ก้าวเล็กๆบนเส้นทาง VI (บันทึกกันลืม)
-
- Verified User
- โพสต์: 198
- ผู้ติดตาม: 0
ก้าวเล็กๆบนเส้นทาง VI (บันทึกกันลืม)
โพสต์ที่ 1
คงต้องขอออกตัวก่อนว่าผมไม่ได้เก่งกล้าสามารถอะไร หรือมีประสบการณ์มากมายอะไรนะครับ เพราะอายุ จริงก็พึ่ง 24 ปี และอายุการลงทุนก็แค่ 2 ปี แต่ได้รับโอกาสไปอัดรายการ Money Talk ของท่านอาจารย์ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา ในฐานะตัวแทนอบรมไทยวีไอรุ่นที่ 4 ด้วยความที่พึ่งเคยอัดรายการครั้งแรกในชีวิต แถมยังเป็นรายการโปรดอีกต่างหาก ก็เลยตื่นทั้งกล้องและพิธีกร ทำให้พูดจาไม่ค่อยรู้เรื่องไปซักงั้น หลังจากกลับมานั่งๆนอนๆคิดอยู่คืนหนึ่ง ก็สรุปว่าจะของแชร์เรื่องราวผ่านตัวหนังสือจะดีกว่า
จุดเริ่มต้นของเรื่องราวการก้าวเข้ามาบนเส้นทางที่เรียกว่า VI (Value Investor): กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว (จริงๆก็ไม่ได้นานมากประมาณ 2 ปีครึ่ง) ตลอดเวลา 22 ปีที่ผ่านมาผมไม่เคยสนใจเกี่ยวกับการลงทุนเลย แต่ในชีวิตคนเราก็มีจุดเปลี่ยนอยู่มากมาย ซึ่งของผมก็เป็นการที่เพื่อนคนหนึ่งได้หยิบเอาหนังสือเล่มหนึ่งให้ผมอ่าน หนังสือที่เป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมด "Rich Dad Poor Dad" คือชื่อของหนังสือเล่มนั้น Passive Income และ Financial Freedom คือแนวคิดที่การจุดประกายให้ผมเริ่มสนใจเกี่ยวกับการลงทุน ซึ่งมันทำให้ผมนึกถึงเรื่องราวตอนที่อยู่ ม. 6 เคยมีรุ่นน้องที่โรงเรียนถามผมว่า ระหว่าง "ทำในสิ่งที่รัก กับรักในสิ่งที่ทำจะเลือกอย่างไหน?" ผมก็ตอบไปว่า "ก็ต้องทำในสิ่งที่เรารักสิ เพราะมีไม่กี่คนหรอกที่จะสามารถรักในงานที่เค้าทำอยู่ได้ ถ้าไม่ได้เริ่มจากการทำงานที่เขารัก" แล้วรุ่นน้องคนนั้นก็ถามต่อว่า "แต่ถ้าเราเลือกทำในสิ่งที่เรารักแต่มันเป็นงานที่ไม่ค่อยจะทำเงินละจะทำยังไง?" ซึ่งคำถามนี้ผมจำได้ว่าผมไม่สามารถตอบรุ่นน้องคนนั้นได้ แค่หลังจากได้ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับ Passive Income และ Financial Freedom ผมก็บอกกับตัวเองว่านี่ละคำตอบของคำถามนั้น สำหรับผม Financial Freedom ไม่ใช่การที่เรามีเงินมากพอจนเราสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องทำงาน แต่เป็นการที่เรามีเงินมากพอจนเราไม่ต้องคิดมากเรื่องเงิน คือเราสามารถทำงานที่เรารัก ทำงานกับคนที่เราอยากที่จะทำงานด้วย โดยไม่ต้องแคร์เรื่องเงินเดือน หลังจากนั้นผมก็มาศึกษาหาดูว่าเราสามารถสามารถสร้าง Passive Income จากที่ใดได้บ้าง ซึ่งในตอนนั้นผมก็ได้อ่านหนังสืออีกเล่มที่พาผมเข้าสู่เส้นทางการลงทุน หนังสือเล่มนั้นก็คือ “The Classic Guild Learn to Earn” หลังจากอ่านหนังสือศึกษาเกี่ยวกับการลงทุนอยู่ซักพัก(ประมาณครึ่งปี) ก็ได้มีโอกาสได้เริ่มลงทุนลงจริงๆในตลาดหุ้น ผ่านโครงการ KS Young Turk Investor 3.3 ของธนาคารกสิกรไทย ซึ่งเป็นการเรียนผ่าน Facebook หลังจากที่กระโดดเข้ามาในตลาดหุ้น ช่วงแรกๆผมก็ลงทุนแบบมั่วไปซักประมาณ 1 อาทิตย์ ซึ่งใน 1 อาทิตย์นั้นไม่เป็นอันเรียนเลย เพราะว่าค่อยแต่นั่ง check ดูราคาหุ้นตลอด ก็เลยมานั่งคุยกับตัวเองว่ามันไม่สนุกแล้วนะถ้ายังเล่นหุ้นแบบนี้ ก็เลยไปหยิบเอาหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนเก่าๆมานั่งอ่านซ้ำ แล้วก็เลยลองลงทุนแบบเน้นคุณค่าดู ปรากฏว่า หลังจากลงทุนแนวเน้นคุณค่าไปได้ซักพักก็รู้ว่า “นี่ละการลงทุนที่เราตามหา” เพราะผมสนุกกับกระบวนการของการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ผมสนุกกับการวิเคราะห์บริษัท การอ่านงบการเงิน และการติดตามเรื่องราวของบริษัท นับจากวันนั้นผมก็ยึดแนวการลงทุนแนวนี้มาตลอด พยายามศึกษาหาความรู้มาโดยตลอด จนได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมหลักสูตรการลงทุนเน้นคุณค่าของสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า(ประเทศไทย) ซึ่งผมคงไม่ต้องบรรยายว่าหลักสูตรนี่ดียังไง เพราะตอนเปิดจองภายใน 1 วินาที ก็เต็มแล้ว
