Thailand Cuts Growth Outlook as Economy Enters Recession
-
- Verified User
- โพสต์: 4241
- ผู้ติดตาม: 0
Thailand Cuts Growth Outlook as Economy Enters Recession
โพสต์ที่ 1
Thailand Cuts Growth Outlook as Economy Enters Recession
Thailand cut its 2013 growth forecast as the country entered recession for the first time since the global financial crisis, with rising household debt limiting central bank scope to support the economy. Stocks fell.
Gross domestic product unexpectedly shrank 0.3 percent in the three months through June from the previous quarter, when it contracted a revised 1.7 percent, the National Economic and Social Development Board said in Bangkok today. Only one of 11 analysts surveyed had predicted a decline. The economy rose a less-than-estimated 2.8 percent from a year earlier.
Thai policy makers are struggling to sustain growth as government spending plans are delayed, while a slowdown in China curbs demand for exports from Southeast Asian nations. The Bank of Thailand will hold the policy interest rate at 2.5 percent at its Aug. 21 meeting, a Bloomberg survey showed, after Assistant Governor Paiboon Kittisrikangwan said last month that household debt at 80 percent of GDP limits the scope for further easing.
“Exports have remained weak, while domestic demand is also weakening, and the infrastructure spending plan is also delayed,” said Kozo Hasegawa, a Bangkok-based foreign-exchange trader at Sumitomo Mitsui Banking Corp. “The outlook for the economy is more severe now,” he said, adding that he expects the central bank will keep borrowing costs on hold this week.
The state agency cut its full-year expansion forecast to 3.8 percent to 4.3 percent from 4.2 percent to 5.2 percent. It lowered its export growth target to 5 percent from 7.6 percent.
Stocks Slump
The Thai baht slipped 0.3 percent to 31.36 against the dollar as of 1:09 p.m. in Bangkok. It has lost almost 5 percent in the past three months, after reaching its highest level since 1997 in April. The benchmark Stock Exchange of Thailand Index fell 2.1 percent, heading for its biggest drop since July 25.
The Thai central bank cut its 2013 GDP growth forecast to 4.2 percent from 5.1 percent on July 19, citing weakening exports. Shipments (THCTEXPY) grew 0.95 percent in the first six months.
The monetary authority lowered borrowing costs by 25 basis points in May. Singapore last week cut its forecast for exports this year, while Indonesia this month reported second-quarter GDP growth of less than 6 percent for the first time since 2010.
Thai consumer confidence fell to the lowest in seven months in July on rising political unrest and the weakening economic outlook. Prime Minister Yingluck Shinawatra imposed the Internal Security Act for eight days this month to contain protests as the parliament debated an amnesty bill for political protesters.
Car Sales
The administration has tried to speed up its budget disbursements as 2 trillion baht ($64 billion) allocated for infrastructure spending and 350 billion baht for water-management projects have been put on hold.
Toyota Motor Corp. said last month industrywide car sales in Thailand will fall 9.5 percent this year. Total bank loans grew 12.8 percent in the second quarter from a year earlier, compared with 13.2 percent in the previous three months, central bank data showed earlier.
Private consumption grew 2.4 percent in the second quarter from a year earlier, slowing from a 4.4 percent pace in the previous period, today’s data showed. Government consumption rose 5.8 percent from 4.4 percent in the previous three months.
“We still have a chance to grow at the high end of the range if we can speed up budget disbursements and try to boost exports,” Arkhom Termpittayapaisith, secretary-general of the state planning agency, told a news conference today. “Economic growth in the second half will rely more on private investment and tourism, as growth in exports and household spending are still limited. Still, those factors are sensitive to the political situation, making it a key risk for economic growth.”
While the delayed public spending and last year’s high base following the slowdown after the 2011 floods are a challenge, lower inflationary pressure “allows monetary policy to be accommodative,” Arkhom said. Consumer prices rose 2 percent in July from a year earlier, compared to 2.25 percent in June.
To contact the reporter on this story: Suttinee Yuvejwattana in Bangkok at [email protected]
To contact the editor responsible for this story: Stephanie Phang at [email protected]
Find out more about Bloomberg for iPad: http://m.bloomberg.com/ipad/
Thailand cut its 2013 growth forecast as the country entered recession for the first time since the global financial crisis, with rising household debt limiting central bank scope to support the economy. Stocks fell.
