มันมี CASE พิเศษเกิดขึ้นแล้ว
สำหรับ บริษัท THRE
ในหมายเหตุข้อ 1.2
--------------------
1.2 ผลกระทบของอุทกภัยครั้งร้ายแรง
ในไตรมาส 4 ปี 2554 ได้เกิดอุทกภัยครั้งร้ายแรงขึ้นในประเทศไทย วิกฤตการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบอย่างเป็นสาระสำคัญต่องบการเงินของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ ได้บันทึกผลกระทบดังกล่าวในงบการเงินระหว่างกาล ดังนี้
(หน่วย: ล้านบาท)
ค่าสินไหมทดแทนก่อนการประกันภัยต่อ ค่าสินไหมทดแทนส่วนที่เรียกคืนจากการประกันภัยต่อ ค่าสินไหมทดแทนสุทธิหลังการประกันภัยต่อ
สำรองค่าสินไหมทดแทนและ
ค่าสินไหมทดแทนค้างจ่าย 15,733 (6,838) 8,895
สินไหมทดแทนจ่าย 13,361 (4,823) 8,538
รวม 29,094 (11,661) 17,433
สำรองส่วนที่เรียกคืนจากการประกันภัยต่อตามสัญญา Excess of Loss (586)
ส่วนที่เรียกคืนจากการประกันภัยต่อตามสัญญา Excess of Loss (2,850)
ค่าสินไหมทดแทนสุทธิ - งบกำไรขาดทุน 13,997
หัก: ค่าสินไหมทดแทนสุทธิ - งบกำไรขาดทุนปี 2554 (2,989)
ค่าสินไหมทดแทนสุทธิ - งบกำไรขาดทุน ปี 2555 (6,213)
ค่าสินไหมทดแทนสุทธิ - งบกำไรขาดทุนไตรมาส 1 ปี 2556 (201)
ค่าสินไหมทดแทนสุทธิ - งบกำไรขาดทุนไตรมาส 2 ปี 2556 (236)
ค่าสินไหมทดแทนสุทธิ - งบกำไรขาดทุนไตรมาส 3 ปี 2556 4,358
ตั้งแต่ปี 2554 จนถึงไตรมาส 2 ปี 2556 บริษัทฯได้ใช้ประมาณการสำหรับการบันทึกสำรองค่าสินไหมทดแทนจากอุทกภัย โดยใช้ข้อสมมติฐานซึ่งพิจารณาจากรายงานการสำรวจภัยและข้อมูลที่ได้รับจากบริษัทประกันภัย ทั้งนี้ จากประสบการณ์ในอดีตของบริษัทฯ พบว่า มูลค่าการตกลงจ่ายค่าสินไหมทดแทนจะลดลงจากรายงานการสำรวจภัยอย่างมีสาระสำคัญอันเนื่องมากจากการเจรจาระหว่างคู่สัญญาเกี่ยวกับเงื่อนไขในสัญญาประกันภัยหลายประการ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
- การทำประกันภัยต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน (Under Insurance)
- การเปลี่ยนแปลงมูลค่าการซ่อมแซมของอาคาร
- มูลค่าการเปลี่ยนแทน หรือมูลค่าการซ่อมแซมเครื่องจักร
- มูลค่าซากของเครื่องจักร
- การเปลี่ยนแปลงมูลค่าความเสียหายของสินค้าคงเหลือ
- มูลค่าความเสียหายของการประกันภัยการหยุดชะงักของธุรกิจ (Business Interruption)
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนข้อสมมติฐานในการบันทึกสำรองค่าสินไหมทดแทนข้างต้น บริษัทฯได้ทำการจ้างผู้เชี่ยวชาญอิสระเพื่อพิจารณาความสมเหตุสมผลของรายงานสำรวจภัยรายใหญ่ โดยผู้เชี่ยวชาญอิสระจะทำการพิจารณาคุณภาพของรายงานสำรวจภัย รวมทั้งประเมินมูลค่าความเสียหายของรายงานสำรวจภัยว่าเป็นไปตามเงื่อนไขในสัญญาประกันภัยหรือไม่
เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2556 บริษัทฯ ได้รับหนังสือจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (“คปภ.”) ให้บริษัทฯ พิจารณาทบทวนประเมินมูลค่าสำรองค่าสินไหมทดแทน โดยกำหนดให้บริษัทฯ พิจารณาใช้ผู้สอบบัญชีที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทำการตรวจสอบชนิด Special Audit และรับรองความถูกต้องของรายการสำรองค่าสินไหมทดแทน โดยให้รายงานให้ คปภ. ทราบภายใน 60 วันนับแต่วันที่บริษัทฯ ได้รับหนังสือ
