สรุปหนังสือ Rise of The Robots ตอนที่1 By Seminar Knowledge by Amorn
หนังสือเขียนโดย Martin Ford และแปลโดย คุณทีปกร วุฒิพิทยามงคล
หนังสือเล่มนี้น่าสนใจเพราะได้รับรางวัลหนังสือธุรกิจแห่งปี 2015 จาก Financial Time&Mckinsey Business
------------------------------------------------------------------------------------
Martin Ford เป็นนักอนาคตวิทยาและนักเขียนที่เน้นเรื่องผลกระทบจากAI และ หุ่นยนต์ต่อสังคมและระบบเศรษฐกิจ
หนังสือเล่มนี้เกริ่นนำโดยพูดถึงเรื่อง ประสิทธิภาพของการผลิตและค่าแรง ระหว่างปี 1970 กับ ปี 2013
ผลผลิตเพิ่มขึ้น 107% แต่ค่าแรงกลับลดลง 13% หลังปรับเงินเฟ้อแล้ว
ช่วง ปี 1970 เกิดทั้งภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง พ่วงเงินเฟ้อ และ วิกฤตพลังงาน แต่ยังสร้างงานใหม่เพิ่ม 27%
เปรียบเทียบกับทศวรรษแรกของศตวรรษที่21 ไม่ได้สร้างตำแหน่งงานใหม่ๆเลย
ความเลื่อมล้ำทางรายได้เพิ่มสูงขึ้นจนถึงระดับที่ไม่เคยมาก่อนตั้งแต่ปี 1929 ความมั่งคั่งของคนกลุ่มน้อยแค่5%
เพิ่มสูงมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
--------------------------------------------------------------------------------------
หนังสือเล่มนี้พูดถึงว่าหุ่นยนต์สามารถทำงานแทนคนได้ ยกตัวอย่างเช่น งานจัดเรียงกล่อง
อุปกรณ์เล่นเกมได้พัฒนาอย่างรวดเร็วโดย บริษัท นินเทนโด พัฒนาเกมวี โดยมีอุปกรณ์จับความเร่งฝังอยู่ข้างใน
ทำให้การเล่นเกมพลิกโฉมไป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่นักพัฒนาหุ่นยนต์ได้นำเทคโนโลยีคิเน๊กต์ ไปช่วยทำให้หุ่นยนต์มองเห็นในราคาที่ถูกมาก ทำให้เครื่องจักรมีความสามารถในการรับรู้และปฏิสัมพันธ์ใกล้เคียงกับมนุษย์ในราคาจับต้องได้
ซึ่งต่อมาก็มีผลต่อการจ้างแรงงาน เช่น โรงงานFoxconซึ่งผลิตอุปกรณ์สำหรับมือถือI-Phone เปลี่ยนมาใช้หุ่นยนต์ประกอบแทนคน และ จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการผลิต จากเมื่อก่อนย้ายโรงงานผลิตไปที่แรงงานถูก
ต่อไปก็จะมีการย้ายฐานการผลิตกลับประเทศญี่ปุ่นหรืออเมริกา โดยใช้หุ่นยนต์ผลิตแทน ต้นทุนไม่แตกต่างแต่
สะดวกในการขนส่งไปยังผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น ตอนนี้ บริษัท Casio มีแผนย้ายฐานการผลิตจากไทยไปญี่ปุ่น
------------------------------------------------------------------------------------
ธุรกิจภาคบริการ ถือเป็นอีกภาคที่ใช้แรงงานค่อนข้างมาก และมีการเรียกร้องขึ้นค่าแรงอยู่เสมอก็เป็นอีกธุรกิจที่มีโอกาสถูกทดแทนด้วยหุ่นยนต์ในการให้บริการ ตอนนี้ที่ญี่ปุ่น เครือข่ายร้านซูซิคุระ ได้บุกเบิกการใช้ระบบอัตโนมัติจนสำเร็จ หุ่นยนต์จะปั้นซูชิและใช้สายพานแทนพนักงานเสิร์ฟ ในเมืองไทยก็มีบางร้านใช้หุ่นยนต์และสายพานให้บริการ
