Tender offer BAY มีความเสี่ยงอะไรที่ต้องระวังไหมครับ
- KissmeBrow
- Verified User
- โพสต์: 30
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tender offer BAY มีความเสี่ยงอะไรที่ต้องระวังไหมครับ
โพสต์ที่ 2
สงสัยเหมือนกันว่า พอข่าวเข้าซื้อชัดเจนอย่างเห็นทางการ
ทำไมราคาตลาดกลับตกลงเล็กน้อย..
ทำไมราคาตลาดกลับตกลงเล็กน้อย..
- KissmeBrow
- Verified User
- โพสต์: 30
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tender offer BAY มีความเสี่ยงอะไรที่ต้องระวังไหมครับ
โพสต์ที่ 3
น่าจะมาจากความเสี่ยงที่ว่า รอการอนุมัติอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานรัฐเสียก่อน?KissmeBrow เขียน:สงสัยเหมือนกันว่า พอข่าวเข้าซื้อชัดเจนอย่างเห็นทางการ
ทำไมราคาตลาดกลับตกลงเล็กน้อย..
- KissmeBrow
- Verified User
- โพสต์: 30
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tender offer BAY มีความเสี่ยงอะไรที่ต้องระวังไหมครับ
โพสต์ที่ 4
อ้อลืมบอกว่า น่าจะมีปันผลระหว่างกาลอย่างน้อย 0.4 บาทต่อหุ้นด้วยครับ คุณโจKissmeBrow เขียน:น่าจะมาจากความเสี่ยงที่ว่า รอการอนุมัติอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานรัฐเสียก่อน?KissmeBrow เขียน:สงสัยเหมือนกันว่า พอข่าวเข้าซื้อชัดเจนอย่างเห็นทางการ
ทำไมราคาตลาดกลับตกลงเล็กน้อย..
-
- Verified User
- โพสต์: 4241
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tender offer BAY มีความเสี่ยงอะไรที่ต้องระวังไหมครับ
โพสต์ที่ 5
ปธ.มิตซูฯ ยอมรับดีลซื้อ BAY จากจีอีจบแล้ว เดินหน้าทำเทรดเดอร์ ออฟเฟอร์หวังครองหุ้น 75%
updated: 02 ก.ค. 2556 เวลา 20:23:20 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ประธานธนาคารโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ออกแถลงการณ์บอกชัดพร้อมทุ่ม 5.6 แสนล้านเยนซื้อหุ้นธนาคารกรุงศรีอยุธยา 75% หลังจากเจรจาซื้อหุ้นจีอีในธนาคารกรุงศรีฯ 25.33% บรรลุผล พร้อมทำเทนเดอร์ ออฟเฟอร์ส่วนที่เหลือภายในพ.ย.-ธ.ค. นี้
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1372771888
=============================
ถ้าเป็นไปตามข่าว ก็ เดือน 11 - 12 นี่ก็ 5-6 เดือนนะครับ
ทำไมคนซื้อ ใจเย็นจัง ...
updated: 02 ก.ค. 2556 เวลา 20:23:20 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ประธานธนาคารโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ออกแถลงการณ์บอกชัดพร้อมทุ่ม 5.6 แสนล้านเยนซื้อหุ้นธนาคารกรุงศรีอยุธยา 75% หลังจากเจรจาซื้อหุ้นจีอีในธนาคารกรุงศรีฯ 25.33% บรรลุผล พร้อมทำเทนเดอร์ ออฟเฟอร์ส่วนที่เหลือภายในพ.ย.-ธ.ค. นี้
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1372771888
=============================
ถ้าเป็นไปตามข่าว ก็ เดือน 11 - 12 นี่ก็ 5-6 เดือนนะครับ
ทำไมคนซื้อ ใจเย็นจัง ...
