ถึงคุณ HIผมเอง เกี่ยวกับกราฟครับ
- harry
- Verified User
- โพสต์: 4200
- ผู้ติดตาม: 0
ถึงคุณ HIผมเอง เกี่ยวกับกราฟครับ
โพสต์ที่ 1
เกี่ยวกับกราฟที่เอามาโพสต์อ่ะครับ อยากให้เอาวิธีอ่านมาลงด้วยครับ เพราะว่าผมกับหลายๆคน คงไม่เข้าใจว่าจะดูยังงัยถึงจะรู้ว่ามันขึ้น หรือลง จะได้เข้าถูกจังหวะ ขอบคุณมากครับ จะอธิบายเอง หรือหาคำอธิบายมาลงก็ได้ครับ
Expecto Patronum!!!!!!
- HI.ผมเอง
- Verified User
- โพสต์: 811
- ผู้ติดตาม: 0
ถึงคุณ HIผมเอง เกี่ยวกับกราฟครับ
โพสต์ที่ 2
ส่วนใหญ่แล้วเหมือนกับที่คุณ BA_2Lเขียนไว้ครับ
รายละเอียดการดูหาก harry อยากรู้แนะนำให้ดูที่นี่ครับ
ยกตัวอย่างเช่น

บนช่องซ้ายบน คือค่า macd และ stochast ทางช่องซ้ายล่าง
วิธีดูแบบเคร่าๆก็คือ หากเส้นทึบตัดเส้นประเป็นสัญาณซื้อ
หากเส้นทั้งคู่อยู่ในอยู่ที่ระดับต่ำคือเข้าข่ายมีการขายมากเกินไป แสดงว่าโอกาสที่จะขึ้นมีสูงกว่าต่ำลง(แค่โอกาสนะ และก็มีโอกาสต่ำลงได้อีกไม่ใช่ว่าไม่มี)
ความจริงแล้วมีรายละเอียดอีกมากมาย
แนะนำให้ลองอ่านที่http://www.taladhoon.com/
ในหมวด libraly ที่ หมวด การวิเคราะห์หลักทรัพย์ทางเทคนิค
ในหัวข้อ macd และ stochast และ rsi ก่อนดีกว่า เพราะอธิบายได้ครบถ้วน
หาก น้อง harry อยากทราบรายละเอียดลึกๆ หลังจากที่อ่านแล้วอาจไม่ค่อยเข้าใจมาก ลองเข้าอบรมดูน่าจะได้ประโยชน์มากขึ้น และมีหลายที่ที่สอนครับ เช่น คุณ ป.ดัชนี อาจารย์วันชัย แห่ง กิมเอ็ง ที่ set50.com ของอ.สนธิ คุณเอก พิทยา หรือ คุณฉุย เป็นต้น
แต่ยังไงๆ ผมก็ยังยืนยันว่าการวิเคราะห์ทางปัจจัยพ์นฐานที่น้อง harry ศึกษามานั้นช่วยสร้างความปลอดภัยทางการลงทุนมากกว่า เพียงแต่หากรู้เพียงด้านเดียวนั้นผมคิดว่ามันไม่พอครับ
เดี๋ยวจะลอง post วิธีดูให้ต่อนะครับ
โดยปรกติแล้วผมเองก็ไม่ได้ใช้ข้อมูลที่เห็นมาวิเคราะห์ เพราะผมเองใช้โปรแกรมmetastock และใช้เครื่องมือตัวพืนฐานที่ไม่ซับซ้อน เช่น rsi มาดูเรื่อง divergence เป็นหลักกราฟที่เห็นกันในบอร์ดนี้เป็นแค่เบื้องต้นมากๆครับไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นหรอกครับ ไม่ว่าจะเป็น RSI,MACD,Moving average ถ้าจะให้เทียบกับVI ก็เปรียบเสมือนค่า PE Ratio หรือ การรู้ค่า PBV ของกิจการเท่านั้นเองครับ ถ้าอยากที่จะใช้ Technical Analysis ในการตัดสินใจนั้น ผมว่าน่าที่จะไปเรียนกับผู้ร้ เช่น
คุณ ป.ดัชนี ที่เปิดอบรมอยู่เป็นประจำน่าจะดีกว่าครับ เพราะการเลือกใช้ Indicatorให้เหมาะสมกับหุ้นที่เราจะวิเคราะห์นั้นไม่ใช่เรื่องหมูๆครับ
