"วีระพงษ์" ระบุ ประกันภัยฝรั่งเศสถอนตัว ไม่รับทำประกันภัยต่อ ยอมรับปีหน้าประกันภัยอาจมีปัญหา
นายวีรพงษ์ รางมากูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตของประเทศ (กยอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีบริษัทประกันภัย ที่เป็นรัฐวิสาหกิจของฝรั่งเศส 1 แห่ง ที่ถอนการลงทุนด้านประกันภัยจากไทยและทั่วโลก เพราะเหตุการณ์อุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา ทำให้บริษัทประกันแห่งนี้ต้องจ่ายเบี้ยประกันจำนวนมาก รัฐบาลฝรั่งเศสจึงไม่ให้บริษัทแห่่งนี้ไปรับทำประกันภัยต่อ
ปัจจุบันบริษัทของประเทศญี่ปุ่นที่มีฐานการผลิตในประเทศไทยและในนิคมอุตสาหกรรมนั้น มีการทำประกันไว้ที่ 800,000 ล้านบาท ซึ่งในภาพรวมของความเสียหายอยู่ที่ 30% ของวงเงินประกันภัยทั้งหมด ซึ่งยอดชดเชยของการประกัน อยู่ที่ 240,000 ล้านบาท จึงเชื่อว่าการทำประกันภัยต่อในปีหน้า อาจประสบปัญหาบ้าง เพราะมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขและปรับเพิ่มเบี้ยประกัน แต่ถ้าการทำงานในการป้องกันน้ำท่วมของรัฐบาล เป็นรูปธรรมและมีความชัดเจนมากขึ้น เชื่อว่าปีถัดไป การต่อประกันภัยในต่างประเทศจะไม่มีปัญหาอย่างแน่นอน และสำหรับราคาค่าประกันจะเพิ่มหรือไม่นั้นเป็นเรื่องการเจรจาระหว่างบริษัทและบริษัทประกันเอง
นายวีรพงษ์ กล่าวถึงการเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นเพิ่มความเชื่อมั่นในกับรัฐบาลญี่ปุ่นถึงการแก้ปัญหาอุทกภัย ว่า จากการที่ได้พบคณะรัฐบาลญี่ปุ่น และหน่วยงานต่างๆ ได้รับการยืนยันว่าจะยังคงฐานการผลิตการลงทุนที่ประเทศไทยต่อไปและสนับสนุนการดำเนินการโครงการต่างๆที่จะนำมาซึ่งการแก้ปัญหาและป้องกันน้ำท่วมทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพราะเชื่อว่าประเทศไทยยังคงเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรม การส่งออก ภายนอกประเทศญี่ปุ่นได้แต่ก็ยอมรับว่าเหตุการณ์น้ำท่วมมีผลต่อห่วงโซ่การผลิตของประเทศญี่ปุ่นและอุตสาหกรรมต่างๆทั่วโลก
โดยเฉพาะอุตสาหกรรมประเภทอิเลคทรอนิกส์ และ ฮาร์ดดิส กว่า 60% ของโลกมีฐานการผลิตอยู่ในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา เนื่องจากคุณภาพน้ำในพื้นที่มีคุณสมบัติพิเศษที่มีความสำคัญต่อการผลิตอุตสาหกรรมประเภทนี้ ซึ่งทางญี่ปุ่นยังเป็นห่วงภาพลักษณ์ของจังหวัดที่ได้รับผลกระทบเพราะจะส่งผลต่อการสั่งออร์เดอร์สินค้า จึงต้องการให้รัฐบาลไทยเร่งกอบกู้ความเชื่อมั่นกลับมาในฐานะฐานการผลิตที่สำคัญ
นายวีระพงษ์ยังบอกด้วยว่า สมาพันธ์องค์กรเศรษฐกิจแห่งญี่ปุ่น(Keidanren)ยังแสดงความเป็นห่วงเรื่องความรู้และความพร้อมของงบประมาณที่จะนำมาดำเนินโครงการสำหรับแผนป้องกันน้ำท่วม จึงยืนยันว่าสถาบันการเงินยังแข็งแรงและมีฐานะทางการคลังที่มั่นคง โดยดูจากหนี้สาธารณะต่อจีดีพีของประเทศที่อยู่ที่ 40 % ซึ่งยังไม่น่าเป็นห่วงเพราะอยู่ในกรอบที่รัฐบาลสามารถดูแลได้ พร้อมกับจะเร่งกอบกู้ภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวในกลับมาโดยเร็วโดยเฉพาะใน จ.พระนครศรีอยุธยาและกรุงเทพมหานคร และต้องลบภาพลักษณ์ความเสียหายในพื้นที่ให้ได้ ซึ่งต้องร่วมมือกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยซึ่งอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการประชาสัมพันธ์
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ากไทย.html
'วีระพงษ์'เผยประกันภัยฝรั่งเศสถอนจากไทย
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
'วีระพงษ์'เผยประกันภัยฝรั่งเศสถอนจากไทย
