สรุปเนื้อหา Esan Investor Meeting # 4 8 มีนาคม
-
- Verified User
- โพสต์: 616
- ผู้ติดตาม: 0
สรุปเนื้อหา Esan Investor Meeting # 4 8 มีนาคม
โพสต์ที่ 1
สรุปเนื้อหา Esan Investor Meeting # 4 8 มีนาคม
ขอบคุณพี่ WEB คุณกานต์ คุณหลิน พี่ปรัชญา พี่หมอNam พี่วี พี่เป่า พี่วัช ฉี และทีมงานทุกท่านครับ เนื้อหาแน่นมาก บรรยากาศอบอุ่นมากครับ
PART1 จิตวิทยาการลงทุน โดยพี่ WEB
ขออนุญาตสรุป Part จิตวิทยาการลงทุน ดังนี้
1) Hip Hop จิตวิทยาการลงทุน แต่งโดยพี่ WEB, ผมขออนุญาตคัดลอกมาจาก facebook คุณกานต์นะครับ
เกิดมาก็มโน คิดเออเองว่า โอ้ เราเก่งเลิศเหนือใคร
ไม่ยอมขายขาดทุน ไม่คายหุ้นทนถือลุ้น จนชั่วฟ้าดินสลาย
เสพข้อมูลตามความเชื่อ ไม่เคยจะคิดเผื่อ นึกถึงทางเสียหาย
นึกอยากทำสิ่งไหน ก็หลอกตัวเองให้ได้ทำ สิ่งที่อยากทำตามสบาย
อ้างอิงตัวเลขโน่นนี่นั่น แม้ตัวเลขพวกนั้น มันไม่มีความหมาย
เชื่อกูรูไลค์ผู้รู้ ทั้งที่ดูเค้าผิดบ่อย แต่ก็ไม่วายงมงาย
สำเร็จเพราะตัวเอง พอพลาดเซ็ง โทษผีห่าซาตานเรื่อยเลยนาย
แรกๆ ไม่กล้าลงทุน มาซื้อหุ้นตอนสาย ซื้อตอนตลาดใกล้จะวาย
เค้าเล่าอะไรมาก็เชื่อ ไม่ถามเหตุผลเพื่อ ให้ทุกอย่างมันคลี่คลาย
หุ้นขึ้นว่าไปต่อ หุ้นลงท้อซะงั้น คิดแบบนั้นถึงซื้อแพงไง ฟาย
ชอบลงทุนแห่ตามฝูง แม้มันเป็นดอยสูง ซื้อแล้วติดจนวันตาย
อยากลงทุนให้มั่งคั่ง ใช้เหตุผลทุกครั้ง รวยแน่ไม่ต้องทาย
2) ตัดสินใจซื้อขายหุ้นทุกครั้งด้วยพื้นฐานของราคากับมูลค่า (บทสรุป)
PART2 ช่วงถามตอบ พี่ WEB คุณกานต์ คุณหลิน
1)การรับมือช่วงวิกฤต ทำอย่างไร เช่น Subprime
คุณหลิน : เราต้องเข้าใจหุ้นที่เราถือว่ากระทบหรือไม่ เช่นราคาลด 40% Earning ลดหรือไม่ และควรพิจารณาทำอะไรต่อไป
คุณกานต์ : เริ่มลงทุนตั้งแต่ 2004 ก่อน Subprime ช่วงแรกเน้น Small Cap เป็นช่วงสร้างพอร์ตให้เติบโต พอเกิดวิกฤต ได้ Switch หุ้นจาก Small เป็น Big Cap เพราะเวลาฟื้นตัวบริษัทใหญ่จะฟื้นได้เร็วกว่า แต่ต้องดูหุ้นที่จะ switch ต้องไม่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก ตอนนั้นเลือกลงทุนหุ้นที่อิงการบริโภคในประเทศ เลือกหุ้นที่ได้รับผลกระทบน้อยแต่ราคาลงหนัก
พี่ WEB : ทำใจก่อนอันดับแรก ถ้าลงมาหนักแบบนั้นยังไงก็ไม่รอด เราต้องเตรียมใจไว้ล่วงหน้าว่า โอกาสเกิดวิกฤตหนักๆ นั้นมีเสมอ ดังนั้นถ้าหุ้นที่เราถือเป็นหุ้นดี ก็ไม่น่ากังวลอะไร แต่ที่เรากังวล คือ เราเสียดายโอกาสมากกว่า เราไม่มีเงินซื้อเพิ่ม ถ้าต้องการ Return ให้มากขึ้น อาจจะพิจารณา Switch มองว่า ช่วงวิกฤตเป็นโอกาสของคนใหม่ เป็นโอกาสของคนมีเงินสด ส่วนใหญ่เราลงทุนหุ้นเกือบ 100% ก็ต้องทำใจ และวิกฤตยังมีโอกาสเกิดกับหุ้นเป็นตัวๆ ได้เสมอ เพราะฉะนั้นต้องศึกษาหาความรู้ เตรียมความพร้อมอยู่เสมอ โดยที่ Stock Selection สำคัญที่สุด