Gross domestic product unexpectedly shrank 0.3 percent in the three months through June from the previous quarter, when it contracted a revised 1.7 percent, the National Economic and Social Development Board said in Bangkok today. Only one of 11 analysts surveyed had predicted a decline. The economy rose a less-than-estimated 2.8 percent from a year earlier.
Thai policy makers are struggling to sustain growth as government spending plans are delayed, while a slowdown in China curbs demand for exports from Southeast Asian nations. The Bank of Thailand will hold the policy interest rate at 2.5 percent at its Aug. 21 meeting, a Bloomberg survey showed, after Assistant Governor Paiboon Kittisrikangwan said last month that household debt at 80 percent of GDP limits the scope for further easing.
“Exports have remained weak, while domestic demand is also weakening, and the infrastructure spending plan is also delayed,” said Kozo Hasegawa, a Bangkok-based foreign-exchange trader at Sumitomo Mitsui Banking Corp. “The outlook for the economy is more severe now,” he said, adding that he expects the central bank will keep borrowing costs on hold this week.
The state agency cut its full-year expansion forecast to 3.8 percent to 4.3 percent from 4.2 percent to 5.2 percent. It lowered its export growth target to 5 percent from 7.6 percent.
Stocks Slump
The Thai baht slipped 0.3 percent to 31.36 against the dollar as of 1:09 p.m. in Bangkok. It has lost almost 5 percent in the past three months, after reaching its highest level since 1997 in April. The benchmark Stock Exchange of Thailand Index fell 2.1 percent, heading for its biggest drop since July 25.
The Thai central bank cut its 2013 GDP growth forecast to 4.2 percent from 5.1 percent on July 19, citing weakening exports. Shipments (THCTEXPY) grew 0.95 percent in the first six months.
The monetary authority lowered borrowing costs by 25 basis points in May. Singapore last week cut its forecast for exports this year, while Indonesia this month reported second-quarter GDP growth of less than 6 percent for the first time since 2010.
Thai consumer confidence fell to the lowest in seven months in July on rising political unrest and the weakening economic outlook. Prime Minister Yingluck Shinawatra imposed the Internal Security Act for eight days this month to contain protests as the parliament debated an amnesty bill for political protesters.
Car Sales
The administration has tried to speed up its budget disbursements as 2 trillion baht ($64 billion) allocated for infrastructure spending and 350 billion baht for water-management projects have been put on hold.
Toyota Motor Corp. said last month industrywide car sales in Thailand will fall 9.5 percent this year. Total bank loans grew 12.8 percent in the second quarter from a year earlier, compared with 13.2 percent in the previous three months, central bank data showed earlier.
Private consumption grew 2.4 percent in the second quarter from a year earlier, slowing from a 4.4 percent pace in the previous period, today’s data showed. Government consumption rose 5.8 percent from 4.4 percent in the previous three months.
“We still have a chance to grow at the high end of the range if we can speed up budget disbursements and try to boost exports,” Arkhom Termpittayapaisith, secretary-general of the state planning agency, told a news conference today. “Economic growth in the second half will rely more on private investment and tourism, as growth in exports and household spending are still limited. Still, those factors are sensitive to the political situation, making it a key risk for economic growth.”
While the delayed public spending and last year’s high base following the slowdown after the 2011 floods are a challenge, lower inflationary pressure “allows monetary policy to be accommodative,” Arkhom said. Consumer prices rose 2 percent in July from a year earlier, compared to 2.25 percent in June.
