'โสรัตน์ วณิชวรากิจ' หุ้นดีควรซื้อช่วง 'วิกฤติ'
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
'โสรัตน์ วณิชวรากิจ' หุ้นดีควรซื้อช่วง 'วิกฤติ'
โพสต์ที่ 1
เซียนหุ้น..ฟอร์มเยอะ จัดหนัก 'เคน' โสรัตน์ วณิชวรากิจ เดินหน้าค้นหาหุ้นพื้นฐานดี แปรวิกฤติให้เป็นโอกาส อย่ารีบร้อน อย่าเร่งมือ เมื่อซื้อแล้วอย่ากังวลต้นทุน ของดีจริง 1-2 ปี มันจะกลับมา!!!
ช่วงวิกฤติหนี้ยุโรปเรื่อยมาจนถึงปัญหาน้ำท่วมใหญ่ในประเทศไทย "เคน" โสรัตน์ วณิชวรากิจ เซียนหุ้นที่เพื่อนๆ ตั้งฉายาให้ว่า "ฟอร์มเยอะ จัดหนัก" ยังคงเดินหน้าค้นหาหุ้นที่เข้าข่าย “กฎเหล็กซื้อขาย 10 ประการ” เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายส่วนตัวที่ต้องการซื้อหุ้นใหม่ๆ เพิ่มขึ้นปีละ 1 ตัว
เคนเป็นนักธุรกิจเจ้าของบริษัท แพนเอเชีย อุตสาหกรรม จำกัด ผู้ผลิตแผ่นพลาสติกอะคริลิกรายใหญ่มียอดขายปีละกว่า 600 ล้านบาท โรงงานตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง นอกจากนี้เขายังมีบริษัทในเครืออีก 5 แห่ง กิจการทั้งหมดมียอดขายรวมกันปีละประมาณ 1,000 ล้านบาท
นอกจากบทบาทนักธุรกิจและผู้บริหารแล้ว เขายังเป็น "เซียนหุ้น" ที่เคยล้มเหลวมาก่อน ก่อนที่ปัจจุบันจะเป็นเจ้าของพอร์ตลงทุนใหญ่ระดับ "พันล้านบาท"
กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ตรวจสอบล่าสุดพบว่า โสรัตน์ถือหุ้นใหญ่ (เกิน 0.5%) อยู่จำนวน 8 บริษัท เงินลงทุนรวมกัน ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2554 มูลค่า 1,012 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2554 ที่เคยมีพอร์ตลงทุนจำนวน 1,303 ล้านบาท
พอร์ตลงทุนของโสรัตน์ถือหุ้น RS ของ "เฮียฮ้อ" สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ มากที่สุดจำนวน 132.54 ล้านหุ้น สัดส่วน 15.01% มูลค่าประมาณ 345 ล้านบาท อันดับสองถือหุ้น SAMART ของ วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ จำนวน 30 ล้านหุ้น สัดส่วน 3.04% มูลค่าประมาณ 215 ล้านบาท อันดับสามถือหุ้น SAMTEL ในเครือสามารถ จำนวน 16.68 ล้านหุ้น สัดส่วน 2.75% มูลค่าประมาณ 164 ล้านบาท สำหรับหุ้นที่ถือลงทุนและมีมูลค่าต่ำกว่า 100 ล้านบาท ได้แก่ หุ้น HTECH, CRANE, SALEE, SVI และ PREB
เป็นที่น่าสังเกตุว่าในปี 2554 โสรัตน์ ได้มีการปรับพอร์ตลงทุนในหุ้นหลายบริษัทมีทั้งเพิ่มขึ้นและลดการลงทุนลง แต่ยังคงถือหุ้นใหญ่จำนวน 8 บริษัทเท่าเดิม โดยมีการขายหุ้นโพลีเพล็กซ์ (ประเทศไทย) หรือ PTL ออกจากเดิมเคยถืออันดับ 3 ของพอร์ต จำนวน 9.76 ล้านหุ้น มูลค่า ณ เดือนมิถุนายน 2554 เท่ากับ 196 ล้านบาท แต่ล่าสุดไม่พบว่าถือหุ้น PTL อยู่แล้ว แต่ไปเพิ่มหุ้นชูไก (CRANE) เข้ามาในพอร์ต ถือจำนวน 23.61 ล้านหุ้น สัดส่วน 5.24% มูลค่าประมาณ 76 ล้านบาท ลดหุ้น SAMART ลงจากเดิม 35.20 ล้านหุ้นเหลือ 30 ล้านหุ้น แต่ไปเพิ่มหุ้น SAMTEL จากเดิม 11 ล้านหุ้น เพิ่มเป็น 16.68 ล้านหุ้น
