Part3 วิถีนักลงทุนหุ้น พี่ OutOfMyMind
-
- Verified User
- โพสต์: 616
- ผู้ติดตาม: 0
Part3 วิถีนักลงทุนหุ้น พี่ OutOfMyMind
โพสต์ที่ 1
ขอบคุณมากๆ ครับพี่เปา
วิถีของนักลงทุนในหุ้นสามัญ โดย พี่ OutOfMyMind
ประสบการณ์ลงทุน 9 ปี เคยฝันว่าอยากเป็นเจ้าของธุรกิจ แต่คิดว่าค่อนข้างยาก และพบว่าตลาดหุ้นเป็นช่องทางที่สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้ โดยที่เราไม่ต้องดำเนินการเอง ปัจจุบันเป็นนักลงทุนเต็มตัว
การลงทุนไม่ใช่กลยุทธ์ที่ซับซ้อน พยายามลงทุนให้มีความสุข
มองว่าการลงทุนเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต จึงเป็น “วิถี”
เน้นคุณค่าหรือเน้นราคา
เราควรจะรู้ตัวเราเอง เช่น ถ้าเน้นราคา หุ้นลงขาย, ถ้าเน้นมูลค่า หุ้นลงซื้อ
การเชื่อในมูลค่า ทำให้ไม่เคยศึกษากราฟ ไม่ดูกราฟ, ถือหุ้น 100% มาตลอด ถือผ่านวิกฤตมาหลายครั้ง เช่น ปฏิวัติ หม่อมอุ๋ย Subprime
เวลามองพอร์ตโต ไม่ได้มองที่ราคา แต่มองที่มูลค่า
ความเสี่ยงกับความผันผวน
ความเสี่ยง เกิดถาวร
ความผันผวน เกิดชั่วคราว เช่น บริษัทมีปัญหาชั่วคราว แก้ไขได้
บริษัทต้องสร้าง DCA โดยอาจจะต้องลงทุนสร้าง และได้รับการปกป้องจากคู่แข่ง ด้วยอะไรบางอย่างที่เป็นลักษณะเฉพาะของบริษัท
วางแผนชีวิตหลังความตาย
มองเป็นวิถีชีวิต ถ้าเราตาย จะยังไงต่อ ลูก ภรรยาจะอยู่อย่างไร ต้องวางแผนไว้ล่วงหน้า
เปรียบเหมือน การวิ่งมาราธอนที่มีเป้าหมาย ค่อยๆ ก้าว มองยาวตลอดชีวิต
ถูกต้องและสม่ำเสมอ
ไม่หวังผลตอบแทนที่สูงมาก เช่น ตั้งเป้า 20% ต้องทำให้ได้ และทำให้ได้ต่อเนื่อง
ไม่ออกจากตลาด เพราะถ้าออกคือแพ้เลย ไม่มีโอกาสแก้ตัว
ความคิดเป็นอิสระ
สิ่งที่คนส่วนใหญ่เห็นเหมือนกัน อาจไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง
กล้าเปิดใจโต้แย้ง ไร้จิตใจ
บริหารพอร์ตชีวิต
ไม่มีประโยชน์ถ้าพอร์ตหุ้นกำไร 100 200% แต่เมื่อเทียบกับสินทรัพย์ทั้งหมด เป็นสัดส่วนที่น้อย
เนื่องจากชอบอะไรที่ไม่ยุ่งยาก จึงรวมทุกอย่างมาอยู่ที่หุ้น แล้วบริหารพอร์ตหุ้น เหมือนพอร์ตชีวิต
สุขภาพ บ้าน รถ ประกัน ก็ให้ไปด้วยกัน ดูภาพรวม
ประเภทของรายได้
พี่เปา เริ่มลงทุนด้วยเงิน 50,000 บาท
ประเภทของรายได้ แบ่งได้เป็น
1. Active income ทำงานหาเงิน
2. Portfolio income ต้องสร้างขึ้นมา เช่น หุ้น ที่ดิน
3. Passive income ไหลมาเอง เช่น ค่าเช่า เงินปันผลหุ้น
ตัวอย่างเช่น ต้องการรายได้เดือนละ 30,000 บาท ปันผล 6% ต้องมีพอร์ต 6 ล้าน
นิพพานทางการเงิน
เวลามีทุกข์ให้ดับทุกข์ ไม่ใช่ให้แก้ทุกข์ เพราะอาจจะมีทุกข์อื่นตามมา
ดับทุกข์ทางการเงิน ต้องสร้างทุกข์การเงินให้น้อยก่อน คือ ต้องประหยัด
สะสมหุ้นดีๆ มีปันผล จะทำให้มีเวลาไปใช้ชีวิตในด้านอื่นๆ
ยืนบนไหล่ของยักษ์ใหญ่
เซอร์ไอแซคนิวตัน บอกว่า คนเราตัวเล็ก ต้องพึ่งคนเก่ง
เราต้องหาบริษัทที่ดีมากๆ เกาะอาศัยไปกับเขา
บัฟเฟตต์ ซื้อหุ้นบริษัทยอดเยี่ยม แต่ไม่เข้าไปยุ่งวุ่นวายในการบริหาร ปล่อยให้ผู้บริหารมืออาชีพบริหารไป
