นักลงทุนหุ้นคุณค่า แต่คุณกำลังมอง คุณค่า ของใคร??
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1111
- ผู้ติดตาม: 0
นักลงทุนหุ้นคุณค่า แต่คุณกำลังมอง คุณค่า ของใคร??
โพสต์ที่ 1
สืบเนื่องจากกระทู้ของพี่ฉัตรชัยในเรื่อง PE ทำให้ผมฉุกคิดประเด็นนี้ขึ้นมา
ในการลงทุนของคนเรานั้น มีมุมมองในการหาคุณค่าในหลักทรัพย์ 2 แบบ แบบที่หนึ่ง คือ การมองคุณค่าโดยยึดความคุ้มค่าของตัวเองเป็นหลัก กับ การมองคุณค่าตามที่คนอื่นมองกัน
ไม่ใช่แค่การลงทุน เป็นธรรดาของโลก การซื้อขายสิ่งของทุกอย่าง ก็เป็น 2 แบบที่ว่านี้เช่นกัน
การมองคุณค่าของตัวเองเป็นหลัก เช่น คุณซื้อมือถือ คุณคิดว่า เกมบนมือถือ ลูกเล่นหลายแหล่ โปรแกรมแชต อะไรทั้งหลายนี้ ไม่จำเป็น คุณแค่ใช้โทรติดต่ออย่างเดียว เป็นหลัก คุณก็อาจจะซื้อโนเกียในราคา5000บาท กับอีกแบบ คือการมองแบบที่คนอื่นมอง มองว่าโลกสมัยนี้ไปถึงไหนแล้ว มันต้องมีลูกเล่น ใช้นิ้วไสลด์หน้าจอ เท่ชะมัด ต่ออินเตอเนตสบาย เล่นเกมถ่ายรูป ใครๆก็ใช้กัน คุณก็ซื้อiphoneในราคา20000บาท
ในการลงทุนก็เช่นเดียวกัน ไม่เว้นแม้แต่เรื่อง PE
ถ้าคุณมองโดยคุณค่าสำหรับตัวคุณเอง คุณอาจจะซื้อหุ้นที่มี PE 30 ก็ต่อเมื่อมันสัญญากับคุณว่า มันจะเติบโต 30 เปอร์เซนต์ทุกปีเป็นอย่างต่ำ เป็นระยะเวลานานเพียงพอ เพื่อจะได้คืนทุนใน 10 ปี หรือน้อยกว่านั้น ซึ่งหมายถึงผลตอบแทนที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน ถ้าคุณเห็นว่า มันอาจจะเติบโตลดลงๆไป คุณคงไม่ยอมจ่ายที่PE 30 เพราะมันหมายถึงระยะเวลาคืนทุนนานขึ้น ผลตอบแทนก็ลดลงเช่นกัน
หรือไม่ คุณก็อาจจะยอมซื้อที่ PE 30 หากมันเป็นหุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำ แข็งแกร่ง ถึงแม้มันอาจจะโตช้าลง คุณอาจจะยอมคืนทุนนานหน่อย หรือผลตอบแทนน้อยหน่อย แลกกับความมั่นคง
แต่ถ้าคุณมองคุณค่าแบบที่คนอื่นมองกัน คุณอาจจะยอมซื้อหุ้นที่PE 30 เนื่องจากคุณคิดว่าคนอื่นให้premiumในความเป็นsuper stock ของมัน คุณกำลังซื้อของให้ตัวคุณเอง โดยที่คุณมองว่า คนอื่นให้คุณค่ามันอย่างนี้ คุณเลยซื้อมัน
สำหรับผม ผมมีคำตอบในใจอยู่แล้ว ว่าผมมองคุณค่าของสิ่งที่ผมซื้อจากตัวผมเอง หรือจากที่คนอื่นมองกัน
แล้วในฐานะนักลงทุนหุ้นคุณค่า คุณมอง"คุณค่า"ของสิ่งที่คุณซื้อ แบบไหน
ในการลงทุนของคนเรานั้น มีมุมมองในการหาคุณค่าในหลักทรัพย์ 2 แบบ แบบที่หนึ่ง คือ การมองคุณค่าโดยยึดความคุ้มค่าของตัวเองเป็นหลัก กับ การมองคุณค่าตามที่คนอื่นมองกัน
ไม่ใช่แค่การลงทุน เป็นธรรดาของโลก การซื้อขายสิ่งของทุกอย่าง ก็เป็น 2 แบบที่ว่านี้เช่นกัน
การมองคุณค่าของตัวเองเป็นหลัก เช่น คุณซื้อมือถือ คุณคิดว่า เกมบนมือถือ ลูกเล่นหลายแหล่ โปรแกรมแชต อะไรทั้งหลายนี้ ไม่จำเป็น คุณแค่ใช้โทรติดต่ออย่างเดียว เป็นหลัก คุณก็อาจจะซื้อโนเกียในราคา5000บาท กับอีกแบบ คือการมองแบบที่คนอื่นมอง มองว่าโลกสมัยนี้ไปถึงไหนแล้ว มันต้องมีลูกเล่น ใช้นิ้วไสลด์หน้าจอ เท่ชะมัด ต่ออินเตอเนตสบาย เล่นเกมถ่ายรูป ใครๆก็ใช้กัน คุณก็ซื้อiphoneในราคา20000บาท