นอกจากนี้ยังซื้อหุ้น RS เพิ่มขึ้นอีก 11.6 ล้านหุ้น จากเดิม 120.94 ล้านหุ้น สัดส่วน 13.7% ซื้อเพิ่มเป็น 132.54 ล้านหุ้น สัดส่วน 15.01% ถือหุ้นใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของบริษัทเป็นรองแค่ครอบครัวเชษฐโชติศักดิ์ เท่านั้น
"เคน" โสรัตน์ วณิชวรากิจ นักลงทุนหนุ่มวัย 38 ปี อัพเดทข้อมูลการลงทุนส่วนตัวให้กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ฟังว่า ก่อนที่กรุงเทพฯจะจมน้ำ ตนเองได้เดินทางไปเยี่ยมชมกิจการ (Company Visit) หุ้นที่ขึ้นชื่อว่าเป็น “หุ้นพื้นฐาน” หลายบริษัท มีเข้าตาบ้างไม่เข้าตาบ้าง สุดท้ายก็ตกลงปลงใจซื้อหุ้น ชูไก (CRANE) บริษัทนี้นำเข้าเครื่องจักรใช้แล้วจากต่างประเทศ และมีบริการซ่อมและจำหน่ายอะไหล่ด้วย
สาเหตุที่เลือกบริษัทนี้เพราะชอบในความสามารถของผู้บริหาร ธงไชย แพรรังสี ผู้ก่อตั้งชูไก แถมยังให้คำแนะนำดีๆ ในการทำธุรกิจมาด้วย ถ้าจำไม่ผิดใช้เวลาประมาณ 3 เดือนไล่เก็บหุ้น CRANE ในกระดาน รวมถึงติดต่อซื้อจากผู้ถือหุ้นเดิมหลายรายที่ประสงค์จะขายหุ้น ส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับการต่อรองราคา
ปัจจุบันโสรัตน์ บอกว่าสามารถเก็บหุ้น CRANE ได้แล้วประมาณ 8% เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 ของบริษัทเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2554 ที่ถืออยู่จำนวน 23.61 ล้านหุ้น สัดส่วน 5.24% โดยมีต้นทุนเฉลี่ยที่หุ้นละ 3.30 บาท
"ชูไกถือว่าเข้าข่ายกฎเหล็กซื้อขายทุกข้อของผม ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจมีความยั่งยืน ฐานะการเงินดี หนี้ไม่สูง ผู้บริหารเก่ง มีความรู้เยอะ เรียกง่ายๆเป็น “มวยรองบ่อน” อย่าให้ลุกขึ้นมาชกน็อคเอ้าท์แน่นอน ที่สำคัญผู้บริหารเขา (ธงไชย แพรรังสี) มีเวลาให้ตลอดเวลา เพราะผมจะไปหาเขาทุกๆ 1 เดือน และจะโทรศัพท์คุยทุก 1 สัปดาห์ เพื่ออัพเดทข้อมูลต่างๆ ซึ่งเขาตอบสนองในสิ่งที่ต้องการได้เป็นอย่างดี"
เคนให้ข้อมูลว่า ช่วงนี้ยังคงตระเวนเยี่ยมชมกิจการดีๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อหาจังหวะซื้อในปี 2555 แม้น้ำจะท่วมก็ไม่ใช่อุปสรรค ส่วนตัวมองเป็นโอกาสที่ดีสามารถหาซื้อหุ้นพื้นฐานดีในราคาที่มี "ส่วนลด" ค่อนข้างมาก หุ้นบางตัวราคาลดลงถึง 70% จากราคาในอดีต จะเข้าไปค้นคำตอบ (จากผู้บริหาร) ว่าทำไมราคาถึงเปลี่ยนแปลงมาก โอกาสธุรกิจยังเหมือนเดิมอยู่รึเปล่า! ที่สำคัญจะไปดูว่าเจ้าของบริษัทกับเราเข้ากันได้หรือไม่ คุยกันถูกคอหรือไม่
นอกจากหุ้น CRANE ที่เป็นน้องใหม่ในพอร์ตประจำปี 2554 แล้ว ตอนนี้ยังไม่เจอตัวที่ “ใช่” เคยไปคุยกับบริษัทก่อสร้างแห่งหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้ซื้อ เพราะเขาดีแค่ชั่วคราว อีกอย่างราคาขึ้นมาเยอะแล้ว ไม่อยากลงไปเล่นเกมกับเจ้าของ
บางครั้งเจอตัวที่ใช่! ถูกใจมาก ผลประกอบการ 3 ปีย้อนหลังขยายตัว 100% จ่ายเงินปันผลมากกว่าดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลที่ 3% แต่ก็มักติดปัญหาตรงที่เจ้าของถือหุ้นต่ำกว่า 50% หรือก็ไม่ได้บริหารเอง แต่จ้างมือปืนรับจ้างทำงานแทน หุ้นอย่างนี้ก็ไม่น่าสนใจ