ถ้ายักษ์เดินผิดทาง ไม่ไปตามทางที่เราคาดหวัง เราก็เปลี่ยนไปหายักษ์ตัวใหม่
หายักษ์ตัวใหญ่ที่เดินได้ถูกทาง และเดินได้ไว
ผลตอบแทนแบบเจ้าของ
คิดว่า เราคือเจ้าของ ต้นไม้ผลิตเงิน ถ้าต้นไม้ผลิตเงินได้เรื่อยๆ เราคงไม่ไปตัดกิ่งก้านของมัน
ต้องเป็นเจ้าของธุรกิจที่ดี ต้องเป็นต้นไม้พันธุ์ดี
ทำไมถือยาว ถือไม่กี่ตัว
เรารู้จักบริษัทจริงๆ ไม่กี่บริษัท (รู้จริง)
พี่เปาถือ 4-5 ตัวมาตลอด ลงทุนมา 9 ปี ถือหุ้นไม่เกิน 20 ตัว
เลือกบริษัทที่เรารู้ และมั่นใจจริงๆ และต้องถือให้ยาวนาน ให้คุ้มค่า
ตัวกำหนดอัตราผลตอบแทน
ซื้อให้ถูกเข้าไว้ สำคัญที่สุด
ธุรกิจที่ดี อาจไม่ใช่หุ้นที่ดี ถ้าซื้อผิดจังหวะ
ไม่ถนัดประเภท ซื้อวันนี้ ถูกในวันหน้า พวก Super Stock เพราะอนาคตคาดเดาได้ยาก
จะเข้าเมื่อมี MOS มากกว่า 100%
วงโคจรของราคา
มูลค่าจะมีราคาหมุนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เป็นวงล้อม (นึกภาพว่า มูลค่า คือดวงอาทิตย์ ราคา คือโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา)
มูลค่าเองก็เคลื่อนที่
มูลค่าเปลี่ยนแปลงได้ ราคาก็เปลี่ยนแปลงได้ ลองนึกภาพว่า ดวงอาทิตย์(มูลค่า)เคลื่อนที่ โลก(ราคา)ก็เคลื่อนที่ตามและยังหมุนรอบอยู่
ต้องประเมินมูลค่าสม่ำเสมอ
Lollapalooza
แปลว่า ใหญ่มาก
เป็นการรวมตัวส่งเสริมแรงให้ราคาต่ำ หรือสูง ผิดจากมูลค่าไปมาก
จังหวะนั้นผู้คนจะไร้เหตุผล เราต้องหาประโยชน์จากจังหวะนี้
แหล่งที่มีปลาชุม
หาหุ้นที่มีราคาถูก ดูบริษัทที่เกิดปัญหาชั่วคราว
ตัวอย่าง เคยซื้อ SC ช่วงปฏิวัติ โดน freeze แต่มองว่าเป็นปัญหาชั่วคราว ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เล่นนอกเกมยาก จึงลงทุนและก็ได้ผลตอบแทนที่ดี
บริษัทขนาดเล็ก มีโอกาสเติบโตได้มากกว่าบริษัทขนาดใหญ่ Small cap ไป Middle cap ไป Large cap
บริษัทที่สภาพคล่องน้อย บางครั้งราคาลงแรง เพราะไม่มีสภาพคล่อง ถือเป็นโอกาส
ลองไปดู หุ้นที่น่าเกลียด มีปัญหา ล้าสมัย อะไรพวกนี้
แกะชิ้นส่วนออกมาทีละชิ้น
ถ้าถือหุ้นบริษัทย่อยเกิน 50% จะเอารายได้มา consolidate ถ้าถือหุ้นไม่ถึง 50% จะเป็น Equity method แต่จะมีอำนาจควบคุม
แกะมาดูทีละชิ้น ตัวอย่าง เช่นหุ้นเรือ มีบริษัทเล็กๆ ซ่อนอยู่, MBK ช่วง Subprime ไปลงทุนธนชาติ หลังจากนั้นราคาหุ้นขึ้นเยอะ ก็ขาย, ราคา MBK ก็ขึ้นไปหลายเท่า
ไม่ได้ใช้ตะแกร่งร่อน แต่ใช้วิธีอ่านไปทีละบริษัท อ่านไปเรื่อยๆ จนเจอจุดที่คิดว่าน่าสนใจ แล้วไปศึกษาเพิ่ม
สร้าง Token ของตัวเอง
เราต้องเช็คว่า เราฝันหรือตื่นอยู่ (ความฝัน หรือ ความจริง)
เวลาลงทุน เราต้องมีจุดเช็คว่า จะเป็นไปตามที่เราคาดหรือไม่ เช่น backlog ได้ไหม, แผนธุรกิจบอกจะเติบโต capacity เพียงพอไหม
สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้
วัฒนธรรมองค์กร ศักยภาพผู้บริหาร แบรนด์
ตัวอย่าง AOT เมื่อก่อนควรแพงกว่า book เพราะมีสิทธิในการควบคุมการเข้าออกประเทศ เป็นประตูของประเทศ
ระบบนิเวศน์ทางเศรษฐกิจ