รายละเอียดการดูหาก harry อยากรู้แนะนำให้ดูที่นี่ครับ
ยกตัวอย่างเช่น

บนช่องซ้ายบน คือค่า macd และ stochast ทางช่องซ้ายล่าง
วิธีดูแบบเคร่าๆก็คือ หากเส้นทึบตัดเส้นประเป็นสัญาณซื้อ
หากเส้นทั้งคู่อยู่ในอยู่ที่ระดับต่ำคือเข้าข่ายมีการขายมากเกินไป แสดงว่าโอกาสที่จะขึ้นมีสูงกว่าต่ำลง(แค่โอกาสนะ และก็มีโอกาสต่ำลงได้อีกไม่ใช่ว่าไม่มี)
ความจริงแล้วมีรายละเอียดอีกมากมาย
แนะนำให้ลองอ่านที่http://www.taladhoon.com/
ในหมวด libraly ที่ หมวด การวิเคราะห์หลักทรัพย์ทางเทคนิค
ในหัวข้อ macd และ stochast และ rsi ก่อนดีกว่า เพราะอธิบายได้ครบถ้วน
หาก น้อง harry อยากทราบรายละเอียดลึกๆ หลังจากที่อ่านแล้วอาจไม่ค่อยเข้าใจมาก ลองเข้าอบรมดูน่าจะได้ประโยชน์มากขึ้น และมีหลายที่ที่สอนครับ เช่น คุณ ป.ดัชนี อาจารย์วันชัย แห่ง กิมเอ็ง ที่ set50.com ของอ.สนธิ คุณเอก พิทยา หรือ คุณฉุย เป็นต้น
แต่ยังไงๆ ผมก็ยังยืนยันว่าการวิเคราะห์ทางปัจจัยพ์นฐานที่น้อง harry ศึกษามานั้นช่วยสร้างความปลอดภัยทางการลงทุนมากกว่า เพียงแต่หากรู้เพียงด้านเดียวนั้นผมคิดว่ามันไม่พอครับ
เดี๋ยวจะลอง post วิธีดูให้ต่อนะครับ
- HI.ผมเอง
- Verified User
- โพสต์: 811
- ผู้ติดตาม: 0
ถึงคุณ HIผมเอง เกี่ยวกับกราฟครับ
โพสต์ที่ 3
เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ MOVING AVERAGE (MA)
เป็นเครื่องมือทางเทคนิคที่ใช้กันแพร่หลายวิธีหนึ่ง เนื่องจากใช้ได้ง่ายและสามารถนำไปใช้ประกอบกับเครื่องมือทางเทคนิคต่าง ๆ ได้อีกด้วย นอกจากนั้น เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MOVING AVERAGE) ยังสามารถให้สัญญาณที่ไม่คลุมเครือซึ่งต่างจากเครื่องมือทางเทคนิคอื่น ๆ เช่น การวิเคราะห์รูปแบบของราคา (PRICE PATTERN) ที่มีความไม่แน่นอนสูง
หลักการคำนวณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบพื้นฐาน ทำได้โดยนำราคาของวันปัจจุบันและวันก่อนหน้านี้มารวมกัน แล้วหารด้วยจำนวนวันที่ต้องการเฉลี่ยทั้งหมด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเส้นค่าเฉลี่ยนั้นว่า จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์แนวโน้มในระยะสั้น กลาง หรือระยะยาว และสำหรับวันถัดไปสามารถหาค่าเฉลี่ยได้ โดยตัดข้อมูลวันแรกสุดออกไป และเอาราคาของวันล่าสุดเข้ามาแทนที่ จากนั้นก็นำมาคำนวณโดยวิธีเดียวกัน เช่น