“โนเกีย”มีวันนี้เพราะ“สตีฟ จอบส์ “
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 0
“โนเกีย”มีวันนี้เพราะ“สตีฟ จอบส์ “
โพสต์ที่ 1
“โนเกีย”มีวันนี้เพราะ“สตีฟ จอบส์ “
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 กันยายน 2556
อีกเดือนเดียวจะครบสองปีที่สตีฟ จอบส์ ผู้ก่อตั้งบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ เสียชีวิต ผลงานอันยิ่งใหญ่ที่เป็นรูปธรรม
จากความคิดสร้างสรรค์ที่ต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์โลกยุคปัจจุบันคือ ไอโฟน โทรศัพท์อัจฉริยะ หรือ สมาร์ทโฟน
ที่เปลี่ยนโฉมหน้าการติดต่อสื่อสาร การปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ไปโดยสิ้นเชิง
ความคิดสร้างสรรค์ของสตีฟ จอบส์ ทำลายความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้
โนเกียเป็นเหยื่อรายล่าสุดที่ถูกทำลายด้วยความคิดสร้างสรรค์ของจอบส์ เมื่อประกาศอย่างเป็นทางการว่า
จะขายกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ให้ ไมโครซอฟต์ ในราคา 7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งในจำนวนนี้
เป็นค่าสิทธิบัตร เทคโนโลยีที่โนเกียจดทะเบียนไว้ 2 พันล้านเหรียญ
ในปี ค.ศ. 2000 ซึ่งเป็นปีที่โนเกียรุ่งเรืองที่สุด เป็นผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือใหญ่ที่สุดในโลก
ครองส่วนแบ่งตลาดโลกมากกว่า 1 ใน 4 มีมูลค่ากิจการถึง 300 พันล้านเหรียญ ในปีเดียวกันนั้น
แอปเปิลมีมูลค่าเพียง 6.5 พันล้านเหรียญ ต่างกันเกือบ 300 เท่า
วันนี้ แอปเปิลมีมูลค่า ประมาณ 445 พันล้านเหรียญ ขณะที่โนเกียถูกขายไปในราคาที่ต้องนับว่าถูกมาก
เพียง 7 พันล้านเหรียญ ภายในระยะเวลาเพียง 13 ปี ยักษ์ใหญ่ที่เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ทรงคุณค่ามากที่สุดของโลกแบรนด์หนึ่ง
และเป็นหนึ่งในความเป็นฟินแลนด์ ที่ใครๆ ต้องนึกถึงเมื่อเอ่ยชื่อประเทศนี้ ต้องปิดฉากอันยิ่งใหญ่ลง
หลังขายกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้กับไมโครซอฟต์ พร้อมกับโอนพนักงาน 32,000 คน
รวมทั้งซีอีโอ สตีเฟน อีล็อป ไปด้วย โนเกียก็จะเหลือแต่กิจการผลิตอุปกรณ์และเครือข่ายการสื่อสารไร้สายเท่านั้น
โนเกียมีอายุเก่าแก่นานถึง 148 ปี โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1865 เป็นโรงงานผลิตเยื่อกระดาษ ทางตอนใต้ของฟินแลนด์
และเปลี่ยนไปผลิตรองเท้าบู๊ตที่ทำจากยาง ในตอนต้นศตวรรษที่ 20
อีก 63 ปีต่อมา โนเกียถึงจะก้าวเข้าสู่ธุรกิจโทรคมนาคม โดยเป็นผู้ผลิตวิทยุโทรศัพท์ที่ใช้ในกองทัพ
ด้วยการควบกิจการกับ บริษัทฟินนิช เคเบิล เวิร์ก ที่ทำธุรกิจนี้อยู่แล้ว
โนเกียผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ติดตั้งในรถยนต์เครื่องแรก Mobira Senator เมื่อปี 1982
หนึ่งปีหลังจากสร้างเครือข่าย Nordic Mobile Telephone หรือ NMT ซึ่งเป็นเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่
ระหว่างประเทศเครือข่ายแรกของโลก และเปิดตัวโทรศัพท์มือถือเครื่องแรก Mobira City Man ในปี 1987
โนเกียเริ่มหันมาเน้นธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างจริงจังในปี 1992 หลังจากที่ก่อนหน้านั้น
ไปเทคโอเวอร์โรงงานผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ในยุโรปมาแต่ไม่ประสบความสำเร็จ โนเกียประสบความสำเร็จอย่างสูง
ในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ สามารถก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในโลก
และโทรศัพท์โนเกียเป็นโทรศัพท์ขายดีอันดับหนึ่งของโลกติดต่อกัน 13 ปี
จนกระทั่งแอปเปิลนำไอโฟนออกสู่ตลาดเป็นครั้งแรก ในปี 2007 นั่นแหละ
ที่การปฏิวัติเทคโนโลยี่การสื่อสารในระดับบุคคลได้เริ่มขึ้น และขยายตัว สร้างผลสะเทือนอย่างรุนแรงมากขึ้นเป็นลำดับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อซัมซุง นำสมาร์ทโฟนในระบบแอนดรอยด์ ออกมาแข่งกับไอโฟน ซึ่งใช้ระบบโอแอส
ที่แอปเปิลผลิตเอง ทำให้โทรศัพท์เคลื่อนที่โนเกีย ซึ่งเพียงไม่กี่ปีก่อนหน้านี้เอง
คืออุปกรณ์สื่อสารที่แสดงถึงสถานะทางสังคมของผู้ใช้ กลายเป็นวัตถุล้าสมัยไปในพริบตา