2) วิธีประเมินมูลค่าของแต่ละท่าน
คุณหลิน : ดูไปเรื่อยๆ เป็น Dynamic เช่น เติบโตอย่างไร จากนั้น จะเจาะหามุมมอง เช่น ทำไม PE ต่ำ มีองค์ประกอบไหน Drive Value เช่น บริษัทแข็งแรงขึ้น Earning โตขึ้น ประเมินหลายวิธี เช่น PE EV/Ebida DCF ดู Market cap ว่าสมศักดิ์ศรีหรือไม่
คุณกานต์ : มีหลายวิธี แต่ละวิธีเป็นเพียงหลักการ ต้องเอามาประยุกต์ เป็นศิลปะ ยืดหยุ่นได้ แต่หลักที่ใช้จะคิดเหมือนว่า จะซื้อทั้งบริษัทว่าคุ้มหรือไม่ โดยมองการเติบโต ความสามารถในการแข่งขัน จากนั้นมาดูว่า คาดหวัง Return กี่% ดู Market cap เช่น Hmpro 5,000 ล้าน เทียบ Home Depot ติด 1 ใน 10 ดาวโจนส์ , Maket cap 7-11 เทียบกับโรงกลั่น เป็นต้น
3) จิตวิทยาลงทุน ต้องระวังอะไรบ้าง
พี่ WEB : แต่ละคนจะมีปัญหาแตกต่างกัน เช่นพี่ WEB เคยมีปัญหาเรื่องต่อราคาแล้วตกรถ หลังๆ ถ้าชอบจะซื้อเลย และถ้าขึ้นหรือลง ก็ยังซื้อตาม เพราะถือว่าให้โอกาส(ว่าอาจจะลงต่อ)แล้ว แต่ละคนต้องดูว่า ตัวเราเกิดปัญหาเรื่องไหน ควรจดว่าผิดพลาดอะไรซ้ำๆ และหาทางแก้ไข
4) วิกฤตหนักๆ เช่นแบบ Subprime มีโอกาสจะเกิดได้อีกหรือไม่
พี่ WEB : คิดว่าต้องเกิดอีกแน่นอน แต่เราต้องรอดให้ได้ อย่าไปคาดหวังผลตอบแทนมากๆ โดยลืมความเสี่ยง เวลาขาดทุนจะเจ็บปวดกว่า วิกฤตหนักๆ จะเกิดขึ้นเมื่อคนรุ่นนั้นได้หายไปแล้ว แต่วิกฤตที่ต้องตระหนักและให้ความสำคัญมากๆ คือ วิกฤตหุ้นรายตัว
คุณหลิน : วิกฤตจะมีประโยชน์ต่อเมื่อเรามีเงินสด
5) ข้อผิดพลาดของแต่ละท่าน ที่ผ่านมา
คุณหลิน : เยอะมาก แต่ไม่ควรจะผิดนานเกินไป เช่น ถ้า Earning ไม่มา เราต้องกลับตัวให้ทัน,ซื้อหุ้นแต่ติดตามกิจการไม่ค่อยได้ ควรจะมีความสามารถในการติดตามได้ใกล้ชิด ต้องเข้าใจเหตุผลตอนซื้อ ผิดแล้วต้องแก้ไข ไม่ใช่ถือยาวอย่างเดียว ต้องทบทวนเรื่อยๆ, คนมีประสบการณ์มักเล่นหุ้นที่เข้าใจง่าย มือใหม่ชอบเล่นหุ้นที่เข้าใจยาก เช่น พวกคอมโม, พยายามเอาความผิดพลาดเป็นบทเรียน แต่ไม่เอามาคิดมาก เหมือนทฤษฎีจุกอ่างน้ำ ปล่อยให้ไหลไป
คุณกานต์ : แรกๆ เคยซื้อหุ้น PE ต่ำ ปัจจัยอื่นไม่ค่อยได้ดู เคยลงทุนลงทุนหุ้นเรือ PE ต่ำปันผลสูง แต่พออ่านมากเรื่อยๆ เช่นของ ปีเตอร์ ลินซ์ แบ่งหุ้นเป็น 6 ประเภท จึงตัดใจขายขาดทุน, ถือสั้นไป ถือบริษัทไม่นานพอให้แสดงศักยภาพ, คิดว่าราคานี้เหมาะสมแต่ไม่ปรับมุมมองเมื่อปัจจัยเปลี่ยน, ควรจะรู้จักบริษัทที่ลงทุนให้ดี เน้นปัจจัยคุณภาพ