"ผู้บริหารบริษัทบางคนก็หยิ่ง อ้างว่าไม่สะดวกให้ข้อมูลนักลงทุนบ่อยๆ เมื่อข้อสำคัญสำหรับผมไม่ผ่าน ต่อให้ราคาหุ้นถูกแค่ไหน ผมก็คงต้องโบกมือลา เพราะอยู่กันไปคงไม่มีความสุข"
เซียนหุ้นระดับพันล้าน บอกว่า กลยุทธ์การลงทุนในหุ้นตัวใหม่ๆ ยังคงเหมือนเดิม หากเจอตัวที่ “ปิ๊ง” ก็จะเข้าไปคุยกับเจ้าของ บอกให้เขารับรู้ว่าจะเข้ามาซื้อหุ้น "เป้าหมายของผมคือ เป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 2 ของบริษัท" เมื่อเจ้าของบริษัทโอเค! ไม่ว่าอะไรก็จะทยอยเก็บหุ้นในกระดานไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีผู้ถือหุ้นเดิมพร้อมขาย (ล็อตใหญ่) ให้ คือต้องทำให้เขารู้ว่า เราเอาจริงไม่ได้พูดเล่นขำๆ
เขาบอกว่า เป้าหมายการลงทุนไม่ได้ต้องการกำไรมหาศาลเป็นปัจจัยแรก แต่ต้องการ “คู่คิด CEO” ที่สามารถให้คำแนะนำซึ่งกันและกันได้ เพราะคำแนะนำของผู้ที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจก็มีส่วนสำคัญทำให้ธุรกิจของครอบครัวตนเองเติบโตอย่างยั่งยืน
"อธิบายง่ายๆ วันนี้ผมถือหุ้น 6-7 ตัว มูลค่าระดับพันล้านบาท หุ้นทุกตัวมีผู้บริหารเป็นที่รู้จักในแวดวงธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น "เฮียฮ้อ" สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ เจ้าของ RS เขาจะเก่งเรื่อง "การตลาดแบบแปลกๆ" คิดได้ไง! ผมได้อะไรจากเฮียฮ้อมากมาย แถมสามารถนำมาปรับใช้ได้กับธุรกิจของครอบครัวได้ด้วย อยู่แล้วสบายใจไป RS เหมือนอยู่บ้านมีแต่คนต้อนรับ"
นอกจากนี้ วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ เจ้าของสามารถคอร์ปอเรชั่น คนนี้เก่งเรื่อง “คอนเน็คชั่น” เขามักสอนผมเสมอ “ทำธุรกิจต้องมีเครือข่ายที่ดี ธุรกิจจะได้คล่องตัว” ส่วนตัวก็นำมาปรับใช้ อีกคน สาทิส ตัตวธร เจ้าของสาลี่อุตสาหกรรม คนนี้ชำนาญเรื่อง "งานบริหารการผลิต" เขาช่วยธุรกิจผมเยอะมาก เห็นอะไรที่เกี่ยวกับพลาสติกอะคริลิกในต่างประเทศเฮียสาทิตก็จะโทรมาบอกแบบไม่มีนัยสำคัญอะไร นอกจากนี้แกยังขนทรายมาให้บริษัทผมทำคันกั้นน้ำ 5 ตัน แถมยังช่วยวางแผนให้อีกต่างหาก
คนสุดท้าย พีท ริมชลา เจ้าของแฮลเซี่ยน เทคโนโลยี่ คนนี้เก่งเรื่อง "วิจัยและพัฒนา" เพราะเป็นคนมีระบบระเบียบมาก วางเงินไว้ในมือเขาอุ่นใจสุดๆ
“ใครจะทำได้อย่างผมมี CEO บริษัทใหญ่ๆ เป็นที่ปรึกษา พวกเขาทำให้กำไรธุรกิจครอบครัวของผมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง “ทำน้อย กำไรมาก” มีที่ไหน คู่แข่งได้ยินหนาวไปตามๆกัน ใครจะกล้ามาแข่งกับผม ตอนนี้คิดว่าจะเรียนเชิญ CEO ทั้ง 5 ท่าน มาเล่าประสบการณ์การทำงานให้พนักงานแพนเอเชีย อุตสาหกรรม ฟังเฉลี่ยเดือนละครั้ง”
โสรัตน์บอกว่า ตอนนี้หุ้นในพอร์ตของเขาก็ยังคงเป็นตัวเดิมๆ ไม่ได้ซื้อเพิ่มเติมอย่างมีนัยสำคัญ แต่จะอัพเดทข้อมูลใหม่ๆกับผู้บริหารบริษัทตลอดเวลา เชื่อหรือไม่! ในช่วงที่เมืองไทยวิกฤติแบบนี้ ทำให้เห็นว่าหุ้นที่ถืออยู่มันดีที่สุดจริงๆ เอาง่ายๆ ในยามที่บ้านเมืองไม่ปกติสุขแบบนี้ แต่ผู้บริหารเขามองการณ์ไกล คิดแก้ปัญหาล่วงหน้า บางคนนอนกินอยู่ในบริษัท ไม่ได้หนีหายออกนอกประเทศ หรือไปต่างจังหวัด แล้วทิ้งให้ลูกน้องดูแลงานทั้งหมดแทน คนเป็นกัปตันมันต้องไม่สละเรือหนี