หลักสูตรนี่ให้อะไรกับผมบ้าง: สำหรับผมสิ่งที่ได้จากหลักสูตรนี่หลักๆก็คงเป็น หลักการ และทัศนคติของการลงทุนเน้นคุณค่า หลักสูตรนี่ได้สร้างแก่นหรือแกนการลงทุนให้กับผม มันก็เหมือนกับ นักเดินทางได้เข็มทิศ แต่เข็มทิศนี่ไม่ได้ชี้ไปที่ทิศเหนือ แต่มันชี้ไปที่สิ่งที่เราปรารถนา (เหมือนกับเข็มทิศของกัปตันแจ็ค ในเรื่อง Pirates of the Caribbean) จริงๆ สำหรับวิธีการในการลงทุนเราก็สามารถศึกษาได้จากหนังสือต่างๆหรือหลักสูตรสัมนาอื่น แต่ในหลักสูตรนี่จะพิเศษกว่าหลักสูตรอื่นตรงที่ มีการหยิบยกเอาตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงมาเป็น case study ท่านอาจารย์ต่างๆก็สอนจากปรสบการณ์ ซึ่งไม่สามารถหาเรียนได้จากที่ไหน ท้ายที่สุดก็เป็นการให้ ผู้เข้าอบรมได้ทำ course work ได้ใช้ความรู้ที่ได้อบรมมาใช้ในการวิเคราะห์หุ้นจริงๆ แล้วก็ออกมา present ให้บรรดาอาจารย์และผู้ร่วมอบรมฟัง สำหรับผมแล้วผมคิดว่าส่วนนี้มีประโยชน์กับผมมากที่สุด เพราะเราจะได้รู้ตัวว่าการวิเคราะห์ของเรายังขาดอะไรไปบ้าง ยังมีอะไรที่ต้องดูเพิ่มเติมบ้าง ได้เรียนรู้ว่าบรรดาคนเก่งๆ เซียนๆ เค้าคิด เค้าทำยังไง ในการวิเคราะห์หุ้นตัวหนึ่ง
ตัวอย่างของทัศนคติที่เปลี่ยนไปหลังหลักสูตรนี้: ผมได้ปรับเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าหุ้น แต่ก่อนเวลาจะประเมินมูลค่าของหุ้นตัวหนึ่งๆ ผมมักจะพยายามหาวิธีที่สามารถประเมินมูลค่าที่แท้จริงได้ใกล้เคียงมากที่สุด พยายามหาวิธี หรือหา model ที่ดีที่สุดที่สามารถใช้ในการประเมินหุ้นได้ทุกตัว แต่จริงๆแล้ววิธีการประเมินมูลค่า มันเป็นเพียงแค่เครื่องมือ มันไม่มี model ที่ดีที่สุดที่สามารถใช้ได้กับหุ้นทุกตัว model หนึ่งๆอาจจะเหมาะสมสำหรับหุ้นประเภทหนึ่ง แต่อาจจะไม่เหมาะสมกับหุ้นอีกประเภทหนึ่ง การประเมินมูลค่าที่แท้จริง จริงๆแล้วเป็นการสร้างมูลค่าที่น่าจะเป็นภายในใจเรา เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในใจเราว่า มูลค่าของบริษัทน่าจะมีค่าประมาณนี้ โดยวิธีการต่างๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่มีใครสามารถหามูลค่าที่แท้จริงของบริษัทออกมาได้ เพราะว่า บริษัทนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา (แต่เปลี่ยนแปลงน้อยกว่าราคาหุ้นเยอะ) นั้นถ้าให้นักลงทุนสองคนใช้ model ในการประเมินมูลค่าเดียวกัน ก็จะได้มูลค่าที่แท้จริงของบริษัทที่แตกต่างกันออกมา มูลค่าที่แท้จริงของบริษัทนั้นไม่ใช้จุด แต่เป็นช่วงของมูลค่า ดังนั้นเราจึงต้องมีอีกแนวคิดหนึ่งมาช่วย นั้นก็คือ Margin of Safety หรือ ส่วนเผื่อความปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงจากการที่มูลค่าของบริษัทนั้นมีค่าเป็นช่วง เป็นส่วนเผื่อสำหรับความไม่แน่นอนและความผิดพลาดในการประเมินมูลค่าบริษัทของเรา ทัศนคติเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าและ Margin of Safety เป็นแนวคิดที่สำคัญมาก แต่นักลงทุนมือใหม่ (รวมถึงผมด้วย) มักจะละเลยไม่ใส่ใจ เลยทำให้ไม่สามารถอยู่นิ่งๆในตลาดหุ้นได้ เพราะถ้าเราสามารถสร้างมูลค่าที่แท้ของบริษัทในใจเราได้ และเราเชื่อมั่นในมูลค่านั้น ราคาหุ้นจะไม่มีความหมายสำหรับเราเลย ราคาจะกลายเป็นเพียงตัวอ้างอิง เป็น Reference เพื่อจะบอกถึงผลตอบแทนและความเสี่ยงเมื่อเราซื้อหุ้นนั้น
นี่เป็นข้อคิดส่วนตัวของผมหลังจากที่ลงทุนมาได้ประมาณ 2 ปี ที่อยากจะฝากถึง พี่ๆเพื่อนๆ นักลงทุน
“อย่าลงทุนในหุ้น เพียงหวังที่จะรวย เพราะคุณจะจนลง จงลงทุนของหุ้น เพราะคุณรักและสนุกกับการลงทุน การลงทุนในหุ้นนั้น ไม่ใช่แค่ ซื้อ ถือ แล้วก็ขาย มันมีอะไรที่มากกว่านั้น(ซึ่งก็ขึ้นอยูเกับแต่ละคน)”
สุดท้ายนี้ผมก็ขอขอบคุณ สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) ที่จัดหลักสูตรที่ดีๆนี้
ขอบคุณท่านอาจารย์ไพบูลย์ ที่มอบโอกาสที่แสนพิเศษในการไปอัดรายการ Money Talk และท่านอาจารย์นิเวศน์ ผู้ที่วางรากฐานการลงทุนเน้นคุณค่าในประเทศไทย และทำให้ผมค้นพบกิจกรรมที่แสนสนุก และยังสามารถทำเงินได้อีกด้วย
ปล. จริงๆแล้วผมยังมีอะไรที่จะเล่าที่จะแชร์อีกเยอะไว้วันหลังจะมาเล่าให้ฟังนะครับ
N.Pittayaporn
