'เพอร์เฟ็กต์ สตอร์ม' ตั้งเค้า วิกฤตกว่าเลห์แมนฯ
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 0
'เพอร์เฟ็กต์ สตอร์ม' ตั้งเค้า วิกฤตกว่าเลห์แมนฯ
โพสต์ที่ 1
การเงิน - การลงทุน : เศรษฐกิจต่างประเทศ
วันที่ 11 กรกฎาคม 2555 06:20
'เพอร์เฟ็กต์ สตอร์ม' ตั้งเค้า วิกฤตกว่าเลห์แมนฯ
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"เพอร์เฟ็กต์ สตอร์ม" กำลังตั้งเค้าที่ยูโรโซน ส่งสัญญาณอันตรายยิ่งกว่า "เลห์แมน บราเธอร์ส" ล่มสลายกลางวิกฤตการเงินปี 2551
เพอร์เฟ็กต์ สตอร์ม หรือมหาพายุกำลังตั้งเค้าที่ยูโรโซน ซึ่งอาจสร้างหายนะให้กับเศรษฐกิจโลกมากกว่า เมื่อเทียบกับการล่มสลายของ "เลห์แมน บราเธอร์ส" วาณิชธนกิจรายใหญ่ของสหรัฐ เมื่อครั้งวิกฤตการเงินในปี 2551
หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) "นายปีเตอร์ แพรท" ตั้งข้อสังเกตว่า วิกฤตหนี้ยูโรโซนในขณะนี้เลวร้ายและหยั่งลึกมากกว่าวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นในปี 2551 ที่ส่งผลให้เลห์แมน บราเธอร์ส ต้องเดินสู่ชะตากรรมล้มละลาย และฉุดลากเศรษฐกิจโลกเข้าสู่โหมดถดถอย
การออกมาเตือนแบบตรงไปตรงมาของเจ้าหน้าที่ระดับสูงในบรัสเซลส์ เกิดขึ้นท่ามกลางสัญญาณอันตรายที่กำลังปะทุ เห็นได้จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสเปนอายุ 10 ปี ซึ่งทะลุโซนอันตรายที่ระดับ 7% ส่วนผลตอบแทบพันธบัตรอิตาลีก็ดีดเหนือ 6%
ความวิตกเพิ่มขึ้นเมื่อแดนกระทิงดุทำท่าจะต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงินเต็มรูปแบบ จากที่ได้รับเงินอุ้มภาคธนาคารราว 1 แสนล้านยูโร ขณะที่โรมก็ออกอาการว่าจะเป็นโดมิโนตัวถัดไปที่สร้างความปั่นป่วนให้กับเศรษฐกิจของยุโรปและทั้งโลก นอกเหนือจากกรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส และไซปรัส ซึ่งต่างขอรับความช่วยเหลือทางการเงินไปก่อนหน้านี้ เพื่อให้รอดพ้นจากชะตากรรมล่มสลาย
ประธานอีซีบี "มาริโอ ดรากี" ก็ส่งเสียงเตือนว่า เหล่าผู้นำไม่มีเวลาที่จะเสียแล้วในการพยายามจัดการกับวิกฤต หลังจากการประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรปเมื่อปลายเดือนมิถุนายน เพิ่งตกลงก้าวแรกที่จะช่วยยื้อลมหายใจยุโรป โดยคลอดแผนตั้งกลไกร่วมเพื่อเข้ามาดูแลภาคธนาคารภายในปีนี้ ทั้งที่ประชุมกันมา 19 นัด นับจากเกิดวิกฤตในกรีซ
ยังไม่นับรวมท่าทีคัดค้านของฟินแลนด์และเนเธอร์แลนด์ที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางบางอย่าง รวมถึงเยอรมนีที่ไม่เต็มใจกับการอุ้มชูธนาคารและประเทศที่มีปัญหาโดยไร้เงื่อนไขที่เข้มงวด ซึ่งล้วนตอกย้ำความเห็นที่แตกแยกในยูโรโซน
ความกังวลว่าฝันร้ายซ้ำรอยเลห์แมนฯ อาจกลับมาหลอนเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง ยังเกิดขึ้นจากปัจจัยเสี่ยงจุดชนวนดินระเบิดในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ ทั้งปัจจัยในยูโรโซนเอง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งรอบ 2 ในกรีซ ซึ่งยังต้องลุ้นว่าจะนำพาประเทศเป็นไปในทิศทางไหน รวมถึงการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ของผู้นำเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั้ง 4 เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี และสเปน เศรษฐกิจในยูโรโซนที่ชะลอตัว และมาตรการรัดเข็มขัดที่กระทบกับขีดความสามารถในการผลิตของภูมิภาคนี้
