Digital Banking Trends ใครจะได้ประโยชน์

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
The Kop 71
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 271
ผู้ติดตาม: 0

Digital Banking Trends ใครจะได้ประโยชน์

โพสต์ที่ 1

โพสต์

Digital Banking เติบโตสูงในเอเชีย

9 มีนาคม 2558

ดิจิตอล แบงกิ้ง มีความสำคัญต่อเนื่องในเอเชีย โดยผู้บริโภค 700 ล้านคนใช้แพล็ตฟอร์มนี้เป็นประจำ จากการเพิ่มขึ้นของการใช้อินเตอร์เน็ตและสมาร์ทโฟน

ฟิลิปปินส์ เดลี่ อินไควเรอร์ รายงานว่า บริษัทที่ปรึกษา แมคคินซีย์แอนด์โค ได้จัดทำรายงาน “ดิจิตอล แบงกิ้ง สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการคืออะไร” โดยได้ชี้ให้เห็นว่าสำหรับตลาดอาเซียนที่พัฒนาแล้ว อินเตอร์เน็ต แบงกิ้งนั้นเกือบจะพบเห็นได้ทั่วไปและสมาร์ทโฟน แบงกิ้งก็ได้เติบโตมากกว่า 3 เท่าตั้งแต่ปี 2554 สำหรับในตลาดเอเชียที่เพิ่งเกิด เช่น ฟิลิปปินส์ แนวโน้มนี้ก็มีพลวัตที่คล้ายกัน โดยประมาณ 1 ใน 4 ของผู้บริโภคใช้คอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนสำหรับการทำธุรกรรมธนาคาร

Sonia Barquin และ Vinayak HV. ที่ร่วมกันทำรายงานฉบับนี้ กล่าวว่า การเติบโตของดิจิตอล แบงกิ้ง ในเอเชียได้ถูกคาดหมายมาหลายปี แต่หลายปัจจัยได้ผสมรวมกันเมื่อเร็วๆนี้เพื่อเร่งเทรนด์ดังกล่าว โดยหนึ่งในความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุด ก็คือ ระบบนิเวศที่แข็งแรงขึ้นในการทำให้เกิดดิจิตอล แบงกิ้ง ซึ่งรวมถึงการใช้อินเตอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว, การเพิ่มขึ้นของการใช้สมาร์ทโฟน และการเติบโตของอีคอมเมิร์ช ส่งผลให้ดีมานด์ของดิจิตอล แบงกิ้งได้เคลื่อนจากคนที่เปิดรับเทคโนโลยีเร็ว (early adopter) ไปสู่กลุ่มผู้บริโภคที่หลากหลาย

สำหรับรายงานฉบับนี้ แมคคินซีย์ ได้ทำการสำรวจตั้งแต่เดือนกรกฏาคมถึงกันยายนปี 2557 โดยสอบถามความคิดเห็นผู้บริโภคที่ใช้บริการด้านการเงินจำนวน 16,000 คนใน 13 ตลาดในเอเชีย อาทิ ออสเตรเลีย, ฮ่องกง, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, สิงคโปร์, จีน, ไทย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม เป็นต้น โดยพบว่า ฟิลิปปินส์มีอัตราการเข้าถึงดิจิตอล แบงกิ้งต่ำที่สุดเพียง 13% ในปี 2557 ตรงข้ามกับประเทศเกาหลีใต้และออสเตรเลียที่มีอัตราการเข้าถึงดิจิตอล แบงกิ้งสูงที่สุดที่ 96% ตามด้วยสิงคโปร์ 94%, ฮ่องกง 93% และไต้หวัน 83%