ความจริงแล้ว โนเกียผลิตสมาร์ทโฟนออกมาก่อนเพื่อน เพราะ ผู้บริหารโนเกียคาดการณ์ว่า
รายได้จากโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพื้นฐานจะลดลงไปเรื่อย ๆ และเมื่อถึงปี 2000 จะไม่มีกำไรเลย
ดังน้น จึงได้ลงทุนวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีอีเมล์ที่ใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่จอสัมผัส หรือ ทัชสกรีน และ
เครือข่ายไร้สายที่เร็วขึ้นในตอนต้นทศวรรษ 1990 และนำสมาร์ทโฟนเครื่องแรกคือ
โนเกีย 9000 ออกสู่ตลาดในปี 1996 สิบปีก่อนที่ไอโฟนจะเกิด
แต่ผู้ถือหุ้นในขณะนั้นพอใจกับผลกำไรจากการขายโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบธรรมดา
และเห็นว่าโนเกียไม่ควรลงทุนกับสมาร์ทโฟน เพราะเป็นโทรศัพท์ที่มีราคาแพงสำหรับตลาดบนซึ่งมีผู้ใช้น้อยมาก
ประกอบกับในขณะนั้นโมโตโรล่าซึ่งเป็นคู่แข่งจากอเมริกา นำโทรศัพท์รุ่น Razr ซึ่งบางและมีฝาเปิดปิดออกสู่ตลาด
ได้รับความนิยมอย่างมาก ทำให้ผู้บิรหารโนเกียถูกผู้ถือหุ้นตำหนิ ซีอีโอคนเก่าลาออกไป
ซีอีโอคนใหม่ที่มาจากฝ่ายการเงินของโนเกีย เปลี่ยนยุทธศาสตร์ใหม่
โดยนำเอาฟังก์ชั่นบางอย่างของสมาร์ทโนฟมาใส่ไว้ในโทรศัพท์แบบธรรมดา
และหยุดการพัฒนาสมาร์ทโฟน ซึ่งยุทธศาสตร์ใหม่นี้ประสบความสำเร็จ ทำให้โนเกียเป็นโทรศัพท์ขายดีที่สุดในโลก
จนกระทั่งสตีฟ จอบส์ แนะนำไอโฟนให้โลกรู้จักเป็นครั้งแรก เมื่อ 6 ปีก่อน โนเกียก็เริ่มนับถอยหลัง
ถึงแม้ว่าจะพยายามพัฒนาสมาร์ทโฟนของตนขึ้นมาแข่งขันแต่ก็ไล่ไม่ทันแล้ว
สองปีที่แล้ว โนเกียเลิกใช้ระบบปฏิบัติการซิมเบียนที่พัฒนาเอง หันไปจับมือกับไมโครซอฟต์ ใช้ระบบวินโดวส์
เป็นระบบปฏิบัติการของสมาร์ทโฟนแทน“ลูเมีย” ซึ่งเป็นสมาร์ทโฟนของโนเกีย แม้จะมีคุณสมบัติในการใข้งานที่ดี
แต่ก็ไม่สามารถเทียบกับความนิยมและยอดขายของซัมซุงและไอโฟนได้เลย
ไมโครซอฟต์เองก็เป็นเหยื่อของความคิดสร้างสรรค์ของสตีฟ จอบส์ แบบเดียวกับโนเกีย
เพราะเมื่อสตีฟ จอบส์ ทำให้ไอโฟน เป็นคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่และพัฒนาไอแพดขึ้นมาอีกตัวหนึ่ง
ก็รุกคืบเข้าไปกินส่วนแบ่งตลาดของคอมพิวเตอร์พีซี และโน้ตบุ๊กที่ไมโครซอฟต์ผูกขาดซอฟต์แวร์มานานหลายสิบปี
ไมโครซอฟต์ต้องหารายได้ใหม่มาแทนรายได้จากซอฟต์แวร์ที่แม้จะยังมากอยู่ แต่อนาคตนั้นไม่แน่ การซื้อโนเกีย
ทำให้ไมโครซอฟต์ซึ่งเดิมอยู่ในธุรกิจซอฟต์แวร์อย่างเดียว ก้าวไปสู่ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ด้วยเหมือนกับแอปเปิ้ล
เพื่อจะผลิตสมาร์ทโฟน แทบเล็ต และเครื่องมือสื่อสารแบบเคลื่อนที่อื่นๆ อยู่ที่ว่า
จะแข่งขันได้และไล่ทันแอปเปิลหรือซัมซุงซึ่งล่วงหน้าไปไกลแล้วหรือไม่
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 กันยายน 2556
อีกเดือนเดียวจะครบสองปีที่สตีฟ จอบส์ ผู้ก่อตั้งบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ เสียชีวิต ผลงานอันยิ่งใหญ่ที่เป็นรูปธรรม
จากความคิดสร้างสรรค์ที่ต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์โลกยุคปัจจุบันคือ ไอโฟน โทรศัพท์อัจฉริยะ หรือ สมาร์ทโฟน
ที่เปลี่ยนโฉมหน้าการติดต่อสื่อสาร การปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ไปโดยสิ้นเชิง
ความคิดสร้างสรรค์ของสตีฟ จอบส์ ทำลายความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้
โนเกียเป็นเหยื่อรายล่าสุดที่ถูกทำลายด้วยความคิดสร้างสรรค์ของจอบส์ เมื่อประกาศอย่างเป็นทางการว่า
จะขายกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ให้ ไมโครซอฟต์ ในราคา 7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งในจำนวนนี้
เป็นค่าสิทธิบัตร เทคโนโลยีที่โนเกียจดทะเบียนไว้ 2 พันล้านเหรียญ
ในปี ค.ศ. 2000 ซึ่งเป็นปีที่โนเกียรุ่งเรืองที่สุด เป็นผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือใหญ่ที่สุดในโลก
ครองส่วนแบ่งตลาดโลกมากกว่า 1 ใน 4 มีมูลค่ากิจการถึง 300 พันล้านเหรียญ ในปีเดียวกันนั้น
แอปเปิลมีมูลค่าเพียง 6.5 พันล้านเหรียญ ต่างกันเกือบ 300 เท่า