ในการลงทุนก็เช่นเดียวกัน ไม่เว้นแม้แต่เรื่อง PE
ถ้าคุณมองโดยคุณค่าสำหรับตัวคุณเอง คุณอาจจะซื้อหุ้นที่มี PE 30 ก็ต่อเมื่อมันสัญญากับคุณว่า มันจะเติบโต 30 เปอร์เซนต์ทุกปีเป็นอย่างต่ำ เป็นระยะเวลานานเพียงพอ เพื่อจะได้คืนทุนใน 10 ปี หรือน้อยกว่านั้น ซึ่งหมายถึงผลตอบแทนที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน ถ้าคุณเห็นว่า มันอาจจะเติบโตลดลงๆไป คุณคงไม่ยอมจ่ายที่PE 30 เพราะมันหมายถึงระยะเวลาคืนทุนนานขึ้น ผลตอบแทนก็ลดลงเช่นกัน
หรือไม่ คุณก็อาจจะยอมซื้อที่ PE 30 หากมันเป็นหุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำ แข็งแกร่ง ถึงแม้มันอาจจะโตช้าลง คุณอาจจะยอมคืนทุนนานหน่อย หรือผลตอบแทนน้อยหน่อย แลกกับความมั่นคง
แต่ถ้าคุณมองคุณค่าแบบที่คนอื่นมองกัน คุณอาจจะยอมซื้อหุ้นที่PE 30 เนื่องจากคุณคิดว่าคนอื่นให้premiumในความเป็นsuper stock ของมัน คุณกำลังซื้อของให้ตัวคุณเอง โดยที่คุณมองว่า คนอื่นให้คุณค่ามันอย่างนี้ คุณเลยซื้อมัน
สำหรับผม ผมมีคำตอบในใจอยู่แล้ว ว่าผมมองคุณค่าของสิ่งที่ผมซื้อจากตัวผมเอง หรือจากที่คนอื่นมองกัน
แล้วในฐานะนักลงทุนหุ้นคุณค่า คุณมอง"คุณค่า"ของสิ่งที่คุณซื้อ แบบไหน
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
- ซุนเซ็ก
- Verified User
- โพสต์: 1104
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นักลงทุนหุ้นคุณค่า แต่คุณกำลังมอง คุณค่า ของใคร??
โพสต์ที่ 2
คำว่า "คุณค่า" นี่เป็นอะไรที่ฟังดูเหมือนไม่ยาก แค่หาหุ้นดีๆ...แต่ยากมากทีเดียวครับ
เพราะทุกครั้ง "คุณค่าของเรา" มีค่ามากไป/น้อยไป กว่า "คุณค่าของคนอื่น" เสมอ
เรื่อง Value, งบการเงิน ต่อให้ทุกคนเก่งเท่ากันและคาดการณ์งบได้แม่นยำ
แต่ที่สิ่งที่ต่างก็คือ Valuation อยู่ดี แล้วไหนจะมี Time-frame-value ของแต่ละคนที่ต่างกันอีก
ในความเห็นผมนั้น
Value คือ Objective
Valuation คือ Subjective
เมื่อ Objective + Subjective มันย่อมได้ Subjective ไม่มีทางจะเป็น Objective
มูลค่าที่แท้จริง....ไม่มีจริง
เพราะทุกครั้ง "คุณค่าของเรา" มีค่ามากไป/น้อยไป กว่า "คุณค่าของคนอื่น" เสมอ
เรื่อง Value, งบการเงิน ต่อให้ทุกคนเก่งเท่ากันและคาดการณ์งบได้แม่นยำ
แต่ที่สิ่งที่ต่างก็คือ Valuation อยู่ดี แล้วไหนจะมี Time-frame-value ของแต่ละคนที่ต่างกันอีก
ในความเห็นผมนั้น
Value คือ Objective
Valuation คือ Subjective
เมื่อ Objective + Subjective มันย่อมได้ Subjective ไม่มีทางจะเป็น Objective
มูลค่าที่แท้จริง....ไม่มีจริง
ผมไม่ได้อยู่ในเว็บนี้แล้ว, มีอะไรติดต่อได้ทาง FB - 27/9/2555
"วิธีการที่ถูกต้อง มีได้มากกว่าหนึ่งวิธี"
สมุดบันทึกของผม http://suntse.wordpress.com
Facebook https://www.facebook.com/giggswalk
"วิธีการที่ถูกต้อง มีได้มากกว่าหนึ่งวิธี"
สมุดบันทึกของผม http://suntse.wordpress.com
Facebook https://www.facebook.com/giggswalk
- ซุนเซ็ก
- Verified User
- โพสต์: 1104
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นักลงทุนหุ้นคุณค่า แต่คุณกำลังมอง คุณค่า ของใคร??
