รู้จัก เบนจามิน เกรแฮม ในไม่กี่บรรทัด
-
- Verified User
- โพสต์: 87
- ผู้ติดตาม: 0
รู้จัก เบนจามิน เกรแฮม ในไม่กี่บรรทัด
โพสต์ที่ 1
(1894-1976)
เบนจามิน เกรแฮม
“บิดาแห่งการลงทุนแบบเน้นคุณค่า”
เบนจามิน เกรแฮม คือปรมาจารย์การลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20 เขาได้รับยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งการลงทุนแบบเน้นคุณค่า” เกรแฮมเป็นผู้นำเสนอทฤษฏีใหม่ๆ ต่อแวดวงการลงทุนโลก ในยุคที่ทุกคนต่างมองหุ้นเป็นการเก็งกำไร นอกจากนี้ ตัวเขายังเป็นที่ปรึกษาและอาจารย์ของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จที่สุดในยุคปัจจุบัน
เกรแฮมจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียด้วยผลการเรียนที่เยี่ยมยอด ก่อนจะไปทำงานในวอลสตรีทร่วมสิบปี และเติบโตในสายงานอย่างรวดเร็ว จากนั้นจึงออกมาตั้งบริษัทจัดการกองทุนของตัวเอง และได้ร่วมหุ้นกับ พอล นิวแมน ในเวลาต่อมา ทั้งนี้ เกรแฮมได้ลงทุนด้วยทฤษฏีการลงทุนที่ตัวเองคิดค้นขึ้น และประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม โดยทำผลตอบแทนเฉลี่ยได้ร่วม 20 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ซึ่งสูงกว่าตลาดเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ ด้วยจิตวิญญาณของนักวิชาการ เกรแฮมยังกลับไปสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียควบคู่ไปด้วย และได้เขียนหนังสือสองเล่ม ซึ่งโด่งดังและได้รับการยอมรับสูงมากในแวดวงการลงทุนสหรัฐฯ นั่นก็คือ “Security Analysis” หรือ “การวิเคราะห์หลักทรัพย์” และ “The Intelligent Investor” หรือ “นักลงทุนผู้ชาญฉลาด”
โดยเฉพาะหนังสือเล่มหลัง ที่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้อ่านตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่นและประทับใจมาก จนตัดสินใจสอบเข้ามหาวิทยาลัยโคลัมเบียเพื่อที่จะได้เรียนกับเกรแฮม บัฟเฟตต์เคยกล่าวไว้ว่า The Intelligent Investor จากปลายปากกาของเกรแฮม คือหนังสือการลงทุนที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา
หลักที่เป็นหัวใจของทุกทฤษฏีการลงทุนของเกรแฮมก็คือ การ “ใช้เหตุผล” ในการลงทุน โดยให้คว้าโอกาสจากความผิดพลาดของตลาด อย่าไปบ้าคลั่งตามมัน
เกรแฮมเปรียบเทียบตลาดหุ้นซึ่งมีแต่ความผันผวนและไร้เหตุผลเป็นเสมือนมนุษย์คนหนึ่ง สมมุติชื่อว่า “Mr.Market” หรือ “คุณตลาด” ชายผู้มีพฤติกรรมแปรปรวน บางวันก็ตื่นกลัวจนไร้สติ บางวันก็อารมณ์ดีเกินเหตุ โดยนักลงทุนต้องรู้จักหาประโยชน์จากความไม่มีเหตุผลของเพื่อนที่แสนดีผู้นี้