พี่ WEB : ผิดพลาดเยอะมาก เช่น ซื้อต่อราคาแล้วตกรถ, วิเคราะห์ความแข็งแกร่งของกิจการน้อยเกินไป เช่นหุ้น คอมโม โตด้วยราคาขาย ควรมี PE ต่ำ ต้องดูว่า ธุรกิจเติบโตจากอะไร ชอบหุ้นที่โตจากขายสินค้าได้มากขึ้น ควรศึกษาหุ้นตัวอื่นเพิ่มเติม เพิ่มขอบข่ายการเรียนรู้และการลงทุน, ขายหมูประจำ, ซื้อหุ้นตัวเดียวในสัดส่วนที่เยอะเกินไป ถ้ามีความผันผวนนิดเดียว ใจเสีย เครียด และมีโอกาสตัดสินใจผิดพลาดจากความกลัว, ซื้อหุ้นไม่มีสภาพคล่อง ให้ระวังเมื่อคิดผิด จะติดอยู่แบบนั้นทำอะไรไม่ได้
6) Check list ในการเลือกหุ้น
คุณกานต์ : ปัจจุบันถือหุ้นไม่เกิน 10 ตัว คาดหวังผลตอบแทนไม่เกิน 15% Check list มีการเปลี่ยนแปลง จากเมื่อก่อน เน้นหุ้นเล็ก เน้นเพิ่ม wealth หลังๆ เปลี่ยนมาเน้น หุ้นแข็งแกร่ง เติบโต ซื้อเมื่อมีวิกฤตชั่วคราว, หลักการซื้อกิจการของบัฟเฟตต์ 1. ซื้อกิจการด้วยมูลค่าขนาดใหญ่ ยกเว้นกิจการเล็กแต่สอดคล้องกับกิจการเดิมที่มี 2. มีกำไรสม่ำเสมอ แบบคาดหวังว่าจะดีจะไม่ลงทุน 3. ROE สูง เงินกู้น้อย 4. ผู้บริหารอยู่ในตำแหน่ง ไม่ต้องปรับโครงสร้าง 5. ธุรกิจเรียบง่าย ธรรมดา เช่น ไฮซ์ 6. แจ้งราคาเสนอซื้อขายมาเลย พร้อมจะตอบภายใน 5 นาที
คุณหลิน : 1.เน้นบริษัทที่มี DCA เป็นผู้ชนะ หรือเห็นว่ากำลังจะเป็นผู้ชนะ เช่น เป็นนักกีฬาโรงเรียนแต่กำลังจะไปโอลิมปิค แบบนี้ซื้อเลย 2. ROE เยอะแสดงว่าใช้ Capex ได้ดี 3. Cash Flow ดี 4. ดูผู้บริหาร 5.จากนั้นจึงประเมินมูลค่า ดูศักยภาพว่ามีโอกาสเติบโตได้มากน้อยแค่ไหน เช่น โอกาสโต 10เท่า x market cap เป็นไปได้หรือไม่
พี่ WEB : หุ้นที่ประเมินอนาคตไม่ออกจะไม่ยุ่ง เช่น กลุ่มรับเหมา ไม่รู้จะขายตอนไหน 2. กำไรเติบโต หรือต้องเท่ากับปัจจุบันเป็นอย่างน้อยหรือ (คือกำไรต้องไม่ลดลง) 3. DCA ก็ดู แต่แล้วแต่หุ้นที่ลงทุน ถ้าซื้อพวก Turn around, Asset play จะกำหนดจุดขายชัดเจน หุ้น 6 แบบของปีเตอร์ ลินซ์ ถือยาวได้ไม่เท่ากัน หุ้นเติบโต แข็งแกร่ง โตช้า ถือยาวได้ ประเภทอื่นต้องมีจุดขายชัดเจน 4. ราคาถูก มี MOS
7) ลงทุนต่างประเทศหรือไม่
คุณหลิน : ซื้อ Berkshire Hathaway ไว้ แต่จริงๆ ยังไม่ลงทุนในต่างประเทศ จะไปก็ต่อเมื่อความเสี่ยงในประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยต้องรู้ว่า ทำไมต่างประเทศถึงดีกว่าไทย และไทยเสี่ยงมากแล้ว เพราะว่า เรายังไม่รู้จักต่างประเทศดีพอ