หุ่นยนต์ในภาคบริการ
ปี2000 คนงานที่ทำงานในเรือกสวนไร่นา ลดลงจาก 50% เหลือแค่ 2% เครื่องจักร จะทำหน้าที่ในการปลูกพืชไร่ส่วน2%มีหน้าที่ในการเก็บผลไม้ที่เปราะบางและมีราคาแพง รวมไปถึงไม้ดอกไม้ประดับ
รออ่านตอนต่อไปนะครับ
Rise of The Robots
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Rise of The Robots
โพสต์ที่ 2
สรุปหนังสือ Rise of The Robots ตอนที่2 By Seminar Knowledge by Amorn
ความท้าทายของบริการสุขภาพ
การวินิจฉัยโรคนั้น ขึ้นอยู่กับความรู้ด้านการแพทย์และทักษะการวินิจฉัยโรคของแพทย์แต่ละคน
ตัวอย่าง คนไข้ชายวัย 55 ปี เข้ารับการรักษาที่ University of Marburg ด้วยอาการมีไข้ หลอดอาหารอักเสบ ระดับ
โฮโมนไทรอยด์ต่ำ และมองอะไรไม่ชัด ก่อนหน้านี้ไปพบแพทย์มาหลายคน แต่หาสาเหตุไม่ได้
ซึ่งจริงๆแล้วอาการนี้ก็เกิดขึ้นเมื่อหลายเดือนก่อนกับหญิงชราวัย59ปีในอีกทวีปหนึ่ง ซึ่งได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจที่ศูนย์
การแพทย์ของมหาวิทยาลัยโคโรลาโดในเดนเวอร์ สาเหตุที่แท้จริงคือพิษโคบอลต์ โดยคนไข้ทั้งสองต่างใช้สะโพกเทียมที่
ทำจากโลหะ เมื่อเวลาผ่านไปอวัยะเทียมถูกขัดสีจนปล่อยอนุภาคโคบอลต์ออกมาจนเป็นพิษเรื้อรังแก่ผู้ป่วย
ดูจากทั้งสองกรณี คือ ข้อมูลในการรักษาได้ถูกเก็บแยกกันไว้ในสมองของแพทย์แต่ละคน รวมถึงข้อมูลสิ่งตีพิมพ์ในวารสาร
การแพทย์นั้นก็หายาก น่าจะใช้AI&Big Data มาช่วยในวงการแพทย์
บริษัทIBM ก็ได้มีหน่วยงานที่ได้ทำเรื่องระบบประมวลผลการรู้คิด
IBM Watson ปรากฏในสื่อครั้งแรก คือในปี 2011 ผ่านรายการแข่งขันเกมประเภท Quiz show ที่ชื่อ Jeopardy!
เกม Jeopardy! เป็นเกมใบ้คำปริศนา ที่ค่อนข้างซับซ้อน แต่IBM Watson ประสบความสำเร็จอย่างมาก ชนะแชมป์ของเกมนี้อย่างท้วมท้น และได้รับการจับตาจากสื่ออย่างมาก
ในภายหลัง IBM Watson ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจการแพทย์ แต่กลับพบว่าไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่คิด
ปัญหาของ IBM Watson คือ เป็น AI ประเภท Rule-based ปัญหาของ AI ประเภทนี้ คือมันทำงานได้ Specific มาก ถ้าจะทำให้ IBM Watson ไปเล่นหมากรุก หรือเล่นโกะ ทีมวิศวกรผู้พัฒนาก็ต้องเขียน Algorithm ใหม่เกือบทั้งหมด
แตกต่างจากวิธีการเรียนรู้ของมนุษย์ตรงที่ เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถฝึกตัวเองได้
เราสามารถ connect ความรู้ใหม่ เข้ากับพื้นความรู้เดิมได้ง่ายและเร็วมาก
เช่น ถ้าเราเล่นหมากรุกเก่ง ก็มีแนวโน้มที่เราจะฝึกเล่นโกะเป็นได้เร็ว
