http://www.posttoday.com/รอบโลก/111531/ ... การ7ธนาคาร
นี่ข่าวเกาหลี
แล้วบ้านเรานี่ ธนาคารมั่นคงขนาดไหนครับ
ใครมีความรู้เรื่องธนาคารบ้างครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ใครมีความรู้เรื่องธนาคารบ้างครับ
โพสต์ที่ 2
http://www.banmuang.co.th/economic.asp?id=248748
โดย บ้านเมืองออนไลน์ เมื่อเวลา 10:42:00 วันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2554
แฉพบแบงก์รัฐทุจริตปล่อยกู้
แฉพบแบงก์รัฐทุจริตปล่อยกู้ 'ธีระชัย' สุ่งลุยเช็คบิลสาวไส้ปล่อยสินเชื่อนักการเมือง
“ธีระชัย” สั่งผู้ตรวจการกระทรวงการคลังเข้าสอบทุจริตแบงก์รัฐ หลังแบงก์ชาติหอบเอกสารแฉขุนคลัง พบแบงก์รัฐส่อทุจริตปล่อยกู้นักการเมืองและบริษัทในกลุ่มรัฐบาล “มาร์ค” หละหลวม อย่างไม่ถูกต้อง ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนต้องจัดการ
แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เร็วๆ นี้ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะลงนามเพื่อมอบอำนาจให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลังสามารถเข้าไปตรวจสอบการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐได้ ภายหลังจากที่ได้ดำเนินการหารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แล้ว พบว่ามีธนาคารเฉพาะกิจหลายแห่งที่ปล่อยสินเชื่ออย่างหละหลวมและอาจจะมีการทุจริตเกิดขึ้นภายในองค์กรของธนาคารเฉพาะกิจเอง
ทั้งนี้ในปัจจุบันผู้ตรวจราชการมีอำนาจในการตรวจสอบ และรับเรื่องราวร้องทุกข์ที่เกิดจากการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงการคลัง เช่น กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร เพื่อนำไปสู่การแก้ไขและเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในระบบราชการรวมถึงการให้บริการประชาชนด้วย โดยผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลังปัจจุบันมี 6 คนประกอบด้วย นายสมชัย อภิวัฒนพร นายเทวัญ วิชิตะกุล นายอำนวย ปรีมนวงศ์ นายมนัส แจ่มเวหา นายประสิทธิ์ สืบชนะ และนายกฤษฎา อุทยานิน โดยแต่ละคนไปแบ่งสายงานความรับผิดชอบตามเขตและภาคต่างๆ ทั่วประเทศ จะไม่มีการก้าวข้ามเขตกัน เพื่อความชัดเจนในการทำงาน
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า การที่ธนาคารเฉพาะกิจมีหลายแห่ง และแต่ละแห่งก็มีสำนักงานสาขาจำนวนมาก เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) หรือไอแบงก์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ทำให้การแบ่งอำนาจความรับผิดชอบตามเขตและภาคต่างๆ ไม่สามารถดำเนินการได้ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการแต่ละคนสามารถเข้าตรวจสอบบริษัทลูกค้าของธนาคารเฉพาะกิจที่ส่อไปในทางทุจริต แม้ว่าบริษัทหรือลูกค้ารายนั้นไม่ได้อยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบก็ตาม
“หลังจากที่มีการหารือกับ ธปท.แล้วได้รับรายงานว่า มีแบงก์รัฐบางแห่งปล่อยสินเชื่ออย่างหละหลวม อีกทั้งยังมีการทุจริตเกิดขึ้นภายในองค์กรด้วย ดังนั้น ในเร็วๆ นี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะเซ็นอนุมัติมอบอำนาจให้กับบรรดาผู้ตรวจราชการของกระทรวงการคลังทั้ง 6 คน สามารถเข้าไปตรวจสอบการปล่อยสินเชื่อของแบงก์รัฐต่างๆ โดยให้สามารถตรวจสอบไปได้ถึงเหล่าบริษัทที่เป็นลูกค้าของแบงก์รัฐนั้นๆ ด้วย ถึงแม้ว่าบริษัทหรือลูกค้ารายนั้นๆ จะไม่ได้อยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบก็ตาม” แหล่งข่าวกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คำสั่งในการตรวจสอบธนาคารเฉพาะกิจในครั้งนี้เกิดจาก นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้พบและรายงานว่า มีการทุจริตเกิดขึ้นภายในธนาคารเฉพาะกิจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อของกลุ่มนักการเมือง และกลุ่มพันธมิตรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนักการเมืองของรัฐบาลชุดที่แล้ว โดยในรายงานของ ธปท.ระบุอย่างชัดเจนว่า มีการปล่อยสินเชื่ออย่างไม่โปร่งใส โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่และยังมีบางแห่งไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของ ธปท.ในการจัดชั้นหนี้ และทุนสำรอง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมองว่า เป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องเร่งจัดการ เพราะในขณะเดียวกันกระทรวงการคลังยังมีปัญหาที่ค้างคากับ ธปท.แต่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ เช่น การแก้ไขหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน กรอบเงินเฟ้อ เป็นต้น จึงไม่อยากให้ประเด็นของธนาคารเฉพาะกิจกลายเป็นตัวเปรียบเทียบเพื่อวัดผลงานระหว่างกระทรวงการคลังกับ ธปท.