"ผมโทรไปคุยกับเฮียฮ้อ ช่วงน้ำท่วมลาดพร้าว ใหม่ๆแกบอกว่าไม่ต้องห่วง เราขายของบนออนไลน์ ไม่ได้ขายแผ่นเหมือนก่อนสินค้าไม่เสียหาย ส่วนห้องอัดเสียงก็อยู่บนที่สูงห่างน้องน้ำ ส่วนออฟฟิคย้ายไปเช่าตึกแถวพระราม 4 ประมาณ 1 เดือน อาจมีบ้างที่กระทบในแง่โฆษณา แต่เขาควบคุมต้นทุนอะไรไม่จำเป็นตัดทิ้งให้หมด ส่วนเฮียสาทิส คนนี้สุดยอด ไม่กลับบ้าน นอนเฝ้าโรงงานทั้งวันทั้งคืน แถมยังรับออเดอร์ต่อเนื่อง เพราะคู่แข่งหยุดทำงาน บางโรงงานก็จมน้ำ เฮียแกบอกว่า ตอนนี้ออเดอร์เยอะทำไม่ทัน กัปตันเรือต้องแบบนี้ ตอนทะเลนิ่งคนมักชอบอวด แต่พอทะเลพิโรธหายหน้าไปเลย"
โสรัตน์ยังออกอาการชื่นชม วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ ที่บ้านโดนน้ำท่วมเพราะอยู่ในเมืองเอก แต่ก็ยังสู้ไม่ถอย แกบอกว่า ไม่ต้องกลัววันนี้ยังรับงานอย่างต่อเนื่องเราต้องทำงานตอนน้ำยังไม่ลด คนทำงานหลังน้ำลดสู้เราไม่ได้หรอก เพราะเราก้าวมาไกลแล้ว ยิ่งคุณพีท ก็ใช่ย่อย แกบอกว่าหากน้ำท่วมแบบนี้ลูกค้าเมืองไทยมีสะเทือน ถ้าเป็นเช่นนั้นต้องไปอินโดนีเซียขายดักหน้าไปเลย เพราะมีบริษัท แฮลเซี่ยน เทคโนโลยี่ (ฟิลิปปินส์) ร่วมทุนกับ “ต๊อก ชี ชวน” (ชาวสิงคโปร์) และ “ฮามิลคาร์ อาซาเรียส” (ชาวฟิลิปปินส์) บริษัทแม่ถือหุ้น 65%
“ผมนำเงินที่เตรียมจะไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลมาลงทุนในตลาดหุ้น ฉะนั้นต้องมั่นใจว่า CEO เหล่านี้จะดูแลเงินผมเป็นอย่างดี สามารถให้เงินปันผลได้มากกว่าดอกเบี้ยพันธบัตร เมื่อกัปตันเหล่านี้ทำงานเกินหน้าที่ แล้วผมจะทิ้งเขา (ขายหุ้น) ไปได้อย่างไร”
เซียนหุ้นพันล้าน แนะนำนักลงทุนว่า ในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปี 2554 ควรหาธุรกิจที่เป็นไปตามที่เราต้องการ หาจุดชี้วัดให้เจอ คือเขาดีใจที่เจอเรา แล้วเราก็แฮปปี้ที่มีเขา หากเจอแล้ว ก็จงหาจังหวะลงทุน อย่าสนใจว่าดัชนีตอนนั้นจะสูงหรือต่ำ ถ้าธุรกิจดีจริง SET Index จะขึ้นหรือลง ก็ไม่มีผลอะไรต่อหุ้นของเราทั้งนั้น
“อย่ารีบร้อน อย่าเร่งมือ เมื่อซื้อแล้วอย่ากังวลต้นทุน ของดีจริง 1-2 ปี มันจะกลับมา” นี่คือคาถาลงทุนของ "เคน" โสรัตน์ วณิชวรากิจ เซียนหุ้นผู้ที่ได้รับฉายา "ฟอร์มเยอะ จัดหนัก
ที่มา...http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ิกฤติ.html
ช่วงวิกฤติหนี้ยุโรปเรื่อยมาจนถึงปัญหาน้ำท่วมใหญ่ในประเทศไทย "เคน" โสรัตน์ วณิชวรากิจ เซียนหุ้นที่เพื่อนๆ ตั้งฉายาให้ว่า "ฟอร์มเยอะ จัดหนัก" ยังคงเดินหน้าค้นหาหุ้นที่เข้าข่าย “กฎเหล็กซื้อขาย 10 ประการ” เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายส่วนตัวที่ต้องการซื้อหุ้นใหม่ๆ เพิ่มขึ้นปีละ 1 ตัว
เคนเป็นนักธุรกิจเจ้าของบริษัท แพนเอเชีย อุตสาหกรรม จำกัด ผู้ผลิตแผ่นพลาสติกอะคริลิกรายใหญ่มียอดขายปีละกว่า 600 ล้านบาท โรงงานตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง นอกจากนี้เขายังมีบริษัทในเครืออีก 5 แห่ง กิจการทั้งหมดมียอดขายรวมกันปีละประมาณ 1,000 ล้านบาท
