ปู่่บัฟฟ์สวนหมัด
-
- Verified User
- โพสต์: 87
- ผู้ติดตาม: 0
ปู่่บัฟฟ์สวนหมัด
โพสต์ที่ 1
หลังจาก วอร์เรน บัฟเฟตต์ ออกมาเรียกร้องให้มีการแก้กฏหมายเพื่อเก็บภาษีคนรวยให้มากขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว และประธานาธิบดีบารัค โอบามา เอาไปผลักดันต่อ จนแทบจะกลายเป็นวาระแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาไปแล้วนั้น
ล่าสุด ปู่บัฟฟ์ของเราได้ถูก ส.ว. มิตช์ แม็คคอนเนลล์ จากรีพับลิกันออกมาโต้ โดยบอกว่า ถ้ารู้สึก ผิดนักหนาว่าตัวเองจ่ายภาษีน้อยไป ก็ “เขียนเช็ค” ให้รัฐเสียเลยสิ สิ้นเรื่องสิ้นราว อันเป็นการตอบโต้ที่ทำให้พวกหมั่นไส้บัฟเฟตต์สะใจกันนักหนา
แต่แล้ว เมื่อนิตยสาร Time ไปสัมภาษณ์ปู่บัฟฟ์ ปู่แกก็ไม่รอช้า สวนหมัดกลับไปยัง แม็คคอนเนลล์ โดยพลัน โดยบอกว่า ถ้าจะท้าทายกันเรื่อง “การบริจาค” นี่ ไม่เคยกลัวอยู่แล้ว
แถมยังท้ากลับอีกว่า หากสมาชิกสภาคองเกรสของรีพับลิกันทุกคนยอมควักเงินส่วนตัวบริจาคเป็นยอดรวมกันเท่าไร แกจะ “เบิ้ล” ให้ คือยอมจ่ายเป็นจำนวนเท่ากัน!!
และสำหรับแม็คคอนเนลล์ เขาจะยอม “จ่ายสามเท่า” คือถ้าแม็คคอนเนลล์ให้ 1 เหรียญ เขาจะยอมให้ถึง 3 เหรียญเลยทีเดียว
โดยก่อนหน้านี้ แม็คคอนเนลล์เคยกล่าวว่า คนอเมริกันมีสปิริตพอที่จะยอมบริจาคเงินเพื่อใช้หนี้ของประเทศ 1.2 ล้านล้านเหรียญ โดยไม่ต้องขึ้นอัตราภาษีแต่อย่างใด
ซึ่งทำให้บัฟเฟตต์บอกว่า เขารู้สึก “ซาบซึ้ง” (ใช้คำว่า Touched) ที่แม็คคอนเนลล์คิดเช่นนั้น แถมยังแซวอีกว่า “ไอ้นโยบายแบบนี้ คงมีแต่รีพับลิกันเท่านั้นกระมังจึงจะคิดได้”
เล่นกับบัฟเฟตต์ ท้าอะไรท้าได้ ดันมาท้าเรื่องบริจาคเงิน มารูปนี้ ท่าจะต้องซัดกันอีกหลายยกครับ
อ้อ … สุดท้าย ปู่บัฟฟ์ยังย้ำอีกว่า
“ที่เสนอไปนั่น ผมเอาจริงนะ” ...แสบไหมเล่า อิอิ
เผยแพร่ครั้งแรกที่ http://www.ClubVI.com
เรียบเรียงจาก http://www.cnbc.com/id/45961945 และนิตยสาร Time
http://www.ClubVI.com
พุทธทาสภิกขุ : ถ้าคุณอยากรู้เรื่องอะไร คุณจงตั้งต้นศึกษาเหมือนอย่างว่า เราจะไปเป็นครูเขาในเรื่องนั้น เรียนให้มากในเรื่องนั้น แล้วคุณจะรู้เรื่องนั้น ดีจนพอ..ดีจนเกินพอ
พุทธทาสภิกขุ : ถ้าคุณอยากรู้เรื่องอะไร คุณจงตั้งต้นศึกษาเหมือนอย่างว่า เราจะไปเป็นครูเขาในเรื่องนั้น เรียนให้มากในเรื่องนั้น แล้วคุณจะรู้เรื่องนั้น ดีจนพอ..ดีจนเกินพอ
- untrataro25
- Verified User
- โพสต์: 952
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปู่่บัฟฟ์สวนหมัด
โพสต์ที่ 2
+555 แน่นอนจริงๆปู่
พวกนักการเมือง ก็เหมือนกันทุกประเทศจริงๆสินะเนี่ย
พวกนักการเมือง ก็เหมือนกันทุกประเทศจริงๆสินะเนี่ย
"เพราะเรียบง่าย จึงชนะ"
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4740
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปู่่บัฟฟ์สวนหมัด
โพสต์ที่ 3
ชอบจัง
พึ่งคุยให้เพื่อนนอกวงการหุ้น ฟังเรื่องปู่บัฟต์บริจาคเงินเพื่อการกุศล เมื่อวาน
ขอเอาไปแชร์ ในวอลล์ เฟสบุ๊ค หน่อยนะครับ
พึ่งคุยให้เพื่อนนอกวงการหุ้น ฟังเรื่องปู่บัฟต์บริจาคเงินเพื่อการกุศล เมื่อวาน
ขอเอาไปแชร์ ในวอลล์ เฟสบุ๊ค หน่อยนะครับ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
-
- Verified User
- โพสต์: 87
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปู่่บัฟฟ์สวนหมัด
โพสต์ที่ 5
จัดไปเลยครับทั่นdome@perth เขียน:ชอบจัง
พึ่งคุยให้เพื่อนนอกวงการหุ้น ฟังเรื่องปู่บัฟต์บริจาคเงินเพื่อการกุศล เมื่อวาน
ขอเอาไปแชร์ ในวอลล์ เฟสบุ๊ค หน่อยนะครับ
http://www.ClubVI.com
พุทธทาสภิกขุ : ถ้าคุณอยากรู้เรื่องอะไร คุณจงตั้งต้นศึกษาเหมือนอย่างว่า เราจะไปเป็นครูเขาในเรื่องนั้น เรียนให้มากในเรื่องนั้น แล้วคุณจะรู้เรื่องนั้น ดีจนพอ..ดีจนเกินพอ
พุทธทาสภิกขุ : ถ้าคุณอยากรู้เรื่องอะไร คุณจงตั้งต้นศึกษาเหมือนอย่างว่า เราจะไปเป็นครูเขาในเรื่องนั้น เรียนให้มากในเรื่องนั้น แล้วคุณจะรู้เรื่องนั้น ดีจนพอ..ดีจนเกินพอ
-
- Verified User
- โพสต์: 545
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปู่่บัฟฟ์สวนหมัด
โพสต์ที่ 6
เก๋าสุดๆเลยครับปู่
-
- Verified User
- โพสต์: 358
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปู่่บัฟฟ์สวนหมัด
โพสต์ที่ 8
เรื่องใช้เงิน ถ้าคุณวอร์เรน บัฟเฟตต์ ไม่รู้จักใช้ก็หมดนะครับ ทรัพย์สินรวมทั้งหมดของเขาเพียงคนเดียวก็เอาไปใช้ลดการขาดดุลงบประมาณของสหรัฐทั้งหมดไม่ได้ (ปี 2011 อยู่ที่ 50 พันล้านเหรียญสหรัฐ)
เรื่องโต้เถียงกันด้วยการโต้เถียงอีกฝ่ายด้วยอารมณ์ช่างเถอะ แต่ผมว่าประเด็นคือควรกำหนดให้เป็นหน้าที่หรือไม่ เพราะจะถ้ารอมีคนบริจาคแล้วหนี้ประเทศหมดก็คงมีไปแล้วจริง แต่ก็ไม่เกิดขึ้นจริงสักที
เรื่องโต้เถียงกันด้วยการโต้เถียงอีกฝ่ายด้วยอารมณ์ช่างเถอะ แต่ผมว่าประเด็นคือควรกำหนดให้เป็นหน้าที่หรือไม่ เพราะจะถ้ารอมีคนบริจาคแล้วหนี้ประเทศหมดก็คงมีไปแล้วจริง แต่ก็ไม่เกิดขึ้นจริงสักที
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปู่่บัฟฟ์สวนหมัด
โพสต์ที่ 10
เป็นเพราะปู่แก "ให้" จริงๆ
แถมชวนคนรวยทั้งหลา่ย ร่วมบริจาคเงินการกุศล
เริ่มจากตัวเองให้มูลนิธิบิลล์-ลินดา เกตส์
(เกตส์เองก็รอดจากการถูกกระหน่ำเรื่อง Microsoft ผูกขาด คนละเรื่องกันก็จริง แต่เพราะแสดงว่าไม่เห็นแก่ตัว ไม่ยึดติดกับทรัพย์สมบัติที่กินทั้งชาติก็ไม่หมดนี่แหละ )
ข่าวตอน buffett ไปจีน คือเศรษฐีจีนทั้งหลาย หลบวูบกันเป็นแถว
กลัวโดนชวนบริจาค