มังเกอร์ บอกว่า ในระบบนิเวศน์ที่มีคนมากมาย ทุกคนมีหน้าที่ในการสร้างคุณค่าให้ระบบ
ใน value chain เปรียบเทียบบริษัทเรากับบริษัทคู่แข่ง ลงทุนในบริษัทที่ทำได้ดีกว่า
สำรวจรอบกำแพง
มีการลงทุนเพื่อสร้างกำแพงให้แข็งแกร่งอยู่เสมอ เพื่อป้องกันข้าศึกบุกหรือไม่
กระจายความเสี่ยงภายใน
หากถือหุ้นน้อยตัว วิธีกระจายความเสี่ยง คือ ให้ดูการกระจายความเสี่ยงภายในบริษัท เช่น ไม่พึ่งพิงผู้บริหารเพียงคนเดียว ไม่พึ่งพิงลูกค้าเพียงไม่กี่ราย มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย
เป็นนักค้ากำไรข้ามเวลา
Time arbitrage ซื้อหุ้นวันนี้ ไปขายแพงในวันหน้า
หุ้น Turn around เราหวังว่า มันจะกลับมาทำกำไร ต้องให้ชัวร์ก่อนค่อยเข้า อย่าไปเข้าก่อน เพื่อจะหวังว่ามันจะขึ้น ต้องซื้อเมื่อมัน Turn แล้ว
ซื้อแพง ขายถูก
คนส่วนใหญ่คิดว่า ซื้อถูก ขายแพง
เราต้องคิดให้แตกต่างจากคนอื่น เราซื้อแพง(คนอื่นขายให้เราแพง) เราขายถูก(คนอื่นซื้อเราถูก) จะได้เป็นการเตือนตนเอง ไม่เชื่อมั่นตนเองจนเกินไป
หุ้นส่วนที่เราต้องการ
ไม่ชอบหุ้นหวือหวา คนสนใจเยอะ ชอบหุ้นที่ไม่ค่อยมีคนสนใจ
ยิ่งเรียนยิ่งโง่
มีหลายอย่างที่เราไม่รู้ อย่าคิดว่าเราเก่งแล้ว ต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
Buffett ก็ยังเรียนรู้เปลี่ยนสไตล์ จากเคยซื้อหุ้นถูก มาเป็นซื้อหุ้นดีราคายุติธรรม
ตัวอย่างหุ้นที่ประสบความสำเร็จและผิดพลาด
ยกตัวอย่าง หุ้นสื่อสารตัวนึง ตอนนั้นมีผู้เล่นน้อยราย ตอนนั้นราคาประมาณ 0.3 บาท เราประเมินแล้วว่าในเวลา 3 ปีไม่ควรต่ำกว่า 1 บาท พอราคาหุ้นมา 1 บาท ก็ขาย แต่ราคาหุ้นก็ยังไปต่อจนทุกวันนี้ จะเรียกว่า สำเร็จหรือผิดพลาดก็ได้
พี่เปาจะลงทุนแนว Bottom up ส่วน Top down จะใช้เป็น Tail wind แต่ไม่ใช่ประเด็นในการลงทุน
มองหาโอกาสลงทุนไปเรื่อยๆ พยายามซื้อในราคาที่ถูกมากๆ มี MOS เยอะๆ
ช่วง Subprime ถือหุ้น 100% พอร์ตลงมา 30% มองเป็นโอกาส จึงยืมเงินเพื่อนๆ ที่ทำงานและให้ดอกร้อยละ 10 (ให้แบบแฟร์ๆ) เพื่อนบางคนบอกว่า ทำไมถึงกล้า ไม่กลัวหรือ แต่ช่วงนั้นมองเป็นโอกาสมากกว่า ปัจจุบันก็ยังถือหุ้น 100% ถ้าหาเงินสดมาลงทุนไม่ได้ ก็คงอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไร เพราะเราเชื่อในมูลค่าบริษัทที่เราลงทุน
การถือหุ้น 100% จริงๆ จะแบ่งเงินมาใช้ภายในครอบครัวล่วงหน้า 1 ปี ไม่มีหนี้, ถ้าถือหุ้นที่ไม่มีสภาพคล่อง ต้องกันเงินสำหรับใช้จ่ายออกมาก่อน
สัดส่วนในการถือหุ้น ถือ 4-5 ตัว สัดส่วนตามความมั่นใจ
Margin ไม่ได้ใช้
เจอหุ้นที่จะลงทุนได้อย่างไร
เกิดจากการสังเกต เช่น DSGT สังเกตจากญาติสูงอายุ ป่วยก็ใช้ baby love โรงพยาบาลก็ใช้เยอะ จึงสนใจลงทุน
วิธีประเมินผู้บริหารดูอย่างไร
ติดตามข่าวสาร เคยสนใจบริษัทนึง แต่ผู้บริหารคุยโม้ ไม่สามารถทำได้จริง ก็ไม่ลงทุน
พี่เปาดู DCA หรือไม่
ดู แต่หุ้นในเมืองไทยดูยาก ส่วนใหญ่จะเป็น CA อาจจะมีประมาณ 4-5 ปี, DCA อาจจะเกิดจากสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