นอกจากนี้ เกรแฮมยังชี้ชัดอีกว่า ในการเข้าซื้อหุ้นเพื่อลงทุนนั้น ควรมี “Margin of Safety” หรือ “ส่วนต่างแห่งความปลอดภัย” ราคาหุ้นที่เข้าไปซื้อ ต้องต่ำกว่า “Intrinsic Value” หรือ “มูลค่าโดยเนื้อแท้” ของบริษัท เพื่อเป็นเกราะป้องกันความเสียหายจากการลงทุนหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด
ที่สำคัญคือ นักลงทุนต้องมอง “หุ้น” เป็นส่วนหนึ่งของ “ธุรกิจ” ต้องมองภาพให้ออกว่าการ “เข้าซื้อหุ้น” คือการ “เข้าซื้อธุรกิจ” อย่ามองหุ้นแบบ “นักเก็งกำไร” คือเข้าไปซื้อหุ้นเพียงเพราะหวังว่าราคาของมันจะสูงขึ้นไป โดยไม่สนใจพื้นฐานใดๆ ไม่สนใจว่าบริษัททำธุรกิจอะไร อย่างไร
แม้หลักการลงทุนของเกรแฮม จะเป็นการเสนอการลงทุนในมิติใหม่ให้กับแวดวงการลงทุนโลก แต่ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นหลักที่ “เข้มงวด” และมีความเป็น “อนุรักษ์นิยม” จนเกินไป ทั้งยังเน้นหนักแต่ตัวเลขและงบการเงิน ซึ่งหากยึดหลักของเกรแฮมอย่างเคร่งครัด นักลงทุนอาจสูญเสียโอกาสในการลงทุนงามๆ มากมาย
ในช่วงที่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ เรียนจบใหม่ๆ เขาได้มาทำงานให้เกรแฮมอยู่ 2 ปี โดยลงทุนด้วยวิธีของเกรแฮมอย่างเคร่งครัด หลายปีต่อมา บัฟเฟตต์ได้พัฒนาตัวเองขึ้นไป และเอาหลักการลงทุนของเกรแฮมไปปรับใช้ โดยเน้นไปที่ “คุณภาพ” ของกิจการมากขึ้น มิใช่ดูแค่เพียง “ตัวเลข” ซึ่งทำให้เขาประสบความสำเร็จอย่างสูงและกลายเป็นนักลงทุนผู้มั่งคั่งที่สุดในโลกจนถึงทุกวันนี้
อย่างไรก็ตาม บัฟเฟตต์ก็ยังยกคุณความดีให้กับเกรแฮม โดยบอกว่า หลักการลงทุนที่เขาเอามาใช้จนร่ำรวยมหาศาลนั้น มาจากเกรแฮม 85%และ ฟิลลิป ฟิชเชอร์ 15% ซึ่งเป็นเครื่องรับประกันถึงความยิ่งใหญ่ของ เบนจามิน เกรแฮม “บิดาแห่งการลงทุนแบบเน้นคุณค่า” ผู้นี้ได้เป็นอย่างดี
http://www.ClubVI.com
พุทธทาสภิกขุ : ถ้าคุณอยากรู้เรื่องอะไร คุณจงตั้งต้นศึกษาเหมือนอย่างว่า เราจะไปเป็นครูเขาในเรื่องนั้น เรียนให้มากในเรื่องนั้น แล้วคุณจะรู้เรื่องนั้น ดีจนพอ..ดีจนเกินพอ
พุทธทาสภิกขุ : ถ้าคุณอยากรู้เรื่องอะไร คุณจงตั้งต้นศึกษาเหมือนอย่างว่า เราจะไปเป็นครูเขาในเรื่องนั้น เรียนให้มากในเรื่องนั้น แล้วคุณจะรู้เรื่องนั้น ดีจนพอ..ดีจนเกินพอ
-
- Verified User
- โพสต์: 87
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รู้จัก เบนจามิน เกรแฮม ในไม่กี่บรรทัด
โพสต์ที่ 5
Intelligent Investor อ่านยากจริงครับ เหมือนอ่าน textbook อ่ะ
อย่างเราๆ อ่านแล้วเหนื่อยแทบแย่ แต่บัฟเฟตต์ในวัยเยาว์กลับบอกว่าหนังสือเล่มนี้สนุกมาก ผมว่านั่นแสดงให้เห็นถึงความ "ไม่ธรรมดา" ในตัวบัฟเฟตต์นะ