ยิ่งเรามีข้อมูลในสมองเรามากเท่าไหร่ มันก็ยิ่งง่ายที่จะทำให้เราเรียนรู้เรื่องราวใหม่ๆ มากเท่านั้น
สาเหตุเพราะสมองมีการทำงานแบบที่เรียกว่า Neural Network กล่าวคือเรามีเครือข่ายของเซลล์ประสาทขนาดใหญ่ ที่ connect องค์ความรู้หลากหลายประเภทเข้าด้วยกัน เป็นเหมือน Algorithm Network ขนาดใหญ่
แต่ IBM Watson มีข้อจำกัดมาก มันอาจจะมี Algorithm Network ของตัวเอง แต่ก็เป็นชุดที่วิศวกร IBM สร้างขึ้น และถึงแม้ Algorithm Network ชุดนั้นจะซับซ้อนพอที่จะเล่นเกมปริศนาใบ้คำที่ซับซ้อนมากๆ ได้ แต่ก็ยังเป็นชุด Algorithm อย่างง่ายๆ ที่เทียบไม่ได้เลยกับ Neural Network ในสมองของมนุษย์
และที่สำคัญคือ IBM Watson เองก็ไม่มีความสามารถที่จะพัฒนา Algorithm Network ของตัวมันเองได้
อย่างไรก็ตาม IBM Watson ก็ได้เปลี่ยนโฉมวงการแพทย์ โดยระบบสามารถขุดคุ้ยข้อมูลมหาศาลที่มีรูปแบบแตกต่างได้
ในอนาคตอันใกล้ เราอาจขาดเครื่องมือวินิจฉัยเช่นนี้ไม่ได้เลย โดยเฉพาะกับแพทย์ที่ต้องเผชิญความท้าทายอย่างยิ่งในคนไข้บางราย
จากงานศึกษาหลายชิ้นทำนายว่าจะขาดแคลนแพทย์ในส่วนที่ไปทำงานพื้นที่ชนบทจำนวนมากถึง 200,000ตำแหน่งภายใน 15 ปี เมื่อแพทย์จำนวนหนึ่งเกษียณอายุ รวมถึงผู้ป่วยรายใหม่ 32ล้านคนไหลเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพ และ ภาวะประชากรสูงวัยก็ยิ่งทำให้ต้องการบริการสุขภาพที่สูงขึ้นอีก
ผู้เขียนได้เสนออาชีพของผู้จบวิทยาลัยหลักสูตร4ปีหรือปริญญาโทเพื่อฝึกให้พูดคุยและตรวจคนไข้เป็นหลัก จากนั้นก็กรอก
ข้อมูลเข้าไปในระบบวินิจฉัยและรักษาที่ได้มาตรฐาน ซึ่งสามารถรองรับการรักษาคนไข้แบบรูทีนได้เป็นจำนวนมาก
อาจพัฒนาขึ้นได้อีกเพื่อช่วยผู้ป่วยเช่น โรคอ้วนหรือเบาหวานซึ่งเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วได้
ระบบปัญญาประดิษฐ์ที่อิงมาตราฐานการปฏิบัติ จะช่วยลดข้อผิดพลาดของแพทย์ และสามารถวินิจฉัยโรคได้แม่นยำขึ้น
โดยเฉพาะแขนงที่ไม่ต้องปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยโดยตรง อาจช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพขึ้น
เช่น AI ได้สามารถทำหน้าที่ช่วยอ่านและวินิจฉัยผลจากการฉายรังสีโรคมะเร็ง เสมือนทำงานแทนแพทย์คนที่สองได้เลย
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ
ประชากรของประเทศพัฒนาแล้วรวมไปถึงประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศกำลังแก่ตัวอย่างรวดเร็ว เช่น สหรัฐ ญี่ปุ่น
โดยเฉพาะญี่ปุ่น ทำนายว่าปี2025 ประชากร 1 ใน 3 อายุมากกว่า 65 ปี ตอนนี้ญี่ปุ่นขาดแคลนคนทำงานดูแลผู้สูงอายุถึง
700,000 ตำแหน่ง ทางแก้คือการสร้างหุ่นยนต์มาดูแลแทน แต่ปัญหาหลักคือหุ่นยนต์ไม่ค่อยมีความสามารถมากนัก