พี่เปาลงทุนหุ้น Super Stock หรือไม่
จริงๆ สนใจ แต่มันแพงมาก กลัวว่า ถ้าเติบโตไม่เท่าที่คาดหวัง หุ้นจะถูกปรับ PE ลง อาจจะรอเวลานั้นมากกว่า
สไตล์พี่เปา จะไม่ได้แยกหุ้นตามแนวปีเตอร์ ลินซ์ ว่าอยู่ในหมวดไหน แต่จะสนใจประเด็นที่น่าสนใจลงทุนมากกว่า
หนังสือการตลาดที่แนะนำ Positioning battle on your mind, The end of marketing as we know it
การเปรียบเทียบ cash cycle ที่ติดลบ กับบริษัทที่มี cash cycle เป็นบวกแต่ยอมให้ส่วนลด
ต้องดูว่า บริษัทมีความสามารถในการเอาเงินไปลงทุนหรือไม่ ถ้ามีติดลบดีกว่า แล้วเอาเงินไปลงทุน, แต่ถ้าไม่มีความสามารถในการลงทุน ก็ขอเป็นส่วนลดดีกว่า คงต้องดูว่า แบบไหนคุ้มค่าและเหมาะกับบริษัทนั้นๆ
ช่วงถาม-ตอบ
นโยบาย 2 ล้านๆ อะไรจะได้ประโยชน์
แบ่งเป็นเฟส
เฟสแรก คือ ผู้รับเหมา วัสดุก่อสร้าง แต่เหล็กยังไม่แน่ใจ เพราะรางรถไฟพวกนี้คิดว่านำเข้ามากกว่า
เฟสสอง Urbanization ธุรกิจที่ตามมา ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ ห้าง ค้าปลีก ท่องเที่ยว
หุ้นโรงพยาบาล
ให้ดู Organic Growth เติบโตไหม
ส่วนใหญ่คนไข้จะติดหมอ
เท่าที่ทราบ โรงพยาบาลเชนใหญ่ ให้สวัสดิการดีกว่า โดยประกันรายได้และสิทธิประโยชน์ แต่โรงพยาบาลเอกชนเดิม ประกันรายได้อย่างเดียว
M & A น่าจะดีกว่าสร้างโรงพยาบาลใหม่ เพราะต้องใช้เวลาหาลูกค้านาน
มือใหม่ควรพัฒนาตนเองอย่างไร
อ่านให้เยอะ
หาตัวเองให้เจอ
วิธีประเมินมูลค่าหุ้นสำหรับมือใหม่ทำอย่างไร
ต้องเข้าใจลักษณะธุรกิจบริษัทก่อน ดูว่าเติบโตหรือไม่ ดูปัจจัยเชิงคุณภาพให้มาก
วิธีประเมินแบบง่ายโดยใช้ PE ใช้ PE ที่เหมาะสม อาจจะเป็น PE อุตสาหกรรม หรือ PE คู่แข่ง หรือปรับ PE ให้ต่ำลงมา จากนั้นไป projection กำไรต่อหุ้น โดยอาจจะประเมินจากแผนธุรกิจแบบ conservative ประเมินรายได้ ดู profit margin แล้วประเมินกำไร แล้วมาหา EPS จากนั้น ก็เอามาคูณ PE ก็จะได้ราคาที่ประเมิน
วิถีของนักลงทุนในหุ้นสามัญ โดย พี่ OutOfMyMind
ประสบการณ์ลงทุน 9 ปี เคยฝันว่าอยากเป็นเจ้าของธุรกิจ แต่คิดว่าค่อนข้างยาก และพบว่าตลาดหุ้นเป็นช่องทางที่สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้ โดยที่เราไม่ต้องดำเนินการเอง ปัจจุบันเป็นนักลงทุนเต็มตัว
การลงทุนไม่ใช่กลยุทธ์ที่ซับซ้อน พยายามลงทุนให้มีความสุข
มองว่าการลงทุนเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต จึงเป็น “วิถี”
เน้นคุณค่าหรือเน้นราคา
เราควรจะรู้ตัวเราเอง เช่น ถ้าเน้นราคา หุ้นลงขาย, ถ้าเน้นมูลค่า หุ้นลงซื้อ
การเชื่อในมูลค่า ทำให้ไม่เคยศึกษากราฟ ไม่ดูกราฟ, ถือหุ้น 100% มาตลอด ถือผ่านวิกฤตมาหลายครั้ง เช่น ปฏิวัติ หม่อมอุ๋ย Subprime
เวลามองพอร์ตโต ไม่ได้มองที่ราคา แต่มองที่มูลค่า
ความเสี่ยงกับความผันผวน
ความเสี่ยง เกิดถาวร
ความผันผวน เกิดชั่วคราว เช่น บริษัทมีปัญหาชั่วคราว แก้ไขได้
บริษัทต้องสร้าง DCA โดยอาจจะต้องลงทุนสร้าง และได้รับการปกป้องจากคู่แข่ง ด้วยอะไรบางอย่างที่เป็นลักษณะเฉพาะของบริษัท