ประกอบกับปัจจัยภายนอกที่มีส่วนกำหนดชะตากรรมของยุโรป ทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนอย่างชัดเจน หรือการหดตัวด้านการคลังในสหรัฐที่เริ่มปรากฎเค้าลางให้เห็น
สอดคล้องกับความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล "ศาสตราจารย์นูเรียล รูบินี" ที่เพิ่งทวีตล่าสุดว่า เพอร์เฟ็กต์ สตอร์ม หรือพายุใหญ่ที่น่าจะพัดถล่มเศรษฐกิจโลกในปี 2556 เริ่มตั้งเค้าให้เห็นแล้ว
ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนพฤษภาคม รูบินีทำนายชะตากรรมเศรษฐกิจโลกไว้ล่วงหน้า ว่าไม่น่าจะรอดพ้น "เพอร์เฟ็กต์ สตอร์ม" โดยประเมินจาก 4 ปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐที่ติดหล่ม ปัญหาหนี้ในยุโรปที่ยังไม่คลี่คลาย การชะลอตัวทางเศรษฐกิจในตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะจีน รวมถึงความขัดแย้งกรณีของอิหร่านและชาติตะวันตก ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ก็จะรวมตัวกลายเป็นพายุที่กระหน่ำเศรษฐกิจโลกในปีหน้า
ความวิตกต่อวิกฤตหนี้ยูโรโซน ซึ่งอาจนำไปสู่การแตกสลายของสกุลเงินยูโร และความเสียหายอย่างหนักที่จะตามมาจากการล่มสลายอย่างไร้ระเบียบแบบแผน ทำให้การล้มละลายของเลห์แมนฯ กลายเป็นปัญหาจิ๊บๆ
ข่าวที่มา.. http://bit.ly/MZec7S
เห็นมายังไม่มีใครนำมาอ่านกัน เลยคิดว่าน่าจะบันทึกไว้ครับ
วันที่ 11 กรกฎาคม 2555 06:20
'เพอร์เฟ็กต์ สตอร์ม' ตั้งเค้า วิกฤตกว่าเลห์แมนฯ
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"เพอร์เฟ็กต์ สตอร์ม" กำลังตั้งเค้าที่ยูโรโซน ส่งสัญญาณอันตรายยิ่งกว่า "เลห์แมน บราเธอร์ส" ล่มสลายกลางวิกฤตการเงินปี 2551
เพอร์เฟ็กต์ สตอร์ม หรือมหาพายุกำลังตั้งเค้าที่ยูโรโซน ซึ่งอาจสร้างหายนะให้กับเศรษฐกิจโลกมากกว่า เมื่อเทียบกับการล่มสลายของ "เลห์แมน บราเธอร์ส" วาณิชธนกิจรายใหญ่ของสหรัฐ เมื่อครั้งวิกฤตการเงินในปี 2551
หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) "นายปีเตอร์ แพรท" ตั้งข้อสังเกตว่า วิกฤตหนี้ยูโรโซนในขณะนี้เลวร้ายและหยั่งลึกมากกว่าวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นในปี 2551 ที่ส่งผลให้เลห์แมน บราเธอร์ส ต้องเดินสู่ชะตากรรมล้มละลาย และฉุดลากเศรษฐกิจโลกเข้าสู่โหมดถดถอย
การออกมาเตือนแบบตรงไปตรงมาของเจ้าหน้าที่ระดับสูงในบรัสเซลส์ เกิดขึ้นท่ามกลางสัญญาณอันตรายที่กำลังปะทุ เห็นได้จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสเปนอายุ 10 ปี ซึ่งทะลุโซนอันตรายที่ระดับ 7% ส่วนผลตอบแทบพันธบัตรอิตาลีก็ดีดเหนือ 6%
ความวิตกเพิ่มขึ้นเมื่อแดนกระทิงดุทำท่าจะต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงินเต็มรูปแบบ จากที่ได้รับเงินอุ้มภาคธนาคารราว 1 แสนล้านยูโร ขณะที่โรมก็ออกอาการว่าจะเป็นโดมิโนตัวถัดไปที่สร้างความปั่นป่วนให้กับเศรษฐกิจของยุโรปและทั้งโลก นอกเหนือจากกรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส และไซปรัส ซึ่งต่างขอรับความช่วยเหลือทางการเงินไปก่อนหน้านี้ เพื่อให้รอดพ้นจากชะตากรรมล่มสลาย
