https://market.sec.or.th/public/ipos/IP ... sID=222097
หนังสือชี้ชวนตราสารทุน
รายละเอียดตราสาร
ผู้ออกหลักทรัพย์ : บริษัท พรีไซซ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ : บริษัท พรีไซซ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
วันที่ยื่น Filing version แรก : 09/10/2561
วันที่แก้ไข Filing ครั้งล่าสุด (วันที่นับ 1 Filing) : -
วันที่ Filing มีผลบังคับใช้ : -
วันที่เริ่มต้นการเสนอขาย : -
วันที่สิ้นสุดการเสนอขาย : -
ประเภทหลักทรัพย์ : หุ้นสามัญ
ประเภทการเสนอขาย : การเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกต่อประชาชน
ที่ปรึกษาทางการเงิน/ผู้ควบคุม : ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) / N.A.
PCISE
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: PCISE
โพสต์ที่ 2
*"พรีไซซ คอร์ปอเรชั่น"ยื่นไฟลิ่งขาย IPO 307 ล้านหุ้น เข้าตลาด SET, ใช้ลงทุนโครงการ-ชำระคืนเงินกู้-ทุนหมุนเวียน
Source - IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (Th)
Thursday, October 11, 2018 10:13
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (11 ต.ค. 61)--บมจ. พรีไซซ คอร์ปอเรชั่น (PCISE) ยื่น Filing version แรก เมื่อวันที่ 9 ต.ค.2561 เนื่องจากบริษัทฯมีความต้องการจะเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 307 ล้านหุ้น และมีความประสงค์จะขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) โดยมีธนาคารซีไอเอ็มบี เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และมีบล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) และบล.โนมูระ พัฒนสิน เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นในครั้งนี้
วัตถุประสงค์การใช้เงินของบริษัทฯ เพื่อนำไปใช้เป็นเงินลงทุนในโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา และโครงการในอนาคตอื่น โดยเป็นโครงการพัฒนาออกแบบและผลิตหม้อแปลงระบบจำหน่ายแบบ TriO Core และเพิ่มกำลังการผลิตสำหรับหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่าย, โครงการเพิ่มกำลังการผลิตสำหรับตู้สวิตช์บอร์ด และสวิตช์เกียร์สำหรับตลาดลูกค้าเอกชน, โครงการพัฒนาโรงงานในส่วนที่ผลิตงานโลหะให้เป็น Factory 4.0 นอกจากนี้จะนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนนการดำเนินงาน และเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไปของบริษัทฯ รวมถึงการชำระคืนเงินกู้ของบริษัทฯ กับธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ส่วนที่เกี่ยวข้องกับเงินกู้ยืมระยะยาว-บุคคลในวงจำกัด และส่วนที่เป็นเงินกู้ยืมระยะยาวของบริษัทฯ
บริษัทฯประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจ ออกแบบและผลิตอุปกรณ์ ออกแบบระบบวิศวกรรมและรับเหมาก่อสร้าง ให้บริการ และลงทุนในอุตสาหกรรมระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ซึ่งครอบคลุมในทุกขั้นตอนตั้งแต่ระบบผลิต ระบบส่ง และระบบจำหน่ายไฟฟ้า ตั้งแต่โรงไฟฟ้าจนถึงผู้ใช้ไฟฟ้า และธุรกิจเกี่ยวเนื่องอื่นๆ ปัจจุบัน กลุ่มธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ สามารถจำแนกออกเป็น 6 ธุรกิจดังต่อไปนี้ 1. ส่วนงานผลิตอุปกรณ์ บริหารโครงการ บริการ และจำหน่ายในอุตสาหกรรมระบบไฟฟ้าแรงต่ำและแรงสูง, 2. ส่วนงานรับเหมาก่อสร้าง สายส่ง และสถานีไฟฟ้าแรงสูง พร้อมผลิต ติดตั้งระบบควบคุมและระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ, 3. ส่วนงานลงทุนด้านพลังงาน ผลิต จำหน่ายกระแสไฟฟ้า และอื่นๆ, 4. ส่วนงานผลิตอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน บริหารโครงการ บริการบำรุงรักษา จำหน่าย ระบบสื่อสารและสารสนเทศ และระบบอัตโนมัติ, 5. ส่วนงานออกแบบและติดตั้ง ก่อสร้างระบบเทคโนโลยีสะอาด ผลิต และจำหน่ายวัสดุชีวภาพ และ 6. ส่วนงานนำเข้าและส่งออกอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องกล และงานขายโครงการ
ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ 6 เดือนแรกปี 2561 สินทรัพย์รวม 5,401.52 ล้านบาท หนี้สินรวม 3,906.82 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 1,494.70 ล้านบาท รายได้รวม 1,997.89 ล้านบาท กำไรสุทธิ 90.82 ล้านบาท
โครงการในอนาคต กลุ่มบริษัทฯ มีนโยบายการลงทุนในโครงการในอนาคตดังต่อไปนี้ 1. โครงการพัฒนาออกแบบและผลิตหม้อแปลงระบบจำหน่ายแบบ TriO Core และเพิ่มกำลังการผลิตสำหรับหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่าย โดย PEM จะลงทุนในเครื่องจักรและเครื่องทดสอบเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายจากกำลังการผลิตสูงสุดที่ปัจจุบัน 687 MVA ต่อปีเป็น 1,355 MVA ต่อปี ด้วยเทคโนโลยี TriO Core จะทำให้หม้อแปลงระบบจำหน่ายแข็งแรงและทนทานมากขึ้น พร้อมทั้งมีเสถียรภาพในระบบไฟฟ้าดีขึ้น โดยเงินลงทุนสำหรับโครงการเพิ่มกำลังการผลิตและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตสำหรับหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายอยู่ที่ประมาณ 86.5 ล้านบาทคาดว่าจะใช้เงินลงทุนตั้งแต่ปัจจุบันจนถึงปี 2563
2. โครงการเพิ่มกำลังการผลิตสำหรับตู้สวิตช์บอร์ด และสวิตช์เกียร์สำหรับตลาดลูกค้าเอกชน โดย PMW ได้ดำเนินงานลงทุนพัฒนา ระบบการผลิต และขยายเครื่องจักรในการผลิต เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตของกลุ่มสินค้าตู้สวิตช์บอร์ดและสวิตช์เกียร์จากปัจจุบัน 800 ชุดต่อปี เป็น 2,172 ชุดต่อปี โดยส่วนของกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นจะเป็นส่วนของสวิตช์เกียร์เพื่อจำหน่ายให้แก่ลูกค้าเอกชน เพื่อสามารถรองรับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเอกชนได้อย่างรวดเร็วตามความต้องการที่หลากหลายของลูกค้า และโครงการนี้ยังจะสามารถทำให้การผลิตสวิตช์เกียร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ลดระยะเวลาในการผลิต พร้อมทั้งยังลดต้นทุนในการผลิตอีกด้วย โดยเงินลงทุนสำหรับโครงการเพิ่มกำลังการผลิตสำหรับตู้สวิตช์บอร์ดและสวิตช์เกียร์อยู่ที่ประมาณ 10 ล้านบาท คาดว่าจะใช้เงินลงทุนในปี 2562
3. โครงการพัฒนาโรงงานในส่วนที่ผลิตงานโลหะให้เป็น Factory 4.0 โดย PMW มีโครงการพัฒนาเพิ่มกำลังการผลิตงานโลหะ พัฒนาระบบผลิต และควบคุมคุณภาพโดยอัตโนมัติในแบบ Factory 4.0 ทำให้ลดระยะเวลาในการผลิต ลดต้นทุนในการผลิต และตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มบริษัทฯ ได้อย่างรวดเร็วและเพียงพอ โดยการลงทุนในเครื่องจักรผลิตอัตโนมัติและเครื่องตรวจสอบคุณภาพอัตโนมัติ งานโลหะที่ PMW ผลิตนั้นจะเป็นส่วนสำคัญที่จะใช้ประกอบเป็นโครงเหล็กสำหรับรองรับการเพิ่มกำลังการผลิตสำหรับหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่าย และตู้สวิตช์บอร์ดและสวิตช์เกียร์ ที่กล่าวไปแล้วข้างต้น โดยเงินลงทุนสำหรับโครงการ Factory 4.0 อยู่ที่ประมาณ 80 ล้านบาทคาดว่าจะใช้เงินลงทุนในช่วงปี 2562-2563
ปัจจุบัน บริษัทฯ จึงมีทุนจดทะเบียน 1,226,619,100 บาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 1,226,619,100 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.0 บาท และมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 919,619,100 บาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 919,619,100 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.0 บาท
ภายหลังจากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรกจำนวน 307,000,000 หุ้นในครั้งนี้แล้ว บริษัทฯ จะมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วทั้งสิ้น 1,226,619,100 บาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญชำระแล้วจำนวน 1,226,619,100 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.0 บาท
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท 3 อันดับแรก ณ วันที่ 27 เม.ย.2561 ประกอบด้วย ครอบครัวสัมฤทธิ์ ถือหุ้น 232,738,200 หุ้นคิดเป็น 25.31% หลังเสนอขายหุ้นในครั้งนี้แล้วจะลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือ 18.97%, ครอบครัวณัฐชยางกุล ถือหุ้น 149,113,900 หุ้นคิดเป็น 16.21% หลังเสนอขายหุ้นในครั้งนี้แล้วจะลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือ 12.16% และสมาคมพนักงานกลุ่มบริษัทพรีไซซ ถือหุ้น 88,820,200 หุ้นคิดเป็น 9.66% หลังเสนอขายหุ้นในครั้งนี้แล้วจะลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือ 7.24%
นโยบายการจ่ายปันผลของบริษัทฯกำหนดให้จ่ายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิตามงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทฯ หลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคลและหลังหักสำรองตามกฎหมายของแต่ละปี
--อินโฟเควสท์ โดย พรเพ็ญ ดวงเฉลิมวงศ์/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: [email protected]--
Source - IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (Th)
Thursday, October 11, 2018 10:13
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (11 ต.ค. 61)--บมจ. พรีไซซ คอร์ปอเรชั่น (PCISE) ยื่น Filing version แรก เมื่อวันที่ 9 ต.ค.2561 เนื่องจากบริษัทฯมีความต้องการจะเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 307 ล้านหุ้น และมีความประสงค์จะขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) โดยมีธนาคารซีไอเอ็มบี เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และมีบล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) และบล.โนมูระ พัฒนสิน เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นในครั้งนี้
วัตถุประสงค์การใช้เงินของบริษัทฯ เพื่อนำไปใช้เป็นเงินลงทุนในโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา และโครงการในอนาคตอื่น โดยเป็นโครงการพัฒนาออกแบบและผลิตหม้อแปลงระบบจำหน่ายแบบ TriO Core และเพิ่มกำลังการผลิตสำหรับหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่าย, โครงการเพิ่มกำลังการผลิตสำหรับตู้สวิตช์บอร์ด และสวิตช์เกียร์สำหรับตลาดลูกค้าเอกชน, โครงการพัฒนาโรงงานในส่วนที่ผลิตงานโลหะให้เป็น Factory 4.0 นอกจากนี้จะนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนนการดำเนินงาน และเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไปของบริษัทฯ รวมถึงการชำระคืนเงินกู้ของบริษัทฯ กับธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ส่วนที่เกี่ยวข้องกับเงินกู้ยืมระยะยาว-บุคคลในวงจำกัด และส่วนที่เป็นเงินกู้ยืมระยะยาวของบริษัทฯ
บริษัทฯประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจ ออกแบบและผลิตอุปกรณ์ ออกแบบระบบวิศวกรรมและรับเหมาก่อสร้าง ให้บริการ และลงทุนในอุตสาหกรรมระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ซึ่งครอบคลุมในทุกขั้นตอนตั้งแต่ระบบผลิต ระบบส่ง และระบบจำหน่ายไฟฟ้า ตั้งแต่โรงไฟฟ้าจนถึงผู้ใช้ไฟฟ้า และธุรกิจเกี่ยวเนื่องอื่นๆ ปัจจุบัน กลุ่มธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ สามารถจำแนกออกเป็น 6 ธุรกิจดังต่อไปนี้ 1. ส่วนงานผลิตอุปกรณ์ บริหารโครงการ บริการ และจำหน่ายในอุตสาหกรรมระบบไฟฟ้าแรงต่ำและแรงสูง, 2. ส่วนงานรับเหมาก่อสร้าง สายส่ง และสถานีไฟฟ้าแรงสูง พร้อมผลิต ติดตั้งระบบควบคุมและระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ, 3. ส่วนงานลงทุนด้านพลังงาน ผลิต จำหน่ายกระแสไฟฟ้า และอื่นๆ, 4. ส่วนงานผลิตอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน บริหารโครงการ บริการบำรุงรักษา จำหน่าย ระบบสื่อสารและสารสนเทศ และระบบอัตโนมัติ, 5. ส่วนงานออกแบบและติดตั้ง ก่อสร้างระบบเทคโนโลยีสะอาด ผลิต และจำหน่ายวัสดุชีวภาพ และ 6. ส่วนงานนำเข้าและส่งออกอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องกล และงานขายโครงการ
ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ 6 เดือนแรกปี 2561 สินทรัพย์รวม 5,401.52 ล้านบาท หนี้สินรวม 3,906.82 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 1,494.70 ล้านบาท รายได้รวม 1,997.89 ล้านบาท กำไรสุทธิ 90.82 ล้านบาท
โครงการในอนาคต กลุ่มบริษัทฯ มีนโยบายการลงทุนในโครงการในอนาคตดังต่อไปนี้ 1. โครงการพัฒนาออกแบบและผลิตหม้อแปลงระบบจำหน่ายแบบ TriO Core และเพิ่มกำลังการผลิตสำหรับหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่าย โดย PEM จะลงทุนในเครื่องจักรและเครื่องทดสอบเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายจากกำลังการผลิตสูงสุดที่ปัจจุบัน 687 MVA ต่อปีเป็น 1,355 MVA ต่อปี ด้วยเทคโนโลยี TriO Core จะทำให้หม้อแปลงระบบจำหน่ายแข็งแรงและทนทานมากขึ้น พร้อมทั้งมีเสถียรภาพในระบบไฟฟ้าดีขึ้น โดยเงินลงทุนสำหรับโครงการเพิ่มกำลังการผลิตและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตสำหรับหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายอยู่ที่ประมาณ 86.5 ล้านบาทคาดว่าจะใช้เงินลงทุนตั้งแต่ปัจจุบันจนถึงปี 2563
2. โครงการเพิ่มกำลังการผลิตสำหรับตู้สวิตช์บอร์ด และสวิตช์เกียร์สำหรับตลาดลูกค้าเอกชน โดย PMW ได้ดำเนินงานลงทุนพัฒนา ระบบการผลิต และขยายเครื่องจักรในการผลิต เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตของกลุ่มสินค้าตู้สวิตช์บอร์ดและสวิตช์เกียร์จากปัจจุบัน 800 ชุดต่อปี เป็น 2,172 ชุดต่อปี โดยส่วนของกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นจะเป็นส่วนของสวิตช์เกียร์เพื่อจำหน่ายให้แก่ลูกค้าเอกชน เพื่อสามารถรองรับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเอกชนได้อย่างรวดเร็วตามความต้องการที่หลากหลายของลูกค้า และโครงการนี้ยังจะสามารถทำให้การผลิตสวิตช์เกียร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ลดระยะเวลาในการผลิต พร้อมทั้งยังลดต้นทุนในการผลิตอีกด้วย โดยเงินลงทุนสำหรับโครงการเพิ่มกำลังการผลิตสำหรับตู้สวิตช์บอร์ดและสวิตช์เกียร์อยู่ที่ประมาณ 10 ล้านบาท คาดว่าจะใช้เงินลงทุนในปี 2562
3. โครงการพัฒนาโรงงานในส่วนที่ผลิตงานโลหะให้เป็น Factory 4.0 โดย PMW มีโครงการพัฒนาเพิ่มกำลังการผลิตงานโลหะ พัฒนาระบบผลิต และควบคุมคุณภาพโดยอัตโนมัติในแบบ Factory 4.0 ทำให้ลดระยะเวลาในการผลิต ลดต้นทุนในการผลิต และตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มบริษัทฯ ได้อย่างรวดเร็วและเพียงพอ โดยการลงทุนในเครื่องจักรผลิตอัตโนมัติและเครื่องตรวจสอบคุณภาพอัตโนมัติ งานโลหะที่ PMW ผลิตนั้นจะเป็นส่วนสำคัญที่จะใช้ประกอบเป็นโครงเหล็กสำหรับรองรับการเพิ่มกำลังการผลิตสำหรับหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่าย และตู้สวิตช์บอร์ดและสวิตช์เกียร์ ที่กล่าวไปแล้วข้างต้น โดยเงินลงทุนสำหรับโครงการ Factory 4.0 อยู่ที่ประมาณ 80 ล้านบาทคาดว่าจะใช้เงินลงทุนในช่วงปี 2562-2563
ปัจจุบัน บริษัทฯ จึงมีทุนจดทะเบียน 1,226,619,100 บาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 1,226,619,100 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.0 บาท และมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 919,619,100 บาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 919,619,100 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.0 บาท
ภายหลังจากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรกจำนวน 307,000,000 หุ้นในครั้งนี้แล้ว บริษัทฯ จะมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วทั้งสิ้น 1,226,619,100 บาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญชำระแล้วจำนวน 1,226,619,100 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.0 บาท
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท 3 อันดับแรก ณ วันที่ 27 เม.ย.2561 ประกอบด้วย ครอบครัวสัมฤทธิ์ ถือหุ้น 232,738,200 หุ้นคิดเป็น 25.31% หลังเสนอขายหุ้นในครั้งนี้แล้วจะลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือ 18.97%, ครอบครัวณัฐชยางกุล ถือหุ้น 149,113,900 หุ้นคิดเป็น 16.21% หลังเสนอขายหุ้นในครั้งนี้แล้วจะลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือ 12.16% และสมาคมพนักงานกลุ่มบริษัทพรีไซซ ถือหุ้น 88,820,200 หุ้นคิดเป็น 9.66% หลังเสนอขายหุ้นในครั้งนี้แล้วจะลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือ 7.24%
นโยบายการจ่ายปันผลของบริษัทฯกำหนดให้จ่ายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิตามงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทฯ หลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคลและหลังหักสำรองตามกฎหมายของแต่ละปี
--อินโฟเควสท์ โดย พรเพ็ญ ดวงเฉลิมวงศ์/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: [email protected]--
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: PCISE
โพสต์ที่ 3
PCISE : บริษัท พรีไซซ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ประเภทธุรกิจ
ถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจออกแบบและผลิตอุปกรณ์ ออกแบบระบบวิศวกรรมและรับเหมาก่อสร้าง ให้บริการ และลงทุน ในอุตสาหกรรมระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ซึ่งครอบคลุมในทุกขั้นตอนตั้งแต่ระบบผลิต ระบบส่ง และระบบจำหน่ายไฟฟ้า ตั้งแต่โรงไฟฟ้าจนถึงผู้ใช้ไฟฟ้า และธุรกิจเกี่ยวเนื่องอื่นๆ
ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
กลุ่มอุตสาหกรรม / หมวดธุรกิจ ทรัพยากร / พลังงานและสาธารณูปโภค
สถานะ Filing
จำนวนหุ้นที่ IPO
307,000,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 25.03 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้
ระยะเวลาเสนอขายหุ้น
n/a
ราคา IPO
n/a
ราคา PAR
1.00 บาท
วันที่เริ่มซื้อขาย n/a
ที่ปรึกษาทางการเงิน
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
ข้อมูล Filing
http://www.precise.co.th
ประเภทธุรกิจ
ถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจออกแบบและผลิตอุปกรณ์ ออกแบบระบบวิศวกรรมและรับเหมาก่อสร้าง ให้บริการ และลงทุน ในอุตสาหกรรมระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ซึ่งครอบคลุมในทุกขั้นตอนตั้งแต่ระบบผลิต ระบบส่ง และระบบจำหน่ายไฟฟ้า ตั้งแต่โรงไฟฟ้าจนถึงผู้ใช้ไฟฟ้า และธุรกิจเกี่ยวเนื่องอื่นๆ
ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
กลุ่มอุตสาหกรรม / หมวดธุรกิจ ทรัพยากร / พลังงานและสาธารณูปโภค
สถานะ Filing
จำนวนหุ้นที่ IPO
307,000,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 25.03 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้
ระยะเวลาเสนอขายหุ้น
n/a
ราคา IPO
n/a
ราคา PAR
1.00 บาท
วันที่เริ่มซื้อขาย n/a
ที่ปรึกษาทางการเงิน
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
ข้อมูล Filing
http://www.precise.co.th