และราคาแพง น้ำหนักมาก ส่วนใหญ่ถูกใช้ในโรงพยาบาลและสถานดูแลผู้สูงอายุเป็นหลัก
รัฐบาลญี่ปุ่นได้เริ่มโครงการอุดหนุนค่าใช้จ่าย 2 ใน 3 ให้แก่การพัฒนาหุ่นยนต์ทำงานเฉพาะอย่างที่ราคาไม่แพงซึ่ง
ช่วยดูแลผู้สูงอายุได้ นวัตกรรมที่น่าสนใจตอนนี้คือ HAL ซึ่งเป็นโครงไฟฟ้าสำหรับสวมใส่โดยเฉพาะส่วนบน
ซึ่งช่วยในการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ ในอนาคตอันใกล้อาจมีการพัฒนาขาจักรกลเพื่อช่วยการเคลื่อนที่ในราคาที่ไม่แพง
เพื่อช่วยหยิบยา น้ำ หรือ ของที่ลืมบ่อยๆ
แต่เทคโนโลยีเหล่านี้ยังไม่ได้เกิดในเร็ววัน ดังนั้นการจ้างงานอาจย้ายไปยังภาคบริการสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุ
สำนักงานสถิติแรงงานของสหรัฐประเมินว่าปี 2022 มีงานดูแลส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 580,000 คน และงานพยาบาลวิชาชีพ
เพิ่มอีก 527,000 คนรวมถึงงานช่วยสุขภาพคนในบ้าน และ งานช่วยดูแลคนไข้ รวม 1.8 ล้านตำแหน่ง
แต่ปัญหาคือ ตำแหน่งที่ว่างนี้ทดแทนตำแหน่งที่ขาดในช่วงที่ผ่านมาได้แค่ 25% และได้รับค่าแรงต่ำ ไม่เหมาะกับประชากรจำนวนมาก
ใครที่กำลังหาสายงานที่น่าจะปลอดภัยจากการใช้ระบบอัตโนมัติอยู่ วิชาชีพด้านการบริการสุขภาพที่ต้องใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ป่วยก็ถือเป็นทางเลือกที่ดี แต่ในอีก 20-30ปีต่อจากนี้ อาจเปลี่ยนแปลงไป
CR: บทความเกี่ยวกับIBM Watsonโดยน้องตู้ มานะชัย
ความท้าทายของบริการสุขภาพ
การวินิจฉัยโรคนั้น ขึ้นอยู่กับความรู้ด้านการแพทย์และทักษะการวินิจฉัยโรคของแพทย์แต่ละคน
ตัวอย่าง คนไข้ชายวัย 55 ปี เข้ารับการรักษาที่ University of Marburg ด้วยอาการมีไข้ หลอดอาหารอักเสบ ระดับ
โฮโมนไทรอยด์ต่ำ และมองอะไรไม่ชัด ก่อนหน้านี้ไปพบแพทย์มาหลายคน แต่หาสาเหตุไม่ได้
ซึ่งจริงๆแล้วอาการนี้ก็เกิดขึ้นเมื่อหลายเดือนก่อนกับหญิงชราวัย59ปีในอีกทวีปหนึ่ง ซึ่งได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจที่ศูนย์
การแพทย์ของมหาวิทยาลัยโคโรลาโดในเดนเวอร์ สาเหตุที่แท้จริงคือพิษโคบอลต์ โดยคนไข้ทั้งสองต่างใช้สะโพกเทียมที่
ทำจากโลหะ เมื่อเวลาผ่านไปอวัยะเทียมถูกขัดสีจนปล่อยอนุภาคโคบอลต์ออกมาจนเป็นพิษเรื้อรังแก่ผู้ป่วย
ดูจากทั้งสองกรณี คือ ข้อมูลในการรักษาได้ถูกเก็บแยกกันไว้ในสมองของแพทย์แต่ละคน รวมถึงข้อมูลสิ่งตีพิมพ์ในวารสาร
การแพทย์นั้นก็หายาก น่าจะใช้AI&Big Data มาช่วยในวงการแพทย์
บริษัทIBM ก็ได้มีหน่วยงานที่ได้ทำเรื่องระบบประมวลผลการรู้คิด
IBM Watson ปรากฏในสื่อครั้งแรก คือในปี 2011 ผ่านรายการแข่งขันเกมประเภท Quiz show ที่ชื่อ Jeopardy!