ประธานอีซีบี "มาริโอ ดรากี" ก็ส่งเสียงเตือนว่า เหล่าผู้นำไม่มีเวลาที่จะเสียแล้วในการพยายามจัดการกับวิกฤต หลังจากการประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรปเมื่อปลายเดือนมิถุนายน เพิ่งตกลงก้าวแรกที่จะช่วยยื้อลมหายใจยุโรป โดยคลอดแผนตั้งกลไกร่วมเพื่อเข้ามาดูแลภาคธนาคารภายในปีนี้ ทั้งที่ประชุมกันมา 19 นัด นับจากเกิดวิกฤตในกรีซ
ยังไม่นับรวมท่าทีคัดค้านของฟินแลนด์และเนเธอร์แลนด์ที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางบางอย่าง รวมถึงเยอรมนีที่ไม่เต็มใจกับการอุ้มชูธนาคารและประเทศที่มีปัญหาโดยไร้เงื่อนไขที่เข้มงวด ซึ่งล้วนตอกย้ำความเห็นที่แตกแยกในยูโรโซน
ความกังวลว่าฝันร้ายซ้ำรอยเลห์แมนฯ อาจกลับมาหลอนเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง ยังเกิดขึ้นจากปัจจัยเสี่ยงจุดชนวนดินระเบิดในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ ทั้งปัจจัยในยูโรโซนเอง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งรอบ 2 ในกรีซ ซึ่งยังต้องลุ้นว่าจะนำพาประเทศเป็นไปในทิศทางไหน รวมถึงการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ของผู้นำเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั้ง 4 เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี และสเปน เศรษฐกิจในยูโรโซนที่ชะลอตัว และมาตรการรัดเข็มขัดที่กระทบกับขีดความสามารถในการผลิตของภูมิภาคนี้
ประกอบกับปัจจัยภายนอกที่มีส่วนกำหนดชะตากรรมของยุโรป ทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนอย่างชัดเจน หรือการหดตัวด้านการคลังในสหรัฐที่เริ่มปรากฎเค้าลางให้เห็น
สอดคล้องกับความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล "ศาสตราจารย์นูเรียล รูบินี" ที่เพิ่งทวีตล่าสุดว่า เพอร์เฟ็กต์ สตอร์ม หรือพายุใหญ่ที่น่าจะพัดถล่มเศรษฐกิจโลกในปี 2556 เริ่มตั้งเค้าให้เห็นแล้ว
ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนพฤษภาคม รูบินีทำนายชะตากรรมเศรษฐกิจโลกไว้ล่วงหน้า ว่าไม่น่าจะรอดพ้น "เพอร์เฟ็กต์ สตอร์ม" โดยประเมินจาก 4 ปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐที่ติดหล่ม ปัญหาหนี้ในยุโรปที่ยังไม่คลี่คลาย การชะลอตัวทางเศรษฐกิจในตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะจีน รวมถึงความขัดแย้งกรณีของอิหร่านและชาติตะวันตก ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ก็จะรวมตัวกลายเป็นพายุที่กระหน่ำเศรษฐกิจโลกในปีหน้า
ความวิตกต่อวิกฤตหนี้ยูโรโซน ซึ่งอาจนำไปสู่การแตกสลายของสกุลเงินยูโร และความเสียหายอย่างหนักที่จะตามมาจากการล่มสลายอย่างไร้ระเบียบแบบแผน ทำให้การล้มละลายของเลห์แมนฯ กลายเป็นปัญหาจิ๊บๆ
ข่าวที่มา.. http://bit.ly/MZec7S
เห็นมายังไม่มีใครนำมาอ่านกัน เลยคิดว่าน่าจะบันทึกไว้ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2513
- ผู้ติดตาม: 0
Re: 'เพอร์เฟ็กต์ สตอร์ม' ตั้งเค้า วิกฤตกว่าเลห์แมนฯ
โพสต์ที่ 2
ขอบคุณครับพี่ปรัชญา