To contact the reporter on this story: Suttinee Yuvejwattana in Bangkok at [email protected]
To contact the editor responsible for this story: Stephanie Phang at [email protected]
Find out more about Bloomberg for iPad: http://m.bloomberg.com/ipad/
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- Verified User
- โพสต์: 1426
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Thailand Cuts Growth Outlook as Economy Enters Recession
โพสต์ที่ 2
เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้ว
วันเผยแพร่ | พิมพ์ | อีเมล / money channel
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เชื่อ เศรษฐกิจไทยปีนี้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว แม้ไตรมาส 2 ขยายตัวเพียง 2.8% มอง ทิศทางครึ่งปีหลังปรับตัวดีขึ้น ทั้งปียังคงเป้าโต 4%
นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้จัดการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาค ศูนย์วิจัยกสิกรไทย บอกว่า การที่เศรษฐกิจไทยเผชิญกับภาวะถดถอยทางเทคนิค (Technical Recession) หลังจากตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2 หดตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า 0.3% ต่อเนื่องจากไตรมาสแรกที่หดตัว 1.7% เป็นเรื่องที่ไม่น่ากังวล และยังไม่ถึงขั้นประสบภาวะวิกฤต หรือ ปัญหาทางเศรษฐกิจที่รุนแรง
เนื่องจากส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่เศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงของการปรับโมเมนตัมมาสู่การเติบโตตามปัจจัยพื้นฐาน หลังจากที่การขยายตัวสูงในปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากแรงผลักดันพิเศษจากหลากหลายมาตรการกระตุ้นของภาครัฐ อาทิ มาตรการรถยนต์คันแรก และการผลิตเร่งตัวหลังปัญหาน้ำท่วม
โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เศรษฐกิจไทยมีโอกาสขยายตัวดีขึ้นไปอยู่ในระดับที่สูงกว่า 5% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนในช่วงไตรมาสที่ 3 ซึ่งได้รับอานิสงส์จากฐานเปรียบเทียบที่ต่ำ และสภาพเศรษฐกิจโลกที่เริ่มมีเสถียรภาพ ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อสัญญาณการฟื้นตัวของการส่งออกในช่วงที่เหลือของปี
สำหรับภาพรวมของปีนี้(56) ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงตัวเลขคาดการณ์กรณีพื้นฐานการขยายตัวของเศรษฐกิจไว้ที่ประมาณ 4% ตามเดิมภายใต้กรอบ 3.8-4.3% และการส่งออกขยายตัว 2-7%
ขณะที่เศรษฐกิจไทยในปีหน้า(57) จะขยายตัวได้ที่ประมาณ 4.5% โดยมีแรงหนุนจากการฟื้นตัวของการส่งออกและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศที่จะทำให้บรรยากาศการลงทุนกลับมาดีขึ้น โดยสัญญาณเศรษฐกิจโลกที่ทยอยเริ่มมีภาพด้านบวกตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปีนี้(56) น่าจะช่วยหนุนให้ภาคการส่งออกของไทยเติบโตได้ในระดับ 7%
วันเผยแพร่ | พิมพ์ | อีเมล / money channel
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เชื่อ เศรษฐกิจไทยปีนี้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว แม้ไตรมาส 2 ขยายตัวเพียง 2.8% มอง ทิศทางครึ่งปีหลังปรับตัวดีขึ้น ทั้งปียังคงเป้าโต 4%
นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้จัดการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาค ศูนย์วิจัยกสิกรไทย บอกว่า การที่เศรษฐกิจไทยเผชิญกับภาวะถดถอยทางเทคนิค (Technical Recession) หลังจากตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2 หดตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า 0.3% ต่อเนื่องจากไตรมาสแรกที่หดตัว 1.7% เป็นเรื่องที่ไม่น่ากังวล และยังไม่ถึงขั้นประสบภาวะวิกฤต หรือ ปัญหาทางเศรษฐกิจที่รุนแรง
