เข้าตลาดแบบ back door ดีกว่าแบบ IPO หรือไม่ครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 357
- ผู้ติดตาม: 0
เข้าตลาดแบบ back door ดีกว่าแบบ IPO หรือไม่ครับ
โพสต์ที่ 1
เช่นสิงห์ เข้าตลาดผ่าน RASA
ตระกูล"ภิรมย์ภักดี"กลุ่มทุนเบียร์สิงห์ หนึ่งในตระกูลเจ้าสัวของเมืองไทย รุกคืบในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครั้งใหญ่ เมื่อล่าสุด ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท รสา พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ไฟเขียวอนุมัติเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้น อนุมัติเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 550 ล้านบาท เป็น 4,712 ล้านบาท (PAR 1 บาท/หุ้น) โดยเป็นการจัดสรรหุ้นแบบเฉพาะเจาะจงให้กับบริษัท สิงห์ พร๊อพเพอร์ตี้ และนาย สันติ ภิรมย์ภักดี ราคาหุ้นละ 1.87 ล้านบาท เพื่อใช้ชำระเป็นค่าตอบแทนสำหรับการรับโอนกิจการของ บริษัท เอสไบร์ทฟิวเจอร์ และบริษัท สันติบุรี ตามลำดับ (ชำระเป็นหุ้นแทนเงินสด) รวมมูลค่าแบบเบ็ดเสร็จในการเทกโอเวอร์ 7,783 ล้านบาท ก่อนจะเดินหน้าสู่กระบวนการเปลี่ยนถ่ายโอนทรัพย์
เอาเป็นว่ากระบวนการและขั้นตอนเหล่านี้ ทางผู้บริหารประเมินว่าจะแล้วเสร็จก่อนสิ้นเดือนธันวาคม 2557 ก่อนที่จะสลัดชื่อ "รสาฯ" เพื่อไปสู่โฉมหน้าชื่อใหม่ภายใต้บังเหียนของแบรนด์ "สิงห์"!! แต่ที่แน่ๆ ราคาหุ้นตอบรับข่าวดี พันธมิตรจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่แล้วครับ
และหากจะมอง"ข้ามช็อต" การที่สันติ ภิรมย์ภักดี ส่งบริษัทอสังหาฯในกลุ่มเข้าจดทะเบียนทางอ้อมผ่านการทำ backdoor ย่อมจะเป็นผลดีการต่อยอดพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ และเป็นการเพิ่มสินทรัพย์ให้มากและใหญ่ขึ้นผ่านการถ่ายโอน ซึ่งหนึ่งในนั้น อาจจะหมายรวมถึงที่ดินผืนงานสถานทูตญี่ปุ่นบริเวณอโศก-เพชรบุรี ที่ทางภิรมย์ภักดี ได้ชนะและครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวมาได้ระยะหนึ่ง ซึ่งในแผนที่ครั้งหนึ่งถูกพับไปเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย คือ การเนรมิตหน้าตาโครงการคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ มูลค่าโครงการที่เคยประกาศไว้หมื่นล้านบาท
นี้ยังไมนับรวมที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของคลังสินค้าย่านสามเสน แปลงนี้ หากพิจารณาแล้ว ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา และหากในอนาคตการก่อสร้างรัฐสภาแล้วเสร็จ ภาครัฐ ลงทุนสร้างโครงข่ายคมนาคมรองรับ อาจจะรวมถึง สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเกียกกาย เป็นรูปธรรม ก็น่าจะเป็นผลดีต่อราคาที่ดิน
หลังจากนี้ ต้องมาติดตามโฉมหน้าของอสังหาฯน้องใหม่ในตลาหุ้น แต่ยิ่งใหญ่ด้วยขนาดของสินทรัพย์ เครือข่ายธุรกิจที่กว้าง กำลังทุน กำลังคน และคอนเน็คชั่น ล้วนแล้วแต่จะหนุนการสร้างอาณาจักร"ธุรกิจอสังหาฯ"ให้เติบโตเทียบรัศมีพี่เบิ้มในวงการ!?.-
ตระกูล"ภิรมย์ภักดี"กลุ่มทุนเบียร์สิงห์ หนึ่งในตระกูลเจ้าสัวของเมืองไทย รุกคืบในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครั้งใหญ่ เมื่อล่าสุด ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท รสา พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ไฟเขียวอนุมัติเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้น อนุมัติเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 550 ล้านบาท เป็น 4,712 ล้านบาท (PAR 1 บาท/หุ้น) โดยเป็นการจัดสรรหุ้นแบบเฉพาะเจาะจงให้กับบริษัท สิงห์ พร๊อพเพอร์ตี้ และนาย สันติ ภิรมย์ภักดี ราคาหุ้นละ 1.87 ล้านบาท เพื่อใช้ชำระเป็นค่าตอบแทนสำหรับการรับโอนกิจการของ บริษัท เอสไบร์ทฟิวเจอร์ และบริษัท สันติบุรี ตามลำดับ (ชำระเป็นหุ้นแทนเงินสด) รวมมูลค่าแบบเบ็ดเสร็จในการเทกโอเวอร์ 7,783 ล้านบาท ก่อนจะเดินหน้าสู่กระบวนการเปลี่ยนถ่ายโอนทรัพย์