ในเดือนสิงหาคม 2556 บริษัทฯ ได้ทบทวนการบันทึกค่าสินไหมทดแทนจากอุทกภัยเพื่อให้เป็นไปตามหนังสือของ คปภ. โดยจ้างผู้สำรวจภัยอิสระเพิ่มเติมที่มีประสบการณ์ในการประเมินความเสียหายกรณีอุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยครั้งนี้ให้กับบริษัทรับประกันภัยต่อในต่างประเทศ และเป็นสมาชิกของ Australasian Institute of Chartered Loss Adjusters เพื่อประเมินมูลค่าความเสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าว และจ้างผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์บริษัทอื่นที่ไม่ใช่ผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ เพื่อสอบทานการประเมินค่าสินไหมทดแทนตามวิธีที่ตกลงร่วมกัน
เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินค่าสินไหมทดแทนของผู้สำรวจภัยอิสระ สรุปได้ดังต่อไปนี้
- สุ่มสอบทานรายงานความเสียหายเพื่อประเมินความสมเหตุสมผลของอัตราส่วนความเสียหาย (Damage Ratio) กับรายงานสำรวจภัยของผู้สำรวจภัยอิสระ (Loss adjuster) และเอกสารประกอบการเรียกร้องค่าเสียหายอื่น
- วิเคราะห์อัตราส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการสุ่มตัวอย่าง
- คำนวณมูลค่าความเสียหายโดยอ้างอิงจากอัตราความเสียหาย และวิธีการที่กำหนด
จากการคำนวณของผู้สำรวจภัยอิสระตามเกณฑ์ที่กล่าวข้างต้น ค่าสินไหมทดแทนจากเหตุการณ์อุทกภัยทั้งสิ้นก่อนการประกันภัยต่อ ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2556 ควรมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากที่บริษัทฯบันทึกไว้ในบัญชี ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2556 เป็นจำนวน 6,070 ล้านบาท ค่าสินไหมทดแทนสุทธิหลังจากการประกันภัยต่อ เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 3,903 ล้านบาท และผู้สอบบัญชีอิสระได้สรุปผลการสอบทานว่าไม่พบสิ่งที่เป็นเหตุให้เชื่อว่าข้อมูลที่ผู้เชี่ยวชาญประเมินความเสียหายอิสระสรุปมานั้น ไม่สมเหตุสมผลในสาระสำคัญโดยรวมตามเกณฑ์ที่ใช้ใน การประเมินค่าสินไหมทดแทนของผู้สำรวจภัยอิสระ
ณ วันที่ 30 กันยายน 2556 บริษัทฯ บันทึกค่าสินไหมทดแทนก่อนการประกันภัยต่อ และค่าสินไหมทดแทนในส่วนที่บริษัทฯ ต้องรับผิดชอบหลังการประกันภัยต่อเพิ่มขึ้นจาก ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2556 จำนวน 5,984 ล้านบาท และ 3,907 ล้านบาท ตามลำดับ จากผลการประเมินของผู้สำรวจภัยอิสระตามที่กล่าวข้างต้น และปรับปรุงเพิ่มเติมด้วยหลักฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับได้ว่าเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงจากคู่สัญญาอย่างไรก็ตาม ในระหว่างเดือนกันยายน 2556 บริษัทฯได้ทบทวนความเพียงพอในการตั้งค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมจากที่ผู้สำรวจภัยอิสระได้ให้ความเห็นไว้สำหรับบริษัทประกันภัยบางรายที่ได้มีการเจรจา ทำให้บริษัทฯปรับปรุง ค่าสินไหมทดแทนก่อนการประกันภัยต่อเพิ่มขึ้นอีก จำนวน 611 ล้านบาท และค่าสินไหมทดแทนในส่วนที่บริษัทฯต้องรับผิดชอบหลังการประกันภัยต่อเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวน 451 ล้านบาท ส่งผลให้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2556 บริษัทฯบันทึกค่าสินไหมทดแทนก่อนการประกันภัยต่อ (รวมค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาสินไหมทดแทนจำนวน 26 ล้านบาท) เป็นจำนวน 29,094 ล้านบาท และค่าสินไหมทดแทนในส่วนที่บริษัทฯต้องรับผิดชอบ (รวมค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาสินไหมทดแทน) จำนวน 17,433 ล้านบาท คิดเป็นประมาณร้อยละ 80 ของค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับแจ้งจากบริษัทประกันภัย ซึ่งฝ่ายบริหารของบริษัทฯเชื่อว่า ค่าสินไหมทดแทน และค่าสินไหมทดแทนจากอุทกภัยส่วนที่เรียกคืนจากการประกันภัยต่อเพียงพอและเหมาะสมแล้ว
