หุ้นไทยแพงไปแล้วหรือยัง? / คนขายของ
- คนขายของ
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 788
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นไทยแพงไปแล้วหรือยัง? / คนขายของ
โพสต์ที่ 1
หุ้นไทยแพงไปแล้วหรือยัง? / โดย คนขายของ
ถ้าถามว่ารถเบนซ์ราคาแพงไหม? ด้วยราคาขายอย่างต่ำราว 2 ล้านบาทหลายๆคนคงบอกว่าแพง แต่หากนำมาเปรียบเทียบกับรถสุดหรูอย่างแบรนด์ Bugatti ซึ่งราคาที่ยังไม่รวมภาษีนำเข้าก็ราวๆเกือบ 60 ล้านบาท ราคาของรถเบนซ์ก็อาจจะดูถูกลงไปพอสมควร ในเรื่องการลงทุนก็คล้ายคลึงกัน เราคงไม่สามารถบอกได้ว่าตลาดหุ้นของประเทศใดประเทศหนึ่งแพงไปแล้วหรือยัง โดยไม่ทำการเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆทั่วโลก ในบทความนี้เราจะเลือกตลาดหุ้นชั้นนำทั้วโลก มาเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นไทยในแง่ของ ค่า PE เฉลี่ย, ค่า PBV เฉลี่ย และ อัตราเงินปันผลเฉลี่ย เพื่อที่จะลองหาข้อสรุปว่าในปัจจุบันนี้หุ้นไทยดูแพงไป หรือไม่ โดยค่าสถิติที่ใช้จะเป็นค่า ณ สิ้นไตรมาสที่หนึ่งของปี 2560
PE เฉลี่ยของตลาดหุ้น 39 แห่งในโลกซึ่งรวมทั้งตลาดที่พัฒนาแล้วและตลาดเกิดใหม่ ณ สิ้นไตรมาสหนึ่งอยู่ที่ 20.2 โดย PE เฉลี่ยของตลาดพัฒนาแล้ว อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมัน ญี่ปุ่น อยู่ที่ 21.5 และ ของตลาดเกิดใหม่ อย่าง จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ซึ่งไทยก็ถูกรวมอยู่ในกล่มนี้ด้วยอยู่ที่ 14.9 หากดูเฉพาะ PE ของตลาดหุ้นไทย ซึ่งอยู่ที่ 15.9 ก็ดูเหมือนว่าจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดเกิดใหม่นิดหน่อย แต่ก็ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลกอยู่พอสมควร โดยจากตลาด 39 แห่งที่ทำการศึกษา PE ตลาดหุ้นไทยอยู่ในลำดับที่ 30 นับจากตลาดที่มี PE สูงสุดลงมา ซึ่งตลาดที่มี PE สูงที่สุดสามอันดับของโลกตอนนี้ได้แก่ ตลาดเบลเยี่ยม (37.8) อังกฤษ (36.2) และ โปตุเกส (34.1) ส่วนต่ำสุดสามอันดับได้แก่ รัสเซีย (7.1) จีน (7.6) และ ฮังการี (10.7) และหากมองเทียบกับ PE Band ของตลาดหุ้นไทยในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงระหว่าง 5-30 เท่า ตัวเลขปัจจุบันที่ 15.9 ก็ถือว่าเป็นค่าระดับกลางๆ
หันมาดูในแง่ของ PBV กันบ้าง ตอนนี้ค่าเฉลี่ยของ 39 ตลาดอยู่ที่ 2.0 ตลาดพัฒนาแล้วอยู่ที่ 2.1 และ ตลาดเกิดใหม่อยู่ที่ 1.7 ซึ่งค่า PBV ของไทยก็อยู่ที่ 2.0 ซึ่งพอดีกับค่าเฉลี่ยของตลาดทั้งหมด หากลองพิจารณาในแง่ของ PBV และ ROE ประกอบกัน โดยเทียบของตลาดไทย ซึ่งมี PBV อยู่ที่ 2 และ ROE เฉลี่ยอยู่ที่ราวๆ 12% กับ S&P500 ของอเมริกาซึ่งมีค่าเฉลี่ย PBV อยู่ที่ 3.0 และ ROE เฉลี่ยที่ 13% ก็ดูเหมือนว่าตลาดหุ้นไทยยังดูน่าดึงดูดกว่า