วันนี้ แอปเปิลมีมูลค่า ประมาณ 445 พันล้านเหรียญ ขณะที่โนเกียถูกขายไปในราคาที่ต้องนับว่าถูกมาก
เพียง 7 พันล้านเหรียญ ภายในระยะเวลาเพียง 13 ปี ยักษ์ใหญ่ที่เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ทรงคุณค่ามากที่สุดของโลกแบรนด์หนึ่ง
และเป็นหนึ่งในความเป็นฟินแลนด์ ที่ใครๆ ต้องนึกถึงเมื่อเอ่ยชื่อประเทศนี้ ต้องปิดฉากอันยิ่งใหญ่ลง
หลังขายกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้กับไมโครซอฟต์ พร้อมกับโอนพนักงาน 32,000 คน
รวมทั้งซีอีโอ สตีเฟน อีล็อป ไปด้วย โนเกียก็จะเหลือแต่กิจการผลิตอุปกรณ์และเครือข่ายการสื่อสารไร้สายเท่านั้น
โนเกียมีอายุเก่าแก่นานถึง 148 ปี โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1865 เป็นโรงงานผลิตเยื่อกระดาษ ทางตอนใต้ของฟินแลนด์
และเปลี่ยนไปผลิตรองเท้าบู๊ตที่ทำจากยาง ในตอนต้นศตวรรษที่ 20
อีก 63 ปีต่อมา โนเกียถึงจะก้าวเข้าสู่ธุรกิจโทรคมนาคม โดยเป็นผู้ผลิตวิทยุโทรศัพท์ที่ใช้ในกองทัพ
ด้วยการควบกิจการกับ บริษัทฟินนิช เคเบิล เวิร์ก ที่ทำธุรกิจนี้อยู่แล้ว
โนเกียผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ติดตั้งในรถยนต์เครื่องแรก Mobira Senator เมื่อปี 1982
หนึ่งปีหลังจากสร้างเครือข่าย Nordic Mobile Telephone หรือ NMT ซึ่งเป็นเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่
ระหว่างประเทศเครือข่ายแรกของโลก และเปิดตัวโทรศัพท์มือถือเครื่องแรก Mobira City Man ในปี 1987
โนเกียเริ่มหันมาเน้นธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างจริงจังในปี 1992 หลังจากที่ก่อนหน้านั้น
ไปเทคโอเวอร์โรงงานผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ในยุโรปมาแต่ไม่ประสบความสำเร็จ โนเกียประสบความสำเร็จอย่างสูง
ในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ สามารถก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในโลก
และโทรศัพท์โนเกียเป็นโทรศัพท์ขายดีอันดับหนึ่งของโลกติดต่อกัน 13 ปี
จนกระทั่งแอปเปิลนำไอโฟนออกสู่ตลาดเป็นครั้งแรก ในปี 2007 นั่นแหละ
ที่การปฏิวัติเทคโนโลยี่การสื่อสารในระดับบุคคลได้เริ่มขึ้น และขยายตัว สร้างผลสะเทือนอย่างรุนแรงมากขึ้นเป็นลำดับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อซัมซุง นำสมาร์ทโฟนในระบบแอนดรอยด์ ออกมาแข่งกับไอโฟน ซึ่งใช้ระบบโอแอส
ที่แอปเปิลผลิตเอง ทำให้โทรศัพท์เคลื่อนที่โนเกีย ซึ่งเพียงไม่กี่ปีก่อนหน้านี้เอง
คืออุปกรณ์สื่อสารที่แสดงถึงสถานะทางสังคมของผู้ใช้ กลายเป็นวัตถุล้าสมัยไปในพริบตา
ความจริงแล้ว โนเกียผลิตสมาร์ทโฟนออกมาก่อนเพื่อน เพราะ ผู้บริหารโนเกียคาดการณ์ว่า
รายได้จากโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพื้นฐานจะลดลงไปเรื่อย ๆ และเมื่อถึงปี 2000 จะไม่มีกำไรเลย
ดังน้น จึงได้ลงทุนวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีอีเมล์ที่ใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่จอสัมผัส หรือ ทัชสกรีน และ
เครือข่ายไร้สายที่เร็วขึ้นในตอนต้นทศวรรษ 1990 และนำสมาร์ทโฟนเครื่องแรกคือ
โนเกีย 9000 ออกสู่ตลาดในปี 1996 สิบปีก่อนที่ไอโฟนจะเกิด
แต่ผู้ถือหุ้นในขณะนั้นพอใจกับผลกำไรจากการขายโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบธรรมดา
และเห็นว่าโนเกียไม่ควรลงทุนกับสมาร์ทโฟน เพราะเป็นโทรศัพท์ที่มีราคาแพงสำหรับตลาดบนซึ่งมีผู้ใช้น้อยมาก
ประกอบกับในขณะนั้นโมโตโรล่าซึ่งเป็นคู่แข่งจากอเมริกา นำโทรศัพท์รุ่น Razr ซึ่งบางและมีฝาเปิดปิดออกสู่ตลาด
ได้รับความนิยมอย่างมาก ทำให้ผู้บิรหารโนเกียถูกผู้ถือหุ้นตำหนิ ซีอีโอคนเก่าลาออกไป
ซีอีโอคนใหม่ที่มาจากฝ่ายการเงินของโนเกีย เปลี่ยนยุทธศาสตร์ใหม่
โดยนำเอาฟังก์ชั่นบางอย่างของสมาร์ทโนฟมาใส่ไว้ในโทรศัพท์แบบธรรมดา
และหยุดการพัฒนาสมาร์ทโฟน ซึ่งยุทธศาสตร์ใหม่นี้ประสบความสำเร็จ ทำให้โนเกียเป็นโทรศัพท์ขายดีที่สุดในโลก
จนกระทั่งสตีฟ จอบส์ แนะนำไอโฟนให้โลกรู้จักเป็นครั้งแรก เมื่อ 6 ปีก่อน โนเกียก็เริ่มนับถอยหลัง
ถึงแม้ว่าจะพยายามพัฒนาสมาร์ทโฟนของตนขึ้นมาแข่งขันแต่ก็ไล่ไม่ทันแล้ว