นอกจากบทบาทนักธุรกิจและผู้บริหารแล้ว เขายังเป็น "เซียนหุ้น" ที่เคยล้มเหลวมาก่อน ก่อนที่ปัจจุบันจะเป็นเจ้าของพอร์ตลงทุนใหญ่ระดับ "พันล้านบาท"
กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ตรวจสอบล่าสุดพบว่า โสรัตน์ถือหุ้นใหญ่ (เกิน 0.5%) อยู่จำนวน 8 บริษัท เงินลงทุนรวมกัน ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2554 มูลค่า 1,012 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2554 ที่เคยมีพอร์ตลงทุนจำนวน 1,303 ล้านบาท
พอร์ตลงทุนของโสรัตน์ถือหุ้น RS ของ "เฮียฮ้อ" สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ มากที่สุดจำนวน 132.54 ล้านหุ้น สัดส่วน 15.01% มูลค่าประมาณ 345 ล้านบาท อันดับสองถือหุ้น SAMART ของ วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ จำนวน 30 ล้านหุ้น สัดส่วน 3.04% มูลค่าประมาณ 215 ล้านบาท อันดับสามถือหุ้น SAMTEL ในเครือสามารถ จำนวน 16.68 ล้านหุ้น สัดส่วน 2.75% มูลค่าประมาณ 164 ล้านบาท สำหรับหุ้นที่ถือลงทุนและมีมูลค่าต่ำกว่า 100 ล้านบาท ได้แก่ หุ้น HTECH, CRANE, SALEE, SVI และ PREB
เป็นที่น่าสังเกตุว่าในปี 2554 โสรัตน์ ได้มีการปรับพอร์ตลงทุนในหุ้นหลายบริษัทมีทั้งเพิ่มขึ้นและลดการลงทุนลง แต่ยังคงถือหุ้นใหญ่จำนวน 8 บริษัทเท่าเดิม โดยมีการขายหุ้นโพลีเพล็กซ์ (ประเทศไทย) หรือ PTL ออกจากเดิมเคยถืออันดับ 3 ของพอร์ต จำนวน 9.76 ล้านหุ้น มูลค่า ณ เดือนมิถุนายน 2554 เท่ากับ 196 ล้านบาท แต่ล่าสุดไม่พบว่าถือหุ้น PTL อยู่แล้ว แต่ไปเพิ่มหุ้นชูไก (CRANE) เข้ามาในพอร์ต ถือจำนวน 23.61 ล้านหุ้น สัดส่วน 5.24% มูลค่าประมาณ 76 ล้านบาท ลดหุ้น SAMART ลงจากเดิม 35.20 ล้านหุ้นเหลือ 30 ล้านหุ้น แต่ไปเพิ่มหุ้น SAMTEL จากเดิม 11 ล้านหุ้น เพิ่มเป็น 16.68 ล้านหุ้น
นอกจากนี้ยังซื้อหุ้น RS เพิ่มขึ้นอีก 11.6 ล้านหุ้น จากเดิม 120.94 ล้านหุ้น สัดส่วน 13.7% ซื้อเพิ่มเป็น 132.54 ล้านหุ้น สัดส่วน 15.01% ถือหุ้นใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของบริษัทเป็นรองแค่ครอบครัวเชษฐโชติศักดิ์ เท่านั้น
"เคน" โสรัตน์ วณิชวรากิจ นักลงทุนหนุ่มวัย 38 ปี อัพเดทข้อมูลการลงทุนส่วนตัวให้กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ฟังว่า ก่อนที่กรุงเทพฯจะจมน้ำ ตนเองได้เดินทางไปเยี่ยมชมกิจการ (Company Visit) หุ้นที่ขึ้นชื่อว่าเป็น “หุ้นพื้นฐาน” หลายบริษัท มีเข้าตาบ้างไม่เข้าตาบ้าง สุดท้ายก็ตกลงปลงใจซื้อหุ้น ชูไก (CRANE) บริษัทนี้นำเข้าเครื่องจักรใช้แล้วจากต่างประเทศ และมีบริการซ่อมและจำหน่ายอะไหล่ด้วย
สาเหตุที่เลือกบริษัทนี้เพราะชอบในความสามารถของผู้บริหาร ธงไชย แพรรังสี ผู้ก่อตั้งชูไก แถมยังให้คำแนะนำดีๆ ในการทำธุรกิจมาด้วย ถ้าจำไม่ผิดใช้เวลาประมาณ 3 เดือนไล่เก็บหุ้น CRANE ในกระดาน รวมถึงติดต่อซื้อจากผู้ถือหุ้นเดิมหลายรายที่ประสงค์จะขายหุ้น ส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับการต่อรองราคา