โพสต์ที่ 3
ส่วนคำถามว่ามองอะไร ส่วนผมมองทั้ง 2 แบบครับ
ทั้ง คุณค่าของเรา และ คุณค่าของคนอื่น
ควบคู่กันไป...บางช่วงมองเรา บางช่วงมองเขา
ทั้ง คุณค่าของเรา และ คุณค่าของคนอื่น
ควบคู่กันไป...บางช่วงมองเรา บางช่วงมองเขา
ผมไม่ได้อยู่ในเว็บนี้แล้ว, มีอะไรติดต่อได้ทาง FB - 27/9/2555
"วิธีการที่ถูกต้อง มีได้มากกว่าหนึ่งวิธี"
สมุดบันทึกของผม http://suntse.wordpress.com
Facebook https://www.facebook.com/giggswalk
"วิธีการที่ถูกต้อง มีได้มากกว่าหนึ่งวิธี"
สมุดบันทึกของผม http://suntse.wordpress.com
Facebook https://www.facebook.com/giggswalk
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1111
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นักลงทุนหุ้นคุณค่า แต่คุณกำลังมอง คุณค่า ของใคร??
โพสต์ที่ 4
ใช่ครับ เพราะในการลงทุน หากคุณหวังcapital gain มันเป็นไปไม่ได้ที่ราคาจะขึ้นหากคนอื่นมองไม่เห็นคุณค่าของมัน การจะมองแต่คุณค่าสำหรับตัวเองเท่านั้นจึงยากซุนเซ็ก เขียน:ส่วนคำถามว่ามองอะไร ส่วนผมมองทั้ง 2 แบบครับ
ทั้ง คุณค่าของเรา และ คุณค่าของคนอื่น
ควบคู่กันไป...บางช่วงมองเรา บางช่วงมองเขา
แต่ถ้าเรามอง เราซื้อ สินทรัพย์ โดยที่ให้คนอื่นมาวัดคุณค่าให้ สำหรับผม อันนี้น่ากลัวกว่า
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
-
- Verified User
- โพสต์: 332
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นักลงทุนหุ้นคุณค่า แต่คุณกำลังมอง คุณค่า ของใคร??
โพสต์ที่ 5
ผมจะมองที่คุณค่าของ บ. ก่อนครับ
บริษัทมีกำไรดีมั้ย,ลักษณะธุรกิจสามารเติบโตไปได้อีก 5 ข้างหน้ามั้ย,บ.มีการจ่ายปันผลสม่ำเสมอมั้ย,ความสามารถในการบริหารหนี้หรือเป็นบริษัทปลอดหนี้,การตลาดที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น
มุมมองพวกนี้มันต้องใช้ความรู้สึกร่วมของการเป็นเจ้าของกิจการจริงๆ
สุดท้ายก็คงเป็นราคาซื้อขายที่เราจะสามารถเป็นเจ้าของบริษัท
เพราะราคาซื้อขายนั้นอาจจะถูกกว่าเงินลงทุนในการสร้างบริษัทอีกนะครับ ซึ่งเป็นข้อดีอย่างหนึ่งของตลาดหุ้น
บริษัทมีกำไรดีมั้ย,ลักษณะธุรกิจสามารเติบโตไปได้อีก 5 ข้างหน้ามั้ย,บ.มีการจ่ายปันผลสม่ำเสมอมั้ย,ความสามารถในการบริหารหนี้หรือเป็นบริษัทปลอดหนี้,การตลาดที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น
มุมมองพวกนี้มันต้องใช้ความรู้สึกร่วมของการเป็นเจ้าของกิจการจริงๆ
สุดท้ายก็คงเป็นราคาซื้อขายที่เราจะสามารถเป็นเจ้าของบริษัท
เพราะราคาซื้อขายนั้นอาจจะถูกกว่าเงินลงทุนในการสร้างบริษัทอีกนะครับ ซึ่งเป็นข้อดีอย่างหนึ่งของตลาดหุ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 732
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นักลงทุนหุ้นคุณค่า แต่คุณกำลังมอง คุณค่า ของใคร??