พี่ WEB : ถ้าลงทุนในไทยยังมั่วๆ ยังไม่ควรไปต่างประเทศ เพราะต้องแข็งกับพวกสถาบัน และถ้าเลือกบริษัทใหญ่ ก็เติบโตไม่เยอะ และมีเรื่องซับซ้อนเยอะมาก เช่น มีบริษัทจีนจดในตลาดแนสแดกซ์ แต่เป็นบริษัทปลอมไม่มีอยู่จริง แต่ถ้าต้องการซื้อเพื่อกระจายความเสี่ยง ก็อาจจะเลือกพวก brand name บริษัทใหญ่ แต่จะได้ return ไม่เยอะมาก อย่าไปเพราะคนอื่นไป แต่ไปเพราะเรามีความรู้และเข้าใจดีพอ
คุณกานต์ : มีคนที่ไปลงทุนต่างประเทศแล้วประสบความสำเร็จก็มี ล้มเหลวก็มี อีกเรื่องคือ เรื่องการเอาเงินออกไปต่างประเทศ พวกกฎระเบียบ ภาษี ยังไม่นิ่ง หรือไม่ก็ซื้อพวกกองทุนอิงดัชนีเพื่อกระจายความเสี่ยง, การไม่ขาดทุนในตลาด คือ key
8) พอร์ตประมาณ 1 ล้าน ควรถือหุ้นกี่ตัว
คุณหลิน : ถ้าถือหุ้นน้อยตัว เช่น 1-2 ตัว จะจดจ่อมาก มีโอกาสจะตัดสินใจพลาดด้วยอารมณ์
คุณกานต์ : 1 ล้านแรก เป็นการสร้างกำลังใจ สะสมองค์ความรู้ ต้องลงทุนในสิ่งที่เราเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจไม่เอา เช่น ถ้าเราซื้อหุ้น 5 ตัว ควรเพื่อขอบข่ายความรู้ ศึกษาหุ้นตัวอื่นเพิ่มด้วย เหมือนพลิกหินทีละก้อน
9) ดูผู้บริหารอย่างไร
คุณหลิน : ไม่ชอบผู้บริหารโกง ขี้โม้ ธุรกิจแต่ละประเภทผู้บริหารสำคัญไม่เท่ากัน เช่น ถ้าเป็นอสังหา ผู้บริหารสำคัญมาก ถ้าเป็นพวก brand name แบรนด์อาจสำคัญกว่า
คุณกานต์ : เกรแฮม ไม่พบผู้บริหาร เพราะเชื่อว่า ทุกอย่างแสดงมาที่งบการเงิน บัฟเฟตต์ อาจจะให้น้ำหนักบ้าง แต่ฟังผู้บริหารมากๆ ต้องระวัง อย่าเชื่อทั้งหมด
10) จังหวะซื้อหุ้น Super stock (นอกรอบ)
คุณกานต์ : หุ้น Super stock โอกาสลงหนักๆ มีไม่บ่อย นานๆ จะมีโอกาสแบบนั้น บางครั้งเมื่อถึงราคา Fair ก็ซื้อแล้ว
11) หุ้นที่ PE สูง เช่น ค้าปลีก มีโอกาสที่ PE จะถูกปรับลดลง และทำให้ราคาลงหรือไม่ (นอกรอบ)
คุณกานต์ : ก็มีโอกาสเป็นไปได้ ถ้าอิ่มตัวแล้ว แต่การปรับตัวของราคาจะเป็นไปอย่างช้าๆ หรือราคาอาจจะคงที่ไประยะเวลาหนึ่ง เนื่องจาก PE จะค่อยๆ ถูกปรับลดลง แต่กำไรกิจการก็ยังเติบโตอย่างช้าๆ ทำให้ราคาอาจจะคงที่ไประยะเวลาหนึ่ง ทำให้มีเวลาในการพิจารณาขาย
ขอบคุณพี่ WEB คุณกานต์ คุณหลิน พี่ปรัชญา พี่หมอNam พี่วี พี่เป่า พี่วัช ฉี และทีมงานทุกท่านครับ เนื้อหาแน่นมาก บรรยากาศอบอุ่นมากครับ
PART1 จิตวิทยาการลงทุน โดยพี่ WEB
ขออนุญาตสรุป Part จิตวิทยาการลงทุน ดังนี้
1) Hip Hop จิตวิทยาการลงทุน แต่งโดยพี่ WEB, ผมขออนุญาตคัดลอกมาจาก facebook คุณกานต์นะครับ