โพสต์ที่ 1
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
-
- Verified User
- โพสต์: 130
- ผู้ติดตาม: 0
Re: 'วีระพงษ์'เผยประกันภัยฝรั่งเศสถอนจากไทย
โพสต์ที่ 2
คุณภาพน้ำ มีผลอย่างไรในธุรกิจนี้ ใครพออธิบายได้บ้างคะบูรพาไม่แพ้ เขียน:
โดยเฉพาะอุตสาหกรรมประเภทอิเลคทรอนิกส์ และ ฮาร์ดดิส กว่า 60% ของโลกมีฐานการผลิตอยู่ในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา เนื่องจากคุณภาพน้ำในพื้นที่มีคุณสมบัติพิเศษที่มีความสำคัญต่อการผลิตอุตสาหกรรมประเภทนี้ ซึ่งทางญี่ปุ่นยังเป็นห่วงภาพลักษณ์ของจังหวัดที่ได้รับผลกระทบเพราะจะส่งผลต่อการสั่งออร์เดอร์สินค้า จึงต้องการให้รัฐบาลไทยเร่งกอบกู้ความเชื่อมั่นกลับมาในฐานะฐานการผลิตที่สำคัญ
เท่าที่รับทราบข้อมูลจากเพื่อนในวงอุตสาหกรรม เห็นว่านิยม "นิคมทางอยุธยา"
มากกว่าทางภาคตะวันออก หรือภาคอื่น เป็นเพราะ connection ในการเลือกนิคม
ระหว่างคนญี่ป่น กับญี่ปุ่นด้วยกัน ประกอบกับความชอบวัฒนธรรมและโบราณวัตถุของทางจ.อยุธยา
- kabu
- Verified User
- โพสต์: 2149
- ผู้ติดตาม: 0
Re: 'วีระพงษ์'เผยประกันภัยฝรั่งเศสถอนจากไทย
โพสต์ที่ 3
อันนี้ผมว่าสำหรับนักลงทุนญี่ปุ่นล้วไม่น่าจะเกี่ยวซักเท่าไหร่น่ะครับmodpattaya เขียน:คุณภาพน้ำ มีผลอย่างไรในธุรกิจนี้ ใครพออธิบายได้บ้างคะบูรพาไม่แพ้ เขียน:
โดยเฉพาะอุตสาหกรรมประเภทอิเลคทรอนิกส์ และ ฮาร์ดดิส กว่า 60% ของโลกมีฐานการผลิตอยู่ในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา เนื่องจากคุณภาพน้ำในพื้นที่มีคุณสมบัติพิเศษที่มีความสำคัญต่อการผลิตอุตสาหกรรมประเภทนี้ ซึ่งทางญี่ปุ่นยังเป็นห่วงภาพลักษณ์ของจังหวัดที่ได้รับผลกระทบเพราะจะส่งผลต่อการสั่งออร์เดอร์สินค้า จึงต้องการให้รัฐบาลไทยเร่งกอบกู้ความเชื่อมั่นกลับมาในฐานะฐานการผลิตที่สำคัญ
เท่าที่รับทราบข้อมูลจากเพื่อนในวงอุตสาหกรรม เห็นว่านิยม "นิคมทางอยุธยา"
มากกว่าทางภาคตะวันออก หรือภาคอื่น เป็นเพราะ connection ในการเลือกนิคม
ระหว่างคนญี่ป่น กับญี่ปุ่นด้วยกัน ประกอบกับความชอบวัฒนธรรมและโบราณวัตถุของทางจ.อยุธยา
เพราะว่าบริษัทที่ญี่ปุ่นจะเลือกลงทุนในไทยนั้น นโยบายมักมาจากบริษัทแม่เป็นหลัก และเวลาบริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่นเลือกลงทุนในประเทศไทยนั้น หลักๆก็มี
- ตำแหน่งของคู่ค้า ซึ่งส่วนใหญ่จะดูเป็นทั้ง supply chain ในแถบอยุธยานั้นมีบริษัทที่เป็นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิคตั้งอยู่มากเป็นอันดับหนึ่ง ฉะนั้นเวลาบริษัทแม่เลือกที่จะไปตั้งโรงงาน เค้าก็จะเลือกตำแหน่งที่ใกล้ๆกับ supply chain ของเค้าไว้ก่อน เพื่อลดค่าใช้จ่ายทางด้านขนส่ง
- ผลประโยชน์ทางด้านภาษี ซึ่งที่อยุธยาเป็น zone II
- ความสัมพันธ์กับผู้ถือหุ้นของนิคมต่างๆ ซึ่งเชื่อมกับบริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่น ยกตัวอย่างเช่น นิคมโรจนะที่อยู่ที่อยุธยาผู้ถือหุ้นหลักคือ Sumikin bussan ซึ่งใหญ่มากๆในญี่ปุ่น เวลาจะมีบริษัทมาลงทุนในไทยก็ติดต่อผ่านบริษัทนี้มาก็มีหลายที่ครับ
ความชอบวัฒนธรรมและโบราณวัตถุของทางจ.อยุธยา คงมีผลทางจิตใจบ้างแต่ท้ายที่สุดเชื่อว่าคงไม่ได้มีส่วนเกี่ยวกับการเลือกตำแหน่งในการลงทุนซักเท่าไหร่ครับ
ส่วนเรื่องคุณภาพน้ำนี่ไม่ทราบครับ???
![Neutral :|](./images/smilies/icon_neutral.gif)
"หนทางเดียวที่จะก้าวพ้นขอบเขตของความเป็นไปได้ คือก้าวเข้าสู่ความเป็นไปไม่ได้", Arthur C. Clarke
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/