ผมกลับยิ่งประหลาดใจที่พันธบัตรรัฐบาลอเมริกาได้ยีลด์เหลือ 1.5% อะไรจะแข็งแกร่งขนาดนั้น ทั้งที่หนี้สินก็ท่วมเช่นกัน
มันมีความเชื่ออะไรผิดๆหรือเปล่า
ผมกลับยิ่งประหลาดใจที่พันธบัตรรัฐบาลอเมริกาได้ยีลด์เหลือ 1.5% อะไรจะแข็งแกร่งขนาดนั้น ทั้งที่หนี้สินก็ท่วมเช่นกัน
มันมีความเชื่ออะไรผิดๆหรือเปล่า
เสรีภาพก็เหมือนอากาศที่เราไม่อาจมองเห็นด้วยตา แต่จะรู้สึกได้ในทันทีหากมีมันอยู่เบาบางหรือขาดหายไป
-จีรนุช เปรมชัยพร
-จีรนุช เปรมชัยพร
-
- Verified User
- โพสต์: 2513
- ผู้ติดตาม: 0
Re: 'เพอร์เฟ็กต์ สตอร์ม' ตั้งเค้า วิกฤตกว่าเลห์แมนฯ
โพสต์ที่ 3
ระบบดอกเบี้ย จะว่าไปมันก็แปลกนะครับ เค้าไม่มีเงินจะจ่าย
ยังไปขูดดอกเบี้ยมหาโหดกะเค้าอีก ยิ่งทำให้เค้าล้มละลายได้เร็วขึ้น
http://www.bloomberg.com/quote/GSPG10YR:IND
ยังไปขูดดอกเบี้ยมหาโหดกะเค้าอีก ยิ่งทำให้เค้าล้มละลายได้เร็วขึ้น
http://www.bloomberg.com/quote/GSPG10YR:IND
เสรีภาพก็เหมือนอากาศที่เราไม่อาจมองเห็นด้วยตา แต่จะรู้สึกได้ในทันทีหากมีมันอยู่เบาบางหรือขาดหายไป
-จีรนุช เปรมชัยพร
-จีรนุช เปรมชัยพร
- NT
- Verified User
- โพสต์: 319
- ผู้ติดตาม: 0
Re: 'เพอร์เฟ็กต์ สตอร์ม' ตั้งเค้า วิกฤตกว่าเลห์แมนฯ
โพสต์ที่ 4
เพราะเราไม่มีทางเลือก เงินUSD จะมีคุณลักษณะไม่เหมือนค่าเงินอื่นๆ เพราะคนทั้งโลกใช้กัน เจ้ามือเลยกดดอกไดอีกทั้งได้ลดภาระหนี้ตัวเองด้วยนักดูดาว เขียน:ขอบคุณครับพี่ปรัชญา
ผมกลับยิ่งประหลาดใจที่พันธบัตรรัฐบาลอเมริกาได้ยีลด์เหลือ 1.5% อะไรจะแข็งแกร่งขนาดนั้น ทั้งที่หนี้สินก็ท่วมเช่นกัน
มันมีความเชื่ออะไรผิดๆหรือเปล่า
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: 'เพอร์เฟ็กต์ สตอร์ม' ตั้งเค้า วิกฤตกว่าเลห์แมนฯ
โพสต์ที่ 5
คอลัมน์: ทันกระแสเศรษฐกิจและพลังงาน: เศรษฐกิจสเปนและอิตาลี...เหยื่อรายต่อไปของวิกฤติยูโร (จบ)
Source - คมชัดลึก (Th), Friday, July 13, 2012
ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
[email protected]
สัปดาห์ที่แล้ว ผมไล่เลียงเรื่องวิกฤติยูโร มาจบลงที่เศรษฐกิจของสเปน วันนี้มาว่ากันต่อถึงกรณีของอิตาลีครับ ประเทศนี้อาจจะไม่ค่อยมีคนพูดถึงมากนักในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากคนกำลังให้ความสนใจกับสถานการณ์ในประเทศกรีซและสเปน แต่ผมคิดว่า สถานการณ์หนี้ของอิตาลีกำลังเป็นระเบิดเวลาสำหรับยูโรโซน จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ นักลงทุนให้ความเชื่อมั่นในแนวทางการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของอิตาลี อันที่จริงเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลอิตาลีเปิดเผยมาตรการใหม่เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตและสนับสนุนการลงทุนต่างประเทศและนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อลดหนี้กว่า 10 พันล้านยูโร อย่างไรก็ตาม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอิตาลียังคงอยู่ในระดับสูงและเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6 หลังมาตรการช่วยเหลือภาคธนาคารของสเปน