เกิดมาก็มโน คิดเออเองว่า โอ้ เราเก่งเลิศเหนือใคร
ไม่ยอมขายขาดทุน ไม่คายหุ้นทนถือลุ้น จนชั่วฟ้าดินสลาย
เสพข้อมูลตามความเชื่อ ไม่เคยจะคิดเผื่อ นึกถึงทางเสียหาย
นึกอยากทำสิ่งไหน ก็หลอกตัวเองให้ได้ทำ สิ่งที่อยากทำตามสบาย
อ้างอิงตัวเลขโน่นนี่นั่น แม้ตัวเลขพวกนั้น มันไม่มีความหมาย
เชื่อกูรูไลค์ผู้รู้ ทั้งที่ดูเค้าผิดบ่อย แต่ก็ไม่วายงมงาย
สำเร็จเพราะตัวเอง พอพลาดเซ็ง โทษผีห่าซาตานเรื่อยเลยนาย
แรกๆ ไม่กล้าลงทุน มาซื้อหุ้นตอนสาย ซื้อตอนตลาดใกล้จะวาย
เค้าเล่าอะไรมาก็เชื่อ ไม่ถามเหตุผลเพื่อ ให้ทุกอย่างมันคลี่คลาย
หุ้นขึ้นว่าไปต่อ หุ้นลงท้อซะงั้น คิดแบบนั้นถึงซื้อแพงไง ฟาย
ชอบลงทุนแห่ตามฝูง แม้มันเป็นดอยสูง ซื้อแล้วติดจนวันตาย
อยากลงทุนให้มั่งคั่ง ใช้เหตุผลทุกครั้ง รวยแน่ไม่ต้องทาย
2) ตัดสินใจซื้อขายหุ้นทุกครั้งด้วยพื้นฐานของราคากับมูลค่า (บทสรุป)
PART2 ช่วงถามตอบ พี่ WEB คุณกานต์ คุณหลิน
1)การรับมือช่วงวิกฤต ทำอย่างไร เช่น Subprime
คุณหลิน : เราต้องเข้าใจหุ้นที่เราถือว่ากระทบหรือไม่ เช่นราคาลด 40% Earning ลดหรือไม่ และควรพิจารณาทำอะไรต่อไป
คุณกานต์ : เริ่มลงทุนตั้งแต่ 2004 ก่อน Subprime ช่วงแรกเน้น Small Cap เป็นช่วงสร้างพอร์ตให้เติบโต พอเกิดวิกฤต ได้ Switch หุ้นจาก Small เป็น Big Cap เพราะเวลาฟื้นตัวบริษัทใหญ่จะฟื้นได้เร็วกว่า แต่ต้องดูหุ้นที่จะ switch ต้องไม่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก ตอนนั้นเลือกลงทุนหุ้นที่อิงการบริโภคในประเทศ เลือกหุ้นที่ได้รับผลกระทบน้อยแต่ราคาลงหนัก
พี่ WEB : ทำใจก่อนอันดับแรก ถ้าลงมาหนักแบบนั้นยังไงก็ไม่รอด เราต้องเตรียมใจไว้ล่วงหน้าว่า โอกาสเกิดวิกฤตหนักๆ นั้นมีเสมอ ดังนั้นถ้าหุ้นที่เราถือเป็นหุ้นดี ก็ไม่น่ากังวลอะไร แต่ที่เรากังวล คือ เราเสียดายโอกาสมากกว่า เราไม่มีเงินซื้อเพิ่ม ถ้าต้องการ Return ให้มากขึ้น อาจจะพิจารณา Switch มองว่า ช่วงวิกฤตเป็นโอกาสของคนใหม่ เป็นโอกาสของคนมีเงินสด ส่วนใหญ่เราลงทุนหุ้นเกือบ 100% ก็ต้องทำใจ และวิกฤตยังมีโอกาสเกิดกับหุ้นเป็นตัวๆ ได้เสมอ เพราะฉะนั้นต้องศึกษาหาความรู้ เตรียมความพร้อมอยู่เสมอ โดยที่ Stock Selection สำคัญที่สุด
2) วิธีประเมินมูลค่าของแต่ละท่าน
คุณหลิน : ดูไปเรื่อยๆ เป็น Dynamic เช่น เติบโตอย่างไร จากนั้น จะเจาะหามุมมอง เช่น ทำไม PE ต่ำ มีองค์ประกอบไหน Drive Value เช่น บริษัทแข็งแรงขึ้น Earning โตขึ้น ประเมินหลายวิธี เช่น PE EV/Ebida DCF ดู Market cap ว่าสมศักดิ์ศรีหรือไม่