จุดเริ่มต้นของเรื่องราวการก้าวเข้ามาบนเส้นทางที่เรียกว่า VI (Value Investor): กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว (จริงๆก็ไม่ได้นานมากประมาณ 2 ปีครึ่ง) ตลอดเวลา 22 ปีที่ผ่านมาผมไม่เคยสนใจเกี่ยวกับการลงทุนเลย แต่ในชีวิตคนเราก็มีจุดเปลี่ยนอยู่มากมาย ซึ่งของผมก็เป็นการที่เพื่อนคนหนึ่งได้หยิบเอาหนังสือเล่มหนึ่งให้ผมอ่าน หนังสือที่เป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมด "Rich Dad Poor Dad" คือชื่อของหนังสือเล่มนั้น Passive Income และ Financial Freedom คือแนวคิดที่การจุดประกายให้ผมเริ่มสนใจเกี่ยวกับการลงทุน ซึ่งมันทำให้ผมนึกถึงเรื่องราวตอนที่อยู่ ม. 6 เคยมีรุ่นน้องที่โรงเรียนถามผมว่า ระหว่าง "ทำในสิ่งที่รัก กับรักในสิ่งที่ทำจะเลือกอย่างไหน?" ผมก็ตอบไปว่า "ก็ต้องทำในสิ่งที่เรารักสิ เพราะมีไม่กี่คนหรอกที่จะสามารถรักในงานที่เค้าทำอยู่ได้ ถ้าไม่ได้เริ่มจากการทำงานที่เขารัก" แล้วรุ่นน้องคนนั้นก็ถามต่อว่า "แต่ถ้าเราเลือกทำในสิ่งที่เรารักแต่มันเป็นงานที่ไม่ค่อยจะทำเงินละจะทำยังไง?" ซึ่งคำถามนี้ผมจำได้ว่าผมไม่สามารถตอบรุ่นน้องคนนั้นได้ แค่หลังจากได้ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับ Passive Income และ Financial Freedom ผมก็บอกกับตัวเองว่านี่ละคำตอบของคำถามนั้น สำหรับผม Financial Freedom ไม่ใช่การที่เรามีเงินมากพอจนเราสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องทำงาน แต่เป็นการที่เรามีเงินมากพอจนเราไม่ต้องคิดมากเรื่องเงิน คือเราสามารถทำงานที่เรารัก ทำงานกับคนที่เราอยากที่จะทำงานด้วย โดยไม่ต้องแคร์เรื่องเงินเดือน หลังจากนั้นผมก็มาศึกษาหาดูว่าเราสามารถสามารถสร้าง Passive Income จากที่ใดได้บ้าง ซึ่งในตอนนั้นผมก็ได้อ่านหนังสืออีกเล่มที่พาผมเข้าสู่เส้นทางการลงทุน หนังสือเล่มนั้นก็คือ “The Classic Guild Learn to Earn” หลังจากอ่านหนังสือศึกษาเกี่ยวกับการลงทุนอยู่ซักพัก(ประมาณครึ่งปี) ก็ได้มีโอกาสได้เริ่มลงทุนลงจริงๆในตลาดหุ้น ผ่านโครงการ KS Young Turk Investor 3.3 ของธนาคารกสิกรไทย ซึ่งเป็นการเรียนผ่าน Facebook หลังจากที่กระโดดเข้ามาในตลาดหุ้น ช่วงแรกๆผมก็ลงทุนแบบมั่วไปซักประมาณ 1 อาทิตย์ ซึ่งใน 1 อาทิตย์นั้นไม่เป็นอันเรียนเลย เพราะว่าค่อยแต่นั่ง check ดูราคาหุ้นตลอด ก็เลยมานั่งคุยกับตัวเองว่ามันไม่สนุกแล้วนะถ้ายังเล่นหุ้นแบบนี้ ก็เลยไปหยิบเอาหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนเก่าๆมานั่งอ่านซ้ำ แล้วก็เลยลองลงทุนแบบเน้นคุณค่าดู ปรากฏว่า หลังจากลงทุนแนวเน้นคุณค่าไปได้ซักพักก็รู้ว่า “นี่ละการลงทุนที่เราตามหา” เพราะผมสนุกกับกระบวนการของการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ผมสนุกกับการวิเคราะห์บริษัท การอ่านงบการเงิน และการติดตามเรื่องราวของบริษัท นับจากวันนั้นผมก็ยึดแนวการลงทุนแนวนี้มาตลอด พยายามศึกษาหาความรู้มาโดยตลอด จนได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมหลักสูตรการลงทุนเน้นคุณค่าของสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า(ประเทศไทย) ซึ่งผมคงไม่ต้องบรรยายว่าหลักสูตรนี่ดียังไง เพราะตอนเปิดจองภายใน 1 วินาที ก็เต็มแล้ว
หลักสูตรนี่ให้อะไรกับผมบ้าง: สำหรับผมสิ่งที่ได้จากหลักสูตรนี่หลักๆก็คงเป็น หลักการ และทัศนคติของการลงทุนเน้นคุณค่า หลักสูตรนี่ได้สร้างแก่นหรือแกนการลงทุนให้กับผม มันก็เหมือนกับ นักเดินทางได้เข็มทิศ แต่เข็มทิศนี่ไม่ได้ชี้ไปที่ทิศเหนือ แต่มันชี้ไปที่สิ่งที่เราปรารถนา (เหมือนกับเข็มทิศของกัปตันแจ็ค ในเรื่อง Pirates of the Caribbean) จริงๆ สำหรับวิธีการในการลงทุนเราก็สามารถศึกษาได้จากหนังสือต่างๆหรือหลักสูตรสัมนาอื่น แต่ในหลักสูตรนี่จะพิเศษกว่าหลักสูตรอื่นตรงที่ มีการหยิบยกเอาตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงมาเป็น case study ท่านอาจารย์ต่างๆก็สอนจากปรสบการณ์ ซึ่งไม่สามารถหาเรียนได้จากที่ไหน ท้ายที่สุดก็เป็นการให้ ผู้เข้าอบรมได้ทำ course work ได้ใช้ความรู้ที่ได้อบรมมาใช้ในการวิเคราะห์หุ้นจริงๆ แล้วก็ออกมา present ให้บรรดาอาจารย์และผู้ร่วมอบรมฟัง สำหรับผมแล้วผมคิดว่าส่วนนี้มีประโยชน์กับผมมากที่สุด เพราะเราจะได้รู้ตัวว่าการวิเคราะห์ของเรายังขาดอะไรไปบ้าง ยังมีอะไรที่ต้องดูเพิ่มเติมบ้าง ได้เรียนรู้ว่าบรรดาคนเก่งๆ เซียนๆ เค้าคิด เค้าทำยังไง ในการวิเคราะห์หุ้นตัวหนึ่ง