วางแผนชีวิตหลังความตาย
มองเป็นวิถีชีวิต ถ้าเราตาย จะยังไงต่อ ลูก ภรรยาจะอยู่อย่างไร ต้องวางแผนไว้ล่วงหน้า
เปรียบเหมือน การวิ่งมาราธอนที่มีเป้าหมาย ค่อยๆ ก้าว มองยาวตลอดชีวิต
ถูกต้องและสม่ำเสมอ
ไม่หวังผลตอบแทนที่สูงมาก เช่น ตั้งเป้า 20% ต้องทำให้ได้ และทำให้ได้ต่อเนื่อง
ไม่ออกจากตลาด เพราะถ้าออกคือแพ้เลย ไม่มีโอกาสแก้ตัว
ความคิดเป็นอิสระ
สิ่งที่คนส่วนใหญ่เห็นเหมือนกัน อาจไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง
กล้าเปิดใจโต้แย้ง ไร้จิตใจ
บริหารพอร์ตชีวิต
ไม่มีประโยชน์ถ้าพอร์ตหุ้นกำไร 100 200% แต่เมื่อเทียบกับสินทรัพย์ทั้งหมด เป็นสัดส่วนที่น้อย
เนื่องจากชอบอะไรที่ไม่ยุ่งยาก จึงรวมทุกอย่างมาอยู่ที่หุ้น แล้วบริหารพอร์ตหุ้น เหมือนพอร์ตชีวิต
สุขภาพ บ้าน รถ ประกัน ก็ให้ไปด้วยกัน ดูภาพรวม
ประเภทของรายได้
พี่เปา เริ่มลงทุนด้วยเงิน 50,000 บาท
ประเภทของรายได้ แบ่งได้เป็น
1. Active income ทำงานหาเงิน
2. Portfolio income ต้องสร้างขึ้นมา เช่น หุ้น ที่ดิน
3. Passive income ไหลมาเอง เช่น ค่าเช่า เงินปันผลหุ้น
ตัวอย่างเช่น ต้องการรายได้เดือนละ 30,000 บาท ปันผล 6% ต้องมีพอร์ต 6 ล้าน
นิพพานทางการเงิน
เวลามีทุกข์ให้ดับทุกข์ ไม่ใช่ให้แก้ทุกข์ เพราะอาจจะมีทุกข์อื่นตามมา
ดับทุกข์ทางการเงิน ต้องสร้างทุกข์การเงินให้น้อยก่อน คือ ต้องประหยัด
สะสมหุ้นดีๆ มีปันผล จะทำให้มีเวลาไปใช้ชีวิตในด้านอื่นๆ
ยืนบนไหล่ของยักษ์ใหญ่
เซอร์ไอแซคนิวตัน บอกว่า คนเราตัวเล็ก ต้องพึ่งคนเก่ง
เราต้องหาบริษัทที่ดีมากๆ เกาะอาศัยไปกับเขา
บัฟเฟตต์ ซื้อหุ้นบริษัทยอดเยี่ยม แต่ไม่เข้าไปยุ่งวุ่นวายในการบริหาร ปล่อยให้ผู้บริหารมืออาชีพบริหารไป
ถ้ายักษ์เดินผิดทาง ไม่ไปตามทางที่เราคาดหวัง เราก็เปลี่ยนไปหายักษ์ตัวใหม่
หายักษ์ตัวใหญ่ที่เดินได้ถูกทาง และเดินได้ไว
ผลตอบแทนแบบเจ้าของ
คิดว่า เราคือเจ้าของ ต้นไม้ผลิตเงิน ถ้าต้นไม้ผลิตเงินได้เรื่อยๆ เราคงไม่ไปตัดกิ่งก้านของมัน
ต้องเป็นเจ้าของธุรกิจที่ดี ต้องเป็นต้นไม้พันธุ์ดี
ทำไมถือยาว ถือไม่กี่ตัว
เรารู้จักบริษัทจริงๆ ไม่กี่บริษัท (รู้จริง)
พี่เปาถือ 4-5 ตัวมาตลอด ลงทุนมา 9 ปี ถือหุ้นไม่เกิน 20 ตัว
เลือกบริษัทที่เรารู้ และมั่นใจจริงๆ และต้องถือให้ยาวนาน ให้คุ้มค่า
ตัวกำหนดอัตราผลตอบแทน
ซื้อให้ถูกเข้าไว้ สำคัญที่สุด
ธุรกิจที่ดี อาจไม่ใช่หุ้นที่ดี ถ้าซื้อผิดจังหวะ
ไม่ถนัดประเภท ซื้อวันนี้ ถูกในวันหน้า พวก Super Stock เพราะอนาคตคาดเดาได้ยาก
จะเข้าเมื่อมี MOS มากกว่า 100%
วงโคจรของราคา
มูลค่าจะมีราคาหมุนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เป็นวงล้อม (นึกภาพว่า มูลค่า คือดวงอาทิตย์ ราคา คือโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา)
มูลค่าเองก็เคลื่อนที่
มูลค่าเปลี่ยนแปลงได้ ราคาก็เปลี่ยนแปลงได้ ลองนึกภาพว่า ดวงอาทิตย์(มูลค่า)เคลื่อนที่ โลก(ราคา)ก็เคลื่อนที่ตามและยังหมุนรอบอยู่
ต้องประเมินมูลค่าสม่ำเสมอ
Lollapalooza