สองปีที่แล้ว โนเกียเลิกใช้ระบบปฏิบัติการซิมเบียนที่พัฒนาเอง หันไปจับมือกับไมโครซอฟต์ ใช้ระบบวินโดวส์
เป็นระบบปฏิบัติการของสมาร์ทโฟนแทน“ลูเมีย” ซึ่งเป็นสมาร์ทโฟนของโนเกีย แม้จะมีคุณสมบัติในการใข้งานที่ดี
แต่ก็ไม่สามารถเทียบกับความนิยมและยอดขายของซัมซุงและไอโฟนได้เลย
ไมโครซอฟต์เองก็เป็นเหยื่อของความคิดสร้างสรรค์ของสตีฟ จอบส์ แบบเดียวกับโนเกีย
เพราะเมื่อสตีฟ จอบส์ ทำให้ไอโฟน เป็นคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่และพัฒนาไอแพดขึ้นมาอีกตัวหนึ่ง
ก็รุกคืบเข้าไปกินส่วนแบ่งตลาดของคอมพิวเตอร์พีซี และโน้ตบุ๊กที่ไมโครซอฟต์ผูกขาดซอฟต์แวร์มานานหลายสิบปี
ไมโครซอฟต์ต้องหารายได้ใหม่มาแทนรายได้จากซอฟต์แวร์ที่แม้จะยังมากอยู่ แต่อนาคตนั้นไม่แน่ การซื้อโนเกีย
ทำให้ไมโครซอฟต์ซึ่งเดิมอยู่ในธุรกิจซอฟต์แวร์อย่างเดียว ก้าวไปสู่ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ด้วยเหมือนกับแอปเปิ้ล
เพื่อจะผลิตสมาร์ทโฟน แทบเล็ต และเครื่องมือสื่อสารแบบเคลื่อนที่อื่นๆ อยู่ที่ว่า
จะแข่งขันได้และไล่ทันแอปเปิลหรือซัมซุงซึ่งล่วงหน้าไปไกลแล้วหรือไม่
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 0
Re: “โนเกีย”มีวันนี้เพราะ“สตีฟ จอบส์ “
โพสต์ที่ 2
ในที่สุดไมโครซอฟท์ก็ประกาศเข้าซื้อธุรกิจโทรศัพท์มือถือของโนเกียมูลค่า 7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ (5.44 พันล้านยูโร)
โดยดีลนี้คาดว่าจะเสร็จได้ในไตรมาสแรกปีหน้า โดยจะต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นรวมถึงกระบวนการอนุญาตทางกฏหมายด้วย
ที่มา : Reuters
อัพเดตเพิ่มเติม:
ดีล 7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐนี้ ไมโครซอฟท์จะชำระให้โนเกียเป็นเงินสด โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ 5 พันล้านเหรียญ
ฯ สำหรับส่วนธุรกิจอุปกรณ์และบริการของโนเกีย และ 2.17 พันล้านเหรียญฯ สำหรับค่าสิทธิบัตรต่างๆ
พนักงานของโนเกียจำนวน 32,000 คนรวมถึง Stephen Elop และผู้บริหารอีก 4 คน ได้แก่ Jo Harlow, Juha Putkiranta,
Timo Toikkanen และ Chris Weber จะถูกโยกย้ายไปยังไมโครซอฟท์ โดยพนักงานจำนวนนี้แบ่งเป็น 4,700 คนในฟินแลนด์
และ 18,300 คนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต, ประกอบ, และบรรจุภัณฑ์ทั่วโลก ทั้งนี้ Risto Siilasmaa
ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานบอร์ดผู้บริหารของโนเกียจะขึ้นเป็น CEO ชั่วคราวให้กับทางโนเกียแทน Stephen Elop
สำหรับเรื่องแบรนด์ ไมโครซอฟท์จะมีสิทธิ์เป็นเจ้าของแบรนด์ Asha และมีเพียงสิทธิ์การใช้งานแบรนด์โนเกีย
สำหรับโทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน โดยโนเกียจะยังคงความเป็นเจ้าของแบรนด์โนเกียอยู่
สำหรับสิทธิบัตรนั้น โนเกียจะยังถือครองความเป็นเจ้าของสิทธิบัตร โดยจะยินยอมให้ไมโครซอฟท์ใช้งานได้ 10 ปี
ในทางกลับกันไมโครซอฟท์จะยินยอมให้ทางโนเกียสามารถเข้าใช้สิทธิบัตรของไมโครซอฟท์ในบริการต่างๆ ของ HERE
และโนเกียจะยอมให้ไมโครซอฟท์สามารถต่อสัญญาการใช้งานสิทธิบัตรร่วมกันตลอดไป
ไมโครซอฟท์ยังประกาศเพิ่มเติมด้วยว่าเตรียมจัดสร้างศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ในฟินแลนด์อีกด้วย
เพื่อใช้รองรับลูกค้าในกลุ่มประเทศยุโรป โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณ 250 ล้านเหรียญสหรัฐในการจัดสร้าง
ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
ที่มาเพิ่มเติม : ไมโครซอฟท์, โนเกีย
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 0
Re: “โนเกีย”มีวันนี้เพราะ“สตีฟ จอบส์ “
โพสต์ที่ 5
สิ่งที่โนเกีย ไม่ยอมขายมาพร้อมกันในครั้งนี้
โนเกียน่าจะนำไปพัฒนาต่อ...
ธุรกิจเน็ตเวิรกกิ้ง NSM
เทคโนโลยีด้านแผนที่และสถานที่ HERE
ซึ่งโนเกียมีแผนบุกตลาดระบบนำทางในรถยนต์
ระบบนำทางในรถยนต์ปัจจุบัน แผนที่ของGoogle นำหน้าไปมาก
ธุรกิจด้านนี้น่าจะต้องมีอนาคตและการเติบโต
GPS นำทาง และเครื่องติดตามรถยนต์
น่าจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาชิงส่วนแบ่งการตลาดรถยนต์
โนเกียน่าจะนำไปพัฒนาต่อ...