ถ้าต้องการหาค่าเฉลี่ยระยะสั้น 10 วัน ราคาสำหรับ 10 วันสุดท้ายจะถูกนำมารวมกันแล้วหารผลทั้งหมดด้วย 10 เนื่องจากข้อมูลทั้งหมด (ในที่นี้คือ 10 วัน แล้วหารผลทั้งหมดด้วย 10 เนื่องจากข้อมูลทั้งหมด (ในที่นี้คือ 10 วันสุดท้าย) จะถูกเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MOVE) ไปข้างหน้า จึงเรียกว่า ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
สำหรับการหาค่าเฉลี่ยในวันถัดไป ทำได้โดยนำราคาของวันใหม่ (วันที่ 11) เข้ามาและตัดวันที่ย้อนหลังไป 11 วัน (คือวันแรกสุดที่ใช้คำนวณ) ก็จะได้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 10 วันสำหรับวันถัดมาซึ่งการหาค่าเฉลี่ย ส่วนใหญ่จะใช้ราคาปิดมาคำนวณ แต่บางครั้งมีการใช้ราคาสูงสุด หรือต่ำสุด หรือราคากลาง หรือราคาเฉลี่ย มาคำนวณหาเส้นค่าเฉลี่ยเช่นกัน เนื่องจากมีนักวิเคราะห์บางคนให้ความเห็นว่าการใช้ราคาสูง และราคาต่ำ จะสะท้อนให้เห็นถึงราคาที่แท้จริงที่ทำการซื้อขายในแต่ละวัน ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่จะช่วยบอกนักลงทุนที่ซื้อหุ้นในช่วงเวลานั้น ๆ ว่ามีต้นทุน เฉลี่ยอยู่ที่ระดับราคาประมาณเท่าไร และเรายังสามารถนำเส้นค่าเฉลี่ยฯ มาช่วยในการตัดสินใจลงทุนซื้อหุ้นแต่ละตัว โดยการหาสัญญาณซื้อ และขายหรือพยากรณ์แนวโน้มของตลาดหรือราคาหุ้น และนี่คือเหตุผลสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ สามารถนำมาใช้วิเคราะห์การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในระยะสั้น และระยะกลาง
เป็นเครื่องมือทางเทคนิคที่ใช้กันแพร่หลายวิธีหนึ่ง เนื่องจากใช้ได้ง่ายและสามารถนำไปใช้ประกอบกับเครื่องมือทางเทคนิคต่าง ๆ ได้อีกด้วย นอกจากนั้น เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MOVING AVERAGE) ยังสามารถให้สัญญาณที่ไม่คลุมเครือซึ่งต่างจากเครื่องมือทางเทคนิคอื่น ๆ เช่น การวิเคราะห์รูปแบบของราคา (PRICE PATTERN) ที่มีความไม่แน่นอนสูง
หลักการคำนวณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบพื้นฐาน ทำได้โดยนำราคาของวันปัจจุบันและวันก่อนหน้านี้มารวมกัน แล้วหารด้วยจำนวนวันที่ต้องการเฉลี่ยทั้งหมด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเส้นค่าเฉลี่ยนั้นว่า จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์แนวโน้มในระยะสั้น กลาง หรือระยะยาว และสำหรับวันถัดไปสามารถหาค่าเฉลี่ยได้ โดยตัดข้อมูลวันแรกสุดออกไป