เกม Jeopardy! เป็นเกมใบ้คำปริศนา ที่ค่อนข้างซับซ้อน แต่IBM Watson ประสบความสำเร็จอย่างมาก ชนะแชมป์ของเกมนี้อย่างท้วมท้น และได้รับการจับตาจากสื่ออย่างมาก
ในภายหลัง IBM Watson ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจการแพทย์ แต่กลับพบว่าไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่คิด
ปัญหาของ IBM Watson คือ เป็น AI ประเภท Rule-based ปัญหาของ AI ประเภทนี้ คือมันทำงานได้ Specific มาก ถ้าจะทำให้ IBM Watson ไปเล่นหมากรุก หรือเล่นโกะ ทีมวิศวกรผู้พัฒนาก็ต้องเขียน Algorithm ใหม่เกือบทั้งหมด
แตกต่างจากวิธีการเรียนรู้ของมนุษย์ตรงที่ เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถฝึกตัวเองได้
เราสามารถ connect ความรู้ใหม่ เข้ากับพื้นความรู้เดิมได้ง่ายและเร็วมาก
เช่น ถ้าเราเล่นหมากรุกเก่ง ก็มีแนวโน้มที่เราจะฝึกเล่นโกะเป็นได้เร็ว
ยิ่งเรามีข้อมูลในสมองเรามากเท่าไหร่ มันก็ยิ่งง่ายที่จะทำให้เราเรียนรู้เรื่องราวใหม่ๆ มากเท่านั้น
สาเหตุเพราะสมองมีการทำงานแบบที่เรียกว่า Neural Network กล่าวคือเรามีเครือข่ายของเซลล์ประสาทขนาดใหญ่ ที่ connect องค์ความรู้หลากหลายประเภทเข้าด้วยกัน เป็นเหมือน Algorithm Network ขนาดใหญ่
แต่ IBM Watson มีข้อจำกัดมาก มันอาจจะมี Algorithm Network ของตัวเอง แต่ก็เป็นชุดที่วิศวกร IBM สร้างขึ้น และถึงแม้ Algorithm Network ชุดนั้นจะซับซ้อนพอที่จะเล่นเกมปริศนาใบ้คำที่ซับซ้อนมากๆ ได้ แต่ก็ยังเป็นชุด Algorithm อย่างง่ายๆ ที่เทียบไม่ได้เลยกับ Neural Network ในสมองของมนุษย์
และที่สำคัญคือ IBM Watson เองก็ไม่มีความสามารถที่จะพัฒนา Algorithm Network ของตัวมันเองได้
อย่างไรก็ตาม IBM Watson ก็ได้เปลี่ยนโฉมวงการแพทย์ โดยระบบสามารถขุดคุ้ยข้อมูลมหาศาลที่มีรูปแบบแตกต่างได้
ในอนาคตอันใกล้ เราอาจขาดเครื่องมือวินิจฉัยเช่นนี้ไม่ได้เลย โดยเฉพาะกับแพทย์ที่ต้องเผชิญความท้าทายอย่างยิ่งในคนไข้บางราย
จากงานศึกษาหลายชิ้นทำนายว่าจะขาดแคลนแพทย์ในส่วนที่ไปทำงานพื้นที่ชนบทจำนวนมากถึง 200,000ตำแหน่งภายใน 15 ปี เมื่อแพทย์จำนวนหนึ่งเกษียณอายุ รวมถึงผู้ป่วยรายใหม่ 32ล้านคนไหลเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพ และ ภาวะประชากรสูงวัยก็ยิ่งทำให้ต้องการบริการสุขภาพที่สูงขึ้นอีก
ผู้เขียนได้เสนออาชีพของผู้จบวิทยาลัยหลักสูตร4ปีหรือปริญญาโทเพื่อฝึกให้พูดคุยและตรวจคนไข้เป็นหลัก จากนั้นก็กรอก
ข้อมูลเข้าไปในระบบวินิจฉัยและรักษาที่ได้มาตรฐาน ซึ่งสามารถรองรับการรักษาคนไข้แบบรูทีนได้เป็นจำนวนมาก