คุณกานต์ : มีหลายวิธี แต่ละวิธีเป็นเพียงหลักการ ต้องเอามาประยุกต์ เป็นศิลปะ ยืดหยุ่นได้ แต่หลักที่ใช้จะคิดเหมือนว่า จะซื้อทั้งบริษัทว่าคุ้มหรือไม่ โดยมองการเติบโต ความสามารถในการแข่งขัน จากนั้นมาดูว่า คาดหวัง Return กี่% ดู Market cap เช่น Hmpro 5,000 ล้าน เทียบ Home Depot ติด 1 ใน 10 ดาวโจนส์ , Maket cap 7-11 เทียบกับโรงกลั่น เป็นต้น
3) จิตวิทยาลงทุน ต้องระวังอะไรบ้าง
พี่ WEB : แต่ละคนจะมีปัญหาแตกต่างกัน เช่นพี่ WEB เคยมีปัญหาเรื่องต่อราคาแล้วตกรถ หลังๆ ถ้าชอบจะซื้อเลย และถ้าขึ้นหรือลง ก็ยังซื้อตาม เพราะถือว่าให้โอกาส(ว่าอาจจะลงต่อ)แล้ว แต่ละคนต้องดูว่า ตัวเราเกิดปัญหาเรื่องไหน ควรจดว่าผิดพลาดอะไรซ้ำๆ และหาทางแก้ไข
4) วิกฤตหนักๆ เช่นแบบ Subprime มีโอกาสจะเกิดได้อีกหรือไม่
พี่ WEB : คิดว่าต้องเกิดอีกแน่นอน แต่เราต้องรอดให้ได้ อย่าไปคาดหวังผลตอบแทนมากๆ โดยลืมความเสี่ยง เวลาขาดทุนจะเจ็บปวดกว่า วิกฤตหนักๆ จะเกิดขึ้นเมื่อคนรุ่นนั้นได้หายไปแล้ว แต่วิกฤตที่ต้องตระหนักและให้ความสำคัญมากๆ คือ วิกฤตหุ้นรายตัว
คุณหลิน : วิกฤตจะมีประโยชน์ต่อเมื่อเรามีเงินสด
5) ข้อผิดพลาดของแต่ละท่าน ที่ผ่านมา
คุณหลิน : เยอะมาก แต่ไม่ควรจะผิดนานเกินไป เช่น ถ้า Earning ไม่มา เราต้องกลับตัวให้ทัน,ซื้อหุ้นแต่ติดตามกิจการไม่ค่อยได้ ควรจะมีความสามารถในการติดตามได้ใกล้ชิด ต้องเข้าใจเหตุผลตอนซื้อ ผิดแล้วต้องแก้ไข ไม่ใช่ถือยาวอย่างเดียว ต้องทบทวนเรื่อยๆ, คนมีประสบการณ์มักเล่นหุ้นที่เข้าใจง่าย มือใหม่ชอบเล่นหุ้นที่เข้าใจยาก เช่น พวกคอมโม, พยายามเอาความผิดพลาดเป็นบทเรียน แต่ไม่เอามาคิดมาก เหมือนทฤษฎีจุกอ่างน้ำ ปล่อยให้ไหลไป
คุณกานต์ : แรกๆ เคยซื้อหุ้น PE ต่ำ ปัจจัยอื่นไม่ค่อยได้ดู เคยลงทุนลงทุนหุ้นเรือ PE ต่ำปันผลสูง แต่พออ่านมากเรื่อยๆ เช่นของ ปีเตอร์ ลินซ์ แบ่งหุ้นเป็น 6 ประเภท จึงตัดใจขายขาดทุน, ถือสั้นไป ถือบริษัทไม่นานพอให้แสดงศักยภาพ, คิดว่าราคานี้เหมาะสมแต่ไม่ปรับมุมมองเมื่อปัจจัยเปลี่ยน, ควรจะรู้จักบริษัทที่ลงทุนให้ดี เน้นปัจจัยคุณภาพ
พี่ WEB : ผิดพลาดเยอะมาก เช่น ซื้อต่อราคาแล้วตกรถ, วิเคราะห์ความแข็งแกร่งของกิจการน้อยเกินไป เช่นหุ้น คอมโม โตด้วยราคาขาย ควรมี PE ต่ำ ต้องดูว่า ธุรกิจเติบโตจากอะไร ชอบหุ้นที่โตจากขายสินค้าได้มากขึ้น ควรศึกษาหุ้นตัวอื่นเพิ่มเติม เพิ่มขอบข่ายการเรียนรู้และการลงทุน, ขายหมูประจำ, ซื้อหุ้นตัวเดียวในสัดส่วนที่เยอะเกินไป ถ้ามีความผันผวนนิดเดียว ใจเสีย เครียด และมีโอกาสตัดสินใจผิดพลาดจากความกลัว, ซื้อหุ้นไม่มีสภาพคล่อง ให้ระวังเมื่อคิดผิด จะติดอยู่แบบนั้นทำอะไรไม่ได้