เนื่องจากส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่เศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงของการปรับโมเมนตัมมาสู่การเติบโตตามปัจจัยพื้นฐาน หลังจากที่การขยายตัวสูงในปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากแรงผลักดันพิเศษจากหลากหลายมาตรการกระตุ้นของภาครัฐ อาทิ มาตรการรถยนต์คันแรก และการผลิตเร่งตัวหลังปัญหาน้ำท่วม
โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เศรษฐกิจไทยมีโอกาสขยายตัวดีขึ้นไปอยู่ในระดับที่สูงกว่า 5% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนในช่วงไตรมาสที่ 3 ซึ่งได้รับอานิสงส์จากฐานเปรียบเทียบที่ต่ำ และสภาพเศรษฐกิจโลกที่เริ่มมีเสถียรภาพ ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อสัญญาณการฟื้นตัวของการส่งออกในช่วงที่เหลือของปี
สำหรับภาพรวมของปีนี้(56) ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงตัวเลขคาดการณ์กรณีพื้นฐานการขยายตัวของเศรษฐกิจไว้ที่ประมาณ 4% ตามเดิมภายใต้กรอบ 3.8-4.3% และการส่งออกขยายตัว 2-7%
ขณะที่เศรษฐกิจไทยในปีหน้า(57) จะขยายตัวได้ที่ประมาณ 4.5% โดยมีแรงหนุนจากการฟื้นตัวของการส่งออกและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศที่จะทำให้บรรยากาศการลงทุนกลับมาดีขึ้น โดยสัญญาณเศรษฐกิจโลกที่ทยอยเริ่มมีภาพด้านบวกตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปีนี้(56) น่าจะช่วยหนุนให้ภาคการส่งออกของไทยเติบโตได้ในระดับ 7%
-
- Verified User
- โพสต์: 1426
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Thailand Cuts Growth Outlook as Economy Enters Recession
โพสต์ที่ 3
ผู้ว่าธปท. ยัน ไม่กังวลเงินบาทอ่อนค่าช่วงนี้ ขณะที่ไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดครึ่งปีแรกไม่มาก ไม่รุนแรงเหมือนอินโดฯ คาดทั้งปีใกล้สมดุล
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย (20 ส.ค.56) - - นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า เงินบาทที่อ่อนค่าลงมากในวันนี้ถือว่าสอดคล้องกับพื้นฐานเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง อาจจะมาจากการรายงานภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 2/56 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) แต่โดยรวมแล้วมองว่าค่าเงินบาทยังไม่มีประเด็นที่น่ากังวล เนื่องจากยังเคลื่อนไหวสอดคล้องพื้นฐาน
สำหรับภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 2/56 ที่สภาพัฒน์ระบุว่าติดลบต่อเนื่องเมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส จากไตรมาส 1/56 นั้น นายประสาร กล่าวว่า ถือว่าเป็นภาวะถดถอยทางเทคนิค เป็นนิยามทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งปกติการปรับตัวเลขทางเศรษฐกิจจะต้องมีการคำนวณใหม่ว่าเทียบกับฐานปกติหรือไม่ แต่ถ้าเทียบกับฐานที่ไม่เป็นปกติ ก็จะพบว่าไม่ใช่ตัวเลขติดลบ ดังนั้น ตัวเลขเศรษฐกิจก็จะต้องปรับกลับมา
"ตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 1 ปีนี้ติดลบเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 55 และติดลบต่อเนื่องมาถึงไตรมาส 2 ของปีนี้ เพราะไตรมาส 4 ปี 55 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 54 ถือว่าขยายตัวสูงมาก เนื่องจากปี 54 ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม จึงทำให้ไตรมาส 4 ปี 55 ขยายตัวสูงผิดปกติ ดังนั้น จึงเป็นปกติที่ไตรมาส 1 ปีนี้เทียบกับไตรมาส 4 ปี 55 จึงติดลบและกระทบถึงไตรมาส 2"นายประสาร กล่าว