และเอาราคาของวันล่าสุดเข้ามาแทนที่ จากนั้นก็นำมาคำนวณโดยวิธีเดียวกัน เช่น ถ้าต้องการหาค่าเฉลี่ยระยะสั้น 10 วัน ราคาสำหรับ 10 วันสุดท้ายจะถูกนำมารวมกันแล้วหารผลทั้งหมดด้วย 10 เนื่องจากข้อมูลทั้งหมด (ในที่นี้คือ 10 วัน แล้วหารผลทั้งหมดด้วย 10 เนื่องจากข้อมูลทั้งหมด (ในที่นี้คือ 10 วันสุดท้าย) จะถูกเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MOVE) ไปข้างหน้า จึงเรียกว่า ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
สำหรับการหาค่าเฉลี่ยในวันถัดไป ทำได้โดยนำราคาของวันใหม่ (วันที่ 11) เข้ามาและตัดวันที่ย้อนหลังไป 11 วัน (คือวันแรกสุดที่ใช้คำนวณ) ก็จะได้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 10 วันสำหรับวันถัดมาซึ่งการหาค่าเฉลี่ย ส่วนใหญ่จะใช้ราคาปิดมาคำนวณ แต่บางครั้งมีการใช้ราคาสูงสุด หรือต่ำสุด หรือราคากลาง หรือราคาเฉลี่ย มาคำนวณหาเส้นค่าเฉลี่ยเช่นกัน เนื่องจากมีนักวิเคราะห์บางคนให้ความเห็นว่าการใช้ราคาสูง และราคาต่ำ จะสะท้อนให้เห็นถึงราคาที่แท้จริงที่ทำการซื้อขายในแต่ละวัน ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่จะช่วยบอกนักลงทุนที่ซื้อหุ้นในช่วงเวลานั้น ๆ ว่ามีต้นทุน เฉลี่ยอยู่ที่ระดับราคาประมาณเท่าไร และเรายังสามารถนำเส้นค่าเฉลี่ยฯ มาช่วยในการตัดสินใจลงทุนซื้อหุ้นแต่ละตัว โดยการหาสัญญาณซื้อ และขายหรือพยากรณ์แนวโน้มของตลาดหรือราคาหุ้น และนี่คือเหตุผลสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ สามารถนำมาใช้วิเคราะห์การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในระยะสั้น และระยะกลาง
- HI.ผมเอง
- Verified User
- โพสต์: 811
- ผู้ติดตาม: 0
ถึงคุณ HIผมเอง เกี่ยวกับกราฟครับ
โพสต์ที่ 4
การหาสัญญาณซื้อ-ขายโดยใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
จากการที่เส้นราคาหุ้นย่อมนำหน้าเส้นราคาเฉลี่ย ดังนั้นความสัมพันธ์ของเส้น 2 เส้น จึงมีความสำคัญในการบอกถึงการเปลี่ยนทิศทางของราคาหุ้น และจะนำมาช่วยในการบอกถึงสัญญาณซื้อและขายได้ โดยเส้นค่าเฉลี่ยฯ ทั้ง 5 แบบจะมีหลักในการหาสัญญาณซื้อหรือขายคล้าย ๆ กัน ซึ่งสามารถบอกความสัมพันธ์ได้ดังนี้
1. เมื่อราคาเคลื่อนขึ้น และทะลุผ่านเส้นค่าเฉลี่ยฯ ที่เคลื่อนขึ้นตาม จะถือเป็นสัญญาณซื้อ
2. เมื่อเส้นราคาหุ้นทะลุขึ้น ผ่านเส้นค่าเฉลี่ยฯ ที่เปลี่ยนจากเคลื่อนที่ลงเป็นขึ้น และสามารถยืนอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยฯ ได้นานพอสมควร ให้ถือเป็นสัญญาณซื้อ