ผมคิดว่า ตลาดการเงินมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับอิตาลีและจะทำให้อัตราดอกเบี้ยในอิตาลีเพิ่มขึ้นสูงขึ้น กระบวนการปฏิรูปเศรษฐกิจมีโอกาสที่จะสูญเสียโมเมนตัมหลังการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า นอกจากนี้ ปัญหาเศรษฐกิจสำคัญของอิตาลีอื่นๆ ยังคงอยู่ ทำให้เชื่อว่าอิตาลียังคงต้องประสบภาวะเศรษฐกิจชะงักงันไปอีกกว่าทศวรรษหรือมากกว่า เพื่อที่จะทำให้ระดับราคาอยู่นิ่งหรือลดลง เพื่อที่จะฟื้นขีดความสามารถการแข่งขันที่หายไป
ดังนั้น 10 ปีถัดจากนี้ไป อัตราการเจริญเติบโตของจีดีพีในอิตาลีนั้นมีแนวโน้มที่จะต่ำกว่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่สถานการณ์นี้อาจยอมรับได้ และอาจไม่ร้ายแรงสำหรับสถานการณ์หนี้สาธารณะของอิตาลี ถ้ารัฐบาลบริหารนโยบายการคลังให้สามารถเกินดุลงบประมาณได้ต่อเนื่อง และมีภาระอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกับเงินกู้ที่มีอยู่เดิม แต่รัฐบาลอิตาลีเองก็คาดว่าอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่จะจ่ายหนี้รัฐบาลจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.2 ในปี 2554 เป็นประมาณร้อยละ 5 ในปี 2558 และในขณะที่คาดว่าจะเกินดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5.7 ของจีดีพีในปี 2558 ซึ่งอาจจะมองในแง่ดีเกินไป ทำให้ทิศทางการเกินดุลงบประมาณน่าจะต่ำกว่าที่ประเมินไว้
ทั้งหมดนี้ทำให้ผมคิดว่าหนี้สาธารณะอิตาลีจะเพิ่มขึ้นไปประมาณร้อยละ 135 ของจีดีพีในปี 2558 จะสูงกว่าการคาดการณ์ของรัฐบาล และทำให้รัฐบาลอิตาลีอาจต้องไปขอความช่วยเหลือจากอียู ข้อแนะนำล่าสุดที่อิตาลีควรต้องดำเนินการเพื่อที่จะสามารถหลีกเลี่ยงการต้องขอรับความช่วยเหลือจากอียูที่ประมาณกันว่าอาจจะสูงกว่า 400 พันล้านยูโร คือความจำเป็นต้องให้กองทุน EFSF/ESM ดำเนินการซื้อพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีในตลาดรอง แต่การที่จะลดอัตราดอกเบี้ยอิตาลีอย่างมีนัยสำคัญ กองทุนจะต้องซื้อพันธบัตรจำนวนมาก แต่ถ้าการถือครองพันธบัตรของ ESM ได้รับสิทธิเหนือเจ้าหนี้เอกชนอื่นๆ อาจทำให้นักลงทุนภาคเอกชนออกจากตลาดพันธบัตรได้
สุดท้ายนี้ ผมกลัวว่าการซื้อพันธบัตรของ ECB อาจเป็นได้เพียงวิธีการแก้ปัญหาชั่วคราว ดังนั้น ผมคิดว่าอิตาลีอาจจะต้องการมาตรการช่วยเหลืออย่างเป็นทางการเพื่อให้ครอบคลุมความต้องการทางการเงินของรัฐบาลอิตาลีในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และเนื่องจากเชื่อว่าประเทศสเปนน่าจะต้องใช้เงินช่วยเหลือรัฐบาลในเร็วๆ นี้
ผมคิดว่า ประเทศในอียูจำเป็นต้องเพิ่มทรัพย์กรทางการเงินในการช่วยเหลือประเทศยูโรโซนที่กำลังมีปัญหา แต่การช่วยเหลือแบบ Bailout ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของอิตาลีและสเปน ท้ายที่สุดสิ่งที่ยูโรโซนจะหลีกเลี่ยงมิได้คือ การสร้าง “สหภาพการคลัง” เต็มรูปแบบในอนาคตต่อไปครับ
--จบ--
Source - คมชัดลึก (Th), Friday, July 13, 2012
ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
[email protected]