ในส่วนของอัตราเงินปันผล ค่าเฉลี่ยของตลาดชั้นนำของโลกอยู่ที่ 2.5% ตลาดพัฒนาแล้วอยู่ที่ 2.4% ตลาดเกิดใหม่อยู่ที่ 2.9% และของไทยอยู่ที่ 3.1% ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียนอย่าง อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ ซึ่งตลาดให้ปันผลเฉลี่ยเพียงแค่ 1.9% และ 1.6% ก็ดูเหมือนว่าอัตราเงินปันผลของไทยดูจูงใจกว่า ยิ่งเมื่อเทียบกับดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนในประเทศของไทยที่ราว 1.7% จะพบว่าอัตราเงินปันผล เฉลี่ยจากตลาดหุ้นยังสูงกว่าราว 80% ดังนั้นดูเหมือนว่า การลงทุนในหุ้นไทยก็ยังคงมีเหตุผลสนับสนุน พอสมควร
แต่กระนั้นก็ตาม การศึกษาความถูกแพงของตลาดแบบนี้ก็มีจุดอ่อน เพราะว่าเป็นการใช้ค่าสถิติของข้อมูลที่ผ่านมาแล้วเป็นหลัก และการใช้ PE ตลาดในการดูความถูกแพง ควรมีความเข้าใจในรายละเอียดประกอบ เช่น ในช่วงหลัง Subprime Crisis PE เฉลี่ยของ S&P500 ขึ้นไปสูงถึง 120 เท่า ทั้งนี้เพราะผลประกอบ การของกลุ่มธนาคารและประกันย่ำแย่มากผิกปกติ แต่กลับกลายว่าเป็นช่วงที่น่าลงทุนมากที่สุด เพราะปัจจัยความไม่แน่นอนหลายอย่างได้คลี่คลายไปแล้ว แต่ในทางกลับกัน ในช่วงปี 2000 PE ของ S&P500 อยู่ที่ 29.04 แต่เป็นช่วงที่ไม่น่าลงทุน เพราะกำไรบริษัทจดทะเบียนเริ่มอิ่มตัวแล้ว และกลับเป็นขาลงในอีกไม่กี่ เดือนต่อมา
สำหรับตลาดหุ้นไทย หากพิจารณาโดยรวมจากข้อมูลทั้งหมดข้างต้นจะเห็นว่า ตลาดหุ้นไทยมีความถูกแพงอยู่ในระดับกลางๆ ในแง่ของ PE และ PBV แต่ยังมีแรงจูงใจอยู่บ้างจากอัตราผลตอบแทนเงินปันผล สิ่งสำคัญที่นักลงทุนแต่ละท่านคงต้องทำการประเมินเพิ่มเติมต่อจากนี้ก็คือ ท่านคิดว่าผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนของไทยกำลังอยู่ในขาขึ้นหรือขาลง? ในช่วงที่ผ่านมามีหลายประเด็นที่ส่งผลลบต่อเศรษฐกิจไทย ไม่ว่าจะเรื่องการลงทุนเอกชนที่ชะลอตัว หนี้ครัวเรือนที่ค่อนข้างสูง และ การสูญเสียความสามารถการแข่งขันในการส่งออก ผมคิดว่าคำถามสำคัญคือ สิ่งต่างๆเหล่านั้นที่เป็นปัจจัยลบ ท่านคิดว่ามันถึงจุดแย่ที่สุดแล้วหรือยัง? เพราะถ้าที่แย่ที่สุดน่าจะผ่านไปแล้ว ดัวยมูลค่าตลาดในเวลานี้อาจจะเป็นช่วงเหมาะสมน่าลงทุน เหมือน S&P500 ที่ PE 120 ตอนต้นปี 2009 ก็เป็นได้ แต่การประเมินนี้เป็นเรื่องที่นักลงทุุนควรศีกษาข้อมูลให้มากก่อนตัดสินใจ เพราะท้องฟ้าตอนตีห้าก่อนรุ่งสาง กับท้องฟ้าตอนหัวค่ำราวหนึ่งทุ่มนั้นอาจจะมีระดับของแสงคล้ายๆกัน ถ้านักลงทุนเกิดพลาด คิดว่าหนึ่งทุ่มเป็นตีห้า อาจจะต้องเฝ้ารออีกนานหลายชั่วโมงกว่าจะเห็น พระอาทิตย์กันอีกครั้ง