แปลว่า ใหญ่มาก
เป็นการรวมตัวส่งเสริมแรงให้ราคาต่ำ หรือสูง ผิดจากมูลค่าไปมาก
จังหวะนั้นผู้คนจะไร้เหตุผล เราต้องหาประโยชน์จากจังหวะนี้
แหล่งที่มีปลาชุม
หาหุ้นที่มีราคาถูก ดูบริษัทที่เกิดปัญหาชั่วคราว
ตัวอย่าง เคยซื้อ SC ช่วงปฏิวัติ โดน freeze แต่มองว่าเป็นปัญหาชั่วคราว ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เล่นนอกเกมยาก จึงลงทุนและก็ได้ผลตอบแทนที่ดี
บริษัทขนาดเล็ก มีโอกาสเติบโตได้มากกว่าบริษัทขนาดใหญ่ Small cap ไป Middle cap ไป Large cap
บริษัทที่สภาพคล่องน้อย บางครั้งราคาลงแรง เพราะไม่มีสภาพคล่อง ถือเป็นโอกาส
ลองไปดู หุ้นที่น่าเกลียด มีปัญหา ล้าสมัย อะไรพวกนี้
แกะชิ้นส่วนออกมาทีละชิ้น
ถ้าถือหุ้นบริษัทย่อยเกิน 50% จะเอารายได้มา consolidate ถ้าถือหุ้นไม่ถึง 50% จะเป็น Equity method แต่จะมีอำนาจควบคุม
แกะมาดูทีละชิ้น ตัวอย่าง เช่นหุ้นเรือ มีบริษัทเล็กๆ ซ่อนอยู่, MBK ช่วง Subprime ไปลงทุนธนชาติ หลังจากนั้นราคาหุ้นขึ้นเยอะ ก็ขาย, ราคา MBK ก็ขึ้นไปหลายเท่า
ไม่ได้ใช้ตะแกร่งร่อน แต่ใช้วิธีอ่านไปทีละบริษัท อ่านไปเรื่อยๆ จนเจอจุดที่คิดว่าน่าสนใจ แล้วไปศึกษาเพิ่ม
สร้าง Token ของตัวเอง
เราต้องเช็คว่า เราฝันหรือตื่นอยู่ (ความฝัน หรือ ความจริง)
เวลาลงทุน เราต้องมีจุดเช็คว่า จะเป็นไปตามที่เราคาดหรือไม่ เช่น backlog ได้ไหม, แผนธุรกิจบอกจะเติบโต capacity เพียงพอไหม
สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้
วัฒนธรรมองค์กร ศักยภาพผู้บริหาร แบรนด์
ตัวอย่าง AOT เมื่อก่อนควรแพงกว่า book เพราะมีสิทธิในการควบคุมการเข้าออกประเทศ เป็นประตูของประเทศ
ระบบนิเวศน์ทางเศรษฐกิจ
มังเกอร์ บอกว่า ในระบบนิเวศน์ที่มีคนมากมาย ทุกคนมีหน้าที่ในการสร้างคุณค่าให้ระบบ
ใน value chain เปรียบเทียบบริษัทเรากับบริษัทคู่แข่ง ลงทุนในบริษัทที่ทำได้ดีกว่า
สำรวจรอบกำแพง
มีการลงทุนเพื่อสร้างกำแพงให้แข็งแกร่งอยู่เสมอ เพื่อป้องกันข้าศึกบุกหรือไม่
กระจายความเสี่ยงภายใน
หากถือหุ้นน้อยตัว วิธีกระจายความเสี่ยง คือ ให้ดูการกระจายความเสี่ยงภายในบริษัท เช่น ไม่พึ่งพิงผู้บริหารเพียงคนเดียว ไม่พึ่งพิงลูกค้าเพียงไม่กี่ราย มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย
เป็นนักค้ากำไรข้ามเวลา
Time arbitrage ซื้อหุ้นวันนี้ ไปขายแพงในวันหน้า
หุ้น Turn around เราหวังว่า มันจะกลับมาทำกำไร ต้องให้ชัวร์ก่อนค่อยเข้า อย่าไปเข้าก่อน เพื่อจะหวังว่ามันจะขึ้น ต้องซื้อเมื่อมัน Turn แล้ว
ซื้อแพง ขายถูก
คนส่วนใหญ่คิดว่า ซื้อถูก ขายแพง
เราต้องคิดให้แตกต่างจากคนอื่น เราซื้อแพง(คนอื่นขายให้เราแพง) เราขายถูก(คนอื่นซื้อเราถูก) จะได้เป็นการเตือนตนเอง ไม่เชื่อมั่นตนเองจนเกินไป
หุ้นส่วนที่เราต้องการ
ไม่ชอบหุ้นหวือหวา คนสนใจเยอะ ชอบหุ้นที่ไม่ค่อยมีคนสนใจ
ยิ่งเรียนยิ่งโง่
มีหลายอย่างที่เราไม่รู้ อย่าคิดว่าเราเก่งแล้ว ต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