http://givingpledge.org/#warren_buffett
สรุปชื่อคนที่ชวนมาร่วมบริจาคทรัพย์ให้เป็นสาธารณกุศล
เขียน "คำมั่นสัญญา" ประกาศต่อสาธารณชน
เจ้าพ่อ CNN, เจ้าของ oracle, เศรษฐีใหม่เจ้าของ facebook ฯลฯ ก็มาร่วมกับเขาด้วย
PAUL G. ALLEN
LAURA AND JOHN ARNOLD
NICOLAS BERGGRUEN
MICHAEL R. BLOOMBERG
ELI AND EDYTHE BROAD
WARREN BUFFETT
JEAN AND STEVE CASE
MICHELE CHAN AND PATRICK SOON-SHIONG
LEE AND TOBY COOPERMAN
JOYCE AND BILL CUMMINGS
RAY AND BARBARA DALIO
JOHN PAUL DEJORIA
BARRY DILLER AND DIANE VON FURSTENBERG
ANN AND JOHN DOERR
LARRY ELLISON
CHARLES F. FEENEY
TED FORSTMANN (D. 2011)
PHILLIP AND PATRICIA FROST
BILL AND MELINDA GATES
DAVID AND BARBARA GREEN
JEFF GREENE
HAROLD AND SUE ANN HAMM
LYDA HILL
BARRON HILTON
JON AND KAREN HUNTSMAN
CARL ICAHN
JOAN AND IRWIN JACOBS
GEORGE B. KAISER
VINOD AND NEERU KHOSLA
SIDNEY KIMMEL
RICH AND NANCY KINDER
ELAINE AND KEN LANGONE
GERRY AND MARGUERITE LENFEST
LORRY I. LOKEY
GEORGE LUCAS
DUNCAN AND NANCY MACMILLAN
ALFRED E. MANN
JOE AND RIKA MANSUETO
BERNIE AND BILLI MARCUS
MICHAEL AND LORI MILKEN
GEORGE P. MITCHELL
THOMAS S. MONAGHAN
TASHIA AND JOHN MORGRIDGE
DUSTIN MOSKOVITZ
PIERRE AND PAM OMIDYAR
BERNARD AND BARBRO OSHER
RONALD O. PERELMAN
PETER G. PETERSON
T. BOONE PICKENS
JULIAN H. ROBERTSON, JR.
DAVID ROCKEFELLER
EDWARD W. AND DEEDIE POTTER ROSE
DAVID M. RUBENSTEIN
HERB AND MARION SANDLER
DENNY SANFORD
VICKI AND ROGER SANT
LYNN SCHUSTERMAN
WALTER SCOTT, JR.
TOM AND CINDY SECUNDA
ANNETTE AND HAROLD SIMMONS
JIM AND MARILYN SIMONS
JEFF SKOLL
TOM STEYER AND KAT TAYLOR
JIM AND VIRGINIA STOWERS
TED TURNER
SANFORD AND JOAN WEILL
SHELBY WHITE
CHARLES ZEGAR AND MERRYL SNOW ZEGAR
MARK ZUCKERBERG
เขียนลงใน web BRK
ทั้งที่ให้มูลนิธิเกตส์ และให้ลูก
http://www.berkshirehathaway.com/donate/webdonat.html
ที่ให้มูลนิธิเกตส์ BMG = Bill-Melinda Gates
http://www.berkshirehathaway.com/donate/bmgfltr.pdf
Here are the mechanics: Ten million B shares will be earmarked by me for BMG
contributions. (I currently own only A shares but will soon convert a number of these to
B.) In July of every year, or such later date as you elect, 5% of the balance of the
earmarked shares will be contributed either directly to BMG or to a charitable
intermediary that will hold the earmarked shares for the benefit of BMG. To illustrate, in
2006, 500,000 shares will be contributed. In 2007, 475,000 shares (5% of the 9,500,000
remaining after the 2006 contribution) will be contributed and thereafter 5% fewer shares
will be contributed each year.
There are three conditions to this lifetime pledge. First, at least one of you must
remain alive and active in the policy-setting and administration of BMG. Second, BMG
(or any intermediary) must continue to satisfy legal requirements qualifying my gifts as
charitable and not subject to gift or other taxes. And, finally, the value of my annual gift
must be fully additive to the spending of at least 5% of the Foundation’s net assets. I
expect there to be a ramp-up period of two years during which this condition will not
apply. But beginning in calendar 2009, BMG’s annual giving must be at least equal to
the value of my previous year’s gift plus 5% of BMG’s net assets. If this amount is
exceeded in any year, however, the excess can be carried forward and be offset against a
shortfall in subsequent years. Similarly a shortfall in a given year can be made up in the
following year.
The value of Berkshire shares will, of course, vary from year to year. And, as
noted, the number of shares distributed will diminish by 5% per year. Nevertheless, I
believe that you can reasonably expect the value of Berkshire shares to increase, in an
irregular manner, by an amount that more than compensates for the decline in the number
of shares that will be distributed
ที่ให้ลูก
ยกตัวอย่างลูกชาย "HGB" Howard Graham Buffett (แกนับถืออาจารย์ Graham ขนาดเอามาตั้งเป็นชื่อกลางลูกชาย)
แต่ก็ยังมีคนวิจารณ์ ว่าให้น้อยเกินไป... แกบอกว่าพอแล้ว เดี๋ยวเป็นง่อย หากินเองบ้าง ไม่อยากให้เป็นพวก lucky sperm club
Here are the mechanics of my pledge: 350,000 B shares will be earmarked by me
for HGB contributions. (I currently own only A shares but will soon convert a number of
these to B.) In July of every year, beginning next month, 5% of the balance of the
earmarked shares will be contributed to HGB. To illustrate, in 2006, 17,500 shares
(currently worth more than $50 million) will be contributed. In 2007, 16,625 shares (5%
of the 332,500 remaining after the 2006 contribution) will be contributed and thereafter
5% fewer shares will be contributed each year.