ที่มา : Philippine Daily Inquirer

Report Uncovers 2015 Global Digital Banking Trends

http://thefinancialbrand.com/50258/2015 ... ok-trends/

เหตุผลที่ mobile payments กำลังจะมาแรงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

http://www.marketingoops.com/exclusive/ ... -take-off/

ตลาด Digital Banking หรือ E Payment น่าจะเติบโตอย่างรวดเร็วในบ้านเรา
มีบริษัทไหนที่ขยับตัวในธุรกิจนี้อย่างจริงจังบ้าง มาช่วยกันแชร์ข้อมูล พูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมอง
หรือมีประสบการณ์จากตลาดที่พัฒนาแล้วมาเล่าสู่กันฟังด้วยนะครับ
เพราะสังคม..ประเมินค่า..ที่จนรวย
คนจึงสร้าง..เปลือกสวย..ไว้สวมใส่
หากสังคม..วัดค่า..ที่ภายใน
คนจะสร้าง..แต่จิตใจ..ที่ใฝ่ดี
ภาพประจำตัวสมาชิก
นายมานะ
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1116
ผู้ติดตาม: 0

Re: Digital Banking Trends ใครจะได้ประโยชน์

โพสต์ที่ 2

โพสต์

วิเคราะห์แบบคนรู้ไม่มาก ผมคิดว่านอกจากผู้บริโภคที่ได้ประโยชน์แน่ๆ แล้ว ผมคาดว่าในระยะยาวระดับ 10-20 ปี ผู้ที่น่าจะได้ประโยชน์จาก Trends นี้น่าจะเป็น Global player สาเหตุมาจาก boundary ในเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศควรจะลดลงเรื่อยๆ

ซึ่งถ้าเป็นภาพนั้นจริงบริษัทค้าปลีกออนไลน์ระดับโลกที่มี transaction ของลูกค้าอยู่มือจะได้ประโยชน์และมีโอกาสเป็นผู้ชนะมากที่สุดครับ ซึ่งหลักๆ ก็มี eBay(+PayPal) และ Alibaba(+Alipay) ส่วน player อื่นๆ ที่มีโอกาสจะเข้ามาเล่นได้ก็มีหลากหลายทั้ง Amazon.com, Apple, Google, Facebook หรือแม้แต่ Uber

ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าลักษณะการแข่งขันของตลาดนี้จะพอมี Network effect แบบธุรกิจของ PayPal, Alipay หรือจะกลายเป็นตลาดแข่งขันสูงแบบธุรกิจแบงก์ในปัจจุบันไปเลย แต่เชื่อว่าน่าจะเป็นแบบหลังมากกว่า เพราะธุรกิจการเงินไม่ใช่ธุรกิจที่สร้างความแตกต่างอะไรได้มากมาย และเป็นธุรกิจที่ค่อนข้าง sensitive ไม่ว่ารัฐของประเทศไหนๆ คงไม่ยอมปล่อยให้ใคร dominate ตลาดแน่ๆ

แต่ถ้าภาพที่ผมคาดไม่เกิดขึ้น หรือมองระยะกลางระดับ 5-10 ปี ซึ่งแบงก์ชาติยังคงมีอิทธิพลสูงมากในการกำหนดสภาวะการแข่งขันของตลาดการเงินไทย คนที่จะได้ประโยชน์ก็คงเป็น 3 แบงก์ใหญ่ หรือไม่ก็ผู้ชนะในธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ ซึ่งผมยังไม่เห็นใครที่โดดเด่นที่สุด ในกลุ่ม Cpall, COL, Lazada ฯลฯ ที่เป็นผู้ท้าชิงกันอยู่
ภาพประจำตัวสมาชิก
The Kop 71
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 271
ผู้ติดตาม: 0

Re: Digital Banking Trends ใครจะได้ประโยชน์

โพสต์ที่ 3

โพสต์

จุดพลุ"อี-มันนี่"โอนเงินข้ามค่าย ใช้เบอร์มือถือแทนบัญชีแบงก์

updated: 03 พ.ย. 2558 เวลา 20:40:35 น.