โพสต์ที่ 6
ก็เหมือนเราทำธุรกิจล่ะครับก็คือหาสินค้าและบริการมาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคส่วนต่างระหว่างคุณค่าที่ลูกค้าเห็นและยอมจ่ายกับต้นทุนก็คือกำไร
ถ้านี่คือสิ่งที่ลูกค้า(ตลาด)ต้องการ
ถ้านี่คือสิ่งที่ลูกค้า(ตลาด)ต้องการ
หน้าที่ของเราคือหาสิ่งนี้ได้ในราคาที่มีส่วนลดเยอะๆได้หรือไม่pullmeunder เขียน:ผมจะมองที่คุณค่าของ บ. ก่อนครับ
บริษัทมีกำไรดีมั้ย,ลักษณะธุรกิจสามารเติบโตไปได้อีก 5 ข้างหน้ามั้ย,บ.มีการจ่ายปันผลสม่ำเสมอมั้ย,ความสามารถในการบริหารหนี้หรือเป็นบริษัทปลอดหนี้,การตลาดที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น
มุมมองพวกนี้มันต้องใช้ความรู้สึกร่วมของการเป็นเจ้าของกิจการจริงๆ
สุดท้ายก็คงเป็นราคาซื้อขายที่เราจะสามารถเป็นเจ้าของบริษัท
เพราะราคาซื้อขายนั้นอาจจะถูกกว่าเงินลงทุนในการสร้างบริษัทอีกนะครับ ซึ่งเป็นข้อดีอย่างหนึ่งของตลาดหุ้น
ลงทุนหุ้นดี มีสตอรี่ ราคาไม่แพง เดี๋ยวก็รวย
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นักลงทุนหุ้นคุณค่า แต่คุณกำลังมอง คุณค่า ของใคร??
โพสต์ที่ 8
ปีเตอร์ ลินช์ บอกว่า บางทีเลือกหุ้นแบบชาวบ้านๆ ก็ชนะพวก wall street ได้
จริงๆ นะ ไปอ่านดู พอพูดถึงบทนี้ ไม่ได้พูดถึงเรื่องมานั่งแกะงบการเงินเลย
ดร.นิเวศน์ ก็พูดถึงว่า ตอนหลังไม่ค่อยได้อ่านงบการเงินมากนัก ตาไม่ค่อยดี
ข้อเท็จจริงที่คล้่ายกันคือ
แม้แต่คน "วงใน" ก็ไม่สามารถรู้จักกิจการได้ทั้งหมด แต่จะรู้จักในแง่ตัวเองเชี่ยวชาญ (ศัพท์ในทางการบริหาร เขาเรียก core competence)
เช่น ถ้าเพื่อนผมเป็นวิศวกร เขาก็จะไม่รู้ในแง่มุมตัวเลขของการขาย
ขนาดแม้แต่ฝ่ายเดียวกัน แบบบัญชี-การเงิน คนบัญชีก็ใช่จะรู้แง่เทคนิคทางการเงินของบริษัทครบ คนบัญชียังงงกับวิธีทางการเงินมีถมไป
คนส่วนใหญ่ถนัดด้านไหน ก็จะค้นข้อมูลนั้นได้ไม่อยาก
แต่อยากเป็นนักลงทุน ที่ประสบความสำเร็จ หัดพาตัวเอง ออกจากสิ่งที่ตัวเองคุ้นเคยบ้าง เพื่อจะประเมิน "คุณค่า" ได้กว้างขึ้น
แล้วเริ่มจากตรงไหนดีล่้ะ? สะเปะสะปะสิ ถ้าบอกว่าให้ดูเยอะๆ กว่้างๆ?
คำแนะนำ คือหัดไปเริ่มมองและ focus สิ่งที่เป็นแง่มุม ของ core business ของกิจการนั้นๆ และอะไรที่เป็นตัวทำเงินเข้า vs อะไรมีความเสี่ยงต่อการหายนะ
อาจเรียกว่า "จุดเป็น" และ "จุดตาย" ของบริษัท
บางที ทำความคุ้นเคยหา่ได้จากข่าวประจำวันตามหนังสือพิมพ์ก่อน แล้วค่อยไปเจาะในหนังสือของวงการนั้นๆ
เช่น ถ้าจะซื้อหุ้นสื่้อสาร อย่าง ADVANC DTAC TRUE ตอนนี้มีข่าว ว่้าเขาบอกมีชุมสายล่ม มีสถานีล่ม มันอยู่ส่วนไหน ล่มแล้ว ทำให้บริษัทสูญเสียไปขนาดไหน
ถ้าเป็นวิศวกร อาจจะรู้ว่ามันล่มจากส่้วนประกอบที่เรียกว่า HLR แต่เราไม่จำเป็นต้องไปรู้ลึก แค่รู้ว่าเป็นตัวเก็บข้อมูลของชุมสาย แค่นั้นก็รู้แล้ว ว่าทำไมคนโทรออกไม่ได้ สัยยาณหาย มันเหมือนคอมพิวเตอร์ ที่ตอนอ่านข้อมูลบน flash drive ไม่ได้