ปัจจุบันโสรัตน์ บอกว่าสามารถเก็บหุ้น CRANE ได้แล้วประมาณ 8% เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 ของบริษัทเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2554 ที่ถืออยู่จำนวน 23.61 ล้านหุ้น สัดส่วน 5.24% โดยมีต้นทุนเฉลี่ยที่หุ้นละ 3.30 บาท
"ชูไกถือว่าเข้าข่ายกฎเหล็กซื้อขายทุกข้อของผม ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจมีความยั่งยืน ฐานะการเงินดี หนี้ไม่สูง ผู้บริหารเก่ง มีความรู้เยอะ เรียกง่ายๆเป็น “มวยรองบ่อน” อย่าให้ลุกขึ้นมาชกน็อคเอ้าท์แน่นอน ที่สำคัญผู้บริหารเขา (ธงไชย แพรรังสี) มีเวลาให้ตลอดเวลา เพราะผมจะไปหาเขาทุกๆ 1 เดือน และจะโทรศัพท์คุยทุก 1 สัปดาห์ เพื่ออัพเดทข้อมูลต่างๆ ซึ่งเขาตอบสนองในสิ่งที่ต้องการได้เป็นอย่างดี"
เคนให้ข้อมูลว่า ช่วงนี้ยังคงตระเวนเยี่ยมชมกิจการดีๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อหาจังหวะซื้อในปี 2555 แม้น้ำจะท่วมก็ไม่ใช่อุปสรรค ส่วนตัวมองเป็นโอกาสที่ดีสามารถหาซื้อหุ้นพื้นฐานดีในราคาที่มี "ส่วนลด" ค่อนข้างมาก หุ้นบางตัวราคาลดลงถึง 70% จากราคาในอดีต จะเข้าไปค้นคำตอบ (จากผู้บริหาร) ว่าทำไมราคาถึงเปลี่ยนแปลงมาก โอกาสธุรกิจยังเหมือนเดิมอยู่รึเปล่า! ที่สำคัญจะไปดูว่าเจ้าของบริษัทกับเราเข้ากันได้หรือไม่ คุยกันถูกคอหรือไม่
นอกจากหุ้น CRANE ที่เป็นน้องใหม่ในพอร์ตประจำปี 2554 แล้ว ตอนนี้ยังไม่เจอตัวที่ “ใช่” เคยไปคุยกับบริษัทก่อสร้างแห่งหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้ซื้อ เพราะเขาดีแค่ชั่วคราว อีกอย่างราคาขึ้นมาเยอะแล้ว ไม่อยากลงไปเล่นเกมกับเจ้าของ
บางครั้งเจอตัวที่ใช่! ถูกใจมาก ผลประกอบการ 3 ปีย้อนหลังขยายตัว 100% จ่ายเงินปันผลมากกว่าดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลที่ 3% แต่ก็มักติดปัญหาตรงที่เจ้าของถือหุ้นต่ำกว่า 50% หรือก็ไม่ได้บริหารเอง แต่จ้างมือปืนรับจ้างทำงานแทน หุ้นอย่างนี้ก็ไม่น่าสนใจ
"ผู้บริหารบริษัทบางคนก็หยิ่ง อ้างว่าไม่สะดวกให้ข้อมูลนักลงทุนบ่อยๆ เมื่อข้อสำคัญสำหรับผมไม่ผ่าน ต่อให้ราคาหุ้นถูกแค่ไหน ผมก็คงต้องโบกมือลา เพราะอยู่กันไปคงไม่มีความสุข"
เซียนหุ้นระดับพันล้าน บอกว่า กลยุทธ์การลงทุนในหุ้นตัวใหม่ๆ ยังคงเหมือนเดิม หากเจอตัวที่ “ปิ๊ง” ก็จะเข้าไปคุยกับเจ้าของ บอกให้เขารับรู้ว่าจะเข้ามาซื้อหุ้น "เป้าหมายของผมคือ เป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 2 ของบริษัท" เมื่อเจ้าของบริษัทโอเค! ไม่ว่าอะไรก็จะทยอยเก็บหุ้นในกระดานไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีผู้ถือหุ้นเดิมพร้อมขาย (ล็อตใหญ่) ให้ คือต้องทำให้เขารู้ว่า เราเอาจริงไม่ได้พูดเล่นขำๆ
เขาบอกว่า เป้าหมายการลงทุนไม่ได้ต้องการกำไรมหาศาลเป็นปัจจัยแรก แต่ต้องการ “คู่คิด CEO” ที่สามารถให้คำแนะนำซึ่งกันและกันได้ เพราะคำแนะนำของผู้ที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจก็มีส่วนสำคัญทำให้ธุรกิจของครอบครัวตนเองเติบโตอย่างยั่งยืน