ถ้าถามว่ารถเบนซ์ราคาแพงไหม? ด้วยราคาขายอย่างต่ำราว 2 ล้านบาทหลายๆคนคงบอกว่าแพง แต่หากนำมาเปรียบเทียบกับรถสุดหรูอย่างแบรนด์ Bugatti ซึ่งราคาที่ยังไม่รวมภาษีนำเข้าก็ราวๆเกือบ 60 ล้านบาท ราคาของรถเบนซ์ก็อาจจะดูถูกลงไปพอสมควร ในเรื่องการลงทุนก็คล้ายคลึงกัน เราคงไม่สามารถบอกได้ว่าตลาดหุ้นของประเทศใดประเทศหนึ่งแพงไปแล้วหรือยัง โดยไม่ทำการเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆทั่วโลก ในบทความนี้เราจะเลือกตลาดหุ้นชั้นนำทั้วโลก มาเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นไทยในแง่ของ ค่า PE เฉลี่ย, ค่า PBV เฉลี่ย และ อัตราเงินปันผลเฉลี่ย เพื่อที่จะลองหาข้อสรุปว่าในปัจจุบันนี้หุ้นไทยดูแพงไป หรือไม่ โดยค่าสถิติที่ใช้จะเป็นค่า ณ สิ้นไตรมาสที่หนึ่งของปี 2560
PE เฉลี่ยของตลาดหุ้น 39 แห่งในโลกซึ่งรวมทั้งตลาดที่พัฒนาแล้วและตลาดเกิดใหม่ ณ สิ้นไตรมาสหนึ่งอยู่ที่ 20.2 โดย PE เฉลี่ยของตลาดพัฒนาแล้ว อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมัน ญี่ปุ่น อยู่ที่ 21.5 และ ของตลาดเกิดใหม่ อย่าง จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ซึ่งไทยก็ถูกรวมอยู่ในกล่มนี้ด้วยอยู่ที่ 14.9 หากดูเฉพาะ PE ของตลาดหุ้นไทย ซึ่งอยู่ที่ 15.9 ก็ดูเหมือนว่าจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดเกิดใหม่นิดหน่อย แต่ก็ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลกอยู่พอสมควร โดยจากตลาด 39 แห่งที่ทำการศึกษา PE ตลาดหุ้นไทยอยู่ในลำดับที่ 30 นับจากตลาดที่มี PE สูงสุดลงมา ซึ่งตลาดที่มี PE สูงที่สุดสามอันดับของโลกตอนนี้ได้แก่ ตลาดเบลเยี่ยม (37.8) อังกฤษ (36.2) และ โปตุเกส (34.1) ส่วนต่ำสุดสามอันดับได้แก่ รัสเซีย (7.1) จีน (7.6) และ ฮังการี (10.7) และหากมองเทียบกับ PE Band ของตลาดหุ้นไทยในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงระหว่าง 5-30 เท่า ตัวเลขปัจจุบันที่ 15.9 ก็ถือว่าเป็นค่าระดับกลางๆ
หันมาดูในแง่ของ PBV กันบ้าง ตอนนี้ค่าเฉลี่ยของ 39 ตลาดอยู่ที่ 2.0 ตลาดพัฒนาแล้วอยู่ที่ 2.1 และ ตลาดเกิดใหม่อยู่ที่ 1.7 ซึ่งค่า PBV ของไทยก็อยู่ที่ 2.0 ซึ่งพอดีกับค่าเฉลี่ยของตลาดทั้งหมด หากลองพิจารณาในแง่ของ PBV และ ROE ประกอบกัน โดยเทียบของตลาดไทย ซึ่งมี PBV อยู่ที่ 2 และ ROE เฉลี่ยอยู่ที่ราวๆ 12% กับ S&P500 ของอเมริกาซึ่งมีค่าเฉลี่ย PBV อยู่ที่ 3.0 และ ROE เฉลี่ยที่ 13% ก็ดูเหมือนว่าตลาดหุ้นไทยยังดูน่าดึงดูดกว่า