ตัวอย่างของทัศนคติที่เปลี่ยนไปหลังหลักสูตรนี้: ผมได้ปรับเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าหุ้น แต่ก่อนเวลาจะประเมินมูลค่าของหุ้นตัวหนึ่งๆ ผมมักจะพยายามหาวิธีที่สามารถประเมินมูลค่าที่แท้จริงได้ใกล้เคียงมากที่สุด พยายามหาวิธี หรือหา model ที่ดีที่สุดที่สามารถใช้ในการประเมินหุ้นได้ทุกตัว แต่จริงๆแล้ววิธีการประเมินมูลค่า มันเป็นเพียงแค่เครื่องมือ มันไม่มี model ที่ดีที่สุดที่สามารถใช้ได้กับหุ้นทุกตัว model หนึ่งๆอาจจะเหมาะสมสำหรับหุ้นประเภทหนึ่ง แต่อาจจะไม่เหมาะสมกับหุ้นอีกประเภทหนึ่ง การประเมินมูลค่าที่แท้จริง จริงๆแล้วเป็นการสร้างมูลค่าที่น่าจะเป็นภายในใจเรา เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในใจเราว่า มูลค่าของบริษัทน่าจะมีค่าประมาณนี้ โดยวิธีการต่างๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่มีใครสามารถหามูลค่าที่แท้จริงของบริษัทออกมาได้ เพราะว่า บริษัทนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา (แต่เปลี่ยนแปลงน้อยกว่าราคาหุ้นเยอะ) นั้นถ้าให้นักลงทุนสองคนใช้ model ในการประเมินมูลค่าเดียวกัน ก็จะได้มูลค่าที่แท้จริงของบริษัทที่แตกต่างกันออกมา มูลค่าที่แท้จริงของบริษัทนั้นไม่ใช้จุด แต่เป็นช่วงของมูลค่า ดังนั้นเราจึงต้องมีอีกแนวคิดหนึ่งมาช่วย นั้นก็คือ Margin of Safety หรือ ส่วนเผื่อความปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงจากการที่มูลค่าของบริษัทนั้นมีค่าเป็นช่วง เป็นส่วนเผื่อสำหรับความไม่แน่นอนและความผิดพลาดในการประเมินมูลค่าบริษัทของเรา ทัศนคติเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าและ Margin of Safety เป็นแนวคิดที่สำคัญมาก แต่นักลงทุนมือใหม่ (รวมถึงผมด้วย) มักจะละเลยไม่ใส่ใจ เลยทำให้ไม่สามารถอยู่นิ่งๆในตลาดหุ้นได้ เพราะถ้าเราสามารถสร้างมูลค่าที่แท้ของบริษัทในใจเราได้ และเราเชื่อมั่นในมูลค่านั้น ราคาหุ้นจะไม่มีความหมายสำหรับเราเลย ราคาจะกลายเป็นเพียงตัวอ้างอิง เป็น Reference เพื่อจะบอกถึงผลตอบแทนและความเสี่ยงเมื่อเราซื้อหุ้นนั้น
นี่เป็นข้อคิดส่วนตัวของผมหลังจากที่ลงทุนมาได้ประมาณ 2 ปี ที่อยากจะฝากถึง พี่ๆเพื่อนๆ นักลงทุน
“อย่าลงทุนในหุ้น เพียงหวังที่จะรวย เพราะคุณจะจนลง จงลงทุนของหุ้น เพราะคุณรักและสนุกกับการลงทุน การลงทุนในหุ้นนั้น ไม่ใช่แค่ ซื้อ ถือ แล้วก็ขาย มันมีอะไรที่มากกว่านั้น(ซึ่งก็ขึ้นอยูเกับแต่ละคน)”
สุดท้ายนี้ผมก็ขอขอบคุณ สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) ที่จัดหลักสูตรที่ดีๆนี้
ขอบคุณท่านอาจารย์ไพบูลย์ ที่มอบโอกาสที่แสนพิเศษในการไปอัดรายการ Money Talk และท่านอาจารย์นิเวศน์ ผู้ที่วางรากฐานการลงทุนเน้นคุณค่าในประเทศไทย และทำให้ผมค้นพบกิจกรรมที่แสนสนุก และยังสามารถทำเงินได้อีกด้วย
ปล. จริงๆแล้วผมยังมีอะไรที่จะเล่าที่จะแชร์อีกเยอะไว้วันหลังจะมาเล่าให้ฟังนะครับ
N.Pittayaporn
"ผมไม่ได้ลงทุนในหุ้นเพียงเพราะว่าผมต้องการเงินมากมาย
แต่มันเป็นความสนุกในการค้นหาบริษัทชั้นเยี่ยม
เฝ้าดูมันเติบโต และทำเงินให้เรา"
"เบื้องหลังของด้านหลัง ก็คือ ด้านหน้า"
แต่มันเป็นความสนุกในการค้นหาบริษัทชั้นเยี่ยม
เฝ้าดูมันเติบโต และทำเงินให้เรา"
"เบื้องหลังของด้านหลัง ก็คือ ด้านหน้า"
- SI Freedom
- Verified User
- โพสต์: 161
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ก้าวเล็กๆบนเส้นทาง VI (บันทึกกันลืม)
โพสต์ที่ 2
แนวคิดเริ่มต้นดีครับ
ปล. ชื่อ login แอบน่ากลัวนะครับ
ปล. ชื่อ login แอบน่ากลัวนะครับ
เพราะแสวงหา..มิใช่เพราะรอคอย เพราะเชี่ยวชาญ..มิใช่เพราะโอกาส
เพราะสามารถ..มิใช่เพราะโชคช่วย ดังนี้แล้ว ลิขิตฟ้า หรือจะสู้ มานะตน
เพราะสามารถ..มิใช่เพราะโชคช่วย ดังนี้แล้ว ลิขิตฟ้า หรือจะสู้ มานะตน
- Linzhi
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1464
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ก้าวเล็กๆบนเส้นทาง VI (บันทึกกันลืม)
โพสต์ที่ 3
คิดถึงว่าผมก็เริ่มต้นอายุอานามประมาณนี้ เท่าที่อ่านดู ก้าวเล็ก ๆ ของน้อง ReRedrum น่าจะไปเร็วเลยทีเดียว
ขอให้ประสบความสำเร็จในระยะยาวนะครับ
ขอให้ประสบความสำเร็จในระยะยาวนะครับ
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
There is no secret ingredient. It's just you.