สัปดาห์ที่แล้ว ผมไล่เลียงเรื่องวิกฤติยูโร มาจบลงที่เศรษฐกิจของสเปน วันนี้มาว่ากันต่อถึงกรณีของอิตาลีครับ ประเทศนี้อาจจะไม่ค่อยมีคนพูดถึงมากนักในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากคนกำลังให้ความสนใจกับสถานการณ์ในประเทศกรีซและสเปน แต่ผมคิดว่า สถานการณ์หนี้ของอิตาลีกำลังเป็นระเบิดเวลาสำหรับยูโรโซน จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ นักลงทุนให้ความเชื่อมั่นในแนวทางการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของอิตาลี อันที่จริงเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลอิตาลีเปิดเผยมาตรการใหม่เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตและสนับสนุนการลงทุนต่างประเทศและนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อลดหนี้กว่า 10 พันล้านยูโร อย่างไรก็ตาม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอิตาลียังคงอยู่ในระดับสูงและเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6 หลังมาตรการช่วยเหลือภาคธนาคารของสเปน
ผมคิดว่า ตลาดการเงินมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับอิตาลีและจะทำให้อัตราดอกเบี้ยในอิตาลีเพิ่มขึ้นสูงขึ้น กระบวนการปฏิรูปเศรษฐกิจมีโอกาสที่จะสูญเสียโมเมนตัมหลังการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า นอกจากนี้ ปัญหาเศรษฐกิจสำคัญของอิตาลีอื่นๆ ยังคงอยู่ ทำให้เชื่อว่าอิตาลียังคงต้องประสบภาวะเศรษฐกิจชะงักงันไปอีกกว่าทศวรรษหรือมากกว่า เพื่อที่จะทำให้ระดับราคาอยู่นิ่งหรือลดลง เพื่อที่จะฟื้นขีดความสามารถการแข่งขันที่หายไป
ดังนั้น 10 ปีถัดจากนี้ไป อัตราการเจริญเติบโตของจีดีพีในอิตาลีนั้นมีแนวโน้มที่จะต่ำกว่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่สถานการณ์นี้อาจยอมรับได้ และอาจไม่ร้ายแรงสำหรับสถานการณ์หนี้สาธารณะของอิตาลี ถ้ารัฐบาลบริหารนโยบายการคลังให้สามารถเกินดุลงบประมาณได้ต่อเนื่อง และมีภาระอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกับเงินกู้ที่มีอยู่เดิม แต่รัฐบาลอิตาลีเองก็คาดว่าอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่จะจ่ายหนี้รัฐบาลจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.2 ในปี 2554 เป็นประมาณร้อยละ 5 ในปี 2558 และในขณะที่คาดว่าจะเกินดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5.7 ของจีดีพีในปี 2558 ซึ่งอาจจะมองในแง่ดีเกินไป ทำให้ทิศทางการเกินดุลงบประมาณน่าจะต่ำกว่าที่ประเมินไว้
ทั้งหมดนี้ทำให้ผมคิดว่าหนี้สาธารณะอิตาลีจะเพิ่มขึ้นไปประมาณร้อยละ 135 ของจีดีพีในปี 2558 จะสูงกว่าการคาดการณ์ของรัฐบาล และทำให้รัฐบาลอิตาลีอาจต้องไปขอความช่วยเหลือจากอียู ข้อแนะนำล่าสุดที่อิตาลีควรต้องดำเนินการเพื่อที่จะสามารถหลีกเลี่ยงการต้องขอรับความช่วยเหลือจากอียูที่ประมาณกันว่าอาจจะสูงกว่า 400 พันล้านยูโร คือความจำเป็นต้องให้กองทุน EFSF/ESM ดำเนินการซื้อพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีในตลาดรอง แต่การที่จะลดอัตราดอกเบี้ยอิตาลีอย่างมีนัยสำคัญ กองทุนจะต้องซื้อพันธบัตรจำนวนมาก แต่ถ้าการถือครองพันธบัตรของ ESM ได้รับสิทธิเหนือเจ้าหนี้เอกชนอื่นๆ อาจทำให้นักลงทุนภาคเอกชนออกจากตลาดพันธบัตรได้
