ก.ล.ต. ส่งหนังสือเวียนแจ้งโบรกฯ รายงานข้อมูลการโอนหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ให้กรมสรรพากร เผยโดนหมดทั้งหุ้น วอร์แรนต์ เอ็นวีดีอาร์ เล็งให้คำนวณเป็นเงินได้รวมกับเงินเดือนและรายได้อื่นๆ เพื่อคำนวณเสียภาษีบุคคลธรรมดาประจำปี
แหล่งข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 5 กันยายนที่ผ่านมา นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ลงนามในหนังสือเวียนถึงบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ธนาคารที่รับฝากทรัพย์สินของลูกค้าทุกแห่ง และบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) เพื่อขอความร่วมมือจัดส่งข้อมูลการโอนหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ให้แก่กรมสรรพากร ตามที่กรมสรรพากรมีหนังสือขอความร่วมมือมายัง ก.ล.ต.เพื่อให้ช่วยขอข้อมูลจาก บล.ให้จัดส่งข้อมูลของลูกค้าที่มีการโอนหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งได้แก่ หุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิ (วอร์แรนต์) ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (DW) ใบสำคัญแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (NVDR) ใบสำคัญแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง (DR) ให้แก่กรมสรรพากร เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีตามรูปแบบที่กรมสรรพากรกำหนด
สำหรับรายละเอียดประกอบด้วย 1.บริษัทที่ลูกค้าขอทำธุรกรรมโอนหลักทรัพย์ (บริษัทผู้โอน) เป็นผู้มีหน้าที่ต้องรายงานให้กรมสรรพากรทราบ โดยให้รายงานธุรกรรมทุกรายการที่เกิดขึ้น 2.ให้จัดส่งรายงานให้แก่กรมสรรพากรเป็นรายเดือน โดยจัดส่งภายใน 15 วัน ของเดือนถัดไป และ 3.ในกรณีที่เดือนดังกล่าวไม่มีลูกค้าทำธุรกรรมโอนหลักทรัพย์ ขอให้แจ้งว่าไม่มีด้วย 4.กรณีบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุน ขอให้บริษัทท่านให้ความร่วมมือกับบริษัทหลักทรัพย์ในการรายงานธุรกรรมโอนหลักทรัพย์ กรณีการทำธุรกรรมซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่างกองทุน (Cross trade) ภายใต้การจัดการทั้งกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล
"ในกรณีกองทุนส่วนบุคคล ซึ่งผู้ลงทุนอาจมีภาระภาษีเกิดขึ้นจากธุรกรรม Cross trade ขอให้บริษัทชี้แจงทำความเข้าใจกับลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลเกี่ยวกับภาระภาษีที่อาจเกิดขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม สำนักงาน ก.ล.ต.ได้มีหนังสือสอบถามข้อมูลไปยังกรมสรรพากรเกี่ยวกับประเด็นภาระภาษีสำหรับการโอนหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์แล้ว หากได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากกรมสรรพากร ก.ล.ต.จะได้ซักซ้อมความเข้าใจให้ทราบต่อไป" แหล่งข่าวระบุ
แหล่งข่าวจากกรมสรรพากรเปิดเผยว่า การดำเนินการดังกล่าวเพื่อรวบรวมข้อมูลการซื้อขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์สำหรับใช้เป็นแนวทางในการจัดเก็บภาษี ทั้งนี้ วิธีการคือ หากผู้โอนมีเงินได้จากการโอนหุ้นดังกล่าว จะต้องมีการนำเงินได้ดังกล่าวมารวมกับเงินได้อื่นๆ เพื่อใช้คำนวณยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ต้องยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป
ที่มา : นสพ.มติชน
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=0900
เล็งเก็บภาษีโอนหุ้นนอกตลาด สรรพากรสั่งโบรกฯรายงาน รวมเงินได้
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เล็งเก็บภาษีโอนหุ้นนอกตลาด สรรพากรสั่งโบรกฯรายงาน รวมเงิ
โพสต์ที่ 2
ถามสอง CASE
1. โอนหุ้นด้วยความเสน่หา อันนี้ต้องทำอย่างไง
เพราะใน ประมวลรัษฏากรชี้ไว้ชัดเจนว่า สินทรัพย์ที่ได้มาด้วยความเสน่หา
ไม่ต้องเสียภาษี
ประเด็นนี้ไม่ต้องเป็นเครือญาติ
ถ้าหากเป็นคนรักดำเนินการทำ แล้วจะว่าอย่างไง ตรวจสอบให้ได้ละกัน
ถามจริงจะอุดช่องว่างอย่างไง
2. บิดา-มารดา โอนให้บุตร-ธิดา ในวันเกิด วันแต่งงาน วันสำเร็จการศึกษา
แบบนี้คิดอย่างไงละ
3. บุตรที่ไม่บรรลุนิติภาวะ การคิดภาษีตกที่บิดาและมารดา
แต่โอนให้เนื่องจาก เสน่หา หรือ วันพิเศษในครอบครัว
มันไม่จ่ายภาษีไม่ใช่หรือครับ
สรุปเอางบประมาณ ไปทำอย่างอื่นที่พัฒนาความเจริญดีกว่าไหมครับ
มาตามปิดรูนี้ท่าทางจะยาก
1. โอนหุ้นด้วยความเสน่หา อันนี้ต้องทำอย่างไง
เพราะใน ประมวลรัษฏากรชี้ไว้ชัดเจนว่า สินทรัพย์ที่ได้มาด้วยความเสน่หา
ไม่ต้องเสียภาษี
ประเด็นนี้ไม่ต้องเป็นเครือญาติ
ถ้าหากเป็นคนรักดำเนินการทำ แล้วจะว่าอย่างไง ตรวจสอบให้ได้ละกัน
ถามจริงจะอุดช่องว่างอย่างไง
2. บิดา-มารดา โอนให้บุตร-ธิดา ในวันเกิด วันแต่งงาน วันสำเร็จการศึกษา
แบบนี้คิดอย่างไงละ
3. บุตรที่ไม่บรรลุนิติภาวะ การคิดภาษีตกที่บิดาและมารดา
แต่โอนให้เนื่องจาก เสน่หา หรือ วันพิเศษในครอบครัว
มันไม่จ่ายภาษีไม่ใช่หรือครับ
สรุปเอางบประมาณ ไปทำอย่างอื่นที่พัฒนาความเจริญดีกว่าไหมครับ
มาตามปิดรูนี้ท่าทางจะยาก