ธุรกิจเน็ตเวิรกกิ้ง NSM
เทคโนโลยีด้านแผนที่และสถานที่ HERE
ซึ่งโนเกียมีแผนบุกตลาดระบบนำทางในรถยนต์
ระบบนำทางในรถยนต์ปัจจุบัน แผนที่ของGoogle นำหน้าไปมาก
ธุรกิจด้านนี้น่าจะต้องมีอนาคตและการเติบโต
GPS นำทาง และเครื่องติดตามรถยนต์
น่าจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาชิงส่วนแบ่งการตลาดรถยนต์
-
- Verified User
- โพสต์: 241
- ผู้ติดตาม: 0
Re: “โนเกีย”มีวันนี้เพราะ“สตีฟ จอบส์ “
โพสต์ที่ 6
วันที่ 12 เดือนนี้ หนังเรื่อง Jobs จะเข้าโรงครับ มีฉากตอนเปิดตัวไอโฟน(หรืออาจจะไอพอต) ด้วยครับ
มีอีกบริษัทที่ก็น่าสนใจนะครับ คือ Dell computer ที่เคยรุ่งเรืองก่อนจะมาเป็นอย่างปัจจุบัน ในมุมมองของท่านๆคิดว่า สตีฟ ถือว่าเป็น CEO ที่เก่งไหมครับ ?
มีอีกบริษัทที่ก็น่าสนใจนะครับ คือ Dell computer ที่เคยรุ่งเรืองก่อนจะมาเป็นอย่างปัจจุบัน ในมุมมองของท่านๆคิดว่า สตีฟ ถือว่าเป็น CEO ที่เก่งไหมครับ ?
ความจนนั้นเกิดได้จากสองสาเหตุ คือ จนเพราะไม่มี กับ จนเพราะไม่พอ
ความรวยก็ประกอบด้วยองค์สอง คือ รวยเพราะมีมาก และ รวยเพราะพอเพียง
ความรวยก็ประกอบด้วยองค์สอง คือ รวยเพราะมีมาก และ รวยเพราะพอเพียง
-
- Verified User
- โพสต์: 390
- ผู้ติดตาม: 0
Re: “โนเกีย”มีวันนี้เพราะ“สตีฟ จอบส์ “
โพสต์ที่ 7
ขอบคุณท่าน จขกท มากครับ สำหรับบทความ
ในฐานะคนที่เคยใช้ โนเกีย มาแทบทุกรุ่น ระบบซิมเปี้ยนของโนเกีย ในช่วงนั้น มีปัญหาติดไวรัสจนคนใช้งานเบื่อครับ
และลูกค้าเกิดความรู้สึกว่า โนเกีย ไม่ยอมรับผิดชอบ จากเดิมที่สามารถเปลี่ยนเครื่องได้ใน 7 วัน กลายเป็นแค่ส่งซ่อมเท่านั้น
นอกจากนี้ สมัยนั้น การตั้งค่าการใช้งานอินเตอร์เน็ตของ โนเกีย ก็ยุ่งยากมากครับ พอมาเจอ iPhone ที่แค่ใส่ข้อมูลสำคัญไม่กี่ตัวก็สามารถเข้าถึงอีเมล เล่นเน็ตได้แล้ว ทำให้ความนิยมในโนเกียลดลงไปมากครับ
ที่จริงอีกตัวอย่างที่ควรพูดถึงคือ โซนี่ ครับ ผมเองก็เคยเป็นสาวกอารยธรรมโซนี่ เจอใครก็เชียร์ให้ซื่อแต่โซนี่ จนกระทั่ง ซัมซุง เกิดขึ้นมานั่นแหละครับ ถึงได้ทราบว่า อะไรคือของแพงแล้วไม่คุ้มค่า กับ ของถูกแต่คุ้มเกินราคากว่าของแพง ครับ
ในฐานะคนที่เคยใช้ โนเกีย มาแทบทุกรุ่น ระบบซิมเปี้ยนของโนเกีย ในช่วงนั้น มีปัญหาติดไวรัสจนคนใช้งานเบื่อครับ
และลูกค้าเกิดความรู้สึกว่า โนเกีย ไม่ยอมรับผิดชอบ จากเดิมที่สามารถเปลี่ยนเครื่องได้ใน 7 วัน กลายเป็นแค่ส่งซ่อมเท่านั้น
นอกจากนี้ สมัยนั้น การตั้งค่าการใช้งานอินเตอร์เน็ตของ โนเกีย ก็ยุ่งยากมากครับ พอมาเจอ iPhone ที่แค่ใส่ข้อมูลสำคัญไม่กี่ตัวก็สามารถเข้าถึงอีเมล เล่นเน็ตได้แล้ว ทำให้ความนิยมในโนเกียลดลงไปมากครับ
ที่จริงอีกตัวอย่างที่ควรพูดถึงคือ โซนี่ ครับ ผมเองก็เคยเป็นสาวกอารยธรรมโซนี่ เจอใครก็เชียร์ให้ซื่อแต่โซนี่ จนกระทั่ง ซัมซุง เกิดขึ้นมานั่นแหละครับ ถึงได้ทราบว่า อะไรคือของแพงแล้วไม่คุ้มค่า กับ ของถูกแต่คุ้มเกินราคากว่าของแพง ครับ
- นายมานะ
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1116
- ผู้ติดตาม: 0
Re: “โนเกีย”มีวันนี้เพราะ“สตีฟ จอบส์ “
โพสต์ที่ 8
ขอบคุณสำหรับการแบ่งปันครับ ขออนุญาตนำบทความของคุณวรวิสุทธิ์ (Marketing hub) มาต่อยอดด้วยครับ
สามก๊กมือถือดุเดือด เมื่อไมโครซอฟต์ซื้อโนเกีย?
กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 5 กันยายน 2556 02:00
โดย : วรวิสุทธิ์ ภิญโญยาง
กลายเป็นข่าวใหญ่และน่าตื่นเต้นของอุตสาหกรรมไอทีช่วงเริ่มต้นไตรมาสสุดท้ายของปี 2013
เมื่อไมโครซอฟต์เข้าซื้อกิจการของโนเกีย ในส่วนของธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ด้วยมูลค่าการซื้อกว่า 7,200 ล้านดอลลาร์ (คิดเป็นมูลค่าของกิจการ 5,000 ล้านดอลลาร์ รวมกับค่าใช้จ่ายในการใช้สิทธิบัตรต่างๆของโนเกีย อีก 2,200 ล้านดอลลาร์)
โนเกีย เป็นบริษัทมือถือที่ครองแชมป์ยอดขายอันดับหนึ่งมายาวนาน 14 ปี นับตั้งแต่ปี 1998 เรื่อยมา จนมาเสียแชมป์ให้ซัมซุงเมื่อปี 2012 โดยเหตุผลหลักๆ คือ ไม่สามารถแข่งขันในตลาดสมาร์ทโฟนที่กำลังเติบโตอย่างมหาศาลได้ นับตั้งแต่แอ๊ปเปิ้ลเปิดตัวไอโฟนเมื่อปี 2007
โนเกียเพิ่งตระหนักถึงความสำคัญในตลาดสมาร์ทโฟนจริงจังเมื่อเดือน ก.พ.2011 ภายใต้การนำของซีอีโอคนใหม่ขณะนั้น คือ "สตีเฟน อีลอป" ที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งได้เพียง 5 เดือน อีลอป ได้ปรับกลยุทธ์และทิศทางโนเกียให้รุกตลาดสมาร์ทโฟน โดยเลือกใช้วินโดวส์โฟนเป็นระบบปฏิบัติการหลักต่อกรไอโอเอสจากค่ายแอ๊ปเปิ้ลและแอนดรอยด์จากค่ายกูเกิล เหตุผลที่อีลอปให้ความสำคัญที่สุด คือ การสร้างความแตกต่าง (Differentiation) เพราะถ้าโนเกียเลือกใช้แอนดรอยด์เป็นระบบปฏิบัติการ คงยากที่จะสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่น
การหมั้นหมายกันระหว่างไมโครซอฟต์และโนเกียครั้งนั้นพัฒนาเป็นการแต่งงานใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันในวันนี้ ด้วยเหตุผลที่น่าสนใจหลายประการ
เหตุผลเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุด คือ สร้างความแข็งแกร่งให้อีโคซิสเต็มส์ของตัวเอง เพราะอนาคตของไมโครซอฟต์ที่ฝากไว้กับธุรกิจสมาร์ทดีไวซ์ต่างๆ เนื่องจากธุรกิจหลักของบริษัทอย่างวินโดว์สและออฟฟิศเริ่มอยู่ในช่วงขาลงจากตลาดพีซีที่ยอดลดลงทุกปี
ไมโครซอฟต์ เพิ่งปรับองค์กรครั้งใหญ่สุดไป เมื่อเดือนก.ค.ที่ผ่านมา ภายใต้ยุทธศาสตร์ “One Microsoft” รวบอำนาจการบริหารสายฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เน้นควบคุมประสบการณ์ใช้ซอฟต์แวร์และระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์ต่างๆ ให้เป็นหนึ่งเดียว ปรับทิศทางธุรกิจหันมาเน้นการสร้างฮาร์ดแวร์ของตัวเอง ทั้งลูกผสมแทบเล็ตกับพีซีอย่าง เซอร์เฟซ และเครื่องเล่นเกม เอ็กซ์-บ็อกซ์ ที่เตรียมปรับ Positioning จากเครื่องเล่นเกม เป็นอุปกรณ์สำหรับโฮมเอ็นเตอร์เทนเมนท์
การซื้อโนเกียที่มีประสบการณ์ในการพัฒนา ออกแบบมือถือมายาวนานที่สุดในอุตสาหกรรม มีความคุ้นเคยกับซัพพลายเชนทั้งหมดเป็นอย่างดี เปรียบเสมือนได้จิ๊กซอว์ตัวสำคัญมาเติมเต็มในส่วนที่ขาดหายไป
นอกจากมือถือแล้ว ไมโครซอฟต์ยังได้นวัตกรรมที่สำคัญอื่นๆ จากโนเกียอีก เช่น นวัตกรรมการถ่ายภาพ (Imaging) นวัตกรรมในส่วนของ Personal Assistant และ อุปกรณ์พกพาอย่างอื่นที่ทางโนเกียพัฒนาอยู่ (น่าจับตามองว่าเป็นอุปกรณ์อะไร ซึ่งอาจจะตอบโจทย์เรื่องแทบเล็ตของไมโครซอฟต์เพิ่มอีกอย่าง) ยังไม่พอครับ ไมโครอยังได้สิทธิ์ใช้บริการต่างๆ ของโนเกีย เช่น บริการแผนที่ “Here” ที่จะเข้ามาเสริมทัพบริการหลักของไมโครซอฟต์อย่าง Bing , Skype , SkyDrive , MS Office
“คอนเน็คชั่น” เป็นสิ่งสำคัญอีกสิ่ง ที่ไมโครอจะได้จากการซื้อโนเกีย
ทั้งคอนเน็คชั่นและช่องทางการจัดจำหน่าย จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการกระจายสินค้าให้รวดเร็วและครอบคลุมมากขึ้น เปิดตัวมือถือใหม่ที ก็จะวางขายในแต่ละประเทศเร็วและทั่วถึงทุกกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
เราอาจได้เห็นไมโครซอฟต์เอาจริงกับการพัฒนาร้านค้าปลีกของตัวเอง ปรับเปลี่ยนศูนย์โนเกียสาขาต่างๆ ทั่วโลกรวมกับไมโครซอฟต์สโตร์ที่มีอยู่แล้ว 75 สาขา เพื่อชนกับแอ๊ปเปิ้ลสโตร์โดยตรง (ไพ่ใบนี้กูเกิลเสียเปรียบเต็มๆ เพราะไม่มีอยู่คนเดียว)