อย่างเราๆ อ่านแล้วเหนื่อยแทบแย่ แต่บัฟเฟตต์ในวัยเยาว์กลับบอกว่าหนังสือเล่มนี้สนุกมาก ผมว่านั่นแสดงให้เห็นถึงความ "ไม่ธรรมดา" ในตัวบัฟเฟตต์นะ
http://www.ClubVI.com
พุทธทาสภิกขุ : ถ้าคุณอยากรู้เรื่องอะไร คุณจงตั้งต้นศึกษาเหมือนอย่างว่า เราจะไปเป็นครูเขาในเรื่องนั้น เรียนให้มากในเรื่องนั้น แล้วคุณจะรู้เรื่องนั้น ดีจนพอ..ดีจนเกินพอ
พุทธทาสภิกขุ : ถ้าคุณอยากรู้เรื่องอะไร คุณจงตั้งต้นศึกษาเหมือนอย่างว่า เราจะไปเป็นครูเขาในเรื่องนั้น เรียนให้มากในเรื่องนั้น แล้วคุณจะรู้เรื่องนั้น ดีจนพอ..ดีจนเกินพอ
-
- Verified User
- โพสต์: 925
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รู้จัก เบนจามิน เกรแฮม ในไม่กี่บรรทัด
โพสต์ที่ 7
artvirus เขียน:Intelligent Investor อ่านยากจริงครับ เหมือนอ่าน textbook อ่ะ
อย่างเราๆ อ่านแล้วเหนื่อยแทบแย่ แต่บัฟเฟตต์ในวัยเยาว์กลับบอกว่าหนังสือเล่มนี้สนุกมาก ผมว่านั่นแสดงให้เห็นถึงความ "ไม่ธรรมดา" ในตัวบัฟเฟตต์นะ
ลองอ่าน securities analysis สิครับสุดยอด
- theerasak24
- Verified User
- โพสต์: 614
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รู้จัก เบนจามิน เกรแฮม ในไม่กี่บรรทัด
โพสต์ที่ 8
yoko เขียน:the intelligence investor สุดยอดครับ
ผมอ่านมากกว่าสามรอบแล้วครับ
สุดยอดครับเพราะแค่ถือก็มีกำลังข้อมือแล้ว
"เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะยังคงทำสิ่งต่างๆ ต่อไปตราบใดที่มันยังให้ความรื่นรมย์และคุณก็ทำมันได้ดี"
-
- Verified User
- โพสต์: 87
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รู้จัก เบนจามิน เกรแฮม ในไม่กี่บรรทัด
โพสต์ที่ 10
ถ้าพูดตามตรงก็ต้องยอมรับว่าอ่านยากพอสมควรเลยครับ ถ้าหลับง่าย ผมแนะนำให้ลองอ่านบทที่ 8 กับบทที่ 20 ซึ่งเป็นบทที่บัฟเฟตต์บอกว่าสำคัญมากๆ ก่อน จากนั้นค่อยๆ ละเลียดไปเรื่อยๆ ตามแต่อารมณ์ ก็พอได้อยู่ครับbuffman55 เขียน:อ่านยากไหมครับสำหรับคนไม่มีพื้นถาน
เคยซื้อ หนังสือเล่มบางที่สอนบันชีที่ชื่อinterpreอะไรเนี่ย
หละครับ 5 หน้าก้อหลับละ
http://www.ClubVI.com
พุทธทาสภิกขุ : ถ้าคุณอยากรู้เรื่องอะไร คุณจงตั้งต้นศึกษาเหมือนอย่างว่า เราจะไปเป็นครูเขาในเรื่องนั้น เรียนให้มากในเรื่องนั้น แล้วคุณจะรู้เรื่องนั้น ดีจนพอ..ดีจนเกินพอ
พุทธทาสภิกขุ : ถ้าคุณอยากรู้เรื่องอะไร คุณจงตั้งต้นศึกษาเหมือนอย่างว่า เราจะไปเป็นครูเขาในเรื่องนั้น เรียนให้มากในเรื่องนั้น แล้วคุณจะรู้เรื่องนั้น ดีจนพอ..ดีจนเกินพอ
