เมื่อสิบปีที่แล้ว มีการขายกองทุนปิดขนาดใหญ่กองทุนหนึ่ง คือ กองทุนวายุำภักษ์
ตอนเริ่มต้นกองทุนนี้ นั้นระดมเงินจากประชาชนไปซื้อหุ้นที่กระทรวงการคลังถืออยู่
และมีเงินจากกระทรวงการคลัง ใส่เข้ากองทุน เพื่อที่กองทุนปิดกองทุนนี้ดำเนินการได้
ประเด็นในตอนจัดตั้งกองทุนคือ หุ้นที่กระทรวงการคลังถือนั้นได้แก่ PTT,KTB,MCOT เป็นต้น
ได้โอนจากผู้ถือหุ้นที่เป็นกระทรวงการคลังไปอยู่ในนามของกองทุนวายุภักษ์ดังกล่าว
แต่ตอนนี้ กองทุนวายุภักษ์ดังกล่าวกำลังปิดตัวเอง (หมดอายุกองทุนในสิ้นเดือน พ.ย.2556)
สิ่งที่กองทุนวายุภักษ์ถือนั้น จำเป็นต้องคืนให้กระทรวงการคลังหรือไม่ เพราะประเด็นตอนจัดตั้งโครงการ
แล้วใครจะเป็นคนตรวจสอบนับจำนวนว่า ตอนที่จัดตั้งโครงการกับตอนที่คืน ณ ปีนี้ (2556) อยู่ครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่
อันนี้เป็นกรณีที่น่าศึกษาไว้ ในเรื่องการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน โดยที่หากไล่ไม่ทัน ประชาชนเสียผลประโยชน์จากการดำเนินการดังกล่าวหรือไม่ เพราะคลังถือหุ้น หุ้นก็มีจำนวนเท่าเดิม แต่ขายให้กองทุน กองทุนเป็นของประชาชนโดยส่วนใหญ่ ผลประโยชน์ไปตกอยู่ประชาชน กับ คลังบางส่วน ดังนั้น ผู้รับผิดชอบควรที่ทำให้โปร่งใส ในการปิดกองทุนนี้
แนวทางการปิดกองทุนดังกล่าวเริ่มมีแล้ว คือ เปิดกองทุนใหม่ โดยเป็นกองทุนเปิด แต่มันก็มีระยะเวลาในการดำเนินการในการจัดตั้งกองทุนการระดมเงินทุนสำหรับกองทุนใหม่ด้วย
ดังนั้น สังคมตอนนี้ต้องการความโปร่งใส ทำอะไรโปร่งใส ไม่ให้ตรวจสอบมิได้ ละ
การปลดล็อก กองทุนวายุภักษ์1
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การปลดล็อก กองทุนวายุภักษ์1
โพสต์ที่ 2
คำถามต่อมาคือ จากกองปิด เป็นกองเปิด นั้นคำถามที่น่าถามคือ
กองเปิด จะมีลักษณะที่กองทุนมีจำนวนหน่วยลงทุนเพิ่มขึ้นได้ทุกๆวัน
แต่สิ่งนี้มันขัดแย้งกับ การถือครองหน่วยการลงทุนของรัฐหรือเปล่า
ที่รัฐขายหุ้นในส่วนที่คลังถือมาให้กองทุน และรัฐถือสัดส่วนหนึ่งไว้ เช่น 30%
สัดส่วนดังกล่าวไม่ควรลดลงหรือเปล่า เพราะ ตอนต้นมันเป็นสมบัติของรัฐ ไม่ใช่สมบัติของเอกชนหรือประชาชนทั่วไป
แต่เป็นสมบัติของประชาชนทั่วไป
ทางแก้ไขคือ จำนวนหน่วยจำกัด แต่มีตลาดรองและไม่มีระยะเวลาแทน เป็นลักษณะเหมือนหลักทรัพย์ที่ไม่มีว้ันหมดอายุ
(อะไรประมาณนั้นแหละ)
ถ้าเดินเกมตามที่เป็นข่าวออก งานนี้คงต้องเพิ่งศาลปกครอง หรือ ศาลรัฐธรรมนูญตีความอีกแน่นอน ว่าเป็นขายสมบัติของชาติ รอบ2 หรือเปล่า
ส่วนคำถามตามมาคือ
กลต.จะยอมลดกฏในเรื่องกองทุนรวมสามารถมีผู้ถือหน่วยลงทุนเพียง 1 ได้หรือเปล่า
เพราะ 1 ในที่นี้คือ กระทรวงการคลังหรือรัฐบาล
ต้องวัดใจ กลต. ว่าไม้บรรทัดยังคงเป็นไม้บรรทัด หรือเปล่า
กองเปิด จะมีลักษณะที่กองทุนมีจำนวนหน่วยลงทุนเพิ่มขึ้นได้ทุกๆวัน
แต่สิ่งนี้มันขัดแย้งกับ การถือครองหน่วยการลงทุนของรัฐหรือเปล่า
ที่รัฐขายหุ้นในส่วนที่คลังถือมาให้กองทุน และรัฐถือสัดส่วนหนึ่งไว้ เช่น 30%
สัดส่วนดังกล่าวไม่ควรลดลงหรือเปล่า เพราะ ตอนต้นมันเป็นสมบัติของรัฐ ไม่ใช่สมบัติของเอกชนหรือประชาชนทั่วไป
แต่เป็นสมบัติของประชาชนทั่วไป
ทางแก้ไขคือ จำนวนหน่วยจำกัด แต่มีตลาดรองและไม่มีระยะเวลาแทน เป็นลักษณะเหมือนหลักทรัพย์ที่ไม่มีว้ันหมดอายุ
(อะไรประมาณนั้นแหละ)
ถ้าเดินเกมตามที่เป็นข่าวออก งานนี้คงต้องเพิ่งศาลปกครอง หรือ ศาลรัฐธรรมนูญตีความอีกแน่นอน ว่าเป็นขายสมบัติของชาติ รอบ2 หรือเปล่า
ส่วนคำถามตามมาคือ
กลต.จะยอมลดกฏในเรื่องกองทุนรวมสามารถมีผู้ถือหน่วยลงทุนเพียง 1 ได้หรือเปล่า
เพราะ 1 ในที่นี้คือ กระทรวงการคลังหรือรัฐบาล
ต้องวัดใจ กลต. ว่าไม้บรรทัดยังคงเป็นไม้บรรทัด หรือเปล่า