The value of Berkshire shares will, of course, vary from year to year. And, as
noted, the number of shares HGB receives will diminish by 5% per year. Nevertheless, I
believe that you can reasonably expect the value of the Berkshire shares you will receive
to increase, in an irregular manner, by an amount that more than compensates for the
decline in the number of shares you will be receiving. Over time, the increase may be
substantial.
แถมชวนคนรวยทั้งหลา่ย ร่วมบริจาคเงินการกุศล
เริ่มจากตัวเองให้มูลนิธิบิลล์-ลินดา เกตส์
(เกตส์เองก็รอดจากการถูกกระหน่ำเรื่อง Microsoft ผูกขาด คนละเรื่องกันก็จริง แต่เพราะแสดงว่าไม่เห็นแก่ตัว ไม่ยึดติดกับทรัพย์สมบัติที่กินทั้งชาติก็ไม่หมดนี่แหละ )
ข่าวตอน buffett ไปจีน คือเศรษฐีจีนทั้งหลาย หลบวูบกันเป็นแถว
กลัวโดนชวนบริจาค
http://givingpledge.org/#warren_buffett
สรุปชื่อคนที่ชวนมาร่วมบริจาคทรัพย์ให้เป็นสาธารณกุศล
เขียน "คำมั่นสัญญา" ประกาศต่อสาธารณชน
เจ้าพ่อ CNN, เจ้าของ oracle, เศรษฐีใหม่เจ้าของ facebook ฯลฯ ก็มาร่วมกับเขาด้วย
PAUL G. ALLEN
LAURA AND JOHN ARNOLD
NICOLAS BERGGRUEN
MICHAEL R. BLOOMBERG
ELI AND EDYTHE BROAD
WARREN BUFFETT
JEAN AND STEVE CASE
MICHELE CHAN AND PATRICK SOON-SHIONG
LEE AND TOBY COOPERMAN
JOYCE AND BILL CUMMINGS
RAY AND BARBARA DALIO
JOHN PAUL DEJORIA
BARRY DILLER AND DIANE VON FURSTENBERG
ANN AND JOHN DOERR
LARRY ELLISON
CHARLES F. FEENEY
TED FORSTMANN (D. 2011)
PHILLIP AND PATRICIA FROST
BILL AND MELINDA GATES
DAVID AND BARBARA GREEN
JEFF GREENE
HAROLD AND SUE ANN HAMM
LYDA HILL
BARRON HILTON
JON AND KAREN HUNTSMAN
CARL ICAHN
JOAN AND IRWIN JACOBS
GEORGE B. KAISER
VINOD AND NEERU KHOSLA
SIDNEY KIMMEL
RICH AND NANCY KINDER
ELAINE AND KEN LANGONE
GERRY AND MARGUERITE LENFEST
LORRY I. LOKEY
GEORGE LUCAS
DUNCAN AND NANCY MACMILLAN
ALFRED E. MANN
JOE AND RIKA MANSUETO
BERNIE AND BILLI MARCUS
MICHAEL AND LORI MILKEN
GEORGE P. MITCHELL
THOMAS S. MONAGHAN
TASHIA AND JOHN MORGRIDGE
DUSTIN MOSKOVITZ
PIERRE AND PAM OMIDYAR
BERNARD AND BARBRO OSHER
RONALD O. PERELMAN
PETER G. PETERSON
T. BOONE PICKENS
JULIAN H. ROBERTSON, JR.
DAVID ROCKEFELLER
EDWARD W. AND DEEDIE POTTER ROSE
DAVID M. RUBENSTEIN
HERB AND MARION SANDLER
DENNY SANFORD
VICKI AND ROGER SANT
LYNN SCHUSTERMAN
WALTER SCOTT, JR.
TOM AND CINDY SECUNDA
ANNETTE AND HAROLD SIMMONS
JIM AND MARILYN SIMONS
JEFF SKOLL
TOM STEYER AND KAT TAYLOR
JIM AND VIRGINIA STOWERS
TED TURNER
SANFORD AND JOAN WEILL
SHELBY WHITE
CHARLES ZEGAR AND MERRYL SNOW ZEGAR
MARK ZUCKERBERG
เขียนลงใน web BRK
ทั้งที่ให้มูลนิธิเกตส์ และให้ลูก
http://www.berkshirehathaway.com/donate/webdonat.html
ที่ให้มูลนิธิเกตส์ BMG = Bill-Melinda Gates
http://www.berkshirehathaway.com/donate/bmgfltr.pdf
Here are the mechanics: Ten million B shares will be earmarked by me for BMG
contributions. (I currently own only A shares but will soon convert a number of these to
B.) In July of every year, or such later date as you elect, 5% of the balance of the
earmarked shares will be contributed either directly to BMG or to a charitable
intermediary that will hold the earmarked shares for the benefit of BMG. To illustrate, in
2006, 500,000 shares will be contributed. In 2007, 475,000 shares (5% of the 9,500,000
remaining after the 2006 contribution) will be contributed and thereafter 5% fewer shares
will be contributed each year.
There are three conditions to this lifetime pledge. First, at least one of you must
remain alive and active in the policy-setting and administration of BMG. Second, BMG
(or any intermediary) must continue to satisfy legal requirements qualifying my gifts as
charitable and not subject to gift or other taxes. And, finally, the value of my annual gift
must be fully additive to the spending of at least 5% of the Foundation’s net assets. I
expect there to be a ramp-up period of two years during which this condition will not
apply. But beginning in calendar 2009, BMG’s annual giving must be at least equal to
the value of my previous year’s gift plus 5% of BMG’s net assets. If this amount is
exceeded in any year, however, the excess can be carried forward and be offset against a
shortfall in subsequent years. Similarly a shortfall in a given year can be made up in the
following year.
The value of Berkshire shares will, of course, vary from year to year. And, as
noted, the number of shares distributed will diminish by 5% per year. Nevertheless, I
believe that you can reasonably expect the value of Berkshire shares to increase, in an
irregular manner, by an amount that more than compensates for the decline in the number
of shares that will be distributed
ที่ให้ลูก
ยกตัวอย่างลูกชาย "HGB" Howard Graham Buffett (แกนับถืออาจารย์ Graham ขนาดเอามาตั้งเป็นชื่อกลางลูกชาย)
แต่ก็ยังมีคนวิจารณ์ ว่าให้น้อยเกินไป... แกบอกว่าพอแล้ว เดี๋ยวเป็นง่อย หากินเองบ้าง ไม่อยากให้เป็นพวก lucky sperm club
Here are the mechanics of my pledge: 350,000 B shares will be earmarked by me
for HGB contributions. (I currently own only A shares but will soon convert a number of
these to B.) In July of every year, beginning next month, 5% of the balance of the
earmarked shares will be contributed to HGB. To illustrate, in 2006, 17,500 shares
(currently worth more than $50 million) will be contributed. In 2007, 16,625 shares (5%
of the 332,500 remaining after the 2006 contribution) will be contributed and thereafter
5% fewer shares will be contributed each year.
The value of Berkshire shares will, of course, vary from year to year. And, as
noted, the number of shares HGB receives will diminish by 5% per year. Nevertheless, I
believe that you can reasonably expect the value of the Berkshire shares you will receive
to increase, in an irregular manner, by an amount that more than compensates for the
decline in the number of shares you will be receiving. Over time, the increase may be
substantial.