Buffett ก็ยังเรียนรู้เปลี่ยนสไตล์ จากเคยซื้อหุ้นถูก มาเป็นซื้อหุ้นดีราคายุติธรรม
ตัวอย่างหุ้นที่ประสบความสำเร็จและผิดพลาด
ยกตัวอย่าง หุ้นสื่อสารตัวนึง ตอนนั้นมีผู้เล่นน้อยราย ตอนนั้นราคาประมาณ 0.3 บาท เราประเมินแล้วว่าในเวลา 3 ปีไม่ควรต่ำกว่า 1 บาท พอราคาหุ้นมา 1 บาท ก็ขาย แต่ราคาหุ้นก็ยังไปต่อจนทุกวันนี้ จะเรียกว่า สำเร็จหรือผิดพลาดก็ได้
พี่เปาจะลงทุนแนว Bottom up ส่วน Top down จะใช้เป็น Tail wind แต่ไม่ใช่ประเด็นในการลงทุน
มองหาโอกาสลงทุนไปเรื่อยๆ พยายามซื้อในราคาที่ถูกมากๆ มี MOS เยอะๆ
ช่วง Subprime ถือหุ้น 100% พอร์ตลงมา 30% มองเป็นโอกาส จึงยืมเงินเพื่อนๆ ที่ทำงานและให้ดอกร้อยละ 10 (ให้แบบแฟร์ๆ) เพื่อนบางคนบอกว่า ทำไมถึงกล้า ไม่กลัวหรือ แต่ช่วงนั้นมองเป็นโอกาสมากกว่า ปัจจุบันก็ยังถือหุ้น 100% ถ้าหาเงินสดมาลงทุนไม่ได้ ก็คงอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไร เพราะเราเชื่อในมูลค่าบริษัทที่เราลงทุน
การถือหุ้น 100% จริงๆ จะแบ่งเงินมาใช้ภายในครอบครัวล่วงหน้า 1 ปี ไม่มีหนี้, ถ้าถือหุ้นที่ไม่มีสภาพคล่อง ต้องกันเงินสำหรับใช้จ่ายออกมาก่อน
สัดส่วนในการถือหุ้น ถือ 4-5 ตัว สัดส่วนตามความมั่นใจ
Margin ไม่ได้ใช้
เจอหุ้นที่จะลงทุนได้อย่างไร
เกิดจากการสังเกต เช่น DSGT สังเกตจากญาติสูงอายุ ป่วยก็ใช้ baby love โรงพยาบาลก็ใช้เยอะ จึงสนใจลงทุน
วิธีประเมินผู้บริหารดูอย่างไร
ติดตามข่าวสาร เคยสนใจบริษัทนึง แต่ผู้บริหารคุยโม้ ไม่สามารถทำได้จริง ก็ไม่ลงทุน
พี่เปาดู DCA หรือไม่
ดู แต่หุ้นในเมืองไทยดูยาก ส่วนใหญ่จะเป็น CA อาจจะมีประมาณ 4-5 ปี, DCA อาจจะเกิดจากสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
พี่เปาลงทุนหุ้น Super Stock หรือไม่
จริงๆ สนใจ แต่มันแพงมาก กลัวว่า ถ้าเติบโตไม่เท่าที่คาดหวัง หุ้นจะถูกปรับ PE ลง อาจจะรอเวลานั้นมากกว่า
สไตล์พี่เปา จะไม่ได้แยกหุ้นตามแนวปีเตอร์ ลินซ์ ว่าอยู่ในหมวดไหน แต่จะสนใจประเด็นที่น่าสนใจลงทุนมากกว่า
หนังสือการตลาดที่แนะนำ Positioning battle on your mind, The end of marketing as we know it
การเปรียบเทียบ cash cycle ที่ติดลบ กับบริษัทที่มี cash cycle เป็นบวกแต่ยอมให้ส่วนลด
ต้องดูว่า บริษัทมีความสามารถในการเอาเงินไปลงทุนหรือไม่ ถ้ามีติดลบดีกว่า แล้วเอาเงินไปลงทุน, แต่ถ้าไม่มีความสามารถในการลงทุน ก็ขอเป็นส่วนลดดีกว่า คงต้องดูว่า แบบไหนคุ้มค่าและเหมาะกับบริษัทนั้นๆ
ช่วงถาม-ตอบ
นโยบาย 2 ล้านๆ อะไรจะได้ประโยชน์
แบ่งเป็นเฟส
เฟสแรก คือ ผู้รับเหมา วัสดุก่อสร้าง แต่เหล็กยังไม่แน่ใจ เพราะรางรถไฟพวกนี้คิดว่านำเข้ามากกว่า
เฟสสอง Urbanization ธุรกิจที่ตามมา ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ ห้าง ค้าปลีก ท่องเที่ยว
หุ้นโรงพยาบาล
ให้ดู Organic Growth เติบโตไหม
ส่วนใหญ่คนไข้จะติดหมอ
เท่าที่ทราบ โรงพยาบาลเชนใหญ่ ให้สวัสดิการดีกว่า โดยประกันรายได้และสิทธิประโยชน์ แต่โรงพยาบาลเอกชนเดิม ประกันรายได้อย่างเดียว