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมาตรการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ซึ่งระบบการตรวจสอบและกำกับดูแลของ ธปท.ที่ใช้กำกับดูแลสถาบันการเงินทั้งระบบเป็นระบบมาตรฐานและเป็นสากลมากขึ้น โดยตามกฎหมายสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละฉบับให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในส่วนงานกำกับดูแลนโยบายยังเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลัง โดย สศค.ดูแลในด้านนโยบายอยู่ แต่การตรวจสอบให้เป็นหน้าที่ของ ธปท. จากเดิมกระทรวงการคลังเป็นผู้ให้นโยบาย และการตรวจสอบให้ทางสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เป็นผู้ดำเนินการ
ทั้งนี้ตามกฎหมายการจัดตั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นไม่ได้กำหนดอัตราส่วนของสินทรัพย์สภาพคล่อง ไม่กำหนดอัตราส่วนของเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ไม่มีเกณฑ์การหยุดรับรู้รายได้และไม่มีเกณฑ์การดูแลความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยเรื่องนี้ ธปท.จะเข้าไปกำกับดูแลเพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐเป็นมาตรฐานเดียวกับสถาบันการเงินอื่นๆ
โดย บ้านเมืองออนไลน์ เมื่อเวลา 10:42:00 วันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2554
แฉพบแบงก์รัฐทุจริตปล่อยกู้
แฉพบแบงก์รัฐทุจริตปล่อยกู้ 'ธีระชัย' สุ่งลุยเช็คบิลสาวไส้ปล่อยสินเชื่อนักการเมือง
“ธีระชัย” สั่งผู้ตรวจการกระทรวงการคลังเข้าสอบทุจริตแบงก์รัฐ หลังแบงก์ชาติหอบเอกสารแฉขุนคลัง พบแบงก์รัฐส่อทุจริตปล่อยกู้นักการเมืองและบริษัทในกลุ่มรัฐบาล “มาร์ค” หละหลวม อย่างไม่ถูกต้อง ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนต้องจัดการ
แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เร็วๆ นี้ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะลงนามเพื่อมอบอำนาจให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลังสามารถเข้าไปตรวจสอบการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐได้ ภายหลังจากที่ได้ดำเนินการหารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แล้ว พบว่ามีธนาคารเฉพาะกิจหลายแห่งที่ปล่อยสินเชื่ออย่างหละหลวมและอาจจะมีการทุจริตเกิดขึ้นภายในองค์กรของธนาคารเฉพาะกิจเอง
ทั้งนี้ในปัจจุบันผู้ตรวจราชการมีอำนาจในการตรวจสอบ และรับเรื่องราวร้องทุกข์ที่เกิดจากการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงการคลัง เช่น กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร เพื่อนำไปสู่การแก้ไขและเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในระบบราชการรวมถึงการให้บริการประชาชนด้วย โดยผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลังปัจจุบันมี 6 คนประกอบด้วย นายสมชัย อภิวัฒนพร นายเทวัญ วิชิตะกุล นายอำนวย ปรีมนวงศ์ นายมนัส แจ่มเวหา นายประสิทธิ์ สืบชนะ และนายกฤษฎา อุทยานิน โดยแต่ละคนไปแบ่งสายงานความรับผิดชอบตามเขตและภาคต่างๆ ทั่วประเทศ จะไม่มีการก้าวข้ามเขตกัน เพื่อความชัดเจนในการทำงาน