แล้วก็เพิ่มความรู้หาศัพท์ของวงการ อะไรคือ penetration อะไรคือ BTS (ไม่ใช่รถไฟฟ้าแน่นอน) อะไรคือ Cell Site อะไรคือ Fiber Optic ที่ว่าไฟไหม้แล้วล่มทั้งยวง
จะซื้อหุ้นห้างที่กระแสเงินสด มาจากการให้เช่าพื้นที่ อย่าง CPN MBK หรือซื้อ Property Fund ก็ต้องรู้จักศัพท์ Leasehold หรือ Freehold
จะไปร่วมเป็นเจ้าของกิจการทรัพยากรธรรมชาติ จะต้องไปทำความรู้จักค่าสูญสิ้น ไม่ใช่ค่าเสื่อมเฉยๆ ไม่มีอาชีพเป็นนักบัญชี ก็ควรรู้จักไว้
แล้วไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการสัมปทาน อะไรคือ BTO อะไรคือ BOT มีระยะเวลาเท่าไหร่ต้องไปส่งมอบให้ใคร หลังจากหมดสัมปท่าน ไปทำมาหากินอะไรต่อ
นอกจากข่าวประจำวันแล้ว ก็ 56-1 และรายงานประจำปี และเอกสารจาก Opportunity day
แค่นี้ ก็พาเราออกจากวง core competence ของเราได้ง่ายๆ ไปสู่วงการนั้นๆ
ดู "คุณค่า" โดยไม่ต้องไปอ่านตำราวิชาการมากมายเลย ดูครั้งละนิด เรารู้จักมันเอง
อีกอย่า่งการมองคุณค่า
บางคนอาจถนัดมองในแง่ quantitative เชิงปริมาณ
บางคน qualitative เชิงคุณภาพ
ที่ปีเตอร์ ลินช์ บอกว่า เปรียบเทียบพวก wall street หมายถึงพวกที่ซื้อหุ้นโดยไม่ดูตาม้าตาเรือ จะแพ้ชาวบ้าน ที่มองคุณค่าว่ากิจการมีคนอุดหนุน มีลูกค้าเพิ่มเรื่อยๆ ดูง่ายๆ ชัดๆ ว่ามันจะโต
ดร.นิเวศน์ ที่พูดว่าระยะหลัง ไม่ค่อยได้อ่านงบการเงิน อาจหมายถึงดูตัวเลขสรุปกว้างๆ และคุ้นเคยกับกิจการนั้นๆ แล้ว
และอ่าน trend ให้ขาด ซึ่งในงบการเงินและหมายเหตุฯ ทั้งหลาย ก็ไม่ได้มีพูดถึงตรงๆ ง่ายๆ ตรงไปตรงมาแบบนั้น
ซึ่งเป็นข่าวดี สำหรับคนที่เคยเข้าใจผิด ว่าต้องเก่งบัญชี ถึงจะรวยจากการลงทุนได้
แท้จริง ที่พูดถึงข้างบน จึงไม่ได้มายุ ว่าเราโยนทิ้งพวกเอกสารประกาศงบ เอกสาร 56-1 เอกสารทั้งหลายแหล่ไปเถอะ ในการประเมินคุณค่า
ประเด็นสำคัญ คือพยายามทำความรู้จักกับกิจการที่เราจะซื้อให้เยอะที่สุด ตามความสามารถของเรา
ไม่ว่าจะมองคุณค่าด้านเชิงคุณภาพ หรือเชิงปริมาณ
ยิ่งประเมินมาก ยิ่งเข้าใจ ยิ่งเชี่ยวในวิธีการต่างๆ มาก
การลงทุนมีความเสี่ยง แต่รู้ยิ่งมาก ช่วยลดความเสี่ยงให้ต่ำที่สุดได้ ไม่ว่าในเชิงไหนก็ตาม
ไม่ต่างกับการเลือกคู่
คุณค่าจริง อาจแค่ตัวเลขแต่งหลอกๆ แต่ภายในไม่ดี
แต่ว่าบางที หน้าตาดูขี้เหร่ แต่ว่ามีของจริงคุณค่าเลิศล้ำซ่อนอยู่ภายใน
หรืออาจดีทั้งภายนอกภายใน perfect
เป็นไปได้ทั้งนั้น
ดังนั้น ยิ่งมีตัวกรองด้านคุณค่ามากเท่าที่จะหาได้ ก็ยิ่งรู้จักว่าเรากำลังทำอะไรลงไป รู้จักสิ่งที่เรากำลังไปเกี่ยวข้องด้วย ยิ่งความเสี่ยงต่ำลง
ในมุมกลับ คือยิ่งโอกาสทำกำไรสูงขึ้น โอกาสมากกว่า ในสิ่งที่เราลงทุนแบบหลับตาจินตนาการ ฝันกลางวันตื่นตามชาวบ้านไปเอง