อย่างไรก็ตาม มองว่าเศรษฐกิจไทยจะไม่เกิดปัญหาเหมือนกรณีของอินโดนีเซีย เพราะไทยยังมี
นโยบายมหภาคที่น่าเชื่อถือ รวมทั้งยังไม่มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดรุนแรงเหมือนอินโดนีเซีย ซึ่งตามคาดการณ์ของสำนักต่างๆ ประเมินว่าปีนี้ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยน่าจะเข้าสู่ภาวะสมดุล จากครึ่งปีแรกอาจขาดดุลบ้าง แต่ถือว่าไม่มากและไม่ได้เป็นปัญหา คิดเป็นประมาณไม่ถึง 1% ของจีดีพี และที่สำคัญไทยไม่ต้องใช้เงินเข้าไปอุดหนุนเรื่องพลังงานมากเหมือนอินโดนีเซีย
เรียบเรียง โดย อิทธิพล พันธ์ธรรม
อนุมัติ โดย ดวงสุรีย์ วายุบุตร์
อีเมล์แสดงความคิดเห็น [email protected]
ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 20/08/13 เวลา 12:41:21
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย (20 ส.ค.56) - - นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า เงินบาทที่อ่อนค่าลงมากในวันนี้ถือว่าสอดคล้องกับพื้นฐานเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง อาจจะมาจากการรายงานภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 2/56 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) แต่โดยรวมแล้วมองว่าค่าเงินบาทยังไม่มีประเด็นที่น่ากังวล เนื่องจากยังเคลื่อนไหวสอดคล้องพื้นฐาน
สำหรับภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 2/56 ที่สภาพัฒน์ระบุว่าติดลบต่อเนื่องเมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส จากไตรมาส 1/56 นั้น นายประสาร กล่าวว่า ถือว่าเป็นภาวะถดถอยทางเทคนิค เป็นนิยามทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งปกติการปรับตัวเลขทางเศรษฐกิจจะต้องมีการคำนวณใหม่ว่าเทียบกับฐานปกติหรือไม่ แต่ถ้าเทียบกับฐานที่ไม่เป็นปกติ ก็จะพบว่าไม่ใช่ตัวเลขติดลบ ดังนั้น ตัวเลขเศรษฐกิจก็จะต้องปรับกลับมา
"ตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 1 ปีนี้ติดลบเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 55 และติดลบต่อเนื่องมาถึงไตรมาส 2 ของปีนี้ เพราะไตรมาส 4 ปี 55 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 54 ถือว่าขยายตัวสูงมาก เนื่องจากปี 54 ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม จึงทำให้ไตรมาส 4 ปี 55 ขยายตัวสูงผิดปกติ ดังนั้น จึงเป็นปกติที่ไตรมาส 1 ปีนี้เทียบกับไตรมาส 4 ปี 55 จึงติดลบและกระทบถึงไตรมาส 2"นายประสาร กล่าว
อย่างไรก็ตาม มองว่าเศรษฐกิจไทยจะไม่เกิดปัญหาเหมือนกรณีของอินโดนีเซีย เพราะไทยยังมี
นโยบายมหภาคที่น่าเชื่อถือ รวมทั้งยังไม่มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดรุนแรงเหมือนอินโดนีเซีย ซึ่งตามคาดการณ์ของสำนักต่างๆ ประเมินว่าปีนี้ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยน่าจะเข้าสู่ภาวะสมดุล จากครึ่งปีแรกอาจขาดดุลบ้าง แต่ถือว่าไม่มากและไม่ได้เป็นปัญหา คิดเป็นประมาณไม่ถึง 1% ของจีดีพี และที่สำคัญไทยไม่ต้องใช้เงินเข้าไปอุดหนุนเรื่องพลังงานมากเหมือนอินโดนีเซีย
เรียบเรียง โดย อิทธิพล พันธ์ธรรม
อนุมัติ โดย ดวงสุรีย์ วายุบุตร์
อีเมล์แสดงความคิดเห็น [email protected]
ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 20/08/13 เวลา 12:41:21
-
- Verified User
- โพสต์: 1426
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Thailand Cuts Growth Outlook as Economy Enters Recession
โพสต์ที่ 4
กรณ์” เผยต้นเหตุ ศก.ไทยเข้าสู่ภาวะถดถอยโดยที่ยังไม่มีวิกฤตอะไรมาเป็นตัวฉุด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 สิงหาคม 2556 13:15 น.