 นายสุปรีชา ลิมปิกาญจนโกวิท กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด ในเครือเอไอเอส เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทอยู่ระหว่างการเชื่อมต่อระบบกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) กับทางเพย์สบายของดีแทค และทรูมันนี่เพื่อเตรียมเปิดตัวบริการโอนเงินระหว่างกันผ่านเบอร์โทรศัพท์มือถือจากเดิมที่แต่ละบริษัทจะโอนเงินได้เฉพาะกับลูกค้าที่ใช้บริการโทรศัพท์มือถือในเครือข่ายของตนเองเท่านั้น เพิ่มความสะดวก และความมั่นใจเกี่ยวกับความปลอดภัยให้ลูกค้าเพิ่มขึ้น แต่ขณะนี้คงยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดอะไรได้มากนัก เนื่องจากอยู่ระหว่างวางแผนเปิดตัวพร้อมกัน คาดว่าเมื่อเปิดระบบให้โอนเงินข้ามกันได้จะทำให้มีการใช้งานเพิ่มขึ้นมาก เช่นกันกับในอดีตที่มีการเปิดระบบ SMS ข้ามค่ายทำให้การใช้งานเพิ่มขึ้นมโหฬาร

"ตอนนี้ต้องบอกว่าทั้งสามค่ายมีฟีเจอร์โอนเงินอยู่แล้ว แต่โอนข้ามค่ายไม่ได้ เหมือนสมัยก่อนที่บริการ SMS ส่งกันได้แค่ในค่ายใครค่ายมัน เราจึงกำลังจะสร้างมิติใหม่ให้ลูกค้าเอ็มเปย์โอนเงินให้ทรูมันนี่หรือดีแทคได้ เหมือนบัญชีแบงก์ที่มีสวิตชิ่งกลางเชื่อมกันทำให้โอนเงินข้ามธนาคารได้ ต่อไปเวลาไปกินข้าวกับเพื่อน ผมใช้เอ็มเปย์จ่ายไปก่อน เพื่อนที่ใช้ดีแทคก็โอนเงินจากเพย์สบายมาให้ผมได้ทันที จากประสบการณ์ในอดีต ตอน SMS ส่งข้ามค่ายได้ โลกเปลี่ยนทันที และอย่างที่บอกว่ามิติการเปิดในครั้งนี้จะทำให้การโอนเงินมีความน่าเชื่อถือขึ้นอีก ลูกค้าจะฟิลว่าเขาปลอดภัยจริง ในทางเทคนิค การโอนเงินโดยใช้เบอร์มือถือ ดีตรง 1.เมื่อเทียบกับบัญชีแบงก์คือ บัญชีแบงก์จำยากกว่า เบอร์มือถือจำง่ายหรือไม่ต้องจำเพราะเรียกดูจากโฟนบุ๊กได้ และมีความเป็นยูนีคทำให้โอกาสผิดไม่มี ถ้าเลือกโอนมาเบอร์นี้ก็เบอร์นี้"

สำหรับวงเงินที่จะเปิดให้โอนเงินระหว่างกันได้จะอยู่ที่ไม่เกิน 10,000 บาท มีค่าธรรมเนียมการโอนด้วยแต่ยังไม่สรุปว่าจะเป็นเท่าใด เพราะอาจมีโปรโมชั่นพิเศษเพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้งาน แต่ปัจจุบันบริการโอนเงินในบริการของ "เอ็มเปย์" ภายในเครือข่ายเอไอเอส คิดค่าธรรมเนียมที่ 5 บาท/ครั้ง คาดว่าความร่วมมือครั้งนี้จะทำให้มีการใช้งานเพิ่มขึ้น แต่ไม่ได้ตั้งเป้าว่าจะเพิ่มแค่ไหน เพราะวัตถุประสงค์หลักคือเพิ่มความสะดวกให้ลูกค้าในการใช้จ่ายค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ 