อาจพัฒนาขึ้นได้อีกเพื่อช่วยผู้ป่วยเช่น โรคอ้วนหรือเบาหวานซึ่งเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วได้
ระบบปัญญาประดิษฐ์ที่อิงมาตราฐานการปฏิบัติ จะช่วยลดข้อผิดพลาดของแพทย์ และสามารถวินิจฉัยโรคได้แม่นยำขึ้น
โดยเฉพาะแขนงที่ไม่ต้องปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยโดยตรง อาจช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพขึ้น
เช่น AI ได้สามารถทำหน้าที่ช่วยอ่านและวินิจฉัยผลจากการฉายรังสีโรคมะเร็ง เสมือนทำงานแทนแพทย์คนที่สองได้เลย
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ
ประชากรของประเทศพัฒนาแล้วรวมไปถึงประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศกำลังแก่ตัวอย่างรวดเร็ว เช่น สหรัฐ ญี่ปุ่น
โดยเฉพาะญี่ปุ่น ทำนายว่าปี2025 ประชากร 1 ใน 3 อายุมากกว่า 65 ปี ตอนนี้ญี่ปุ่นขาดแคลนคนทำงานดูแลผู้สูงอายุถึง
700,000 ตำแหน่ง ทางแก้คือการสร้างหุ่นยนต์มาดูแลแทน แต่ปัญหาหลักคือหุ่นยนต์ไม่ค่อยมีความสามารถมากนัก
และราคาแพง น้ำหนักมาก ส่วนใหญ่ถูกใช้ในโรงพยาบาลและสถานดูแลผู้สูงอายุเป็นหลัก
รัฐบาลญี่ปุ่นได้เริ่มโครงการอุดหนุนค่าใช้จ่าย 2 ใน 3 ให้แก่การพัฒนาหุ่นยนต์ทำงานเฉพาะอย่างที่ราคาไม่แพงซึ่ง
ช่วยดูแลผู้สูงอายุได้ นวัตกรรมที่น่าสนใจตอนนี้คือ HAL ซึ่งเป็นโครงไฟฟ้าสำหรับสวมใส่โดยเฉพาะส่วนบน
ซึ่งช่วยในการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ ในอนาคตอันใกล้อาจมีการพัฒนาขาจักรกลเพื่อช่วยการเคลื่อนที่ในราคาที่ไม่แพง
เพื่อช่วยหยิบยา น้ำ หรือ ของที่ลืมบ่อยๆ
แต่เทคโนโลยีเหล่านี้ยังไม่ได้เกิดในเร็ววัน ดังนั้นการจ้างงานอาจย้ายไปยังภาคบริการสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุ
สำนักงานสถิติแรงงานของสหรัฐประเมินว่าปี 2022 มีงานดูแลส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 580,000 คน และงานพยาบาลวิชาชีพ
เพิ่มอีก 527,000 คนรวมถึงงานช่วยสุขภาพคนในบ้าน และ งานช่วยดูแลคนไข้ รวม 1.8 ล้านตำแหน่ง
แต่ปัญหาคือ ตำแหน่งที่ว่างนี้ทดแทนตำแหน่งที่ขาดในช่วงที่ผ่านมาได้แค่ 25% และได้รับค่าแรงต่ำ ไม่เหมาะกับประชากรจำนวนมาก
ใครที่กำลังหาสายงานที่น่าจะปลอดภัยจากการใช้ระบบอัตโนมัติอยู่ วิชาชีพด้านการบริการสุขภาพที่ต้องใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ป่วยก็ถือเป็นทางเลือกที่ดี แต่ในอีก 20-30ปีต่อจากนี้ อาจเปลี่ยนแปลงไป
CR: บทความเกี่ยวกับIBM Watsonโดยน้องตู้ มานะชัย