สำหรับผม พยายามหาข้อมูลครบทั้งสองแง่ให้มากสุดเท่าที่จะมากก่อน แล้วเอามากรองอีกที
นอกจากร้านซีเอ็ด จุฬา นายอินทร์ ที่หลงเข้าไปทีไร แอบอดไม่ได้ที่จะซื้อทีละพันหลายพันแล้ว
ยังมี "อากู๋" เป็นตัวช่วย มี "จานแข็ง" (hard disk) เก็บรวมกันแล้วหลาย TB รวมถึงไปสมัคร Cloud Drive เป็นที่เก็บข้อมูลพวกนั้น
ก่อนจะพยายาม upload ใส่ soft disk มหัศจรรย์ที่พ่อแม่ให้มาเพื่อประมวลผลข้อมูลเป็นอันดับถัดไป แล้วจะประมวล&ประเมินซ้ำ เมื่อมีข้อมูลอะไรใหม่ๆ มา
soft disk มหัศจรรย์ที่ว่าคือสมอง
จริงๆ นะ ไปอ่านดู พอพูดถึงบทนี้ ไม่ได้พูดถึงเรื่องมานั่งแกะงบการเงินเลย
ดร.นิเวศน์ ก็พูดถึงว่า ตอนหลังไม่ค่อยได้อ่านงบการเงินมากนัก ตาไม่ค่อยดี
ข้อเท็จจริงที่คล้่ายกันคือ
แม้แต่คน "วงใน" ก็ไม่สามารถรู้จักกิจการได้ทั้งหมด แต่จะรู้จักในแง่ตัวเองเชี่ยวชาญ (ศัพท์ในทางการบริหาร เขาเรียก core competence)
เช่น ถ้าเพื่อนผมเป็นวิศวกร เขาก็จะไม่รู้ในแง่มุมตัวเลขของการขาย
ขนาดแม้แต่ฝ่ายเดียวกัน แบบบัญชี-การเงิน คนบัญชีก็ใช่จะรู้แง่เทคนิคทางการเงินของบริษัทครบ คนบัญชียังงงกับวิธีทางการเงินมีถมไป
คนส่วนใหญ่ถนัดด้านไหน ก็จะค้นข้อมูลนั้นได้ไม่อยาก
แต่อยากเป็นนักลงทุน ที่ประสบความสำเร็จ หัดพาตัวเอง ออกจากสิ่งที่ตัวเองคุ้นเคยบ้าง เพื่อจะประเมิน "คุณค่า" ได้กว้างขึ้น
แล้วเริ่มจากตรงไหนดีล่้ะ? สะเปะสะปะสิ ถ้าบอกว่าให้ดูเยอะๆ กว่้างๆ?
คำแนะนำ คือหัดไปเริ่มมองและ focus สิ่งที่เป็นแง่มุม ของ core business ของกิจการนั้นๆ และอะไรที่เป็นตัวทำเงินเข้า vs อะไรมีความเสี่ยงต่อการหายนะ
อาจเรียกว่า "จุดเป็น" และ "จุดตาย" ของบริษัท
บางที ทำความคุ้นเคยหา่ได้จากข่าวประจำวันตามหนังสือพิมพ์ก่อน แล้วค่อยไปเจาะในหนังสือของวงการนั้นๆ
เช่น ถ้าจะซื้อหุ้นสื่้อสาร อย่าง ADVANC DTAC TRUE ตอนนี้มีข่าว ว่้าเขาบอกมีชุมสายล่ม มีสถานีล่ม มันอยู่ส่วนไหน ล่มแล้ว ทำให้บริษัทสูญเสียไปขนาดไหน
ถ้าเป็นวิศวกร อาจจะรู้ว่ามันล่มจากส่้วนประกอบที่เรียกว่า HLR แต่เราไม่จำเป็นต้องไปรู้ลึก แค่รู้ว่าเป็นตัวเก็บข้อมูลของชุมสาย แค่นั้นก็รู้แล้ว ว่าทำไมคนโทรออกไม่ได้ สัยยาณหาย มันเหมือนคอมพิวเตอร์ ที่ตอนอ่านข้อมูลบน flash drive ไม่ได้
แล้วก็เพิ่มความรู้หาศัพท์ของวงการ อะไรคือ penetration อะไรคือ BTS (ไม่ใช่รถไฟฟ้าแน่นอน) อะไรคือ Cell Site อะไรคือ Fiber Optic ที่ว่าไฟไหม้แล้วล่มทั้งยวง
จะซื้อหุ้นห้างที่กระแสเงินสด มาจากการให้เช่าพื้นที่ อย่าง CPN MBK หรือซื้อ Property Fund ก็ต้องรู้จักศัพท์ Leasehold หรือ Freehold
จะไปร่วมเป็นเจ้าของกิจการทรัพยากรธรรมชาติ จะต้องไปทำความรู้จักค่าสูญสิ้น ไม่ใช่ค่าเสื่อมเฉยๆ ไม่มีอาชีพเป็นนักบัญชี ก็ควรรู้จักไว้
แล้วไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการสัมปทาน อะไรคือ BTO อะไรคือ BOT มีระยะเวลาเท่าไหร่ต้องไปส่งมอบให้ใคร หลังจากหมดสัมปท่าน ไปทำมาหากินอะไรต่อ