ปัจจุบันเอ็มเปย์มีฐานลูกค้าอยู่ที่ 1.6 ล้านราย ขณะที่ฐานลูกค้าโทรศัพท์มือถือของเอไอเอสมีอยู่กว่า 40 ล้านราย มีจำนวนผู้ใช้บริการเป็นประจำที่ 4-5 แสนราย โดยปกติยอดการโอนเงินต่อเดือนจะอยู่ที่หลักแสนทรานแซ็กชั่น เทียบกับการจ่ายเงิน (เพย์เมนต์) ยังถือว่าน้อยมาก เพราะเพย์เมนต์จะอยู่ที่ 40-50 ล้านครั้ง ซึ่งการใช้งานอันดับหนึ่ง คือเติมเงินมือถือพรีเพด และจ่ายบิลโพสต์เพด มีสัดส่วนสัก 60% อันดับ 2 คือบิลเพย์เมนต์ หรือการจ่ายค่าบริการต่าง ๆ อันดับ 3 เติมเงินออนไลน์เกม และอันดับ 4 ด้านอีคอมเมิร์ซ

"กลุ่มแรกสัดส่วนจะตามฐานลูกค้าเอไอเอส แต่ที่คิดว่าจะโตมากคืออีคอมเมิร์ซ เราจึงมีความพยายามที่จะมานั่งคิดว่าจะทำยังไงให้เข้าตลาดอีคอมเมิร์ซได้ง่ายขึ้น และการโอนเงินก็เป็นส่วนหนึ่ง"

นายสุปรีชากล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมา ค่ายมือถือต่าง ๆ มีความร่วมมือกันในหลายเรื่องภายใต้ชมรมอีเพย์เมนต์ ซึ่งผู้ที่เป็นสมาชิกจะรวมถึงผู้ให้บริการเพย์เมนต์เกตเวย์ทั่วไปด้วย เพราะเห็นตรงกันว่าการรวมตัวทำงานร่วมกันเพื่อกำหนดมาตรฐานร่วมกันในกลุ่มผู้ที่ได้ใบอนุญาตจากแบงก์ชาติ ทั้งอีเปย์เมนต์เกตเวย์ หรืออี-มันนี่จะเป็นผลดีมากกว่าต่างคนต่างทำ 

"ในการแข่งขันก็มีความร่วมมือเกิดขึ้น เพราะบางเรื่อง ถ้าค่ายไหนโดนโจมตีระบบก็จะลามไปค่ายอื่นได้ เหมือนเวลาเอทีเอ็มโดนแฮ็กก็จะไม่โดนแบงก์เดียว มันจะลาม และกระทบความเชื่อมั่นของลูกค้าด้วย เราจึงจะแชร์กัน และในนามชมรม เราพยายามกำหนดมาตรฐานบางอย่าง เช่น การเชื่อมต่อหาแบงก์ วันนี้ทุกคนต่อตรงกันหมด เป็นโครงข่ายใยแมงมุมครอสกันไปมา ในอนาคตอาจมีเกตเวย์กลางไหม หรือทำแบบที่ กสทช.ทำเคลียริ่งเฮาส์ เพราะการที่ร้านค้าต่าง ๆ ต้องดิวกับทุกค่ายมีฟอร์แมตถึง 3 แบบทำให้ทำงานยาก เราจึงคุยกันว่าน่าจะต้องมีการกำหนดมาตรฐานอะไรบางอย่างร่วมกัน ที่ผ่านมางานของแบงก์ชาติเกี่ยวกับเปย์เมนต์ฟอรั่มเราก็ไปในนามชมรม ในระยะยาวเราหวังถึงการสร้างสังคมที่ไม่ต้องใช้เงินสด (Cashless Society) หรือใช้ให้น้อยที่สุด"

ด้านนายปานเทพย์ นิลสินธพ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานผลิตภัณฑ์บริการทางการเงิน บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ให้บริการอี-มันนี่ผ่าน เพย์สบาย และแจ๋ว กล่าวว่า กลางเดือน พ.ย.นี้ จะเริ่มประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเชื่อมต่อระบบอีวอลเลตของ 3 ค่ายมือถือ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดสอบระบบหลังบ้านของทุกรายเพื่อให้การเชื่อมต่อเป็นไปได้อย่างดีที่สุด หากปลดล็อกได้น่าจะผลักดันให้ผู้บริโภคใช้งานอีวอลเลตมากขึ้น เพราะนอกจากสามารถชำระค่าบริการ และซื้อสินค้าต่าง ๆ ได้แล้ว ยังเหมือนมีธนาคารย่อม ๆ ไว้กับตนเอง โดยผู้ใช้ใส่เงินเข้าไปในอีวอลเลตผ่านบัตรเงินสด หรือผูกบัญชีธนาคารก็ได้ ทั้งยังโอนเงินให้ผู้ที่มีอีวอลเลตด้วยกันผ่านหมายเลขโทรศัพท์มือถือได้จึงสะดวก และปลอดภัย 