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า การที่ธนาคารเฉพาะกิจมีหลายแห่ง และแต่ละแห่งก็มีสำนักงานสาขาจำนวนมาก เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) หรือไอแบงก์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ทำให้การแบ่งอำนาจความรับผิดชอบตามเขตและภาคต่างๆ ไม่สามารถดำเนินการได้ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการแต่ละคนสามารถเข้าตรวจสอบบริษัทลูกค้าของธนาคารเฉพาะกิจที่ส่อไปในทางทุจริต แม้ว่าบริษัทหรือลูกค้ารายนั้นไม่ได้อยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบก็ตาม
“หลังจากที่มีการหารือกับ ธปท.แล้วได้รับรายงานว่า มีแบงก์รัฐบางแห่งปล่อยสินเชื่ออย่างหละหลวม อีกทั้งยังมีการทุจริตเกิดขึ้นภายในองค์กรด้วย ดังนั้น ในเร็วๆ นี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะเซ็นอนุมัติมอบอำนาจให้กับบรรดาผู้ตรวจราชการของกระทรวงการคลังทั้ง 6 คน สามารถเข้าไปตรวจสอบการปล่อยสินเชื่อของแบงก์รัฐต่างๆ โดยให้สามารถตรวจสอบไปได้ถึงเหล่าบริษัทที่เป็นลูกค้าของแบงก์รัฐนั้นๆ ด้วย ถึงแม้ว่าบริษัทหรือลูกค้ารายนั้นๆ จะไม่ได้อยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบก็ตาม” แหล่งข่าวกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คำสั่งในการตรวจสอบธนาคารเฉพาะกิจในครั้งนี้เกิดจาก นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้พบและรายงานว่า มีการทุจริตเกิดขึ้นภายในธนาคารเฉพาะกิจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อของกลุ่มนักการเมือง และกลุ่มพันธมิตรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนักการเมืองของรัฐบาลชุดที่แล้ว โดยในรายงานของ ธปท.ระบุอย่างชัดเจนว่า มีการปล่อยสินเชื่ออย่างไม่โปร่งใส โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่และยังมีบางแห่งไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของ ธปท.ในการจัดชั้นหนี้ และทุนสำรอง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมองว่า เป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องเร่งจัดการ เพราะในขณะเดียวกันกระทรวงการคลังยังมีปัญหาที่ค้างคากับ ธปท.แต่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ เช่น การแก้ไขหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน กรอบเงินเฟ้อ เป็นต้น จึงไม่อยากให้ประเด็นของธนาคารเฉพาะกิจกลายเป็นตัวเปรียบเทียบเพื่อวัดผลงานระหว่างกระทรวงการคลังกับ ธปท.
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมาตรการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ซึ่งระบบการตรวจสอบและกำกับดูแลของ ธปท.ที่ใช้กำกับดูแลสถาบันการเงินทั้งระบบเป็นระบบมาตรฐานและเป็นสากลมากขึ้น โดยตามกฎหมายสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละฉบับให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในส่วนงานกำกับดูแลนโยบายยังเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลัง โดย สศค.ดูแลในด้านนโยบายอยู่ แต่การตรวจสอบให้เป็นหน้าที่ของ ธปท. จากเดิมกระทรวงการคลังเป็นผู้ให้นโยบาย และการตรวจสอบให้ทางสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เป็นผู้ดำเนินการ
ทั้งนี้ตามกฎหมายการจัดตั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นไม่ได้กำหนดอัตราส่วนของสินทรัพย์สภาพคล่อง ไม่กำหนดอัตราส่วนของเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ไม่มีเกณฑ์การหยุดรับรู้รายได้และไม่มีเกณฑ์การดูแลความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยเรื่องนี้ ธปท.จะเข้าไปกำกับดูแลเพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐเป็นมาตรฐานเดียวกับสถาบันการเงินอื่นๆ