“กรณ์” ยอมรับ ศก.ไทยเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างเป็นทางการ ถือเป็นครั้งแรกหลังเกิดวิกฤตปี 51-52 ซัดอัดรัฐบาลบริหารล้มเหลว นโยบายประชานิยมเงินไม่ถึงมือชาวบ้าน แถมเพิ่มภาระหนี้ และสร้างภาระงบประมาณมหาศาล ยันไม่ได้มองในแง่ลบเกินไปพร้อมตั้งข้อสังเกต ประเทศไทยเข้าสู่สภาวะนี้ ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีวิกฤตอะไรมาเป็นตัวฉุด ประกอบกับยังไม่ได้เห็นผลจากการถอนเงินทุนโดยต่างประเทศที่อาจจะเกิดขึ้นถ้าสหรัฐฯ ส่งสัญญาณยกเลิกการกระตุ้นด้วยนโยบายการเงิน
นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Korn Chatikavanij แสดงความเห็นว่าประเทศไทยกำลังเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดอย (Recession) ครั้งแรกตั้งแต่เกิดวิกฤตในปี 2551-2552 โดยได้ชี้ให้เห็นว่า วันนี้ถือว่าเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างเป็นทางการแล้ว หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) เปิดเผยตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สร้างความตกใจให้แก่นักลงทุนพอสมควร คือไตรมาส 2/2556 เศรษฐกิจไทยขยายตัวติดลบ 0.3% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2556 และไตรมาส 1/2556 ติดลบ 1.7% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/55 ถือว่าเป็นการเข้าสู่ภาวะถดถอยครั้งแรกตั้งแต่ช่วงวิกฤตปี 2551-2552
“ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ วิธีวัดทางเทคนิคคือ การเปรียบเทียบอัตราการขยายตัวของ GDP ในแต่ละไตรมาสเทียบกับไตรมาสก่อนหน้านั้น และถือว่าเข้าสู่ภาวะถดถอย ถ้าการเปรียบเทียบเช่นนี้ติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกัน”
ทั้งนี้ นายกรณ์ ชี้แจงว่า หากมองว่าเทียบกับปีที่แล้ว ภาพโดยรวมเศรษฐกิจยังเติบโตอยู่ เพียงแต่อัตราการขยายตัวชะลอลงอย่างมาก และที่เป็นเช่นนั้นเพราะตัวขับเคลื่อนทุกตัวชะลอตัวหมด ไม่ว่าจะเป็นการอุปโภคบริโภค การลงทุน การส่งออก หรือการลงทุนโดยรัฐ
สถานการณ์ดังกล่าวจะเกิดผลกระทบมาก โดยอันดับแรก ธุรกิจต่างๆซบเซาทำให้เงินฝืดขาดความคล่องตัว รายได้ทุกคนลดลง มนุษย์เงินเดือนขาดโอที ขาดโบนัส และเลวร้ายกว่านั้นก็คืออาจถูกลดเงินเดือน หรือถูกปลดออกจากตำแหน่ง นักศึกษาจบมาใหม่ก็จะหางานยากขึ้น ประชาชนจำนวนมากวันนี้รับภาระหนี้อยู่หนักอึ้งอยู่แล้วก็จะลำบากมากขึ้น เพราะภาระหนี้ยังคงอยู่แต่รายได้ลดลง
ส่วนในแง่ของภาครัฐ รายได้ภาษีก็จะลดลง นอกจากจะรีดภาษีหนักมากขึ้น เพราะก่อนหน้านี้ไปลดภาษีกำไรให้ผู้ประกอบการไปแล้วปีละเกือบ 2 แสนล้านบาท นอกจากนั้น จะขาดดุลมากขึ้นก็คือ ต้องกู้มากขึ้น และเมื่อ GDP โตช้า ฐานคำนวณหนี้สาธารณะก็จะเล็กลง ส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP จะเพิ่มขึ้น มีผลต่อเครดิตของประเทศ และระดับความเชื่อมั่น ต้นทุนการกู้ยืมของประเทศจะสูงขึ้น และขีดความสามารถในการแข่งขันก็จะลดลง
นายกรณ์ ยืนยันว่า ทั้งหมดฝ่ายค้านไม่ได้มองในแง่ลบเกินไป แต่เป็นข้อเท็จจริงตามหลักเศรษฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นแน่หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้น พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า ที่น่าแปลกใจคือ ประเทศไทยเข้าสู่สภาวะนี้ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีวิกฤตอะไรมาเป็นตัวฉุด ประกอบกับยังไม่ได้เห็นผลจากการถอนเงินทุนโดยต่างประเทศที่อาจจะเกิดขึ้นถ้าสหรัฐฯ ส่งสัญญาณยกเลิกการกระตุ้นด้วยนโยบายการเงิน(QE)
“ที่ปฏิเสธไม่ได้อีกก็คือ นโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ประชานิยมที่เงินไม่ถึงมือชาวบ้าน ซ้ำร้ายกลายเป็นการเพิ่มภาระหนี้ และเป็นภาระมหาศาลต่องบประมาณแผ่นดิน”
นายกรณ์ ยังได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาว่า ต้องหาวิธีเพิ่มรายได้ และต้องปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ ลดการกินหัวคิว เพิ่มราคาพืชผลการเกษตร พัฒนาทักษะแรงงานไทยทุกระดับ ลดภาระหนี้ของประชาชน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งบประมาณโดยภาครัฐ และลดเงื่อนไขขัดแย้งทางการเมืองที่มีผลต่อบรรยากาศการลงทุนโดยรวม
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 สิงหาคม 2556 13:15 น.