สุดท้ายนี้ ผมกลัวว่าการซื้อพันธบัตรของ ECB อาจเป็นได้เพียงวิธีการแก้ปัญหาชั่วคราว ดังนั้น ผมคิดว่าอิตาลีอาจจะต้องการมาตรการช่วยเหลืออย่างเป็นทางการเพื่อให้ครอบคลุมความต้องการทางการเงินของรัฐบาลอิตาลีในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และเนื่องจากเชื่อว่าประเทศสเปนน่าจะต้องใช้เงินช่วยเหลือรัฐบาลในเร็วๆ นี้
ผมคิดว่า ประเทศในอียูจำเป็นต้องเพิ่มทรัพย์กรทางการเงินในการช่วยเหลือประเทศยูโรโซนที่กำลังมีปัญหา แต่การช่วยเหลือแบบ Bailout ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของอิตาลีและสเปน ท้ายที่สุดสิ่งที่ยูโรโซนจะหลีกเลี่ยงมิได้คือ การสร้าง “สหภาพการคลัง” เต็มรูปแบบในอนาคตต่อไปครับ
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
- leaderinshadow
- Verified User
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: 'เพอร์เฟ็กต์ สตอร์ม' ตั้งเค้า วิกฤตกว่าเลห์แมนฯ
โพสต์ที่ 6
Nouriel Rubini ให้สัมภาษณ์ CNBC ที่ฝรั่งเศสว่า
- ภายในปีหน้า ผู้ดำเนินนโยบายในประเทศต่างๆ จะไม่หนีปัญหาไม่ได้อีกแล้ว
- ปัญหาในยูโรโซนที่เหมือนขบวนรถไฟไปสู่ความหายนะที่เคยแล่นช้าๆ จะกลายเป็นรถไฟพ่วงที่แล่นไปสู่ความพินาศได้เร็วมาก
- จากข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุด สหรัฐขยายตัวได้เชื่องช้ามากและใกล้จะเกิด Recession แล้ว
- จีนกำลังจะ Hard Landing ไม่ใช่ Soft Landing
- การเติบโตของตลาดเกิดใหม่ในที่อื่นๆ อย่าง จีน รัสเซีย อินเดีย บราซิล ตุรกี และเม็กซิโก จะชะลอตัวลงอย่างรวดเร็ว จากปัญหาในยูโรโซนและอังกฤษ และจากการที่ตลาดเกิดใหม่ไม่ปฏิรูปตนเอง
- มีความเสี่ยงที่เหมือนระเบิดเวลาของสงครามระหว่างอิสราเอล (+สหรัฐ) กับอิหร่าน เพราะการเจรจาต่อรองไม่ได้ผล การแซงชั่นจะล้มเหลว อย่างไรก็ตาม โอบามา ก็ไม่ต้องการให้เกิดสงครามก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนพฤศจิกายน แต่หลังเลือกตั้งมีโอกาสที่สหรัฐจะเข้าโจมตีอิหร่านไม่ว่าใครจะได้เป็นผู้นำก็ตาม ผลก็คือราคาน้ำมันจะพุ่งขึ้นสูงเป็นเท่าตัวในชั่วข้ามคืน
ทั้งหมดนี้คือ The Perfect Storm ของโลกในปีหน้า เพราะยุโรโซนจะพัง / สหรัฐจะเกิด Double Dip Recession / จีนและตลาดเกิดใหม่จะ Hard Landing / และจะมีสงครามในตะวันออกกลาง
สถานการณ์ทั้งหมดจะแย่ยิ่งกว่าปี 2008 ที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจและสถาบันการเงิน แต่ปีหน้าเราจะหมดกระสุน ในขณะที่ปี 2008 เราใช้นโยบายการเงินช่วยด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยจาก 5%-6% ลงมาเป็น 0% เราออก QE เราใช้นโยบายคลังกระตุ้นเศรษฐกิจได้ด้วยการเพิ่มงบประมาณจนขาดดุลได้ถึง 10% ของ GDP แล้วเราก็อุ้มแบงค์หรืออุตสาหกรรมที่ต้องการอุ้มได้
ต่างกับวันนี้ที่การออก QE จะมีผลดีน้อยลงเพราะปัญหาที่แท้จริงคือเราจะล้มละลายจากหนี้สิน ไม่ใช่ปัญหาของการขาดสภาพคล่อง เราขาดดุลการคลังอย่างมโหฬารและทุกคนต้องลดการขาดดุล ไม่ใช่ทำให้ขาดดุลเพิ่ม และเราไม่สามารถอุ้มแบงค์ได้อีกแล้ว เพราะว่า
1. ในเชิงการเมือง ประชาชนไม่ยอมให้เอาภาษีไปอุ้ม