ในส่วนของอัตราเงินปันผล ค่าเฉลี่ยของตลาดชั้นนำของโลกอยู่ที่ 2.5% ตลาดพัฒนาแล้วอยู่ที่ 2.4% ตลาดเกิดใหม่อยู่ที่ 2.9% และของไทยอยู่ที่ 3.1% ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียนอย่าง อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ ซึ่งตลาดให้ปันผลเฉลี่ยเพียงแค่ 1.9% และ 1.6% ก็ดูเหมือนว่าอัตราเงินปันผลของไทยดูจูงใจกว่า ยิ่งเมื่อเทียบกับดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนในประเทศของไทยที่ราว 1.7% จะพบว่าอัตราเงินปันผล เฉลี่ยจากตลาดหุ้นยังสูงกว่าราว 80% ดังนั้นดูเหมือนว่า การลงทุนในหุ้นไทยก็ยังคงมีเหตุผลสนับสนุน พอสมควร
แต่กระนั้นก็ตาม การศึกษาความถูกแพงของตลาดแบบนี้ก็มีจุดอ่อน เพราะว่าเป็นการใช้ค่าสถิติของข้อมูลที่ผ่านมาแล้วเป็นหลัก และการใช้ PE ตลาดในการดูความถูกแพง ควรมีความเข้าใจในรายละเอียดประกอบ เช่น ในช่วงหลัง Subprime Crisis PE เฉลี่ยของ S&P500 ขึ้นไปสูงถึง 120 เท่า ทั้งนี้เพราะผลประกอบ การของกลุ่มธนาคารและประกันย่ำแย่มากผิกปกติ แต่กลับกลายว่าเป็นช่วงที่น่าลงทุนมากที่สุด เพราะปัจจัยความไม่แน่นอนหลายอย่างได้คลี่คลายไปแล้ว แต่ในทางกลับกัน ในช่วงปี 2000 PE ของ S&P500 อยู่ที่ 29.04 แต่เป็นช่วงที่ไม่น่าลงทุน เพราะกำไรบริษัทจดทะเบียนเริ่มอิ่มตัวแล้ว และกลับเป็นขาลงในอีกไม่กี่ เดือนต่อมา
สำหรับตลาดหุ้นไทย หากพิจารณาโดยรวมจากข้อมูลทั้งหมดข้างต้นจะเห็นว่า ตลาดหุ้นไทยมีความถูกแพงอยู่ในระดับกลางๆ ในแง่ของ PE และ PBV แต่ยังมีแรงจูงใจอยู่บ้างจากอัตราผลตอบแทนเงินปันผล สิ่งสำคัญที่นักลงทุนแต่ละท่านคงต้องทำการประเมินเพิ่มเติมต่อจากนี้ก็คือ ท่านคิดว่าผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนของไทยกำลังอยู่ในขาขึ้นหรือขาลง? ในช่วงที่ผ่านมามีหลายประเด็นที่ส่งผลลบต่อเศรษฐกิจไทย ไม่ว่าจะเรื่องการลงทุนเอกชนที่ชะลอตัว หนี้ครัวเรือนที่ค่อนข้างสูง และ การสูญเสียความสามารถการแข่งขันในการส่งออก ผมคิดว่าคำถามสำคัญคือ สิ่งต่างๆเหล่านั้นที่เป็นปัจจัยลบ ท่านคิดว่ามันถึงจุดแย่ที่สุดแล้วหรือยัง? เพราะถ้าที่แย่ที่สุดน่าจะผ่านไปแล้ว ดัวยมูลค่าตลาดในเวลานี้อาจจะเป็นช่วงเหมาะสมน่าลงทุน เหมือน S&P500 ที่ PE 120 ตอนต้นปี 2009 ก็เป็นได้ แต่การประเมินนี้เป็นเรื่องที่นักลงทุุนควรศีกษาข้อมูลให้มากก่อนตัดสินใจ เพราะท้องฟ้าตอนตีห้าก่อนรุ่งสาง กับท้องฟ้าตอนหัวค่ำราวหนึ่งทุ่มนั้นอาจจะมีระดับของแสงคล้ายๆกัน ถ้านักลงทุนเกิดพลาด คิดว่าหนึ่งทุ่มเป็นตีห้า อาจจะต้องเฝ้ารออีกนานหลายชั่วโมงกว่าจะเห็น พระอาทิตย์กันอีกครั้ง
อดทนไว้ กำไรยั่งยืน
-
- Verified User
- โพสต์: 15
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นไทยแพงไปแล้วหรือยัง? / คนขายของ
โพสต์ที่ 6
ประโยคสุดขอยืมไปใช้หน่อยนะครับ