-
- Verified User
- โพสต์: 198
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ก้าวเล็กๆบนเส้นทาง VI (บันทึกกันลืม)
โพสต์ที่ 4
ขอบคุณมากครับ พี่ Linzhi จริงๆแล้วผมไม่ค่อยชอบกก้าวเร็วๆเท่าไร เพราะผมชอบที่จะก้าวไปอย่างช้าๆ สนุกไปกับกระบวนการ โดยที่ผลลัพธ์ยังน่าพอใจอยู่Linzhi เขียน:คิดถึงว่าผมก็เริ่มต้นอายุอานามประมาณนี้ เท่าที่อ่านดู ก้าวเล็ก ๆ ของน้อง ReRedrum น่าจะไปเร็วเลยทีเดียว
ขอให้ประสบความสำเร็จในระยะยาวนะครับ
มันก็เหมือนกับการเดินขึ้นเขา บางคนก็ชอบที่จะไปถึงยอดเขาอย่างรวดเร็ว (อาจจะเป็นเพราะเขามีเวลาไม่มาก) ส่วนบางคนก็อาจจะชอบที่จะเดินไปเรื่อยๆ ชมนกชมไม้ ชื่นชมบรรยายกาศรอบๆ ถึงแม้สองวิธีการจะต่างกัน แต่ผลลัพธ์ก็เหมือนกันคือ ถึงยอดเขาเหมือนกัน ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับความชอบ จุดมุ่งหมาย และข้อจำกัดของแต่ละคน
"ผมไม่ได้ลงทุนในหุ้นเพียงเพราะว่าผมต้องการเงินมากมาย
แต่มันเป็นความสนุกในการค้นหาบริษัทชั้นเยี่ยม
เฝ้าดูมันเติบโต และทำเงินให้เรา"
"เบื้องหลังของด้านหลัง ก็คือ ด้านหน้า"
แต่มันเป็นความสนุกในการค้นหาบริษัทชั้นเยี่ยม
เฝ้าดูมันเติบโต และทำเงินให้เรา"
"เบื้องหลังของด้านหลัง ก็คือ ด้านหน้า"
-
- Verified User
- โพสต์: 198
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ก้าวเล็กๆบนเส้นทาง VI (บันทึกกันลืม)
โพสต์ที่ 7
วันนี้จะขอแชร์เกี่ยวกับข้อผิดพลาดในการลงทุนของผมก็แล้วกันครับ
ซึ่งของผิดพลาดข้อนี้ยังแก้ไม่หายเสียที ทำได้มากทีสุดก็คือคอยเตือนตัวเองอยู่เสมอๆ
ข้อผิดพลาดนั้นก็คือ "ความมั่นใจในตัวเองจนเกินไป (Overconfidence)"
จริงๆแล้วสาเหตุของ Overconfidence นั่นเกิดได้หลากหลายสาเหตุมากๆ โดยส่วนตัวสำหรับผมแล้ว สาเหตุหลักๆจะเกิดจาก "ภาพลวงความรู้" กับ "ภาพลวงจากความสำเร็จ"
"ภาพลวงความรู้" นั้นเป็นแนวโน้มที่คนเราจะรู้สึกว่าตัวเองมีทักษะที่สูงขึ้น, เก่งขึ้น หรือสามารถวิเคราะห์และคาดการณ์แนวโน้มต่างๆได้ดีขึ้นเนื่องจากมีข้อมูลมากขึ้น จนสามารถสรุปอะไรออกมาก็ได้ ถึงแม้มันจะดูไร้เหตุผลแค่ไหนก็ตาม
ต้องขอบคุณอินเตอร์เน็ตที่ทำให้ทุกวันนี้เราอยู่ในภาวะความรู้ท่วมหัว เราสามารถหาข้อมูลของบริษัทต่างๆได้อย่างมากมายมหาศาล จนเราคิดว่าไม่เสียเปรียบนักลงทุนคนอื่นๆ หรือบ้างครั้งอาจจะคิดว่ามีแต้มต่ออีกต่างหาก ซึ่งจริงๆแล้วการที่เรามีข้อมูลที่มากมายนั้นไม่สำคัญเท่า การที่เราสามารถตีความข้อมูลที่มีอยู่ได้หรือเปล่า
ในตอนที่เริ่มลงทุนใหม่ๆ ผมเคยลงทุนในหุ้นปิโตรเคมีตัว ด้วยความที่เรียนจบวิศวกรรมเคมีมา พวกผลิตภัณฑ์เคมีต่างๆก็เคยเห็นมาก็มากแล้ว กระบวนการผลิตก็พอจะรู้จักอยู่ ก็เลยคิดเองเออเองว่า เราน่าจะลงทุนในหุ้นปิโตรเคมีได้ ประกอบกับหลังจากที่ซื้อไปแล้วราคาหุ้นก็ขึ้นด้วย เลยยิ่งมีความมั่นใจมากขึ้นไปอีกว่า หุ้นปิโตรที่ใครว่ายากนักยากหนาสำหรับเราแล้วก็จิ๊บๆ ซึ่งในตอนนั้นไม่ได้ก็ไม่ได้ศึกษาและติดตามเกี่ยวกับค่า สเปรด ที่เป็นหัวใจสำคัญของการลงทุนในหุ้นปิโตรเคมี หลังจากที่ยิ้มกับราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นได้ไปนานราคามันก็เริ่มไหลลง ในตอนแรกก็พยายามบอกตัวเองว่าเป็นแค่แรงเหวี่ยงของตลอดเท่านั้น เดี่ยวราคามันก็กลับขึ้นมาได้เอง แต่ยิ่งถือราคามันยิ่งสะวันเตี้ยลง เตี้ยลงทุกๆวัน จนในที่สุดก็ต้องติดสินใจขายไป ยังโชคดีที่ตอนที่ขายไม่ขาดทุน ในตลอดหลังก็มีพวกบทวิเคราะห์และข้อมูลต่างๆออกมาบอกว่าที่ราคามันลงเป็นเพราะค่า สเปรดลดลงและมีแนวโน้มที่จะลดลงมากกว่านี้อีก
จากความผิดพลาดในครั้งนี้ผมก็ได้ทัศนคติเกี่ยวกับการลงทุนมาเช่น "การที่เรารู้ กับการที่เราเข้าใจ มันคนละเรื่องกัน", "การมีข้อมูลมหาศาลนั้นไม่สำคัญเท่าการที่เราสามารถวิเคราะห์และตีความข้อมูลที่มีอยู่ได้ดีแค่ไหน" และ "การที่หุ้นที่เราซื้อมีราคาเพิ่มขึ้น (ในระยะสั้น) มันไม่ได้บอกว่าเราวิเคราะห์ได้ถูกต้อง มันบอกเพียงแค่ว่ามีคน (Mr. Market) ยิ่งดีที่จะซื้อหุ้นในราคาที่สูงกว่าเราก็แค่นั้น"
ซึ่งของผิดพลาดข้อนี้ยังแก้ไม่หายเสียที ทำได้มากทีสุดก็คือคอยเตือนตัวเองอยู่เสมอๆ
ข้อผิดพลาดนั้นก็คือ "ความมั่นใจในตัวเองจนเกินไป (Overconfidence)"
จริงๆแล้วสาเหตุของ Overconfidence นั่นเกิดได้หลากหลายสาเหตุมากๆ โดยส่วนตัวสำหรับผมแล้ว สาเหตุหลักๆจะเกิดจาก "ภาพลวงความรู้" กับ "ภาพลวงจากความสำเร็จ"