6) Check list ในการเลือกหุ้น
คุณกานต์ : ปัจจุบันถือหุ้นไม่เกิน 10 ตัว คาดหวังผลตอบแทนไม่เกิน 15% Check list มีการเปลี่ยนแปลง จากเมื่อก่อน เน้นหุ้นเล็ก เน้นเพิ่ม wealth หลังๆ เปลี่ยนมาเน้น หุ้นแข็งแกร่ง เติบโต ซื้อเมื่อมีวิกฤตชั่วคราว, หลักการซื้อกิจการของบัฟเฟตต์ 1. ซื้อกิจการด้วยมูลค่าขนาดใหญ่ ยกเว้นกิจการเล็กแต่สอดคล้องกับกิจการเดิมที่มี 2. มีกำไรสม่ำเสมอ แบบคาดหวังว่าจะดีจะไม่ลงทุน 3. ROE สูง เงินกู้น้อย 4. ผู้บริหารอยู่ในตำแหน่ง ไม่ต้องปรับโครงสร้าง 5. ธุรกิจเรียบง่าย ธรรมดา เช่น ไฮซ์ 6. แจ้งราคาเสนอซื้อขายมาเลย พร้อมจะตอบภายใน 5 นาที
คุณหลิน : 1.เน้นบริษัทที่มี DCA เป็นผู้ชนะ หรือเห็นว่ากำลังจะเป็นผู้ชนะ เช่น เป็นนักกีฬาโรงเรียนแต่กำลังจะไปโอลิมปิค แบบนี้ซื้อเลย 2. ROE เยอะแสดงว่าใช้ Capex ได้ดี 3. Cash Flow ดี 4. ดูผู้บริหาร 5.จากนั้นจึงประเมินมูลค่า ดูศักยภาพว่ามีโอกาสเติบโตได้มากน้อยแค่ไหน เช่น โอกาสโต 10เท่า x market cap เป็นไปได้หรือไม่
พี่ WEB : หุ้นที่ประเมินอนาคตไม่ออกจะไม่ยุ่ง เช่น กลุ่มรับเหมา ไม่รู้จะขายตอนไหน 2. กำไรเติบโต หรือต้องเท่ากับปัจจุบันเป็นอย่างน้อยหรือ (คือกำไรต้องไม่ลดลง) 3. DCA ก็ดู แต่แล้วแต่หุ้นที่ลงทุน ถ้าซื้อพวก Turn around, Asset play จะกำหนดจุดขายชัดเจน หุ้น 6 แบบของปีเตอร์ ลินซ์ ถือยาวได้ไม่เท่ากัน หุ้นเติบโต แข็งแกร่ง โตช้า ถือยาวได้ ประเภทอื่นต้องมีจุดขายชัดเจน 4. ราคาถูก มี MOS
7) ลงทุนต่างประเทศหรือไม่
คุณหลิน : ซื้อ Berkshire Hathaway ไว้ แต่จริงๆ ยังไม่ลงทุนในต่างประเทศ จะไปก็ต่อเมื่อความเสี่ยงในประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยต้องรู้ว่า ทำไมต่างประเทศถึงดีกว่าไทย และไทยเสี่ยงมากแล้ว เพราะว่า เรายังไม่รู้จักต่างประเทศดีพอ
พี่ WEB : ถ้าลงทุนในไทยยังมั่วๆ ยังไม่ควรไปต่างประเทศ เพราะต้องแข็งกับพวกสถาบัน และถ้าเลือกบริษัทใหญ่ ก็เติบโตไม่เยอะ และมีเรื่องซับซ้อนเยอะมาก เช่น มีบริษัทจีนจดในตลาดแนสแดกซ์ แต่เป็นบริษัทปลอมไม่มีอยู่จริง แต่ถ้าต้องการซื้อเพื่อกระจายความเสี่ยง ก็อาจจะเลือกพวก brand name บริษัทใหญ่ แต่จะได้ return ไม่เยอะมาก อย่าไปเพราะคนอื่นไป แต่ไปเพราะเรามีความรู้และเข้าใจดีพอ