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รู้จัก เบนจามิน เกรแฮม ในไม่กี่บรรทัด
โพสต์ที่ 11
ผมจำคำของเพื่อนร่วมรุ่นสมัยเด็กได้ มันบอกว่าเพื่อนที่เก่ง มันไม่กลัว แต่มันกลัวคนขยัน
เหมือนนักมวย หมัดไม่หนัก แต่ขยันซ้อม ขยันชก ขยันเข้าทำ เดี๋ยวก็ล้มคู่ต่อสู้ได้เอง
สมัยผมจบม.ต้นใหม่ๆ ผมสงสัยว่าการจัดการคืออะไร เขาทำอะไรกันถึงเรียกว่าผู้จัดการ ผมเข้าสมุดอ่านหนังสือการจัดการที่มีไม่กี่เล่มให้ห้องสมุด (เพราะมันเป็นห้องสมุดของโรงเรียนมัธยมและวิทยาลัยเทคนิค) ทั้งที่ยังไม่เข้าใจในสิ่งที่ไม่มีตัวตน แต่ก็อ่านเรื่อยๆ แบบงงๆ ทั้งที่เรียนทางช่างทางสายเทคโนโลยี ไม่ได้คิดเป็นผู้จัดการอะไรกับเขา แต่งงและสงสัยกับมัน
สุดท้าย ทฤษฎีบางอย่างผมอ่านจนเขียนเป็นบทความให้เพื่อนๆ และน้องๆ อ่านได้เลย ผมเพิ่งได้มาใช้ตอนจบ นับ 10 ปีกว่าปีจากวันนั้น แล้วได้มาคุมฝ่ายที่ใหญ่ที่สุดของบริษัทกำลังคนหลายร้อย ผมถึงขั้นเขียนเอกสารเสนองานรัฐบาลประเทศอื่น ไม่ใช่เพราะผมเก่ง แต่เพราะผม "ตื๊อและถึก" อะไรไม่รู้ ผมก็จะอัดมันเข้าไป อ่านมันซ้ำๆ เรียนมันซ้ำๆ ใช้งานซ้ำๆ ต่างหาก
ผมเองเด็กบ้านนอก ไม่มีที่ให้ฝึกภาษาอังกฤษ ตอนแรกที่สอบติด มีโอกาสมาเรียนในกทม. มีโอกาสเข้าห้องสมุดที่มีภาษาอังกฤษมากกว่าภาษาไทย คิดว่าทำไงถึงจะใช้ภาษาอังกฤษได้ เลยเข้าห้องสมุดทุกครั้งที่ว่าง เริ่มอ่านวิชาเราชอบที่สุดก่อน เริ่มด้วยการดูที่มีรูปเยอะๆ เดาความหมายมัน ไม่รู้ก็ดูเยอะๆ แล้วกระแดะซื้อพจนานุกรมอังกฤษเป็นอังกฤษ webster ทั้งที่พูดก็ไม่เป็นซักคำ และซื้อพจนานุกรมอิเลคทรอนิคส์อังกฤษเป็นอังกฤษก่อนใครเพื่อน ตอนนั้นพจนานุกรมอิเลคทรอนิคส์ talking dict อังกฤษเป็นไทย ก็มีขายเป็นรุ่นแรกด้วยซ้ำ
นั่นคือ พยายามเกินหน้าความสามารถแท้จริงตัวเองหลาย step ทำบ่อยๆ ได้วันละนิด แรกๆ ก็มีนั่งหลับบ้าง แต่ตื๊อมัน คิดซะว่าดีกว่านั่งงอมืองอเท้า รอให้ความรู้มันระเหยเข้าหัวเอง ถามและค้นเรื่องที่อยากรู้ซ้ำๆ จนกว่าจะรู้
เรื่องการลงทุน ผมซื้อ buffetology ต้นฉบับ ที่ตอนนั้นยังไมมีแปลไทย ซื้อจากร้าน asia books ตั้งแต่ภาษาอังกฤษยังไม่กระดิกเหมือนกัน และตั้งแต่ยังงงอยู่กับ compound/discount rate ตั้งแต่งง Balance sheet หรือ Income statement นั่นคือไม่มีพื้นฐานบัญชีการเงินอะไรกับเขาเลย รู้แค่ว่ากำไรเป็นบวกขาดทุนเป็นลบ บวกลบเลขเป็นเท่านั้น
แต่ว่า...จนตอนนี้ buffetology กระดาษเป็นสีน้ำตาลแล้ว ไม่ใช่หนังสือสะอาด แต่ยับเยิน เพราะอ่านมันเข้าไป เขียนขีด วง ลากเชื่อมโยง คำนวณมันให้ลายพร้อยเต็มเล่ม หนังสือไม่ได้ซื้อมาไว้กราบไหว้บูชาหรือหนุนนอน...
