คำถามว่า BAY จ่ายปันผลแบบนี้ มีผลกระทบกับ ราคาที่ทำ Tender โดยสมัครใจไหม
----------------
วันที่/เวลา 28 ส.ค. 2556 17:25:41
หัวข้อข่าว การจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล
หลักทรัพย์ BAY
แหล่งข่าว BAY
รายละเอียดแบบเต็ม
การพิจารณาปันผล
เรื่อง : จ่ายปันผลเป็นเงินสด
วันที่คณะกรรมการมีมติ : 28 ส.ค. 2556
ชนิดการปันผล : จ่ายปันผลเป็นเงินสด
วันกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับปันผล (Record date) : 11 ก.ย. 2556
วันปิดสมุดทะเบียนเพื่อรวบรวมรายชื่อผู้มีสิทธิได้รั : 12 ก.ย. 2556
บปันผล ตามมาตรา 225 ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์
วันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล(XD) : 09 ก.ย. 2556
จ่ายให้กับ : ผู้ถือหุ้นสามัญ
อัตราการจ่ายปันผลเป็นเงินสด (บาทต่อหุ้น) : 0.40
มูลค่าที่ตราไว้ (Par)(บาท) : 10.00
วันที่จ่ายปันผล : 26 ก.ย. 2556
จ่ายปันผลจาก : กำไรสะสม
หมายเหตุ :
ผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลธรรมดาสามารถเครดิตภาษีเงินปันผลคืนได้ในอัตราเท่ากับ 3/7 ของเงินปันผลที่ได้รับ
---------------------------------------------------------------------------------------
วันที่/เวลา 02 ก.ค. 2556 18:01:00
หัวข้อข่าว การเสนอเข้าซื้อหุ้นสามัญของธนาคาร
หลักทรัพย์ BAY
แหล่งข่าว BAY
รายละเอียดแบบเต็ม
ธนาคารขอแจ้งให้ทราบว่า ในช่วงบ่ายของวันนี้ (ตามเวลาประเทศไทย) ธนาคารได้รับแจ้งจาก GE Capital
International Holdings Corporation ("GECIH") ว่า GECIH และ the Bank of Tokyo-Mitsubishi UFJ,
Ltd.("BTMU") ได้ลงนามในข้อตกลงเสนอซื้อหุ้นสามัญของธนาคารที่ GECIH ถืออยู่ (Share Tender Agreement)
โดยภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว BTMU จะทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของธนาคาร โดยสมัครใจ ("Voluntary Tender
Offer" หรือ "VTO") จำนวนทั้งสิ้น 6,074,143,747 หุ้น ในราคา 39.- บาทต่อหุ้น และ GECIH
จะขายหุ้นสามัญของธนาคาร ที่ถืออยู่จำนวน 1,538,365,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 25.33
ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ภายใต้กระบวนการ VTO (ราคาเดียวกันกับราคาเสนอซื้อที่กำหนดไว้) ทั้งนี้
คาดว่าการดำเนินการตาม VTO จะเริ่มในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2556 และสิ้นสุดการดำเนินการในเดือนธันวาคม
2556
จากหนังสือแจ้งข้างต้นระบุว่า การดำเนินการตาม VTO จะเกิดขึ้นต่อเมื่อเงื่อนไขต่างๆ
ตามการอนุมัติของหน่วยงานทางการที่กำกับดูแล และของธนาคารรวมทั้งข้อตกลงระหว่างกัน ดังต่อไปนี้
ได้รับการปฏิบัติครบถ้วนแล้ว
1. การได้รับอนุมัติหรือผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังสำหรับการเข้าซื้อกิจการ
และการขยายสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างด้าวของธนาคาร และการอื่นใดที่เกี่ยวข้อง
2. การได้รับอนุมัติจาก Financial Services Agency ของประเทศญี่ปุ่นให้ BTMU มีธนาคารเป็นบริษัทย่อยของ
BTMU
3. การได้รับอนุมัติในหลักการจากกระทรวงพาณิชย์ในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
4. การได้รับอนุมัติหรือการได้รับผ่อนผันอื่นใดที่จำเป็น จากหน่วยงานทางการที่กำกับดูแล
5.
การได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของธนาคารในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของธนาคารที่เกี่ยวข้องก
ับการเข้าซื้อหุ้น
นอกจากนี้ โดยที่มิได้เป็นเงื่อนไขของการทำคำเสนอซื้อ ก่อนการทำคำเสนอซื้อ BTMU และ/หรือธนาคาร
ประสงค์จะดำเนินการขอและรับการผ่อนผันหรือการอนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้ถือหุ้น
ซึ่งรวมถึงการผ่อนผันและการอนุมัติในเรื่องที่เกี่ยวกับการที่ธนาคารอาจเข้าซื้อกิจการของ BTMU
สาขากรุงเทพฯ ตามนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนี้
- ได้รับการผ่อนผันจากสำนักคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ของประเทศไทย
หรือคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ (Takeover Panel)
เกี่ยวกับระยะเวลาของมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งอนุมัติการเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง
และการผ่อนผันข้อบังคับการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการซึ่งอาจเป็นผลมาจากการที่ธนาคารอาจเข้า
ซื้อกิจการของ BTMU สาขากรุงเทพฯ
-
ได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นของธนาคารในการเข้าทำสัญญาที่เกี่ยวกับการที่ธนาคารอาจเข้าซื้อกิจการของ
BTMU สาขากรุงเทพฯ และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
อนึ่ง ภายหลังจากการดำเนินการตามกระบวนการ VTO เสร็จสิ้นลง BTMU
จะมีสถานะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารแทน GECIH
และเป็นพันธมิตรกับกลุ่มรัตนรักษ์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารอีกกลุ่มหนึ่ง
เพื่อร่วมกันพัฒนาให้รุดหน้าเป็นลำดับต่อไป อีกทั้ง BTMU
และธนาคารจะได้หารือกันเกี่ยวกับการร่วมมือกันในอนาคตในส่วนต่างๆ
เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการเป็นพันธมิตรต่อไป นอกจากนี้
เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
ทั้งสองธนาคารจะได้หารือกันถึงความเป็นไปได้ในการถ่ายโอน BTMU สาขากรุงเทพฯ มายังธนาคารอีกด้วย
โดยการถ่ายโอนดังกล่าวจะเกิดขึ้นภายหลังจากที่การดำเนินการตาม VTO เสร็จสิ้น