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปู่่บัฟฟ์สวนหมัด
โพสต์ที่ 12
นอกจาก bloomberg เจ้าของช่องทีวีการเงินชื่อดัง นายกเทศมนตรีนิวยอร์ก, George Lucas เจ้าของสตาวอร์, Hilton เชนโรงแรมหรู, Rockefeller ทายาทเศรษฐีอันดับ 1 ในอดีต, Steve Case แห่ง America online
ไปสะดุดชื่อนี้
CARL ICAHN
เป็นนักลงทุนบริหาร port มือฉมัง
แต่ที่น่าสนใจ และต่างจากชาวบ้านมากๆ คือไำปซื้อบริษัทที่ดี แต่ผู้บริหารแย่ ปรับโครงสร้างบริหารใหม่ พอดีขึ้นแล้วจึงขาย
ขอ link บทความจาก blog คุณสุมาอี้ จะได้ไม่ต้องแปล
http://dekisugi.net/archives/10639
บทความประวัติชีวิตจาก wiki
http://en.wikipedia.org/wiki/Carl_Icahn
ไปสะดุดชื่อนี้
CARL ICAHN
เป็นนักลงทุนบริหาร port มือฉมัง
แต่ที่น่าสนใจ และต่างจากชาวบ้านมากๆ คือไำปซื้อบริษัทที่ดี แต่ผู้บริหารแย่ ปรับโครงสร้างบริหารใหม่ พอดีขึ้นแล้วจึงขาย
ขอ link บทความจาก blog คุณสุมาอี้ จะได้ไม่ต้องแปล
อ่านรายละเอียด
Carl Icahn, เป็นนักลงทุนที่ร่ำรวยเป็นอันดับ 5 ของโลก ตามการจัดอันดับของ Forbes เขามีสินทรัพย์รวม $10.5 billions
อาชีพหลักของเขาคือ การบริหาร Private Equity ซึ่งเงินส่วนหนึ่งเป็นเงินของเขาเอง (นักลงทุนที่จะร่วมหุ้นกับเขาได้ จะต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำ $25 millions, ค่าบริหาร 2.5% ต่อปี และ profit sharing 25% ของกำไร)
http://dekisugi.net/archives/10639
บทความประวัติชีวิตจาก wiki
http://en.wikipedia.org/wiki/Carl_Icahn
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปู่่บัฟฟ์สวนหมัด
โพสต์ที่ 13
http://bit.ly/wGJCUr
การเมือง : ทัศนะวิจารณ์
วันที่ 20 มกราคม 2555 01:00
ดร.ไสว บุญมา
คอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์ "บ้านเขาเมืองเรา"
จำนวนคนอ่าน 1120 คน
มุมมองของวอร์เรน บัฟเฟตต์
โดย : ดร.ไสว บุญมา
คอลัมน์นี้ นำเรื่องราวของวอร์เรน บัฟเฟตต์ มาเล่าเป็นครั้งคราว อาทิเช่น เรื่องที่เขาร่วมกับบิล เกตส์ ชักชวนบรรดามหาเศรษฐีให้บริจาคทรัพย์สิน
ไม่ต่ำกว่า 50% เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์โดยตัวเขาเองให้คำมั่นสัญญาว่าจะบริจาคอย่างน้อย 99% และได้เริ่มบริจาคไปหลายพันล้านดอลลาร์แล้ว ส่วนบิล เกตส์ เองก็บริจาคไปแล้วราว 3 หมื่นล้านดอลลาร์ ณ วันนี้ มหาเศรษฐีอเมริกันเข้าร่วมโครงการแล้ว 69 ครอบครัว รวมทั้งมาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก ซึ่งตอนนี้อายุเพียง 27 ปี และเป็นหัวจักรใหญ่ในการก่อตั้งสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ค รายละเอียดของโครงการนี้มีอยู่ในเว็บไซต์ http://www.givingpledge.org และคอลัมน์นี้ได้นำเรื่องบัญญัติ 10 ประการของบัฟเฟตต์มาเสนอไว้ในบทความประจำวันที่ 13 และ 20 กุมภาพันธ์ 2552
นิตยสารไทม์ประจำวันที่ 23 มกราคมนี้เสนอบทความพิเศษเกี่ยวกับบัฟเฟตต์พร้อมกับนำรูปของเขามาขึ้นเต็มปก เนื้อหาส่วนใหญ่มาจากการให้สัมภาษณ์ของเขาแก่นักเขียนคอลัมน์ประจำของนิตยสาร ขอนำบางประการมาเล่าสำหรับผู้ที่ไม่มีโอกาสอ่านนิตยสารฉบับนั้น
ในอดีต เรื่องราวของบัฟเฟตต์ในสื่อมักเป็นด้านการลงทุน เพราะเขาประสบความสำเร็จสูงต่อเนื่องกันมานานจนได้สลับกับบิล เกตส์ เป็นมหาเศรษฐีหมายเลขหนึ่งของโลกหลายครั้ง คราวนี้เนื้อหามีความครอบคลุมมากกว่า แรงจูงใจของนิตยสารไทม์ ได้แก่ การที่เขาสนับสนุนรัฐบาลให้เก็บภาษีเศรษฐีมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ติดหล่ม ข้อเสนอของเขาชนแบบเต็มรักกับของนักการเมืองและเศรษฐีส่วนใหญ่ส่งผลให้เกิดการถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อน สำหรับผู้ที่อาจลืมไป เมื่อหลายปีก่อนในตอนที่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช จะยกเลิกภาษีมรดก บิล เกตส์และพ่อก็ออกมาต่อต้าน แต่เรื่องนั้นไม่ได้รับการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางเหมือนครั้งนี้
อาจเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า บัฟเฟตต์ลงทุนบนฐานของการมองค่าหุ้นและผลกำไรในระยะยาว จึงต่างกับของนักเก็งกำไรซึ่งมองเพียงในระยะสั้น เขาต้องการให้รัฐบาลเก็บภาษีคนพวกนี้มากๆ เนื่องจากพวกเขาไม่สร้างประโยชน์อะไร จากการยักย้ายเงินทุนไปโน่นมานี่โดยเฉพาะพวกที่ย้ายเงินและกิจการไปซุกซ่อนไว้ในต่างประเทศเพื่อเลี่ยงภาษี ยิ่งกว่านั้น เขาต้องการให้รัฐบาลริบทรัพย์ของผู้บริหารบริษัทที่รัฐต้องเข้าไปอุ้มให้พ้นจากการล้มละลาย แทนที่จะปล่อยให้คนพวกนั้นเพิ่มความร่ำรวย ด้วยการขึ้นค่าตอบแทนของตัวเองเมื่อบริษัทรอดตาย รัฐบาลควรเก็บภาษีเศรษฐีให้มากเป็นพิเศษไว้เพื่อนำไปใช้ในด้านการเอื้อให้เศรษฐกิจแข็งแกร่ง และด้านแรงขับเคลื่อนให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้นอย่างทั่วถึง