ผมยังคิดว่าอาจมีหลายจุด ที่ผมยังไม่รู้อยู่เยอะ ผมคงยังไม่เก่งเท่าบัฟฟเฟตต์ แต่อย่างน้อย ผมก็คิดว่าผมอ่านมานานขนาดนี้ ยังไงก็รู้มากกว่าคนที่ไม่เคยคิดจะซื้อมาเลย หรือซื้อมาแล้วทิ้งไว้ให้หนังสือสะอาดบนหิ้งหนังสือแน่ๆ
จนยุคนี้ ผม download ทุกอย่างที่ขวางหน้าเต็ม Hard disk เป็นลูกๆ ของฟรีความรู้บนอินเตอร์เน็ตมีมากมาย
ผมฝันไปไกลกว่านั้น ยังไม่บอกใครเพราะยังไม่ถึงขั้นเรียกว่าสำเร็จ แต่ผมจะใช้วิธีเดิม เรื่องไหนที่ผมอยากรู้หรืออยากทำสำเร็จผมก็จะลองมันซ้ำๆ ในเมื่อประสบการณ์สอนผมแล้ว ว่ายังไงก็ยังไม่เคยใช้เวลาเกินสิบปีซักเรื่อง
ที่พูด ไม่ได้ยกตน เพราะจะเห็นว่าผมไม่ได้พูดว่าตัวเองเก่งเลย แต่พูดว่าอะไรทำไม่ได้ ก็ทำมันซ้ำๆ จนกว่าจะได้
concept เดียวกันนี้ แม้แต่เรื่องจีบสาว รุ่นน้องผมคนหนึ่ง (ส่วนเรื่องของผม ม่ายบอก... ) มันรักเพื่อนที่เรียนด้วยกันมานานเป็นสิบปี ทั้งที่เพื่อนมันปฏิเสธ และคบกับเพื่อนคนอื่นอยู่ร่ำไป แต่ด้วยความเสมอต้นเสมอปลาย สุดท้าย แม้ใช้เวลานาน ก็แพ้ความจริงจังของมันจนได้ แต่งงานกันจนมั่นคงและวางแผนจะมีลูกแล้วเร็วๆ นี้
จึงเป็นกำลังใจให้ทุกท่าน คุณโชคดีแล้วที่มีโอกาสมากกว่าคนอีกนับล้านที่ได้เรียน เพื่อต่อยอด คุณโชคดีแล้วที่มีสองมือถือหนังสือ มีตาสองตา ส่งตัวหนังสือเข้าไปหาสมองที่พ่อแม่ให้มา (คนตาบอดเขายังพยายามไขว่คว้าเรียนอักษรเบรลล์ แต่จะลำบากกว่าเราไม่รู้กี่ร้อยเท่า และเนื้อหาหนังสือมีไม่มากเท่าให้คนตาดีอย่างเราอ่าน) คุณโชคดีแล้ว ที่มาพบกันที่ ThaiVI แห่งนี้...มีตัวอย่างรุ่นพี่เยอะแยะ ที่เขาไม่ได้สำเร็จเพราะโชคช่วย หรือไม่ใช่เพราะไอคิวผิดมนุษย์มนา
ผมสรุปสั้นๆ ว่า มันไม่ใช่เราไม่เก่งหรือคนอื่นเก่งกว่าเรา เพียงแต่ไอ้ความรู้พวกนั้นมันรอเราจับมันเข้ามาในสมองเราและมาประมวลผลให้เป็นภาคปฏิบัติแค่นั้น เหลือแค่ความพยายามไขว่คว้าสิ่งที่เราต้องรู้เพิ่มเท่านั้น ตื๊อมันเข้าไป...ตื๊อเท่านั้น ที่ครองโลก
เหมือนนักมวย หมัดไม่หนัก แต่ขยันซ้อม ขยันชก ขยันเข้าทำ เดี๋ยวก็ล้มคู่ต่อสู้ได้เอง