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1018
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tender offer BAY มีความเสี่ยงอะไรที่ต้องระวังไหมครับ
โพสต์ที่ 6
ผมว่าคนซื้อ อาจไม่ได้หวังถึง tender ทุกคนก็ได้ครับ ปกติหุ้น tender จะมี 2 ระยะ
ระยะแรก คือช่วงประกาศข่าว แต่ยังต้องรอเงื่อนไขต่างๆ ให้เรียบร้อยก่อน ระยะนี้จะมี gap จากราคา tender ค่อนข้างมากตามความเสี่ยงและระยะเวลา แต่ gap ตรงนี้จะค่อยๆ แคบลงเรื่อยๆ เข้าหา ระยะที่2
ระยะที่2 คือข่าวทุกอย่างชัดเจน มีกำหนดวัน tender เรียบร้อย ถึงระยะนี้ gap ในการเล่นก็จะเหลือแค่2-3 ช่องสุดท้ายแล้วแต่ spread ของราคาหุ้น หรือถ้าคิด เป็น yield น่าจะประมาณ 5 %ต่อ ปี
หลังๆ ที่เห็น ส่วนใหญ่คนจะเล่นระยะแรก แล้วมารอขายระยะ 2 มากกว่าจะรอ ระยะ 2 ไปถึงจบ tender ซึ่งจะกินเวลานานกว่าครับ
ระยะแรก คือช่วงประกาศข่าว แต่ยังต้องรอเงื่อนไขต่างๆ ให้เรียบร้อยก่อน ระยะนี้จะมี gap จากราคา tender ค่อนข้างมากตามความเสี่ยงและระยะเวลา แต่ gap ตรงนี้จะค่อยๆ แคบลงเรื่อยๆ เข้าหา ระยะที่2
ระยะที่2 คือข่าวทุกอย่างชัดเจน มีกำหนดวัน tender เรียบร้อย ถึงระยะนี้ gap ในการเล่นก็จะเหลือแค่2-3 ช่องสุดท้ายแล้วแต่ spread ของราคาหุ้น หรือถ้าคิด เป็น yield น่าจะประมาณ 5 %ต่อ ปี
หลังๆ ที่เห็น ส่วนใหญ่คนจะเล่นระยะแรก แล้วมารอขายระยะ 2 มากกว่าจะรอ ระยะ 2 ไปถึงจบ tender ซึ่งจะกินเวลานานกว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 73
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tender offer BAY มีความเสี่ยงอะไรที่ต้องระวังไหมครับ
โพสต์ที่ 7
อันนี้จากข่ายที่ BAY ประกาศใน SET Web เมื่อวานเย็น
"ธนาคารขอแจ้งให้ทราบว่า ในช่วงบ่ายของวันนี้ (ตามเวลาประเทศไทย) ธนาคารได้รับแจ้งจาก GE Capital
International Holdings Corporation ("GECIH") ว่า GECIH และ the Bank of Tokyo-Mitsubishi UFJ,
Ltd.("BTMU") ได้ลงนามในข้อตกลงเสนอซื้อหุ้นสามัญของธนาคารที่ GECIH ถืออยู่ (Share Tender Agreement)
โดยภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว BTMU จะทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของธนาคาร โดยสมัครใจ ("Voluntary Tender
Offer" หรือ "VTO") จำนวนทั้งสิ้น 6,074,143,747 หุ้น ในราคา 39.- บาทต่อหุ้น และ GECIH
จะขายหุ้นสามัญของธนาคาร ที่ถืออยู่จำนวน 1,538,365,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 25.33
ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ภายใต้กระบวนการ VTO (ราคาเดียวกันกับราคาเสนอซื้อที่กำหนดไว้) ทั้งนี้
คาดว่าการดำเนินการตาม VTO จะเริ่มในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2556 และสิ้นสุดการดำเนินการในเดือนธันวาคม
2556
จากหนังสือแจ้งข้างต้นระบุว่า การดำเนินการตาม VTO จะเกิดขึ้นต่อเมื่อเงื่อนไขต่างๆ
ตามการอนุมัติของหน่วยงานทางการที่กำกับดูแล และของธนาคารรวมทั้งข้อตกลงระหว่างกัน ดังต่อไปนี้
ได้รับการปฏิบัติครบถ้วนแล้ว
1. การได้รับอนุมัติหรือผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังสำหรับการเข้าซื้อกิจการ
และการขยายสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างด้าวของธนาคาร และการอื่นใดที่เกี่ยวข้อง
2. การได้รับอนุมัติจาก Financial Services Agency ของประเทศญี่ปุ่นให้ BTMU มีธนาคารเป็นบริษัทย่อยของ
BTMU
3. การได้รับอนุมัติในหลักการจากกระทรวงพาณิชย์ในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
4. การได้รับอนุมัติหรือการได้รับผ่อนผันอื่นใดที่จำเป็น จากหน่วยงานทางการที่กำกับดูแล
5. การได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของธนาคารในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของธนาคารที่เกี่ยวข้องก
ับการเข้าซื้อหุ้น
นอกจากนี้ โดยที่มิได้เป็นเงื่อนไขของการทำคำเสนอซื้อ ก่อนการทำคำเสนอซื้อ BTMU และ/หรือธนาคาร
ประสงค์จะดำเนินการขอและรับการผ่อนผันหรือการอนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้ถือหุ้น
ซึ่งรวมถึงการผ่อนผันและการอนุมัติในเรื่องที่เกี่ยวกับการที่ธนาคารอาจเข้าซื้อกิจการของ BTMU
สาขากรุงเทพฯ ตามนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนี้
- ได้รับการผ่อนผันจากสำนักคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ของประเทศไทย
หรือคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ (Takeover Panel)
เกี่ยวกับระยะเวลาของมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งอนุมัติการเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง
และการผ่อนผันข้อบังคับการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการซึ่งอาจเป็นผลมาจากการที่ธนาคารอาจเข้า
ซื้อกิจการของ BTMU สาขากรุงเทพฯ
-
ได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นของธนาคารในการเข้าทำสัญญาที่เกี่ยวกับการที่ธนาคารอาจเข้าซื้อกิจการของ
BTMU สาขากรุงเทพฯ และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
อนึ่ง ภายหลังจากการดำเนินการตามกระบวนการ VTO เสร็จสิ้นลง BTMU
จะมีสถานะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารแทน GECIH
และเป็นพันธมิตรกับกลุ่มรัตนรักษ์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารอีกกลุ่มหนึ่ง
เพื่อร่วมกันพัฒนาให้รุดหน้าเป็นลำดับต่อไป อีกทั้ง BTMU
และธนาคารจะได้หารือกันเกี่ยวกับการร่วมมือกันในอนาคตในส่วนต่างๆ
เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการเป็นพันธมิตรต่อไป นอกจากนี้
เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
ทั้งสองธนาคารจะได้หารือกันถึงความเป็นไปได้ในการถ่ายโอน BTMU สาขากรุงเทพฯ มายังธนาคารอีกด้วย
โดยการถ่ายโอนดังกล่าวจะเกิดขึ้นภายหลังจากที่การดำเนินการตาม VTO เสร็จสิ้น"
จากประกาศข้างต้นมีข้อสังเกตดังนี้
1. เป็นการทำ Voluntary ไม่ใช่ Mandatory ดังนั้น BTMU สามารถยกเลิกการ tender ได้ โดยเงื่อนไขการยกเลิกจะระบุในคำเสนอซื้ออย่างเป็นทางการที่ BTMU ออก (ตอนนี้ยังไม่เห็น) คาดว่าจะออกใกล้ๆ VTO
2. ต้องผ่านเงื่อนไข 1-5 ข้างต้น ส่วนใหญ่เป็นการอนุมัติจากทางการและผู้ถือหุ้นแต่ละฝ่ายสำหรับการที่ BTMU ซื้อ BAY และเพิ่มทุนทำ PP
3. ผู้ถือหุ้น BAY ต้องอนุมัติการซ์้อ BTMU สาขากทม.