"ภาพลวงความรู้" นั้นเป็นแนวโน้มที่คนเราจะรู้สึกว่าตัวเองมีทักษะที่สูงขึ้น, เก่งขึ้น หรือสามารถวิเคราะห์และคาดการณ์แนวโน้มต่างๆได้ดีขึ้นเนื่องจากมีข้อมูลมากขึ้น จนสามารถสรุปอะไรออกมาก็ได้ ถึงแม้มันจะดูไร้เหตุผลแค่ไหนก็ตาม
ต้องขอบคุณอินเตอร์เน็ตที่ทำให้ทุกวันนี้เราอยู่ในภาวะความรู้ท่วมหัว เราสามารถหาข้อมูลของบริษัทต่างๆได้อย่างมากมายมหาศาล จนเราคิดว่าไม่เสียเปรียบนักลงทุนคนอื่นๆ หรือบ้างครั้งอาจจะคิดว่ามีแต้มต่ออีกต่างหาก ซึ่งจริงๆแล้วการที่เรามีข้อมูลที่มากมายนั้นไม่สำคัญเท่า การที่เราสามารถตีความข้อมูลที่มีอยู่ได้หรือเปล่า
ในตอนที่เริ่มลงทุนใหม่ๆ ผมเคยลงทุนในหุ้นปิโตรเคมีตัว ด้วยความที่เรียนจบวิศวกรรมเคมีมา พวกผลิตภัณฑ์เคมีต่างๆก็เคยเห็นมาก็มากแล้ว กระบวนการผลิตก็พอจะรู้จักอยู่ ก็เลยคิดเองเออเองว่า เราน่าจะลงทุนในหุ้นปิโตรเคมีได้ ประกอบกับหลังจากที่ซื้อไปแล้วราคาหุ้นก็ขึ้นด้วย เลยยิ่งมีความมั่นใจมากขึ้นไปอีกว่า หุ้นปิโตรที่ใครว่ายากนักยากหนาสำหรับเราแล้วก็จิ๊บๆ ซึ่งในตอนนั้นไม่ได้ก็ไม่ได้ศึกษาและติดตามเกี่ยวกับค่า สเปรด ที่เป็นหัวใจสำคัญของการลงทุนในหุ้นปิโตรเคมี หลังจากที่ยิ้มกับราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นได้ไปนานราคามันก็เริ่มไหลลง ในตอนแรกก็พยายามบอกตัวเองว่าเป็นแค่แรงเหวี่ยงของตลอดเท่านั้น เดี่ยวราคามันก็กลับขึ้นมาได้เอง แต่ยิ่งถือราคามันยิ่งสะวันเตี้ยลง เตี้ยลงทุกๆวัน จนในที่สุดก็ต้องติดสินใจขายไป ยังโชคดีที่ตอนที่ขายไม่ขาดทุน ในตลอดหลังก็มีพวกบทวิเคราะห์และข้อมูลต่างๆออกมาบอกว่าที่ราคามันลงเป็นเพราะค่า สเปรดลดลงและมีแนวโน้มที่จะลดลงมากกว่านี้อีก
จากความผิดพลาดในครั้งนี้ผมก็ได้ทัศนคติเกี่ยวกับการลงทุนมาเช่น "การที่เรารู้ กับการที่เราเข้าใจ มันคนละเรื่องกัน", "การมีข้อมูลมหาศาลนั้นไม่สำคัญเท่าการที่เราสามารถวิเคราะห์และตีความข้อมูลที่มีอยู่ได้ดีแค่ไหน" และ "การที่หุ้นที่เราซื้อมีราคาเพิ่มขึ้น (ในระยะสั้น) มันไม่ได้บอกว่าเราวิเคราะห์ได้ถูกต้อง มันบอกเพียงแค่ว่ามีคน (Mr. Market) ยิ่งดีที่จะซื้อหุ้นในราคาที่สูงกว่าเราก็แค่นั้น"
"ผมไม่ได้ลงทุนในหุ้นเพียงเพราะว่าผมต้องการเงินมากมาย
แต่มันเป็นความสนุกในการค้นหาบริษัทชั้นเยี่ยม
เฝ้าดูมันเติบโต และทำเงินให้เรา"
"เบื้องหลังของด้านหลัง ก็คือ ด้านหน้า"
แต่มันเป็นความสนุกในการค้นหาบริษัทชั้นเยี่ยม
เฝ้าดูมันเติบโต และทำเงินให้เรา"
"เบื้องหลังของด้านหลัง ก็คือ ด้านหน้า"
-
- Verified User
- โพสต์: 28
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ก้าวเล็กๆบนเส้นทาง VI (บันทึกกันลืม)
โพสต์ที่ 8
มีโอกาสนั่งทานข้าวโต๊ะเดียวกันตอนเที่ยงสองครั้ง น้อง Reredrum คุยสนุก พูดชัดเจนตรงประเด็น ตอน วิเคราะห์หุ้นให้ฟัง
ผมกำลังฝึกหัด ขอเป็นผู้ติดตาม และคำชี้แนะด้วยนะครับ
ผมกำลังฝึกหัด ขอเป็นผู้ติดตาม และคำชี้แนะด้วยนะครับ
ศิษย์สำนักรุ่น 4.
-
- Verified User
- โพสต์: 198
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ก้าวเล็กๆบนเส้นทาง VI (บันทึกกันลืม)
โพสต์ที่ 10
"ภาพลวงจากความสำเร็จ"
"ภาพลวงจากความสำเร็จ" เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของอาการ Overconfidence ที่ส่วนตัวผมถือว่าอันตรายมาก
และยิ่งอันตรายมากๆ สำหรับคนที่เพิ่งเข้ามาลงทุนประมาณ 2 ถึง 3 ปี ที่ผ่านมานี้ เพราะตลาดอยู่ในช่วงขาขี้น (กระทิง)
ทำให้ไม่ว่าจะเข้าไปลงทุนตัวไหนหุ้นก็ขึ้นหมด (ส่วนใหญ่นะครับ) นักลงทุนได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ จะเกิดกระแสออกจากงานประจำแล้วมานั่งเล่นหุ้นเพียงอย่างเดียวขึ้นมามากมาย กลุ่มคนที่ไม่เคยลงทุนในหุ้น พอเห็นคนรู้จักที่เล่นหุ้นอยู่ แล้วได้กำไรเป็นกอบเป็นกำไร ก็คันไม้คันมืออยากลองเล่นดูบาง ซึ่งประสบการณ์แบบนี้ผมก็เคยประสบมาด้วยตนเอง
ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ผมได้รับโทรศัพท์จากเพื่อนเก่าสมัยเรียนมัธยม โดยปกติร้อยวันพันปีมันไม่เคยโทรมาหา เพราะส่วนมากจะคุยกันใน Facebook หลังจากคุยถามสาระทุกสุกดิบกันพอเป็นพิธี มันก็เริ่มเข้าเรื่อง โดยบอกผมว่า ตอนนี้ มีเงินเย็นอยู่ก้อนหนึ่ง อยากเล่นหุ้น แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไง ก็เลยโทรมาถามผม ผมก็เลยบอกว่าในเอาเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนซื้อหนังสือมาอ่านก่อนจะดีกว่า แต่พอหลังจากช่วงที่ดัชนีลงแรงๆ เพื่อนคนนี้ก็ไม่เคยคุยเรื่องลงทุนกับผมอีกเลย