ใช้กลยุทธ์ Vertical Integration เต็มรูปแบบ เพราะมีทั้ง Backward Vertical Integration และ Forward Vertical Integration ตามรอยแอ๊ปเปิ้ลที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก
ไพ่ทั้งหมดในมือของไมโครซอฟต์ตอนนี้ สามารถใช้พลิกเกมขึ้นมาเปิดสงครามสามก๊กมือถือระหว่างแอ๊ปเปิ้ลและกูเกิลได้สูสีขึ้น ตอบโจทย์ด้านยุทธศาสตร์ของไมโครซอฟต์ชัดเจนและเป็นการสร้างความได้เปรียบการแข่งขันให้กลับมาอยู่ในเกมอีกครั้ง
นอกจากโนเกียแล้ว ไมโครซอฟต์ยังมีตัวเลือกอีกตัว คือ แบล็คเบอร์รี ที่มีนักวิเคราะห์จาก บลูมเบิร์กตีมูลค่าอยู่ที่ 5,500 ล้านดอลลาร์
ไมโครซอฟต์ คิดถูกแล้วครับที่ซื้อโนเกียแทนที่จะเป็น แบล็คเบอร์รี เพราะถ้าไปซื้อแบล็คเบอร์รีแทนไมโครซอฟต์คงไปไม่ถึงดวงดาว เนื่องจากขาดไพ่ในมืออีกหลายสิบใบ เงินก็น้อย ทรัพยากรก็น้อย อีกทั้งไม่เคยทำงานร่วมกันมาใกล้ชิดแบบโนเกีย กว่าจะปรับตัวกันได้คงโดนแอ๊ปเปิ้ลและกูเกิลตีแตกกระเจิงไปแล้ว
ที่สำคัญ อาการของแบล็คเบอร์รีย่ำแย่กว่าโนเกียมาก
สิ่งที่น่าจับตามองต่อไป คือ การใช้แบรนด์ “Asha” สำหรับตลาดฟีเจอร์โฟนและการใช้วินโดวส์โฟนเป็นสมาร์ทโฟน สำหรับ low-cost segment เพื่อขายในประเทศกำลังพัฒนาและจะมี โปรดักส์ชนแอนดรอยด์ในทุกเซคเม้นท์ตั้งแต่รุ่นถูกไปจนถึงรุ่นแพง
เป้าหมายที่ไมโครซอฟต์ตั้งไว้ คือ เพิ่มส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนจาก 4% เป็น 15% ภายใน 5 ปี เป็นเป้าหมายที่มีโอกาสเป็นจริงได้ แต่การแข่งขันจากนี้ไปจะดุเดือดขึ้นอย่างแน่นอน
คำถามน่าสนใจจากนี้คือ สตีเฟน อีลอป จะไปอยู่ตรงไหน และใครจะมาเป็นซีอีโอของไมโครซอฟต์แทนที่สตีฟ บอลเมอร์ ที่ประกาศลงจากตำแหน่งภายในอีก 1 ปีข้างหน้า
ติดตามอ่านได้ ใน facebook.com/MktHub นะครับ
สามก๊กมือถือดุเดือด เมื่อไมโครซอฟต์ซื้อโนเกีย?
กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 5 กันยายน 2556 02:00
โดย : วรวิสุทธิ์ ภิญโญยาง
กลายเป็นข่าวใหญ่และน่าตื่นเต้นของอุตสาหกรรมไอทีช่วงเริ่มต้นไตรมาสสุดท้ายของปี 2013
เมื่อไมโครซอฟต์เข้าซื้อกิจการของโนเกีย ในส่วนของธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ด้วยมูลค่าการซื้อกว่า 7,200 ล้านดอลลาร์ (คิดเป็นมูลค่าของกิจการ 5,000 ล้านดอลลาร์ รวมกับค่าใช้จ่ายในการใช้สิทธิบัตรต่างๆของโนเกีย อีก 2,200 ล้านดอลลาร์)
โนเกีย เป็นบริษัทมือถือที่ครองแชมป์ยอดขายอันดับหนึ่งมายาวนาน 14 ปี นับตั้งแต่ปี 1998 เรื่อยมา จนมาเสียแชมป์ให้ซัมซุงเมื่อปี 2012 โดยเหตุผลหลักๆ คือ ไม่สามารถแข่งขันในตลาดสมาร์ทโฟนที่กำลังเติบโตอย่างมหาศาลได้ นับตั้งแต่แอ๊ปเปิ้ลเปิดตัวไอโฟนเมื่อปี 2007
โนเกียเพิ่งตระหนักถึงความสำคัญในตลาดสมาร์ทโฟนจริงจังเมื่อเดือน ก.พ.2011 ภายใต้การนำของซีอีโอคนใหม่ขณะนั้น คือ "สตีเฟน อีลอป" ที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งได้เพียง 5 เดือน อีลอป ได้ปรับกลยุทธ์และทิศทางโนเกียให้รุกตลาดสมาร์ทโฟน โดยเลือกใช้วินโดวส์โฟนเป็นระบบปฏิบัติการหลักต่อกรไอโอเอสจากค่ายแอ๊ปเปิ้ลและแอนดรอยด์จากค่ายกูเกิล เหตุผลที่อีลอปให้ความสำคัญที่สุด คือ การสร้างความแตกต่าง (Differentiation) เพราะถ้าโนเกียเลือกใช้แอนดรอยด์เป็นระบบปฏิบัติการ คงยากที่จะสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่น
การหมั้นหมายกันระหว่างไมโครซอฟต์และโนเกียครั้งนั้นพัฒนาเป็นการแต่งงานใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันในวันนี้ ด้วยเหตุผลที่น่าสนใจหลายประการ
เหตุผลเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุด คือ สร้างความแข็งแกร่งให้อีโคซิสเต็มส์ของตัวเอง เพราะอนาคตของไมโครซอฟต์ที่ฝากไว้กับธุรกิจสมาร์ทดีไวซ์ต่างๆ เนื่องจากธุรกิจหลักของบริษัทอย่างวินโดว์สและออฟฟิศเริ่มอยู่ในช่วงขาลงจากตลาดพีซีที่ยอดลดลงทุกปี