ความเสี่ยงของ deal น่าจะประมาณนี้ครับ ดูแล้วต้องผ่านการอนุมัติอีกหลายด่านทีเดียว
"ธนาคารขอแจ้งให้ทราบว่า ในช่วงบ่ายของวันนี้ (ตามเวลาประเทศไทย) ธนาคารได้รับแจ้งจาก GE Capital
International Holdings Corporation ("GECIH") ว่า GECIH และ the Bank of Tokyo-Mitsubishi UFJ,
Ltd.("BTMU") ได้ลงนามในข้อตกลงเสนอซื้อหุ้นสามัญของธนาคารที่ GECIH ถืออยู่ (Share Tender Agreement)
โดยภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว BTMU จะทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของธนาคาร โดยสมัครใจ ("Voluntary Tender
Offer" หรือ "VTO") จำนวนทั้งสิ้น 6,074,143,747 หุ้น ในราคา 39.- บาทต่อหุ้น และ GECIH
จะขายหุ้นสามัญของธนาคาร ที่ถืออยู่จำนวน 1,538,365,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 25.33
ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ภายใต้กระบวนการ VTO (ราคาเดียวกันกับราคาเสนอซื้อที่กำหนดไว้) ทั้งนี้
คาดว่าการดำเนินการตาม VTO จะเริ่มในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2556 และสิ้นสุดการดำเนินการในเดือนธันวาคม
2556
จากหนังสือแจ้งข้างต้นระบุว่า การดำเนินการตาม VTO จะเกิดขึ้นต่อเมื่อเงื่อนไขต่างๆ
ตามการอนุมัติของหน่วยงานทางการที่กำกับดูแล และของธนาคารรวมทั้งข้อตกลงระหว่างกัน ดังต่อไปนี้
ได้รับการปฏิบัติครบถ้วนแล้ว
1. การได้รับอนุมัติหรือผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังสำหรับการเข้าซื้อกิจการ
และการขยายสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างด้าวของธนาคาร และการอื่นใดที่เกี่ยวข้อง
2. การได้รับอนุมัติจาก Financial Services Agency ของประเทศญี่ปุ่นให้ BTMU มีธนาคารเป็นบริษัทย่อยของ
BTMU
3. การได้รับอนุมัติในหลักการจากกระทรวงพาณิชย์ในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
4. การได้รับอนุมัติหรือการได้รับผ่อนผันอื่นใดที่จำเป็น จากหน่วยงานทางการที่กำกับดูแล
5. การได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของธนาคารในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของธนาคารที่เกี่ยวข้องก
ับการเข้าซื้อหุ้น
นอกจากนี้ โดยที่มิได้เป็นเงื่อนไขของการทำคำเสนอซื้อ ก่อนการทำคำเสนอซื้อ BTMU และ/หรือธนาคาร
ประสงค์จะดำเนินการขอและรับการผ่อนผันหรือการอนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้ถือหุ้น
ซึ่งรวมถึงการผ่อนผันและการอนุมัติในเรื่องที่เกี่ยวกับการที่ธนาคารอาจเข้าซื้อกิจการของ BTMU
สาขากรุงเทพฯ ตามนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนี้
- ได้รับการผ่อนผันจากสำนักคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ของประเทศไทย
หรือคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ (Takeover Panel)
เกี่ยวกับระยะเวลาของมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งอนุมัติการเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง
และการผ่อนผันข้อบังคับการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการซึ่งอาจเป็นผลมาจากการที่ธนาคารอาจเข้า
ซื้อกิจการของ BTMU สาขากรุงเทพฯ
-
ได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นของธนาคารในการเข้าทำสัญญาที่เกี่ยวกับการที่ธนาคารอาจเข้าซื้อกิจการของ
BTMU สาขากรุงเทพฯ และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
อนึ่ง ภายหลังจากการดำเนินการตามกระบวนการ VTO เสร็จสิ้นลง BTMU
จะมีสถานะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารแทน GECIH
และเป็นพันธมิตรกับกลุ่มรัตนรักษ์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารอีกกลุ่มหนึ่ง
เพื่อร่วมกันพัฒนาให้รุดหน้าเป็นลำดับต่อไป อีกทั้ง BTMU
และธนาคารจะได้หารือกันเกี่ยวกับการร่วมมือกันในอนาคตในส่วนต่างๆ
เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการเป็นพันธมิตรต่อไป นอกจากนี้
เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
ทั้งสองธนาคารจะได้หารือกันถึงความเป็นไปได้ในการถ่ายโอน BTMU สาขากรุงเทพฯ มายังธนาคารอีกด้วย
โดยการถ่ายโอนดังกล่าวจะเกิดขึ้นภายหลังจากที่การดำเนินการตาม VTO เสร็จสิ้น"
จากประกาศข้างต้นมีข้อสังเกตดังนี้
1. เป็นการทำ Voluntary ไม่ใช่ Mandatory ดังนั้น BTMU สามารถยกเลิกการ tender ได้ โดยเงื่อนไขการยกเลิกจะระบุในคำเสนอซื้ออย่างเป็นทางการที่ BTMU ออก (ตอนนี้ยังไม่เห็น) คาดว่าจะออกใกล้ๆ VTO
2. ต้องผ่านเงื่อนไข 1-5 ข้างต้น ส่วนใหญ่เป็นการอนุมัติจากทางการและผู้ถือหุ้นแต่ละฝ่ายสำหรับการที่ BTMU ซื้อ BAY และเพิ่มทุนทำ PP
3. ผู้ถือหุ้น BAY ต้องอนุมัติการซ์้อ BTMU สาขากทม.