แรงจูงใจที่ทำให้บัฟเฟตต์คิดว่าเศรษฐีควรเสียภาษีเพิ่มขึ้นมาจากมุมของเขาที่ว่า เขาเชื่อมั่นในระบบตลาดเสรีในด้านที่มันทำให้เขามีชีวิตอยู่อย่างสะดวกสบาย แต่ผู้อื่นก็มีความสำคัญ ฉะนั้น พวกเขาจึงควรมีชีวิตที่สะดวกสบายได้ด้วยไม่ว่าจะเป็นหมอ ครู ผู้ที่ไปต่อสู้อยู่ในอัฟกานิสถาน คนงานก่อสร้าง หรือลูกจ้างเลี้ยงเด็ก อาจจำกันได้ว่า แนวคิดนี้ต่อยอดสิ่งที่เขาเคยพูดไว้นานแล้วว่าเขาไม่ได้ทำงานหนักกว่าภารโรง แต่เมื่อสังคมเอื้อให้เขาสร้างความร่ำรวยได้ เขาควรจะส่งส่วนที่เกินความจำเป็นกลับไปให้แก่สังคม ความจำเป็นของบัฟฟเตต์ดูจะมีไม่มากนัก เนื่องจากเขายังอาศัยอยู่ในบ้านแบบชนชั้นกลางหลังแรกที่เขาซื้อเมื่อปี 2501 เขาขับรถเองและกินอยู่อย่างง่ายๆ โดยใช้เงินไม่เกินปีละ 1.5 แสนดอลลาร์ สิ่งที่นับได้ว่าเกินความจำเป็นเบื้องต้นของชนชั้นกลางมีอยู่อย่างเดียว คือ เครื่องบินส่วนตัวที่เอื้อให้เขาเดินทางไปไหนมาไหนได้อย่างรวดเร็ว
ผู้เขียนมองว่าถ้าเจาะลึกลงไปอาจสรุปได้ว่า ฐานการมองโลกของบัฟเฟตต์มาจากยาย พ่อและภรรยาคนแรกซึ่งเขารักอย่างสุดซึ้งและเสียชีวิตไปเมื่อปี 2547 หลังจากแต่งงานกันมา 52 ปี ไม่ว่าจะเป็นในด้านการมองว่าตนเป็นคนแสนจะโชคดี หน้าที่ การเกลียดความเป็นหนี้สิน การดำเนินชีวิตในแนวติดดิน ความซื่อตรง ความเป็นธรรม ความมั่นใจในความเท่าเทียมกันและความสำคัญของเพื่อนมนุษย์ หรือความมีจิตวิญญาณของการเสียสละเพื่อส่วนรวม
บัฟเฟตต์เชื่อว่าในระยะสั้นเศรษฐกิจอเมริกันจะฟื้นตัวทันที เมื่อรัฐสามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับภาคที่อยู่อาศัยได้สำเร็จ สำหรับในระยะยาว เขามองว่า สหรัฐยังได้เปรียบประเทศร่ำรวยด้วยกัน เนื่องจากประเทศเหล่านั้นมักมีผู้สูงวัยในอัตราสูงกว่าหรือมีประชากรลดลง การลงทุนของเขาเกือบทั้งหมดจึงอยู่ในสหรัฐ สิ่งที่สร้างปัญหาใหญ่ให้สหรัฐ ได้แก่ ระบบการรักษาพยาบาล เขาตั้งชื่อมันว่าพยาธิตัวตืดที่จะต้องถูกปฏิรูปแบบขุดรากถอนโคน
ผู้เขียนแทรกเกร็ดไว้หลายอย่างตลอดทั้งบทความ อาทิเช่น บัฟเฟตต์เป็นหนอนหนังสือมาตั้งแต่เด็ก จำตัวเลขมากมายได้อย่างแม่นยำ ภรรยาหาภรรยาน้อยไว้ให้และผู้หญิงคนนั้นคือภรรยาในเวลานี้ เขาร้องไห้เมื่อเล่าเรื่องภรรยาคนแรก ชอบโซเฟีย ลอเรน เป็นพิเศษ และชอบภาพยนตร์เก่าแก่เรื่อง “สะพานข้ามแม่น้ำแคว” มากที่สุด ด้วยปัจจัยที่เล่ามานี้คงต้องสรุปว่า วอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นมหาเศรษฐีอายุ 81 ปี ที่มีครบทุกอย่างรวมทั้งหัวใจ
การเมือง : ทัศนะวิจารณ์
วันที่ 20 มกราคม 2555 01:00
ดร.ไสว บุญมา
คอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์ "บ้านเขาเมืองเรา"
จำนวนคนอ่าน 1120 คน
มุมมองของวอร์เรน บัฟเฟตต์
โดย : ดร.ไสว บุญมา
คอลัมน์นี้ นำเรื่องราวของวอร์เรน บัฟเฟตต์ มาเล่าเป็นครั้งคราว อาทิเช่น เรื่องที่เขาร่วมกับบิล เกตส์ ชักชวนบรรดามหาเศรษฐีให้บริจาคทรัพย์สิน
ไม่ต่ำกว่า 50% เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์โดยตัวเขาเองให้คำมั่นสัญญาว่าจะบริจาคอย่างน้อย 99% และได้เริ่มบริจาคไปหลายพันล้านดอลลาร์แล้ว ส่วนบิล เกตส์ เองก็บริจาคไปแล้วราว 3 หมื่นล้านดอลลาร์ ณ วันนี้ มหาเศรษฐีอเมริกันเข้าร่วมโครงการแล้ว 69 ครอบครัว รวมทั้งมาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก ซึ่งตอนนี้อายุเพียง 27 ปี และเป็นหัวจักรใหญ่ในการก่อตั้งสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ค รายละเอียดของโครงการนี้มีอยู่ในเว็บไซต์ http://www.givingpledge.org และคอลัมน์นี้ได้นำเรื่องบัญญัติ 10 ประการของบัฟเฟตต์มาเสนอไว้ในบทความประจำวันที่ 13 และ 20 กุมภาพันธ์ 2552
นิตยสารไทม์ประจำวันที่ 23 มกราคมนี้เสนอบทความพิเศษเกี่ยวกับบัฟเฟตต์พร้อมกับนำรูปของเขามาขึ้นเต็มปก เนื้อหาส่วนใหญ่มาจากการให้สัมภาษณ์ของเขาแก่นักเขียนคอลัมน์ประจำของนิตยสาร ขอนำบางประการมาเล่าสำหรับผู้ที่ไม่มีโอกาสอ่านนิตยสารฉบับนั้น
ในอดีต เรื่องราวของบัฟเฟตต์ในสื่อมักเป็นด้านการลงทุน เพราะเขาประสบความสำเร็จสูงต่อเนื่องกันมานานจนได้สลับกับบิล เกตส์ เป็นมหาเศรษฐีหมายเลขหนึ่งของโลกหลายครั้ง คราวนี้เนื้อหามีความครอบคลุมมากกว่า แรงจูงใจของนิตยสารไทม์ ได้แก่ การที่เขาสนับสนุนรัฐบาลให้เก็บภาษีเศรษฐีมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ติดหล่ม ข้อเสนอของเขาชนแบบเต็มรักกับของนักการเมืองและเศรษฐีส่วนใหญ่ส่งผลให้เกิดการถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อน สำหรับผู้ที่อาจลืมไป เมื่อหลายปีก่อนในตอนที่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช จะยกเลิกภาษีมรดก บิล เกตส์และพ่อก็ออกมาต่อต้าน แต่เรื่องนั้นไม่ได้รับการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางเหมือนครั้งนี้
อาจเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า บัฟเฟตต์ลงทุนบนฐานของการมองค่าหุ้นและผลกำไรในระยะยาว จึงต่างกับของนักเก็งกำไรซึ่งมองเพียงในระยะสั้น เขาต้องการให้รัฐบาลเก็บภาษีคนพวกนี้มากๆ เนื่องจากพวกเขาไม่สร้างประโยชน์อะไร จากการยักย้ายเงินทุนไปโน่นมานี่โดยเฉพาะพวกที่ย้ายเงินและกิจการไปซุกซ่อนไว้ในต่างประเทศเพื่อเลี่ยงภาษี ยิ่งกว่านั้น เขาต้องการให้รัฐบาลริบทรัพย์ของผู้บริหารบริษัทที่รัฐต้องเข้าไปอุ้มให้พ้นจากการล้มละลาย แทนที่จะปล่อยให้คนพวกนั้นเพิ่มความร่ำรวย ด้วยการขึ้นค่าตอบแทนของตัวเองเมื่อบริษัทรอดตาย รัฐบาลควรเก็บภาษีเศรษฐีให้มากเป็นพิเศษไว้เพื่อนำไปใช้ในด้านการเอื้อให้เศรษฐกิจแข็งแกร่ง และด้านแรงขับเคลื่อนให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้นอย่างทั่วถึง
แรงจูงใจที่ทำให้บัฟเฟตต์คิดว่าเศรษฐีควรเสียภาษีเพิ่มขึ้นมาจากมุมของเขาที่ว่า เขาเชื่อมั่นในระบบตลาดเสรีในด้านที่มันทำให้เขามีชีวิตอยู่อย่างสะดวกสบาย แต่ผู้อื่นก็มีความสำคัญ ฉะนั้น พวกเขาจึงควรมีชีวิตที่สะดวกสบายได้ด้วยไม่ว่าจะเป็นหมอ ครู ผู้ที่ไปต่อสู้อยู่ในอัฟกานิสถาน คนงานก่อสร้าง หรือลูกจ้างเลี้ยงเด็ก อาจจำกันได้ว่า แนวคิดนี้ต่อยอดสิ่งที่เขาเคยพูดไว้นานแล้วว่าเขาไม่ได้ทำงานหนักกว่าภารโรง แต่เมื่อสังคมเอื้อให้เขาสร้างความร่ำรวยได้ เขาควรจะส่งส่วนที่เกินความจำเป็นกลับไปให้แก่สังคม ความจำเป็นของบัฟฟเตต์ดูจะมีไม่มากนัก เนื่องจากเขายังอาศัยอยู่ในบ้านแบบชนชั้นกลางหลังแรกที่เขาซื้อเมื่อปี 2501 เขาขับรถเองและกินอยู่อย่างง่ายๆ โดยใช้เงินไม่เกินปีละ 1.5 แสนดอลลาร์ สิ่งที่นับได้ว่าเกินความจำเป็นเบื้องต้นของชนชั้นกลางมีอยู่อย่างเดียว คือ เครื่องบินส่วนตัวที่เอื้อให้เขาเดินทางไปไหนมาไหนได้อย่างรวดเร็ว
ผู้เขียนมองว่าถ้าเจาะลึกลงไปอาจสรุปได้ว่า ฐานการมองโลกของบัฟเฟตต์มาจากยาย พ่อและภรรยาคนแรกซึ่งเขารักอย่างสุดซึ้งและเสียชีวิตไปเมื่อปี 2547 หลังจากแต่งงานกันมา 52 ปี ไม่ว่าจะเป็นในด้านการมองว่าตนเป็นคนแสนจะโชคดี หน้าที่ การเกลียดความเป็นหนี้สิน การดำเนินชีวิตในแนวติดดิน ความซื่อตรง ความเป็นธรรม ความมั่นใจในความเท่าเทียมกันและความสำคัญของเพื่อนมนุษย์ หรือความมีจิตวิญญาณของการเสียสละเพื่อส่วนรวม
บัฟเฟตต์เชื่อว่าในระยะสั้นเศรษฐกิจอเมริกันจะฟื้นตัวทันที เมื่อรัฐสามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับภาคที่อยู่อาศัยได้สำเร็จ สำหรับในระยะยาว เขามองว่า สหรัฐยังได้เปรียบประเทศร่ำรวยด้วยกัน เนื่องจากประเทศเหล่านั้นมักมีผู้สูงวัยในอัตราสูงกว่าหรือมีประชากรลดลง การลงทุนของเขาเกือบทั้งหมดจึงอยู่ในสหรัฐ สิ่งที่สร้างปัญหาใหญ่ให้สหรัฐ ได้แก่ ระบบการรักษาพยาบาล เขาตั้งชื่อมันว่าพยาธิตัวตืดที่จะต้องถูกปฏิรูปแบบขุดรากถอนโคน
ผู้เขียนแทรกเกร็ดไว้หลายอย่างตลอดทั้งบทความ อาทิเช่น บัฟเฟตต์เป็นหนอนหนังสือมาตั้งแต่เด็ก จำตัวเลขมากมายได้อย่างแม่นยำ ภรรยาหาภรรยาน้อยไว้ให้และผู้หญิงคนนั้นคือภรรยาในเวลานี้ เขาร้องไห้เมื่อเล่าเรื่องภรรยาคนแรก ชอบโซเฟีย ลอเรน เป็นพิเศษ และชอบภาพยนตร์เก่าแก่เรื่อง “สะพานข้ามแม่น้ำแคว” มากที่สุด ด้วยปัจจัยที่เล่ามานี้คงต้องสรุปว่า วอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นมหาเศรษฐีอายุ 81 ปี ที่มีครบทุกอย่างรวมทั้งหัวใจ
- peacedev
- Verified User
- โพสต์: 668
- ผู้ติดตาม: 0
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปู่่บัฟฟ์สวนหมัด
โพสต์ที่ 15
http://bit.ly/AneQuQ
การเมือง : ทัศนะวิจารณ์
วันที่ 27 มกราคม 2555 01:00
ดร.ไสว บุญมา
ดร.ไสว บุญมา
คอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์ "บ้านเขาเมืองเรา"
จำนวนคนอ่าน 1385 คน
วอร์เรน บัฟเฟตต์ เศรษฐศาสตร์ความสุขและการบุกวอชิงตัน
โดย : ดร.ไสว บุญมา
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา วอชิงตันโพสต์รายงานว่าหนังสือสารคดีขายดีอันดับสองของย่านกรุงวอชิงตัน ได้แก่ เรื่อง Thinking, Fast and Slow
ของ ศาสตราจารย์แดเนียล คาห์นีแมน นักจิตวิทยาชื่อดังผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์เมื่อปี 2545 เขาได้รับรางวัลด้านเศรษฐศาสตร์เพราะนำวิชาจิตวิทยามาประยุกต์ใช้ในด้านเศรษฐศาสตร์ได้ผลจนกลายเป็นฐานของการมองเศรษฐศาสตร์จากด้านอารมณ์ของคนแทนที่จะมองจากด้านเหตุผลเพียงอย่างเดียว วิชาเศรษฐศาสตร์จึงมีสาขาใหม่ชื่อ “เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม” (Behavioral Economics) เนื้อหาของหนังสือเล่มนั้นวางอยู่บนฐานของการแยกกระบวนการคิดของคนเราออกเป็นสองระบบ คือ ระบบเร็วและระบบช้า การตัดสินใจในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่มาจากการใช้ระบบคิดเร็ว ซึ่งมักมีอารมณ์เป็นตัวขับเคลื่อน