สมัยผมจบม.ต้นใหม่ๆ ผมสงสัยว่าการจัดการคืออะไร เขาทำอะไรกันถึงเรียกว่าผู้จัดการ ผมเข้าสมุดอ่านหนังสือการจัดการที่มีไม่กี่เล่มให้ห้องสมุด (เพราะมันเป็นห้องสมุดของโรงเรียนมัธยมและวิทยาลัยเทคนิค) ทั้งที่ยังไม่เข้าใจในสิ่งที่ไม่มีตัวตน แต่ก็อ่านเรื่อยๆ แบบงงๆ ทั้งที่เรียนทางช่างทางสายเทคโนโลยี ไม่ได้คิดเป็นผู้จัดการอะไรกับเขา แต่งงและสงสัยกับมัน
สุดท้าย ทฤษฎีบางอย่างผมอ่านจนเขียนเป็นบทความให้เพื่อนๆ และน้องๆ อ่านได้เลย ผมเพิ่งได้มาใช้ตอนจบ นับ 10 ปีกว่าปีจากวันนั้น แล้วได้มาคุมฝ่ายที่ใหญ่ที่สุดของบริษัทกำลังคนหลายร้อย ผมถึงขั้นเขียนเอกสารเสนองานรัฐบาลประเทศอื่น ไม่ใช่เพราะผมเก่ง แต่เพราะผม "ตื๊อและถึก" อะไรไม่รู้ ผมก็จะอัดมันเข้าไป อ่านมันซ้ำๆ เรียนมันซ้ำๆ ใช้งานซ้ำๆ ต่างหาก
ผมเองเด็กบ้านนอก ไม่มีที่ให้ฝึกภาษาอังกฤษ ตอนแรกที่สอบติด มีโอกาสมาเรียนในกทม. มีโอกาสเข้าห้องสมุดที่มีภาษาอังกฤษมากกว่าภาษาไทย คิดว่าทำไงถึงจะใช้ภาษาอังกฤษได้ เลยเข้าห้องสมุดทุกครั้งที่ว่าง เริ่มอ่านวิชาเราชอบที่สุดก่อน เริ่มด้วยการดูที่มีรูปเยอะๆ เดาความหมายมัน ไม่รู้ก็ดูเยอะๆ แล้วกระแดะซื้อพจนานุกรมอังกฤษเป็นอังกฤษ webster ทั้งที่พูดก็ไม่เป็นซักคำ และซื้อพจนานุกรมอิเลคทรอนิคส์อังกฤษเป็นอังกฤษก่อนใครเพื่อน ตอนนั้นพจนานุกรมอิเลคทรอนิคส์ talking dict อังกฤษเป็นไทย ก็มีขายเป็นรุ่นแรกด้วยซ้ำ
นั่นคือ พยายามเกินหน้าความสามารถแท้จริงตัวเองหลาย step ทำบ่อยๆ ได้วันละนิด แรกๆ ก็มีนั่งหลับบ้าง แต่ตื๊อมัน คิดซะว่าดีกว่านั่งงอมืองอเท้า รอให้ความรู้มันระเหยเข้าหัวเอง ถามและค้นเรื่องที่อยากรู้ซ้ำๆ จนกว่าจะรู้
เรื่องการลงทุน ผมซื้อ buffetology ต้นฉบับ ที่ตอนนั้นยังไมมีแปลไทย ซื้อจากร้าน asia books ตั้งแต่ภาษาอังกฤษยังไม่กระดิกเหมือนกัน และตั้งแต่ยังงงอยู่กับ compound/discount rate ตั้งแต่งง Balance sheet หรือ Income statement นั่นคือไม่มีพื้นฐานบัญชีการเงินอะไรกับเขาเลย รู้แค่ว่ากำไรเป็นบวกขาดทุนเป็นลบ บวกลบเลขเป็นเท่านั้น
แต่ว่า...จนตอนนี้ buffetology กระดาษเป็นสีน้ำตาลแล้ว ไม่ใช่หนังสือสะอาด แต่ยับเยิน เพราะอ่านมันเข้าไป เขียนขีด วง ลากเชื่อมโยง คำนวณมันให้ลายพร้อยเต็มเล่ม หนังสือไม่ได้ซื้อมาไว้กราบไหว้บูชาหรือหนุนนอน...