ความเสี่ยงของ deal น่าจะประมาณนี้ครับ ดูแล้วต้องผ่านการอนุมัติอีกหลายด่านทีเดียว
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 544
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tender offer BAY มีความเสี่ยงอะไรที่ต้องระวังไหมครับ
โพสต์ที่ 8
จากข่าวด้านล่าง ต้องขอแบ๊งชาติก่อนถ้าจะถือ bay เกิน 49%
ถ้าแบ๊งชาติไม่ให้ ไม่แน่ใจว่าจะต้องทำ tender รึเปล่าครับ?
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1372844130
มิตซูฯแจ้ง ธปท.ขออนุญาตเข้าถือหุ้นธนาคารกรุงศรีเกิน 49%
updated: 03 ก.ค. 2556 เวลา 16:34:52 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ธปท.เผยล่าสุดกลุ่มมิตซูฯ ทำหนังสือขออนุญาตถือหุ้นในแบงก์พาณิชย์ไทยเกิน 49% แล้ว หลังตกลงเข้าซื้อหุ้น BAY เรียบร้อย อนาคตพร้อมควบรวมเหลือใบอนุญาตแค่แบงก์เดียว
นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ล่าสุดธนาคารโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ (BTMU) ธุรกิจในเครือมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป หรือ MUFG ได้ทำหนังสือมายัง ธปท. เมื่อเช้านี้ เพื่อขออนุญาตซื้อหุ้นสถาบันการเงินในนามธนาคารต่างชาติ หลังกลุ่มมิตซูฯ ได้ทำสัญญาซื้อหุ้นธนาคารกรุงศรีอยุธยา หรือ BAY จาก กุล่มจีอี แคปิตอล อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้งส์ คอร์ปอเรชั่น (GECIH) ในสัดส่วน 25.33% หรือ 1,538,365,000 หุ้นเรียบร้อยแล้ว
โดยหนังสือดังกล่าวมี 3 ประเด็นหลัก คือ 1.) ขออนุญาตถือหุ้นในสถาบันการเงินไทยเกินสัดส่วน 10% ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกที่ต้องแจ้งต่อ ธปท. จากนั้นจึงต่อมาถึงประเด็นที่ 2.) ขออนุญาตถือหุ้นในสถาบันการเงินไทยเกิน 49% ในนามสถาบันการเงินต่างประเทศ 3.) การขอถือใบอนุญาตเดียว คือเหลือ 1 ไลเซนส์ หลังควบรวมกับ BAY เรียบร้อยแล้ว
อย่างไรก็ตาม การเข้ามาของมิตซูฯ นับเป็นแบงก์ต่างชาติรายที่ 5 ที่เข้ามาถือหุ้นในธนาคารพาณิชย์ไทยเกิน 50% จากปัจจุบันมีต่างชาติเข้ามาถือหุ้นในแบงก์พาณิชย์ไทยแล้วถึง 4 ธนาคารได้แก่ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย), ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย, ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) และธนาคาร ยูโอบี
สำหรับการขออนุญาตดังกล่าว ธปท.จะพิจารณา 2 เรื่องหลัก คือ การที่มิตซูฯเข้ามาถือหุ้นในสถาบันการเงินไทยว่าจะกระทบต่อเสถียรภาพต่อสถาบันการเงินและเศรษฐกิจหรือไม่ และจะมีผลกระทบตามมาหรือไม่ ซึ่งเชื่อว่าทั้ง 2 ประเด็นนี้ไม่น่าจะมีปัญหาเนื่องจาก กลุ่มมิตซูฯ ถือว่ามีประสบการณ์ในการทำธุรกิจสถาบันการเงินในไทยอยู่แล้ว ดังนั้นเชื่อว่าจะไม่กระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจในภาพรวมอย่างแน่นอน