ศาสตราจารย์คาห์นีแมนใช้หลักจิตวิทยาศึกษาเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับความสุขได้ข้อสรุปว่า คนเรามีความสุขเพิ่มขึ้นตามรายได้จนเมื่อรายได้เพิ่มขึ้นไปถึงปีละประมาณ 75,000 ดอลลาร์ หลังจากนั้น ความสุขจะไม่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ข้อสรุปแนวนี้มีการอ้างถึงในงานของ “มูลนิธิเศรษฐศาสตร์ใหม่” (New Economics Foundation) และในหนังสือหลายเล่ม อาทิเช่น The Progress Paradox : How Life Gets Better While People Feel Worse และเรื่อง Happiness : Lessons from a New Science (ทั้งสองเล่มนี้มีบทคัดย่อภาษาไทยอยู่ในเรื่อง "กะลาภิวัตน์") การวิจัยจากหลายแง่มุมพบว่า หลังจากมีรายได้ที่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพอย่างสะดวกสบายในระดับหนึ่งแล้ว ความสุขเกิดจากปัจจัยหลายอย่างรวมทั้งการมีสุขภาพดี การมีเพื่อนและการบริจาค
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คอลัมน์นี้อ้างถึง วอร์เรน บัฟเฟตต์ ว่า ใช้เงินปีละไม่เกิน 1.5 แสนดอลลาร์ ทั้งที่มีทรัพย์นับหมื่นล้านและมีรายได้ปีละหลายสิบล้านดอลลาร์ เขาเริ่มบริจาคทรัพย์เพื่อการกุศลและจะบริจาคต่อไปจนหมดไม่ต่ำกว่า 99% ของทรัพย์ที่มีอยู่ ผู้ที่เข้าไปดูเว็บไซต์ www.givingpledge.org จะพบเหตุผลของเขาที่ว่าทรัพย์ที่เกิน 1% ขึ้นไปจะไม่ทำให้เขาสุขสบายมากกว่าในปัจจุบัน แต่มันจะช่วยเพื่อนมนุษย์อีกมากมายให้สุขสบายขึ้น เขาเน้นความสำคัญของการมีเพื่อน แม้เขาจะไม่ได้กล่าวถึง แต่เรื่องราวของเขาในนิตยสารไทม์ที่คอลัมน์นี้อ้างถึงเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ยืนยันว่าเขายังมีสุขภาพดีทั้งที่อายุ 81 ปีแล้ว
แม้เรื่องราวของวอร์เรน บัฟเฟตต์ จะยืนยันผลการศึกษาที่สรุปว่า เมื่อรายได้เพิ่มขึ้นไปถึงจุดหนึ่ง ความสุขของคนเราจะมาจากปัจจัยอื่น แต่เศรษฐีอเมริกันส่วนใหญ่คงไม่เห็นด้วยทั้งนี้เพราะเพียง 69 คนเท่านั้นที่สัญญาว่าจะเข้าร่วมโครงการบริจาคทรัพย์อย่างน้อย 50% เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ทั้งที่สหรัฐมีเศรษฐีที่มีทรัพย์นับพันล้านดอลลาร์กว่า 400 คนและชาวอเมริกัน 1% หรือกว่า 3 ล้านคนมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 3.8 แสนดอลลาร์ต่อปี คนกลุ่มนี้เป็นเศรษฐีกันถ้วนหน้าเนื่องจากข้อมูลของธนาคารกลางอเมริกันบ่งว่าแต่ละคนมีทรัพย์อย่างน้อย 6.9 ล้านดอลลาร์ เศรษฐีเหล่านี้แหละที่เป็นเป้าของการประท้วงโดยกระบวนการ “ยึดครองถนนวอลล์” (Occupy Wall Street) ซึ่งบุกไปยึดครองกรุงวอชิงตันมานานแล้วเพราะแม้จะมีรายได้และทรัพย์เกินระดับที่จะสนับสนุนให้มีความสุขสบายได้เป็นอย่างดี แต่เศรษฐีส่วนใหญ่ไม่กระทำตามวอร์เรน บัฟเฟตต์ หากมักกระทำในทางตรงข้ามมากกว่าโดยเฉพาะการหาทางเลี่ยงภาษี พฤติกรรมทำนองนี้ชี้ว่าพวกเขาตัดสินใจด้วยการใช้ระบบการคิดเร็วตามการวิเคราะห์ของศาสตราจารย์คาห์นีแมน
เมื่อรวมเรื่องราวที่เล่ามานี้เข้าด้วยกันจะเกิดประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งซึ่งดูจะยังไม่มีผู้นำมาพิจารณา นั่นคือ สมมติว่าบรรดาเศรษฐียอมเสียภาษีตามที่วอร์เรน บัฟเฟตต์ เสนอและนโยบายของรัฐสามารถลดความแตกต่างระหว่างคนรวยกับคนจนลงได้ตามเป้าหมายของผู้ยึดครองถนนวอลล์และบุกกรุงวอชิงตัน นอกจากนั้น เศรษฐกิจโลกก็ขยายตัวต่อไปส่งผลให้รายได้เฉลี่ยของชาวโลกเพิ่มขึ้นจากราว 11,000 ดอลลาร์ต่อปีตามที่ข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศบ่งบอก เศรษฐกิจจะขยายตัวต่อไปจนทำให้ทุกคนมีรายได้ปีละ 75,000 ดอลลาร์ เพื่อทำให้เกิดความสุขถ้วนหน้าได้หรือไม่ในเมื่อโลกใบนี้มีทรัพยากรเพียงจำกัด การศึกษาของศาสตราจารย์พอล เออร์ลิชสรุปว่าไม่น่าทำได้ เขาเสนอไว้ในหนังสือชื่อ One with Nineveh: Politics, Consumption, and the Human Future (มีบทคัดย่อภาษาไทยอยู่ในเรื่อง “ธาตุ 4 พิโรธ”) ว่า ทรัพยากรโลกจะสนับสนุนประชากรให้อยู่อย่างดีและมีความสุขได้เพียง 2 พันล้านคนเท่านั้น
ตอนนี้โลกมีประชากรเกิน 7 พันล้านคนซึ่งจะเพิ่มขึ้นต่อไป นั่นหมายความว่า แม้บรรดาเศรษฐีจะคิดอย่างมีเหตุผลและกระทำตามวอร์เรน บัฟเฟตต์กันทุกคนก็ตาม แต่ตราบใดที่โลกใบนี้ยังมีคนถึง 7 พันล้านคน มันย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้ทุกคนมีรายได้ในระดับที่จะสนับสนุนให้อยู่ได้อย่างดีจนมีความสุขกันถ้วนหน้า ด้วยเหตุนี้ การไม่มีลูกจะเป็นการประท้วงที่มีประสิทธิผลเหนือกว่าการยึดครองถนนวอลล์ และการบุกกรุงวอชิงตัน
การเมือง : ทัศนะวิจารณ์
วันที่ 27 มกราคม 2555 01:00
ดร.ไสว บุญมา
ดร.ไสว บุญมา
คอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์ "บ้านเขาเมืองเรา"
จำนวนคนอ่าน 1385 คน
วอร์เรน บัฟเฟตต์ เศรษฐศาสตร์ความสุขและการบุกวอชิงตัน
โดย : ดร.ไสว บุญมา
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา วอชิงตันโพสต์รายงานว่าหนังสือสารคดีขายดีอันดับสองของย่านกรุงวอชิงตัน ได้แก่ เรื่อง Thinking, Fast and Slow
