อนาคตของสหกรณ์ออมทรัพย์ไทยกับการจัดการหนี้สินครัวเรือน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
miracle
Verified User
โพสต์: 18134
ผู้ติดตาม: 0

อนาคตของสหกรณ์ออมทรัพย์ไทยกับการจัดการหนี้สินครัวเรือน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ขอเขียนเรื่องของสหกรณ์ออมทรัพย์ไทย เสียหน่อย ว่ามันเกี่ยวข้องกับหนี้สินภาคครัวเรือน
มันต้องย้อนกลับไปตอนวิกฤติต้มยำกุ้งตอนนั้นหน่อย ช่วงนั้น ตอนเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง การปลดสินเชื่อของธนาคารเข้มงวดอย่างมาก แถมมีการปิดสถาบันการเงินไป 58 แห่ง (กลับมาได้ 2 แห่ง จึงเรียกเป็น 56 ไฟแนนซ์นั้นเอง หนึ่งในนั้นเป็นธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบัน)
ตอนนั้นหนี้สินครัวเรือนอยู่ในอัตราที่ต่ำมาก เพราะไม่ค่อยกู้เท่าไร มีแต่กู้เกี่ยวกับธุรกิจแต่เมื่อธุรกิจมีปัญหาหาที่กู้ยืมไม่ได้ ก็ไปหานอกระบบหรือในระบบสหกรณ์ออมทรัพย์ออกมา
จุดนั้นแหละที่เรียกได้ว่าเริ่มต้นของเรื่อง
การกู้สหกรณ์ออมทรัพย์นั้น ต้องบอกไว้ก่อนว่า สหกรณ์ออมทรัพย์มีทั้งให้กู้แก่สมาชิกอย่างเดียว หรือ ทั้งสมาชิกและบุคคลภายนอกได้
อันแรกไม่ค่อยเป็นปัญหาเพราะ ถ้าใครเป็นสมาชิกของสหกรณ์จึงกู้ได้ แสดงว่าต้องมีการส่งค่าหุ้นให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์ จุดนี้ไม่ค่อยเท่าไร แต่จุดที่มันเป็นปัญหาคือ กู้แล้วค้ำประกัน ไขว้กันไปมานั้นแหละที่เป็นตัวปัญหา เพราะ ให้กู้เกินวงเงิน โดยคิดมาจาก1. จำนวนหุ้นที่มีอยู่ 2. คิดจากฐานเงินเดือน นั้นแหละ
ส่วนคนนอกนั้น ต้องให้สมาชิกมาค้ำประกัน ไม่ได้กู้ซี้ซัวอะไร แถมกู้ง่ายไม่ต้องตรวจสอบเรื่องประวัติ (ไม่ต้องตรวจสอบกับเครดิตบูโรทังนั้นเอง) การส่งค่างวดก็ง่ายมาก เพราะสหกรณ์ออมทรัพย์ทั่วไปตัดจากบัญชีเงินเดือนเลย ถ้าเป็นคนนอกก็โอนผ่านธนาคาร (รวมไปถึงการส่งเงินค่าหุ้นของสหกรณ์ออมทรัพย์ด้วย)
เห็นช่องโหว่งหรือยังครับ คือ
1. การปล่อยกู้ ที่ง่ายไม่ตรวจสอบประวัติ
2. การปล่อยกู้โดยให้ค้ำกันไปค้ำกันมา
3. หักเงินผ่านบัญชีเงินเดือน หรือ ผ่านช่องทางอื่นๆ ที่เปิดไว้ให้
แถมกฏหมายนั้น ค่อนข้างไม่ทันสมัย (เหมือนสมัยธนาคารที่มีปัญหาจากต้มยำกุ้ง หรือ วิกฤติราชาเงินทุนเลย เรียกได้ว่าลอกเลียนแบบมา) แถมจำนวนเจ้าหน้าที่มีน้อย (เอ๋!เจ้าหน้าที่มีน้อย มันเหมือนคล้ายๆวิกฤติต้มยำกุ้งเลยว่าเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ) ระบบตรวจสอบไมทันสมัย ไม่ได้ประยุกต์มาตรฐานบัญชี หรือมาตรฐานของธนาคารแห่งประเทศเข้ามา เพราะส่งเงินค่างวดนั้นตัดจากบัญชีเงินเดือน กู้ก็ไม่ต้องตั้งสำรอง เรียกได้ว่า เงินอย่างไรก็ได้คืน
ถึงจุดนี้แล้ว ธนาคารพาณิชย์ ก็ปล่อยสินเชื่อบุคคลยาก ดอกเบี้ยที่เรียกก็แพงกว่าสหกรณ์ (ส่งเงินค่างวดพร้อมดอกเบี้ยนั้นสหกรณ์จ่ายผลตอบแทนคืนให้ตอนปลายปีด้วย แล้วแต่แห่งว่าได้คืนเท่าไร)

ดังนั้น จุดเหล่านี้ทำให้สหกรณ์ก็ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนตอนนี้แข่งกับธนาคารพาณิชย์ได้เลย
เมื่อเป็นแบบนี้ไซร้ ต้องมีอะไรเกิดขึ้น คือ เหตุการณ์สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ระเบิดที่สนั่นสะท้านวงการสหกรณ์ไทย ต่อมาก็มีลูกย่อยๆ ระเบิดแต่เป็นข่าวแล้วเงียบหายไป

ถ้าหากแก้ไขหนี้ครัวเรือนนั้นไม่ได้แก้ไขที่ ระบบของธนาคารพาณิชย์ หรอก แต่ต้องลงไปแก้ไขถึงสหกรณ์ออมทรัพย์ด้วย
งานนี้เดิมพันการแก้ไข หนี้สินครัวเรือน มันมากๆ เพราะอำนาจ ไม่ได้อยู่ที่ ธปท อย่างเดียว
:)
:)
โพสต์โพสต์