คุณกานต์ : มีคนที่ไปลงทุนต่างประเทศแล้วประสบความสำเร็จก็มี ล้มเหลวก็มี อีกเรื่องคือ เรื่องการเอาเงินออกไปต่างประเทศ พวกกฎระเบียบ ภาษี ยังไม่นิ่ง หรือไม่ก็ซื้อพวกกองทุนอิงดัชนีเพื่อกระจายความเสี่ยง, การไม่ขาดทุนในตลาด คือ key
8) พอร์ตประมาณ 1 ล้าน ควรถือหุ้นกี่ตัว
คุณหลิน : ถ้าถือหุ้นน้อยตัว เช่น 1-2 ตัว จะจดจ่อมาก มีโอกาสจะตัดสินใจพลาดด้วยอารมณ์
คุณกานต์ : 1 ล้านแรก เป็นการสร้างกำลังใจ สะสมองค์ความรู้ ต้องลงทุนในสิ่งที่เราเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจไม่เอา เช่น ถ้าเราซื้อหุ้น 5 ตัว ควรเพื่อขอบข่ายความรู้ ศึกษาหุ้นตัวอื่นเพิ่มด้วย เหมือนพลิกหินทีละก้อน
9) ดูผู้บริหารอย่างไร
คุณหลิน : ไม่ชอบผู้บริหารโกง ขี้โม้ ธุรกิจแต่ละประเภทผู้บริหารสำคัญไม่เท่ากัน เช่น ถ้าเป็นอสังหา ผู้บริหารสำคัญมาก ถ้าเป็นพวก brand name แบรนด์อาจสำคัญกว่า
คุณกานต์ : เกรแฮม ไม่พบผู้บริหาร เพราะเชื่อว่า ทุกอย่างแสดงมาที่งบการเงิน บัฟเฟตต์ อาจจะให้น้ำหนักบ้าง แต่ฟังผู้บริหารมากๆ ต้องระวัง อย่าเชื่อทั้งหมด
10) จังหวะซื้อหุ้น Super stock (นอกรอบ)
คุณกานต์ : หุ้น Super stock โอกาสลงหนักๆ มีไม่บ่อย นานๆ จะมีโอกาสแบบนั้น บางครั้งเมื่อถึงราคา Fair ก็ซื้อแล้ว
11) หุ้นที่ PE สูง เช่น ค้าปลีก มีโอกาสที่ PE จะถูกปรับลดลง และทำให้ราคาลงหรือไม่ (นอกรอบ)
คุณกานต์ : ก็มีโอกาสเป็นไปได้ ถ้าอิ่มตัวแล้ว แต่การปรับตัวของราคาจะเป็นไปอย่างช้าๆ หรือราคาอาจจะคงที่ไประยะเวลาหนึ่ง เนื่องจาก PE จะค่อยๆ ถูกปรับลดลง แต่กำไรกิจการก็ยังเติบโตอย่างช้าๆ ทำให้ราคาอาจจะคงที่ไประยะเวลาหนึ่ง ทำให้มีเวลาในการพิจารณาขาย
-
- Verified User
- โพสต์: 2712
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สรุปเนื้อหา Esan Investor Meeting # 4 8 มีนาคม
โพสต์ที่ 4
ขอบคุณมากๆครับ
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 2
Re: สรุปเนื้อหา Esan Investor Meeting # 4 8 มีนาคม
โพสต์ที่ 11
ขอบคุณคร้าบ
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
-
- Verified User
- โพสต์: 31
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สรุปเนื้อหา Esan Investor Meeting # 4 8 มีนาคม
โพสต์ที่ 17
ขอบคุณมากครับ
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4740
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สรุปเนื้อหา Esan Investor Meeting # 4 8 มีนาคม
โพสต์ที่ 23
ขอบคุณ ทั้งคนถาม คนตอบ และ คนจดมาถ่ายทอดครับ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"