นอกจากข่าวประจำวันแล้ว ก็ 56-1 และรายงานประจำปี และเอกสารจาก Opportunity day
แค่นี้ ก็พาเราออกจากวง core competence ของเราได้ง่ายๆ ไปสู่วงการนั้นๆ
ดู "คุณค่า" โดยไม่ต้องไปอ่านตำราวิชาการมากมายเลย ดูครั้งละนิด เรารู้จักมันเอง
อีกอย่า่งการมองคุณค่า
บางคนอาจถนัดมองในแง่ quantitative เชิงปริมาณ
บางคน qualitative เชิงคุณภาพ
ที่ปีเตอร์ ลินช์ บอกว่า เปรียบเทียบพวก wall street หมายถึงพวกที่ซื้อหุ้นโดยไม่ดูตาม้าตาเรือ จะแพ้ชาวบ้าน ที่มองคุณค่าว่ากิจการมีคนอุดหนุน มีลูกค้าเพิ่มเรื่อยๆ ดูง่ายๆ ชัดๆ ว่ามันจะโต
ดร.นิเวศน์ ที่พูดว่าระยะหลัง ไม่ค่อยได้อ่านงบการเงิน อาจหมายถึงดูตัวเลขสรุปกว้างๆ และคุ้นเคยกับกิจการนั้นๆ แล้ว
และอ่าน trend ให้ขาด ซึ่งในงบการเงินและหมายเหตุฯ ทั้งหลาย ก็ไม่ได้มีพูดถึงตรงๆ ง่ายๆ ตรงไปตรงมาแบบนั้น
ซึ่งเป็นข่าวดี สำหรับคนที่เคยเข้าใจผิด ว่าต้องเก่งบัญชี ถึงจะรวยจากการลงทุนได้
แท้จริง ที่พูดถึงข้างบน จึงไม่ได้มายุ ว่าเราโยนทิ้งพวกเอกสารประกาศงบ เอกสาร 56-1 เอกสารทั้งหลายแหล่ไปเถอะ ในการประเมินคุณค่า
ประเด็นสำคัญ คือพยายามทำความรู้จักกับกิจการที่เราจะซื้อให้เยอะที่สุด ตามความสามารถของเรา
ไม่ว่าจะมองคุณค่าด้านเชิงคุณภาพ หรือเชิงปริมาณ
ยิ่งประเมินมาก ยิ่งเข้าใจ ยิ่งเชี่ยวในวิธีการต่างๆ มาก
การลงทุนมีความเสี่ยง แต่รู้ยิ่งมาก ช่วยลดความเสี่ยงให้ต่ำที่สุดได้ ไม่ว่าในเชิงไหนก็ตาม
ไม่ต่างกับการเลือกคู่
คุณค่าจริง อาจแค่ตัวเลขแต่งหลอกๆ แต่ภายในไม่ดี
แต่ว่าบางที หน้าตาดูขี้เหร่ แต่ว่ามีของจริงคุณค่าเลิศล้ำซ่อนอยู่ภายใน
หรืออาจดีทั้งภายนอกภายใน perfect
เป็นไปได้ทั้งนั้น
ดังนั้น ยิ่งมีตัวกรองด้านคุณค่ามากเท่าที่จะหาได้ ก็ยิ่งรู้จักว่าเรากำลังทำอะไรลงไป รู้จักสิ่งที่เรากำลังไปเกี่ยวข้องด้วย ยิ่งความเสี่ยงต่ำลง
ในมุมกลับ คือยิ่งโอกาสทำกำไรสูงขึ้น โอกาสมากกว่า ในสิ่งที่เราลงทุนแบบหลับตาจินตนาการ ฝันกลางวันตื่นตามชาวบ้านไปเอง
สำหรับผม พยายามหาข้อมูลครบทั้งสองแง่ให้มากสุดเท่าที่จะมากก่อน แล้วเอามากรองอีกที
นอกจากร้านซีเอ็ด จุฬา นายอินทร์ ที่หลงเข้าไปทีไร แอบอดไม่ได้ที่จะซื้อทีละพันหลายพันแล้ว
ยังมี "อากู๋" เป็นตัวช่วย มี "จานแข็ง" (hard disk) เก็บรวมกันแล้วหลาย TB รวมถึงไปสมัคร Cloud Drive เป็นที่เก็บข้อมูลพวกนั้น
ก่อนจะพยายาม upload ใส่ soft disk มหัศจรรย์ที่พ่อแม่ให้มาเพื่อประมวลผลข้อมูลเป็นอันดับถัดไป แล้วจะประมวล&ประเมินซ้ำ เมื่อมีข้อมูลอะไรใหม่ๆ มา
soft disk มหัศจรรย์ที่ว่าคือสมอง
- Saran
- Verified User
- โพสต์: 2377
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นักลงทุนหุ้นคุณค่า แต่คุณกำลังมอง คุณค่า ของใคร??