สำหรับ "เพย์สบาย" มีบริการอีวอลเลต 2 ประเภท คือ อีวอลเลตของร้านค้าออนไลน์มี 14,000 ราย และอีวอลเลตของผู้บริโภคทั่วไป มี 3 แสนไอดี มีมูลค่าทรานแซ็กชั่นในปีนี้อยู่ที่ประมาณ 3,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17% โดย 90% มาจากการชำระค่าสินค้าเข้าไปที่อีวอลเลตของร้านค้าออนไลน์ คาดว่าหลังเปิดบริการโอนเงินข้ามค่ายจะมีการใช้งานเพิ่มขึ้น แต่ไม่สามารถประเมินตัวเลขได้

นอกจากนี้ บริการทางการเงินของดีแทคยังมีบริการ "แจ๋ว" ที่เป็นบริการโอน-ถอน-ชำระเงินผ่านตัวแทน ประกอบด้วยดีแทคฮอลล์ 27 แห่ง, ดีแทคเซ็นเตอร์มากกว่า 250 แห่ง และร้านโชห่วย หรืออื่น ๆ กว่า 6,000 แห่ง เป็นตัวกลางบริการ หลังเปิดใช้งานเมื่อต้นปี มีการใช้งานเฉลี่ย 1,000 บาท/ครั้ง และมีทรานแซ็กชั่น 2 แสนครั้ง/เดือน คิดค่าธรรมเนียมการโอนเงิน 30-70 บาท/ครั้ง (1-500 บาท คิด 30 บาท) โอนได้ครั้งละไม่เกิน 5,000 บาท 

"การเปิดให้บริการโอนเงินของค่ายมือถือจะไปแข่งกับธนาคารหรือไม่นั้น โดยส่วนตัวคิดว่าไม่เชิง เพราะเราต่างพึ่งพาอาศัยกัน แต่สิ่งที่อยากเห็นจากนี้คือการมีมาตรฐานกลางของบริการอีเพย์เมนต์ พร้อมกับการช่วยกันประชาสัมพันธ์ เพื่อพัฒนาบริการสู่ Cashless Society ได้"

ด้านนายปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา ประธาน บริษัท แอสเซนด์ กรุ๊ป จำกัด ผู้ให้บริการทรูมันนี่ เปิดเผยว่าความร่วมมือของโอเปอเรเตอร์ 3 ค่าย เชื่อมต่อระบบอีวอลเลตจะทำให้ผู้ใช้โอนเงินข้ามระหว่างกันได้ เป็นการยกระดับอีวอลเลตในประเทศไทยให้ใช้งานได้หลากหลายขึ้น และทำให้ยอดการโอนเงินที่ปัจจุบันคิดเป็น 30% ของจำนวนทรานแซ็กชั่นของทรูมันนี่เพิ่มขึ้นเช่นกัน ปัจจุบันทรูมันนี่มีการใช้งาน 50,000 ทรานแซ็กชั่น/วัน หรือ 1.5 ล้านครั้ง/เดือน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 450 ล้านบาท/เดือน มีผู้ลงทะเบียนใช้งาน 7 ล้านไอดี ใช้งานเป็นประจำ 1 ล้านไอดี
เพราะสังคม..ประเมินค่า..ที่จนรวย
คนจึงสร้าง..เปลือกสวย..ไว้สวมใส่
หากสังคม..วัดค่า..ที่ภายใน
คนจะสร้าง..แต่จิตใจ..ที่ใฝ่ดี
โพสต์โพสต์