะยังคงดำเนินต่อไป และอาจขยายไปยังคู่เจรจาอื่นนอกจากสหรัฐและจีนด้วย
อย่างไรก็ดี KTBST ประเมินว่าสงครามการค้าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น และอาจหาข้อสรุปได้ภายในครึ่งหลังของปีนี้ ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบของประเทศคู่เจรจา รวมถึงเศรษฐกิจทั่วโลกที่ส่งสัญญาณชะลอตัวจะกดดันให้คณะผู้เจรจาการค้าจำเป็นต้องหาหนทางยุติสงครามการค้าโดยเร็ว การเจรจากันที่สำคัญคาดว่าจะเริ่มในรอบการประชุม G20 ช่วงวันที่ 28 มิ.ย.62 นี้
ทั้งนี้ คาดว่าจีนต้องการที่จะจบประเด็นความขัดแย้งดังกล่าวให้เร็วที่สุด เพื่อลดความเสียหายจากภาคการส่งออกที่มีแนวโน้มจะกดดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ ประกอบกับประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ที่ใกล้จะหมดวาระ จำเป็นต้องมีผลงานเชิงประจักษ์อย่างการเจรจาต่อรองทางการค้ากับจีนให้เป็นผลสำเร็จและเป็นชาติแรกของโลก เพื่อใช้ในการหาเสียงในการสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ช่วงปี 63 ต่อไป
สำหรับคำแนะนำการลงทุนในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ มองว่าการปรับตัวลดลงของสินทรัพย์เสี่ยงในระยะสั้น เป็นโอกาสในการเข้าลงทุนในตลาดหุ้นที่แนวโน้มการเติบโตในระยะยาว มีความมั่นคงทางการเมือง และมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนในระดับที่ต่ำ เช่น จีนและอินเดีย เป็นต้น
--อินโฟเควสท์ โดย ชัยรัตน์ พุ่มมาลา/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
Source - IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (Th)
Tuesday, June 25, 2019 15:09
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (25 มิ.ย. 62)--นายวิน อุดมรัชตวนิชย์ ประธานกรรมการบริหาร บล.เคทีบี (ประเทศไทย) (KTBST) เปิดเผยว่า บริษัทอยู่ระหว่างเตรียมยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อขออนุญาตเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป (IPO) รอบใหม่ จากเดิมที่เคยวางแผนจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯในช่วงต้นปีนี้
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบริษัทจะเลื่อนเวลาในการขายหุ้น IPO แต่ไม่ได้กระทบกับเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ขยายธุรกิจหลักทรัพย์ เนื่องจากมีสถาบันทางการเงินหลายแห่งเข้ามาปล่อยสินเชื่อ และบริษัทระดมทุนได้ด้วยการหุ้นกู้ ซึ่งมีต้นทุนดอกเบี้ยต่ำ ทำให้ความจำเป็นในการใช้เงินทุนลดลง
แต่การที่บริษัทยังคงเป้าหมายเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯเพื่อต้องการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร และเปิดโอกาสสร้างเติบโตในระยะยาว นอกจากนี้ ยังเตรียมความพร้อมจัดตั้งธุรกิจใหม่ในลักษณะการร่วมลงทุนกับพันธมิตรต่างชาติ ช่วยผลักดันผลประกอบการเติบโตต่อเนื่อง คาดเห็นความชัดเจนภายในไตรมาส 4/62 หรืออย่างช้าในไตรมาส 1/63
สำหรับธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์คาดว่ารายได้จะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นในครึ่งปีหลัง ตามปริมาณและมูลค่าซื้อขายกลุ่มผู้ลงทุนเพิ่มขึ้นตามความเชื่อมั่นในปัจจัยการเมืองภายในประเทศ หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่คาดว่าเห็นความชัดเจนในเดือน ก.ค.นี้ ส่งผลให้คาดว่าโครงสร้างรายได้รวมธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์จะเพิ่มเป็น 40% จากครึ่งปีแรกมีสัดส่วน 35% ของรายได้รวม
นายวิน กล่าวต่อว่า บริษัทมุ่งเน้นขยายธุรกิจให้มีความหลากหลาย โดยตั้งตั้งเป้าหมายรายได้ในปี 62 ที่ราว 1,300-1,400 ล้านบาท เติบโต 26% จากปีก่อน ประกอบด้วย ธุรกิจการบริหารความมั่งคั่งส่วนบุคคลมีสินทรัพย์ภายใต้คำแนะนำ (AUA) มุ่งเติบโตเป็น 80,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33.33% จากปี 61 ที่ 60,000 ล้านบาท ธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลตั้งเป้าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM) เติบโตเป็น 3,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 50% ที่ 2,000 ล้านบาท