2. รัฐบาลหลายแห่งกำลังจะล้มละลายและไม่สามารถอุ้มตัวเองได้ แล้วจะให้ไปอุ้มแบงค์ที่ไหนได้ สรุปก็คือเราหมดกระสุนสู้แล้ว ไม่เหมือนในปี 2008
ดังนั้น หากตลาดและเศรษฐกิจในปีหน้าจะเป็นอย่างที่คาดคือ Freefall เราจะไม่มีอะไรมาช่วยชะลอไม่ให้ช็อคได้เลย เนื่องจากใน 4 ปีก่อนเป็นต้นมาจนถึงวันนี้ เราใช้กระสุนที่มีไปถึง 95% แล้ว
Good Morning News จาก กองทุนบัวหลวง
10 กรกฎาคม 2555
- ภายในปีหน้า ผู้ดำเนินนโยบายในประเทศต่างๆ จะไม่หนีปัญหาไม่ได้อีกแล้ว
- ปัญหาในยูโรโซนที่เหมือนขบวนรถไฟไปสู่ความหายนะที่เคยแล่นช้าๆ จะกลายเป็นรถไฟพ่วงที่แล่นไปสู่ความพินาศได้เร็วมาก
- จากข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุด สหรัฐขยายตัวได้เชื่องช้ามากและใกล้จะเกิด Recession แล้ว
- จีนกำลังจะ Hard Landing ไม่ใช่ Soft Landing
- การเติบโตของตลาดเกิดใหม่ในที่อื่นๆ อย่าง จีน รัสเซีย อินเดีย บราซิล ตุรกี และเม็กซิโก จะชะลอตัวลงอย่างรวดเร็ว จากปัญหาในยูโรโซนและอังกฤษ และจากการที่ตลาดเกิดใหม่ไม่ปฏิรูปตนเอง
- มีความเสี่ยงที่เหมือนระเบิดเวลาของสงครามระหว่างอิสราเอล (+สหรัฐ) กับอิหร่าน เพราะการเจรจาต่อรองไม่ได้ผล การแซงชั่นจะล้มเหลว อย่างไรก็ตาม โอบามา ก็ไม่ต้องการให้เกิดสงครามก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนพฤศจิกายน แต่หลังเลือกตั้งมีโอกาสที่สหรัฐจะเข้าโจมตีอิหร่านไม่ว่าใครจะได้เป็นผู้นำก็ตาม ผลก็คือราคาน้ำมันจะพุ่งขึ้นสูงเป็นเท่าตัวในชั่วข้ามคืน
ทั้งหมดนี้คือ The Perfect Storm ของโลกในปีหน้า เพราะยุโรโซนจะพัง / สหรัฐจะเกิด Double Dip Recession / จีนและตลาดเกิดใหม่จะ Hard Landing / และจะมีสงครามในตะวันออกกลาง
สถานการณ์ทั้งหมดจะแย่ยิ่งกว่าปี 2008 ที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจและสถาบันการเงิน แต่ปีหน้าเราจะหมดกระสุน ในขณะที่ปี 2008 เราใช้นโยบายการเงินช่วยด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยจาก 5%-6% ลงมาเป็น 0% เราออก QE เราใช้นโยบายคลังกระตุ้นเศรษฐกิจได้ด้วยการเพิ่มงบประมาณจนขาดดุลได้ถึง 10% ของ GDP แล้วเราก็อุ้มแบงค์หรืออุตสาหกรรมที่ต้องการอุ้มได้
ต่างกับวันนี้ที่การออก QE จะมีผลดีน้อยลงเพราะปัญหาที่แท้จริงคือเราจะล้มละลายจากหนี้สิน ไม่ใช่ปัญหาของการขาดสภาพคล่อง เราขาดดุลการคลังอย่างมโหฬารและทุกคนต้องลดการขาดดุล ไม่ใช่ทำให้ขาดดุลเพิ่ม และเราไม่สามารถอุ้มแบงค์ได้อีกแล้ว เพราะว่า
1. ในเชิงการเมือง ประชาชนไม่ยอมให้เอาภาษีไปอุ้ม
2. รัฐบาลหลายแห่งกำลังจะล้มละลายและไม่สามารถอุ้มตัวเองได้ แล้วจะให้ไปอุ้มแบงค์ที่ไหนได้ สรุปก็คือเราหมดกระสุนสู้แล้ว ไม่เหมือนในปี 2008
ดังนั้น หากตลาดและเศรษฐกิจในปีหน้าจะเป็นอย่างที่คาดคือ Freefall เราจะไม่มีอะไรมาช่วยชะลอไม่ให้ช็อคได้เลย เนื่องจากใน 4 ปีก่อนเป็นต้นมาจนถึงวันนี้ เราใช้กระสุนที่มีไปถึง 95% แล้ว
Good Morning News จาก กองทุนบัวหลวง
10 กรกฎาคม 2555
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 2
Re: 'เพอร์เฟ็กต์ สตอร์ม' ตั้งเค้า วิกฤตกว่าเลห์แมนฯ
โพสต์ที่ 8
ต่อเรือให้แข็งแรงเตรียมรับพายุใหญ่ครับ
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530