M & A น่าจะดีกว่าสร้างโรงพยาบาลใหม่ เพราะต้องใช้เวลาหาลูกค้านาน
มือใหม่ควรพัฒนาตนเองอย่างไร
อ่านให้เยอะ
หาตัวเองให้เจอ
วิธีประเมินมูลค่าหุ้นสำหรับมือใหม่ทำอย่างไร
ต้องเข้าใจลักษณะธุรกิจบริษัทก่อน ดูว่าเติบโตหรือไม่ ดูปัจจัยเชิงคุณภาพให้มาก
วิธีประเมินแบบง่ายโดยใช้ PE ใช้ PE ที่เหมาะสม อาจจะเป็น PE อุตสาหกรรม หรือ PE คู่แข่ง หรือปรับ PE ให้ต่ำลงมา จากนั้นไป projection กำไรต่อหุ้น โดยอาจจะประเมินจากแผนธุรกิจแบบ conservative ประเมินรายได้ ดู profit margin แล้วประเมินกำไร แล้วมาหา EPS จากนั้น ก็เอามาคูณ PE ก็จะได้ราคาที่ประเมิน
- OutOfMyMind
- Verified User
- โพสต์: 1232
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Part3 วิถีนักลงทุนหุ้น พี่ OutOfMyMind
โพสต์ที่ 6
ขอบคุณแซคที่ช่วยสรุปครับ สรุปได้ดีกว่าผมพูดอีก ช่วงถามตอบนั้นส่วนมากพี่หมอ H888 จะเป็นผู้ตอบ ผมก็ได้เรียนรู้เพิ่มมากมายในวันนั้นครับ
แชทบอทสำหรับนักลงทุนเน้นคุณค่า
https://www.chathoon.com/
https://www.chathoon.com/
- simpleBE
- Verified User
- โพสต์: 2333
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Part3 วิถีนักลงทุนหุ้น พี่ OutOfMyMind
โพสต์ที่ 11
ขอบใจแซคสำหรับสรุปเนื้อหา
ขอบคุณคุณเปาที่มาแบ่งปันมุมมองและประสบการณ์การลงทุนที่หาฟังไม่ได้ง่ายๆ
เป็นประโยชน์กับผมและเพื่อนสมาชิกมากๆ เลยครับ
ขอบคุณคุณเปาที่มาแบ่งปันมุมมองและประสบการณ์การลงทุนที่หาฟังไม่ได้ง่ายๆ
เป็นประโยชน์กับผมและเพื่อนสมาชิกมากๆ เลยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 616
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Part3 วิถีนักลงทุนหุ้น พี่ OutOfMyMind
โพสต์ที่ 13
ขอบคุณพี่เปามากๆ ครับ ที่สละเวลามาถ่ายทอดความรู้ที่มีคุณค่ามากๆOutOfMyMind เขียน:ขอบคุณแซคที่ช่วยสรุปครับ สรุปได้ดีกว่าผมพูดอีก ช่วงถามตอบนั้นส่วนมากพี่หมอ H888 จะเป็นผู้ตอบ ผมก็ได้เรียนรู้เพิ่มมากมายในวันนั้นครับ
ผมได้แง่คิดดีๆ มากมาย จะเอาไปประยุกต์ใช้ต่อไปครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 96
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Part3 วิถีนักลงทุนหุ้น พี่ OutOfMyMind
โพสต์ที่ 23
- thaloengsak
- Verified User
- โพสต์: 2716
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Part3 วิถีนักลงทุนหุ้น พี่ OutOfMyMind
โพสต์ที่ 24
ขอบคุณมากครับ ได้แง่คิดดีๆจากพี่มากเลย
ลงทุนเพื่อชีวิต
-
- Verified User
- โพสต์: 616
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Part3 วิถีนักลงทุนหุ้น พี่ OutOfMyMind
โพสต์ที่ 25
ขอบคุณมากครับพี่ ยินดีที่ได้เจอพี่ในงาน 10 ปี ครับSeattle เขียน:ขอบคุณในความมีน้ำใจของน้อง TLSS มากๆครับ
น้องคนนี้ ผมเคยเจอตัวจริงแล้ว ขอรับรองว่านิสัยใจคอ ความมีมารยาท ดียอดเยี่ยมมากๆครับ
ขอให้น้องTLSS ประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจไว้นะครับ