ด้านนายอานุภาพ คูวินิชกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธปท.กล่าวถึง การประกาศของธปท.ที่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ต่างชาติรายใหม่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 2 ไม่เกิน 5 ราย ภายใต้ทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาทนั้น ถือเป็นการเดินตามแผนพัฒนาสถาบันการเงินเฟส 2 ของ ธปท. โดยเชื่อว่า การอนุญาตดังกล่าว จะทำให้เกิดการแข่งขันในด้านสถาบันการเงินในประเทศ อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาตลาดการเงินไทยให้เติบโตขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีสถาบันการเงินต่างชาติรายใดยื่นขออนุญาตประกอบธุรกิจมายัง ธปท. เนื่องจาก ธปท.เพิ่งออกประกาศไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ดังนั้นเชื่อว่าต้องใช้ระยะเวลาอีกระยะหนึ่ง เพราะต่างชาติมีเวลายื่นจนถึงสิ้นปีนี้ แต่ดูจากจำนวนต่างชาติที่สนใจประกอบธุรกิจสถาบันการเงินในไทยแล้วเชื่อว่าจะมีค่อนข้างมาก เพราะมีผู้แสดงความสนใจขอไลเซนส์ ไม่ว่าจะเป็นสัญชาติ ออสเตรเลีย เกาหลี ญี่ปุ่นและสาเหตุที่ ธปท. อนุญาตรายใหม่แค่ 5 รายในการเข้ามาประกอบธุรกิจในไทยนั้น เพราะ ธปท.เชื่อว่าระดับดังกล่าวเป็นระดับที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย โดยพิจารณาตามความมั่นคง และความตั้งใจในการทำธุรกิจ
“ปัจจุบันธนาคารจากต่างชาติที่เข้ามาทำธุรกิจในไทยนั้น มีมาร์เก็ตแชร์เพียง 10% เท่านั้น จึงเชี่อว่าจะมีช่องทางที่จะทำให้สัดส่วนดังกล่าวจะขยายเพิ่มขึ้นอีกได้ในอนาคต” นายอานุภาพกล่าว
ถ้าแบ๊งชาติไม่ให้ ไม่แน่ใจว่าจะต้องทำ tender รึเปล่าครับ?
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1372844130
มิตซูฯแจ้ง ธปท.ขออนุญาตเข้าถือหุ้นธนาคารกรุงศรีเกิน 49%
updated: 03 ก.ค. 2556 เวลา 16:34:52 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ธปท.เผยล่าสุดกลุ่มมิตซูฯ ทำหนังสือขออนุญาตถือหุ้นในแบงก์พาณิชย์ไทยเกิน 49% แล้ว หลังตกลงเข้าซื้อหุ้น BAY เรียบร้อย อนาคตพร้อมควบรวมเหลือใบอนุญาตแค่แบงก์เดียว
นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ล่าสุดธนาคารโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ (BTMU) ธุรกิจในเครือมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป หรือ MUFG ได้ทำหนังสือมายัง ธปท. เมื่อเช้านี้ เพื่อขออนุญาตซื้อหุ้นสถาบันการเงินในนามธนาคารต่างชาติ หลังกลุ่มมิตซูฯ ได้ทำสัญญาซื้อหุ้นธนาคารกรุงศรีอยุธยา หรือ BAY จาก กุล่มจีอี แคปิตอล อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้งส์ คอร์ปอเรชั่น (GECIH) ในสัดส่วน 25.33% หรือ 1,538,365,000 หุ้นเรียบร้อยแล้ว
โดยหนังสือดังกล่าวมี 3 ประเด็นหลัก คือ 1.) ขออนุญาตถือหุ้นในสถาบันการเงินไทยเกินสัดส่วน 10% ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกที่ต้องแจ้งต่อ ธปท. จากนั้นจึงต่อมาถึงประเด็นที่ 2.) ขออนุญาตถือหุ้นในสถาบันการเงินไทยเกิน 49% ในนามสถาบันการเงินต่างประเทศ 3.) การขอถือใบอนุญาตเดียว คือเหลือ 1 ไลเซนส์ หลังควบรวมกับ BAY เรียบร้อยแล้ว
อย่างไรก็ตาม การเข้ามาของมิตซูฯ นับเป็นแบงก์ต่างชาติรายที่ 5 ที่เข้ามาถือหุ้นในธนาคารพาณิชย์ไทยเกิน 50% จากปัจจุบันมีต่างชาติเข้ามาถือหุ้นในแบงก์พาณิชย์ไทยแล้วถึง 4 ธนาคารได้แก่ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย), ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย, ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) และธนาคาร ยูโอบี