ผมยังคิดว่าอาจมีหลายจุด ที่ผมยังไม่รู้อยู่เยอะ ผมคงยังไม่เก่งเท่าบัฟฟเฟตต์ แต่อย่างน้อย ผมก็คิดว่าผมอ่านมานานขนาดนี้ ยังไงก็รู้มากกว่าคนที่ไม่เคยคิดจะซื้อมาเลย หรือซื้อมาแล้วทิ้งไว้ให้หนังสือสะอาดบนหิ้งหนังสือแน่ๆ
จนยุคนี้ ผม download ทุกอย่างที่ขวางหน้าเต็ม Hard disk เป็นลูกๆ ของฟรีความรู้บนอินเตอร์เน็ตมีมากมาย
ผมฝันไปไกลกว่านั้น ยังไม่บอกใครเพราะยังไม่ถึงขั้นเรียกว่าสำเร็จ แต่ผมจะใช้วิธีเดิม เรื่องไหนที่ผมอยากรู้หรืออยากทำสำเร็จผมก็จะลองมันซ้ำๆ ในเมื่อประสบการณ์สอนผมแล้ว ว่ายังไงก็ยังไม่เคยใช้เวลาเกินสิบปีซักเรื่อง
ที่พูด ไม่ได้ยกตน เพราะจะเห็นว่าผมไม่ได้พูดว่าตัวเองเก่งเลย แต่พูดว่าอะไรทำไม่ได้ ก็ทำมันซ้ำๆ จนกว่าจะได้
concept เดียวกันนี้ แม้แต่เรื่องจีบสาว รุ่นน้องผมคนหนึ่ง (ส่วนเรื่องของผม ม่ายบอก... ) มันรักเพื่อนที่เรียนด้วยกันมานานเป็นสิบปี ทั้งที่เพื่อนมันปฏิเสธ และคบกับเพื่อนคนอื่นอยู่ร่ำไป แต่ด้วยความเสมอต้นเสมอปลาย สุดท้าย แม้ใช้เวลานาน ก็แพ้ความจริงจังของมันจนได้ แต่งงานกันจนมั่นคงและวางแผนจะมีลูกแล้วเร็วๆ นี้
จึงเป็นกำลังใจให้ทุกท่าน คุณโชคดีแล้วที่มีโอกาสมากกว่าคนอีกนับล้านที่ได้เรียน เพื่อต่อยอด คุณโชคดีแล้วที่มีสองมือถือหนังสือ มีตาสองตา ส่งตัวหนังสือเข้าไปหาสมองที่พ่อแม่ให้มา (คนตาบอดเขายังพยายามไขว่คว้าเรียนอักษรเบรลล์ แต่จะลำบากกว่าเราไม่รู้กี่ร้อยเท่า และเนื้อหาหนังสือมีไม่มากเท่าให้คนตาดีอย่างเราอ่าน) คุณโชคดีแล้ว ที่มาพบกันที่ ThaiVI แห่งนี้...มีตัวอย่างรุ่นพี่เยอะแยะ ที่เขาไม่ได้สำเร็จเพราะโชคช่วย หรือไม่ใช่เพราะไอคิวผิดมนุษย์มนา
ผมสรุปสั้นๆ ว่า มันไม่ใช่เราไม่เก่งหรือคนอื่นเก่งกว่าเรา เพียงแต่ไอ้ความรู้พวกนั้นมันรอเราจับมันเข้ามาในสมองเราและมาประมวลผลให้เป็นภาคปฏิบัติแค่นั้น เหลือแค่ความพยายามไขว่คว้าสิ่งที่เราต้องรู้เพิ่มเท่านั้น ตื๊อมันเข้าไป...ตื๊อเท่านั้น ที่ครองโลก