3. เมื่อราคาเคลื่อนลงและทะลุผ่านเส้นค่าเฉลี่ยฯ ที่เคลื่อนลงตาม จะถือเป็นสัญญาณขาย
4. เมื่อเส้นราคาหุ้นทะลุลง ผ่านเส้นค่าเฉลี่ยฯ ที่เปลี่ยนจากเคลื่อนที่ขึ้นเป็นลง และอยู่ใต้เส้นค่าเฉลี่ยฯ นานพอสมควร ให้ถือเป็นสัญญาณขาย
จากการที่เส้นราคาหุ้นย่อมนำหน้าเส้นราคาเฉลี่ย ดังนั้นความสัมพันธ์ของเส้น 2 เส้น จึงมีความสำคัญในการบอกถึงการเปลี่ยนทิศทางของราคาหุ้น และจะนำมาช่วยในการบอกถึงสัญญาณซื้อและขายได้ โดยเส้นค่าเฉลี่ยฯ ทั้ง 5 แบบจะมีหลักในการหาสัญญาณซื้อหรือขายคล้าย ๆ กัน ซึ่งสามารถบอกความสัมพันธ์ได้ดังนี้
1. เมื่อราคาเคลื่อนขึ้น และทะลุผ่านเส้นค่าเฉลี่ยฯ ที่เคลื่อนขึ้นตาม จะถือเป็นสัญญาณซื้อ
2. เมื่อเส้นราคาหุ้นทะลุขึ้น ผ่านเส้นค่าเฉลี่ยฯ ที่เปลี่ยนจากเคลื่อนที่ลงเป็นขึ้น และสามารถยืนอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยฯ ได้นานพอสมควร ให้ถือเป็นสัญญาณซื้อ
3. เมื่อราคาเคลื่อนลงและทะลุผ่านเส้นค่าเฉลี่ยฯ ที่เคลื่อนลงตาม จะถือเป็นสัญญาณขาย
4. เมื่อเส้นราคาหุ้นทะลุลง ผ่านเส้นค่าเฉลี่ยฯ ที่เปลี่ยนจากเคลื่อนที่ขึ้นเป็นลง และอยู่ใต้เส้นค่าเฉลี่ยฯ นานพอสมควร ให้ถือเป็นสัญญาณขาย
- HI.ผมเอง
- Verified User
- โพสต์: 811
- ผู้ติดตาม: 0
ถึงคุณ HIผมเอง เกี่ยวกับกราฟครับ
โพสต์ที่ 5
สโตแคสติกส์ STOCHASTICS
STOCHASTICS คือ ดัชนีวัดการแกว่งตัวของราคาที่ศึกษาความสัมพันธ์ การเคลื่อนไหวของราคาในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ กับราคาปิด โดยมาจากข้อสังเกตที่ว่า ถ้าการสูงขึ้นของราคาหุ้นนั้นมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อไป ราคาปิดของหุ้นนั้นจะอยู่ใกล้กับราคาสูงสุด แต่ถ้าราคาของหุ้นมีแนวโน้มลดต่ำลง ราคาปิดจะอยู่ในระดับเดียวกับราคาต่ำสุดของวัน
ถ้าราคาหุ้นกำลังจะเปลี่ยนทิศทางจาก ขึ้น เป็น ลง เรามักจะพบว่าราคาในระหว่างชั่วโมงการซื้อขายอาจจะสูงขึ้น แต่ราคาปิดจะอยู่ใกล้เคียงกับราคาต่ำสุดของวัน แต่หากราคาหุ้นกำลังจะเปลี่ยนทิศทางจาก ลง เป็น ขึ้น ราคาปิดจะมีราคาใกล้เคียงกับราคาสูงสุดของวัน แม้ว่าในระหว่างชั่วโมงซื้อขายราคาอาจจะลดต่ำลง
ความสัมพันธ์ระหว่างราคาสูงสุด-ต่ำสุดกับราคาปิด ได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นสูตรสมการในการดูแนวโน้มขึ้น หรือลงของราคาหุ้นในช่วงสั้น ๆ โดยนำมาใช้ดูว่า ราคาปิดอยู่ที่ระดับกี่เปอร์เซ็นต์ของช่วงราคาที่ซื้อขายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