“กรณ์” ยอมรับ ศก.ไทยเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างเป็นทางการ ถือเป็นครั้งแรกหลังเกิดวิกฤตปี 51-52 ซัดอัดรัฐบาลบริหารล้มเหลว นโยบายประชานิยมเงินไม่ถึงมือชาวบ้าน แถมเพิ่มภาระหนี้ และสร้างภาระงบประมาณมหาศาล ยันไม่ได้มองในแง่ลบเกินไปพร้อมตั้งข้อสังเกต ประเทศไทยเข้าสู่สภาวะนี้ ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีวิกฤตอะไรมาเป็นตัวฉุด ประกอบกับยังไม่ได้เห็นผลจากการถอนเงินทุนโดยต่างประเทศที่อาจจะเกิดขึ้นถ้าสหรัฐฯ ส่งสัญญาณยกเลิกการกระตุ้นด้วยนโยบายการเงิน
นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Korn Chatikavanij แสดงความเห็นว่าประเทศไทยกำลังเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดอย (Recession) ครั้งแรกตั้งแต่เกิดวิกฤตในปี 2551-2552 โดยได้ชี้ให้เห็นว่า วันนี้ถือว่าเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างเป็นทางการแล้ว หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) เปิดเผยตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สร้างความตกใจให้แก่นักลงทุนพอสมควร คือไตรมาส 2/2556 เศรษฐกิจไทยขยายตัวติดลบ 0.3% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2556 และไตรมาส 1/2556 ติดลบ 1.7% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/55 ถือว่าเป็นการเข้าสู่ภาวะถดถอยครั้งแรกตั้งแต่ช่วงวิกฤตปี 2551-2552
“ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ วิธีวัดทางเทคนิคคือ การเปรียบเทียบอัตราการขยายตัวของ GDP ในแต่ละไตรมาสเทียบกับไตรมาสก่อนหน้านั้น และถือว่าเข้าสู่ภาวะถดถอย ถ้าการเปรียบเทียบเช่นนี้ติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกัน”
ทั้งนี้ นายกรณ์ ชี้แจงว่า หากมองว่าเทียบกับปีที่แล้ว ภาพโดยรวมเศรษฐกิจยังเติบโตอยู่ เพียงแต่อัตราการขยายตัวชะลอลงอย่างมาก และที่เป็นเช่นนั้นเพราะตัวขับเคลื่อนทุกตัวชะลอตัวหมด ไม่ว่าจะเป็นการอุปโภคบริโภค การลงทุน การส่งออก หรือการลงทุนโดยรัฐ
สถานการณ์ดังกล่าวจะเกิดผลกระทบมาก โดยอันดับแรก ธุรกิจต่างๆซบเซาทำให้เงินฝืดขาดความคล่องตัว รายได้ทุกคนลดลง มนุษย์เงินเดือนขาดโอที ขาดโบนัส และเลวร้ายกว่านั้นก็คืออาจถูกลดเงินเดือน หรือถูกปลดออกจากตำแหน่ง นักศึกษาจบมาใหม่ก็จะหางานยากขึ้น ประชาชนจำนวนมากวันนี้รับภาระหนี้อยู่หนักอึ้งอยู่แล้วก็จะลำบากมากขึ้น เพราะภาระหนี้ยังคงอยู่แต่รายได้ลดลง
ส่วนในแง่ของภาครัฐ รายได้ภาษีก็จะลดลง นอกจากจะรีดภาษีหนักมากขึ้น เพราะก่อนหน้านี้ไปลดภาษีกำไรให้ผู้ประกอบการไปแล้วปีละเกือบ 2 แสนล้านบาท นอกจากนั้น จะขาดดุลมากขึ้นก็คือ ต้องกู้มากขึ้น และเมื่อ GDP โตช้า ฐานคำนวณหนี้สาธารณะก็จะเล็กลง ส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP จะเพิ่มขึ้น มีผลต่อเครดิตของประเทศ และระดับความเชื่อมั่น ต้นทุนการกู้ยืมของประเทศจะสูงขึ้น และขีดความสามารถในการแข่งขันก็จะลดลง