บริษัทฯ ได้ส่งรายงานการประเมินของผู้สำรวจภัยอิสระ และรายงานการสอบทานการประเมินค่าสินไหมทดแทนตามวิธีที่ตกลงร่วมกันของผู้สอบบัญชีอิสระให้กับ คปภ. พิจารณาแล้ว และได้รับหนังสือตอบกลับจาก คปภ. เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2556 ว่า คปภ. รับทราบการประเมินสำรองค่าสินไหมทดแทนจากเหตุการณ์กรณีมหันตภัยน้ำท่วมปี 2554 ของบริษัทฯที่เพิ่มขึ้นจากยอดที่บริษัทฯบันทึกไว้ในบัญชี ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2556 จำนวน 6,681 ล้านบาท รวมเป็นสำรองค่าสินไหมทดแทนก่อนการประกันภัยต่อทั้งสิ้น (ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาสินไหมทดแทนจำนวน 26 ล้านบาท) จำนวนประมาณ 29,068 ล้านบาท ทั้งนี้ หากมีข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงให้บริษัทฯพิจารณาปรับปรุงการตั้งสำรองค่าสินไหมทดแทนให้สอดคล้องกับเหตุการณ์และหลักฐานที่ปรากฏขึ้นภายหลังด้วย นอกจากนี้ บริษัทฯ และคู่สัญญาได้มีการเจรจาตกลงมูลค่าความเสียหายบนรายงานสำรวจภัยของการจ่ายค่าสินไหมทดแทน โดยบริษัทฯ ได้ขอหลักฐานประกอบการเรียกร้องค่าความเสียหายจากคู่สัญญาเพิ่มเติม เพื่อพิสูจน์ว่ามูลค่าความเสียหายที่คู่สัญญาเรียกร้องมานั้นเป็นไปตามเงื่อนไขความคุ้มครองที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยหรือเป็นไปตามความเสียหายที่แท้จริง
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้ออกมาตรการในการผ่อนคลายกรอบการดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง สำหรับความเสียหายที่เกี่ยวเนื่องกับเหตุอุทกภัยโดยมีระยะเวลาผ่อนผัน 15 เดือน ตั้งแต่ 31 ธันวาคม 2554 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2556 ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 คปภ. ได้ขยายเวลามาตรการผ่อนผันไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2557 โดยมีการกำหนดเงื่อนไขบางประการเพิ่มเติม
--------------------------
บริษัทฯนี้เจอ Special Audit จาก คปภ แต่ บริษัทฯ,ตลท และ กลต ไม่นำเสนอข่าวดังกล่าวเกิดขึ้น
โดยทั่วไปหาก กลต สั่งบริษัทฯทั่วไป ทำ Special Audit กลต มีเหตุผลในการดำเนินการ ระยะเวลา
แต่นี้สั่งจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพราะบริษัทประกันภัย อยู่ภายใต้การควบคุมของ คปภ ด้วย
และถ้าหากเป็นธนาคาร หน่วยงานที่รับผิดชอบให้เกิดเหตุการณ์พิเศษคือ ธปท
อันนี้แสดงให้เห็นเลยว่า กลต และ ตลท เองมีปัญหาเรื่องประสานงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงหรือเปล่า
จึงไม่ยอมแจ้งเรื่อง Special Audit ดังกล่าวให้นักลงทุนรับทราบ
เมื่อเจอเหตุการณ์แบบนี้แล้ว มาตราการที่ล้อมคอกคืออะไรครับ
เมื่อก่อนหน้านี้เห็นมีการร่วมประชุมระหว่างหน่วยงานกันอยู่เลย
แต่เรื่องแบบนี้ปล่อยให้ผ่านได้ไงครับ