หลังจากบ่นมาซักพัก ก็ขอเข้าเรื่องต่อดีกว่า เนื้อหาข้างล่างนี้ ผมเอามาจากหนังสือ จิตวิทยาการการลงทุน ที่พี่ Web ได้แปลไว้
"ความสำเร็จในอดีตเป็นตัวก่อให้เกิดความมั่นใจในตัวเองสูงจนเกินขนาด หากการตัดสินใจลงทุนหนึ่งๆออกมาดี นักลงทุนจะมองว่ามันเกิดจากทักษะและความสามารถ ในทางกลับกัน หากการตัดสินใจลงทุนให้ผลลัพธ์แย่ๆออกมา พวกเขาจะมองไปว่ามันเกิดจากโชคร้าย ยิ่งพวกเขาประสบความสำเร็จมากครั้งขึ้นเท่าไร พวกเขาก็จะยิ่งมองว่า ความสำเร็จเหล่านั้นเกิดจากความสามารถของพวกเขาเองมากขึ้นเท่านั้น แม้ว่าจริงๆแล้วบางครั้งมันจะเป็นเรื่องของโชคก็ตาม"
ในช่วงที่เป็นตลาดกระทิง นักลงทุนจำนวนมากจะรู้สึกว่าตัวเองนั้นเก่งขึ้น เพราะในช่วงที่ผ่านมาทำผลตอบแทนได้สูงมาก เลยคิดว่าตัวเองนั้นเก่งแล้ว เซียนแล้ว คิดว่าผลตอบแทนที่ทำได้นี้ จะสามารถทำได้ไปเรื่อยๆ (คนเรามีแนวโน้มที่จะเชื่อว่าเหตุการณ์หนึ่งๆที่เกิดซ้ำๆในระดับหนึ่ง จะเกิดต่อไปเรื่อยๆ) ทำให้เกิด Overconfidence มากขึ้น จนลืมมองภาพใหญ่ว่า ตลาดหุ้นนั้นโดยเฉลี่ยจะให้ผลตอบแทนประมาณ 10% ต่อปีเท่านั้น พอคนเรา Overconfidence มากขึ้น ก็มักจะทำอะไรที่เสี่ยงๆมากขึ้น เช่น ลงทุนในหุ้นที่ตัวเองรู้จักไม่ดีพอ ทำการวิเคราะห์หุ้นอย่างลวกๆเพราะไอ้ตัวที่ผ่านมาก็ทำง่ายๆแบบนี้แล้วก็ได้กำไรมาพอสมควร หรือแม้แต่การเล่น Margin แต่พอตลาดเปลี่ยนไปเป็นตลาดหมี ไม่ต้องบอกก็รู้ว่านีกลงทุนที่ทำอะไรเสี่ยงๆอย่างนี้จะเป็นยังไง
ทั้งหมดที่ร่ายยาวมากมาย ถ้าสรุปสั้นๆ ก็คือ อาการ Overconfidence นั้นสามารถเกิดได้กับนักลงทุนทุกคน ซึ่งเราไม่สามารถห้ามมันได้ ดังนั้นสิ่งที่เราสามารถทำได้ก็คือ การคอยเตือนตัวเองว่า อย่าลงระเริงไปกับความสำเร็จ คอยสำรวจตัวเองดูว่าตอนนี้เราเหลิงไปหรือเปล่า และต้องเผื่อใจไว้สำหรับความผิดพลาด รู้จักยอมรับความผิดพลาดของตัวเอง อย่าไปโทษว่าเป็นเพราะโชคร้าย ผิดพลาดแล้วไม่ใช่แค่แก่ไข แต่ต้องรู้ด้วยว่า เราผิดพลาดตรงไหน จากนั้นก็จดมันเอาไว้ จำไว้อย่าได้ลืม เพื่อที่ในอนาคตจะได้ไม่ผิดพลาดซ้ำเดิมอีก
"ภาพลวงจากความสำเร็จ" เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของอาการ Overconfidence ที่ส่วนตัวผมถือว่าอันตรายมาก
และยิ่งอันตรายมากๆ สำหรับคนที่เพิ่งเข้ามาลงทุนประมาณ 2 ถึง 3 ปี ที่ผ่านมานี้ เพราะตลาดอยู่ในช่วงขาขี้น (กระทิง)
ทำให้ไม่ว่าจะเข้าไปลงทุนตัวไหนหุ้นก็ขึ้นหมด (ส่วนใหญ่นะครับ) นักลงทุนได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ จะเกิดกระแสออกจากงานประจำแล้วมานั่งเล่นหุ้นเพียงอย่างเดียวขึ้นมามากมาย กลุ่มคนที่ไม่เคยลงทุนในหุ้น พอเห็นคนรู้จักที่เล่นหุ้นอยู่ แล้วได้กำไรเป็นกอบเป็นกำไร ก็คันไม้คันมืออยากลองเล่นดูบาง ซึ่งประสบการณ์แบบนี้ผมก็เคยประสบมาด้วยตนเอง
ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ผมได้รับโทรศัพท์จากเพื่อนเก่าสมัยเรียนมัธยม โดยปกติร้อยวันพันปีมันไม่เคยโทรมาหา เพราะส่วนมากจะคุยกันใน Facebook หลังจากคุยถามสาระทุกสุกดิบกันพอเป็นพิธี มันก็เริ่มเข้าเรื่อง โดยบอกผมว่า ตอนนี้ มีเงินเย็นอยู่ก้อนหนึ่ง อยากเล่นหุ้น แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไง ก็เลยโทรมาถามผม ผมก็เลยบอกว่าในเอาเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนซื้อหนังสือมาอ่านก่อนจะดีกว่า แต่พอหลังจากช่วงที่ดัชนีลงแรงๆ เพื่อนคนนี้ก็ไม่เคยคุยเรื่องลงทุนกับผมอีกเลย
หลังจากบ่นมาซักพัก ก็ขอเข้าเรื่องต่อดีกว่า เนื้อหาข้างล่างนี้ ผมเอามาจากหนังสือ จิตวิทยาการการลงทุน ที่พี่ Web ได้แปลไว้
"ความสำเร็จในอดีตเป็นตัวก่อให้เกิดความมั่นใจในตัวเองสูงจนเกินขนาด หากการตัดสินใจลงทุนหนึ่งๆออกมาดี นักลงทุนจะมองว่ามันเกิดจากทักษะและความสามารถ ในทางกลับกัน หากการตัดสินใจลงทุนให้ผลลัพธ์แย่ๆออกมา พวกเขาจะมองไปว่ามันเกิดจากโชคร้าย ยิ่งพวกเขาประสบความสำเร็จมากครั้งขึ้นเท่าไร พวกเขาก็จะยิ่งมองว่า ความสำเร็จเหล่านั้นเกิดจากความสามารถของพวกเขาเองมากขึ้นเท่านั้น แม้ว่าจริงๆแล้วบางครั้งมันจะเป็นเรื่องของโชคก็ตาม"