สำหรับการขออนุญาตดังกล่าว ธปท.จะพิจารณา 2 เรื่องหลัก คือ การที่มิตซูฯเข้ามาถือหุ้นในสถาบันการเงินไทยว่าจะกระทบต่อเสถียรภาพต่อสถาบันการเงินและเศรษฐกิจหรือไม่ และจะมีผลกระทบตามมาหรือไม่ ซึ่งเชื่อว่าทั้ง 2 ประเด็นนี้ไม่น่าจะมีปัญหาเนื่องจาก กลุ่มมิตซูฯ ถือว่ามีประสบการณ์ในการทำธุรกิจสถาบันการเงินในไทยอยู่แล้ว ดังนั้นเชื่อว่าจะไม่กระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจในภาพรวมอย่างแน่นอน
ด้านนายอานุภาพ คูวินิชกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธปท.กล่าวถึง การประกาศของธปท.ที่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ต่างชาติรายใหม่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 2 ไม่เกิน 5 ราย ภายใต้ทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาทนั้น ถือเป็นการเดินตามแผนพัฒนาสถาบันการเงินเฟส 2 ของ ธปท. โดยเชื่อว่า การอนุญาตดังกล่าว จะทำให้เกิดการแข่งขันในด้านสถาบันการเงินในประเทศ อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาตลาดการเงินไทยให้เติบโตขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีสถาบันการเงินต่างชาติรายใดยื่นขออนุญาตประกอบธุรกิจมายัง ธปท. เนื่องจาก ธปท.เพิ่งออกประกาศไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ดังนั้นเชื่อว่าต้องใช้ระยะเวลาอีกระยะหนึ่ง เพราะต่างชาติมีเวลายื่นจนถึงสิ้นปีนี้ แต่ดูจากจำนวนต่างชาติที่สนใจประกอบธุรกิจสถาบันการเงินในไทยแล้วเชื่อว่าจะมีค่อนข้างมาก เพราะมีผู้แสดงความสนใจขอไลเซนส์ ไม่ว่าจะเป็นสัญชาติ ออสเตรเลีย เกาหลี ญี่ปุ่นและสาเหตุที่ ธปท. อนุญาตรายใหม่แค่ 5 รายในการเข้ามาประกอบธุรกิจในไทยนั้น เพราะ ธปท.เชื่อว่าระดับดังกล่าวเป็นระดับที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย โดยพิจารณาตามความมั่นคง และความตั้งใจในการทำธุรกิจ
“ปัจจุบันธนาคารจากต่างชาติที่เข้ามาทำธุรกิจในไทยนั้น มีมาร์เก็ตแชร์เพียง 10% เท่านั้น จึงเชี่อว่าจะมีช่องทางที่จะทำให้สัดส่วนดังกล่าวจะขยายเพิ่มขึ้นอีกได้ในอนาคต” นายอานุภาพกล่าว
Control Your Destiny or Someone Else Will
- โอ@
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4244
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tender offer BAY มีความเสี่ยงอะไรที่ต้องระวังไหมครับ
โพสต์ที่ 10
ในรายงานเขียนไว้ว่าน่าจะเสร็จสิ้นเดือนธันวาคมนะครับ น่าจะต้องเป็น 6 เดือนครับไม่ใช่ 3 เดือน
แล้วก็มีความเสี่ยงใหญ่สุดคือ ธปท. ไม่อนุญาติให้ถือหุ้นเกิน 49% หรือไม่ยอมให้ถือเต็ม 75% (ยกเว้นส่วนของรัตนรักษ์ไป)
แล้วก็มีความเสี่ยงใหญ่สุดคือ ธปท. ไม่อนุญาติให้ถือหุ้นเกิน 49% หรือไม่ยอมให้ถือเต็ม 75% (ยกเว้นส่วนของรัตนรักษ์ไป)
_________
- KissmeBrow
- Verified User
- โพสต์: 30
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tender offer BAY มีความเสี่ยงอะไรที่ต้องระวังไหมครับ
โพสต์ที่ 12
จริงด้วยครับ. ตย.CIMB ก็ได้มาแล้วROGER เขียน:ดูแล้ว น่าจะได้ เทนเดอร์นะครับ เพราะอนุญาตมาหลายแบงค์แล้ว ถ้ากรณีไม่อนุมัติ มันก็กระไรอยู่
ส่วนใหญ่ดีลแบงค์ที่เห็นมาผ่านทุกราย