STOCHASTICS คือ ดัชนีวัดการแกว่งตัวของราคาที่ศึกษาความสัมพันธ์ การเคลื่อนไหวของราคาในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ กับราคาปิด โดยมาจากข้อสังเกตที่ว่า ถ้าการสูงขึ้นของราคาหุ้นนั้นมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อไป ราคาปิดของหุ้นนั้นจะอยู่ใกล้กับราคาสูงสุด แต่ถ้าราคาของหุ้นมีแนวโน้มลดต่ำลง ราคาปิดจะอยู่ในระดับเดียวกับราคาต่ำสุดของวัน
ถ้าราคาหุ้นกำลังจะเปลี่ยนทิศทางจาก ขึ้น เป็น ลง เรามักจะพบว่าราคาในระหว่างชั่วโมงการซื้อขายอาจจะสูงขึ้น แต่ราคาปิดจะอยู่ใกล้เคียงกับราคาต่ำสุดของวัน แต่หากราคาหุ้นกำลังจะเปลี่ยนทิศทางจาก ลง เป็น ขึ้น ราคาปิดจะมีราคาใกล้เคียงกับราคาสูงสุดของวัน แม้ว่าในระหว่างชั่วโมงซื้อขายราคาอาจจะลดต่ำลง
ความสัมพันธ์ระหว่างราคาสูงสุด-ต่ำสุดกับราคาปิด ได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นสูตรสมการในการดูแนวโน้มขึ้น หรือลงของราคาหุ้นในช่วงสั้น ๆ โดยนำมาใช้ดูว่า ราคาปิดอยู่ที่ระดับกี่เปอร์เซ็นต์ของช่วงราคาที่ซื้อขายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
- HI.ผมเอง
- Verified User
- โพสต์: 811
- ผู้ติดตาม: 0
ถึงคุณ HIผมเอง เกี่ยวกับกราฟครับ
โพสต์ที่ 6
หลักการอ่าน STOCHASTICS
สัญญาณเตือน ซื้อ เกิดขึ้นเมื่อเส้น STOCHASTICS เข้าเขต OVERSOLD ที่บริเวณระดับต่ำกว่า 20% และควรซื้อเมื่อเกิดสัญญาณ ซื้อ จากการที่เส้น %K ตัดเส้น %D ขึ้น
สัญญาณเตือน ขาย เกิดขึ้นเมื่อเส้น STOCHASTICS เข้าเขต OVERBOUGHT ที่บริเวณระดับสูงกว่า 80% และควรขายเมื่อเกิดสัญญาณ ขาย จากการที่เส้น %K ตัดเส้น %D ลง
สัญญาณเตือน ซื้อ เกิดขึ้นเมื่อเส้น STOCHASTICS เข้าเขต OVERSOLD ที่บริเวณระดับต่ำกว่า 20% และควรซื้อเมื่อเกิดสัญญาณ ซื้อ จากการที่เส้น %K ตัดเส้น %D ขึ้น
สัญญาณเตือน ขาย เกิดขึ้นเมื่อเส้น STOCHASTICS เข้าเขต OVERBOUGHT ที่บริเวณระดับสูงกว่า 80% และควรขายเมื่อเกิดสัญญาณ ขาย จากการที่เส้น %K ตัดเส้น %D ลง
- HI.ผมเอง
- Verified User
- โพสต์: 811
- ผู้ติดตาม: 0
ถึงคุณ HIผมเอง เกี่ยวกับกราฟครับ
โพสต์ที่ 7
เครื่องมือดัชนีกำลังสัมพัทธ์
RSI : RELATIVE STRENGTH INDEX