ในช่วงที่เป็นตลาดกระทิง นักลงทุนจำนวนมากจะรู้สึกว่าตัวเองนั้นเก่งขึ้น เพราะในช่วงที่ผ่านมาทำผลตอบแทนได้สูงมาก เลยคิดว่าตัวเองนั้นเก่งแล้ว เซียนแล้ว คิดว่าผลตอบแทนที่ทำได้นี้ จะสามารถทำได้ไปเรื่อยๆ (คนเรามีแนวโน้มที่จะเชื่อว่าเหตุการณ์หนึ่งๆที่เกิดซ้ำๆในระดับหนึ่ง จะเกิดต่อไปเรื่อยๆ) ทำให้เกิด Overconfidence มากขึ้น จนลืมมองภาพใหญ่ว่า ตลาดหุ้นนั้นโดยเฉลี่ยจะให้ผลตอบแทนประมาณ 10% ต่อปีเท่านั้น พอคนเรา Overconfidence มากขึ้น ก็มักจะทำอะไรที่เสี่ยงๆมากขึ้น เช่น ลงทุนในหุ้นที่ตัวเองรู้จักไม่ดีพอ ทำการวิเคราะห์หุ้นอย่างลวกๆเพราะไอ้ตัวที่ผ่านมาก็ทำง่ายๆแบบนี้แล้วก็ได้กำไรมาพอสมควร หรือแม้แต่การเล่น Margin แต่พอตลาดเปลี่ยนไปเป็นตลาดหมี ไม่ต้องบอกก็รู้ว่านีกลงทุนที่ทำอะไรเสี่ยงๆอย่างนี้จะเป็นยังไง
ทั้งหมดที่ร่ายยาวมากมาย ถ้าสรุปสั้นๆ ก็คือ อาการ Overconfidence นั้นสามารถเกิดได้กับนักลงทุนทุกคน ซึ่งเราไม่สามารถห้ามมันได้ ดังนั้นสิ่งที่เราสามารถทำได้ก็คือ การคอยเตือนตัวเองว่า อย่าลงระเริงไปกับความสำเร็จ คอยสำรวจตัวเองดูว่าตอนนี้เราเหลิงไปหรือเปล่า และต้องเผื่อใจไว้สำหรับความผิดพลาด รู้จักยอมรับความผิดพลาดของตัวเอง อย่าไปโทษว่าเป็นเพราะโชคร้าย ผิดพลาดแล้วไม่ใช่แค่แก่ไข แต่ต้องรู้ด้วยว่า เราผิดพลาดตรงไหน จากนั้นก็จดมันเอาไว้ จำไว้อย่าได้ลืม เพื่อที่ในอนาคตจะได้ไม่ผิดพลาดซ้ำเดิมอีก
"ผมไม่ได้ลงทุนในหุ้นเพียงเพราะว่าผมต้องการเงินมากมาย
แต่มันเป็นความสนุกในการค้นหาบริษัทชั้นเยี่ยม
เฝ้าดูมันเติบโต และทำเงินให้เรา"
"เบื้องหลังของด้านหลัง ก็คือ ด้านหน้า"
แต่มันเป็นความสนุกในการค้นหาบริษัทชั้นเยี่ยม
เฝ้าดูมันเติบโต และทำเงินให้เรา"
"เบื้องหลังของด้านหลัง ก็คือ ด้านหน้า"
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4626
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ก้าวเล็กๆบนเส้นทาง VI (บันทึกกันลืม)
โพสต์ที่ 11
คุณ ReRedRum อายุ 24 แต่มีความคิดเป็นผู้ใหญ่มากครับ ไม่น่าเชื่อ อ่านแล้วรู้สึกดี
ฝากสนับสนุนแนวคิดนี้นะครับ ความสำเร็จเป็น "เพื่อนกิน" มันมาอยู่กับเราแล้วมันก็ไป เราก็หลงไหลได้ปลื้มไปกับมัน หากเราไม่รู้จักพิจารณา
ว่าแต่ว่าวันที่ไปออกทีวีมี link เป็น วีดีโอ ให้พี่ดูย้อนหลังมั๊ยครับ
ฝากสนับสนุนแนวคิดนี้นะครับ ความสำเร็จเป็น "เพื่อนกิน" มันมาอยู่กับเราแล้วมันก็ไป เราก็หลงไหลได้ปลื้มไปกับมัน หากเราไม่รู้จักพิจารณา
ว่าแต่ว่าวันที่ไปออกทีวีมี link เป็น วีดีโอ ให้พี่ดูย้อนหลังมั๊ยครับ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 145
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ก้าวเล็กๆบนเส้นทาง VI (บันทึกกันลืม)
โพสต์ที่ 13
https://www.youtube.com/watch?v=_6SvI0mdNwkNevercry.boy เขียน:คุณ ReRedRum อายุ 24 แต่มีความคิดเป็นผู้ใหญ่มากครับ ไม่น่าเชื่อ อ่านแล้วรู้สึกดี
ฝากสนับสนุนแนวคิดนี้นะครับ ความสำเร็จเป็น "เพื่อนกิน" มันมาอยู่กับเราแล้วมันก็ไป เราก็หลงไหลได้ปลื้มไปกับมัน หากเราไม่รู้จักพิจารณา
ว่าแต่ว่าวันที่ไปออกทีวีมี link เป็น วีดีโอ ให้พี่ดูย้อนหลังมั๊ยครับ
- romee
- Verified User
- โพสต์: 1850
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ก้าวเล็กๆบนเส้นทาง VI (บันทึกกันลืม)
โพสต์ที่ 14
ผมชอบวิธีเล่าเรื่อง และตอนพรีเซนหุ้นมากครับ
หุ้นที่ไม่มีอะไรเลย แต่การนำเสนอ มุมมองในการวิเคราะห์ ทำให้คุณ ReRedRum ชนะใจผู้เข้าอบรมจริงๆ
หุ้นที่ไม่มีอะไรเลย แต่การนำเสนอ มุมมองในการวิเคราะห์ ทำให้คุณ ReRedRum ชนะใจผู้เข้าอบรมจริงๆ
You only live once, but if you do it right, once is enough.
-
- Verified User
- โพสต์: 198
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ก้าวเล็กๆบนเส้นทาง VI (บันทึกกันลืม)
โพสต์ที่ 17
VNG ครับAleAle เขียน:ได้ present หุ้นอะไรเหรอครับromee เขียน:ผมชอบวิธีเล่าเรื่อง และตอนพรีเซนหุ้นมากครับ
หุ้นที่ไม่มีอะไรเลย แต่การนำเสนอ มุมมองในการวิเคราะห์ ทำให้คุณ ReRedRum ชนะใจผู้เข้าอบรมจริงๆ
"ผมไม่ได้ลงทุนในหุ้นเพียงเพราะว่าผมต้องการเงินมากมาย
แต่มันเป็นความสนุกในการค้นหาบริษัทชั้นเยี่ยม
เฝ้าดูมันเติบโต และทำเงินให้เรา"
"เบื้องหลังของด้านหลัง ก็คือ ด้านหน้า"
แต่มันเป็นความสนุกในการค้นหาบริษัทชั้นเยี่ยม
เฝ้าดูมันเติบโต และทำเงินให้เรา"
"เบื้องหลังของด้านหลัง ก็คือ ด้านหน้า"