ไมโครซอฟต์ เพิ่งปรับองค์กรครั้งใหญ่สุดไป เมื่อเดือนก.ค.ที่ผ่านมา ภายใต้ยุทธศาสตร์ “One Microsoft” รวบอำนาจการบริหารสายฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เน้นควบคุมประสบการณ์ใช้ซอฟต์แวร์และระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์ต่างๆ ให้เป็นหนึ่งเดียว ปรับทิศทางธุรกิจหันมาเน้นการสร้างฮาร์ดแวร์ของตัวเอง ทั้งลูกผสมแทบเล็ตกับพีซีอย่าง เซอร์เฟซ และเครื่องเล่นเกม เอ็กซ์-บ็อกซ์ ที่เตรียมปรับ Positioning จากเครื่องเล่นเกม เป็นอุปกรณ์สำหรับโฮมเอ็นเตอร์เทนเมนท์
การซื้อโนเกียที่มีประสบการณ์ในการพัฒนา ออกแบบมือถือมายาวนานที่สุดในอุตสาหกรรม มีความคุ้นเคยกับซัพพลายเชนทั้งหมดเป็นอย่างดี เปรียบเสมือนได้จิ๊กซอว์ตัวสำคัญมาเติมเต็มในส่วนที่ขาดหายไป
นอกจากมือถือแล้ว ไมโครซอฟต์ยังได้นวัตกรรมที่สำคัญอื่นๆ จากโนเกียอีก เช่น นวัตกรรมการถ่ายภาพ (Imaging) นวัตกรรมในส่วนของ Personal Assistant และ อุปกรณ์พกพาอย่างอื่นที่ทางโนเกียพัฒนาอยู่ (น่าจับตามองว่าเป็นอุปกรณ์อะไร ซึ่งอาจจะตอบโจทย์เรื่องแทบเล็ตของไมโครซอฟต์เพิ่มอีกอย่าง) ยังไม่พอครับ ไมโครอยังได้สิทธิ์ใช้บริการต่างๆ ของโนเกีย เช่น บริการแผนที่ “Here” ที่จะเข้ามาเสริมทัพบริการหลักของไมโครซอฟต์อย่าง Bing , Skype , SkyDrive , MS Office
“คอนเน็คชั่น” เป็นสิ่งสำคัญอีกสิ่ง ที่ไมโครอจะได้จากการซื้อโนเกีย
ทั้งคอนเน็คชั่นและช่องทางการจัดจำหน่าย จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการกระจายสินค้าให้รวดเร็วและครอบคลุมมากขึ้น เปิดตัวมือถือใหม่ที ก็จะวางขายในแต่ละประเทศเร็วและทั่วถึงทุกกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
เราอาจได้เห็นไมโครซอฟต์เอาจริงกับการพัฒนาร้านค้าปลีกของตัวเอง ปรับเปลี่ยนศูนย์โนเกียสาขาต่างๆ ทั่วโลกรวมกับไมโครซอฟต์สโตร์ที่มีอยู่แล้ว 75 สาขา เพื่อชนกับแอ๊ปเปิ้ลสโตร์โดยตรง (ไพ่ใบนี้กูเกิลเสียเปรียบเต็มๆ เพราะไม่มีอยู่คนเดียว)
ใช้กลยุทธ์ Vertical Integration เต็มรูปแบบ เพราะมีทั้ง Backward Vertical Integration และ Forward Vertical Integration ตามรอยแอ๊ปเปิ้ลที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก
ไพ่ทั้งหมดในมือของไมโครซอฟต์ตอนนี้ สามารถใช้พลิกเกมขึ้นมาเปิดสงครามสามก๊กมือถือระหว่างแอ๊ปเปิ้ลและกูเกิลได้สูสีขึ้น ตอบโจทย์ด้านยุทธศาสตร์ของไมโครซอฟต์ชัดเจนและเป็นการสร้างความได้เปรียบการแข่งขันให้กลับมาอยู่ในเกมอีกครั้ง
นอกจากโนเกียแล้ว ไมโครซอฟต์ยังมีตัวเลือกอีกตัว คือ แบล็คเบอร์รี ที่มีนักวิเคราะห์จาก บลูมเบิร์กตีมูลค่าอยู่ที่ 5,500 ล้านดอลลาร์
ไมโครซอฟต์ คิดถูกแล้วครับที่ซื้อโนเกียแทนที่จะเป็น แบล็คเบอร์รี เพราะถ้าไปซื้อแบล็คเบอร์รีแทนไมโครซอฟต์คงไปไม่ถึงดวงดาว เนื่องจากขาดไพ่ในมืออีกหลายสิบใบ เงินก็น้อย ทรัพยากรก็น้อย อีกทั้งไม่เคยทำงานร่วมกันมาใกล้ชิดแบบโนเกีย กว่าจะปรับตัวกันได้คงโดนแอ๊ปเปิ้ลและกูเกิลตีแตกกระเจิงไปแล้ว
ที่สำคัญ อาการของแบล็คเบอร์รีย่ำแย่กว่าโนเกียมาก
สิ่งที่น่าจับตามองต่อไป คือ การใช้แบรนด์ “Asha” สำหรับตลาดฟีเจอร์โฟนและการใช้วินโดวส์โฟนเป็นสมาร์ทโฟน สำหรับ low-cost segment เพื่อขายในประเทศกำลังพัฒนาและจะมี โปรดักส์ชนแอนดรอยด์ในทุกเซคเม้นท์ตั้งแต่รุ่นถูกไปจนถึงรุ่นแพง
เป้าหมายที่ไมโครซอฟต์ตั้งไว้ คือ เพิ่มส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนจาก 4% เป็น 15% ภายใน 5 ปี เป็นเป้าหมายที่มีโอกาสเป็นจริงได้ แต่การแข่งขันจากนี้ไปจะดุเดือดขึ้นอย่างแน่นอน
คำถามน่าสนใจจากนี้คือ สตีเฟน อีลอป จะไปอยู่ตรงไหน และใครจะมาเป็นซีอีโอของไมโครซอฟต์แทนที่สตีฟ บอลเมอร์ ที่ประกาศลงจากตำแหน่งภายในอีก 1 ปีข้างหน้า
ติดตามอ่านได้ ใน facebook.com/MktHub นะครับ