เอาเป็นว่ากระบวนการและขั้นตอนเหล่านี้ ทางผู้บริหารประเมินว่าจะแล้วเสร็จก่อนสิ้นเดือนธันวาคม 2557 ก่อนที่จะสลัดชื่อ "รสาฯ" เพื่อไปสู่โฉมหน้าชื่อใหม่ภายใต้บังเหียนของแบรนด์ "สิงห์"!! แต่ที่แน่ๆ ราคาหุ้นตอบรับข่าวดี พันธมิตรจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่แล้วครับ
และหากจะมอง"ข้ามช็อต" การที่สันติ ภิรมย์ภักดี ส่งบริษัทอสังหาฯในกลุ่มเข้าจดทะเบียนทางอ้อมผ่านการทำ backdoor ย่อมจะเป็นผลดีการต่อยอดพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ และเป็นการเพิ่มสินทรัพย์ให้มากและใหญ่ขึ้นผ่านการถ่ายโอน ซึ่งหนึ่งในนั้น อาจจะหมายรวมถึงที่ดินผืนงานสถานทูตญี่ปุ่นบริเวณอโศก-เพชรบุรี ที่ทางภิรมย์ภักดี ได้ชนะและครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวมาได้ระยะหนึ่ง ซึ่งในแผนที่ครั้งหนึ่งถูกพับไปเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย คือ การเนรมิตหน้าตาโครงการคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ มูลค่าโครงการที่เคยประกาศไว้หมื่นล้านบาท
นี้ยังไมนับรวมที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของคลังสินค้าย่านสามเสน แปลงนี้ หากพิจารณาแล้ว ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา และหากในอนาคตการก่อสร้างรัฐสภาแล้วเสร็จ ภาครัฐ ลงทุนสร้างโครงข่ายคมนาคมรองรับ อาจจะรวมถึง สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเกียกกาย เป็นรูปธรรม ก็น่าจะเป็นผลดีต่อราคาที่ดิน
หลังจากนี้ ต้องมาติดตามโฉมหน้าของอสังหาฯน้องใหม่ในตลาหุ้น แต่ยิ่งใหญ่ด้วยขนาดของสินทรัพย์ เครือข่ายธุรกิจที่กว้าง กำลังทุน กำลังคน และคอนเน็คชั่น ล้วนแล้วแต่จะหนุนการสร้างอาณาจักร"ธุรกิจอสังหาฯ"ให้เติบโตเทียบรัศมีพี่เบิ้มในวงการ!?.-
- blackninja
- Verified User
- โพสต์: 176
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เข้าตลาดแบบ back door ดีกว่าแบบ IPO หรือไม่ครับ
โพสต์ที่ 2
เร็วดีครับ
- anubist
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1369
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เข้าตลาดแบบ back door ดีกว่าแบบ IPO หรือไม่ครับ
โพสต์ที่ 3
ถ้าไม่คิดจะใช้assetในบ.นั้นเพื่อหากำไร
จะเข้ามาร่วมแบกหนี้สิน ขายสินทรัพย์ที่ไม่ได้ใช้งานแบบขาดทุนทำไม
ยังหาเรื่องเอาคนมาแบ่งกำไรอีก
มันก็เหมือนทำm&aแหละครับ ทำแล้วdevalueตัวเอง จะทำทำไม
เข้าแบบปกติดีกว่า ช้าหน่อยแต่บ./ผถห.ได้ประโยชน์เต็มๆ
จะเข้ามาร่วมแบกหนี้สิน ขายสินทรัพย์ที่ไม่ได้ใช้งานแบบขาดทุนทำไม
ยังหาเรื่องเอาคนมาแบ่งกำไรอีก
มันก็เหมือนทำm&aแหละครับ ทำแล้วdevalueตัวเอง จะทำทำไม
เข้าแบบปกติดีกว่า ช้าหน่อยแต่บ./ผถห.ได้ประโยชน์เต็มๆ
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 290
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เข้าตลาดแบบ back door ดีกว่าแบบ IPO หรือไม่ครับ
โพสต์ที่ 4
ปกติจะเห็นจากบริษัทที่ขึ้นเครื่องหมาย sp เพราะมีการขาดทุนยาวนานจนส่วนทุนติดลบ เพราะว่าสามารถนำผลขาดทุนสะสมมาลดหย่อนการเสียภาษี
แต่ในกรณีปกติ การ backdoor มักจะตามมาด้วยการเพิ่มทุน คือเหมือนเอา asset ส่วนตัวมาแชร์ขายให้กับ ผถห รายอื่นหนะครับ
แต่ในกรณีปกติ การ backdoor มักจะตามมาด้วยการเพิ่มทุน คือเหมือนเอา asset ส่วนตัวมาแชร์ขายให้กับ ผถห รายอื่นหนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 290
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เข้าตลาดแบบ back door ดีกว่าแบบ IPO หรือไม่ครับ
โพสต์ที่ 5
โทษทีครับ เขียนไม่ชัด คือหมายถึงส่วนใหญ่การ backdoor จะทำกับหุ้นที่ถูก sp เพราะผลประกอบการในอดีตไม่ดีเพื่อหาผลประโยชน์ทางภาษีpokshisha เขียน:ปกติจะเห็นจากบริษัทที่ขึ้นเครื่องหมาย sp เพราะมีการขาดทุนยาวนานจนส่วนทุนติดลบ เพราะว่าสามารถนำผลขาดทุนสะสมมาลดหย่อนการเสียภาษี
แต่ในกรณีปกติ การ backdoor มักจะตามมาด้วยการเพิ่มทุน คือเหมือนเอา asset ส่วนตัวมาแชร์ขายให้กับ ผถห รายอื่นหนะครับ