โพสต์ที่ 9
ผมว่าการลงทุนแนวเน้นคุณค่า คือหลักการที่ให้มองต่างมุมกับนายตลาดในช่วงระยะเวลาหนึ่งนะครับ
ความหมายของนายตลาดจากเกรแฮมคือ กลุ่มมวลชนทุกคนที่ซื้อๆขายๆหุ้นกันอยู่ในตลาดนี่แหละ
ที่แน่ๆนายตลาดไม่ได้โง่ ฉลาดมากมาย มีเครื่องมือวิเคราะต่างๆนานา พร้อมที่จะเข้าลงทุนหากำไรได้ตลอดทุกวินาที
แต่สิ่งที่นายตลาดไม่เคยเปลี่ยนไปเลยตั้งแต่สมัยเกรแฮมคือ นายตลาดมักสายตาสั้น และอารมณ์แปรปรวนกับข้อมูลต่างๆเสมอ
ดังนั้นการลงทุนเน้นคุณค่าก็คือ หาคุณค่าในตัวเองก่อน นั่นคือต้องรู้จักตัวเองก่อน ว่ารอบรู้ในเรื่องธุรกิจแค่ไหน
มีวินัยและหลักการในการลงทุนขนานไหน ทนกับการขาดทุนได้ที่ระดับไหน ควรฝึกฝนหรือเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมบ้าง
อีกส่วนคือ หาคุณค่าของนายตลาด มองที่ตัวนายตลาดดูว่าช่วงนี้ ทำตัวเบิกบาน หรือ หดหู่ แล้วเราควรทำตัวยังไงดี ซื้อ ถือ หรือขาย เพราะไม่ว่าเราตัวยังไง นายตลาดก็ไม่มาหาเรื่องเราอยู่ดี
รู้จักตัวเอง เข้าใจอารมณ์ตลาด --> ลงทุนประสบความสำเร็จสูง
รู้จักตัวเอง ไม่เข้าใจอารมณ์ตลาด --> ผลตอบแทนใกล้เคียงตลาด
ไม่รู้จักตัวเอง เข้าใจอารมณ์ตลาด --> ผลตอบแทนใกล้เคียงตลาด
ไม่รู้จักตัวเอง ไม่เข้าใจอารมณ์ตลาด --> แมงเม่าดีๆ
ความหมายของนายตลาดจากเกรแฮมคือ กลุ่มมวลชนทุกคนที่ซื้อๆขายๆหุ้นกันอยู่ในตลาดนี่แหละ
ที่แน่ๆนายตลาดไม่ได้โง่ ฉลาดมากมาย มีเครื่องมือวิเคราะต่างๆนานา พร้อมที่จะเข้าลงทุนหากำไรได้ตลอดทุกวินาที
แต่สิ่งที่นายตลาดไม่เคยเปลี่ยนไปเลยตั้งแต่สมัยเกรแฮมคือ นายตลาดมักสายตาสั้น และอารมณ์แปรปรวนกับข้อมูลต่างๆเสมอ
ดังนั้นการลงทุนเน้นคุณค่าก็คือ หาคุณค่าในตัวเองก่อน นั่นคือต้องรู้จักตัวเองก่อน ว่ารอบรู้ในเรื่องธุรกิจแค่ไหน
มีวินัยและหลักการในการลงทุนขนานไหน ทนกับการขาดทุนได้ที่ระดับไหน ควรฝึกฝนหรือเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมบ้าง
อีกส่วนคือ หาคุณค่าของนายตลาด มองที่ตัวนายตลาดดูว่าช่วงนี้ ทำตัวเบิกบาน หรือ หดหู่ แล้วเราควรทำตัวยังไงดี ซื้อ ถือ หรือขาย เพราะไม่ว่าเราตัวยังไง นายตลาดก็ไม่มาหาเรื่องเราอยู่ดี
รู้จักตัวเอง เข้าใจอารมณ์ตลาด --> ลงทุนประสบความสำเร็จสูง
รู้จักตัวเอง ไม่เข้าใจอารมณ์ตลาด --> ผลตอบแทนใกล้เคียงตลาด
ไม่รู้จักตัวเอง เข้าใจอารมณ์ตลาด --> ผลตอบแทนใกล้เคียงตลาด
ไม่รู้จักตัวเอง ไม่เข้าใจอารมณ์ตลาด --> แมงเม่าดีๆ