ธุรกิจตัวแทนซื้อขายหน่วยลงทุนตั้งเป้า AUA ที่ระดับ 20,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 100% ที่ราว 10,000 ล้านบาท ขณะที่ธุรกิจบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุนภายใต้ บลจ.วี ตั้งเป้า AUM เพิ่มเป็น 6,000 ล้านบาท จากปัจจุบันอยู่ที่ 2,800 ล้านบาท และเคทีบีเอสที รีทส์ แมเนจเม้นท์ มีแผนตั้งกองรีทจำนวน 3 กองทุน ขนาดรวมกันประมาณ 6,000 ล้านบาท คาดเห็นความชัดเจนการเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้ง 2 กองทุนภายในปีนี้
ขณะที่ KTBST ตั้งเป้ารักษาส่วนแบ่งการตลาดของการซื้อขาย TFEX ให้ติดอันดับ 1 ใน 5 ของอุตสาหกรรม
"ทิศทางผลประกอบการไตรมาส 2/62 เชื่อมั่นว่าจะสามารถรักษาระดับการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่ารายได้ธุรกิจให้บริการนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์น่าจะได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์รวมที่ลดลง แต่บริษัทจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากค่าธรรมเนียมธุรกิจบริการอื่น ๆ เช่น งานวาณิชธนกิจ งานตัวแทนซื้อขายหน่วยลงทุน งานบริการทางการเงิน อีกทั้ง บลจ.วี ในเครือ KTBST ได้เปิดดำเนินการเต็มรูปแบบในไตรมาส 2 ที่มีนโยบายมุ่งสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย ตามสภาวะการลงทุนแต่ละช่วง ปัจจุบันได้เสนอขายกองทุนกองทุนประเภททริกเกอร์ฟันด์ต่างประเทศ อาทิ ลงทุนในสหรัฐฯ,จีน,อินเดีย และหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยี เป็นต้น ซึ่งลูกค้าให้การตอบรับอย่างดี ล่าสุดอยู่ระหว่างศึกษาโอกาสในการลงทุนอื่นๆเพิ่มเติมด้วย"นายวิน กล่าว
ทั้งนี้ ในไตรมาส 1/62 บริษัทมีรายได้รวม 322.4 ล้านบาท และกำไรสุทธิอยู่ที่ 23.7 ล้านบาท โดยมีรายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจบริการ เพิ่มขึ้นมาเป็น 50-60% จากสิ้นปี 61 ที่มีสัดส่วน 40% ขณะที่สัดส่วนรายได้ธุรกิจให้บริการนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ลดลงเหลือ 30-40% จากสิ้นปี 61 ที่มีสัดส่วน 50%
นายชาตรี โรจนอาภา รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ KTBST กล่าวถึงมุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนในปี 62 ว่า ช่วงที่ผ่านมามีความผันผวนสูง จากภาวะสงครามการค้าที่กดดันเศรษฐกิจไปทั่วทั้งโลก ซึ่งคาดว่าจะยังคงดำเนินต่อไป และอาจขยายไปยังคู่เจรจาอื่นนอกจากสหรัฐและจีนด้วย
อย่างไรก็ดี KTBST ประเมินว่าสงครามการค้าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น และอาจหาข้อสรุปได้ภายในครึ่งหลังของปีนี้ ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบของประเทศคู่เจรจา รวมถึงเศรษฐกิจทั่วโลกที่ส่งสัญญาณชะลอตัวจะกดดันให้คณะผู้เจรจาการค้าจำเป็นต้องหาหนทางยุติสงครามการค้าโดยเร็ว การเจรจากันที่สำคัญคาดว่าจะเริ่มในรอบการประชุม G20 ช่วงวันที่ 28 มิ.ย.62 นี้
ทั้งนี้ คาดว่าจีนต้องการที่จะจบประเด็นความขัดแย้งดังกล่าวให้เร็วที่สุด เพื่อลดความเสียหายจากภาคการส่งออกที่มีแนวโน้มจะกดดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ ประกอบกับประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ที่ใกล้จะหมดวาระ จำเป็นต้องมีผลงานเชิงประจักษ์อย่างการเจรจาต่อรองทางการค้ากับจีนให้เป็นผลสำเร็จและเป็นชาติแรกของโลก เพื่อใช้ในการหาเสียงในการสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ช่วงปี 63 ต่อไป
สำหรับคำแนะนำการลงทุนในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ มองว่าการปรับตัวลดลงของสินทรัพย์เสี่ยงในระยะสั้น เป็นโอกาสในการเข้าลงทุนในตลาดหุ้นที่แนวโน้มการเติบโตในระยะยาว มีความมั่นคงทางการเมือง และมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนในระดับที่ต่ำ เช่น จีนและอินเดีย เป็นต้น
--อินโฟเควสท์ โดย ชัยรัตน์ พุ่มมาลา/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--