"อธิบายง่ายๆ วันนี้ผมถือหุ้น 6-7 ตัว มูลค่าระดับพันล้านบาท หุ้นทุกตัวมีผู้บริหารเป็นที่รู้จักในแวดวงธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น "เฮียฮ้อ" สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ เจ้าของ RS เขาจะเก่งเรื่อง "การตลาดแบบแปลกๆ" คิดได้ไง! ผมได้อะไรจากเฮียฮ้อมากมาย แถมสามารถนำมาปรับใช้ได้กับธุรกิจของครอบครัวได้ด้วย อยู่แล้วสบายใจไป RS เหมือนอยู่บ้านมีแต่คนต้อนรับ"
นอกจากนี้ วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ เจ้าของสามารถคอร์ปอเรชั่น คนนี้เก่งเรื่อง “คอนเน็คชั่น” เขามักสอนผมเสมอ “ทำธุรกิจต้องมีเครือข่ายที่ดี ธุรกิจจะได้คล่องตัว” ส่วนตัวก็นำมาปรับใช้ อีกคน สาทิส ตัตวธร เจ้าของสาลี่อุตสาหกรรม คนนี้ชำนาญเรื่อง "งานบริหารการผลิต" เขาช่วยธุรกิจผมเยอะมาก เห็นอะไรที่เกี่ยวกับพลาสติกอะคริลิกในต่างประเทศเฮียสาทิตก็จะโทรมาบอกแบบไม่มีนัยสำคัญอะไร นอกจากนี้แกยังขนทรายมาให้บริษัทผมทำคันกั้นน้ำ 5 ตัน แถมยังช่วยวางแผนให้อีกต่างหาก
คนสุดท้าย พีท ริมชลา เจ้าของแฮลเซี่ยน เทคโนโลยี่ คนนี้เก่งเรื่อง "วิจัยและพัฒนา" เพราะเป็นคนมีระบบระเบียบมาก วางเงินไว้ในมือเขาอุ่นใจสุดๆ
“ใครจะทำได้อย่างผมมี CEO บริษัทใหญ่ๆ เป็นที่ปรึกษา พวกเขาทำให้กำไรธุรกิจครอบครัวของผมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง “ทำน้อย กำไรมาก” มีที่ไหน คู่แข่งได้ยินหนาวไปตามๆกัน ใครจะกล้ามาแข่งกับผม ตอนนี้คิดว่าจะเรียนเชิญ CEO ทั้ง 5 ท่าน มาเล่าประสบการณ์การทำงานให้พนักงานแพนเอเชีย อุตสาหกรรม ฟังเฉลี่ยเดือนละครั้ง”
โสรัตน์บอกว่า ตอนนี้หุ้นในพอร์ตของเขาก็ยังคงเป็นตัวเดิมๆ ไม่ได้ซื้อเพิ่มเติมอย่างมีนัยสำคัญ แต่จะอัพเดทข้อมูลใหม่ๆกับผู้บริหารบริษัทตลอดเวลา เชื่อหรือไม่! ในช่วงที่เมืองไทยวิกฤติแบบนี้ ทำให้เห็นว่าหุ้นที่ถืออยู่มันดีที่สุดจริงๆ เอาง่ายๆ ในยามที่บ้านเมืองไม่ปกติสุขแบบนี้ แต่ผู้บริหารเขามองการณ์ไกล คิดแก้ปัญหาล่วงหน้า บางคนนอนกินอยู่ในบริษัท ไม่ได้หนีหายออกนอกประเทศ หรือไปต่างจังหวัด แล้วทิ้งให้ลูกน้องดูแลงานทั้งหมดแทน คนเป็นกัปตันมันต้องไม่สละเรือหนี
"ผมโทรไปคุยกับเฮียฮ้อ ช่วงน้ำท่วมลาดพร้าว ใหม่ๆแกบอกว่าไม่ต้องห่วง เราขายของบนออนไลน์ ไม่ได้ขายแผ่นเหมือนก่อนสินค้าไม่เสียหาย ส่วนห้องอัดเสียงก็อยู่บนที่สูงห่างน้องน้ำ ส่วนออฟฟิคย้ายไปเช่าตึกแถวพระราม 4 ประมาณ 1 เดือน อาจมีบ้างที่กระทบในแง่โฆษณา แต่เขาควบคุมต้นทุนอะไรไม่จำเป็นตัดทิ้งให้หมด ส่วนเฮียสาทิส คนนี้สุดยอด ไม่กลับบ้าน นอนเฝ้าโรงงานทั้งวันทั้งคืน แถมยังรับออเดอร์ต่อเนื่อง เพราะคู่แข่งหยุดทำงาน บางโรงงานก็จมน้ำ เฮียแกบอกว่า ตอนนี้ออเดอร์เยอะทำไม่ทัน กัปตันเรือต้องแบบนี้ ตอนทะเลนิ่งคนมักชอบอวด แต่พอทะเลพิโรธหายหน้าไปเลย"