RSI เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้วัดการแกว่งตัวของราคาหุ้น สำหรับการลงทุนในช่วงหนึ่ง เพื่อดูภาวะการซื้อมากเกินไป (OVERBOUGHT) หรือขายมากเกินไป (OVERSOLD) โดยใช้ระดับเหนือ 70% บอกภาวะ OVERBOUGHT และระดับต่ำกว่า 30% บอกภาวะ OVERSOLD และยังใช้เป็นสัญญาณเตือนว่า แนวโน้มของราคาหุ้นที่กำลังมีทิศทางขึ้นหรือลงนั้น กำลังใกล้จะอ่อนตัวลงหรือยัง โดยมีสัญญาณเตือนที่แสดงออกมาในรูปแบบของการแยกทางออก (DIVERGENCE) ระหว่างราคาหุ้นกับ 14 RSI
ดัชนีกำลังสัมพัทธ์ (RSI) คือ การคำนวณหาพละกำลัง ที่ซ่อนตัวอยู่ของตลาดหรือของหุ้นใดหุ้นหนึ่ง (INTERNAL STRENGTH) โดยดูจากอัตราส่วนที่ แกว่ง ไปมาอยู่ระหว่างการขึ้นลงโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ และภายใน เวลา ที่กำหนด ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ระยะเวลา 14 วัน เราจึงเรียกว่า 14 RSI
RSI : RELATIVE STRENGTH INDEX
RSI เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้วัดการแกว่งตัวของราคาหุ้น สำหรับการลงทุนในช่วงหนึ่ง เพื่อดูภาวะการซื้อมากเกินไป (OVERBOUGHT) หรือขายมากเกินไป (OVERSOLD) โดยใช้ระดับเหนือ 70% บอกภาวะ OVERBOUGHT และระดับต่ำกว่า 30% บอกภาวะ OVERSOLD และยังใช้เป็นสัญญาณเตือนว่า แนวโน้มของราคาหุ้นที่กำลังมีทิศทางขึ้นหรือลงนั้น กำลังใกล้จะอ่อนตัวลงหรือยัง โดยมีสัญญาณเตือนที่แสดงออกมาในรูปแบบของการแยกทางออก (DIVERGENCE) ระหว่างราคาหุ้นกับ 14 RSI
ดัชนีกำลังสัมพัทธ์ (RSI) คือ การคำนวณหาพละกำลัง ที่ซ่อนตัวอยู่ของตลาดหรือของหุ้นใดหุ้นหนึ่ง (INTERNAL STRENGTH) โดยดูจากอัตราส่วนที่ แกว่ง ไปมาอยู่ระหว่างการขึ้นลงโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ และภายใน เวลา ที่กำหนด ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ระยะเวลา 14 วัน เราจึงเรียกว่า 14 RSI
- HI.ผมเอง
- Verified User
- โพสต์: 811
- ผู้ติดตาม: 0
ถึงคุณ HIผมเอง เกี่ยวกับกราฟครับ
โพสต์ที่ 8
ระดับซื้อมากเกินไปและขายมากเกินไป (OVERBOUGHT & OVERSOLD)
ระดับ การซื้อมากเกินไป ของ 14 RSI อยู่ที่บริเวณระดับสูงเกิน 70% ส่วนระดับที่มีการขายมากเกินไปอยู่ต่ำกว่าบริเวณ 30% และมีกฎว่าถ้าเส้น 14 RSI ลดต่ำลงมามากเท่าใดจะทำให้เกิดภาวะ OVERSOLD ซึ่งโอกาสที่ราคาหุ้นจะตีกลับขึ้นไปในลักษณะการ ปรับตัวทางเทคนิค มีอยู่สูง ในทางกลับกัน ถ้าเส้น 14 RSI วิ่งสูงขึ้นจนเข้าไปในเขต OVERBOUGHT แล้ว โอกาสที่ราคาหุ้นจะมีการปรับตัวลงก็มีเช่นเดียวกัน