ของ ศาสตราจารย์แดเนียล คาห์นีแมน นักจิตวิทยาชื่อดังผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์เมื่อปี 2545 เขาได้รับรางวัลด้านเศรษฐศาสตร์เพราะนำวิชาจิตวิทยามาประยุกต์ใช้ในด้านเศรษฐศาสตร์ได้ผลจนกลายเป็นฐานของการมองเศรษฐศาสตร์จากด้านอารมณ์ของคนแทนที่จะมองจากด้านเหตุผลเพียงอย่างเดียว วิชาเศรษฐศาสตร์จึงมีสาขาใหม่ชื่อ “เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม” (Behavioral Economics) เนื้อหาของหนังสือเล่มนั้นวางอยู่บนฐานของการแยกกระบวนการคิดของคนเราออกเป็นสองระบบ คือ ระบบเร็วและระบบช้า การตัดสินใจในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่มาจากการใช้ระบบคิดเร็ว ซึ่งมักมีอารมณ์เป็นตัวขับเคลื่อน
ศาสตราจารย์คาห์นีแมนใช้หลักจิตวิทยาศึกษาเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับความสุขได้ข้อสรุปว่า คนเรามีความสุขเพิ่มขึ้นตามรายได้จนเมื่อรายได้เพิ่มขึ้นไปถึงปีละประมาณ 75,000 ดอลลาร์ หลังจากนั้น ความสุขจะไม่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ข้อสรุปแนวนี้มีการอ้างถึงในงานของ “มูลนิธิเศรษฐศาสตร์ใหม่” (New Economics Foundation) และในหนังสือหลายเล่ม อาทิเช่น The Progress Paradox : How Life Gets Better While People Feel Worse และเรื่อง Happiness : Lessons from a New Science (ทั้งสองเล่มนี้มีบทคัดย่อภาษาไทยอยู่ในเรื่อง "กะลาภิวัตน์") การวิจัยจากหลายแง่มุมพบว่า หลังจากมีรายได้ที่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพอย่างสะดวกสบายในระดับหนึ่งแล้ว ความสุขเกิดจากปัจจัยหลายอย่างรวมทั้งการมีสุขภาพดี การมีเพื่อนและการบริจาค
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คอลัมน์นี้อ้างถึง วอร์เรน บัฟเฟตต์ ว่า ใช้เงินปีละไม่เกิน 1.5 แสนดอลลาร์ ทั้งที่มีทรัพย์นับหมื่นล้านและมีรายได้ปีละหลายสิบล้านดอลลาร์ เขาเริ่มบริจาคทรัพย์เพื่อการกุศลและจะบริจาคต่อไปจนหมดไม่ต่ำกว่า 99% ของทรัพย์ที่มีอยู่ ผู้ที่เข้าไปดูเว็บไซต์ www.givingpledge.org จะพบเหตุผลของเขาที่ว่าทรัพย์ที่เกิน 1% ขึ้นไปจะไม่ทำให้เขาสุขสบายมากกว่าในปัจจุบัน แต่มันจะช่วยเพื่อนมนุษย์อีกมากมายให้สุขสบายขึ้น เขาเน้นความสำคัญของการมีเพื่อน แม้เขาจะไม่ได้กล่าวถึง แต่เรื่องราวของเขาในนิตยสารไทม์ที่คอลัมน์นี้อ้างถึงเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ยืนยันว่าเขายังมีสุขภาพดีทั้งที่อายุ 81 ปีแล้ว
แม้เรื่องราวของวอร์เรน บัฟเฟตต์ จะยืนยันผลการศึกษาที่สรุปว่า เมื่อรายได้เพิ่มขึ้นไปถึงจุดหนึ่ง ความสุขของคนเราจะมาจากปัจจัยอื่น แต่เศรษฐีอเมริกันส่วนใหญ่คงไม่เห็นด้วยทั้งนี้เพราะเพียง 69 คนเท่านั้นที่สัญญาว่าจะเข้าร่วมโครงการบริจาคทรัพย์อย่างน้อย 50% เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ทั้งที่สหรัฐมีเศรษฐีที่มีทรัพย์นับพันล้านดอลลาร์กว่า 400 คนและชาวอเมริกัน 1% หรือกว่า 3 ล้านคนมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 3.8 แสนดอลลาร์ต่อปี คนกลุ่มนี้เป็นเศรษฐีกันถ้วนหน้าเนื่องจากข้อมูลของธนาคารกลางอเมริกันบ่งว่าแต่ละคนมีทรัพย์อย่างน้อย 6.9 ล้านดอลลาร์ เศรษฐีเหล่านี้แหละที่เป็นเป้าของการประท้วงโดยกระบวนการ “ยึดครองถนนวอลล์” (Occupy Wall Street) ซึ่งบุกไปยึดครองกรุงวอชิงตันมานานแล้วเพราะแม้จะมีรายได้และทรัพย์เกินระดับที่จะสนับสนุนให้มีความสุขสบายได้เป็นอย่างดี แต่เศรษฐีส่วนใหญ่ไม่กระทำตามวอร์เรน บัฟเฟตต์ หากมักกระทำในทางตรงข้ามมากกว่าโดยเฉพาะการหาทางเลี่ยงภาษี พฤติกรรมทำนองนี้ชี้ว่าพวกเขาตัดสินใจด้วยการใช้ระบบการคิดเร็วตามการวิเคราะห์ของศาสตราจารย์คาห์นีแมน
เมื่อรวมเรื่องราวที่เล่ามานี้เข้าด้วยกันจะเกิดประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งซึ่งดูจะยังไม่มีผู้นำมาพิจารณา นั่นคือ สมมติว่าบรรดาเศรษฐียอมเสียภาษีตามที่วอร์เรน บัฟเฟตต์ เสนอและนโยบายของรัฐสามารถลดความแตกต่างระหว่างคนรวยกับคนจนลงได้ตามเป้าหมายของผู้ยึดครองถนนวอลล์และบุกกรุงวอชิงตัน นอกจากนั้น เศรษฐกิจโลกก็ขยายตัวต่อไปส่งผลให้รายได้เฉลี่ยของชาวโลกเพิ่มขึ้นจากราว 11,000 ดอลลาร์ต่อปีตามที่ข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศบ่งบอก เศรษฐกิจจะขยายตัวต่อไปจนทำให้ทุกคนมีรายได้ปีละ 75,000 ดอลลาร์ เพื่อทำให้เกิดความสุขถ้วนหน้าได้หรือไม่ในเมื่อโลกใบนี้มีทรัพยากรเพียงจำกัด การศึกษาของศาสตราจารย์พอล เออร์ลิชสรุปว่าไม่น่าทำได้ เขาเสนอไว้ในหนังสือชื่อ One with Nineveh: Politics, Consumption, and the Human Future (มีบทคัดย่อภาษาไทยอยู่ในเรื่อง “ธาตุ 4 พิโรธ”) ว่า ทรัพยากรโลกจะสนับสนุนประชากรให้อยู่อย่างดีและมีความสุขได้เพียง 2 พันล้านคนเท่านั้น
ตอนนี้โลกมีประชากรเกิน 7 พันล้านคนซึ่งจะเพิ่มขึ้นต่อไป นั่นหมายความว่า แม้บรรดาเศรษฐีจะคิดอย่างมีเหตุผลและกระทำตามวอร์เรน บัฟเฟตต์กันทุกคนก็ตาม แต่ตราบใดที่โลกใบนี้ยังมีคนถึง 7 พันล้านคน มันย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้ทุกคนมีรายได้ในระดับที่จะสนับสนุนให้อยู่ได้อย่างดีจนมีความสุขกันถ้วนหน้า ด้วยเหตุนี้ การไม่มีลูกจะเป็นการประท้วงที่มีประสิทธิผลเหนือกว่าการยึดครองถนนวอลล์ และการบุกกรุงวอชิงตัน