โสรัตน์ยังออกอาการชื่นชม วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ ที่บ้านโดนน้ำท่วมเพราะอยู่ในเมืองเอก แต่ก็ยังสู้ไม่ถอย แกบอกว่า ไม่ต้องกลัววันนี้ยังรับงานอย่างต่อเนื่องเราต้องทำงานตอนน้ำยังไม่ลด คนทำงานหลังน้ำลดสู้เราไม่ได้หรอก เพราะเราก้าวมาไกลแล้ว ยิ่งคุณพีท ก็ใช่ย่อย แกบอกว่าหากน้ำท่วมแบบนี้ลูกค้าเมืองไทยมีสะเทือน ถ้าเป็นเช่นนั้นต้องไปอินโดนีเซียขายดักหน้าไปเลย เพราะมีบริษัท แฮลเซี่ยน เทคโนโลยี่ (ฟิลิปปินส์) ร่วมทุนกับ “ต๊อก ชี ชวน” (ชาวสิงคโปร์) และ “ฮามิลคาร์ อาซาเรียส” (ชาวฟิลิปปินส์) บริษัทแม่ถือหุ้น 65%
“ผมนำเงินที่เตรียมจะไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลมาลงทุนในตลาดหุ้น ฉะนั้นต้องมั่นใจว่า CEO เหล่านี้จะดูแลเงินผมเป็นอย่างดี สามารถให้เงินปันผลได้มากกว่าดอกเบี้ยพันธบัตร เมื่อกัปตันเหล่านี้ทำงานเกินหน้าที่ แล้วผมจะทิ้งเขา (ขายหุ้น) ไปได้อย่างไร”
เซียนหุ้นพันล้าน แนะนำนักลงทุนว่า ในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปี 2554 ควรหาธุรกิจที่เป็นไปตามที่เราต้องการ หาจุดชี้วัดให้เจอ คือเขาดีใจที่เจอเรา แล้วเราก็แฮปปี้ที่มีเขา หากเจอแล้ว ก็จงหาจังหวะลงทุน อย่าสนใจว่าดัชนีตอนนั้นจะสูงหรือต่ำ ถ้าธุรกิจดีจริง SET Index จะขึ้นหรือลง ก็ไม่มีผลอะไรต่อหุ้นของเราทั้งนั้น
“อย่ารีบร้อน อย่าเร่งมือ เมื่อซื้อแล้วอย่ากังวลต้นทุน ของดีจริง 1-2 ปี มันจะกลับมา” นี่คือคาถาลงทุนของ "เคน" โสรัตน์ วณิชวรากิจ เซียนหุ้นผู้ที่ได้รับฉายา "ฟอร์มเยอะ จัดหนัก
ที่มา...http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ิกฤติ.html
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: 'โสรัตน์ วณิชวรากิจ' หุ้นดีควรซื้อช่วง 'วิกฤติ'
โพสต์ที่ 4
ผมมองแค่อย่างเดียวครับ นักลงทุนที่ดีควรที่จะซื้อหุ้นในยามวิกฤติและหุ้นนั้นต้องมีส่วนลดมากพอ ทั้งนี้ต้องหมายถึงว่าหุ้นนั้นจะต้องผ่านวิกฤติไปได้ด้วยนะครับ และไม่แน่เราอาจจะได้กิจการที่ยอดเยี่ยมในราคายุติธรรมก็ได้ครับ
- bank115
- Verified User
- โพสต์: 166
- ผู้ติดตาม: 0
Re: 'โสรัตน์ วณิชวรากิจ' หุ้นดีควรซื้อช่วง 'วิกฤติ'
โพสต์ที่ 5
ผมว่าคุณเคน เค้าฉลาดเลือกผู้บริหารนะครับ
ซึ่ง win-win กันทั้ง 2 ฝ่าย
การที่ได้ผู้บริหารเก่ง ๆ มาเป็นเพื่อน เป็นที่ปรึกษาธุรกิจตัวเองด้วยนั้น เยี่ยมสุด ๆ ไปเลย
แต่วิธีการเลือกหุ้นเช่นนี้คงไม่เหมาะ สำหรับคนธรรมดาสามัญ ที่ ต้องการ maximize profit มั๊งครับ
นานาจิตตัง
ซึ่ง win-win กันทั้ง 2 ฝ่าย
การที่ได้ผู้บริหารเก่ง ๆ มาเป็นเพื่อน เป็นที่ปรึกษาธุรกิจตัวเองด้วยนั้น เยี่ยมสุด ๆ ไปเลย
แต่วิธีการเลือกหุ้นเช่นนี้คงไม่เหมาะ สำหรับคนธรรมดาสามัญ ที่ ต้องการ maximize profit มั๊งครับ
นานาจิตตัง
จงตื่นเถิด เปิดตา หาความรู้
- mameepoko
- Verified User
- โพสต์: 47
- ผู้ติดตาม: 0
Re: 'โสรัตน์ วณิชวรากิจ' หุ้นดีควรซื้อช่วง 'วิกฤติ'
โพสต์ที่ 6
มีแต่ htech กับ salee ที่ยังพอเข้าใจ
บางตัววอลุ่มแห้งผากก็ ตอนเก็บใช้เวลานาน ตอนปล่อยอาจจะนานกว่า
เทพคงมองเห็นสิ่งที่คนสามัญอย่างผมมองไม่เห็นจริงๆ
บางตัววอลุ่มแห้งผากก็ ตอนเก็บใช้เวลานาน ตอนปล่อยอาจจะนานกว่า
เทพคงมองเห็นสิ่งที่คนสามัญอย่างผมมองไม่เห็นจริงๆ
"ปีนผาฝ่าน้ำตกที่สูงชันยากฉันใด ลงทุนสวนเทรนด์แล้วกำไร..ก็ยากฉันนั้น"