ระดับ การซื้อมากเกินไป ของ 14 RSI อยู่ที่บริเวณระดับสูงเกิน 70% ส่วนระดับที่มีการขายมากเกินไปอยู่ต่ำกว่าบริเวณ 30% และมีกฎว่าถ้าเส้น 14 RSI ลดต่ำลงมามากเท่าใดจะทำให้เกิดภาวะ OVERSOLD ซึ่งโอกาสที่ราคาหุ้นจะตีกลับขึ้นไปในลักษณะการ ปรับตัวทางเทคนิค มีอยู่สูง ในทางกลับกัน ถ้าเส้น 14 RSI วิ่งสูงขึ้นจนเข้าไปในเขต OVERBOUGHT แล้ว โอกาสที่ราคาหุ้นจะมีการปรับตัวลงก็มีเช่นเดียวกัน
- HI.ผมเอง
- Verified User
- โพสต์: 811
- ผู้ติดตาม: 0
ถึงคุณ HIผมเอง เกี่ยวกับกราฟครับ
โพสต์ที่ 9
อ่านแล้ว ไม่รู้ว่าจะเข้าใจมากหรือน้อยนะ
ส่วนช่องซ้ายล่างของภาพคือ กร๊าฟบอกราคา โดยแสดงเป็นกร๊าฟชนิดแท่งเทียน
คือบอกราคาปิด เปิด ต่ำสุดของวัน และสูงสุดของวัน รายละเอียดลองอ่านที่เวปที่บอกไปนะครับ ในหัวข้อ
เทคนิคการวิเคราะห์แบบแท่งเทียนญี่ปุ่น JAPANESE CANDLESTICK CHARTING TECHNIQUES
ที่ผม post รูปภาพมานั้นเราะอยากให้ในร้อยคนร้อยหุ้นนั้นมีข้อมูลเรื่องราคามาประกอบนอกจากข้อมูลพืนฐานแล้ว โดยเห็นประโยชน์จากที่คุณคัดท้ายนำมาลงในกระทู้ก่อนหน้า และเห็นว่าราคานั้น up-date ตัวเองทุกวัน
โดยอยากให้ได้ข้อมูลส่วนนี้เป็นหลัก ส่วน เครื่องมือชี้วัดทางดัชนีตัวอื่นๆบังเอิญต้องติดเข้ามาด้วยครับ ไม่ได้มีเจตนาจะให้ใช้เครื่องมิเหล่านั้น
หากดูเครื่องมือชี้วัดทางดัชนีแล้วยังไม่ค่อยเข้าใจอย่าไปใช้ในการตัดสินใจเลยครับ อันตรายเปล่าๆ
ตอบเท่าที่รู้แค่งูๆปลาๆ ครับ
ไม่รู้ว่า การตอบครั้งนี้จะ ผิดที่ ผิดเวลา อีกหรือเปล่า......
ส่วนช่องซ้ายล่างของภาพคือ กร๊าฟบอกราคา โดยแสดงเป็นกร๊าฟชนิดแท่งเทียน
คือบอกราคาปิด เปิด ต่ำสุดของวัน และสูงสุดของวัน รายละเอียดลองอ่านที่เวปที่บอกไปนะครับ ในหัวข้อ
เทคนิคการวิเคราะห์แบบแท่งเทียนญี่ปุ่น JAPANESE CANDLESTICK CHARTING TECHNIQUES
ที่ผม post รูปภาพมานั้นเราะอยากให้ในร้อยคนร้อยหุ้นนั้นมีข้อมูลเรื่องราคามาประกอบนอกจากข้อมูลพืนฐานแล้ว โดยเห็นประโยชน์จากที่คุณคัดท้ายนำมาลงในกระทู้ก่อนหน้า และเห็นว่าราคานั้น up-date ตัวเองทุกวัน
โดยอยากให้ได้ข้อมูลส่วนนี้เป็นหลัก ส่วน เครื่องมือชี้วัดทางดัชนีตัวอื่นๆบังเอิญต้องติดเข้ามาด้วยครับ ไม่ได้มีเจตนาจะให้ใช้เครื่องมิเหล่านั้น
หากดูเครื่องมือชี้วัดทางดัชนีแล้วยังไม่ค่อยเข้าใจอย่าไปใช้ในการตัดสินใจเลยครับ อันตรายเปล่าๆ
ตอบเท่าที่รู้แค่งูๆปลาๆ ครับ
ไม่รู้ว่า การตอบครั้งนี้จะ ผิดที่ ผิดเวลา อีกหรือเปล่า......