ผมเข้าใจว่ากองทุนรวมอสังหาฯ นี่ส่วนใหญ่ ออกโดยบริษัทที่อยู่ในตลาด ขายสินทรัพย์ออกมา ให้นักลงทุนเป็นเจ้าของ เช่น
บริษัท xxx มีห้างสรรพสินค้าอยู่ 12 แห่ง รวม ๆ แล้วกำไรดี แต่มีเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ต้องการใช้เงินสดระยะสั้น
ก็เลยขายห้างออกมา 4 แห่งในรูปกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ตัวบริษัทก็ได้รับเงินก้อนเป็นกำไรพิเศษไปใช้ในการดำเนินการของบริษัท
บริษัทก็ยังบริหารห้างสรรพสินค้าอยู่ 12 แห่งเหมือนเดิม แต่บริษัทเป็นเจ้าของกำไรจากห้าง 8 แห่ง ห้างอีก 4 แห่งที่ขายไป กำไรเอาไปจัดสรรค์ให้ผู้ซื้อหุ้นกองทุนอสังหาฯ
(ขอข้ามเรื่องสิทธิมีหมดอายุ หรือเป็นแบบถาวรณ์)
ทีนี้ปัญหามีอยู่ว่า ถ้าบริษัทเดียวกัน บริหารทั้งสินทรัพย์ของบริษัทฯ และสินทรัพย์ของกองทุนรวมอสังหาฯ ย่อมเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน บริษัทย่อมอยากเอากำไรเข้าตัวบริษัทมาเป็นอันดับแรก ส่วนกำไรของกองทุนอสังหาฯ มันแทบไม่มีประโยชน์ต่อบริษัท เรามีกลไกอะไรที่จะปกป้องผลประโยชน์ของผู้ถือกองทุนอสังหาฯ ครับ อยากได้เป็นเรื่องการดำเนินการจริง ๆ นะครับ ไม่ใช่แค่กฎของ กลต. (เสือกระดาษ)
อีกกรณีหนึ่ง ถ้าส่งสินทรัพย์ให้ผู้จัดการกองทุน หรือธนาคาร ผมว่าแย่กว่าบริษัทฯบริหารเอง เพราะผู้จัดการกองทุนย่อมไม่ชำนาญการบริหารห้าง น่าจะแย่กว่าบริษัทบริหารเอง
ถ้าไม่มีกลไกปกป้องเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน หมายความว่า ใครออกกองทุนอสังหาฯ แล้วขายหมด ก็ให้รีบซื้อหุ้นบริษัทฯ ใช่มั้ย
![Question :?:](./images/smilies/icon_question.gif)