นายกรณ์ ยืนยันว่า ทั้งหมดฝ่ายค้านไม่ได้มองในแง่ลบเกินไป แต่เป็นข้อเท็จจริงตามหลักเศรษฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นแน่หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้น พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า ที่น่าแปลกใจคือ ประเทศไทยเข้าสู่สภาวะนี้ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีวิกฤตอะไรมาเป็นตัวฉุด ประกอบกับยังไม่ได้เห็นผลจากการถอนเงินทุนโดยต่างประเทศที่อาจจะเกิดขึ้นถ้าสหรัฐฯ ส่งสัญญาณยกเลิกการกระตุ้นด้วยนโยบายการเงิน(QE)
“ที่ปฏิเสธไม่ได้อีกก็คือ นโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ประชานิยมที่เงินไม่ถึงมือชาวบ้าน ซ้ำร้ายกลายเป็นการเพิ่มภาระหนี้ และเป็นภาระมหาศาลต่องบประมาณแผ่นดิน”
นายกรณ์ ยังได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาว่า ต้องหาวิธีเพิ่มรายได้ และต้องปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ ลดการกินหัวคิว เพิ่มราคาพืชผลการเกษตร พัฒนาทักษะแรงงานไทยทุกระดับ ลดภาระหนี้ของประชาชน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งบประมาณโดยภาครัฐ และลดเงื่อนไขขัดแย้งทางการเมืองที่มีผลต่อบรรยากาศการลงทุนโดยรวม
-
- Verified User
- โพสต์: 1426
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Thailand Cuts Growth Outlook as Economy Enters Recession
โพสต์ที่ 5
ผู้ว่าธปท.มองจีดีพี Q3/56 ไม่น่าจะติดลบเมื่อเทียบกับ Q2/56
วันอังคารที่ 20 สิงหาคม 2556 เวลา 13:58:52 น.
ผู้เข้าชม : 11 คน ข่าวหุ้น
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาส 3/56 คาดไม่น่าจะติดลบเมื่อเทียบกับไตรมาส 2/56 และแม้ว่าเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มการชะลอตัวตามทิศทางของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย แต่เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังน่าจะยังไปได้ตามที่ประมาณการไว้ แม้จะไม่ได้ขยายตัวสูงมากนัก
ส่วนการเข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการ ธปท.ของนายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี แม้จะนั่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ด้วยนั้น นายประสาร กล่าวว่า ตามกฎหมายไม่ได้ห้ามไว้ และในการประชุม กนง.วันพรุ่งนี้นายอำพนก็สามารถเข้าร่วมประชุมตามปกติ
วันอังคารที่ 20 สิงหาคม 2556 เวลา 13:58:52 น.
ผู้เข้าชม : 11 คน ข่าวหุ้น
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาส 3/56 คาดไม่น่าจะติดลบเมื่อเทียบกับไตรมาส 2/56 และแม้ว่าเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มการชะลอตัวตามทิศทางของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย แต่เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังน่าจะยังไปได้ตามที่ประมาณการไว้ แม้จะไม่ได้ขยายตัวสูงมากนัก
ส่วนการเข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการ ธปท.ของนายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี แม้จะนั่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ด้วยนั้น นายประสาร กล่าวว่า ตามกฎหมายไม่ได้ห้ามไว้ และในการประชุม กนง.วันพรุ่งนี้นายอำพนก็สามารถเข้าร่วมประชุมตามปกติ